งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

จรรยาบรรณและการเสริมสร้างมาตรฐาน ทางคุณธรรม จริยธรรมและการเป็น

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "จรรยาบรรณและการเสริมสร้างมาตรฐาน ทางคุณธรรม จริยธรรมและการเป็น"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 จรรยาบรรณและการเสริมสร้างมาตรฐาน ทางคุณธรรม จริยธรรมและการเป็น
ข้าราชการที่ดีตามรอยพระยุคคลบาท โดย วิโรจน์ อุ่นทรัพย์ สำนักงาน ก .พ.

2 พระราชดำรัสในพิธีพระราชทานปริญญาบัตร มหาวิทยาลัยมหิดล ๙ กรกฎาคม ๒๕๔๐
มหาวิทยาลัยมหิดล ๙ กรกฎาคม ๒๕๔๐ “...การงานทุกอย่างทุกอาชีพ ย่อมจะมีจรรยาบรรณของตนเอง จรรยาบรรณนั้นจะบัญญัติเป็นลายลักษณ์อักษร หรือไม่ก็ตาม แต่เป็นสิ่งยึดถือกันว่าเป็นความดีงามที่คนในอาชีพนั้นพึงประพฤติปฏิบัติ หากผู้ใดล่วงละเมิดก็อาจก่อให้เกิดความเสียหายทั้งแก่บุคคลหมู่คณะและส่วนรวมได้...”

3 จรรยาบรรณ ความหมาย ประมวลความประพฤติที่ผู้ประกอบอาชีพ
การงานแต่ละอย่างกำหนดขึ้นเพื่อรักษาและ ส่งเสริมเกียรติคุณชื่อเสียงและฐานะของสมาชิก อาจเขียนเป็นลายลักษณ์อักษรหรือไม่ก็ได้

4 จรรยาบรรณ วัตถุประสงค์  ให้ข้าราชการมีความประพฤติดี
 ให้ข้าราชการมีความประพฤติดี  ให้ข้าราชการมีความสำนึกในหน้าที่  ให้ข้าราชการสามารถประสานงาน กับทุกฝ่าย  ให้ข้าราชการปฏิบัติหน้าที่อย่างมี ประสิทธิภาพประสิทธิผลยิ่งขึ้น

5 จรรยาบรรณ คือความดี ความงาม ความหมดจด คือคำหยาด เกียรติยศ อันสะอ้าน
คือความดี ความงาม ความหมดจด คือคำหยาด เกียรติยศ อันสะอ้าน คือค่านิยม อุดมคติ ปณิธาน คือหลักการ สำหรับ กำกับใจ คือกฎ กติกา แห่งอาชีพ คือแสง ดวงประทีป สว่างใส คือวิถี นิติธรรม เรืองรำไร ประพฤติเถิด ประพฤติใน จรรยาบรรณ

6 จรรยาบรรณวิชาชีพการบริหารทรัพยากรบุคคล
เพื่อเป็นมาตรฐานความประพฤติที่ดีงาม และสามารถ นำไปปฏิบัติได้จริง ครอบคลุมการปฏิบัติงานที่ถูกต้อง ดีงาม ทั้งในการปฏิบัติงานกับผู้ร่วมงาน ผู้ใต้บังคับบัญชา รวมถึงผู้มาติดต่อโดยยึด…… 1. หลักความเป็นธรรม 2. ปราศจากผลประโยชน์แอบแฝง 3. รักษาความลับและข้อมูลบุคคล 4. ส่งเสริมคุณภาพชีวิต 5. ใฝ่รู้และพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง 6. ดำรงตนเป็นแบบอย่างด้านจรรยาบรรณวิชาชีพ

7 จรรยาบรรณของข้าราชการพลเรือนไทย
จรรยาบรรณต่อตนเอง 1. เป็นผู้มีศีลธรรม และประพฤติตนเหมาะสม 2. ซื่อสัตย์ 3. มีทัศนคติที่ดีและพัฒนาตนเอง จรรยาบรรณต่อหน่วยงาน 4. สุจริต เสมอภาค ปราศจากอคติ 5. ทำงานเต็มความสามารถ รวดเร็ว ขยัน ถูกต้อง 6. ตรงต่อเวลา 7. ดูแล รักษา และใช้ทรัพย์สินของทางราชการอย่างประหยัด

8 จรรยาบรรณของข้าราชการพลเรือนไทย
จรรยาบรรณต่อผู้บังคับบัญชา ผู้ใต้บังคับบัญชาและผู้ร่วมงาน 8. ร่วมมือ ช่วยเหลือ แนะนำและทำงานเป็นทีม 9. เอาใจใส่ดูแลลูกน้อง 10. สร้างความสามัคคีในการปฏิบัติงาน 11. สุภาพ มีน้ำใจ มีมนุษยสัมพันธ์ 12. ละเว้นการนำผลงานของผู้อื่นมาเป็นผลงานของตน จรรยาบรรณต่อประชาชนและสังคม 13. ให้ความเป็นธรรม เอื้อเฟื้อ มีน้ำใจ สุภาพอ่อนโยน 14. ประพฤติตนให้เป็นที่เชื่อถือแก่บุคคลทั่วไป 15. ละเว้นการรับทรัพย์สิน หรือประโยชน์อื่นใด ซึ่งมีมูลค่า เกินปกติวิสัยจากผู้มาติดต่อราชการ

9 จรรยาบรรณจะบรรลุ…เมื่อ....
ยึดถือปฏิบัติเป็นวิถีชีวิต (Commitment as way of life) เข้าถึงเจตนารมณ์ความมุ่งหมายที่แท้จริง (Internalize) มีความรู้ความเข้าใจ (Understanding)

10 มาตรฐานทางคุณธรรมและจริยธรรม
ความหมาย สิ่งที่ถือเอาเป็นหลักสำหรับเทียบทาง สภาพคุณงามความดี ทั้งที่อยู่ภายในจิตใจและที่แสดงออกที่ควรประพฤติในสังคมนั้น ได้ยอมรับนับถือกันมา หรือได้กำหนดร่วมกันขึ้นมาใหม่ และประพฤติปฏิบัติร่วมกันยอมรับว่าอะไรควรทำ อะไรไม่ควรทำ

11 องค์ประกอบของจริยธรรม
1. เป็นความประพฤติ 2. สะท้อนความนึกคิดและจิตสำนึก 3. เกิดการกระทำดี ไม่มุ่งให้เกิดผลร้าย 4. สร้างผลดีแก่ตนเองและผู้อื่น

12 ศักดิ์ศรี+ ประสิทธิผล
แผนภูมิจริยธรรม ในทางศาสนา ในวงการวิชาชีพ ในวงงาน ในสังคม ศีลธรรม จรรยาบรรณ ปทัสถาน วินัย กฎหมาย ควร พึง ประกาศิต ต้อง ต้อง คุณธรรม จรรยา พฤติกรรม วินัย กฎหมาย เพื่อคน เพื่อคน + งาน เพื่องาน เพื่อสังคม จุดมุ่งหมาย ศักดิ์ศรี+ ประสิทธิผล ประสิทธิผล ความสุข ดี ผล

13 คุณธรรม VIRTUE MERIT ความดีงาม ความดีงาม ในจิตใจคน ของคน (มีจิตใจดี)
(ความรู้ดี ความสามารถดี ความประพฤติดี) ทำให้คนเคยชินประพฤติดี ทำให้คนมีคุณภาพ ใช้เป็นพลัง (ENERGY) ใช้เป็นคุณสมบัติ (QUALIFICATION) ใช้ในการเลือกคน ใช้ในการผลักดัน ให้ทำงาน ให้ทำงาน

14 เงื่อนไขคุณธรรมที่ต้องเสริมสร้าง
มีความตระหนักในคุณธรรม มีความซื่อสัตย์สุจริต มีความอดทน มีความเพียร ใช้สติปัญญาในการดำเนินชีวิต ไม่โลภ แบ่งปันและไม่ตระหนี่

15 หลักการทรงงานของพระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัว
หลักการทรงงานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว 3 ประการ คือ การให้ หมายถึง การทำทุกอย่างให้แก่ประเทศชาติ และประชาชน การทำงานอย่างมีความสุข ความเพียร หมายถึง ความมุ่งมั่นทำงาน โดยไม่ย่อท้อต่อปัญหาหรืออุปสรรค ความสามัคคี หมายถึง ความร่วมมือร่วมใจกันในการปฏิบัติงาน

16 หลักการประพฤติปฏิบัติตามรอยพระยุคลบาท
หลัก 9 ประการ สำหรับข้าราชการ เพื่อนำไปประพฤติปฏิบัติ ตามรอยพระยุคลบาท เพื่อเป็นข้าราชการที่ดีและพลังของแผ่นดิน 1. สุจริต เที่ยงตรง 2. เสียสละ อดทน 3. ฝึกตน มีระเบียบ 4. เพียบพร้อมความรู้ คู่กุศโลบาย 5. ขยายสัมพันธ์ประสาน 6. มีความรับผิดชอบ 7. ทำหน้าที่เพื่อหน้าที่ 8. ทำงานให้สำเร็จ ทันการ 9. ยึดมั่นในผลประโยชน์ของประเทศชาติและความถูกต้องเป็นธรรม

17 ทำไมต้องเสริมสร้างมาตรฐานทาง คุณธรรม และจริยธรรม ในภาคราชการ
ลดและปิดโอกาสการทุจริตและประพฤติมิชอบ สร้างจิตสำนึกในการประพฤติชอบให้ยึดมั่น ในหลักศีลธรรม คุณธรรม จริยธรรมและ จรรยาบรรณ สร้างความเชื่อมั่น ศรัทธา และไว้วางใจ ให้กับประชาชน

18 ขั้นตอนการสร้างจรรยาบรรณ/ มาตรฐานทาง คุณธรรมและจริยธรรม
เริ่มต้นจากผู้บริหาร มีการปรึกษาหารือร่วมกัน เห็นชอบยอมรับเป็นกติกา สร้างความรู้ความเข้าใจให้ทราบทั่วกัน ดูแลให้ยึดถือปฏิบัติยึดถือ / ติดตามประเมินผล มีการดำเนินการเมื่อมีผู้ร้องเรียนหรือมีการละเมิด

19 หลักการสร้างมาตรฐานทางคุณธรรม และจริยธรรม
การมีส่วนร่วมของเจ้าหน้าที่ เปิดโอกาสให้มีการแสดงความคิดเห็น สั้น กระชับ เข้าใจง่าย ต้องเขียนเป็นเชิงพฤติกรรม กำหนดเป็นข้อพึงปฏิบัติและอยู่ในวิสัยที่กระทำได้ ไม่ควรซ้ำกับแนวทางปฏิบัติที่ระบุไว้แล้วในวินัย และจรรยาบรรณของข้าราชการพลเรือน

20 การสร้างมาตรฐานทางจริยธรรม
จุดเน้น การละเว้นการใช้ประโยชน์จากตำแหน่ง หน้าที่ (Conflict of Interest) มโนสุจริต (Integrity) ความพร้อมรับผิด (Accountability) ความเปิดเผยและโปร่งใส (Openness/Transparency)

21 กรอบจรรยาบรรณ / มาตรฐาน ทางคุณธรรมและจริยธรรม
มาตรฐานเกี่ยวกับความประพฤติของเจ้าหน้าที่ ความสัมพันธ์กับลูกค้าผู้รับบริการ แนวปฏิบัติของเจ้าหน้าที่ ความรับผิดชอบต่อสังคมและชุมชน การติดตามดูแลให้ปฏิบัติตามมาตรฐาน จริยธรรม

22 กรอบจรรยาบรรณ / มาตรฐานทาง
คุณธรรมและจริยธรรม ครอบคลุม 3 เรื่อง กฎระเบียบที่ต้องยึดถือปฏิบัติ (Rules) ผลของงานที่มุ่งคุณภาพ (Results) ความสัมพันธ์ - เคารพซึ่งกันและกัน, ทำงานเป็นทีม, ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน (Relationships)

23 ค่านิยมสร้างสรรค์ของเจ้าหน้าที่ของรัฐ
กล้ายืนหยัดทำในสิ่งที่ถูกต้อง ซื่อสัตย์และรับผิดชอบ โปร่งใส ตรวจสอบได้ ไม่เลือกปฏิบัติ มุ่งผลสัมฤทธิ์ของงาน

24 กล้ายืนหยัดทำในสิ่งที่ถูกต้อง (Moral Courange)
หมายถึง ยึดมั่นในความถูกต้องดีงาม ชอบธรรม เสียสละ ยึดหลักวิชาและจรรยาวิชาชีพ ไม่ยอมโอนอ่อนตามอิทธิพลใดๆ

25 ซื่อสัตย์และมีความรับผิดชอบ (Integrity and Responsibility)
หมายถึง ปฏิบัติหน้าที่อย่างตรงไปตรงมา แยกเรื่องส่วนตัวออกจากหน้าที่การงาน มีความรับผิดชอบต่อประชาชน ต่อผลการปฏิบัติงานขององค์กร และต่อการพัฒนาปรับปรุงระบบราชการ

26 (Transparency and Accountability)
โปร่งใส ตรวจสอบได้ (Transparency and Accountability) หมายถึง ปรับปรุงกลไกการทำงานขององค์กรให้มีความโปร่งใส มีวิธีการให้ประชาชนตรวจสอบได้ เปิดเผยข้อมูลข่าวสารภายในขอบเขต

27 ไม่เลือกปฏิบัติ หมายถึง การบริการประชาชนด้วยความเสมอภาค
(Nondiscrimination) หมายถึง การบริการประชาชนด้วยความเสมอภาค เน้นความสะดวก รวดเร็ว ประหยัด และถูกต้อง ปฏิบัติต่อผู้มารับบริการด้วยความมีน้ำใจ มีความเมตตา และเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่

28 มุ่งผลสัมฤทธิ์ของงาน
(Result Orientation) หมายถึง ทำงานให้แล้วเสร็จตามกำหนด เกิดผลดีต่อหน่วยงานและส่วนรวม ใช้ทรัพยากรของทางราชการให้คุ้มค่า เสมือนหนึ่งการใช้ทรัพยากรของตนเอง เน้นการทำงานโดยยึดผลลัพธ์เป็นหลัก มีการวัดผลลัพธ์และค่าใช้จ่าย


ดาวน์โหลด ppt จรรยาบรรณและการเสริมสร้างมาตรฐาน ทางคุณธรรม จริยธรรมและการเป็น

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google