งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

บุหรี่และสุรา ความแตกต่างของปัจจัยเสี่ยงทางสุขภาพระหว่าง ครัวเรือนที่มีเศรษฐานะและระดับการศึกษาที่แตกต่างกัน วิชัย โชควิวัฒน สุพล ลิมวัฒนานนท์ กนิษฐา.

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "บุหรี่และสุรา ความแตกต่างของปัจจัยเสี่ยงทางสุขภาพระหว่าง ครัวเรือนที่มีเศรษฐานะและระดับการศึกษาที่แตกต่างกัน วิชัย โชควิวัฒน สุพล ลิมวัฒนานนท์ กนิษฐา."— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 บุหรี่และสุรา ความแตกต่างของปัจจัยเสี่ยงทางสุขภาพระหว่าง ครัวเรือนที่มีเศรษฐานะและระดับการศึกษาที่แตกต่างกัน วิชัย โชควิวัฒน สุพล ลิมวัฒนานนท์ กนิษฐา บุญธรรมเจริญ ภูษิต ประคองสาย วิโรจน์ ตั้งเจริญเสถียร สำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ กลุ่มประกันสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข การประชุมวิชาการกระทรวงสาธารณสุข ประจำปี 2550 29-31 สิงหาคม 2550 ณ โรงแรมโลตัสปางสวนแก้ว เชียงใหม่

2 หัวข้อในการนำเสนอ สถานการณ์ภาระโรคและพฤติกรรมเสี่ยงทางสุขภาพของคนไทย
วัตถุประสงค์ของการศึกษา วิธีการศึกษาและแหล่งข้อมูลที่ใช้ ผลการศึกษา สรุปผลการศึกษา ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย

3 10 อันดับแรกของกลุ่มโรคที่ก่อให้เกิดความสูญเสียปีสุขภาวะ (DALY) ในประชากรไทย พ.ศ. 2547
% of Total ที่มา โครงการศึกษาภาระโรคและปัจจัยเสี่ยงของประเทศไทย พ.ศ. 2547

4 ปัจจัยเสี่ยงและจำนวนปีที่สูญเสียไปจากภาระโรคในประชากรไทย พ. ศ
ปัจจัยเสี่ยงและจำนวนปีที่สูญเสียไปจากภาระโรคในประชากรไทย พ.ศ และ 2547 ที่มา โครงการศึกษาภาระโรคและปัจจัยเสี่ยงของประเทศไทย พ.ศ. 2547

5 วัตถุประสงค์ของการศึกษา
เพื่อวิเคราะห์แนวโน้มความชุกของการสูบบุหรี่และการดื่มสุราในประชากรไทยระหว่างปี พ.ศ เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างระดับการศึกษาและฐานะทางเศรษฐกิจ กับความชุกของการสูบบุหรี่และการดื่มสุราระหว่างปี พ.ศ เพื่อศึกษารายจ่ายของครัวเรือนเพื่อการบริโภคสุราและบุหรี่เปรียบเทียบกับรายจ่ายเพื่อการรักษาพยาบาลและรายจ่ายโดยรวมของครัวเรือน เพื่อจัดทำข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการแก้ไขปัญหา

6 วิธีการศึกษาและแหล่งข้อมูล
วิเคราะห์ฐานข้อมูล การสำรวจอนามัยและสวัสดิการ (สอส.) พ.ศ. 2544, 2546 และ 2549 การสำรวจภาวะเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือน (สศส.) พ.ศ. 2545, 2547 และ 2549 ใช้ข้อมูลของประชากรตัวอย่างที่มีอายุมากกว่า 15 ปีขึ้นไปในการประเมินพฤติกรรมการสูบบุหรี่และดื่มสุรา จำแนกฐานะทางเศรษฐกิจของประชากรจากข้อมูลรายได้ต่อหัวของสมาชิกในครัวเรือนตัวอย่างออกเป็น 5 ควินไทล์รายรับ (ยากจนที่สุด ยากจน ปานกลาง รวย และ รวยที่สุด) จำแนกระดับการศึกษาของประชากรออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ ระดับประถมศึกษาหรือต่ำกว่า มัธยมศึกษา และ วิทยาลัย/มหาวิทยาลัย อาศัยการถ่วงน้ำหนักของครัวเรือนตัวอย่างเพื่อให้ได้ภาพของประชากรไทยทั้งประเทศ

7 ผลการศึกษา

8 แนวโน้มการสูบบุหรี่และการดื่มสุราของประชากรไทย แหล่งข้อมูล สอส
แนวโน้มการสูบบุหรี่และการดื่มสุราของประชากรไทย แหล่งข้อมูล สอส. 2544, 2546, 2549

9 ความชุกของการดื่มสุราในประชากรอายุ 15 ปีขึ้นไป แหล่งข้อมูล สอส
ความชุกของการดื่มสุราในประชากรอายุ 15 ปีขึ้นไป แหล่งข้อมูล สอส. 2544, 2546, 2549

10 ความชุกของการสูบบุหรี่ในประชากรอายุ 15 ปีขึ้นไป แหล่งข้อมูล สอส
ความชุกของการสูบบุหรี่ในประชากรอายุ 15 ปีขึ้นไป แหล่งข้อมูล สอส. 2544, 2546, 2549

11 ค่ามัธยฐานรายจ่ายของครัวเรือน (บาทต่อเดือน) สำหรับบุหรี่ สุราและสุขภาพ ตามตามควินไทล์รายรับ พ.ศ แหล่งข้อมูล สศส. 2549

12 สรุปผลการศึกษา ในช่วงระหว่างปี พ.ศ ความชุกของการสูบบุหรี่ในคนไทยอายุ 15 ปีขึ้นไปมีแนวโน้มลดลง และสัดส่วนของคนที่ไม่ดื่มสุรามีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น ประชาชนที่มีการศึกษาและมีรายได้สูงมีความชุกของการสูบบุหรี่น้อยกว่าประชากรกลุ่มที่มีเศรษฐานะยากจนหรือมีการศึกษาน้อยกว่าระดับมัธยมศึกษา ประชาชนที่มีการศึกษาสูงมีสัดส่วนของการดื่มสุราทุกสัปดาห์น้อยกว่า และมีความชุกของการไม่ดื่มสุรามากกว่ากลุ่มที่มีการศึกษาต่ำกว่าระดับมัธยมศึกษา ในปี 2549 ครัวเรือนไทยมีรายจ่ายเพื่อการดื่มสุราและการสูบบุหรี่สูงกว่ารายจ่ายสำหรับการรักษาพยาบาลในทุกกลุ่มควินไทล์รายรับ แนวโน้มรายจ่ายเพื่อการบริโภคบุหรี่และสุราเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในกลุ่มยากจนที่สุด (Q1) และกลุ่มยากจน (Q2)

13 ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย (1)
จากแนวโน้มอัตราเพิ่มของการบริโภคแอลกอฮอล์ ประเทศไทยควรกำหนดเป้าหมายระดับชาติในการควบคุมปริมาณการบริโภคแอลกอฮอล์ต่อคนต่อปีและต้องมีการบังคับใช้มาตรการที่มีประสิทธิผล ทบทวนการจัดเก็บภาษีของกรมสรรพสามิต โดยเฉพาะภาษีเหล้าขาว การกำหนดอายุต่ำสุดในการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ การควบคุมการโฆษณาทั้งทางตรงและทางอ้อม การควบคุมและจำกัดการเข้าถึงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เช่น กำหนดเวลาจำหน่าย จำกัดใบอนุญาต จำกัดประเภทของร้านค้าและสถานที่จำหน่าย การสุ่มตรวจผู้ขับขี่ขณะมึนเมา สนับสนุน พ.ร.บ.ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ที่สภานิติบัญญัติแห่งชาติกำลังพิจารณาอยู่ในขณะนี้ เนื่องจากเป็นกฎหมายที่มีขึ้นเพื่อปกป้องคุ้มครองเด็กและเยาวชน คุ้มครองครอบครัวและสังคมโดยรวม เพิ่มการรณรงค์ทางสื่อสารมวลชน เพื่อสร้างความตระหนักและการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม รวมทั้งเพื่อให้เกิดมาตรการทางสังคม

14 ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย (2)
หน่วยงานภาครัฐทั้งกระทรวงสาธารณสุข และ สปสช. รวมทั้งองค์กรเอกชนที่เกี่ยวข้อง เช่น สสส. โครงการรณรงค์ลดการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และทุกภาคส่วน ต้องให้ความสำคัญกับการควบคุมการบริโภคสุราและการสูบบุหรี่อย่างต่อเนื่องและเข้มแข็ง เนื่องจากเป็นปัจจัยสำคัญที่ก่อให้เกิดผลเสียต่อสุขภาพของประชาชนและสร้างภาระค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพในระยะยาว การใช้มาตรการทั้งด้านอุปสงค์และอุปทานและการให้ความสำคัญกับกลุ่มประชากรที่มีการศึกษาและรายได้น้อย สนับสนุนการสำรวจและเก็บข้อมูลของครัวเรือนไทยอย่างต่อเนื่องของสำนักงานสถิติแห่งชาติ เพื่อสร้างฐานข้อมูลที่เป็นประโยชน์สำหรับการติดตามความเปลี่ยนแปลงสถานการณ์การบริโภคสุราและการสูบบุหรี่ในกลุ่มประชากรที่มีระดับการศึกษาและรายได้ที่แตกต่างกัน พัฒนาข้อถามในแบบสำรวจการบริโภคสุรา เพื่อให้สะท้อนปริมาณการดื่มสุรา ทั้งในด้านปริมาณและความถี่ของการดื่ม

15 กิตติกรรมประกาศ สำนักงานสถิติแห่งชาติ สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ (สนย.)
กลุ่มประกันสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) โครงการความร่วมมือด้านการวิจัยเพื่อส่งเสริมความเป็นธรรมในระบบสุขภาพ (CREHS)


ดาวน์โหลด ppt บุหรี่และสุรา ความแตกต่างของปัจจัยเสี่ยงทางสุขภาพระหว่าง ครัวเรือนที่มีเศรษฐานะและระดับการศึกษาที่แตกต่างกัน วิชัย โชควิวัฒน สุพล ลิมวัฒนานนท์ กนิษฐา.

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google