งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

เทคนิคการกำกับดูแล : Tax Mapping (แผนที่ทางภาษีอากร)

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "เทคนิคการกำกับดูแล : Tax Mapping (แผนที่ทางภาษีอากร)"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 เทคนิคการกำกับดูแล : Tax Mapping (แผนที่ทางภาษีอากร)
สุเทพ พงษ์พิทักษ์ สรรพากรพื้นที่กรุงเทพมหานคร 3

2 องค์ความรู้ที่จำเป็นสำหรับ
เจ้าพนักงานสรรพากร จริยธรรม กฎหมาย ระเบียบ คำสั่ง ที่เกี่ยวข้อง ประมวลรัษฎากร กฎหมายธุรกิจ ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับธุรกิจ ลักษณะทั่วไปของธุรกิจ การประกอบธุรกิจ อื่นๆ คอมพิวเตอร์ ความรู้รอบตัว ความเป็นเจ้าพนักงานสรรพากร

3 ปีแห่งการให้บริการ หน่วยงานพร้อมที่จะให้บริการ
เจ้าหน้าที่ต้องเป็นผู้มีจิตบริการ (Serviced Minded) กตัญญู กตเวทิตา หิริ โอตตัปปะ สังคหวัตถุ พรหมวิหารธรรม

4 ประเภทภาษีอากรที่เกี่ยวข้อง
ภาษีเงินได้ ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย อนุสัญญาว่าด้วยการจัดเก็บภาษีซ้ำซ้อน ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะ อากรแสตมป์ ภาษีอากรประเภทอื่นๆ ภาษีศุลกากร ภาษีสรรพสามิต ภาษีโรงเรือนและที่ดิน ภาษีบำรุงท้องที่ ภาษีป้าย อื่นๆ

5 ประเด็นทางภาษีอากร ประเด็นทางด้านรายได้ ประเด็นทางด้านรายจ่าย
พิจารณาจากบัญชีแยกประเภทรายได้ - บัญชีกำไรขาดทุน ประเด็นทางด้านรายจ่าย พิจารณาจากบัญชีแยกประเภทรายจ่าย - บัญชีกำไรขาดทุน ประเด็นทางด้านทรัพย์สิน หนี้สิน และทุน พิจารณาจากบัญชีแยกประเภททรัพย์สิน หนี้สิน และทุน - งบดุล ประเด็นทางด้านหน้าที่ทางภาษีอากร พิจารณาจากกฎหมายภาษีอากร

6 Taxation for Business 1. ประเภทภาษีอากรที่เกี่ยวข้อง (Tax Types)
– CIT: ภาษีเงินได้นิติบุคคล - WT: ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย – VAT: ภาษีมูลค่าเพิ่ม - SBT: ภาษีธุรกิจเฉพาะ - SD: อากรแสตมป์ - Others: อื่นๆ 2. ประเด็นทางภาษีอากร (Tax Issues) - Revenue: ประเด็นทางด้านรายได้ - Expenditure: ประเด็นทางด้านรายจ่าย - A/S & Liabilities: ประเด็นทางด้านทรัพย์สินและหนี้สิน - Tax Functions: ประเด็นทางด้านหน้าที่ทางภาษีอากร 3. Tax Mapping 4. Tax Manual

7 Tax Mapping WT CIT VAT SBT SD Others PIT CIT GL GL Tax Types
Tax Issues PIT CIT 1. Revenue -- -- -- -- -- GL 2. Expenditure -- -- -- -- -- -- GL 3. Assets & Liabilities -- -- -- -- -- -- 4. Tax Functions

8 Tax Mapping WT CIT VAT SBT SD Others PIT CIT GL Tax Types Tax Issues
1. Revenue -- -- -- -- -- GL

9 หน้าที่เกี่ยวกับภาษีเงินได้นิติบุคคล
หน้าที่ในการจัดทำบัญชีตามกฎหมายว่าด้วยการบัญชี หน้าที่ในการคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคล หน้าที่ในการยื่นแบบและชำระภาษีเงินได้นิติบุคคล หน้าที่ในการพิสูจน์ความมีเหตุอันสมควร หน้าที่ให้ความร่วมมือกับทางราชการ

10 หน้าที่เกี่ยวกับภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย
หน้าที่ในการคำนวณหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย หน้าที่ในการนำส่งภาษีหัก ณ ที่จ่าย พร้อมทั้งยื่นแบบแสดงรายการ ไม่ว่าจะได้หักไว้หรือไม่ก็ตาม หน้าที่ในการยื่นรายการสรุปการจ่ายเงินได้และการนำส่งภาษี หน้าที่ในการออกหนังสือรับการหักภาษี ณ ที่จ่าย หน้าที่ในการจัดทำบัญชีพิเศษแสดงการหัก และการนำส่งภาษี สิทธิในการขอคืนภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย หน้าที่ให้ความร่วมมือกับทางราชการ

11 หน้าที่เกี่ยวกับภาษีธุรกิจเฉพาะ
หน้าที่ในการจดทะเบียนภาษีธุรกิจเฉพาะ หน้าที่เกี่ยวกับการจัดทำใบรับ หน้าที่ในการคำนวณภาษีธุรกิจเฉพาะ หน้าที่ในการยื่นแบบและชำระหรือนำส่งภาษีธุรกิจเฉพาะ หน้าที่ให้ความร่วมมือกับทางราชการ

12 หน้าที่เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม
หน้าที่ในการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม หน้าที่เกี่ยวกับการจัดทำใบกำกับภาษี หน้าที่เกี่ยวกับการจัดทำรายงาน หน้าที่ในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม หน้าที่ในการยื่นแบบและชำระหรือนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่ม หน้าที่ให้ความร่วมมือกับทางราชการ

13 Tax Manual 1. Business Background (to answer the new comers; Tax Officers, Auditor, New Executive & Staff, Investor) 2. Tax Manual: Revenue, Tax Manual: Expenditure, Tax Manual: A/S & Liabilities (They are same procedure) 3. Tax Manual: Tax Functions

14 Tax Manual: Revenue Consider each Financial Transaction
1. About GAAP: Generally Accepted A/C Principle - Content (TAS #) - A/C Entry - Supporting Doc. (Flow Chart) - Audit - Internal Control - Others

15 Tax Manual: Revenue Consider each Transaction 2. About Taxation
- Tax Law / Tax Types - Regulation - Tax Ruling - Tax Documents - Tax Functions

16 Tax Manual: Revenue Consider each Transaction
3. About Difference GAAP & Taxation - What - How - How to adjust & by whom & when 4. Suggestions - Tax Risk Mgmt

17 ความสัมพันธ์ของกำไรสุทธิทางบัญชีกับกำไรสุทธิทางภาษีอากร
Financial Transactions GAAP : Generally Accepted Accounting Principle บันทึกรายการทางการเงินที่เกิดขึ้นในรอบ ระยะเวลาบัญชีทุกรายการตามหลักการ บัญชีคู่ (Double Entry A/C System) งบดุล งบกำไรขาดทุน (กำไรสุทธิหรือขาดทุนสุทธิทางบัญชี/ การเงิน) ตรวจสอบและรับรองบัญชีโดย CPA/ TA นำเสนอต่อผู้เป็นเจ้าของ สาธารณชนโดย ผ่านกระทรวงพาณิชย์ และกรมสรรพากร 1 2 3 ปรับปรุงให้เป็นไปตาม Tax Issues เงื่อนไขทางภาษีอาการตามมาตรา 65, 65 ทวิ, 65 ตรี, 65 จัตวา, 70 ตรี, 74 เงื่อนไขเกี่ยวกับรายได้ เงื่อนไขเกี่ยวกับรายจ่าย หลักเกณฑ์ ในการตีราคา ท/ส และหนี้สิน กำไรสุทธิหรือขาดทุนสุทธิทางภาษีอากร นำไปคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคล เพื่อยื่น แบบ ภ.ง.ด.50 และ ภ.ง.ด.51

18 ความแตกต่างของรายได้ รายจ่ายทางบัญชี กับรายได้ รายจ่ายทางภาษีอากร
ความแตกต่างของรายได้ รายจ่ายทางบัญชี กับรายได้ รายจ่ายทางภาษีอากร ทางภาษีอากร (Taxable) รายได้ รายจ่าย รับรู้รายได้และรายจ่าย ไม่รับรู้รายได้และรายจ่าย บัญชี ภาษีรายได้   (ไม่ต้องปรับปรุงใดๆ) รายจ่าย   บัญชี ภาษีรายได้   (ปรับปรุงหักออก) รายจ่าย   (ปรับปรุงบวกกลับ) รับรู้ รายได้ และ รายจ่าย ทางบัญชี (Financial) บัญชี ภาษีรายได้   (ปรับปรุงบวกเพิ่ม) รายจ่าย   (ปรับปรุงหักออก) บัญชี ภาษีรายได้   (ไม่ต้องปรับปรุงใดๆ) รายจ่าย   ไม่รับรู้ รายได้ และ รายจ่าย

19 เงื่อนไขเกี่ยวกับรายได้
1. มาตรา 65 - ประเภทรายได้ รายได้จากกิจการ, รายได้เนื่องจากกิจการ - เกณฑ์รับรู้รายได้ (ท.ป.1/2528 ป.36/2536 ป.61/2539 ป.73/2541) ดู ท.ป.155/2549 ประกอบ 2. มาตรา 65 ทวิ (4) ผลตอบแทนจากการโอนทรัพย์สิน (ขายสินค้า) ให้ บริการ และให้กู้ยืมเงิน ต้องเป็นไปตาม 3. มาตรา 65 ทวิ (10) เงินปันผลหรือเงินส่วนแบ่งของกำไรของบริษัทที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย 4. มาตรา 65 ทวิ (11) ดอกเบี้ยที่อยู่ในบังคับที่ต้องถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายตามกฎหมายว่าด้วยภาษีเงินได้ปิโตรเลียม ราคาตลาด

20 เงื่อนไขเกี่ยวกับรายได้ (2)
5. มาตรา 65 ทวิ (12) เงินปันผลที่อยู่ในบังคับที่ต้องถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายตามกฎหมายว่าด้วยภาษีเงินได้ปิโตรเลียม 6. มาตรา 65 ทวิ (14) ภาษีขายไม่ใช่รายได้ 7. มาตรา 65 จัตวา เครดิตภาษีที่ได้จากโรงงานยาสูบ 8. มาตรา 70 ตรี กรณีที่กฎหมายกำหนดให้ถือเป็นการขาย เนื่องจากการส่งสินค้าออกไปต่างประเทศ 9. มาตรา 74 การคำนวณกำไรสุทธิกรณีเลิก ควบ หรือโอนกิจการ

21 เงื่อนไขเกี่ยวกับรายได้ (3)
10. การยกเว้นรายได้ - พรฎ. (ฉ.10) เงินส่วนแบ่งของกำไรจากกิจการร่วมค้า - พรฎ. (ฉ.263) เงินปันผลหรือเงินส่วนแบ่งของกำไรจากกองทุนรวมที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ - พรฎ. (ฉ.284) เงินปันผลหรือเงินส่วนแบ่งของกำไรจากกิจการโรงเรียนเอกชน สถาบันอุดมศึกษาเอกชน และกิจการ In-house Training

22 เงื่อนไขเกี่ยวกับรายจ่าย
1. ประเภทของรายจ่าย - รายจ่ายอันมีลักษณะเป็นการลงทุน (มาตรา 65 ตรี (5) พรฎ. (ฉ. 375) ประกาศอธิบดีเกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 92) - รายจ่ายในการดำเนินงาน 2. มาตรา 65 ทวิ (2) ค่าสึกหรอและค่าเลื่อมราคาทรัพย์สิน (ดู พรฎ. (ฉ. 145) (ฉ. 385) (ฉ. 395) และ ป. 3/2527) 3. มาตรา 65 ทวิ (7) ราคาทุนของสินค้าที่ส่งเข้ามาจากต่างประเทศ (Anti Transfer Pricing) 4. มาตรา 65 ทวิ (8) ราคาทุนของสินค้าที่เป็นเงินตราต่างประเทศ

23 เงื่อนไขเกี่ยวกับรายจ่าย
5. มาตรา 65 ทวิ (9) การจำหน่ายหนี้สูญออกจากบัญชีลูกหนี้ (ดูกฎกระทรวง ฉบับที่ 186) 6. มาตรา 65 ทวิ (1) = มาตรา 65 ตรี (1) – (20) รายจ่ายต้องห้าม 7. มาตรา 74 การคำนวณกำไรสุทธิกรณีเลิก ควบ หรือโอนกิจการ 8. รายจ่ายที่หักได้เพิ่มขึ้น - มาตรา 65 ตรี (12) ผลขาดทุนสุทธิยกมาไม่เกิน 5 ปี - พรฎ. (ฉ.437) - Public Training - In-house Training - ฝิกอบรมอาชีพแก่บุคคลภายนอก - พรฎ. (ฉ.297) R&D Fee - พรบ. ฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ (พ.ศ.2534) - พรบ. ส่งเสริมการลงทุน – ค่าขนส่ง และค่า Infra Structure

24 หลักเกณฑ์ในการตีราคาทรัพย์สินและหนี้สิน
1. มาตรา 65 ทวิ (3) การตีราคาสินค้าอย่างอื่นที่ไม่ใช่สินค้าคงเหลือ 2. มาตรา 65 ทวิ (5) การตีราคาเงินตรา ทรัพย์สิน หรือหนี้สินที่มีค่าหรือราคาเป็นเงินตราต่างประเทศ - เพียง ณ วันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี - ณ วันที่ได้มาหรือจ่ายไประหว่างรอบระยะเวลาบัญชี 3. มาตรา 65 ทวิ (6) การตีราคาสินค้าคงเหลือ 4. มาตรา 74(1) การตีราคาทรัพย์สินกรณีเลิก ควบ โอนกิจการ

25 เงื่อนไขในการคำนวณกำไรสุทธิ (1)
เงื่อนไขเกี่ยวกับ (1) = 65 ตรี (1) – (20) รายจ่ายต้องห้าม (2) ค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาทรัพย์สิน (3) การตีราคาทรัพย์สินอย่างอื่นที่มิใช่สินค้าคงเหลือ (4) การรับรู้รายได้ตามราคาตลาด (5) ตีราคาเงินตรา ทรัพย์สิน หนี้สินที่มีค่าหรือราคา เป็นเงินตรา ตปท. (6) การตีราคาสินค้าคงเหลือ (7) ราคาทุนของสินค้าที่ส่งเข้ามาจาก ตปท. (8) ราคาทุนของสินค้าที่เข้ามาจาก ตปท. (9) การจำหน่ายหนี้สูญจากบัญชีลูกหนี้ (10) เงินปันผลหรือเงินส่วนแบ่งของกำไรสำหรับ บริษัทไทย หลักเกณฑ์ตามมาตรา 65 ทวิ รายได้ รายจ่าย ตีราคา ท/ส น/ส (Anti Transfer Pricing)

26 เงื่อนไขในการคำนวณกำไรสุทธิ (1)
เงื่อนไขเกี่ยวกับ (11) ดอกเบี้ยที่อยู่ในบังคับที่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย ตามกม.ภาษีเงินได้ปิโตรเลียม (12) เงินปันผลที่อยู่ในบังคับที่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย (13) รายได้ของมูลนิธิหรือสมาคม (14) ภาษีขายไม่ใช่รายได้ - มาตรา 65 จัตวา รายได้เครดิตภาษีจากการซื้อบุหรี่ ของโรงงานยาสูบ มาตรา 70 ตรี กรณีที่กม.ถือเป็นการขาย มาตรา 74 การคำนวณกำไรขาดทุน กรณีเลิกกิจการ ควบกิจการ หรือโอนกิจการ หลักเกณฑ์ตามมาตรา 65 ทวิ รายได้ รายจ่าย ตีราคา ท/ส น/ส Deemed Sale

27 การเสีย CIT โดยถูกหัก ณ ที่จ่าย
1. WT. ตาม ม. 69 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร “ภายใต้บังคับมาตรา 70 ถ้ารัฐบาล องค์การของรัฐบาล เทศบาล สุขาภิบาล หรือองค์การบริหารราชการส่วนท้องถิ่นอื่น เป็นผู้จ่าย เงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 ให้กับบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลใด ให้คำนวณหักภาษีเงินได้ไว้ ณ ที่จ่ายในอัตราร้อยละ 1 ภาษีที่หักไว้นี้ให้ถือเป็นเครดิตในการคำนวณภาษีเงินได้ของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลตามรอบระยะเวลาบัญชีที่หักไว้นั้น ในการนี้ให้นำมาตรา 52 มาตรา 53 มาตรา 54 มาตรา 58 และมาตรา 59 มาใช้บังคับโดยอนุโลม” WT. ตาม ม. 69 ตรี แห่งประมวลรัษฎากร กรณี จ่ายเงินได้ค่าซื้ออสังหาริมทรัพย์ 1%

28 การเสีย CIT โดยถูกหัก ณ ที่จ่าย
2. WT. ตาม ม. 69 ตรี แห่งประมวลรัษฎากร “ให้บุคคล ห้างหุ้นส่วน บริษัท สมาคม หรือคณะบุคคลผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (8) เฉพาะที่จ่ายให้กับบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ซึ่งขายอสังหาริมทรัพย์ คำนวณหักภาษีเงินได้ไว้ ณ ที่จ่ายในอัตราร้อยละ 1 แล้วนำส่งพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้รับจดทะเบียนสิทธิ และนิติกรรมในขณะที่มีการจดทะเบียน และให้นำความในมาตรา 52 วรรคสอง และวรรคสาม มาใช้บังคับโดยอนุโลม     ภาษีที่หักไว้และนำส่งตามวรรคหนึ่ง ให้ถือเป็นเครดิตในการคำนวณภาษีเงินได้ของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ที่ถูกหักภาษีตามรอบระยะเวลาบัญชีที่หักไว้นั้น”

29 การเสีย CIT โดยถูกหัก ณ ที่จ่าย
รายการ WT. ม.69 ทวิ WT. ม. 69 ตรี 1. ผู้จ่ายเงินได้ องค์การของรัฐบาล เทศบาล หรือองค์การบริหารราชการส่วนท้องถิ่นอื่น บุคคล ห้างหุ้นส่วน บริษัท สมาคม หรือคณะบุคคล 2. ประเภทเงินได้ เงินได้พึงประเมินตาม ม. 40 (2) – (8) เงินได้พึงประเมินตาม ม. 40(8) เฉพาะเงินได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์ 3. ผู้รับเงิน บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ประกอบกิจการในไทย บริษัทหรือห้างฯ นิติบุคคลผู้ขายอสังหาริมทรัพย์ 4. อัตรา WT. 1%

30 การเสีย CIT โดยถูกหัก ณ ที่จ่าย
3. WT. ตาม ม. 3 เตรส แห่งประมวลรัษฎากร - ม. 40(2) เงินได้ค่านายหน้าตาม %, 10% - ม. 40 (3) เงินได้ค่าสิทธิ %, 10% - ม. 40(4)(ก) เงินได้ค่าดอกเบี้ย %, 10% - ม. 40(4)(ข) เงินปันผล/เงินส่วนแบ่งของกำไร 10% - ม. 40(5)(ก) ค่าเช่าทรัพย์สิน 5%, 10% - ม. 40(6) เงินได้จากวิชาชีพอิสระ 3%, 10% - ม. 40(7)(8) ค่าจ้างทำของ %, 5% - - ม. 40(8) ค่าซื้อพืชผลทางการเกษตร % - ม. 40(8) ค่าเบี้ยประกันวินาศภัย 1% - ม. 40(8) ค่าขนส่งที่มิใช่ค่าโดยสาร สำหรับรับจ้างขนส่งสาธารณะ 1%

31 การเสีย CIT โดยถูกหัก ณ ที่จ่าย
3. WT. ตาม ม. 3 เตรส แห่งประมวลรัษฎากร (ต่อ) - ม. 40(8) ค่าโฆษณา 2% - ม. 40(8) รางวัล ส่วนลด ประโยชน์ใดๆ 3% จากการส่งเสริมการขาย - ม. 40(8) ค่าบริการอื่นๆ 3% - ม. 40(8) รางวัลจากการแข่งขัน ชิงโชค* 5% โดยทั่วไปผู้จ่ายเงินได้ที่ต้องหักภาษีเงินได้นิติบุคคล ณ ที่จ่าย ตามม. 3 เตรส ได้แก่ บริษัทหรือห้างฯ นิติบุคคล หรือนิบุคคลอื่น เฉพาะกรณี * ในรวมทั้งผู้จ่ายเงินได้ที่เป็นบุคคลธรรมดา คณะ บุคคล หรือ หสม.ที่มิใช่นิติบุคคล

32 การเสีย CIT โดยถูกหัก ณ ที่จ่าย
4. ภาษี ณ ที่จ่ายตาม ม. 70 แห่งประมวลรัษฎากร บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศ มิได้ประกอบกิจการในประเทศไทย แต่ได้รับเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (2)(3) (4) (5) หรือ (6) ที่จ่ายจากหรือในประเทศไทย ให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้นเสียภาษี โดยให้ผู้จ่ายหักภาษีจากเงินได้พึงประเมินที่จ่ายตามอัตราภาษีเงินได้ สำหรับบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลแล้วนำส่งอำเภอท้องที่พร้อมกับยื่นรายการตามแบบที่อธิบดีกำหนดภายในเจ็ดวันนับแต่วันสิ้นเดือนของเดือนที่จ่ายเงินได้พึงประเมินนั้น ทั้งนี้ ให้นำมาตรา 54 มาใช้บังคับโดยอนุโลม ความในวรรคหนึ่งมิให้ใช้บังคับในกรณีที่บริษัท หรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศ ได้รับเงินได้พึงประเมินที่เป็นดอกเบี้ยจากรัฐบาล หรือสถาบันการเงินที่มีกฎหมายโดยเฉพาะของประเทศไทยจัดตั้งขึ้นสำหรับให้กู้ยืมเงินเพื่อส่งเสริมเกษตรกรรม พาณิชยกรรม หรือ อุตสาหกรรม

33 สรุปภาษีหัก ณ ที่จ่ายตาม ม.70 และการนำส่ง VAT ตาม ม.83/6
รายการเงินได้ W.T. ตาม ม.70 (ภ.ง.ด.54) การนำส่ง VAT ตาม ม.83/6 (ภ.พ.36) DTA NON DTA ต้องนำส่ง ไม่ต้องนำส่ง 1. ม.40(2) - Commission - เงินได้จากรับทำงานให้ - กรณีอื่น ๆ - การซ่อมแซม - Training 2. ม.40(3) - ใช้สิทธิ - ซื้อขายสิทธิโดยเด็ดขาด (Business Profit) 15% (ดู DTA) 15% ลูกค้าในไทย Concrete รูปธรรม -  Service ลูกค้า ตปท ประกาศ VAT (ฉ. 40 ข้อ2(3)) นามธรรม Abstract (ดู ป.104/ 2545)  goods Web Site ค่าสิทธิ (ม.40(3))

34 สรุปภาษีหัก ณ ที่จ่ายตาม ม.70 และการนำส่ง VAT ตาม ม.83/6
รายการเงินได้ W.T. ตาม ม.70 (ภ.ง.ด.54) การนำส่ง VAT ตาม ม.83/6 (ภ.พ.36) DTA Non DTA ต้องนำส่ง ไม่ต้องนำส่ง 3. ม.40(4)(ก) 4. ม.40(4)(ข) 5.ม.40(4) (ค) – (ช) 6.ม.40(5)(ก) (กรณีเช่า ท/ส และใช้ใน ต่างประเทศ) 7. ม.40(6) 8. ม.40(8) – ค่าโฆษณา 15% (ดูDTA) 10% 15% out of VAT scope Business Profit - 15%(ดู พรฎ ที่เกี่ยวข้อง) ใช้บริการในไทย ใช้บริการใน ตปท.

35 บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ที่มีหน้าที่เสีย CIT จากฐานกำไรสุทธิ
รอบระยะเวลาบัญชีแรกและรอบสุดท้ายน้อยกว่า12 ด.หรือรอบที่เปลี่ยนแปลงฯ ไม่เกิน 6 เดือน Y ไม่ต้องยื่นแบบ ภ.ง.ด.51 ม.67 ทวิ N บริษัทจดทะเบียน, สถาบันการเงิน, บริษัทหรือห้างฯ ที่ได้รับอนุมัติให้มีผู้สอบทานงบการเงิน Y ยื่นแบบ ภ.ง.ด.51 โดยเสีย CIT จากกำไรสุทธิจริงในรอบ 6 ด.แรกของรอบบัญชี N ยื่นแบบ ภ.ง.ด.51 โดยเสีย CIT จากกึ่งของประมาณการกำไรสุทธิของทั้งรอบระยะเวลาบัญชี

36 รอบระยะเวลาบัญชี 12 เดือน X X X X 6 เดือน ภายใน 2 เดือน ภ.ง.ด.51 ม. 67 ทวิ ภายใน 150 วัน ภ.ง.ด.50,52,55 ม 68, 68ทวิ, 69 CIT ที่ชำระตามและหรือ WT ถือเป็นเครดิตในการยื่นแบบ ภ.ง.ด.50 ต่อไป

37 CIT จากประมาณการกำไรสุทธิ
รอบระยะเวลาบัญชี 12 เดือน X X X X X 6 เดือน 2 เดือน 150 วัน กิจการที่ได้กระทำ รายได้ จริง + รายจ่าย จริง + กิจการที่จะได้กระทำ รายได้ ประมาณการ = xxx รายจ่าย ประมาณการ = xxx ประมาณการกำไรสุทธิ (ขาดทุนสุทธิ) = xxx หัก ผลขาดทุนสุทธิยกมาไม่เกิน 5 รอบบัญชี xxx ประมาณการกำไรสุทธิ (ขาดทุนสุทธิ) xxx CIT = ประมาณการกำไรสุทธิ / 2 คูณอัตรา CIT = xxx หัก ภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายในรอบ 6 เดือนแรก xxx CIT ที่ต้องชำระเพิ่มเติม = xxx

38 บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ที่มีหน้าที่ยื่นแบบ ภ.ง.ด.51
1. เสียเงินเพิ่ม 20% ของกึ่งหนึ่งของ CIT ตาม ภ.ง.ด.50(ถ้ามี) 2. ค่าปรับอาญาตามม.35 ไม่ยื่นรายการ ภ.ง.ด.51 Y N 1. เสียเงินเพิ่ม 20% ของ CIT ตาม ภ.ง.ด.51(ถ้ามี) 2. ค่าปรับอาญาตามม.35 ยื่นรายการ ภ.ง.ด.51 ล่าช้า หรือยื่นเพิ่มเติม Y N ยื่นรายการ ภ.ง.ด.51 โดยแสดง ประมาณการขาดไปเกิน 25% โดยไม่มีเหตุอันสมควร Y เสียเงินเพิ่ม 20% ของ CIT ที่ ชำระขาดไป เงินเพิ่มตามม.67 ตรี ให้ลดลงเหลือ 1.5% ต่อเดือนหรือเศษของเดือนของเงินภาษีแต่ไม่เกินอัตราตามกฎหมาย ตามคำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป.81/2542

39 การเสีย CIT ประจำรอบระยะเวลาบัญชี
1. กำหนดเวลาการยื่นแบบและชำระภาษีเงินได้นิติบุคคลประจำรอบระยะเวลาบัญชี คือ ภายใน 150 วันนับแต่วันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี (มาตรา 68) 2. แบบแสดงรายการที่อธิบดีกรมสรรพากรกำหนด  ภ.ง.ด. 50 สำหรับ CIT จากฐานกำไรสุทธิ  ภ.ง.ด. 52 สำหรับบริษัทขนส่งระหว่างประเทศตามมาตรา 67  ภ.ง.ด. 55 สำหรับมูลนิธิหรือสมาคม 3. กำหนดบัญชีที่ต้องจัดทำ (มาตรา 68 ทวิ)  บัญชีงบดุล บัญชีทำการ และบัญชีกำไรขาดทุนสำหรับ CIT จากฐานกำไรสุทธิ  บัญชีรายรับก่อนหักรายจ่ายเกี่ยวกับค่าโดยสารหรือค่าระวาง สำหรับบริษัทขนส่งระหว่างประเทศตามมาตรา 67

40 การเสีย CIT ประจำรอบระยะเวลาบัญชี
4. พร้อมกับการยื่นแบบ ภ.ง.ด.50 ให้แนบบัญชีงบดุล บัญชีทำการ และบัญชีกำไรขาดทุนที่มีผู้สอบบัญชีตามมาตรา 3 สัตต ตรวจสอบและรับรองในรอบระยะเวลาบัญชีดังกล่าว และพร้อมกับการยื่นแบบ ภ.ง.ด.52 ให้แนบบัญชีบัญชีรายรับก่อนหักรายจ่าย

41 การเสีย CIT จากการจำหน่ายเงินกำไร
1. ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้นิติบุคคลจากการจำหน่ายเงินกำไรตามมาตรา 70 ทวิ ได้แก่ ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้นิติบุคคลจากฐานกำไรสุทธิ ซึ่งได้จำหน่ายเงินกำไร หรือเงินประเภทอื่นใดที่กันไว้จากกำไรหรือที่ถือได้ว่าเป็นเงินกำไรออกไปจากประเทศไทย ดังต่อไปนี้ 1.1 บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของ ต่างประเทศ ที่เข้ามาประกอบกิจการในประเทศตามมาตรา 66 หรือมาตรา 76 ทวิ 1.2 รัฐบาลต่างประเทศ องค์การของรัฐบาลต่างประเทศ หรือนิติ บุคคลอื่นที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศ ที่เข้ามา ประกอบกิจการโดยมุ่งในทางการค้าหรือหากำไรในประเทศ ไทยตามมาตรา 66 หรือมาตรา 76 ทวิ

42 การเสีย CIT จากการจำหน่ายเงินกำไร
2. ให้เสียภาษีเงินได้ โดยหักภาษีจากจำนวนเงินที่จำหน่ายนั้นใน อัตรา 10% แล้วนำส่ง พร้อมกับยื่นรายการตามแบบ ภ.ง.ด.54 ส่วน ข. ภายในวันที่ 7 ของเดือนถัดไป   3. วิธีการจำหน่ายเงินกำไร หมายถึง (1) การจำหน่ายเงินกำไร หรือเงินประเภทอื่นใดที่กันไว้จากกำไร หรือที่ถือได้ว่าเป็นเงินกำไร จากบัญชีกำไรขาดทุนหรือบัญชี อื่นใดไปชำระหนี้หรือหักกลบลบหนี้ หรือไปตั้งเป็นยอดเจ้าหนี้ ในบัญชีของบุคคลใดๆ ในต่างประเทศหรือ (2) ในกรณีที่มิได้ปรากฏข้อเท็จจริงดังกล่าวใน (1) แต่ได้มีการ ขออนุญาตซื้อและโอนเงินตราต่างประเทศ ซึ่งเป็นเงินกำไร หรือเงินประเภทอื่นใดที่กันไว้จากกำไรหรือที่ถือได้ว่าเป็นเงิน กำไรออกไปต่างประเทศ หรือ (3) การปฏิบัติอย่างอื่นซึ่งก่อให้เกิดผลตาม (1) หรือ (2)

43 การเสีย CIT โดยเจ้าพนักงานประเมินเรียกเก็บ
1. การประเมินก่อนถึงกำหนดเวลายื่นรายการ มาตรา 18 ทวิ ในกรณีจำเป็นเพื่อรักษาประโยชน์ในการจัดเก็บภาษีเงินได้นิติบุคคล (CIT) เจ้าพนักงานประเมิน มีอำนาจที่จะประเมินเรียกเก็บ CIT จากผู้ต้องเสียภาษี ก่อนถึงกำหนดเวลายื่นรายการประจำรอบระยะเวลาบัญชี (ตามม.68, 68ทวิ, 69) ได้ เมื่อได้ประเมินแล้วให้แจ้งจำนวนภาษีที่ต้องเสียไปยังผู้ต้องเสียภาษี และให้ผู้ต้องเสียภาษีชำระภาษีภายในเจ็ดวัน นับแต่วันได้รับแจ้งการประเมิน ในกรณีนี้จะอุทธรณ์การประเมินก็ได้     ภาษีที่ประเมินเรียกเก็บดังกล่าว ให้ถือเป็นเครดิตของผู้ต้องเสียภาษีในการคำนวณภาษี  ในการนี้ เจ้าพนักงานประเมินจะสั่งให้ยื่นรายการตามแบบที่อธิบดีกำหนดด้วยก็ได้

44 การเสีย CIT โดยเจ้าพนักงานประเมินเรียกเก็บ
2. การประเมินตามแบบแสดงรายการ มาตรา 18 ให้เจ้าพนักงานประเมิน ทำการประเมินความถูกต้องครบถ้วนของจำนวนภาษีตามแบบแสดงรายการที่ยื่นว่าเป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดไว้หรือไม่ และเมื่อได้ประเมินแล้ว ให้แจ้งจำนวนภาษีอากรที่ประเมินไปยังผู้ต้องเสียภาษีอากร ซึ่งผู้ต้องเสียภาษีอากรมีสิทธิอุทธรณ์การประเมินตามม.28 และม.30 ได้...  ถ้าเมื่อประเมินแล้ว ไม่ต้องเรียกเก็บหรือเรียกคืนภาษีอากร การแจ้งจำนวนภาษีอากร เป็นอันงดไม่ต้องกระทำ แต่เจ้าพนักงานประเมินยังคงดำเนินการออกหมายเรียกตามม. 19 และประเมินเรียกเก็บ CIT ตามม. 20 และม. 21 ได้ กรณีมี CIT ต้องชำระเพิ่มเติมตามการประเมิน ให้คิดเงินเพิ่มตามม. 27 ในอัตรา 1.5% ต่อเดือนหรือเศษของเดือนของเงินภาษีด้วย

45 การเสีย CIT โดยเจ้าพนักงานประเมินเรียกเก็บ
3. การประเมินตามผลการตรวจสอบตามหมายเรียก รายการ กรณียื่นแบบฯ กรณีมิได้ยื่นแบบฯ กรณีพิเศษ 1. อำนาจในการออกหมายเรียก ม.19 ม.23 ม.19 หรือ 23 2. อำนาจประเมินและแจ้งผลการประเมิน ม.20 หรือม.21 ม.24 หรือม.25 ม.71 3. อำนาจประเมินเบี้ยปรับและเงินเพิ่ม ม.22 และ ม.27 ม.26 และม.27 ม.27 (ไม่มีเบี้ยปรับ) 4. กำหนดเวลาชำระภาษี ม.18 ตรี 5. การอุทธรณ์การประเมิน

46 การกำกับดูแล โดยใกล้ชิด
- เจ้าพนักงานเป็นหุ้นส่วน (Partnership) กับผู้ประกอบการ เพื่อให้บริการที่ดี - มีทีมกำกับดูแลที่ชัดเจน เป็นเจ้าภาพ (Host) เป็นรายตัวผู้ประกอบการ - 100% จำนวนผู้ประกอบการ - ในแต่ละราย 100% ประเภทภาษี - ในแต่ละประเภทภาษี 100% เม็ดเงินภาษี ให้เป็นปัจจุบัน (Present) - Slogan “เสียภาษีให้ถูกต้องวันนี้ ไม่มีภาษีย้อนหลัง”

47 การเสีย CIT โดยเจ้าพนักงานประเมินเรียกเก็บ
 ม.65 ทวิ (4)  ม.65 ทวิ (7)  “เหตุอันสมควร” ม.65 ตรี (15)  ม.67 ตรี (เงินเพิ่มประมาณการกำไรสุทธิ)  ม.71(1)(2)(3) ดูคำสั่งกรมสรรพากรที่ ป.78/2541  ม.72 (เงินเพิ่มกรณีไม่แจ้งเลิกประกอบการ)  กล่าวหาว่าเสียภาษีไม่ถูกต้อง


ดาวน์โหลด ppt เทคนิคการกำกับดูแล : Tax Mapping (แผนที่ทางภาษีอากร)

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google