งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

การประเมินผลการปฏิบัติราชการตามหลักเกณฑ์ และวิธีการที่ ก. พ

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "การประเมินผลการปฏิบัติราชการตามหลักเกณฑ์ และวิธีการที่ ก. พ"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 การประเมินผลการปฏิบัติราชการตามหลักเกณฑ์ และวิธีการที่ ก. พ
การประเมินผลการปฏิบัติราชการตามหลักเกณฑ์ และวิธีการที่ ก.พ. กำหนด (ว 20/2552) เป็นหน้าที่ของหัวหน้าและผู้บังคับบัญชาทุกคนต้องประเมิน และใช้ดุลยพินิจตามกฎหมายกำหนด เป็นเครื่องมือที่ช่วยพิจารณาการเลื่อนเงินเดือนตามระบบ การเลื่อนเงินเดือนใหม่ และเรื่อง HR อื่นๆ ให้เป็นไปตาม ระบบคุณธรรม เป็นเรื่องการใช้ดุลยพินิจที่ส่งผลต่อเงินเดือนและทางก้าวหน้า และมีโอกาสตรวจสอบผลการพิจารณาทั้งการร้องทุกข์และ การฟ้องศาลปกครอง บุญรอด สิงห์วัฒนาศิริ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านบริหารงานบุคคล ใน อ.ก.พ.กระทรวงและ อ.ก.พ.กรม อดีตรองเลขาธิการ ก.พ.

2 หัวข้อและกิจกรรม 1. สรุปรูปแบบการเลื่อนเงินเดือนใหม่ที่ต้องออกแบบการประเมินผลฯ ให้สอดรับกัน เลิกโควตา 2 ขั้น แต่เลื่อนเงินเดือนเป็นเปอร์เซ็นต์ ภายในวงเงิน 3% + 3% 2. สรุปสาระของหลักเกณฑ์และวิธีการประเมินผลฯ ตาม ว 20/ โดยเฉพาะส่วนที่กรมต้องออกแบบให้เหมาะสมกับลักษณะบริหาร ของกรมก่อนประกาศใช้ 3. ฝึกปฏิบัติหลักเกณฑ์ที่กรมต้องออกแบบเอง องค์ประกอบผลงานและสมรรถนะที่ต้องประเมิน การกำหนดร้อยละของเงินเดือนที่จะเลื่อนตามระดับผลประเมิน กำหนดผู้ประเมินในกรมและขั้นตอน กำหนดตัวชี้วัดและค่าเป้าหมาย

3 สรุปสาระของ ว 20/2552 ที่ต่างจากหลักเกณฑ์ปัจจุบัน
หลักเกณฑ์และวิธีการใหม่มีทั้งส่วนที่เหมือนวิธีประเมินปัจจุบันตาม ว 5/2544 และที่กำหนดใหม่แตกต่างจากหลักเกณฑ์ปัจจุบัน 1. ส่วนที่กำหนดต่างจากหลักเกณฑ์ปัจจุบัน 1.1 ยังคงใช้เป็นเครื่องมือช่วยพิจารณาเสนอเลื่อนเงินเดือน แต่หลักเกณฑ์ใหม่กำหนดให้สอดคล้องกับรูปแบบการเลื่อนเงินเดือนใหม่ที่เลื่อนเงินเดือนเป็นเปอร์เซ็นต์ไม่มีโควตา 2 ขั้น แต่อยู่ภายในวงเงินเลื่อนเงินเดือน 3 % ของแต่ละครึ่งปีการเลื่อนเงินเดือน และบังคับให้แยกผลประเมินอย่างน้อย 5 ระดับ ดังนี้ ก. ดีเด่น เสนอเลื่อนเงินเดือนไม่เกิน 6% ครึ่งปีแรกและครึ่งปีหลัง อยู่ภายในวงเงิน 3% รวมทั้งปี 6% ข. ดีมาก ค. ดี กำหนดเอง ง. พอใช้ ง. ต้องปรับปรุง %

4 สรุปสาระของ ว 20/2552 ที่ต่างจากหลักเกณฑ์ปัจจุบัน (ต่อ)
1.2 องค์ประกอบการประเมินยังคงบังคับ 2 องค์ประกอบและกำหนดน้ำหนักคงเดิม แต่องค์ประกอบพฤติกรรมการทำงานให้กำหนดจากสมรรถนะหลักการทำงาน ก. องค์ประกองผลงาน แต่เรียกใหม่เป็นผลสัมฤทธิ์ของงาน กำหนดน้ำหนัก 70% ข. พฤติกรรมการปฏิบัติราชการให้ประเมินจากสมรรถนะหลักทางการบริหาร ที่ ก.พ. กำหนด Teamwork Integrity เป็นต้น 1.3 กำหนดให้มีการจัดทำข้อตกลงการมอบหมายงานเป็นรายบุคคล และแจ้งผลประเมินให้ข้าราชการทราบเป็นรายบุคคลด้วย 1.4 ส่วนราชการต้องกำหนดตัวชี้วัดจากภารกิจของส่วนราชการ ลงมาเป็นเป้าหมายตัวชี้วัดรายบุคคล 1.5 หลักเกณฑ์การประเมินนี้ให้ใช้กับข้าราชการทุกประเภท หากระดับผู้บริหารจะกำหนดหลักเกณฑ์และแบบประเมินแตกต่างออกไปให้เสนอ อ.ก.พ.กระทรวงได้ 1.6 แบบประเมินได้กำหนดใหม่เป็นแบบสรุปการประเมินผลการปฏิบัติราชการ

5 สิ่งที่กรมต้องวางหลักเกณฑ์วิธีการและเครื่องมือเพิ่มเติม
1. กำหนด 2 องค์ประกอบ การประเมินที่บังคับและองค์ประกอบเพิ่มเติม 2. กำหนดเปอร์เซ็นต์เงินเดือนที่จะเลื่อนเงินเดือนให้สอดรับกับ 5 ระดับ ผลการประเมินที่ ก.พ. กำหนด คือ ดีเด่น ดีมาก ดี พอใช้ ต้องปรับปรุง 3. กำหนดตารางแสดงผู้มีหน้าที่ประเมินผลระดับต่างๆ (รวมภูมิภาคด้วยถ้ามี) 4. แบบประเมินผลการปฏิบัติราชการของกรมเอง (ก.พ.กำหนดแต่แบบสรุปผลประเมินฯ) 5. กำหนดข้อตกลงการมอบหมายงานและการประเมินผลการ ปฏิบัติราชการและตัวชี้วัด และค่าเป้าหมาย 6. ประกาศหลักเกณฑ์และวิธีการประเมินผลฯ ของกรม

6 สิ่งที่กรมต้องวางหลักเกณฑ์วิธีการและเครื่องมือเพิ่มเติม (ต่อ)
7. ต้องแจ้งผลประเมินต่อผู้ถูกประเมิน 8. ประกาศผลประเมินโดยเฉพาะระดับดีเด่นและดีมาก 9. พิจารณาระดับ 9 – 10 – 11 ควรมีแบบประเมินต่างหากหรือไม่ ? 10. วิธีการจัดเก็บผลประเมิน กรมต้องกำหนดให้เก็บไว้ที่สำนัก/กอง อย่างไร กรณีมีส่วน ส่วนภูมิภาค ส่วนกลางในภูมิภาค 11. ทำตารางเงินเดือนค่ากลาง (Midpoint) ให้ผู้ประเมินใช้ (อาจขอจากสำนักงาน ก.พ.) 12. กำหนดวิธีการให้คำปรึกษาแนะนำ และการแจ้งผล

7 ข้อกฎหมาย : พรบ. ระเบียบ ขรก. พลเรือน 2551
มาตรา 74 ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดประพฤติตนอยู่ในจรรยา และระเบียบวินัยและปฏิบัติราชการอย่างมีประสิทธิภาพและเกิดผลสัมฤทธิ์ ต่อภารกิจของรัฐ ให้ผู้บังคับบัญชาพิจารณาเลื่อนเงินเดือนให้ตามควรแก่ กรณีตามที่กำหนดในกฎ ก.พ. และจะให้บำเหน็จความชอบอย่างอื่น ซึ่งอาจ เป็นคำชมเชย เครื่องเชิดชูเกียรติ หรือรางวัล ด้วยก็ได้ มาตรา 76 ให้ผู้บังคับบัญชามีหน้าที่ประเมินผลการปฏิบัติราชการของผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาเพื่อใช้ประกอบการพิจารณาแต่งตั้ง และเลื่อนเงินเดือน ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.พ. กำหนด ผลการประเมินตามวรรคหนึ่งให้นำไปใช้เพื่อประโยชน์ในการพัฒนา และเพิ่มพูนประสิทธิภาพการปฏิบัติราชการด้วย

8 องค์ประกอบ: ปัจจัยการประเมิน
เน้นปริมาณของงาน จำนวนผลงานที่ทำได้สำเร็จเปรียบเทียบกับปริมาณงานที่ กำหนดหรือปริมาณงานที่ควรจะทำได้ในเวลาที่ควรจะเป็น เน้นคุณภาพของงาน ความถูกต้อง ประณีต ความเรียบร้อยของงาน และตรงตามมาตรฐานของงาน เน้นความรวดเร็ว ทันกาล เวลาที่ใช้ปฏิบัติงานเทียบกับเวลาที่กำหนดไว้ เน้นความประหยัดหรือความคุ้มค่าในการใช้ทรัพยากร การประหยัดในการใช้วัสดุอุปกรณ์ ต้นทุน หรือ ค่าใช้จ่ายในการทำงาน การระวังรักษาเครื่องมือเครื่องใช้ ปัจจัยการประเมิน แนวทางการพิจารณา

9 พฤติกรรมการปฏิบัติราชการ : สมรรถนะ
สมรรถนะหลัก มุ่งผลสัมฤทธิ์ บริการที่ดี สั่งสมความเชี่ยวชาญในงานอาชีพ มีจริยธรรม ร่วมแรงร่วมใจ สมรรถนะประจำกลุ่มงาน/สายงาน สรรถนะอื่น

10 องค์ประกอบ: ระดับผลการประเมิน อย่างน้อย 5 ระดับ
กรณี คะแนนในแต่ละระดับ หมายเหตุ ข้าราชการทั่วไป ดีเด่น ส่วนราชการสามารถกำหนดช่วงคะแนนของแต่ละระดับได้ตามความเหมาะสม ต้องประกาศผู้มีผลการประเมิน ดีเด่น และดีมาก ให้ทราบ ทั่วกัน ดีมาก ดี พอใช้ ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 60 - ต้องปรับปรุง ต่ำกว่าร้อยละ 60 ระดับผลฯ

11 แบบและขั้นตอนการประเมิน : ขั้นตอนการประเมิน
เริ่มรอบการประเมิน ประกาศหลักเกณฑ์และการประเมินผลฯ ให้ทราบโดยทั่วกันภายใน ส่วนราชการและจังหวัด วางแผนการปฏิบัติราชการ กำหนดเป้าหมาย ระดับความสำเร็จของงาน ตัวชี้วัดความสำเร็จ กำหนดสมรรถนะและระดับสมรรถนะที่คาดหวังจากผู้รับการประเมิน บันทึกข้อตกลงการปฏิบัติราชการเป็นลายลักษณ์อักษร (เช่น ในแบบกำหนดและ ประเมินผลสัมฤทธิ์ของงาน และแบบกำหนดและประเมินสมรรถนะ) ระหว่างรอบการประเมิน ครบรอบการประเมิน

12 แบบและขั้นตอนการประเมิน : ขั้นตอนการประเมิน (ต่อ)
เริ่มรอบการประเมิน ระหว่างรอบการประเมิน ผู้บังคับบัญชา ติดตามความก้าวหน้าการปฏิบัติราชการตามแผนฯ ของผู้รับการประเมิน ให้คำปรึกษา แนะนำ และช่วยเหลือ ปรับเปลี่ยน เพิ่มหรือลด ตัวชี้วัด ค่าเป้าหมาย และน้ำหนัก กรณีที่มีการ เปลี่ยนแปลงของงาน ผู้รับการประเมิน ขอคำปรึกษา คำแนะนำ ความช่วยเหลือ ครบรอบการประเมิน

13 แบบและขั้นตอนการประเมิน : ขั้นตอนการประเมิน (ต่อ)
เริ่มรอบการประเมิน ระหว่างรอบการประเมิน ครบรอบการประเมิน ประเมินผลการปฏิบัติราชการของข้าราชการตามหลักเกณฑ์และวิธีการประเมิน จัดทำบัญชีรายชื่อข้าราชการตามลำดับคะแนนผลการประเมิน แจ้งผลการประเมินแก่ผู้รับการประเมิน เสนอบัญชีรายชื่อข้าราชการตามลำดับคะแนนผลการประเมินให้คณะกรรมการ กลั่นกรองผลการประเมินฯ พิจารณา ประกาศรายชื่อผู้มีผลประเมินสูงกว่าระดับเฉลี่ย (ดีเด่น” และ “ดีมาก)” ผู้บังคับบัญชาให้คำปรึกษาแนะนำสำหรับการปรับปรุงแก้ไข พัฒนาผล สำเร็จของงานและพฤติกรรมในการทำงานหรือสมรรถนะแก่ข้าราชการ ผู้รับการประเมิน

14 กลไกสนับสนุนความโปร่งใส เป็นธรรม
ให้ส่วนราชการประกาศหลักเกณฑ์เพื่อทราบโดยทั่วกัน ให้มีคณะกรรมการกลั่นกรอง ให้มีการแจ้งผลการประเมิน ให้มีระบบจัดเก็บข้อเท็จจริงจากผลการปฏิบัติราชการ

15 กลไกสนับสนุนความโปร่งใส เป็นธรรม : คณะกรรมการกลั่นกรอง
หน้าที่ : พิจารณากลั่นกรองผลการประเมินผลการปฏิบัติราชการเพื่อความเป็นธรรม แก่ผู้รับการประเมิน องค์ประกอบ : คณะกรรมการกลั่นกรองระดับกรม รอง หน.สรก. ซึ่งทำหน้าที่ CHRO ประธาน ขรก.ในส่วนราชการ ตามที่ หน.สรก.เห็นสมควร ไม่น้อยกว่า4 คน กรรมการ หัวหน้าหน่วยงานที่รับผิดชอบงานการเจ้าหน้าที่ เลขานุการ คณะกรรมการระดับจังหวัด รอง ผวจ. ซึ่งทำหน้าที่ CHRO ประธาน ขรก.ในจังหวัด ตามที่ ผวจ.เห็นสมควร ไม่น้อยกว่า 4 คน กรรมการ

16 หลักราชการไทย แต่เดิมมา
ก.พ. กำหนดองค์ ประกอบการประเมินผล การปฏิบัติงานไว้ใน แบบประเมินฯ ตาม ว 5/2544 หลักราชการไทย แต่เดิมมา เลื่อนเงินเดือน : พิจารณาความดี ความชอบ ความชอบ ผลงาน คุณภาพ ปริมาณงาน ผลลัพธ์ ผลสัมฤทธิ์ของงาน ฯลฯ ความดี คุณลักษณะส่วนบุคคล การปฏิบัติตนตามจรรยาบรรณ การรักษาวินัย


ดาวน์โหลด ppt การประเมินผลการปฏิบัติราชการตามหลักเกณฑ์ และวิธีการที่ ก. พ

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google