งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

หลักสูตรพัฒนา SRRT เครือข่ายระดับตำบล

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "หลักสูตรพัฒนา SRRT เครือข่ายระดับตำบล"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 หลักสูตรพัฒนา SRRT เครือข่ายระดับตำบล
นายประเสริฐ ไหลหาโคตร์ สำนักงานสาธารณสุขอำเภอบรบือ

2 สมาชิก SRRT เครือข่ายระดับตำบล
1.เจ้าหน้าที่ รพ.สต. 2.อาสาสมัครสาธารณสุขหมู่บ้าน(อสม.) 3.บุคลากร อปท. ได้แก่ อบต. หรือเทศบาล 4.กลุ่มอื่นๆ เช่น อาสาสมัครปศุสัตว์ ครูอนามัย วิทยากรผู้สอน อาจจะ ใส่รูปตัวแทนจากกลุ่มต่างๆ ให้ดูน่าสนใจ เหมาะกับผู้รับการอบรม

3 รู้จักชนิดของเหตุการณ์ผิดปกติทางด้านสาธารณสุข
วัตถุประสงค์ เข้าใจหลักการเฝ้าระวังเหตุการณ์และทำงานกับเครือข่ายในระดับตำบล เพื่อแจ้งข่าวเหตุการณ์ผิดปกติ รู้จักชนิดของเหตุการณ์ผิดปกติทางด้านสาธารณสุข สามารถตรวจสอบข่าวเบื้องต้นที่ได้รับแจ้งจากแหล่งข่าวและดำเนินการตอบสนองได้เหมาะสม วัตถุประสงค์ของการอบรมเครือข่ายระดับตำบล

4 เป้าหมายของการพัฒนาเครือข่าย SRRT ระดับตำบล
3 เร็ว รู้เร็ว (และตรวจสอบ) แจ้งเร็ว (แจ้งข่าว) ควบคุมเร็ว (จำกัดการระบาด) เป้าหมายสำคัญ 3 ประการ ของเครือข่าย SRRT ได้แก่ 1. การรู้เหตุการณ์ผิดปกติที่เกิดขึ้นในชุมชน ได้เร็ว และทำการตรวจสอบว่าเป็นข่าวที่น่าเชื่อถือหรือไม่ 2. เครือข่ายในชุมชน แจ้งข่าวรวดเร็ว และมีการรายงานเหตุการณ์ต่อยังระดับอำเภออย่างรวดเร็ว 3. ทำการควบคุมโรคในเบื้องต้นเพื่อจำกัดการระบาด

5 1.การเฝ้าระวังเหตุการณ์
การเฝ้าระวังเหตุการณ์ หมายถึง การรับแจ้งเหตุการณ์ผิดปกติอย่างรวดเร็วโดยมีการจัดการที่เป็นระบบ เพื่อให้ได้ข่าวสารและข้อมูลการเกิดโรคและภัยสุขภาพ จากแหล่งข่าวชนิดต่างๆ ทั้งที่เป็นทางการ และไม่เป็นทางการ และดำเนินการตอบสนองอย่างรวดเร็ว ความหมายของเป็นทางการ เช่น ได้รับแจ้งผ่านระบบรายงาน 506 ส่วนไม่เป็นทางการ เช่น ได้รับข่าวจากเครือข่ายในชุมชน

6 ตัวอย่างการเฝ้าระวังเหตุการณ์หนึ่งในชุมชน
ตัวอย่างผู้ป่วย 5 ราย เมื่อมีการระบาดของอหิวาตกโรค ในหมู่บ้านแห่งหนึ่ง รายที่ 1 รายที่ 2 รายที่ 3 รพ. สต. รายที่ 5 รายที่ 4 ผู้ป่วย 5 รายเป็นอหิวาตกโรค อาจจะเริ่มมีอาการท้องเดินในเวลาใกล้เคียงกัน แต่มีผู้ป่วยเพียง 1 ราย ที่ได้รับการรักษาที่ รพ.สต. ซึ่งมีการรายงานผู้ป่วยในระบบเฝ้าระวังปกติ อีก 1 รายไปรับการรักษาที่ รพ.เอกชน หากโชคดีเป็นเครือข่ายก็จะถูกรายงานเช่นกัน ส่วนอีก 3 ราย ไม่ได้ถูกรายงาน ได้แก่ ผู้ป่วยที่เสียชีวิตที่บ้าน ผู้ป่วยที่รักษาด้วยสมุนไพรที่บ้าน และผู้ป่วยที่ไปซื้อยากินเองที่ร้านขายยา รพ.เอกชน ดัดแปลงจาก Dr.Marjorie P. Pollack, ProMed Mail

7 ธรรมชาติการรายงานโรค
ผู้ป่วยส่วนน้อยที่มารักษาที่ สถานีอนามัย หรือโรงพยาบาล ผู้ป่วยจำนวนมากที่อยู่ในชุมชนไม่ได้มารักษาที่โรงพยาบาล หรือเป็นผู้ติดเชื้อไม่มีอาการ ปรากฏการณ์ภูเขาน้ำแข็ง อธิบายธรรมชาติของการระบาดของโรค ซึ่งจะมีผู้ป่วยจำนวนมาก เกิดขึ้นในชุมชน แต่มีผู้ป่วยเพียงส่วนน้อยที่เข้ามารับการรักษาในโรงพยาบาลของรัฐ และ ได้รับการรายงานโรค ดังนั้น ข้อมูลในระบบเฝ้าระวังปกติ ไม่ได้สะท้อนสถานการณ์โรคที่แท้จริง จำเป็นต้องมีการ รายงานเหตุการณ์ผิดปกตินี้ โดยสมาชิกหรือเครือข่ายที่อยู่ในชุมชน เช่น อสม. หรือ สมาชิก อบต. เป็นต้น 7

8 ระบบงาน SRRT อำเภอและเครือข่ายระดับตำบล
อำเภ อ ศูนย์ รับ แจ้ง ข่าว รพ. สต. / อบต. แหล่งข่าวในชุมชน ควบคุมโรคได้เร็วขึ้น สอบสวน ตรวจสอบ แจ้งข่าว ชุมชนในตำบล ได้แก่ หมู่บ้านต่างๆ มีเหตุการณ์ผิดปกติเกิดขึ้น เช่นมีผู้ป่วยหลายรายในเวลาเดียวกัน แต่เป็นโรคที่มีอาการไม่รุนแรง เหตุการณ์ผิดปกติในชุมชน

9 2.ใคร คือ แหล่งข่าว บุคคลในชุมชน เช่น อสม อบต ครูอนามัย อาสาสมัครปศุสัตว์ สื่อมวลชน ได้แก่ ผู้ดำเนินรายการวิทยุชุมชน และแหล่งข้อมูลข่าวสารในอินเตอร์เนต บุคลากรทางแพทย์และสาธารณสุข ทั้งภาครัฐและเอกชน เช่น แพทย์ หรือ พยาบาล

10 3.ชนิดของเหตุการณ์ผิดปกติ

11 1.โรคประจำถิ่นหรือกลุ่มอาการที่พบบ่อย
หมายถึง โรคประจำถิ่นหรือกลุ่มอาการที่ประชาชนรู้จักดี และพบบ่อยๆในชุมชน ตัวอย่างเช่น ไข้เลือดออก อุจจาระร่วง โรคไข้หวัดใหญ่ ที่พบการระบาดตามฤดูกาล โรคฉี่หนู (ซึ่งเป็นโรคประจำถิ่นในภาคอีสาน)

12 ตัวอย่างการระบาดของโรคอุจจาระร่วง
ตัวอย่างของโรคอุจจาระร่วงที่เกิดจากอาหารเป็นพิษ มีสมาชิกครอบครัว 4 คน ได้แก่ พ่อ แม่ ลูก และปู่ ให้สอบถามว่าเป็นเหตุการณ์ผิดปกติหรือไม่

13 2.โรคใหม่หรือกลุ่มอาการที่ไม่เคยพบในพื้นที่
หมายถึง โรคใหม่หรือกลุ่มอาการที่ไม่เคยพบมาก่อนหรือ ไม่เป็นที่รู้จักในพื้นที่ ตัวอย่างเช่น ผู้ป่วยเสียชีวิตโดยไม่รู้สาเหตุ ไข้ออกผื่นและปวดข้อรายแรก ในพื้นที่

14 ตัวอย่างการระบาดของโรคไข้ปวดข้อยุงลาย(ไข้ชิคุนกุนยา)
ชาวบ้านในหมู่บ้านชนบท มีอาการไข้ ปวดข้อ และออกผื่น พร้อมกันหลายคน บางคนไปรักษาที่สอ. คลินิกหรือซื้อยากินเอง

15 3.เกิดเป็นกลุ่มก้อน ตัวอย่างเช่น
หมายถึง มีจำนวนผู้ป่วยที่มีอาการคล้ายกันตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป ในเวลาใกล้เคียงกัน ตัวอย่างเช่น ผู้ป่วยไข้สูง ปวดศีรษะปวดกล้ามเนื้อ 2 รายเกิดขึ้นภายหลังน้ำท่วม

16 4.เหตุการณ์ที่ส่งผลต่อการเกิดโรคในคน
หมายถึง เหตุการณ์ที่อาจจะส่งผลต่อการเกิดโรคในคน เช่น สัตว์ป่วยตายผิดปกติ อาหารปนเปื้อน ระดับสารพิษในสิ่งแวดล้อมเพิ่มขึ้นรวดเร็ว ตัวอย่างเช่น ไก่ตายจำนวนมากในหมู่บ้าน ทำให้สงสัยไข้หวัดนก ปลาตายลอยเป็นแพในคลอง สารเคมีรั่วจากโรงงาน

17 ตัวอย่างเหตุการณ์ผิดปกติในสัตว์และสิ่งแวดล้อม
ปลาตายจำนวนมาก ไก่ตายผิดปกติ แยกสไลด์ภาพ

18 ตัวอย่างเหตุการณ์ผิดปกติในสัตว์และสิ่งแวดล้อม
สารเคมีรั่วจากรถบรรทุก ภาวะน้ำท่วม และชาวบ้าน มีไข้สูงปวดกล้ามเนื้อ ตาแดง จำนวนหลายราย แยกสไลด์ภาพ

19 ผู้แจ้งข่าวเป็นใคร อาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.)
ถ้าเกิดโรคอุจจาระร่วงในครอบครัวหนึ่ง มีผู้ป่วย 4 คน (พ่อ แม่ ลูก ปู่) ใครจะทราบและแจ้งข่าวนี้ได้ อาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) เพื่อน เพื่อนบ้าน ผู้ร่วมงาน กำนันผู้ใหญ่บ้าน สมาชิก อบต. เทศบาล นักการเมืองท้องถิ่น ครู ตำรวจ ผู้สื่อข่าวในพื้นที่ ผู้ดำเนินรายการวิทยุชุมชน อาสาสมัครอื่น ๆ เช่น อาสาสมัครปศุสัตว์ อปพร. อาสาชุมชนฯ คลินิกเอกชน ร้านขายยา ชมรมผู้สูงอายุ ชมรมออกกำลังกาย กลุ่มเยาวชน กลุ่มสตรี พระในวัด เจ้าของร้านค้าปลีก จนท.สาธารณสุข

20 สรุปเหตุการณ์ผิดปกติที่ต้องแจ้งข่าว
1.ผู้ป่วยเป็นโรคที่มีความสำคัญ หรือ โรคประจำถิ่น เช่น ไข้เลือดออก อหิวาตกโรค ไข้หวัดนก 2.ผู้ป่วยเสียชีวิตโดยไม่ทราบสาเหตุ ไม่เคยพบมาก่อน 3.ผู้ป่วยเป็นกลุ่มก้อน มีหลายราย พร้อม ๆ กัน 4.เหตุการณ์ผิดปกติในสัตว์และสิ่งแวดล้อม

21 ประโยชน์ของการเฝ้าระวังเหตุการณ์
พบเหตุการณ์ผิดปกติ หรือการระบาด ได้ เร็วขึ้น ขณะที่ปัญหายังไม่ลุกลาม สามารถใช้ในภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุข เมื่อการให้บริการรักษาพยาบาลหยุดชะงัก เช่น น้ำท่วมใหญ่ ข้อมูลที่ได้นำไปสู่การแก้ไขปัญหาที่ทัน เหตุการณ์ ส่งผลทำให้ประชาชนปลอดภัย มีสุขภาพดี

22 เป้าหมายระยะยาวในการพัฒนา
มีศูนย์รับแจ้งข่าวที่ รพ.สต.หรือ อบต. มีการทำงานร่วมกันเป็นทีมอย่างใกล้ชิดใน พื้นที่ รพ.สต. อสม. อบต./เทศบาล หน่วยงานอื่นๆ เช่น ปศุสัตว์ตำบล ครู สื่อมวลชน

23 สรุป เป็นระบบเสริมการเฝ้าระวังระบบปกติ เพื่อช่วยให้ตรวจพบการระบาดได้เร็วขึ้น ศูนย์รับแจ้งข่าวที่รพ.สต. / อบต. รับแจ้ง เหตุการณ์เกิดโรคในคน และเหตุการณ์ ผิดปกติที่เกิดในสัตว์และสิ่งแวดล้อมที่อาจจะ ส่งผลต่อสุขภาพของคน หัวใจของความสำเร็จคือ ทุกเหตุการณ์ที่ได้รับ แจ้งต้องมีการตอบสนอง คือ มีการตรวจสอบ ข่าวและควบคุมโรค

24 SRRT เครือข่ายระดับตำบล
รู้เร็ว แจ้งเร็ว ควบคุมเร็ว

25 ขอขอบคุณ


ดาวน์โหลด ppt หลักสูตรพัฒนา SRRT เครือข่ายระดับตำบล

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google