งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

หลักเกณฑ์และแนวทางการจัดทำแผนปฏิบัติราชการประจำปีของจังหวัด และของกลุ่มจังหวัด ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2556 1.

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "หลักเกณฑ์และแนวทางการจัดทำแผนปฏิบัติราชการประจำปีของจังหวัด และของกลุ่มจังหวัด ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2556 1."— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 หลักเกณฑ์และแนวทางการจัดทำแผนปฏิบัติราชการประจำปีของจังหวัด และของกลุ่มจังหวัด ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2556 1

2 ที่มา มติ ก.น.จ. 30 สิงหาคม 2553 เห็นชอบเรื่องหลักเกณฑ์และแนวทางการทบทวนแผนพัฒนาจังหวัด แผนพัฒนากลุ่มจังหวัด เรื่องการจัดทำแผนปฏิบัติราชการประจำปีของจังหวัด แผนปฏิบัติราชการประจำปีของกลุ่มจังหวัด เรื่องหลักเกณฑ์และแนวทาง การกำหนดกรอบการจัดสรรงบประมาณจังหวัดและกลุ่มจังหวัด ประจำปีงบประมาณ พ.ศ และเรื่องหลักเกณฑ์การพิจารณาคุณภาพของแผนจังหวัดและกลุ่มจังหวัด รายงานการตรวจติดตามและประเมินผลของผู้ตรวจราชการสำนักนายกรัฐมนตรีและผู้ตรวจราชการกระทรวงมหาดไทย ครั้งที่ 2 (เม.ย. – ก.ย. 2553) เสนอแนะแนวทางการดำเนินโครงการการขุดลอกคูคลอง (ซึ่งเป็นโครงการที่ไม่ควรเสนอของบประมาณ) ว่าเพื่อไม่ให้เป็นโครงการขุดลอกซ้ำซาก ควรกำหนดให้มีการปลูกหญ้าแฝกหรือพืช ชนิดอื่นที่ป้องกันการพังทลายของดินไว้ในโครงการด้วย มติ ก.น.จ. 21 มีนาคม 2554 เห็นชอบให้จังหวัดจัดทำแผนงานด้านความมั่นคงบรรจุในแผนพัฒนาจังหวัด โดยให้เริ่มดำเนินการในปีงบประมาณ พ.ศ ซึ่งในการจัดทำแผนปฏิบัติราชการประจำปีของจังหวัด ปีงบประมาณ พ.ศ ให้จังหวัดพิจารณาทบทวนแผนพัฒนาจังหวัดเพื่อกำหนดเป็นประเด็นยุทธศาสตร์ของจังหวัดและจัดงบประมาณของจังหวัดสนับสนุนโครงการด้านความมั่นคง 2

3   ข้อเสนอของฝ่ายเลขานุการฯ (รวม 2 เรื่อง)
หลักเกณฑ์และแนวทางในการทบทวนแผนพัฒนาจังหวัด/กลุ่มจังหวัด การจัดทำแผนปฏิบัติราชการประจำปีของจังหวัด แผนปฏิบัติราชการประจำปีของกลุ่มจังหวัด ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2556 เห็นควรคงเดิมโดยมีการปรับปรุงเพิ่มเติมให้ชัดเจน/สมบูรณ์ขึ้นเพียงเล็กน้อย ปฏิทินการการจัดทำแผนปฏิบัติราชการประจำปีของจังหวัด แผนปฏิบัติราชการประจำปีของกลุ่มจังหวัด ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2556 3

4 หลักเกณฑ์และแนวทางในการทบทวนแผนพัฒนาจังหวัด/กลุ่มจังหวัด การจัดทำแผนปฏิบัติราชการประจำปีของจังหวัด/กลุ่มจังหวัด ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2556 หัวข้อ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2556 1.หลักการ คงเดิมและเพิ่มเติมเฉพาะข้อ 1 โดยให้จังหวัดบรรจุแผนงานด้านความมั่นคงไว้ในแผนพัฒนาจังหวัด โดยมีข้อสังเกตว่าฝ่ายเลขานุการ ก.น.จ. ควรร่วมกับ สมช. กำหนดกรอบแนวทางหรือรายละเอียดของแผนงานด้านความมั่นคงให้ชัดเจนต่อไปด้วย 2.ขอบเขตของแผนพัฒนาจังหวัด/กลุ่มจังหวัด คงเดิม 3.แนวทางการจัดทำแผนพัฒนาจังหวัด/กลุ่มจังหวัด 4.แนวทางการจัดทำแผนปฏิบัติราชการประจำปีของจังหวัด/กลุ่มจังหวัด ประจำปี พ.ศ. 2556 5.ลักษณะโครงการที่จะนำมาจัดทำเป็นคำของบประมาณจังหวัด ปรับปรุงเพื่อให้มีความชัดเจน ดังนี้ - ในข้อ 1 จาก “1) การดำเนินเศรษฐกิจชุมชนตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง อาทิ โครงการที่สนับสนุนและส่งเสริมการเพิ่มศักยภาพในการประกอบอาชีพ การเพิ่มรายได้ และสร้างโอกาสในการพัฒนาเศรษฐกิจของชุมชน การพัฒนาสินค้า OTOP” เป็น “ 1) การดำเนินเศรษฐกิจชุมชนหรือการพัฒนาพื้นที่ตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง อาทิ โครงการที่สนับสนุนและส่งเสริมการเพิ่มศักยภาพในการประกอบอาชีพ การเพิ่มรายได้ และสร้างโอกาสในการพัฒนาเศรษฐกิจของชุมชน การพัฒนาสินค้า OTOP” 4

5 หลักเกณฑ์และแนวทางในการทบทวนแผนพัฒนาจังหวัด/กลุ่มจังหวัด การจัดทำแผนปฏิบัติราชการประจำปีของจังหวัด/กลุ่มจังหวัด ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2556 หัวข้อ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2556 5.ลักษณะโครงการที่จะนำมาจัดทำเป็นคำของบประมาณจังหวัด (ต่อ) ในข้อ 4 จาก “4) การบริหารจัดการทรัพยากร ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน” เป็น “4) การบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เช่น การป้องกันและแก้ไขปัญหาภัยพิบัติทางธรรมชาติอย่างยั่งยืน ตัวอย่างเช่น การแก้ไขปัญหาน้ำท่วม หรือปัญหาภัยแล้ง การป้องกันภัยที่เกิดจากไฟป่า ดินถล่ม สึนามิ แผ่นดินไหว ฯลฯ เป็นต้น” 6.ลักษณะโครงการที่จะนำมาจัดทำเป็นคำของบประมาณกลุ่มจังหวัด คงเดิม 7.ลักษณะโครงการจังหวัด/กลุ่มจังหวัดที่ไม่ควรเสนอขอเป็นคำของบประมาณของจังหวัดและกลุ่มจังหวัด ปรับปรุงใหม่ใน 2 เรื่อง ดังนี้ - ปรับเรืองการขุดลอกคูคลองออก - ในข้อ 6 จาก “ 6) เป็นโครงการบริการสาธารณะ หรือบริการประชาชนซึ่งเป็นภารกิจประจำของหน่วยงานราชการต่างๆ หรือขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอยู่แล้ว เว้นแต่เป็นโครงการที่จะทำให้ประเด็นยุทธศาสตร์บรรลุผลอย่างแท้จริง” เป็น “ 6) เป็นโครงการบริการสาธารณะ หรือบริการประชาชนซึ่งเป็นภารกิจประจำของหน่วยงานราชการต่างๆ หรือขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอยู่แล้ว เว้นแต่หน่วยงานนั้นไม่มีแผนดำเนินการและเป็นโครงการที่จะทำให้ประเด็นยุทธศาสตร์บรรลุผลอย่างแท้จริง” 8. ข้อมูลรายละเอียดโครงการในการจัดทำคำขอตั้งงบประมาณของจังหวัดและกลุ่มจังหวัด เป็นหัวข้อเพิ่มใหม่ เพื่อทำให้การจัดทำโครงการของจังหวัด/กลุ่มจังหวัดมีความสมบูรณ์และชัดเจนยิ่งขึ้น 5 5

6 หลักเกณฑ์และแนวทางในการทบทวนแผนพัฒนาจังหวัด/กลุ่มจังหวัด การจัดทำแผนปฏิบัติราชการประจำปีของจังหวัด/กลุ่มจังหวัด ประจำปีงบประมาณ พ.ศ (ต่อ) หัวข้อ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2556 9.ขั้นตอนในการการจัดทำแผนปฏิบัติราชการประจำปีของจังหวัด และแผนปฏิบัติราชการประจำปีของกลุ่มจังหวัด - ปรับปรุงขั้นตอนที่ 2 และ 3 ให้เหมาะสม ดังนี้ ยกเลิกขั้นตอนการนำเสนอโครงร่างแผนปฏิบัติราชการประจำปีของจังหวัด/กลุ่มจังหวัด ต่อ อ.ก.น.จ. ด้านแผนและด้านงบประมาณ คณะที่ 1 – 5 และรับข้อสังเกตเพื่อนำไปจัดทำรายละเอียดของแผนปฏิบัติราชการประจำปีของจังหวัด แผนปฏิบัติราชการประจำปีของกลุ่มจังหวัด ประจำปีงบประมาณ พ.ศ ต่อไป โดยปรับปรุงใหม่เป็นดังนี้ “3.1 อ.ก.น.จ. ด้านแผนและด้านงบประมาณ คณะที่ พิจารณากลั่นกรองแผนพัฒนาจังหวัด แผนพัฒนากลุ่มจังหวัด และให้ข้อสังเกตเพื่อให้จังหวัดและกลุ่มจังหวัดนำไปจัดทำรายละเอียดของแผนปฏิบัติราชการประจำปีของจังหวัด แผนปฏิบัติราชการประจำปีของกลุ่มจังหวัด ประจำปีงบประมาณ พ.ศ ต่อไป 3.2 จัดประชุมร่วมระหว่างจังหวัด/กลุ่มจังหวัด (Area) กับส่วนราชการ (Function) เพื่อบูรณาการโครงการที่จังหวัด กลุ่มจังหวัดขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากส่วนราชการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ (ฝ่ายเลขานุการ ก.น.จ. และ อ.ก.น.จ. ด้านแผนและด้านงบประมาณ คณะที่ ดำเนินการร่วมกับสำนักงบประมาณ)” ทั้งนี้ ในการดำเนินการตามข้อ 3.1 และข้อ 3.2 จะดำเนินการควบคู่กันไป” เพิ่มขั้นตอนที่ 6 ที่กำหนดให้ ก.น.จ.. และคณะรัฐมนตรีเห็นชอบแผนฯ และ ก.น.จ. จัดส่งแผนฯ ให้สำนักงบประมาณ 6 6

7 คงเดิม หลักเกณฑ์และแนวทางในการจัดทำแผนปฏิบัติราชการประจำปีของจังหวัด/
กลุ่มจังหวัด ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2556 คงเดิม และเพิ่มเติม เฉพาะข้อ 1  หลักการ  ขอบเขตของแผนพัฒนาจังหวัดและ แผนพัฒนากลุ่มจังหวัด 1. กรอบหลักในการจัดทำแผนพัฒนาจังหวัด และกลุ่มจังหวัด นโยบายของรัฐบาล แผนการบริหารราชการแผ่นดิน แผนพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ กรอบยุทธศาสตร์การพัฒนาภาค ยุทธศาสตร์รายสาขา ผลการศึกษาของส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง แผนงานด้านความมั่นคง แผนพัฒนาจังหวัด มุ่งการพัฒนาจังหวัดแบบองค์รวมที่ครอบคลุมทุกมิติ ในด้านเศรษฐกิจ สังคม ทรัพยากร ธรรมชาติ สิ่งแวดล้อมและความมั่นคง เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต สร้างโอกาสและอาชีพซึ่งตอบสนองต่อความต้องการของประชาชนในจังหวัด 2. มุ่งเน้นการทำงานแบบเครือข่ายร่วมกัน ทุกภาคส่วนโดยคำนึงถึงความพร้อมของ ทุกภาคส่วน แผนพัฒนากลุ่มจังหวัด มุ่งเน้นการพัฒนาด้านเศรษฐกิจและสังคม เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของกลุ่มจังหวัด และนำไปสู่การกระตุ้นให้เกิดการลงทุนของภาคเอกชนและสร้างรายได้ให้กลุ่มจังหวัด 3. รับฟังความคิดเห็นของประชาชนในท้องถิ่น ในจังหวัด 4. ให้ความสำคัญกับแผนพัฒนากลุ่มจังหวัด มากขึ้น 7

8 หลักเกณฑ์และแนวทางในการทบทวนแผนพัฒนาจังหวัด แผนพัฒนากลุ่มจังหวัด
คงเดิม  แนวทางการจัดทำแผนพัฒนาจังหวัดและแผนพัฒนากลุ่มจังหวัด ความสอดคล้องเชื่อมโยง กับกรอบหลักในการจัดทำแผนพัฒนาจังหวัด/กลุ่มจังหวัด อาทิ นโยบายรัฐบาล แผนชาติ กรอบยุทธศาสตร์การพัฒนาภาค ฯลฯ กับศักยภาพ โอกาส สภาพปัญหาและความต้องการของประชาชนในพื้นที่ คุณภาพของแผน ผ่านกระบวนการเห็นชอบร่วมกันของทุกฝ่าย มีความชัดเจน เป็นเหตุเป็นผล สอดคล้องเชื่อมโยงตั้งแต่วิสัยทัศน์ ประเด็นยุทธศาสตร์ เป้าประสงค์ ตัวชี้วัด ค่าเป้าหมาย กลยุทธ์ และแผนงาน/โครงการ (Logical Framework) โดยมีรายละเอียดดังนี้ ก. มีการกำหนดประเด็นปัญหาและโอกาสการพัฒนาชัดเจน ทั้งในเชิงของขนาด และพื้นที่ พร้อมทั้งจัดลำดับ ความสำคัญของปัญหาและโอกาสการพัฒนานั้นๆ ข. มีวัตถุประสงค์ ตัวชี้วัดและค่าเป้าหมายในเชิงปริมาณและคุณภาพที่ชัดเจน ค. มีประเด็นยุทธศาสตร์และแนวทางการพัฒนา และการแก้ไขปัญหาที่ตอบสนองกับวัตถุประสงค์ และเป้าหมาย ของแผน โดยในการกำหนดประเด็นยุทธศาสตร์จะต้องมีการหาข้อตกลงร่วมกันเพื่อยืนยันประเด็นยุทธศาสตร์ นั้น ๆ และเป็นที่ยอมรับของทุกภาคส่วน ง. มีการจัดลำดับความสำคัญของประเด็นยุทธศาสตร์ จ. มีแผนงาน/โครงการ ตอบสนองกับแนวทางพัฒนานั้นๆ และมีการจัดลำดับความสำคัญของโครงการ 8

9 หลักเกณฑ์และแนวทางในการจัดทำแผนปฏิบัติราชการประจำปีของจังหวัด/
กลุ่มจังหวัด ประจำปีงบประมาณ พ.ศ (ต่อ) คงเดิม แนวทางการจัดทำโครงการที่จะนำมาจัดทำเป็นคำของบประมาณของจังหวัด/กลุ่มจังหวัด 1 2 3 ความจำเป็น ของโครงการ ความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของโครงการ 4 ความคุ้มค่า เป็นโครงการที่ต้อง สอดคล้องและ เชื่อมโยงกับประเด็น ยุทธศาสตร์ของจังหวัด/ กลุ่มจังหวัด ช่วยพัฒนาหรือ แก้ปัญหาที่เกิดขึ้น หรือหากไม่ดำเนินการ จะเกิดความเสียหาย เพิ่มขีดความสามารถ ในการแข่งขัน และ สร้างรายได้ให้ จังหวัด/กลุ่มจังหวัด ด้านเทคนิค (วิธีการหรือรูปแบบดำเนินการ) ด้านกายภาพ (ความพร้อมของพื้นที่ บุคลากร การบริหารจัดการ) ด้านงบประมาณ (วงเงิน กับประโยชน์ที่ได้ ด้านระยะเวลา (เสร็จภายในปีงบประมาณ ,มีการวิเคราะห์ผลกระทบทางลบ) ผลลัพธ์หรือ ประโยชน์ของ โครงการที่ คาดว่าจะ ได้รับ 9

10 คงเดิม หลักเกณฑ์และแนวทางในการจัดทำแผนปฏิบัติราชการประจำปีของจังหวัด/
กลุ่มจังหวัด ประจำปีงบประมาณ พ.ศ (ต่อ) คงเดิม โดยปรับข้อ 1 ให้สมบูรณ์ขึ้น และ 4 ลักษณะโครงการที่จะจัดทำเป็นคำของบประมาณจังหวัด โครงการที่จะจัดทำเป็นคำของบประมาณของจังหวัด ต้องเป็นโครงการที่สอดคล้องและเชื่อมโยงกับประเด็นยุทธศาสตร์ของจังหวัด และนำไปสู่การแก้ปัญหาของจังหวัด และตอบสนองต่อความต้องการของประชาชนในพื้นที่ เช่น 1. การดำเนินเศรษฐกิจชุมชนหรือการพัฒนาพื้นที่ตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง อาทิ โครงการที่สนับสนุนและส่งเสริมการเพิ่มศักยภาพในการประกอบอาชีพ การเพิ่มรายได้และสร้างโอกาสในการพัฒนาเศรษฐกิจของชุมชน การพัฒนาสินค้า OTOP 2. การพัฒนาเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์ 3. การฟื้นฟูและพัฒนาการท่องเที่ยวของจังหวัด 4. การบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน เช่น การป้องกันและแก้ไขปัญหาภัยพิบัติทางธรรมชาติอย่างยั่งยืน ตัวอย่างเช่น การแก้ไขปัญหาน้ำท่วม หรือปัญหาภัยแล้ง การป้องกันภัยที่เกิดจากไฟป่า ดินถล่ม สึนามิ แผ่นดินไหว ฯลฯ เป็นต้น 5. การยกระดับคุณภาพชีวิต 6. มิติความมั่นคง 10

11 คงเดิม หลักเกณฑ์และแนวทางในการจัดทำแผนปฏิบัติราชการประจำปีของจังหวัด/
กลุ่มจังหวัด ประจำปีงบประมาณ พ.ศ (ต่อ) คงเดิม ลักษณะโครงการที่จะจัดทำเป็นคำของบประมาณกลุ่มจังหวัด โครงการที่จะจัดทำเป็นคำของบประมาณของกลุ่มจังหวัด ต้องเป็นโครงการที่สอดคล้องและเชื่อมโยงกับประเด็นยุทธศาสตร์ของกลุ่มจังหวัด และเป็นโครงการที่แสดงถึงการบูรณาการและได้รับประโยชน์ร่วมกันของกลุ่มจังหวัด เช่น 1. การพัฒนาเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์ (Creative Economy) อาทิ การใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นมาสร้างมูลค่าเพิ่ม รวมถึงการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของสินค้า OTOP 2. การพัฒนาคุณภาพและสร้างมูลค่าเพิ่มของสินค้าเกษตร 3. การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมในพื้นที่เฉพาะ/พื้นที่พิเศษ อาทิ กลุ่มการค้าชายแดน กลุ่มธุรกิจและสินค้าฮาลาล 4. การพัฒนาการท่องเที่ยวที่ยั่งยืนเพื่อเพิ่มการจ้างงานและกระจายรายได้สู่ชุมชน 5. การบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 11

12 คงเดิม หลักเกณฑ์และแนวทางในการจัดทำแผนปฏิบัติราชการประจำปีของจังหวัด/
กลุ่มจังหวัด ประจำปีงบประมาณ พ.ศ (ต่อ) คงเดิม โดยปรับข้อ 6 ให้สมบูรณ์ขึ้น ลักษณะโครงการที่ไม่ควรเสนอขอเป็นคำของบประมาณจังหวัด/กลุ่มจังหวัด 1. พื้นที่ดำเนินการอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ หรือที่สาธารณะ เว้นแต่ได้รับอนุญาตหรือเห็นชอบจากหน่วยงาน ที่รับผิดชอบ 2. ไม่ควรก่อสร้างถนนที่เป็นการก่อสร้างเส้นทางใหม่ เว้นแต่เป็นการสร้างทาง ที่จะทำให้ประเด็นยุทธศาสตร์ ของจังหวัด/ กลุ่มจังหวัดบรรลุผลได้อย่างแท้จริง 3. เป็นการจัดซื้อครุภัณฑ์เพื่อแจกจ่ายแก่ประชาชนโดยตรง ยกเว้นในกรณีของครุภัณฑ์ที่จัดซื้อนั้นเป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมภายใต้โครงการที่สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์ของจังหวัด/กลุ่มจังหวัด 4. มีวัตถุประสงค์หลักเกี่ยวกับศึกษา ฝึกอบรม ดูงาน (เว้นแต่ฝึกอบรมด้านอาชีพ และวิจัยเพื่อแก้ไขปัญหาที่สำคัญของพื้นที่ หรือการทำแผนแม่บทซึ่ง มีความสัมพันธ์กับการพัฒนาจังหวัด/กลุ่มจังหวัด ซึ่งต้องใช้องค์ความรู้จากสถาบันการศึกษา) 5. เป็นโครงการในลักษณะของกิจกรรมย่อย (ควรมีการบูรณาการภารกิจหรือกิจกรรมของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าด้วยกันเป็นโครงการ เพื่อให้เกิดการแก้ไขปัญหาเชิงบูรณาการอย่างมีประสิทธิผล) 6. เป็นโครงการบริการสาธารณะ หรือบริการประชาชนซึ่งเป็นภารกิจประจำของ หน่วยงานราชการต่างๆ หรือ อปท. อยู่แล้ว เว้นแต่หน่วยงานนั้นไม่มีแผนดำเนินการและเป็นโครงการที่จะทำให้ประเด็นยุทธศาสตร์บรรลุผลอย่างแท้จริง 12

13 หลักเกณฑ์และแนวทางในการจัดทำแผนปฏิบัติราชการประจำปีของจังหวัด/
กลุ่มจังหวัด ประจำปีงบประมาณ พ.ศ (ต่อ) เพิ่มใหม่ ตามข้อเสนอ ของ สงป. ข้อมูลรายละเอียดโครงการในการจัดทำคำขอตั้งงบประมาณ ของจังหวัดและกลุ่มจังหวัด 1. โครงการจะต้องมีรายละเอียดข้อมูลที่ครบถ้วนตามแบบฟอร์มที่ ก.น.จ. กำหนด 2. โครงการจะต้องมีรายละเอียดประมาณการค่าใช้จ่ายที่ อ.ก.น.จ. ด้านแผนและด้านงบประมาณสามารถ พิจารณาความเหมาะสมของค่าใช้จ่ายได้ หากไม่มีรายละเอียดค่าใช้จ่าย ให้จังหวัด/กลุ่มจังหวัด จัดทำ รายละเอียดค่าใช้จ่ายและนำเสนอโครงการเพื่อพิจารณาอีกครั้งหนึ่ง 3. กรณีเป็นการขออนุมัติงบลงทุน หรือรายจ่ายอื่นใดที่มีผลให้เกิดภาระด้านงบประมาณในลักษณะของ ค่าใช้จ่ายที่จะต้องตั้งงบประมาณทุกปี เช่น ค่าใช้จ่ายด้านการบริหารจัดการ ด้านการบำรุงรักษา ให้จังหวัด/กลุ่มจังหวัดแสดงถึงหน่วยงานที่รับผิดชอบค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้นในปีต่อไป รวมทั้งต้องมี ร่างบันทึกข้อตกลงระหว่างจังหวัดกับหน่วยงานดังกล่าวในการขอตั้งงบประมาณ และการโอนทรัพย์สินที่ เกิดจากการดำเนินโครงการต่อไป 4.กรณีเป็นโครงการก่อสร้างจะต้องระบุความพร้อมของพื้นที่ดำเนินงานรวมทั้งรูปแบบรายการโดยสังเขป 5. การจัดทำโครงการจะต้องกำหนดหน่วยงานรับผิดชอบโครงการที่เป็นหน่วยดำเนินโครงการนั้น จริง ๆ

14 ขั้นตอนในการทบทวนแผนพัฒนาจังหวัด/กลุ่มจังหวัด และการจัดทำ
แผนปฏิบัติราชการประจำปีของจังหวัด/กลุ่มจังหวัด ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2556 (พ.ค. – 18 ส.ค. 54) (ก.ย. 54) ขั้นตอนที่ 1 ขั้นตอนที่ 2 ขั้นตอนที่ 3 ก.บ.จ. และ ก.บ.ก. จัดส่งให้ ก.น.จ. ดังนี้ 1) แผนพัฒนาจังหวัด/กลุ่มจังหวัด ที่ผ่านการทบทวน 2) รายละเอียดโครงการตามแผน พัฒนาจังหวัด/กลุ่มจังหวัดที่จะ ขอรับการสนับสนุนจากส่วนราชการ ในปี งปม. พ.ศ (จัดส่ง ให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องด้วย) 3.1 อ.ก.น.จ. ด้านแผนฯ พิจารณา กลั่นกรองแผนพัฒนาจังหวัด/ กลุ่มจังหวัด และให้ข้อสังเกต เพื่อนำไปจัดทำรายละเอียดของ แผนปฏิบัติราชการประจำปีของ จังหวัด/กลุ่มจังหวัด ต่อไป จังหวัด/กลุ่มจังหวัดทบทวนสถานการณ์แผนพัฒนาจังหวัด/ กลุ่มจังหวัด 3.2 จัดประชุมร่วมระหว่างจังหวัด/ กลุ่มจังหวัด (Area) กับส่วนราชการ (Function) เพื่อบูรณาการโครงการ ที่จังหวัด กลุ่มจังหวัดขอรับการ สนับสนุนงบประมาณจากส่วนราชการ ประจำปี งปม. พ.ศ. 2556 (ต.ค. – 17 พ.ย. 54) (21 พ.ย. – 30 ธ.ค. 54) (ม.ค. 55) ขั้นตอนที่ 4 ขั้นตอนที่ 5 ขั้นตอนที่ 6 ก.บ.จ. และ ก.บ.ก. จัดทำ รายละเอียดแผนปฏิบัติราชการ ประจำปีของจังหวัด/กลุ่มจังหวัด ประจำปี งปม. พ.ศ ตาม ข้อสังเกตของ อ.ก.น.จ. ด้านแผนฯ และส่งให้ ก.น.จ. พิจารณา อ.ก.น.จ. ด้านแผนฯ พิจารณา กลั่นกรองแผนปฏิบัติราชการประจำปีฯ ประจำปี งปม. พ.ศ โดยให้จังหวัด/ กลุ่มจังหวัดเข้าร่วมชี้แจง ก.น.จ./ครม. อนุมัติแผน และ ก.น.จ. จัดส่งแผนฯ ให้ สงป. โดยถือเป็น คำขอ งปม.จังหวัด/ กลุ่มจังหวัด

15  ปีงบประมาณ พ.ศ. ระยะเวลาจัดทำ 2553 ประมาณ 17 วัน 2554 ประมาณ 25 วัน
ปฏิทินการการจัดทำแผนปฏิบัติราชการประจำปีของจังหวัด /กลุ่มจังหวัด ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2556 เปรียบเทียบระยะเวลาการจัดทำแผนพัฒนาและแผนปฏิบัติราชการประจำปี ของจังหวัด/กลุ่มจังหวัดในแต่ละปีงบประมาณ ปีงบประมาณ พ.ศ. ระยะเวลาจัดทำ 2553 ประมาณ 17 วัน 2554 ประมาณ 25 วัน 2555 ประมาณ 3 เดือนเศษ 2556 ประมาณ 5 เดือนเศษ

16 ปฏิทินการการจัดทำแผนปฏิบัติราชการประจำปีของจังหวัด /กลุ่มจังหวัด ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2556 ขั้นตอน พ.ค. 54 มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค.54 พ.ย. ธ.ค. ม.ค. 55 1. ประชุม ก.น.จ. พิจารณาเห็นชอบหลักเกณฑ์แนวทางฯ 2. แจ้งเวียนมติ ก.น.จ. / ชี้แจงแนวทางหลักเกณฑ์การจัดทำแผนปฏิบัติราชการประจำปีฯ 9-12 3. ทบทวนแผนพัฒนาจังหวัด/กลุ่มจังหวัด โดยการประเมินสถานการณ์ สภาพแวดล้อมภายนอก ที่มีผลกระทบต่อศักยภาพของจังหวัด/กลุ่มจังหวัดเพื่อยืนยันแผนพัฒนาจังหวัด/กลุ่มจังหวัด 18 4. ก.บ.จ./ก.บ.ก. ส่งแผนพัฒนาจังหวัด/กลุ่มจังหวัด ให้ฝ่ายเลขานุการ อ.ก.น.จ. ด้านแผนฯ คณะที่ 1-5 19 5. จัดประชุม อ. ก.น.จ.ฯ คณะที่ 1-5 เพื่อให้จังหวัด/กลุ่มจังหวัดมานำเสนอร่างแผนปฏิบัติราชการประจำปี พ.ศ. 2556 - จัดประชุมร่วมระหว่างจังหวัด/กลุ่มจังหวัด (Area) กับส่วนราชการ (Function) เพื่อบูรณาการโครงการที่จังหวัดและกลุ่มจังหวัดขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากส่วนราชการ ประจำปีงบประมาณ 2556 6. จัดทำรายละเอียดของแผนปฏิบัติราชการประจำปีฯ ตามข้อสังเกตของ อ.ก.น.จ.ฯ 17 7. ส่งแผนปฏิบัติราชการประจำปีของจังหวัด/กลุ่มจังหวัด ประจำปี พ.ศ ให้ ก.น.จ. และส่วนราชการ 8. พิจารณากลั่นกรองแผนปฏิบัติราชการประจำปีของจังหวัดและกลุ่มจังหวัด โดยให้จังหวัด/กลุ่มจังหวัดมาร่วมชี้แจง 9. ประชุม ก.น.จ. เพื่อพิจารณาแผนฯ จังหวัด/กลุ่มจังหวัด 10. เสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาเห็นชอบแผนฯ 4 21 พ.ย. – 30 ธ.ค. 16 31 16

17 ปฏิทินการการจัดทำแผนปฏิบัติราชการประจำปีของจังหวัด /กลุ่มจังหวัด ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2556 (ต่อ)
ขั้นตอน ก.พ. 55 มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย.- ก.ค. ส.ค. ก.ย. 11. ก.น.จ. นำแผนปฏิบัติราชการประจำปีของจังหวัด/กลุ่มจังหวัด ซึ่งถือเป็นคำของบประมาณของจังหวัดและกลุ่มจังหวัด ส่งสำนักงบประมาณ - จังหวัดและกลุ่มจังหวัดบันทึกข้อมูลคำขอตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ ในระบบ e-budgeting ของสำนักงบประมาณให้แล้วเสร็จ 1 12. สงป. พิจารณาและจัดทำรายละเอียดงบประมาณรายจ่ายประจำปี งบประมาณ พ.ศ เพื่อนำเสนอคณะรัฐมนตรี 2 26 13. คณะรัฐมนตรี พิจารณาให้ความเห็นชอบรายละเอียดงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ พร้อมหลักเกณฑ์การปรับปรุงงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2556 14. จังหวัด/กลุ่มจังหวัดปรับปรุงรายละเอียดงบประมาณรายจ่ายประจำปี ประจำปีงบประมาณ พ.ศ ตามหลักเกณฑ์ที่คณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบ และส่งสำนักงบประมาณ 28 5 15. สงป. พิจารณาปรับปรุงรายละเอียดงบประมาณรายจ่ายประจำปี ประจำปีงบประมาณ พ.ศ เพื่อนำเสนอคณะรัฐมนตรี 9 -23 16. ครม. พิจารณาให้ความเห็นชอบการปรับปรุงงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2556 17. ครม. พิจารณาให้ความเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ และนำเสนอสภาผู้แทนราษฎร 18. พิจารณา ในวาระที่ 1 23-24 19. พิจารณา ในวาระที่ 2 – 3 15-16 20. พิจารณาให้ความเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติงบประมาณ รายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2556 3 21. นำร่างพระราชบัญญัติงบประมาณ รายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ ขึ้นทูลเกล้าถวายเพื่อประกาศใช้บังคับเป็นกฎหมายต่อไป 7 27 24 8 17 ลำดับที่ 11 – 21 จะต้องปรับแก้ให้สอดคล้องกับมติคณะรัฐมนตรี ต่อไป


ดาวน์โหลด ppt หลักเกณฑ์และแนวทางการจัดทำแผนปฏิบัติราชการประจำปีของจังหวัด และของกลุ่มจังหวัด ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2556 1.

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google