งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

การคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา สรรพากรพื้นที่กรุงเทพมหานคร 3

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "การคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา สรรพากรพื้นที่กรุงเทพมหานคร 3"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 การคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา สรรพากรพื้นที่กรุงเทพมหานคร 3
Personal Income Tax สุเทพ พงษ์พิทักษ์ สรรพากรพื้นที่กรุงเทพมหานคร 3

2 โครงสร้างภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
1. หลักการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา 2. ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา 3. การคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา 4. วิธีการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา 5. การยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา 6. การขอคืนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา 7. หน้าที่อื่นของผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา 8. การขจัดข้อโต้แย้งทางภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา 9. บทกำหนดโทษเกี่ยวกับภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

3 1. หลักการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (Principle)
1. เป็นภาษีทางตรง (PIT is Direct Tax) 2. อำนาจหน้าที่และการควบคุมจัดเก็บโดยกรมสรรพากร Collect by Revenue Department 3. จัดเก็บตามหลักความสามารถในการเสียภาษี “Ability to Pay” principle 4. จัดเก็บเป็นรายปีภาษี (Tax Year) 5. เป็นภาษีอากรประเมิน (PIT is Assessment Tax)

4 2. ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
ได้แก่ ผู้มีเงินได้พึงประเมินดังต่อไปนี้ 1. บุคคลธรรมดา (Ordinary Person) 2. ผู้ถึงแก่ความตายระหว่างปีภาษี (Person who died during tax year) 3. กองมรดกที่ยังมิได้แบ่ง (The Undevided Estate) 4. ห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล (Non Juristic Partnership or Group of Person)

5 3. การคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
3.1 การคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาประจำปี ตามมาตรา 48 (1) วิธีที่ 1 การคำนวณภาษีเงินได้จากเงินได้สุทธิ ภาษีเงินได้ (1) = เงินได้สุทธิ x อัตราภาษีก้าวหน้า เงินได้สุทธิ = เงินได้พึงประเมินทุกประเภทที่ได้ในระหว่างปีภาษี เฉพาะรายการที่ไม่ได้รับยกเว้นภาษี หักด้วยค่าใช้จ่ายตามม.42 ทวิ ม.42ตรี ม.43 ม.44 ม.45 ม.46 และพรฎ.(ฉบับที่ 11) พ.ศ.2502 และ (ฉบับที่ 165) พ.ศ.2529 และค่าลดหย่อน ตามม.47 ม.57 ตรี และม.57 เบญจ วิธีที่ 2 การคำนวณภาษีเงินได้จากยอดเงินได้พึงประเมิน ภาษีเงินได้ (2) = เงินได้พึงประเมินทุกประเภทที่ได้รับตลอดปี แต่ไม่รวมถึงเงินได้ ตามมาตรา 40(1) แห่งประมวลรัษฎากร เฉพาะกรณีที่มีจำนวนรวมกันถึง 60,000 บาทขึ้นไป x 0.5% ให้เปรียบเทียบจำนวนภาษีเงินได้ตามวิธีที่ 1 กับภาษีจำนวนเงินได้ตามวิธีที่ 2 วิธีใดสูงกว่าให้เสียตามจำนวนนั้น

6 ตารางอัตราเงินได้บุคคลธรรมดา
3. การคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (ต่อ) ตารางอัตราเงินได้บุคคลธรรมดา เงินได้สุทธิ จำนวนเงินได้สูง อัตรา จำนวนภาษี จำนวน สุดในแต่ละขั้น ภาษี ในแต่ละขั้น ภาษีสะสม , , ยกเว้น 100, , , % , ,000 500, ,000, , % , ,000 1,000, ,000, ,000, % , ,040,000 เกินกว่า 4,000, …… % ผู้มีเงินได้จะได้รับยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับเงินได้สุทธิดังนี้ 1. สำหรับปีภาษี 2542 – 2545 จากเงินได้สุทธิในส่วนที่ไม่เกิน 50,000 บาทในแต่ละปีภาษี ตามพรฎ.(ฉบับที่ 352) พ.ศ.2542 2. สำหรับปีภาษี 2546 จากเงินได้สุทธิในส่วนที่ไม่เกิน 80,000 บาทในแต่ละปีภาษี ตามพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 412) พ.ศ.2545 3. สำหรับปีภาษี 2547 เป็นต้นไป จากเงินได้สุทธิในส่วนที่ไม่เกิน 100,000 บาทในแต่ละปีภาษี ตามพรฎ.(ฉบับที่ 430) พ.ศ.2548

7 3. อัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (ต่อ)
3.2 การคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาครึ่งปี ตามมาตรา 56 ทวิ วิธีที่ 1 การคำนวณภาษีเงินได้จากเงินได้สุทธิ ภาษีเงินได้ (1) = เงินได้สุทธิ x อัตราภาษีก้าวหน้า เงินได้สุทธิ = เงินได้พึงประเมินประเภทที่ 5-8 ที่ได้ในระหว่างเดือนมกราคมถึงมิถุนายน เฉพาะรายการที่ไม่ได้รับยกเว้นภาษี หักด้วยค่าใช้จ่ายตามม.42 ทวิ ม.42ตรี ม.43 ม.44 ม.45 ม.46 และพรฎ.(ฉบับที่ 11) พ.ศ.2502 และ (ฉบับที่ 165) พ.ศ.2529 และค่าลดหย่อน ตามม.47 ม.57 ตรี และม.57 เบญจ จำนวนกึ่งหนึ่งของค่าลดหย่อนประจำปี วิธีที่ 2 การคำนวณภาษีเงินได้จากยอดเงินได้พึงประเมิน ภาษีเงินได้ (2) = เงินได้พึงประเมินทุกประเภทที่ 5-8 ที่ได้รับระหว่างเดือนมกราคมถึงมิถุนายน เฉพาะกรณีที่มีจำนวนรวมกันถึง 60,000 บาทขึ้นไป x 0.5% ให้เปรียบเทียบจำนวนภาษีเงินได้ตามวิธีที่ 1 กับภาษีจำนวนเงินได้ตามวิธีที่ 2 วิธีใดสูงกว่าให้เสียตามจำนวนนั้น

8 4. วิธีการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
4.1 การเสียภาษีโดยวิธีหักภาษีเงินได้ไว้ ณ ที่จ่ายตามมาตรา 50 ประกอบมาตรา 3 เตรส กฎกระทรวง ฉบับที่144 และคำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป. 4/2528 4.2 การเสียภาษีโดยผู้มีเงินได้ยื่นรายการประเมินตนเอง ตามมาตรา 17 ประกอบมาตรา 52 ทวิ มาตรา 56 มาตรา 56 ทวิ มาตรา 57 มาตรา 57 ทวิ มาตรา 57 ตรี มาตรา 57 มาตรา 57 เบญจ มาตรา 62 4.3 การเสียภาษีโดยเจ้าพนักงานประเมินเรียกเก็บ - การประเมินก่อนถึงกำหนดเวลาการยื่นรายการ (มาตรา 18 ทวิ และ มาตรา 60 ทวิ) - การประเมินตามแบบแสดงรายการ (มาตรา 18 ประกอบมาตรา 27 และมาตรา 18 ตรี) - การประเมินตามผลการตรวจสอบตามหมายเรียกกรณีผู้มีเงินได้ยื่นแบบแสดงรายการ (มาตรา 19 ประกอบมาตรา 20 มาตรา 21 มาตรา 22 มาตรา 27 และมาตรา 18 ตรี)

9 4. วิธีการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (ต่อ)
4.3 การเสียภาษีโดยเจ้าพนักงานประเมินเรียกเก็บ (ต่อ) - การประเมินตามผลการตรวจสอบตามหมายเรียก กรณีผู้มีเงินได้มิได้ยื่นแบบแสดงรายการ (มาตรา 23 ประกอบมาตรา 24 มาตรา 25 มาตรา 26 มาตรา 27 และมาตรา 18 ตรี) - การประเมินกรณีพิเศษ (มาตรา 49 การประเมินเงินได้สุทธิ) 4.4 การเสียภาษีเงินได้แทนกัน (มาตรา 48 ทวิ) 4.5 การเลือกเสียภาษีเงินได้ - การเลือกเสียภาษีสำหรับเงินได้ตามมาตรา 40(4) (มาตรา 48(3)) - การเลือกเสียภาษีสำหรับเงินได้ตามมาตรา 40(8) เงินได้จากการขาย อสังหาริมทรัพย์ (มาตรา 48(4)) - การเลือกเสียภาษีสำหรับเงินได้ตามมาตรา 40(1) เงินได้ที่นายจ้าง จ่ายให้ครั้งเดียวเพราะเหตุออกจากงาน (มาตรา 48(5)) - การเลือกเสียภาษีสำหรับภริยาที่มีเงินได้ตามมาตรา 40(1) - การเลือกเสียภาษีตาม พรฎ.

10 5. การยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
5.1 การยกเว้นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 42 ประกอบกฎกระทรวง ฉบับที่126 พระราชกฤษฎีกาฯ ฉบับต่างๆ 5.2 การยกเว้นจำนวนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามมาตรา 48 วรรคท้าย และ มาตรา 5 แห่งพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 10) 5.3 การยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาให้แก่บุคคล - พรฎ. (ฉบับที่ 9) บุคคลตามความร่ามมือทางเศรษฐกิจและทางเทคนิค - พรฎ. (ฉบับที่ 10) บุคคลที่ได้รับเอกสิทธิ์ทางการทูต - พรฎ. (ฉบับที่18) บุคคลตามอนุสัญญาภาษีซ้อน – DTA - พรฎ. ฉบับอื่นๆ 5.4 การยกเว้นโดยยอมให้หักค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น

11 6. การขอคืนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
6.1 การขอคืนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่าย ทั้งกรณีมาตรา 50 และมาตรา 3 เตรส ให้ขอคืนตามมาตรา 63 - กำหนดเวลา ภายในสามปีนับแต่วันสุดท้ายแห่งปีที่ถูกหักภาษีไว้ ณ ที่จ่าย 6.2 การขอคืนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดากรณีอื่นๆ เช่น ชำระภาษีเงินได้ ไว้เกินตามแบบแสดงรายการ ให้ขอคืนตามมาตรา 27 ตรี - กำหนดเวลา ภายในสามปีนับแต่ (1) วันพ้นกำหนดเวลายื่นแบบแสดงรายการตามกฎหมาย (2) วันพ้นกำหนดเวลายื่นแบบแสดงรายการตามที่ รมต. หรืออธิบดีกรมสรรพากรขยายกำหนดเวลาให้ (3) วันที่ได้รับคำวินิจฉัยอุทธรณ์ หรือคำพิพากษาถึงที่สุด

12 7. หน้าที่อื่นๆ 7.1 การขอมีและใช้เลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรตามมาตรา 3 เอกาทศ 7.2 จัดทำบัญชีแสดงรายได้หรือรายรับเป็นประจำวัน ในกรณี ที่มิต้องจัดทำบัญชีตามกฎหมายว่าด้วยการบัญชี (มาตรา 17) 7.3 ใบรับและใบส่งของตามมาตรา 105 ,105 ทวิ, 105 จัตวา 7.4 ให้ความร่วมมือแก่ทางราชการ

13 8. การขจัดข้อโต้แย้งทางภาษีอากร (มาตรา 30)
8.1 การอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ 8.2 การอุทธรณ์ต่อศาลภาษีอากรกลาง 8.3 การอุทธรณ์ต่อศาลฎีกา ตามมาตรา 28 ถึงมาตรา 34

14 9. บทกำหนดโทษ 9.1 บทกำหนดโทษทางแพ่ง – บทกำหนดโทษเกี่ยวกับภาษีเงินได้บุคคล ธรรมดา ได้แก่ (1) เบี้ยปรับตามมาตรา 22 (1 เท่า) หรือมาตรา 26 (2 เท่า) ใช้กับกรณีชำระภาษีไว้ไม่ครบถ้วน – ขาดจำนวน ต้องผ่านการตรวจสอบภาษีอากรโดยการออกหมายเรียกตามมาตรา 19 หรือมาตรา 23 แล้วแต่กรณี (2) เงินเพิ่มตามมาตรา 27 – 1.5% ต่อเดือนหรือเศษของเดือน ใช้กับกรณีชำระภาษีไว้ ล่าช้า – เกินกำหนดเวลา 9.2 บทกำหนดโทษทางอาญา ใช้กับกรณีฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติหน้าที่ตามที่ กฎหมายกำหนด หรือเจตนาหลีกเลี่ยงหรือพยายามหลีกเลี่ยงภาษีอากร ตามมาตรา 35 ถึงมาตรา 37 ทวิ (1) ค่าปรับ (2) จำคุก

15 ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
ได้แก่ ผู้มีเงินได้พึงประเมินที่เป็น 1. บุคคลธรรมดา หมายถึง ผู้มีเงินได้มีชีวิตตลอดปีภาษี (มาตรา 56) 2. ผู้ถึงแก่ความตายระหว่างปีภาษี ในการนับเงินได้ของผู้ผู้ถึงแก่ความตายระหว่างปีภาษี ให้นับเงินได้ ของผู้ตายก่อนตายรวมกับเงินได้ของกองมรดกที่ยังมิได้แบ่งจนตลอดปี ภาษีนั้นเป็นของผู้ถึงแก่ความตายฯ (มาตรา 57 ทวิ) 3. กองมรดกที่ยังมิได้แบ่ง ให้เริ่มเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในปีถัดจากปีที่เจ้ามรดกถึงแก่ ความตายเป็นต้นไป จนกว่าจะแบ่งมรดกให้แก่ทายาท (มาตรา 57 ทวิ) 4. ห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล (มาตรา 56)

16 ประเภทเงินได้พึงประเมิน
ดอกเบี้ยเงินกู้ยืม – มาตรา 40(4)(ก) ผู้ถือหุ้น มาตรา 40(4)(ข) –(ช) W.T. 15% กรรมการ มาตรา 40(2) – หน้าที่/ ตำแหน่งงานที่ทำ เลือกเสีย PIT ตามมาตรา 48(3) บริษัท มาตรา 40(1) - จ้างแรงงาน มาตรา 40(2) - รับทำงานให้ พนักงาน Dr. - ค่าใช้จ่าย Cr. - รายได้ มาตรา 40(2) – เงินได้จากการรับทำงานให้ เช่น ค่านายหน้า มาตรา 40(3) – ค่าแห่งลิขสิทธิ์ หรือสิทธิอย่างอื่น มาตรา 40(4)(ก) – ดอกเบี้ย เงินได้ลักษณะทำนองเดียวกับดอกเบี้ย มาตรา 40(5)(ก) – ค่าเช่าทรัพย์สิน มาตรา 40(6) – เงินได้จากวิชาชีพอิสระ มาตรา 40(7) – เงินได้จากการรับเหมาที่ต้องจัดหาสัมภาระในส่วนสำคัญฯ มาตรา 40(8) – เงินได้จากการธุรกิจ การพาณิชย์ การเกษตร การอุตสาหกรรม การขนส่ง หรือการอื่นใดนอกจากที่ระบุใน (1) - (7)

17 เงินได้ตามมาตรา 40(1) – เงินได้เนื่องจากการจ้างแรงงาน
ผู้จ่าย = นายจ้าง ผู้มีเงินได้ = ลูกจ้าง (เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติ) เงินได้ที่จ่าย = เงินเดือน ค่าจ้าง โบนัส เบี้ยเลี้ยง ประโยชน์เพิ่มอื่นๆ ไม่ว่าจะจ่ายเป็นเงินสด สิ่งของ หรือประโยชน์ คำถาม นายจ้างเงินพิเศษเนื่องจากการทำงานนอกเวลาปกติ นายจ้างจัดงานปีใหม่ ให้ลูกจ้างจับสลากของขวัญ เงินได้ที่ได้รับยกเว้น – ดู มาตรา 42 และกฎกระทรวง ฉบับที่ 126 เงินได้ตามมาตรา 40(2) - เงินได้เนื่องจากหน้าที่หรือตำแหน่งงานที่ทำ ผู้จ่าย = บริษัท ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล รัฐวิสาหกิจ ที่มีการจัดการในรูปกรรมการ ผู้มีเงินได้ = กรรมการในคณะกรรมการ (กำหนดนโยบาย ติดตามประเมินผล) เงินได้ที่จ่าย = เบี้ยประชุม โบนัส ประโยชน์เพิ่มอื่นๆ เงินได้ตามมาตรา 40(2) - เงินได้เนื่องจากากรรรับทำงานให้ ผู้จ่าย = ผู้ว่าจ้าง ผู้มีเงินได้ = ผู้รับจ้าง เงินได้ที่จ่าย = สินจ้าง ค่านายหน้า ค่าส่วนลด ประโยชน์เพิ่มอื่นๆ

18 เงินได้ที่นายจ้างจ่ายให้ครั้งเดียว
เพราะเหตุออกจากงาน อายุการทำงานต้องมี กำหนดเวลาตั้งแต่ 5 ปี ขึ้นไป 1. เงินชดเชยตามกฎหมายแรงงาน (ซองขาว) ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ในส่วนที่ไม่เกิน 300,000 บาท 2. เงินได้จากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (เงินสมทบของนายจ้าง และผลประโยชน์) 3. เงินบำเหน็จของทางราชการและรัฐวิสาหกิจ เงินได้จาก กบ.ข. ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ในส่วนที่ได้จาก กบ.ข. 4. เงินได้ที่นายจ้างจ่ายให้ครั้งเดียว เพราะเหตุออกจากงานกรณีอื่นๆ

19 เงินได้จากการรับทำงานให้
ใช้แรงงานเป็นสำคัญ มีใช้จ่ายน้อย: 40% ของเงินได้ แต่ไม่เกิน 60,000 บาท ใช่ มาตรา 40(2) ไม่ใช่ ใช้วิชาชีพอิสระ ใช่ มาตรา 40(6) ไม่ใช่ จัดหาสัมภาระในส่วนสำคัญ นอกจากเครื่องมือ ใช่ มาตรา 40(7) ไม่ใช่ ใช่ ทำในรูปของธุรกิจ มีสำนักงาน มีค่าใช้ในการดำเนินงานสูง มาตรา 40(8) ดูคำสั่งกรมสรรพากรที่ ป.115/2545 ประกอบ

20 เงินได้ตามมาตรา 40(3) - ค่าแห่งลิขสิทธิ์ อาทิ
- ค่าลิขสิทธิ์ในบทประพันธ์ หรืองานวรรณกรรม - ค่าโปรแกรมคอมพิวเตอร์ - ค่า Franchise - ค่าแห่งกู๊ดวิลล์ ในการทำหนังสือ ผู้ประพันธ์ ได้รับเงินตามมาตรา 40(3) โรงพิมพ์ ได้รับเงินได้ตามมาตรา 40(8) ผู้พิมพ์/ผู้โฆษณา ได้รับเงินได้ตามมาตรา 40(8) งานวรรณกรรม - หักค่าใช้จ่ายเป็นการเหมาในอัตรา 75% ค่าโฆษณา เป็นเงินได้ตามมาตรา 40(7) หรือ (8) ร้านขายหนังสือ ได้รับเงินได้ตามมาตรา 40(8) ซื้อมาขายไป - หักค่าใช้จ่ายเป็นการเหมาในอัตรา 80%

21 เงินได้ตามมาตรา 40(4) เงินได้ที่เป็น
(ก) ดอกเบี้ย หรือเงินได้ในลักษณะทำนองเดียวกับดอกเบี้ย - ดอกเบี้ยพันธบัตร - ดอกเงินฝาก ดอกเบี้ยตั๋วเงิน - ดอกเบี้ยเงินกู้ยืมไม่ว่าจะมีหลักประกันหรือไม่ - ดอกเบี้ยเงินกู้ยืมที่อยู่ในบังคับตัองถูกหัก WT ตามกฎหมายว่าด้วยภาษี เงินได้ปิโตรเลียม - ผลประโยชน์ที่ได้จากการให้กู้ยืม - ผลประโยชน์ที่ได้จากสิทธิเรียกร้องในหนี้ทุกชนิด - ผลต่างระหว่างราคาไถ่ถอนกับราคาจำหน่ายตั๋วเงินหรือตราสารแสดงสิทธิในหนี้ ของผู้ทรงคนแรก (ข) เงินปันผลหรือเงินส่วนแบ่งของกำไร เงินได้ที่จ่าย ผู้จ่ายเงินได้ ผู้มีเงินได้ เครดิตภาษี - เงินปันผล บริษัทจำกัด ผู้ถือหุ้น / - เงินส่วนแบ่งของกำไร ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ผู้เป็นหุ้นส่วน / กิจการร่วมค้า - เงินปันผล/ เงินส่วนแบ่ง บรรษัท (IFCT) ผู้ถือหน่วยลงทุน ของกำไร กองทุนรวม (ตามม.39)

22 เงินปันผลหรือเงินส่วนแบ่งของกำไรจากบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยและ J.V. ซึ่งได้เสียภาษีเงินได้นิติบุคคลจากฐานกำไรสุทธิแล้ว ถูกหัก WT. 10% ใช่ เลือกเสียภาษีเงินได้ เท่าที่ถูกหัก WT 10% Finish ไม่ใช่ นำไปรวมคำนวณภาษีเงินได้ตาม ม.48(1) เครดิตภาษีตามมาตรา 47 ทวิ = เงินปันผลฯ คูณ อัตรา CIT หารด้วย (100 – อัตรา CIT) แล้วนำไปรวมเป็นเงินได้เพื่อคำนวณจำนวน PIT จำนวน PIT มากกว่า จำนวนเครดิตภาษี และ WT. ให้ชำระเพิ่มเติม จำนวน PIT น้อยกว่า จำนวนเครดิตภาษี และ WT. ให้ขอคืน

23 เงินได้ตามมาตรา 40(4) เงินได้เนื่องจาก (ต่อ)
(ค) โบนัสที่จ่ายให้แก่ผู้ถือหุ้น หรือผู้เป็นหุ้นส่วน (ง) ผลประโยชน์ที่ได้จากการลดทุน (จ) ผลประโยชน์ที่ได้จากการเพิ่มทุน (ฉ) ผลประโยชน์ที่ได้จากการควบกิจการ การโอนกิจ หรือการเลิกกิจการ (ช) ผลประโยชน์ที่ได้จากการโอนหลักทรัพย์ (ส่วนเกินทุน – Capital Gain)

24 กองทุนรวม (MF: Mutual Fund)
ตามมาตรา 39 พรบ.หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ.2535 IFCT บริษัทจัดการกิจการลงทุน กองทุนรวม - กองทุนสินภิญโญ - กองทุนทรัพย์ทวี กองทุนรวมทั่วไป กองทุนรวม เพื่อการเลี้ยงชีพ กองทุนรวม หุ้นระยะยาว เช่น กองทุนบัวหลวง กองทุนรวงข้าว กองทุนวายุภักษ์ ดูการยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับเงินลงทุน เงินปันผลหรือเงินส่วนแบ่งของกำไร = เงินได้ ตาม ม. 40(4)(ข) เงินปันผลหรือเงินส่วนแบ่งของกำไร = เงินได้ ตาม ม. 40(8) ไม่ได้รับเครดิตภาษีตาม ม. 47 ทวิ

25 เงินได้ตามมาตรา 40(5) เงินหรือประโยชน์ที่ได้เนื่องจาก
(ก) การให้เช่าทรัพย์สิน เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจประเมินค่าเช่าทรัพย์สินตามที่ทรัพย์สินนั้น สมควรให้เช่าได้ตามปกติ (ข) การผิดสัญญาเช่าซื้อทรัพย์สิน (ค) การผิดสัญญาซื้อขายเงินผ่อนฯ ผลประโยชน์ที่ได้จากการให้เช่าทรัพย์สิน ค่าเช่า เงินกินเปล่า แป๊ะเจี๊ยะ เงินช่วยค่าก่อสร้าง เงินค่าซ่อมแซม ค่าเซ้ง (ดู ประกาศกระทรวงการคลังฯ, คำสั่งกรมสรรพากรที่ ป.1/2526) ค่าแห่งอาคารหรือโรงเรือนที่ได้รับโอนกรรมสิทธิ์จากผู้เช่า ค่าภาษีอากรที่ผู้เช่าออกแทนให้ เช่น ค่าภาษีโรงเรือนและที่ดิน ค่าภาษี บำรุงท้องที่ภาษีป้าย อากรแสตมป์ ค่าธรรมเนียมการจดทะเบียน ไม่ว่าจะได้รับมาเป็นเงินสด ทรัพย์สิน หรือประโยชน์อย่างอื่นที่คิดคำนวณ ได้เป็นเงิน

26 เงินได้จากวิชาชีพอิสระ
เงินได้จากการ - การประกอบโรคศิลป์ - กฎหมาย - วิศวกรรม - สถาปัตยกรรม - บัญชี - ประณีตศิลปกรรม เป็นเงินได้จากการรับทำงานให้ ที่ผู้มีเงินได้ได้ใช้วิชาชีพอย่างเป็นอิสระ จากผู้ว่าจ้าง คำว่า “อิสระ” หมายถึง อิสระทางจิตวิญญาณ ด้วยจรรยาบรรณ อันเป็น มาตรฐานของผู้ใช้วิชาชีพ

27 ใช่ การประกอบโรคศิลป์ ในฐานะผู้เป็นลูกจ้างตาม สัญญาจ้างแรงงาน ใช่
เงินได้ตามมาตรา 40(1) ไม่ใช่ ใช่ ในฐานะผู้รับหน้าที่หรือ ตำแหน่งงาน หรือผู้รับทำงานให้ เงินได้ตามมาตรา 40(2) ไม่ใช่ ในฐานะผู้ใช้วิชาชีพอิสระ คลีนิก คลีนิกพิเศษในรพ.เอกชน ใช่ เงินได้ตามมาตรา 40(6) หักค่าใช้จ่ายเป็การเหมา 60% ไม่ใช่ ประกอบกิจการสถานพยาบาล เงินได้ตามมาตรา 40(8) หักค่าใช้จ่ายเป็การเหมา 75%

28 เงินได้ที่เป็นค่าจ้างทำของ
สัญญาจ้างทำของ ที่มุ่งผลสำเร็จของงาน บริการ + สัมภาระ ผู้รับจ้างจัดหาสัมภาระในส่วน สำคัญนอกจากเครื่องมือ ผู้รับจ้างไม่ได้จัดหาสัมภาระให้ แต่กระทำเป็นธุรกิจที่มีค่าใช้จ่ายสูง เงินได้ตามมาตรา 40(7) เงินได้ตามมาตรา 40(8)

29 A หัก WT 3% B 1 B 2 B B 3 B C 4 บริษัท A จำกัด บริษัท B จำกัด
ว่าจ้างให้ทำของ บริษัท B จำกัด A หัก WT 3% B ค่าบริการ ซ่อม 5,000 บาท 1 5,000 บาท เนื่องจากค่าอะไหล่เป็นส่วนหนึ่ง ของสัญญาจ้างทำของ B 2 ค่าแรง 1,000 บาท ค่าอะไหล่ 4,000 บาท 5,000 บาท B B ค่าแรง 1,000 บาท ค่าอะไหล่ 4,000 บาท 5,000 บาท 3 B C ค่าแรง 1,000 บาท ค่าอะไหล่ 4,000 บาท 4 5,000 บาท

30 ประเภทของค่าลดหย่อน ค่าลดหย่อนส่วนบุคคล
1.1 กรณีผู้มีเงินได้เป็นบุคคลธรรมดา 1.2 กรณีผู้มีเงินได้เป็นผู้ถึงแก่ความตายระหว่างปีภาษี 1.3 กรณีผู้มีเงินได้เป็นกองมรดกที่ยังมิได้แบ่ง 1.4 กรณีผู้มีเงินได้เป็นห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล ค่าลดหย่อนเบี้ยประกันชีวิต ค่าลดหย่อนเงินสะสมกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ค่าลดหย่อนดอกเบี้ยเงินกู้ยืมเพื่อที่อยู่อาศัย ค่าลดหย่อนเงินสมทบกองทุนประกันสังคม ค่าลดหย่อนเงินบริจาค

31 ค่าลดหย่อนส่วนบุคคล 1. ค่าลดหย่อนส่วนตัวผู้มีเงินได้
2. ค่าลดหย่อนคู่สมรสของผู้มีเงินได้ 3. ค่าลดหย่อนบุตร - บุตรชอบด้วยกฎหมายและบุตรบุญธรรมของผู้มีเงินได้ - บุตรชอบด้วยกฎหมายของคู่สมรสของผู้มีเงินได้ บุตรบุญธรรมให้หักลดหย่อนในฐานะที่เป็นบุตรบุญธรรมแต่เพียงฐานะเดียว 4. ค่าลดหย่อนบิดามารดา - บิดามารดาของผู้มีเงินได้ - บิดามารดาของคู่สมรสของผู้มีเงินได้

32 เป็นผู้อยู่ในประเทศไทย มิได้เป็นผู้อยู่ในประเทศไทย
ผู้มีเงินได้ เป็นผู้อยู่ในประเทศไทย มิได้เป็นผู้อยู่ในประเทศไทย ค่าลดหย่อน 30,000 บาท 30,000 บาท ส่วนตัวผู้มีเงินได้ คู่สมรสของผู้มีเงินได้ - เป็นผู้อยู่ในไทย - มิได้เป็นผู้อยู่ในไทย 30,000 บาท 30,000 บาท 30,000 บาท - บุตรของผู้มีเงินได้ - เป็นผู้อยู่ในไทย - ศึกษา - ไม่ได้ศึกษา - มิได้เป็นผู้อยู่ในไทย 17,000 บาท 17,000 บาท 15,000 บาท 15,000 บาท 15,000 บาท -

33 1 2 3 ไม่ได้สมรสกัน ชายจะหักลดหย่อนบุตรได้ก็ต่อเมื่อ
1. จดทะเบียนสมรสกับหญิง หรือ 2. จดทะเบียนรับรองบุตร 1 บุตรชอบด้วยกฎหมายของหญิง 2 หญิงมีสิทธิหักลดหย่อนบุตรของ ตนเสมอ 3 กรณีชายและหญิงสมรสกัน ต่อมาได้มีการหย่า ปัญหาค่าลดหย่อนบุตร - ปีที่หย่า: ให้หักลดหย่อนบุตรได้ฝ่ายละกึ่งหนึ่ง - ปีถัดจากปีที่หย่า: ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขการอุปการะเลี้ยงดูบุตร

34 ปีถัดจากปีที่เจ้ามรดกถึงแก่ความตาย
มี.ค. เงินได้ก่อนตาย เงินได้ของกองมรดก - ผู้จัดการมรดก - ทายาท หรือ - ผู้ครอบครองทรัพย์ มรดก ปีถัดจากปีที่เจ้ามรดกถึงแก่ความตาย - ผู้จัดการมรดก - ทายาท หรือ - ผู้ครอบครองทรัพย์ มรดก ใช้เลขประจำตัวของเจ้ามรดก เว้นแต่เจ้ามรดกไม่มี เลขประจำตัวให้ขอมีและใช้ในนามของกองมรดก

35 ค่าลดหย่อนเบี้ยประกันชีวิต
1. ค่าลดหย่อนเบี้ยประกันชีวิตของผู้มีเงินได้ - ให้หักลดหย่อนได้ตามจำนวนที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 10,000 บาท - สำหรับเบี้ยประกันชีวิตในส่วนที่เกิน 10,000 บาท อีกไม่เกิน 40,000 บาท เป็นการยกเว้นภาษีเงินได้หลังจากหักค่าใช้จ่าย 2. ค่าลดหย่อนเบี้ยประกันชีวิตของคู่สมรสของผู้มีเงินได้ - ให้หักลดหย่อนได้ตามจำนวนที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 10,000 บาท เท่านั้น ทั้งนี้ เฉพาะกรณีที่ความเป็นสามีภริยาได้มีอยู่ตลอดปีภาษี เงื่อนไข 1. กรมธรรม์ประกันประกันชีวิตต้องมีกำหนดเวลาไม่น้อยกว่า 10 ปี 2. บริษัทผู้รับประกันต้องประกอบกิจการในประเทศไทย ในการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาครึ่งปีจะหักลดหย่อนเบี้ยประกันชีวิต และส่วนที่ได้รับยกเว้นสูงสุดได้เป็นจำนวน 45,000 บาท

36 ค่าลดหย่อนเงินสะสมกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
กองทุนสำรองเลี้ยงชีพของผู้มีเงินได้ เงินสะสมของผู้มีเงินได้ อย่างน้อย 3% ของเงินได้ เงินสมทบของนายจ้าง ของผู้มีเงินได้ นำไปหักเป็นค่าลดหย่อนได้ตามจำนวนที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 10,000 บาท สำหรับส่วนที่เกิน 10,000 บาท อีกไม่เกิน 290,000 บาท นำไปยกเว้นภาษีเงินได้ก่อนหักค่าใช้จ่าย ตาม ม. 42 ทวิ ต้องสมทบอย่างน้อยเท่ากับ เงินสะสมของลูกจ้างแต่เป็น รายจ่ายได้ไม่เกิน15% ของ เงินได้ของลูกจ้าง มีผลต่อจำนวนเงินลงทุนในกองทุนรวม เพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) มาตรา 65 ตรี (2) กฎกระทรวง ฉบับที่ 183 หมายเหตุ เงินสะสมกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ ให้นำไปยกเว้นภาษีเงินได้ ก่อนหักค่าใช้จ่ายตามมาตรา 42 ทวิ ได้ตามจำนวนที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 300,000 บาท

37 กองทุนสำรองเลี้ยงชีพของผู้มีเงินได้
เงินก้อนที่ 1 เงินสะสมของผู้มีเงินได้ อย่างน้อย 3% ของเงินได้ เงินก้อนที่ 2 เงินสมทบของนายจ้าง ของผู้มีเงินได้ นำไปหาผลประโยชน์ ก้อนที่ 3 ผลประโยชน์ อายุการทำงานต้องมี กำหนดเวลาตั้งแต่ 5 ปี ขึ้นไป ก้อนที่ 2 และก้อนที 3 เงินได้ที่นายจ้างจ่ายให้ครั้งเดียว เพราะเหตุออกจากงาน ดูการเลือกเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามมาตรา 48(5) ประกอบกับประกาศอธิบดีฯ เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 45) และกฎกระทรวง ฉบับที่ การยกเว้นภาษีเงินได้

38 ค่าบริจาคการกุศล เงินสนับสนุนเพื่อการศึกษา เงินบริจาค
นำไปยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาได้เป็น จำนวนสองเท่าของเงินสนับสนุนเพื่อการศึกษา แต่ไม่เกิน 10% ของเงินได้หลักจากหักค่าใช้จ่าย และค่าลดหย่อนอย่างอื่น นำไปหักลดหย่อนตามมาตรา 47(7) ได้ตามจำนวนที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 10% ของเงินได้หลังจากหักค่าใช้จ่ายและค่า ลดหย่อนอย่างอื่น รวมทั้งเงินสนับสนุน เพื่อการศึกษา ใช้บังคับตั้งแต่ 25 สิงหาคม 2547 เป็นต้นไป ภ.ง.ด.91 ดูข้อ ก รายการที่ 8 ภ.ง.ด.90 ดูข้อ 10 ของรายการ 4 ภ.ง.ด.91 ดูข้อ ก รายการที่ 10 ภ.ง.ด.90 ดูข้อ 10 ของรายการ 6

39 ROH: สำนักงานปฏิบัติการภูมิภาค
มีลูกจ้างที่เป็นคนต่างด้าว เงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(1) ให้คำนวณหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ตามมาตรา 50(1) ไม่เกิน 15% ของ เงินได้พึงประเมิน ผู้มีเงินได้ยอมให้นายจ้างคำนวณหัก ภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายในอัตรา 15% ของเงินได้พึงประเมิน มีสิทธิเลือกเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ในอัตรา 15% เป็นเวลา 2 ปี นับแต่วันที่ เข้าทำงาน โดยยื่นแบบ ภ.ง.ด.95

40 ภ.ง.ด.90,91 รายการค่าลดหย่อน ภ.ง.ด.94
ค่าลดหย่อนส่วนบุคคล , ,000 คู่สมรส , ,000 บุตร ที่มิได้ศึกษา/ ศึกษาตปท @ , ,000 ศึกษาในประเทศไทย @ , ,000 บิดา/ มารดา (ม.47(1)(ญ)) @ , ,000 ค่าลดหย่อนเบี้ยประกันชีวิต - ของผู้มีเงินได้ เท่าที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 45, ,000 - ของคู่สมรส เท่าที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน ,000 3. ค่าลดหย่อนดอกเบี้ยเงินกู้ยืมเพื่อที่อยู่อาศัย - กู้ยืมคนเดียว เท่าที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 45, ,000 - ร่วมกันกู้ยืม เท่าที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน , ,000 จำนวนผู้กู้ยืม จำนวนผู้กู้ยืม 4. ค่าลดหย่อนเงินสะสมกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ - ของผู้มีเงินได้ เท่าที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน ,000 ส่วนที่เกิน 10,000 บ. แต่ไม่เกิน 290,000 บ ยกเว้นเงินได้ก่อน คชจ. - ของคู่สมรส เช่นเดียวกับผู้มีเงินได้

41 ภ.ง.ด.90,91 รายการค่าลดหย่อน ภ.ง.ด.94
5. ค่าลดหย่อนเงินสมทบกองทุนประกันสังคม - ของผู้มีเงินได้ < / = 9,000 - ของคู่สมรส < / = 9,000 6. ค่าลดหย่อนเงินบริจาค 6.1 การบริจาคเพื่อส่งเสริม สองเท่าของค่าบริจาคจริงแต่ไม่เกิน 10% การศึกษา ของเงินได้หลังจากหัก คชจ. และ ค่าลดหย่อนอย่างอื่น ทั้งกรณีภาษีเงินได้ ครึ่งปีและประจำปี 6.2 เงินบริจาคทั่วไป ครึ่งหนึ่งของที่จ่ายจริง เท่าที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน ระหว่าง ม.ค.-มิ.ย. แต่ % ของเงินได้ ไม่เกิน 10% ของเงินได้ หลังจากหัก คชจ. และ หลังจากหัก คชจ. และ ค่าลดหย่อนอย่างอื่น ค่าลดหย่อนอย่างอื่น รวมทั้งข้อ 6.1 รวมทั้งข้อ 6.1

42 วิธีการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
1. การเสียภาษีโดยถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย 1.1 ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ตามมาตรา 50 เป็นกรณีที่กฎหมายกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข และอัตรา ในการคำนวณหักภาษี เงินได้ ณ ที่จ่ายไว้เป็นการตายตัวว่า - ผู้จ่ายเงินได้ที่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย - จ่ายเงินได้พึงประเมินประเภทใด - ผู้มีเงินได้ที่ต้องถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย - วิธีการ คำนวณภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย 1.2 ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ตามมาตรา 3 เตรส ประกอบกฎกระทรวง ฉบับที่ 144 และ คำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป.4/2528 เป็นกรณีที่กฎหมายให้อำนาจอธิบดีกรมสรรพากรในอันที่จะกำหนดให้ผู้จ่ายเงินได้พึง ประเมินที่มิได้มีหน้าที่หักภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ณ ที่จ่ายตามมาตรา 50 ให้เป็นผู้มีหน้าทีหัก ภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ วิธีการ เงื่อนไข และอัตราที่กำหนดโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 144 บทบัญญัติอื่นที่เกี่ยวข้อง มาตรา 50 ทวิ, 51, 52, 53, 54, 55, 58, 59, 60, 62, 63

43 มาตรา 3 เตรส คำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป.4/2528 กฎกระทรวง ฉบับที่ 144

44 วิธีการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา 2
2. การเสียภาษีโดยยื่นรายการประเมินตนเอง 2.1 มาตรา 52 ทวิ ผู้มีเงินได้ที่ต้องยื่นแบบแสดงรายการ ได้แก่ ผู้มีเงินได้พึงประเมินประเภทที่ไม่ถูกหัก ภาษี ณ ที่จ่าย ตั้งแต่ 10,000 บาทขึ้นไป กำหนดเวลาในการยื่นแบบ - ก่อนถึงกำหนดเวลายื่นรายการ แบบแสดงรายการ - ภ.ง.ด.93 จำนวนเงินภาษีที่ได้ชำระตามแบบฯ - ให้ถือเป็นเครดิตในการยื่นรายการ ภ.ง.ด.94, 90 (ดูประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ผู้มีเงินได้จากการให้เช่าทรัพย์สินไม่ยื่นรายการเงินได้ ให้ครบถ้วน ลงวันที่ 19 ก.พ.2528 คำสั่งกรมสรรพากรที่ ป.1/2526) 2.2 มาตรา 56 ทวิ ผู้มีเงินได้ที่ต้องยื่นแบบแสดงรายการ ได้แก่ ผู้มีเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(5)(6) (7) หรือ (8) ระหว่างเดือนมกราคม ถึงมิถุนายน ที่มีจำนวนดังนี้ - สำหรับผู้ที่ไม่มีคู่สมรส รวมทั้งกองมรดก และห้างฯ ต้องมีเงินได้เกินกว่า 30,000 บาท ขึ้นไป - สำหรับผู้ที่มีคู่สมรส ต้องมีเงินได้เกินกว่า 60,000 บาทขึ้นไป กำหนดเวลาในการยื่นแบบ – ภายในเดือนกันยายนของปีภาษี แบบแสดงรายการ - ภ.ง.ด.94 จำนวนเงินภาษีที่ได้ชำระตามแบบฯ - ให้ถือเป็นเครดิตในการยื่นรายการ ภ.ง.ด. 90

45 วิธีการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา 3
2. การเสียภาษีโดยยื่นรายการประเมินตนเอง (ต่อ) 2.3 มาตรา 56, 57, 57 ทวิ, 57 ตรี, 57 เบญจ, 62 ผู้มีเงินได้ที่ต้องยื่นแบบแสดงรายการ ได้แก่ ผู้มีเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(5)(6) (7) หรือ (8) ระหว่างเดือนมกราคม ถึงมิถุนายน ที่มีจำนวนดังนี้ - สำหรับผู้ที่ไม่มีคู่สมรส รวมทั้งกองมรดก และห้างฯ ที่มีเงินได้พึงประเมินประเภทอื่น ที่มิใช่ มาตรา 40(1) หรือมีหลายประเภทรวมทั้งมาตรา 40(1) ต้องมีเงินได้เกินกว่า 30,000 บาท ขึ้นไป - สำหรับผู้ที่ไม่มีคู่สมรส และมีเงินได้ตามมาตรา 40(1) ต้องมีเงินได้เกินกว่า 50,000 บาทขึ้นไป - สำหรับผู้ที่มีคู่สมรส รวมทั้งกองมรดก และห้างฯ ที่มีเงินได้พึงประเมินประเภทอื่น ที่มิใช่ มาตรา 40(1) หรือมีหลายประเภทรวมทั้งมาตรา 40(1) ต้องมีเงินได้เกินกว่า 60,000 - สำหรับผู้ที่มีคู่สมรส และมีเงินได้ตามมาตรา 40(1) ต้องมีเงินได้เกินกว่า 100,000 กำหนดเวลาในการยื่นแบบ – ภายในเดือนมีนาคมของปีถัดไป แบบแสดงรายการ - ภ.ง.ด.90, 91,92 และ 95 ถ้ามีจำนวนเงินภาษีที่ชำระไว้เกิน ให้มีสิทธิขอคืนตามมาตรา 63 หรือ 27 ตรี

46 วิธีการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา 4
3. การเสียภาษีโดยเจ้าพนักงานประเมินเรียกเก็บ 3.1 การประเมินก่อนถึงกำหนดเวลายื่นรายการ มาตรา 18 ทวิ หรือ 60 ทวิ ประกอบ 18ตรี, 3.2 การประเมินตามแบบแสดงรายการที่ยื่น มาตรา 18 ประกอบ 27, 18ตรี 3.3 การประเมินตามผลการตรวจสอบตามหมายเรียก กรณีผู้มีเงินได้ ยื่นแบบแสดงรายการ มิได้ยื่นแบบแสดงรายการ - อำนาจในการออกหมายเรียก มาตรา มาตรา 23 - กำหนดเวลาในการออกหมายเรียก ภายใน 2 ปีแต่ไม่เกิน 5 ปี ภายใน 10 ปี - อำนาจการประเมินและแจ้งประเมิน กรณีผู้ต้องเสียภาษีให้ความร่วมมือ มาตรา มาตรา 24 กรณีผู้ต้องเสียภาษีไม่ให้ความร่วมมือ มาตรา มาตรา 25 (กรณีห้ามอุทธรณ์การประเมิน) - อำนาจประเมินเบี้ยปรับ มาตรา 22 (1เท่า) มาตรา 26 (2 เท่า) - อำนาจประเมินเงินเพิ่ม มาตรา มาตรา 27 - กำหนดเวลาในการชำระภาษี มาตรา 18ตรี มาตรา 18ตรี 3.4 การประเมินกรณีพิเศษ ได้แก่ การกำหนดเงินได้สุทธิตามมาตรา 49

47 วิธีการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา 5
4. การเลือกเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา เป็นไปตามมาตรา 48(3)(4)(5), 57 เบญจ, พรฎ (ฉบับที่ 10) (ฉบับที่ 262) (ฉบับที่ 405) 4.1 การเลือกเสียภาษีฯ สำหรับเงินได้ตามมาตรา 40(4) (มาตรา 48(3)) ผู้มีเงินได้ที่ถูกหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายตามมาตรา 50(2) ดังต่อไปนี้ มีสิทธิเลือกเสียภาษี เท่าถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย หรือจะนำไปรวมคำนวณภาษีเงินได้ตามมาตรา 48(1) ก็ได้ (1) เงินได้ตามมาตรา 40(4)(ก) และ (ช) ซึ่งถูกหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายในอัตรา 15% - ดอกเบี้ยพันธบัตร ดอกเบี้ยเงินฝากธนาคารในราชอาณาจักร ดอกเบี้ยเงินฝาก สหกรณ์ ดอกเบี้ยหุ้นกู้ ดอกเบี้ยตั๋วเงินที่ได้จากบริษัท หรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลอื่น ดอกเบี้ยเงินกู้ยืมที่ได้จากบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล หรือนิติบุคคลอื่น ดอกเบี้ยที่ได้จากสถาบันการเงินที่มีกฎหมายโดยเฉพาะของประเทศไทยจัดตั้งขึ้นฯ - ผลต่างระหว่างราคาไถ่ถอนกับราคาจำหน่ายตั๋วเงินหรือตราสารแสดงสิทธิในหนี้ ที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล หรือนิติบุคคลอื่นเป็นผู้ออก           ผลประโยชน์ที่ได้จากการโอนพันธบัตร หุ้นกู้ หรือตั๋วเงิน หรือตราสารแสดงสิทธิ ในหนี้ที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลหรือนิติบุคคลอื่นเป็นผู้ออก ทั้งนี้ เฉพาะ ที่ตีราคาเป็นเงินได้เกินกว่าที่ลงทุน 4.2 การเลือกเสียภาษีฯ สำหรับเงินได้ตามมาตรา 40(8) เฉพาะที่เป็นเงินได้จากขาย อสังหาริมทรัพย์ที่ได้มาโดยมิได้มุ่งในทางค้าหรือหากำไร (มาตรา 48(4)) ผู้มีเงินได้ ที่ถูกหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายตามมาตรา 50(5) หรือ (6) มีสิทธิเลือกเสียภาษีเงินได้ เท่าถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย หรือจะนำไปรวมคำนวณภาษีตามมาตรา 48(1) ก็ได้

48 วิธีการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา 5
เงินได้ตามมาตรา 40(4)(ก) - ดอกเบี้ยพันธบัตร ดอกเบี้ยเงินฝากธนาคารในราชอาณาจักร ดอกเบี้ยเงินฝากสหกรณ์ ดอกเบี้ยหุ้นกู้ ดอกเบี้ยตั๋วเงินที่ได้จากบริษัท หรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลอื่น ดอกเบี้ยเงินกู้ยืมที่ได้จากบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล หรือนิติบุคคลอื่น ดอกเบี้ยที่ได้จากสถาบันการเงินที่มีกฎหมายโดยเฉพาะของประเทศไทยจัดตั้งขึ้นฯ - ผลต่างระหว่างราคาไถ่ถอนกับราคาจำหน่ายตั๋วเงินหรือตราสารแสดงสิทธิในหนี้ที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล หรือนิติบุคคลอื่นเป็นผู้ออก เงินได้ตามม. 40(4) (ช) ผลประโยชน์ที่ได้จากการโอนพันธบัตร หุ้นกู้ หรือตั๋วเงิน หรือตราสารแสดงสิทธิในหนี้ที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลหรือนิติบุคคลอื่นเป็นผู้ออก ทั้งนี้ เฉพาะที่ตีราคาเป็นเงินได้เกินกว่าที่ลงทุน ถูกหัก WT 15% ไม่ใช่ ใช่ เลือกเสีย PIT เท่าที่ ถูกหัก WT 15% Finish นำไปรวมคำนวณ PIT ตาม ม.48(1)

49 Finish การเลือกเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
สำหรับเงินได้ตามมาตรา 40(4)(ข) เงินได้ตามมาตรา 40(4)(ข) ที่ได้รับจากบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย กองทุนรวม หรือสถาบันการเงินที่มีกฎหมายโดยเฉพาะของประเทศไทยจัดตั้งขึ้นสำหรับให้กู้ยืมเงินเพื่อส่งเสริมเกษตรกรรม พาณิชยกรรมหรืออุตสาหกรรม ถูกหัก WT 10% ไม่ใช่ ใช่ เลือกเสีย PIT เท่าที่ ถูกหัก WT 15% Finish นำไปรวมคำนวณ PIT ตาม ม.48(1)

50 วิธีการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา 5
เงินได้ตามมาตรา 40(4)(ก) - ดอกเบี้ยพันธบัตร ดอกเบี้ยเงินฝากธนาคารในราชอาณาจักร ดอกเบี้ยเงินฝากสหกรณ์ ดอกเบี้ยหุ้นกู้ ดอกเบี้ยตั๋วเงินที่ได้จากบริษัท หรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลอื่น ดอกเบี้ยเงินกู้ยืมที่ได้จากบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล หรือนิติบุคคลอื่น ดอกเบี้ยที่ได้จากสถาบันการเงินที่มีกฎหมายโดยเฉพาะของประเทศไทยจัดตั้งขึ้นฯ - ผลต่างระหว่างราคาไถ่ถอนกับราคาจำหน่ายตั๋วเงินหรือตราสารแสดงสิทธิในหนี้ที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล หรือนิติบุคคลอื่นเป็นผู้ออก เงินได้ตามม. 40(4) (ช) ผลประโยชน์ที่ได้จากการโอนพันธบัตร หุ้นกู้ หรือตั๋วเงิน หรือตราสารแสดงสิทธิในหนี้ที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลหรือนิติบุคคลอื่นเป็นผู้ออก ทั้งนี้ เฉพาะที่ตีราคาเป็นเงินได้เกินกว่าที่ลงทุน ถูกหัก WT 15% ไม่ใช่ ใช่ เลือกเสีย PIT เท่าที่ ถูกหัก WT 15% Finish นำไปรวมคำนวณ PIT ตาม ม.48(1)

51 วิธีการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา 6
4. การเลือกเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (ต่อ) 4.3 การเลือกเสียภาษีฯ สำหรับเงินได้ตามมาตรา 40(1) เฉพาะที่เป็นเงินได้ที่นายจ้างจ่าย ให้ครั้งเดียวเพราะเหตุออกจากงาน (มาตรา 48(5) และประกาศอธิบดีเกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 45)) ซึ่งผู้มีเงินได้มีสิทธิเลือกเสียภาษีเงินได้ โดยคำนวณและเสียภาษีต่างหาก จากเงินได้อื่นถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย หรือจะนำไปรวมคำนวณภาษีตามมาตรา 48(1) ก็ได้ 4.4 การเลือกเสียภาษีฯ สำหรับเงินได้ตามมาตรา 40(8) เฉพาะที่เป็นเงินรางวัลสลากการกุศล งวดพิเศษที่คณะรัฐมนตรีมีมติว่าเป็นโครงการที่เป็นประโยชน์ต่อประชาชน ซึ่งผู้มีเงินได้ ยอมให้ผู้จ่ายเงินได้หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายในอัตรา 1.0% ของรางวัล โดยมีสิทธิเลือกเสีย ภาษีเงินได้เท่าถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย โดยไม่ขอรับเงินภาษีที่ถูกหักไว้นั้นคืนหรือไม่ข เครดิตภาษีที่ถูกหักไว้นั้น ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน หรือจะนำไปรวมคำนวณภาษีตาม มาตรา 48(1) ก็ได้ (มาตรา 5 จตุทศ แห่งพรฎ. (ฉบับที่ 10)) การเลือกเสียภาษีฯ สำหรับเงินได้ตามมาตรา 40(8) เฉพาะที่เป็นเงินปันผลที่ได้จาก กองทุนรวมตาม พรบ.หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (พ.ศ.2535) ซึ่งผู้มีเงินได้ยอมให้ ผู้จ่ายเงินได้หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายในอัตรา 10.0% ของเงินได้ โดยมีสิทธิเลือกเสีย ภาษีเงินได้เท่าถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย โดยไม่ขอรับเงินภาษีที่ถูกหักไว้นั้นคืนหรือไม่ขอ มาตรา 48(1) ก็ได้ (พรฎ. (ฉบับที่ 262))

52 วิธีการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา 7
4. การเลือกเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (ต่อ) 4.6 การเลือกเสียภาษีฯ สำหรับเงินได้ตามมาตรา 40(1) เฉพาะที่เป็นเงินได้จากการจ้าง แรงงานที่คนต่างด้าวซึ่งยอมให้หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายไว้แล้วในอัตรา 15.0% ของเงินได้ พึงประเมิน โดยมีสิทธิเลือกเสียภาษีเงินได้เท่าถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย โดยไม่ขอรับเงินภาษีที่ ถูกหักไว้นั้นคืนหรือไม่ขอเครดิตภาษีที่ถูกหักไว้นั้น ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน หรือจะนำ ไปรวมคำนวณภาษีตามมาตรา 48(1) ก็ได้ ทั้งนี้เป็นเวลาติดต่อกันไม่เกินสองปี นับแต่วัน เริ่มทำงานกับสำนักงานปฏิบัติการภูมิภาค (ROH) (พรฎ. (ฉบับที่ 405)) (ดู ภ.ง.ด.95 4.7 การเลือกเสียภาษีฯ สำหรับเงินได้ตามมาตรา 40(8) เฉพาะที่เป็นเงินได้ของนักแสดง สาธารณะที่เป็น นักแสดงภาพยนตร์หรือโทรทัศน์ซึ่งมีภูมิลำเนาอยู่ในต่างประเทศ เฉพาะ กรณีที่มีการดำเนินการถ่ายทำภาพยนตร์หรือโทรทัศน์ในประเทศไทยโดยบริษัทหรือห้าง หุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศ และได้รับอนุญาตให้ถ่ายทำใน ประเทศไทยจากคณะอนุกรรมการพิจารณาคำขออนุญาตถ่ายทำภาพยนตร์ต่างประเทศ ในประเทศไทย ตามระเบียบคณะกรรมการส่งเสริมอุตสาหกรรมภาพยนตร์ไทย ว่าด้วยการ ขออนุญาตถ่ายทำภาพยนตร์ต่างประเทศในประเทศไทย พ.ศ หักภาษี ณ ที่จ่ายโดย คำนวณหักไว้ในอัตรา 10.0 % ของเงินได้พึงประเมิน โดยมีสิทธิเลือกเสียภาษีเงินได้เท่า ถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย โดยไม่ขอรับเงินภาษีที่ถูกหักไว้นั้นคืนหรือไม่ขอเครดิตภาษีที่ถูกหัก ไว้นั้น ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน หรือจะนำไปรวมคำนวณภาษีตามมาตรา 48(1) ก็ได้ (พรฎ. (ฉบับที่ 409))

53 วิธีการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา 8
5. การเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาแทนผู้ค้าบุหรี่ โรงงานยาสูบ กระทรวงการคลัง ขายบุหรี่ ผู้ค้าบุหรี่ที่มีหน้าที่เสีย PIT มาตรา 48 ทวิ กฎกระทรวง ฉบับที่ 134 ผู้ค้าบุหรี่ที่มีหน้าที่เสีย CIT มาตรา 65 จัตวา กฎกระทรวง ฉบับที่ 158 เสีย PIT แทน ผู้ค้าปลีก 10% เสีย PIT แทน ผู้ค้าส่ง 12.5% เสีย CIT แทน ผู้ค้าปลีก 10% เสีย CIT แทน ผู้ค้าส่ง 12.5% ยกเว้น PIT ตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 126 ยกเว้น VAT พรฎ.(ฉบับที่ 239) ไม่ได้รับยกเว้น CIT ภาษีเงินได้ที่เสียแทน = Tax Cr. ยกเว้น VAT พรฎ.(ฉบับที่ 239)

54

55

56

57

58


ดาวน์โหลด ppt การคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา สรรพากรพื้นที่กรุงเทพมหานคร 3

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google