งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

สรุปบทเรียนความสำเร็จการดำเนินงานโครงการโรคเอดส์ ด้านการป้องกัน

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "สรุปบทเรียนความสำเร็จการดำเนินงานโครงการโรคเอดส์ ด้านการป้องกัน"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 สรุปบทเรียนความสำเร็จการดำเนินงานโครงการโรคเอดส์ ด้านการป้องกัน

2 สรุปบทเรียน การผลักดันเพศศึกษาในหลักสูตรสถานศึกษา

3 บทเรียนที่สำคัญ การผลักดันนโยบายการจัดการเรียนรู้เพศศึกษาและเอดส์ในสถานศึกษา : มีความต่อเนื่องของการสื่อสารจากส่วนกลางสู่ท้องถิ่น ผ่านเวบไซต์ คอลัมน์ของผู้บริหารระดับสูง แต่ยังไม่ “แรง+ ชัด” พอที่จะทำให้เกิดการปฏิบัติได้เหมือนกันทุกพื้นที่ การพัฒนากระบวนการทำงานเพศศึกษาอย่างเป็นระบบ : มีการออกแบบหลักสูตร+แผนการเรียนรู้ คู่มือการจัดกิจกระบวนการเรียนรู้ และพัฒนาเครือข่ายผู้จัดการเรียนรู้เพศศึกษารอบด้านในสถานศึกษาทุกระดับประถม มัธยมศึกษา อาชีวะศึกษา การศึกษานอกโรงเรียน และอุดมศึกษา และศูนย์ฝึกอบรมเยาวชน ๒ แห่ง แต่ครูยังเลือกสอนตามที่ตัวเองสะดวกใจและไม่ถนัดการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่ทำให้ผู้เรียนเกิดการคิดวิเคราะห์ได้ด้วยตนเอง

4 ของการทำงานเพศศึกษาในจังหวัดนำร่อง
ภาพความสำเร็จ ของการทำงานเพศศึกษาในจังหวัดนำร่อง จากบทเรียนการทำงานโครงการก้าวย่างอย่างเข้าใจ

5 ภาพความสำเร็จของจังหวัดนำร่องที่มีการดำเนินงานเพศศึกษาเพื่อเยาวชน
มีหน่วยงานชัดเจนเป็นเจ้าภาพในการผลักดันงาน “เพศศึกษาในสถานศึกษา” อย่างต่อเนื่องทั้งในส่วนกลางและในแต่ละพื้นที่ มีภาคี/เครือข่ายที่ทำงานทำงานเพศศึกษาในสถานศึกษา มีการจัดสรรงบประมาณ/ทรัพยากรจากท้องถิ่นสนับสนุนงานเพศศึกษาในสถานศึกษา MT/ครู ที่ร่วมงานโครงการก้าวย่างฯ ยังคงทำงานเรื่องเพศศึกษาอย่างมีคุณภาพ มีแหล่งประโยชน์/ผู้ให้บริการ ที่เยาวชน/โรงเรียน/ครู สามารถแสวงหาความช่วยเหลือเพื่อส่งเสริมและแก้ปัญหาสุขภาวะทางเพศของเยาวชน และเยาวชนสามารถเข้าถึงได้ สถานศึกษาที่เข้าร่วมโครงการ มีการจัดการเรียนรู้เพศศึกษาอย่างน้อย ๘ ชั่วโมงต่อภาคเรียน (๑๖ ชั่วโมง/ปีการศึกษา) ทุกระดับชั้น โดยครูอย่างน้อย ๓-๑๐ คนสามารถจัดการเรียนรู้เพศศึกษาได้ สถานศึกษามีการส่งเสริมการรวมกลุ่มเยาวชนและการจัดกิจกรรมของเยาวชน เพื่อเผยแพร่ความเข้าใจเรื่องเพศศึกษานอกห้องเรียนที่เป็นไปอย่างต่อเนื่องตลอดปี มีแกนนำ/กลุ่มเยาวชนทำงานเพื่อพัฒนาเพศศึกษาสู่เยาวชน/ชุมชนในท้องถิ่น มีการสร้างเวที/เปิดโอกาส/สนับสนุนทรัพยากรเพื่อพัฒนาให้เกิดเยาวชนนักกิจกรรมที่มีความตั้งใจในการทำงานพัฒนาเยาวชนและชุมชน

6 โครงการป้องกันและบริหารจัดการด้านเอดส์ ในสถานประกอบกิจการ
- ASO THAILAND AIDS-response Standard Organization 5 ปี โครงการป้องกันและบริหารจัดการด้านเอดส์ ในสถานประกอบกิจการ

7 Lesson Learned 1. การสนับสนุนจากผู้บริหารระดับสูง นั้นสำคัญยิ่ง
มี 2 กรม ร่วมกันรับรองมาตรฐาน ASO มี MOU ระหว่าง 2 กรม กับ TBCA มีประกาศกระทรวงแรงงาน อาจมีแนวปฏิบัติแห่งชาติ มีกรรมการระดับกระทรวง กรม กอง ช่วยผลักดันนโยบายอย่างเป็นรูปธรรม มี Focal point ของภาคี มีความสำคัญอย่างยิ่ง

8 Lesson Learned ASO เป็นเครื่องมือที่ช่วยแก้ปัญหาเอดส์ได้
มีเครือข่าย NGO ที่เข้มแข็ง มีผู้ตรวจประเมินทุกจังหวั ASO ถูกบรรจุเป็น KPI ของกรมสวัสดิ์ฯ เข้าสู่แผนงานปกติของทุกจังหวัดแล้ว กลุ่มเป้าหมายชอบ (ใบ Cert. มีความจำเป็นต่อธุรกิจปัจจุบัน)

9 แผนยุทธศาสตร์บูรณาการป้องกันและแก้ไขปัญหาเอดส์แห่งชาติ พ.ศ. 2550 -2554
พัฒนานโยบายและดำเนินงานป้องกันและแก้ไขปัญหาเอดส์ในกลุ่มผู้ใช้แรงงาน  จำนวนสถานประกอบกิจการมีมาตรฐานฯ ASO Thailand

10 Sharing Knowledge & Lesson Learned
Policy Code + ASO Sharing Knowledge & Lesson Learned Partnership

11 กรมสวัสดิ์ฯ กรม คร. สสจ. สสค. อปท. สปก. ทุนอื่นๆ รัฐบาลกลาง ภาคธุรกิจ
Think globally กรมสวัสดิ์ฯ กรม คร. Act locally สสค. สสจ. อปท. GF บทเรียนการดำเนินงานป้องกันและแก้ไขปัญหาเอดส์ในสถานประกอบกิจการของกรมฯ ที่ผ่านมา กล่าวได้ว่า การทำงานเป็นเครือข่ายกับองค์กรภาคีที่เกี่ยวข้องในทุกระดับนั้นเป็นปัจจัยความสำเร็จการดำเนินงาน ซึ่งรูปแบบการดำเนินงานของกรมฯ จะประสานความร่วมมือและการสนับสนุนจากองค์กรต่างประเทศ เช่น ภาคีต่างๆ ได้แก่ ILO, UNAIDS มูลนิธิกองทุนโลก และมีกลไกการดำเนินงานร่วมกับหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องอย่างใกล้ชิด เช่น กรมควบคุมโรค สมอ.และองค์กรพัฒนาเอกชนได้แก่ สมาคม TBCA และเครือข่ายองค์กรพัฒนาเอกชนอีก 34 องค์กร รวมทั้งองค์กรนายจ้างได้แก่ สภาองค์การนายจ้างแห่งประเทศไทย (ECOT) และสุดท้ายคือการทำงานกับสถานประกอบกิจการ ซึ่งทั้งหมดจะเป็นฟันเฟืองขับเคลื่อนไปพร้อมๆกับกระแสสากล ซึ่งก็คือ เราต้องมีมุมมองที่เป็นสากล คือ Think Globally และลงมือ ปฎิบัติอย่างจริงจัง คือ Act locally แปลเป็นไทยว่า ตาดูดาว เท้าติดดิน -จบ- สปก. ทุนอื่นๆ NGO รัฐบาลกลาง ภาคธุรกิจ

12 โครงการป้องกันและควบคุมโรคเอดส์ ดำเนินการโดย มูลนิธิดวงประทีป
โครงการป้องกันและควบคุมโรคเอดส์ ดำเนินการโดย มูลนิธิดวงประทีป กองทุนโลก สนับสนุนโดย ล็อค 6 ถนนอาจณรงค์ คลองเตย กรุงเทพมหานคร 10110 กองทุนโลก

13 1. การเข้าถึงพื้นที่ / กลุ่มเป้าหมาย
1.1 การสำรวจทุนของชุมชนและต่อยอดจากพื้นฐานเดิมที่มีอยู่ 1.2 สร้างความไว้วางใจ 1.3 การสร้างการมีส่วนร่วมในพื้นที่

14 2. เทคนิคในการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย (เยาวชนอายุ 15-24 ปี)
2.1 กิจกรรมขายตรงความรู้เอดส์สู่ชุมชน 2.2 กลุ่มย่อยเยาวชน 2.3 ทำงานร่วมกับกลุ่มแม่วัยทีน 2.4 ทำงานร่วมกับผู้ปกครอง ผู้นำชุมชน 2.5 กิจกรรมลานเด็กลานวัฒนธรรม 2.6 กิจกรรมเปิดท้ายขายความรู้เอดส์ 2.7 บ้านพักใจเข้าใจวัยรุ่น 2.8 ดนตรีสัญจรสอนเอดส์ 2.9 สโมสรสัญจร (ละครหุ่น) 2.10 มิสควีน เรนโบว์สกาย 2.11 วิทยุชุมชน


ดาวน์โหลด ppt สรุปบทเรียนความสำเร็จการดำเนินงานโครงการโรคเอดส์ ด้านการป้องกัน

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google