งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

นางนงนุช ตันติธรรม สำนักโรคไม่ติดต่อ

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "นางนงนุช ตันติธรรม สำนักโรคไม่ติดต่อ"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 นางนงนุช ตันติธรรม สำนักโรคไม่ติดต่อ
โครงการศึกษาสาเหตุและบริบทการเริ่มและพฤติกรรมการดื่มสุราของเด็กที่ดื่มแล้วขับ อายุต่ำกว่า 18 ปี นางนงนุช ตันติธรรม สำนักโรคไม่ติดต่อ

2 ความสำคัญของปัญหาการวิจัย
ในกลุ่มเด็กและเยาวชนที่ประสบอุบัติเหตุจากการขับขี่รถจักรยานยนต์นั้น ส่วนมากจะมีส่วนสัมพันธ์กับภาวะมึนเมาจากการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์และการใช้สารเสพติดชนิดต่างๆ ก่อนการขับขี่ โดยเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นสารเสพติดที่นักเรียนเริ่มต้นทดลองใช้กันมากและเป็นสารเสพติดที่เป็นประตูนำไปสู่การใช้สารเสพติดชนิดอื่นๆ ตามมา

3 ความสำคัญของปัญหาการวิจัย
ผู้ศึกษาได้เห็นถึงความสำคัญของปัญหาและต้องการทราบถึงสาเหตุและบริบทการเริ่มดื่มสุรา และพฤติกรรมการดื่มสุราแล้วขับขี่รถจักรยานยนต์ของเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี ที่ประสบอุบัติเหตุและเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล รวมทั้งปัจจัยต่างๆ ที่มีผลต่อพฤติกรรมการดื่มสุราของเด็ก

4 วัตถุประสงค์ของการวิจัย
เพื่อศึกษาปัจจัยที่เป็นสาเหตุของพฤติกรรมการดื่มสุราแล้วขับขี่รถจักรยานยนต์ของเด็ก เพื่อศึกษาบริบททางสังคมของเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี ที่ดื่มสุราแล้วขับขี่รถจักรยานยนต์แล้วประสบอุบัติเหตุ เพื่อศึกษาพฤติกรรมการดื่มสุราแล้วขับขี่รถจักรยานยนต์ของเด็ก

5 กรอบแนวคิดการวิจัย ปัจจัยนำ
ลักษณะประชากรและครอบครัว ความรู้เกี่ยวกับสุราและอุบัติเหตุจราจร เจตคติต่อการดื่มสุรา ค่านิยมการไม่ดื่มสุรา ความเชื่อ เหตุจูงใจก่อนดื่มสุรา การรับรู้ผลกระทบจากการดื่มสุรา ฯลฯ พฤติกรรมการดื่มสุราของ ผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์ที่ได้รับบาดเจ็บในเด็กอายุ ต่ำกว่า 15 ปี ปัจจัยเอื้อ การเข้าถึงแหล่งซื้อขายสุรา ความสัมพันธ์ในครอบครัว ฯลฯ ปัจจัยเสริม พฤติกรรมการดื่มสุราของบิดามารดา พฤติกรรมการดื่มสุราของผู้ปกครอง พฤติกรรมการดื่มสุราของเพื่อนสนิท พฤติกรรมการดื่มสุราของครู การรับอิทธิพลจากสื่อโฆษณา

6 วิธีการวิจัย เป็นวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ใช้การสัมภาษณ์เจาะลึก (In-depth Interview) กลุ่มประชากรเป้าหมายหลักคือ ผู้ป่วยที่มีอายุต่ำกว่า 15 ปีที่เป็นผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์และประสบอุบัติเหตุได้รับบาดเจ็บ และได้เข้ารับการรักษาในห้องอุบัติเหตุฉุกเฉินของโรงพยาบาล 5 แห่งกระจายในภูมิภาคต่างๆ ทั่วประเทศ ได้แก่ โรงพยาบาลพระปกเกล้า จังหวัดจันทบุรี โรงพยาบาลนครปฐม จังหวัดนครปฐม โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ จังหวัดอุบลราชธานี โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์ จังหวัดเชียงราย และโรงพยาบาลมหาราช จังหวัดนครศรีธรรมราช เริ่มเก็บรวบรวมข้อมูลตั้งแต่ช่วงที่เด็กเริ่มเข้ามารับการรักษาที่ห้องอุบัติเหตุฉุกเฉินและจนกระทั่งออกจากโรงพยาบาลกลับไปอยู่บ้าน

7 วิธีการวิจัย จากประชากรเป้าหมายหลักแต่ละกรณีจะมีการเลือกสัมภาษณ์กลุ่มประชากรแวดล้อม โดยใช้ Snowball technique 1) พ่อ แม่ พี่ น้อง ผู้ปกครอง ครู/อาจารย์ หรือ คนใกล้ชิด ถ้าเป็นไปได้เก็บข้อมูลจากทุกคน 2) กลุ่มเพื่อนสนิทรุ่นราวคราวเดียวกัน ทั้งที่อยู่ในโรงเรียนและในชุมชนเดียวกัน โดยเด็กที่เป็นกลุ่มตัวอย่างหลักจะเป็นผู้กำหนดจำนวนตัวอย่างของประชากรกลุ่มนี้ 3) ผู้ที่อยู่ในชุมชน เช่น ผู้นำหมู่บ้าน เจ้าของร้านค้าที่เด็กไปซื้อเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ เพื่อนบ้านใกล้ชิดและผู้ที่อยู่ในชุมชนที่มีอิทธิพลต่อความคิดและพฤติกรรมของเด็ก

8 ข้อจำกัด เริ่มจากการพิจารณากรณีศึกษาเด็กเพศหญิงหรือเพศชายที่มีอายุต่ำกว่า 15 ปีก่อน ให้ระยะเวลาหาcase ไม่เกิน 2 เดือน คือช่วงระหว่างเดือนตุลาคมถึงเดือนพฤศจิกายน 2550 ถ้าหากพ้นกำหนดเวลานี้ไปแล้วไม่สามารถหาได้ ให้สามารถขยายกลุ่มอายุไปที่กลุ่มเด็กอายุระหว่าง ปี ได้ กรณีศึกษาต้องประสบอุบัติเหตุจากรถจักรยานยนต์ และต้องเข้ารับการรักษาในฐานะเป็นคนไข้ในของโรงพยาบาล ซึ่งหมายถึงการได้รับอุบัติเหตุในระดับรุนแรงพอควร ไม่ใช่การบาดเจ็บเล็กๆ น้อยๆ กรณีศึกษาต้องดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ก่อนเกิดอุบัติเหตุ ซึ่งอาจจะดื่มจนถึงขั้นมึนเมาหรือไม่ก็ได้ โดยกรณีศึกษาจะเป็นผู้ขับขี่เองหรือจะเป็นผู้ซ้อนท้ายก็ได้ กรณีศึกษาควรจะอยู่อาศัยในชุมชนที่ตั้งอยู่ไม่ไกลเกินไปจากโรงพยาบาลที่ทีมงานวิจัยสนามปฏิบัติงานอยู่ เพื่อความสะดวกในการติดตามศึกษาข้อมูลอย่างต่อเนื่องของทีมงานวิจัยสนาม ซึ่งโดยภาพรวมกำหนดให้ไม่เกินกว่า 80 กิโลเมตร

9 อุปสรรคในการคัดเลือกกรณีศึกษา
ปัญหาการเลือกกรณีศึกษาที่เป็นเด็กต่ำกว่าอายุ 15 ปี ผู้วิจัยทุกคนต่างมีความเชื่อมั่นว่าจะสามารถหากรณีศึกษาตามเงื่อนไขที่กล่าวถึงได้ไม่ง่ายนัก เพราะกรณีศึกษาเช่นนี้ไม่ได้มีมาบ่อยๆ เนื่องมาจากภาระงานประจำในห้องอุบัติเหตุและฉุกเฉินของทีมงานวิจัยสนาม เป็นภาระงานที่หนักมาก ถ้าหากกรณีศึกษาอยู่ห่างไกลจากตัวจังหวัดมากกว่า 80 กม. ทีมงานวิจัยสนามจะรู้สึกไม่มั่นใจว่าจะมีเวลาเพียงพอไปติดตามศึกษาข้อมูลกรณีศึกษาได้อย่างใกล้ชิด

10 อุปสรรคในการเก็บรวบรวมข้อมูล
ปัญหาและอุปสรรคในเรื่องความไว้วางใจของกรณีศึกษาต่อทีมงานวิจัยสนาม ในบางพื้นที่ศึกษามีการเปลี่ยนแปลงตัวนักวิจัยหลัก ปัญหาที่เกิดขึ้นก็คือทีมงานวิจัยสนามบางท่านยังขาดประสบการณ์และความรู้ความเข้าใจในแนวทางการวิจัยเชิงคุณภาพ และคุ้นเคยกับงานวิจัยเชิงปริมาณมากกว่า ผู้อำนวยการโรงพยาบาลบางแห่ง ไม่ยินยอมอนุมัติให้ทีมงานวิจัยสนามเข้าร่วมโครงการวิจัยอย่างเป็นทางการ ทำให้ไม่สามารถนำส่งข้อมูลได้

11 บทสังเคราะห์ ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเริ่มดื่มสุราของเด็ก
เหตุจูงใจของเด็กในการดื่มสุรานั้นส่วนมากเป็นเรื่องของความสนุกสนาน และอยากรู้อยากลอง เด็กหลายคนเห็นพ่อแม่และญาติผู้ใหญ่ดื่มเหล้าก็อยากจะรู้ว่ารสชาติเป็นอย่างไร และเห็นผู้ใหญ่กินเหล้ากันแล้วสนุกสนานก็คิดว่าเหล้าเป็นสื่อสำคัญให้คนมาร่วมสนุกสนานเฮฮากันได้ พอมีโอกาสในงานเลี้ยงหรือในงานประเพณีหรือเพื่อนชักชวนในงานเลี้ยงวันเกิด เด็กจึงอยากลองดื่มเหล้า ความอยากรู้อยากลองนี้ดูเหมือนจะเป็นเรื่องคู่กันกับเด็กวัยรุ่น จนกลายเป็นเหตุจูงใจให้เด็กเริ่มดื่มสุรา

12 บทสังเคราะห์ ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการดื่มสุราของเด็ก ปัจจัยนำ
ลักษณะของครอบครัว เด็กมักจะเลียนแบบพฤติกรรมของพ่อแม่ได้ง่าย เช่น ถ้าเด็กอยู่ในครอบครัวที่พ่อแม่ชอบเล่นการพนันหรือชอบดื่มสุรา เด็กอาจจะติดนิสัยชอบเล่นการพนันหรือชอบดื่มสุราไปด้วย อย่างที่พบเห็นได้ชัดเจนในกรณีของเหลือ ที่จังหวัดนครศรีธรรมราช ครอบครัวพ่อแม่เลิกร้างกันหรือแยกกันอยู่ เด็กมักเรียกร้องความรักจากคนรอบข้าง และจะหาทางชดเชยความต้องการความอบอุ่นที่ขาดหายไป ด้วยการแสวงหาความรักและการยอมรับจากคนอื่นๆ เป็นการทดแทน

13 บทสังเคราะห์ ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการดื่มสุราของเด็ก ปัจจัยนำ
ความรู้เกี่ยวกับสุราและอุบัติเหตุจราจร การเรียนรู้ของเด็กจากในโรงเรียนนั้นมีบ้าง แต่ไม่ครอบคลุมทุกประเด็น และไม่ได้ชี้ให้เห็นถึงความรุนแรงของปัญหา การรณรงค์เรื่องเมาไม่ขับมักจะเป็นเพียงการจัดทำป้ายโฆษณาต่างๆ แต่ไม่มีความเข้มข้นในการรณรงค์ เป็นเพียงการสื่อสารหรือให้ข้อมูลเพื่อให้ได้รับรู้ว่าพฤติกรรมเมาแล้วขับนั้นไม่ดี อาจทำให้เกิดอุบัติเหตุ และสร้างผลกระทบในหลายๆ ด้านต่อตนเองและครอบครัว แต่การรณรงค์เหล่านั้นยังคงไม่โดนใจวัยรุ่น ไม่ได้ก่อให้เกิดความหวาดกลัวหรือขยาดต่อการเมาแล้วขับแต่อย่างใด แม้แต่ผู้ที่เคยประสบอุบัติเหตุจากเมาแล้วขับด้วยตนเอง แต่เมื่อเวลาผ่านไปก็ไม่ได้เกรงกลัวหรือกังวลต่อพฤติกรรมเมาแล้วขับแต่อย่างใด

14 บทสังเคราะห์ ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการดื่มสุราของเด็ก ปัจจัยนำ
เจตคติต่อการดื่มสุรา การกินเหล้าเป็นเรื่องธรรมดา เป็นสิ่งที่เห็นได้โดยทั่วไป คนส่วนมากในชุมชนทั้งเด็กและผู้ใหญ่ก็ล้วนแต่ดื่มเหล้าเบียร์กันทั้งนั้น เหล้ากลายเป็นส่วนหนึ่งของงานบุญ กลายเป็นเรื่องปกติธรรมดาที่ทั้งเด็กและผู้ใหญ่จะดื่มเหล้าร่วมกันในงานบุญหรือกิจกรรมต่างๆของส่วนรวมเหล้ากลายเป็นสื่อของการทำงานร่วมกันหรือสื่อของการเข้าร่วมกิจกรรมของชุมชน และเป็นสื่อของความสนุกสนานรื่นเริงตลอดจนการมีเหล้าดื่มในงานหรือการรวมกลุ่มเพื่อทำกิจกรรมต่างๆ ถือเป็นเครื่องแสดงสถานภาพทางเศรษฐกิจและสังคมของแต่ละบุคคลและครอบครัว

15 บทสังเคราะห์ ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการดื่มสุราของเด็ก ปัจจัยนำ
ค่านิยมการไม่ดื่มสุรา การไม่ดื่มเหล้าไม่ใช่วิถีปฏิบัติของเด็กวัยรุ่นชาย ใครที่ไม่ดื่มเหล้าดูเหมือนจะถูกมองว่าไม่ใช่ลูกผู้ชายเต็มตัว จะไม่ได้รับการยอมรับจากกลุ่มเพื่อน ถ้าไม่ได้ดื่มเหล้าก็ยากที่จะรวมกลุ่มอยู่ด้วยกันได้ บางคนพูดถึงขั้นว่า “คนที่ไม่ดื่มเหล้า ไม่ใช่แมนเต็มตัว มันอยู่ด้วยกันไม่ได้” วิถีของการรวมกลุ่มและการปฏิบัติกิจร่วมกันจึงมักจะไม่พ้นจากการกินเหล้ากินเบียร์

16 บทสังเคราะห์ ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการดื่มสุราของเด็ก ปัจจัยนำ
ความเชื่อเกี่ยวกับสุรา ชาวบ้านส่วนมากมีความเชื่อว่าคนที่มีงานทำหรือหาเงินได้ด้วยตนเองจะถือว่าเป็นผู้ใหญ่สามารถทำอะไรก็ได้ การมีรายได้เป็นของตัวเองเหมือนใบเบิกทางให้เด็กมีความเป็นอิสระที่จะทำอะไรแบบผู้ชายที่โตแล้วทำกัน ความเชื่อเรื่อง “ลูกผู้ชายต้องดื่มสุรา” ส่วนของผู้ใหญ่เองก็มีความเชื่อในเรื่องความเป็นผู้ชายด้วยเช่นกัน ทำให้เด็กผู้ชายได้รับการอนุโลมให้ทำอะไรได้โลดโผนกว่าผู้หญิง และสังคมยังสอนวิธีการนี้ทางลัดแก่เด็กผู้ชายผ่านทางการยอมรับของสังคมของผู้ใหญ่ผ่านการอบรมสั่งสอนในรูปแบบต่างๆ ด้วย

17 บทสังเคราะห์ ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการดื่มสุราของเด็ก
ปัจจัยเอื้อ ความสัมพันธ์ในครอบครัว ความขัดแย้งต่างๆในครอบครัวน่าจะผลักดันให้ออกมาหาเพื่อนภายนอกและนำไปสู่การดื่มเหล้า วัฒนธรรมประเพณีท้องถิ่น ในงานประเพณีโดยเฉพาะปีใหม่และสงกรานต์ รวมถึงกิจกรรมต่างๆ ที่มีการรวมกลุ่มของคนจำนวนมาก อย่างเช่นการลงแขก งานบวช งานศพ หรืองานแต่งงาน มักจะเป็นเงื่อนไขที่ชาวบ้านจะมาร่วมสังสรรค์กันเลี้ยงเหล้ากัน ในทุกกรณีศึกษาสะท้อนความคิดให้เห็นได้เด่นชัดว่า วัยรุ่นมักจะเลียนแบบผู้ใหญ่ ดื่มสุราในงานฉลองและงานเทศกาลต่างๆ

18 บทสังเคราะห์ ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการดื่มสุราของเด็ก
ปัจจัยเอื้อ การเข้าถึงแหล่งซื้อขายสุรา มีเหล้าและเบียร์ขายตามร้านค้าในหมู่บ้านทั่วไป ร้านขายของชำทุกร้านมักจะขายเหล้าขาวและเบียร์โดยไม่สนใจการจำกัดอายุของผู้ซื้อ การบังคับใช้กฎหมายใช้ได้เฉพาะห้างสรรพสินค้าและร้านสะดวกซื้อที่อยู่ในเขตเมือง หรือร้านที่ขายสุรามียี่ห้อเท่านั้นการเข้าถึงแหล่งสุราในชนบทจึงง่ายกว่าในเมือง

19 บทสังเคราะห์ ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการดื่มสุราของเด็ก
ปัจจัยเสริม ปัจจัยเสริมที่เห็นเด่นชัด คือ ความเป็นแบบอย่างในการดื่มเหล้าของผู้ใหญ่ ที่กระตุ้นให้เด็กอยากเลียนแบบและอยากลองดื่มเหล้าดูบ้าง นอกจากนี้ เมื่อทราบว่าลูกหลานเริ่มดื่มบ้างหรือลองในครั้งแรก ก็มักจะไม่ห้ามปรามอย่างจริงจัง บางคนกลับส่งเสริม ในงานบุญหรืองานประเพณีต่างๆ หรือในงานวันเกิดของเพื่อนๆ ก็อนุญาตให้กินเบียร์หรือเลี้ยงเบียร์เพื่อนได้ การดื่มเหล้าและสูบบุหรี่ของเพื่อนผู้หญิงก็ดูจะเป็นเรื่องธรรมดาในสายตาของเพื่อนผู้ชาย

20 สรุปเหตุปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมเมาแล้วขับ
ปัจจัยส่วนบุคคล ความรู้สึกท้าทายและอยากลอง ความเป็นวัยรุ่นซึ่งเป็นวัยที่คาบเกี่ยวระหว่างความเป็นเด็กกับความเป็นผู้ใหญ่เป็นเหตุปัจจัยพื้นฐาน โดยวัยรุ่นต้องการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหลายๆ อย่างเพื่อแสดงความเป็นผู้ใหญ่ การดื่มเหล้าและการขับขี่รถเร็วเป็นพฤติกรรมที่เด็กวัยรุ่นรู้สึกท้าทายและอยากลอง

21 สรุปเหตุปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมเมาแล้วขับ
ปัจจัยส่วนบุคคล ความเชื่อมั่นว่าการดื่มเหล้าไม่ใช่สาเหตุของอุบัติเหตุ การดื่มเหล้าเป็นเรื่องธรรมดา ที่พบเห็นได้ทั่วไปในชุมชน ไม่ใช่เรื่องเลวร้าย กรณีศึกษาทุกคนพูดเช่นเดียวกันว่าเมื่อดื่มเหล้าแล้วมักจะออกไปขี่รถเล่นกัน ในชนบทต้องใช้รถจักรยานยนต์ ไม่ค่อยมีทางเลือกอื่นในการเดินทาง ไม่มีรถเมล์และไม่มีรถแท็กซี่ให้บริการ แม้จะกินเหล้าจนเมาก็ต้องขี่รถจักรยานยนต์กลับบ้าน ไม่เช่นนั้นก็ต้องนอนบ้านเพื่อน กลับบ้านไม่ได้ เรื่องเมาแล้วไม่ขับจึงเป็นไปไม่ได้ ถ้าไม่กลับบ้านอาจจะมีปัญหามากกว่าความพยายามขี่รถกลับบ้านหลังดื่มเหล้า “เมื่อเมาแล้ว ก็ต้องขับ เพื่อกลับบ้าน”

22 สรุปเหตุปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมเมาแล้วขับ
ปัจจัยบุคคลแวดล้อม ครอบครัวและญาติ ครอบครัวที่ทั้งพ่อและแม่ไม่สามารถทำหน้าที่เลี้ยงดูลูกหลานได้ ครอบครัวยากจน ที่มีพ่อหรือแม่ หรือทั้งพ่อและแม่อยู่ในภาวะที่ไม่ได้การรับการยอมรับนับถือจากเพื่อนบ้าน หรือแม้แต่ญาติพี่น้อง เพื่อน วัยรุ่นนี้มักจะใช้เวลาอยู่กับกลุ่มเพื่อนมากกว่าพ่อแม่และครอบครัว ชอบที่จะออกนอกบ้านไปพบปะสังสรรค์กับเพื่อนมากกว่าที่จะอยู่ทำกิจกรรมร่วมกับสมาชิกในครอบครัว เมื่อเข้ากลุ่มเพื่อน พฤติกรรมกลุ่มมีส่วนอย่างมากในการผลักดันให้ร่วมกันทำพฤติกรรมเหล่านี้ และขาดความยับยั้งชั่งใจ ไม่สนใจต่อคำว่ากล่าวตักเตือนหรือความห่วงใยของพ่อแม่หรือญาติพี่น้อง

23 สรุปเหตุปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมเมาแล้วขับ
ปัจจัยด้านสังคมและวัฒนธรรม สภาพแวดล้อมของชุมชน แม้จะไม่มีสถานบันเทิงในรูปแบบต่างๆ แต่ด้วยเงื่อนไขทางสังคมที่ชุมชนให้การยอมรับว่าการดื่มเหล้าไม่ใช่ปัญหาสำคัญของชุมชน จึงเป็นรากฐานให้เกิดพฤติกรรมเมาแล้วขับในกลุ่มวัยรุ่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในชุมชนที่มีแหล่งผลิตเหล้าพื้นบ้านหรือโรงกลั่นเหล้า ที่ทำให้คนในชุมชนสามารถหาซื้อสุราได้ง่ายและราคาถูก พฤติกรรมเมาแล้วขับหรือพฤติกรรมตั้งวงดื่มสุรา ดูเหมือนเป็นเหตุการณ์ปกติ

24 สรุปเหตุปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมเมาแล้วขับ
ปัจจัยด้านสังคมและวัฒนธรรม ค่านิยมในการดื่มเหล้า คนไทยในทุกภูมิภาคมีความนิยมดื่มเหล้าในทุกโอกาส ทั้งมีความสุข ทุกข์โศก สนุกสนาน และยังมีการใช้เหล้าร่วมเป็นองค์ประกอบหนึ่งอยู่ในพิธีกรรมและประเพณีต่างๆอยู่เสมอ เหล้าจึงมีความสัมพันธ์กับวิถีชีวิตของคนไทยและกลไกทางสังคมมาโดยตลอด ทั้งในด้านวัฒนธรรมและประเพณี การดื่มเหล้าไม่ใช่เรื่องเลวร้าย และไม่ใช่พฤติกรรมเบี่ยงเบน ตราบใดที่ดื่มแล้วไม่ไปเที่ยวระรานหรือสร้างความเดือดร้อนให้แก่คนอื่นๆ ในชุมชน “การดื่มเหล้าไม่ใช่เรื่องเสียหาย” “การดื่มเหล้าเป็นเรื่องธรรมดาของเด็กผู้ชาย” “เราทำงานมีเงินได้แล้ว เป็นผู้ใหญ่แล้ว ก็น่าจะกินเหล้าได้” “ใครๆ เขาก็กินกันทั้งหมู่บ้าน กินกันในงานต่างๆ ถ้าดื่มเหล้าไม่ดีเค้าคงไม่ดื่มกัน”

25 ข้อเสนอแนะ ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย 1. การรณรงค์ในระดับครอบครัวและชุมชน
1.1 การรณรงค์ในระดับครอบครัว ควรมีการรณรงค์ให้ครอบครัวได้ตระหนักถึงปัญหาและผลกระทบของการดื่มสุรา เพราะการที่มีสมาชิกในครอบครัวดื่มสุราเป็นประจำ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหัวหน้าครอบครัว จะกลายเป็นแบบอย่างให้ลูกหลานได้เห็นและลอกเลียนแบบพฤติกรรม รวมทั้งการที่บางครอบครัวมักจะใช้ให้ลูกหลานไปซื้อสุราให้ ยิ่งเป็นการผลักดันให้เด็กได้มีโอกาสเข้าไปใกล้ชิดกับการดื่มสุรามากขึ้น ดังนั้นครอบครัวโดยเฉพาะอย่างยิ่งพ่อแม่ควรตระหนักว่า “ไม่อยากให้ลูกดื่มเหล้า ต้องไม่ดื่มให้เด็กเห็น และปะพฤติตนเป็นแบบอย่างที่ดี”

26 ข้อเสนอแนะ ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย 1. การรณรงค์ในระดับครอบครัวและชุมชน
1.2 การรณรงค์ระดับชุมชน ควรมีการรณรงค์ในหลายๆ ด้าน เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจและความตระหนักใน ปัญหาการดื่มแล้วขับขี่รถจักรยานยนต์ของเด็ก - การรณรงค์เรื่องการควบคุมการจำหน่ายสุราให้แก่เด็กที่มี อายุต่ำกว่า 18 ปี - ชุมชนควรร่วมกันรณรงค์ไม่ดื่มสุราในงานบุญหรืองาน ประเพณี โดยเฉพาะอย่างยิ่งงานบุญประเพณีที่มีพิธีกรรม ทางศาสนาเกี่ยวข้องด้วย เพื่อลดช่องทางหรือโอกาสที่ เด็กจะเข้าไปสัมผัสกับการดื่มสุรา - หน่วยงานสาธารณสุขชุมชนควรรณรงค์ให้ชาวบ้านได้มี ส่วนร่วมและตระหนักถึงโทษภัยของการดื่มสุรา รวมถึง การรณรงค์เรื่องเมาไม่ขับอย่างจริงจัง

27 ข้อเสนอแนะ ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย 1. การรณรงค์ในระดับครอบครัวและชุมชน
- โรงเรียนควรเข้ามามีบทบาทสำคัญในการให้ความรู้และรณรงค์เพื่อให้เด็กนักเรียนได้เรียนรู้และเกิดความตระหนักในปัญหาการดื่มสุราและพฤติกรรมเมาไม่ขับตั้งแต่ยังเล็ก โดยอาจจะจัดทำเป็นส่วนหนึ่งของหลักสูตรท้องถิ่น เพื่อให้มีการเรียนการสอนกันอย่างจริงจังตั้งแต่ในระดับประถมศึกษา - การรณรงค์เพื่อเปลี่ยนแปลงค่านิยมในชุมชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งค่านิยมที่ว่า “การดื่มเหล้าเป็นเรื่องธรรมดาของเด็กผู้ชาย” หรือ “การดื่มเหล้าไม่ใช่เรื่องเสียหาย”

28 ข้อเสนอแนะ ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย
2. การส่งเสริมการบังคับใช้กฎหมายอย่างจริงจัง ควรจะเข้มงวดในการบังคับใช้กฎหมายกับร้านค้าย่อยในชุมชน เพื่อไม่ให้จำหน่ายเหล้าและบุหรี่แก่เด็กที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปี อย่างเด็ดขาด ในปัจจุบันร้านค้าย่อยในชุมชนชนบทมีอิสระในการขายเหล้าและบุหรี่ ทั้งในเรื่องไม่จำกัดเวลาและไม่สนใจกับการขายให้เด็ก การบังคับใช้กฎหมายไม่จำเป็นต้องเป็นหน้าที่ของตำรวจเท่านั้น ผู้นำชุมชนและกรรมการชุมชน รวมถึงชาวบ้านควรจะมีบทบาทในการควบคุมและตรวจสอบการจำหน่ายสุราและบุหรี่ของร้านค้าในชุมชน อาจจะสร้างกฎของชุมชนขึ้นมา เป็นมาตรการควบคุมบังคับเฉพาะก็ได้ นอกจากนี้ชุมชนยังอาจจะมีการสร้างกฎเกณฑ์หรือมาตรการกวดขันเรื่องเมาแล้วขับด้วย ทั้งในกลุ่มผู้ใหญ่และเด็ก เพื่อความปลอดภัยและลดอุบัติเหตุในชุมชนจากกรณีเมาแล้วขับ

29 ข้อเสนอแนะ ข้อเสนอแนะเชิงวิชาการ
1. การจัดทำรายงานสถานการณ์การบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ประจำปีในระดับจังหวัด การกำหนดมาตรการให้แต่ละจังหวัดต้องทำรายงานสถานการณ์การบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ประจำปี และรายงานสถานการณ์อุบัติเหตุจากกรณีเมาไม่ขับประจำปี พร้อมทั้งเปิดเผยรายงานเหล่านี้ให้สาธารณชนทราบ ซึ่งจะทำให้เกิดการแข่งขันกันรักษาภาพลักษณ์ของจังหวัดไม่ให้เป็นจังหวัดขี้เมา และตานจากอุบัติเหตุจราจรมากที่สุด โดยคาดหวังว่าการแข่งขันการรักษาภาพลักษณ์ของจังหวัดเช่นนี้จะนำไปสู่การรณรงค์และดำเนินมาตรการต่างๆ อย่างจริงจัง

30 ข้อเสนอแนะ ข้อเสนอแนะเชิงวิชาการ
2. การศึกษาวิจัยเพิ่มเติมในประเด็นพฤติกรรมการดื่มสุราและขับขี่รถจักรยานยนต์ของเด็กต่ำกว่าอายุ 18 ปี จากการศึกษาวิจัยครั้งนี้ พบว่ามีอุปสรรคสำคัญในการดำเนินการหลายประการที่ส่งผลให้การศึกษาวิจัยไม่บรรลุ และครอบคลุมวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้แต่เดิม โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเด็นที่ไม่สามารถคัดเลือกกรณีศึกษาที่เป็นเด็ก ต่ำกว่าอายุ 15 ปีได้ ซึ่งปัญหาอุปสรรคเหล่านั้น ได้แก่ - ให้ความสำคัญกับผู้ป่วยที่อาการหนักมากกว่าอาการเล็กน้อย โดยเฉพาะอย่างยิ่งต้องเข้ารับการรักษาเป็นคนไข้ในของโรงพยาบาล เพื่อให้สามารถเข้าใจผลกระทบที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตของกรณีศึกษาในแง่มุมต่างๆ ทำให้ยากต่อการคัดเลือกกรณีศึกษา

31 ข้อเสนอแนะ ข้อเสนอแนะเชิงวิชาการ
2. การศึกษาวิจัยเพิ่มเติมในประเด็นพฤติกรรมการดื่มสุราและขับขี่รถจักรยานยนต์ของเด็กต่ำกว่าอายุ 18 ปี - ที่อยู่อาศัยของคนไข้กลุ่มที่อาการหนัก มักจะมีระยะทางไกลหรืออยู่ต่างจังหวัด อาจจะมีที่อยู่อาศัยห่างจากโรงพยาบาลมากว่า 100 กิโลเมตรขึ้นไป เป็นผลให้เป็นอุปสรรคต่อการออกไปเก็บรวบรวมข้อมูลสนามของผู้ร่วมวิจัย - ติดยึดกับข้อตกลงการวิจัยที่ให้พิจารณาเฉพาะผู้ขับขี่จักรยานยนต์ที่ดื่มสุราเท่านั้น ทำให้ขอบเขตของการเลือกกรณีศึกษาแคบลง และหากรณีศึกษาได้ยาก - การติดตามผู้ป่วยรายวันทำได้ไม่สม่ำเสมอ เมื่อพบรายที่น่าสนใจจึงตามไม่ทัน และเมื่อผู้ป่วยกลับบ้านไปแล้วจะติดต่อได้ยาก

32 ข้อเสนอแนะ ข้อเสนอแนะเชิงวิชาการ
2. การศึกษาวิจัยเพิ่มเติมในประเด็นพฤติกรรมการดื่มสุราและขับขี่รถจักรยานยนต์ของเด็กต่ำกว่าอายุ 18 ปี - การติดตามผู้ป่วยรายวันทำได้ไม่สม่ำเสมอ เมื่อพบรายที่น่าสนใจจึงตามไม่ทัน และเมื่อผู้ป่วยกลับบ้านไปแล้วจะติดต่อได้ยาก - ภาระงานประจำของผู้ร่วมวิจัยเองที่มีหลากหลายด้าน และมีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างการบริหารงานภายในงานอุบัติเหตุและฉุกเฉิน รวมถึงการเปลี่ยนผู้บริหารของหน่วยงาน ทำให้ต้องทุ่มเทการทำงานไปที่การแก้ปัญหาภายในหน่วยงานสูง และมีเวลามาทำการศึกษาวิจัยได้จำกัด

33 ข้อเสนอแนะ ข้อเสนอแนะเชิงวิชาการ
ผู้ที่สนใจศึกษาวิจัยในประเด็นเดียวกันนี้หรือในประเด็นใกล้เคียงด้วยการวิจัยเชิงคุณภาพ ควรจะต้องขจัดอุปสรรคและข้อจำกัดดังกล่าวข้างต้น อีกประเด็นหนึ่งที่ผู้สนใจศึกษาวิจัยควรจะตระหนักไว้คือการคัดเลือกผู้ร่วมวิจัยควรจะต้องพิถีพิถัน ภายใต้เงื่อนไขของกรอบเวลาการทำงานและศักยภาพการวิจัยเชิงคุณภาพของผู้ร่วมวิจัยทุกคน เพราะกระบวนการวิจัยเชิงคุณภาพต้องการผู้ร่วมวิจัยที่สมัครใจและพร้อมจะทุ่มเทการทำงานวิจัยด้วยตนเอง ในกระบวนการวิจัยเชิงคุณภาพนั้นผู้วิจัยต้องให้เวลาและให้ความสำคัญกับการศึกษาข้อมูลชุมชนและกรณีศึกษา การมีข้อจำกัดในเรื่องเวลาและการเดินทางเข้าสู่ชุมชน ย่อมกลายเป็นอุปสรรคพื้นฐานที่ทำให้การวิจัยไม่บรรลุผลสำเร็จ

34 สวัสดีค่ะ


ดาวน์โหลด ppt นางนงนุช ตันติธรรม สำนักโรคไม่ติดต่อ

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google