งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

เพื่อความเป็นพลเมือง (Civic Education)

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "เพื่อความเป็นพลเมือง (Civic Education)"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 เพื่อความเป็นพลเมือง (Civic Education)
การจัดการศึกษา เพื่อความเป็นพลเมือง (Civic Education)

2 หน้าที่พลเมืองกับการศึกษาเพื่อความเป็นพลเมือง (Civic Education) ต่างกันอย่างไร ?
การจัดการศึกษาเพื่อความ เป็นพลเมือง เป็นการจัดการศึกษาเพื่อให้ พลเมือง มีความเป็นพลเมืองที่ดี มี คุณภาพ เป็นกำลังสำคัญในการพัฒนา ประเทศ (คณะกรรมการนโยบายปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง ด้านการพัฒนาการศึกษาเพื่อความเป็นพลเมืองดี, ๒๕๕๔) กระแสสังคมเรียกร้องเรื่องวิชา “หน้าที่พลเมือง” แต่ความเป็นจริงแล้ว หน้าที่พลเมืองเป็นเรียนที่เน้นไปที่เนื้อหาสาระมากเกินไป ดร.วิชัย ตันศิริ วิพากษ์การสอนแนวนี้ว่า หลักสูตรการสอนวิชา “หน้าที่พลเมืองและศีลธรรม” ดั้งเดิม คือ การสอนหลักการและกระบวนการประชาธิปไตย ซึ่งกำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ เป็นการสอนที่เน้นหลักคิดทางกฎหมาย(Legal concept) เช่น เริ่มต้นด้วยคำนิยาม ความหมายของ “อำนาจอธิปไตย” และเป็นที่มาของอำนาจรูปแบบการปกครองที่มีรัฐสภาระบบการเลือกตั้ง ฯลฯ เป็นต้น ในขณะที่การศึกษาเพื่อความเป็นพลเมือง(Civic Education) เน้นการพัฒนาคุณสมบัติของผู้เรียน ให้เรียนรู้ที่จะอยู่ร่วมกันในสังคม และการรวมมือกันแก้ปัญหาในสังคม

3 (แผนปรองดองแห่งชาติ กระทรวงศึกษาธิการ,๒๕๕๓)
การศึกษาเพื่อความเป็นพลเมือง (Civic education) เป็นการศึกษาที่มุ่งเน้น การสร้างผู้ที่เป็นกำลังสำคัญของเมืองที่จะสืบทอดวัฒนธรรมความเป็นพลเมืองที่ดีของชาติครอบคลุมพลเมืองทุกวัยของชาติให้เกิดการสืบสานอุดมการณ์ และความเป็นพลเมืองที่มีพลังความคิด พลังความรัก และพลังความสามัคคีไปอย่างต่อเนื่อง อยู่ร่วมกันบนพื้นฐานของ การเคารพกติกาของสังคม เคารพผู้อื่น เคารพหลักการของการปกครองตามระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และลงมือแก้ปัญหาที่เริ่มต้นจากตนเอง (แผนปรองดองแห่งชาติ กระทรวงศึกษาธิการ,๒๕๕๓)

4 “หน้าที่พลเมือง”: เคารพผู้อื่น เคารพกติกา แก้ปัญหาโดยเริ่มต้นที่ตนเอง
Civil Society! สำคัญที่สุดคือ : เคารพผู้อื่น-เคารพกติกา พลเมือง เคารพกติกา และเข้าใจระบอบประชาธิปไตย มีอิสรภาพและรับผิดชอบตนเอง ยอมรับความแตกต่าง รับผิดชอบต่อสังคม เคารพหลักความเสมอภาค เคารพสิทธิผู้อื่น ๑. หลักการที่เน้นพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณสมบัติ ๓ ประการ คือ เคารพผู้อื่น เคารพกติกา และแก้ปัญหาที่เริ่มต้นจากตนเอง เป็นแนวคิดที่มาจากบทความของ ดร.ปริญญา เทวานฤมิตรกุล รองอธิการบดี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ๒. การสร้างวัฒนธรรมการเมืองที่ส่งเสริมระบอบประชาธิปไตยนั้นจะต้องวางแผนที่ครบวงจร ตั้งแต่การจัดหลักสูตรการสอนโดยตรงในสถานศึกษาที่เรียกว่า “Civic Education” และการสอนโดยอ้อมที่เรียกว่า “Socialization” คือ การปลูกฝังค่านิยมโดยการฝึกปฏิบัติผ่านโครงการกิจกรรมต่าง ๆ ของสถานศึกษา และผ่านกรอบการมีชีวิตร่วมกันแบบประชาธิปไตย และนอกเหนือจากนั้น คือ การมีส่วนร่วมทางการเมือง หรือกิจกรรมของบ้านเมืองจริง ๆ เคารพผู้อื่น เคารพกติกา แก้ปัญหาโดยเริ่มต้นที่ตนเอง

5 หลักการสำคัญ เปลี่ยนจากการมองบุคคลอื่นในแนวดิ่ง ไปเป็นการมองแนวระนาบ ทุกคนเสมอกัน ไม่เหมือนกันเป็นเพียงความแตกต่าง

6 Project Citizen ตัวอย่างการทำโครงงานแก้ปัญหาสังคมของสถาบันพระปกเกล้า ที่นักเรียนศึกษาที่เชื่อมโยงกับนโยบายสาธารณะ(Public Policy) ที่มีการเรียนรู้ด้านการเมืองการปกครองควบคู่กับการทำโครงงานด้วย


ดาวน์โหลด ppt เพื่อความเป็นพลเมือง (Civic Education)

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google