งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

การเชื่อมโยงและประสาน แผนพัฒนาในระดับต่าง ๆ

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "การเชื่อมโยงและประสาน แผนพัฒนาในระดับต่าง ๆ"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 การเชื่อมโยงและประสาน แผนพัฒนาในระดับต่าง ๆ
การเชื่อมโยงและประสาน แผนพัฒนาในระดับต่าง ๆ นายสุจินต์ ไชยชุมศักดิ์ ผู้อำนวยการ สำนักยุทธศาสตร์และส่งเสริมการบริหารราชการอำเภอ กรมการปกครอง

2 ขอบเขตการบรรยาย บริบทการพัฒนา : แรงพลังกดดันและผลักดันไทย ภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์ บทบาทและรูปแบบของภาครัฐและระบบราชการไทยสมัยใหม่ การจัดความสัมพันธ์ระหว่างราชการส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และการปกครองท้องถิ่น ๔. การเชื่อมโยงและประสานแผนพัฒนา

3 ๑. บริบทการพัฒนา : แรงพลังกดดันและผลักดันไทย ภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์
๑. บริบทการพัฒนา : แรงพลังกดดันและผลักดันไทย ภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์

4 แรงพลังกดดันและผลักดันไทย การเมือง การค้า การทหาร
ปรับตัว แรงพลังกดดันและผลักดันไทย การเมือง การค้า การทหาร ระหว่างประเทศ ทุนนิยมเทคโนโลยีโลก กระแสกดดัน ภายนอก ภาวะโลกร้อนโรคระบาด และ การก่อการร้าย การอพยพเข้ามา ของคนต่างด้าว การแย่งชิง ทรัพยากร กระแสกดดัน ภายใน โลกทัศน์ที่ขัดแย้ง พลังอำนาจทุน และชุมชนท้องถิ่น ความต้องการของผู้คน ที่หลากหลายมากขึ้น บูรณาการ

5 ศักยภาพและขีดความสามารถในการรับรู้
    ส่วนที่อยู่เหนือน้ำ : สังเกตเห็นหรือรับรู้ได้ชัดเจน ส่วนที่อยู่ใต้น้ำ : สังเกตเห็นหรือรับรู้ได้ยาก ผมขอแสดงความยินดีและต้อนรับข้าราชการของกรมการปกครองใหม่ ทั้ง 58 ท่าน ที่ได้เข้าเป็นสมาชิกของกรมการปกครองอย่างเป็นทางการ ผมมีความยินดีที่กรมการปกครองได้จัดให้มีโครงการนี้ขึ้น เพราะถือเป็นโอกาสที่จะได้มาพบปะพูดคุยกับทุกท่าน ซึ่งเป็นสมาชิกใหม่ที่มาช่วยกันทำงานให้กับกรมการปกครองในการดำเนินการเพื่อให้กรมของเราสามารถปฏิบัติภารกิจเพื่อบำบัดทุกข์และบำรุงสุขให้แก่ประชาชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ จากบทบาทและหน้าที่ที่ต้องรับใช้ประชาชนอย่างใกล้ชิด รวมทั้งสนองนโยบายกระทรวงมหาดไทยและรัฐบาล ทำให้ข้าราชการกรมการปกครองจะต้องมีการพัฒนาตนเองอยู่ตลอดเวลา โดยเฉพาะความรู้ทางด้านทักษะการบริหารและเสริมสร้างกระบวนทัศน์ใหม่ ๆ รู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงและสถานการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้น ทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง ต้องคิดวิเคราะห์และกำหนดกลยุทธ์ในการปฏิบัติงานต่าง ๆ ให้ตอบสนองต่อการแก้ไขและรับมือกับปัญหาดังกล่าวได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลและเต็มกำลังความสามารถ ตลอดจนจะต้องมีคุณธรรมและจริยธรรม เพื่อเตรียมความพร้อมในการก้าวไปสู่ตำแหน่งที่สูงขึ้นในอนาคตได้อย่างมีประสิทธิภาพ

6 ๒. บทบาทและรูปแบบ ของภาครัฐและระบบราชการไทยสมัยใหม่

7 รัฐยุทธศาสตร์ (STRATEGIC STATE)
รัฐสมัยใหม่เป็นรัฐที่จำเป็นต้องปรับบทบาทจากเชิงรับเป็นรัฐที่มีบทบาทเชิงรุกหรือ รัฐยุทธศาสตร์ โดยจะต้องแสดงบทบาทการบริหารที่สำคัญ ๒ ด้าน ๑. บทบาทรวมศูนย์การบริหารจัดการเชิงยุทธศาสตร์ โดยการปรับตัวให้เข้ากับสภาพ แวดล้อมภายนอก (External Adaptation) เพื่อตอบสนองรองรับต่อกระแสแรงกดดัน จากภายนอก (External Threats) ๒. บทบาทด้านการบูรณาการภายใน (Internal Integration) โดยระดมพลังและผนึก กำลังของคนชั้น กลุ่มต่าง ๆ ที่หลากหลายให้ดำรงอยู่ร่วมกันได้ กระจายบทบาทอำนาจ หน้าที่ไปให้ท้องถิ่นตามพื้นที่ต่าง ๆ เพื่อที่จะสามารถตอบสนองรองรับต่อกระแสความ ต้องการภายในประเทศ (Internal Demands) ได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล สังคมไม่เหลื่อมล้ำ สังคมของการร่วมมือร่วมใจกัน เพื่อความไม่ล้าหลัง เพื่อความพอเพียง สังคมสมานฉันท์

8 บทบาทสำคัญของรัฐไทยสมัยใหม่
“รัฐชาติ” “รัฐยุทธศาสตร์” ตัวแสดงนำที่รับผิดชอบ หน้าที่ภารกิจทุกประเภท เลือกทำบางเรื่องที่จำเป็นและ ให้ความสำคัญแก่ภารกิจด้าน การพัฒนาในเชิงกลยุทธ์มากขึ้น กำหนดยุทธศาสตร์ แนวทางนโยบาย สนับสนุนส่งเสริม ร่วมมือ และกำกับดูแล ความรับผิดชอบ (Distributed Governance) การกระจายและแบ่งปันความรับผิดชอบ (Sharing Responsibility) และความชอบธรรมในการบริหารจัดการ เป็นผู้วางเงื่อนไขแล้วทำสัญญาข้อตกลงผลงานมอบอำนาจให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และหน่วยงานที่ไม่ใช่ภาครัฐ (Outsourcing) รับไปทำ ความชอบธรรมของรัฐและรัฐบาลในอนาคต คือ การมียุทธศาสตร์ที่ดี การประสานแผนยุทธศาสตร์สู่ การปฏิบัติที่มีประสิทธิภาพ และความเป็นประชาธิปไตย

9 รัฐไทยสมัยใหม่ : มุ่งสู่ความเป็นรัฐยุทธศาสตร์
การเข้าใจถึงความจำเป็นที่รัฐต้องแสดงบทบาทการเป็นรัฐยุทธศาสตร์ การพัฒนาระบบราชการที่เสริมสร้างการกระบวนการเรียนรู้ทางสังคมให้ขยายกว้างขึ้น การเสริมสร้างปรัชญาการพัฒนาประเทศตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (Philosophy of Sufficiency Economy) ให้เป็นหลักชี้นำปรัชญาการปกครองและการบริหารประเทศ (Governance Philosophy) การบริหารจัดการทรัพยากรอย่างบูรณาการและมีหลัก ธรรมาภิบาล (Good Governance) การบริหารยุทธศาสตร์ภาครัฐให้เกิดความอยู่ดีมีสุข (Well-being) ตามที่ประชาชนคาดหวัง

10 กลไกของรัฐไทยสมัยใหม่
การปรับเปลี่ยนจากบทบาทเดิมที่เป็น ผู้คอยควบคุม และรักษากฎระเบียบ ไปสู่บทบาทใหม่ คือ การไกล่เกลี่ยประนีประนอม และประสานประโยชน์กับกลุ่มต่าง ๆ การจัดสรรผลประโยชน์อย่างมีศิลปะ

11 บทบาทและรูปแบบใหม่ที่ภาครัฐควรจะเป็น
บทบาทรัฐควรเปลี่ยนจาก“รัฐชาติ” ที่เน้นการใช้อำนาจควบคุมไปเป็น “รัฐยุทธศาสตร์” ที่ให้ความสำคัญมากขึ้นแก่บทบาทในการเอื้ออำนวย (Facilitation) และสนับสนุนช่วยเหลือ (Promotion) ความเป็นรัฐยุทธศาสตร์ ต้องการระบบราชการที่สามารถซึมซับรับรู้ (Sense) หรือมีระบบการเรียนรู้ สร้างและสั่งสมข้อมูลข่าวสารความรู้ต่าง ๆ ได้อย่างรวดเร็ว (High Speed of Learning) และตอบสนอง (Response) ได้เท่าทันต่อความต้องการในการพัฒนา “โครงสร้าง” และ “วัฒนธรรม” การทำงานรูปแบบใหม่ที่เอื้อและสอดคล้องกับระบบการเรียนรู้ที่รวดเร็ว

12 บทบาทและรูปแบบใหม่ที่ภาครัฐควรจะเป็น
“กลไกทางกฎหมาย” ที่ทำให้ภาครัฐสามารถเจรจาต่อรอง (Negotiation) และไกล่เกลี่ยกรณีต่าง ๆ ได้อย่างหลากหลาย บุคลากรที่มี “ชุดทางความคิด” (Mindset) ที่พร้อมที่จะเรียนรู้อยู่เสมอ (Willingness to learn) และพร้อมที่จะทำงานร่วมกับหลาย ๆ ฝ่าย ตัวแบบบุคลากรภาครัฐ ต้องเป็นผู้ที่มีทักษะด้านวิธีคิดและวิธีการทำงาน ซึ่งรู้จักวิเคราะห์โครงสร้างของกลุ่มคนในสังคม สามารถจำแนกขีดความสามารถ ผลประโยชน์ และความต้องการของคนกลุ่มต่าง ๆได้ และออกแบบรูปแบบวิธีการทำงานในเชิงพิทักษ์ปกป้องและส่งเสริมสนับสนุนกลุ่มคนต่างๆ

13 ๓. การจัดความสัมพันธ์ระหว่างราชการส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และการปกครองท้องถิ่น

14 แนวคิดการจัดความสัมพันธ์ระหว่าง ส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และส่วนท้องถิ่น
Concept of Subsidiarity จัดสรรหน้าที่ความรับผิดชอบให้แก่แต่ละระดับของ การปกครอง บริหารตามระดับความสามารถของแต่ละระดับ Collaboration and Partnership ความร่วมมือ ร่วมรับผิดชอบ ร่วมแบ่งปันทรัพยากร ร่วมรับประโยชน์ ทั้งที่มีและไม่มีพันธะสัญญา

15 การจัดความสัมพันธ์ใหม่ระหว่างส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และการปกครองท้องถิ่น
รัฐที่มีแนวโน้มรวมศูนย์การกำหนดยุทธศาสตร์และบริหารนโยบาย โดยบูรณาการในแนวดิ่งกับแนวขวาง ส่วนกลาง ทำหน้าที่ในเชิงกลยุทธ์ กำหนดยุทธศาสตร์ พัฒนานโยบาย สนับสนุนความรู้วิทยาการใหม่และกำกับดูแล วัด/ประเมิน ผลสัมฤทธิของการปฏิบัติงานของราชการส่วนภูมิภาคและ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ไม่ใช่หน่วยปฏิบัติ พันธะสัญญามอบหมายว่าจ้างปฏิบัติงาน (Performance Agreement) เชื่อมโยงความสัมพันธ์ทางยุทธศาสตร์ ให้คำปรึกษาชี้แนะ สนับสนุนและช่วยเหลือทางเทคนิค กำกับดูแล และ เป็นตัวแทนของหน่วยราชการส่วนกลาง ปฏิบัติภารกิจ ที่หน่วยการปกครองท้องถิ่นทำไม่ได้หรือทำได้ไม่ดีพอตาม พันธะสัญญาที่มีต่อราชการส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค พันธะสัญญา (Contractual Relationship) หน่วยการ ปกครองท้องถิ่น รับผิดชอบปฏิบัติกิจกรรมบริการประชาชนที่เป็นเรื่อง ใกล้ตัวที่ผู้คนในท้องถิ่นรู้ปัญหาความต้องการดีกว่าและ มีความสามารถแก้ปัญหาและทำการพัฒนาได้ดีกว่า ราชการส่วนภูมิภาค

16 ๔. การเชื่อมโยงและ ประสานแผนพัฒนา

17 การประสานแผนพัฒนา คือ อะไร
เป็นการเชื่อมโยงทรัพยากรของทุกฝ่าย เป็นความร่วมมือเชิงสนับสนุนช่วยเหลือกันระหว่างหน่วยงานที่ต่างศักยภาพและที่มีศักยภาพใกล้เคียงกัน เป็นการนำภารกิจของหน่วยงานที่มีลักษณะคล้ายกันมาบูรณาการ รูปแบบการประสานแผน : แนวดิ่งและแนวขวาง

18 ปัญหาการประสานแผนพัฒนา
จากการศึกษาผลการวิจัยพบว่า ประเทศไทยมีแผนพัฒนา ทั้งในระดับชาติ ภูมิภาค และท้องถิ่น ทำให้แผนฯ มีลักษณะ ที่ซ้ำซ้อนกัน นำไปสู่ความสิ้นเปลืองและไม่คุ้มค่า นอกจากนี้ระบบแผนพัฒนาคู่ขนานของภูมิภาค และ ท้องถิ่น ก่อให้เกิดความยุ่งยาก รวมทั้งโครงสร้างและอำนาจ หน้าที่ของคณะกรรมการประสานแผนระดับจังหวัด/อำเภอ ยังไม่มีประสิทธิภาพ

19 ความจำเป็นในการประสานแผนพัฒนา
๑. การแก้ปัญหากรณีต่างคนต่างทำมาเป็นบูรณาการร่วมกัน ๒. การแบ่งงานกันทำตามความชำนาญเฉพาะของหน่วยงาน ๓. การพัฒนาโครงสร้างองค์การ ๔. ความสลับซับซ้อนของปัญหาที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน ๕. ความจำกัดของทรัพยากร ๖. การบริหารที่มุ่งเน้นเป้าหมายและผลสำเร็จในการทำงาน ๗. การเพิ่มความสามารถในการแข่งขัน ๘. การสร้างความยืดหยุ่นและท้าทายในเรื่องอัตรากำลัง ๙. การลดค่าใช้จ่ายต่อหัวทางการบริหาร

20 รูปแบบของการประสานแผนพัฒนา
การทำงานร่วมกันระหว่างองค์การแบบจับคู่ (Pairwise or dyadic Interorganization) การทำงานร่วมกันในลักษณะชุดขององค์การ (Interorganizational Set) การทำงานในลักษณะเครือข่าย (Interorganization Network or Networking Organization) หรือลักษณะพหุพาคี

21 เทคนิคที่ใช้ในการประสานแผนพัฒนา
การประสานงานระหว่างองค์การ (เกิดจากการเห็นความจำเป็นร่วมกันและมีความสัมพันธ์แบบไม่เป็นทางการ ในการดำเนินกิจกรรมอาจไม่มีเป้าหมายหรือภารกิจแบบเดียวกัน แต่จะบรรลุเป้าหมายบาง ประการร่วมกัน เช่น การพัฒนาคุณภาพชีวิตของเด็กเร่ร่อน ฯลฯ NGOs ก.พัฒนาสังคมฯ และ อปท.) การวางแผนร่วมกันในการดำเนินการ (ถ้าผู้เกี่ยวข้องได้มีส่วนร่วมตั้งแต่แรกในการวางแผน จะทำให้เกิดความเข้าใจ การยอมรับ เห็นด้วยกับแผนต่าง ๆ และลดการซ้ำซ้อนระหว่างองค์การ) การใช้รูปแบบคณะกรรมการ (ผู้ที่เข้ามาทำหน้าที่คณะกรรมการจะได้ผู้เชี่ยวชาญของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย โดยมีหน่วยงานเจ้าของเรื่องทำหน้าที่เป็นกรรมการและเลขานุการ) การใช้ระบบงบประมาณ (หน่วยงานที่ทำหน้าที่ในการจัดสรรงบประมาณจะพิจารณาภาพรวมของการดำเนินการตามแผนงานของหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งระบบ วิธีนี้จะใช้งบประมาณในการประสานกิจกรรม) การใช้รูปแบบหน่วยงานร่วมทุน (จะเป็นการตั้งหน่วยงานใหม่ขึ้นมา โดยหน่วยงานผู้เกี่ยวข้องร่วมกันจัดตั้งหน่วยงานขึ้นใหม่ แล้วร่วมทุนกันดำเนินการ และทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องจะได้รับประโยชน์ร่วมกัน) การสร้างองค์การแบบเครือข่าย (Networking Organization) ในการประสานการนำแผนไปปฏิบัติ (แต่ละหน่วยงานทำงานในส่วนที่ตนเองรับผิดชอบ เพราะเกินความสามารถของหน่วยงานเพียงหน่วยเดียว การทำงานในลักษณะเครือข่ายทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง จะรู้ว่าส่วนที่ตนเองรับผิดชอบอยู่มีความสำคัญอย่างไร และมีความเกี่ยวข้องกับส่วนที่ฝ่ายอื่นรับผิดชอบอย่างไร เพื่อบรรลุผลสำเร็จร่วมกัน)

22 บทบาทการประสานแผนพัฒนาของ ราชการส่วนภูมิภาคกับการปกครองท้องถิ่น
บทบาทการประสานแผนพัฒนาของ ราชการส่วนภูมิภาคกับการปกครองท้องถิ่น ๑. กำกับดูแลสนับสนุนมาตรฐานการปฏิบัติ ภารกิจ และ การบริการของ อปท. ๒. ให้สนับสนุนทางเทคนิค เพื่อพัฒนาความสามารถของ อปท. ๓. ร่วมดำเนินการกับ อปท. ในเรื่องที่ยาก ซับซ้อน เป็น โครงการขนาดใหญ่ เพื่อให้เกิดความคุ้มค่าในการปฏิบัติงาน และความครอบคลุมพื้นที่ของการบริการในวงกว้าง

23 หลักการประสานแผนพัฒนา
Area (A) พื้นที่ Function (F) ภารกิจ Participation (P) การมีส่วนร่วมตัดสินใจ กำหนดสิ่ง/เรื่องใดควรมีการประสานแผน (การพัฒนาโดยยึดท้องถิ่น/พื้นที่เป็นหลัก หน่วยงานราชการต่าง ๆ เข้าไปปฏิบัติภารกิจ ตามความต้องการของคนในท้องถิ่น และคนในท้องถิ่นมีส่วนร่วมหรือเป็นภาคีหลักใน การดำเนินการพัฒนา) Priority ของรัฐบาล V.S. Priority ของพื้นที่ (จังหวัด อำเภอ อปท. และชุมชนท้องถิ่น) มาตรฐานของการให้บริการพื้นฐาน และขีดความสามารถ ในการบริหารจัดการของแต่ละองค์กรที่แตกต่างกัน ได้แก่ อำนาจหน้าที่ งบประมาณ บุคลากร ข้อมูลข่าวสารความรู้ อุปกรณ์เครื่องมือ ฯลฯ

24 กระบวนการประสานแผนพัฒนาพื้นที่จังหวัด
แผนบริหารราชการแผ่นดิน แผนปฏิบัติราชการ ๔ ปี กรอบยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศ (แผนสภาพัฒน์ฯ) กรอบยุทธศาสตร์การพัฒนาพื้นที่กลุ่มจังหวัด กรอบยุทธศาสตร์การพัฒนาพื้นที่จังหวัด กรอบยุทธศาสตร์การพัฒนาพื้นที่อำเภอ กรอบยุทธศาสตร์การพัฒนาของพื้นที่ของแต่ละ อปท. แผนแม่บทชุมชน

25 ขั้นตอนการประสานแผนพัฒนา
๑. กำหนด/ระบุหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ๒. แต่งตั้งคณะกรรมการประสานแผน ๓. กำหนดกรอบการประสานแผน ๓.๑ เป้าหมายร่วมกันของหน่วยงาน (เพื่อนำมาเป็นศูนย์กลางของ การกำหนดทิศทางการทำงานที่แต่ละหน่วยงานจะนำไปกำหนดแผนงาน และจัดทำกิจกรรมการพัฒนาเพื่อตอบสนองเป้าหมายของยุทธศาสตร์ ร่วมกัน) ๓.๒ ระบบแผน (กำหนดโครงการ/กิจกรรมเชิงบูรณาการเพื่อเชื่อมโยง แผนการทำงานให้ไปสู่เป้าหมายเดียวกัน รวมทั้งกำหนดตัวชี้วัดผลผลิต และผลลัพธ์ของแผนงานเพื่อนำไปสู่การติดตามประเมินผลร่วมกัน) ๓.๓ งบประมาณ (จัดตั้งงบประมาณตามโครงการ/กิจกรรมเชิงบูรณาการ ที่กำหนดไว้ภายใต้แผนงานร่วมกัน) ๓.๔ ระบบการติดตามและประเมินผล (โครงการ/กิจกรรมจะต้อง ได้รับการติดตามประเมินผลตามวิธีการและตัวชี้วัดที่กำหนดร่วมกันตาม ระยะเวลาที่กำหนด) ๔. ดำเนินการเชื่อมโยงแผนพัฒนา (อาจใช้แนวความคิดเชิงบูรณาการ ได้แก่ การเชื่อมโยง การประสาน การรวมกัน การผนวก และการเติมเต็ม)

26 รูปแบบการเชื่อมโยงแผนพัฒนา
ยุทธศาสตร์จังหวัด มี ๔ ยุทธศาสตร์ ดังนี้ (ตัวอย่างการเชื่อมโยงแผนพัฒนา) ยุทธศาสตร์ การเพิ่มสมรรถนะองค์กร ยุทธศาสตร์ การพัฒนาการให้บริการสู่ความเป็นเลิศ ยุทธศาสตร์ การเสริมสร้างความอยู่ดีมีสุข ยุทธศาสตร์ การสื่อสารข้อมูลและความรู้สู่สาธารณะ สำนักงานจังหวัด ยุทธศาสตร์ การพัฒนาระบบการบริหารจัดการ ที่ทำการปกครองจังหวัด ยุทธศาสตร์ การพัฒนาระบบการให้บริการ ประชาสัมพันธ์จังหวัด แผนงาน การประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารของรัฐ องค์การบริหารส่วนจังหวัด แผนงาน การพัฒนาคุณภาพชีวิตของชุมชน เทศบาล แผนงาน พัฒนาการบริหารองค์กรให้มีประสิทธิภาพ ยุทธศาสตร์จังหวัด ยุทธศาสตร์/แผนงานของหน่วยงานต่าง ๆ ในจังหวัด

27 กลไกสนับสนุนการประสานแผนพัฒนา
กลไกงบประมาณเงินอุดหนุนการทำข้อตกลงการให้ บริการสาธารณะระหว่างรัฐบาล (ทั้งราชการส่วนกลางและ ส่วนภูมิภาค) กับ อปท. การร่วมลงทุนในการให้บริการสาธารณะ กลไกการมีแผนยุทธศาสตร์แบบบูรณาการร่วมกันระหว่างราชการส่วนภูมิภาคกับ อปท. ภาคีองค์กรการพัฒนา และองค์กรชุมชนท้องถิ่น สำนักงานบริหารจัดการยุทธศาสตร์พัฒนาพื้นที่จังหวัดและกลุ่มจังหวัด (Office of Strategy Management, OSM)

28 ปัจจัยความสำเร็จของการประสานแผนพัฒนา
ต้องปรับปฏิทินการจัดทำแผนและงบประมาณประจำปีของ อปท. ส่วนราชการภูมิภาค และส่วนกลางให้สอดคล้องคู่ขนานกัน เพื่อเชื่อมโยงงานและงบประมาณได้จริงในทางปฏิบัติ ต้องมีศูนย์กลางระดับจังหวัดและส่วนกลางทำหน้าที่ประสานและติดตามการไหลของงบประมาณ ต้องปรับปรุงข้อมูลข่าวสารที่ใช้ในการประสานแผนของหน่วยงานทุกระดับให้ถูกต้อง แม่นยำ ตรงกัน และทันสมัย ต้องกำหนดพื้นที่ที่เป็นจุดเป้าหมายการพัฒนาให้เล็ก ชัด เห็นผลการพัฒนาเชิงประจักษ์ อาจต้องลงถึงคุ้มบ้าน ละแวกบ้าน กลุ่มครัวเรือน ต้องเร่งเสริมสร้างความสามารถการบริหารจัดการของราชการ ส่วนภูมิภาค อปท. และชุมชน ปรับโครงสร้างการบริหารงานให้มีความเหมาะสม

29 โครงสร้างการบริหารงานอำเภอ
อำเภอ (นายอำเภอ) คณะกรรมการบริหารงานแบบบูรณาการอำเภอ (กบอ.) คณะทำงานฝ่ายอำนวยการ ศูนย์ปฏิบัติการอำเภอ ศูนย์อำนวยความเป็นธรรม กลุ่มภารกิจ ด้านเศรษฐกิจ กลุ่มภารกิจ ด้านสังคม กลุ่มภารกิจ ด้านความมั่นคง กลุ่มภารกิจ ด้านการบริหารจัดการ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ชุดปฏิบัติการประจำตำบล กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ฯลฯ ภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาชน คณะกรรมการหมู่บ้าน 29

30 สัมฤทธิ์ผลของการประสานแผนพัฒนา
การมีระบบข้อตกลงด้านการบริหารงานและการให้บริการสาธารณะ (Public Service Agreement) ที่หน่วยงานรับไปดำเนินการที่มีการประเมินผลงานอย่างเป็นระบบ มีตัวชี้วัดสัมฤทธิ์ผลของงานและความพึงพอใจของผู้รับบริการ (KPI) การมีระบบรับรองคุณภาพการบริหารงานของหน่วยงาน การมีระบบการประกันคุณภาพและมาตรฐานของการให้ บริการสาธารณะ (Standardized Public Service Delivery) ที่หน่วยงานดำเนินการ

31 Thank You for Your Attention
จบการบรรยาย Thank You for Your Attention

32 ที่มา http://www.pokkrongnakhon.com/datacenter/doc_download/1.ppt
สืบค้นวันที่ 18 กันยายน 2552


ดาวน์โหลด ppt การเชื่อมโยงและประสาน แผนพัฒนาในระดับต่าง ๆ

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google