งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

การวิเคราะห์เชิงกลยุทธ์

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "การวิเคราะห์เชิงกลยุทธ์"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 การวิเคราะห์เชิงกลยุทธ์
ดร.ณัฐวัฒน์ นิปกากร, DMS.

2 การวิเคราะห์เชิงกลยุทธ์ในระดับบริษัท
การกำหนดกลยุทธ์ขององค์การจะต้องพิจารณาสภาพแวดล้อมภายนอก (External Environment) สภาพแวดล้อมภายใน (Internal Environment) และสภาพแวดล้อมทางอุตสาหกรรม (Industry Environment) เพื่อเป็นข้อมูลในการพิจารณาโอกาส อุปสรรค จุดแข็ง และจุดอ่อน และความสามารถในการแข่งขัน เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า SWOT Analysis 29/07/2001 Excellence Training Institution

3 Excellence Training Institution
ปัจจัยแวดล้อมภายนอก หมายถึง สิ่งแวดล้อมขององค์การซึ่งองค์การไม่สามารถควบคุมได้ และอาจเป็นประโยชน์ หรือเป็นภัยคุกคามที่สำคัญต่อองค์การในอนาคต หากสิ่งแวดล้อมนั้นเป็นประโยชน์ หรือเป็นปัจจัยด้านบวกต่อการดำเนินงานขององค์กร เราเรียกว่า โอกาส (Opportunities) หากสิ่งแวดล้อมนั้นเป็นภัยคุกคาม หรือปัจจัยด้านลบต่อความสำเร็จขององค์การในอนาคต เราเรียกว่า อุปสรรค (Threats) 29/07/2001 Excellence Training Institution

4 ปัจจัยแวดล้อมภายนอกที่ควรพิจารณา
สิ่งแวดล้อมทางเศรษฐกิจ (Economic Environment) สิ่งแวดล้อมทางสังคม (Social Environment) สิ่งแวดล้อมทางวัฒนธรรม (Cultural Environment) สิ่งแวดล้อมประชากรศาสตร์ (Demographical Environment) สิ่งแวดล้อมทางการเมือง (Political Environment) สิ่งแวดล้อมด้านกฏหมาย (Legal Environment) สิ่งแวดล้อมภาครัฐ (Governmental Environment) สิ่งแวดล้อมทางเทคโนโลยี (Technological Environment) แนวโน้มทางการแข่งขัน (Competitive Trends) 29/07/2001 Excellence Training Institution

5 The Five Forces Model of Competition
การแข่งขันระหว่างธุรกิจ (การแข่งขันด้านราคา, นวกรรมด้านผลิตภัณฑ์, ความแตกต่างด้านผลิตภัณฑ์) (Rivalry among Existing Firms: Price Competition, Product Innovation, Product Differentiation) คู่แข่งที่เข้ามาใหม่ (New Entrants) ผลิตภัณฑ์ที่ทดแทน (Substitutes) อำนาจต่อรองของผู้ขายปัจจัยการผลิต (Bargaining Power of Suppliers) อำนาจต่อรองของผู้ซื้อ (Bargaining Power of Buyers) 29/07/2001 Excellence Training Institution

6 External Factor Evaluation (EFE) Matrix
ปัจจัยภายนอกที่สำคัญ (Critical External Factors) ทั้งโอกาส และอุปสรรค น้ำหนัก (Weight) เป็นการกำหนดช่วงน้ำหนักของแต่ละปัจจัยจาก 0.0 – 1.0 กล่าวคือ 0.0 หมายถึงไม่มีความสำคัญเลย ส่วน 1.0 แสดงว่ามีความสำคัญมากที่สุด คะแนนน้ำหนักรวมของทุกปัจจัยมีค่าเท่ากับ 1.0 การประเมิน (Rating) ใช้เกณฑ์ 1 – 4 โดย 1 – แสดงถึงมีโอกาสน้อยหรืออุปสรรคมาก, 2 – โอกาสเท่ากับค่าเฉลี่ย, 3 – แสดงถึงโอกาสดีกว่าค่าเฉลี่ย, 4 – แสดงถึงโอกาสดี คะแนนถ่วงน้ำหนัก (Weighted Score) น้ำหนักของแต่ละปัจจัยที่แตกต่างกันขึ้นอยู่กับตัวแปร ค่ารวมของคะแนน เป็นคะแนนรวมจากคะแนนถ่วงน้ำหนักทั้งหมดของทุกตัวแปร 29/07/2001 Excellence Training Institution

7 Excellence Training Institution
ปัจจัยแวดล้อมภายใน หมายถึงกิจกรรมต่างๆ ภายในองค์การ ซึ่งองค์การสามารถควบคุมได้ และมีผลทำให้การดำเนินงานภายในองค์การประสบผลสำเร็จ หรือล้มเหลวได้ จุดแข็ง (Strengths) หมายถึง ลักษณะเด่นของการดำเนินงานหน้าที่ต่างๆ ภายในองค์การ ลักษณะเช่นนี้เป็นปัจจัยเอื้อต่อความสำเร็จขององค์การ จุดอ่อน (Weaknesses) หมายถึง การดำเนินงานองค์การไม่สามารถกระทำได้ดี อันเป็นอุปสรรคต่อความสำเร็จขององค์การ องค์การจะต้องหาทางแก้ไขจุดอ่อนที่เกิดขึ้น 29/07/2001 Excellence Training Institution

8 ปัจจัยแวดล้อมภายในที่ควรพิจารณา
ปัจจัยด้านการบริหาร และผู้บริหาร (Administrative Factor) ปัจจัยด้านการผลิต หรือการปฏิบัติการ (Production & Operation Factor) ปัจจัยด้านการเงิน (Financial Factor) ปัจจัยด้านการตลาด (Marketing Factor) ปัจจัยด้านทรัพยากรมนุษย์ (Human Resource Factor) ปัจจัยด้านการวิจัยและพัฒนา (Research & Development Factor) ปัจจัยด้านการจัดซื้อ (Purchasing Factor) ปัจจัยด้านทำเลที่ตั้ง และสถานที่ (Location Factor) ปัจจัยด้านชื่อเสียง (Reputation Factor) ปัจจัยด้านสารสนเทศ (Information Factor) 29/07/2001 Excellence Training Institution

9 Internal Factor Evaluation (IFE) Matrix
ปัจจัยภายในที่สำคัญ (Critical Success Factor-CSF)ที่เป็นจุดแข็ง และจุดอ่อน น้ำหนัก (Weight) เป็นการกำหนดช่วงน้ำหนักของแต่ละปัจจัยจาก 0.0 – 1.0 กล่าวคือ 0.0 หมายถึงไม่มีความสำคัญเลย ส่วน 1.0 แสดงว่ามีความสำคัญมากที่สุด คะแนนน้ำหนักรวมของทุกปัจจัยมีค่าเท่ากับ 1.0 การประเมิน (Rating) ใช้เกณฑ์ 1 – 4 โดย 1 – จุดอ่อนหลัก, 2 – จุดอ่อนรอง, 3 – จุดแข็งรอง, 4 – จุดแข็งหลัก คะแนนถ่วงน้ำหนัก (Weighted Score) น้ำหนักของแต่ละปัจจัยที่แตกต่างกันขึ้นอยู่กับตัวแปร ค่ารวมของคะแนน เป็นคะแนนรวมจากคะแนนถ่วงน้ำหนักทั้งหมดของทุกตัวแปร 29/07/2001 Excellence Training Institution

10 The Competitive Profile Matrix-CPM
แสดงถึงคู่แข่งขันหลักของบริษัท โดยเฉพาะจุดแข็ง และจุดอ่อน และความสัมพันธ์ของตำแหน่งเชิงกลยุทธ์ของบริษัท 29/07/2001 Excellence Training Institution


ดาวน์โหลด ppt การวิเคราะห์เชิงกลยุทธ์

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google