งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

ยุทธศาสตร์ การจัดทำเขตการค้าเสรีของไทย

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "ยุทธศาสตร์ การจัดทำเขตการค้าเสรีของไทย"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 ยุทธศาสตร์ การจัดทำเขตการค้าเสรีของไทย
กระทรวงพาณิชย์

2 FTA Roadmap : Agenda Roadmap ยุทธศาสตร์รายสาขา
ยุทธศาสตร์รายประเทศ : จีน สหรัฐฯ ญี่ปุ่น สรุปผล การบริหารการเจรจาที่มีประสิทธิภาพ การรองรับผลการเจรจา ก้าวต่อไป วาระการประชุมสำหรับ วันนี้ ในช่วงแรกประมาณ น. จะเป็นการพิจารณา Road Map การเจรจา FTA และยุทธศาสตร์การเจรจา FTA รายสาขาที่สำคัญ คือ เกษตร อุตสาหกรรม บริการ และทรัพย์สินทางปัญญาที่เกี่ยวกับการค้า และการบริหารการเจรจา FTA รวมทั้งการรองรับผลการเจรจา ซึ่งจะใช้เวลาในการพิจารณา รวมทั้งรับฟังความเห็นประมาณ 1 ชั่วโมง หลังจากนั้น เป็น coffee break ประมาณ 15 นาที แล้วแยกกลุ่มพิจารณา ยุทธศาสตร์รายประเทศ ซึ่งในวันนี้ ได้กำหนดให้พิจารณา 3 ประเทศ ที่เป็นคู่ค้าสำคัญของไทย คือ สหรัฐฯ ญี่ปุ่นและจีน ซึ่งจะใช้เวลาประมาณ 1 ชั่วโมง 45 นาที ( น.) จากจะกลับมาร่วมในห้องนี้อีกครั้งหนึ่ง เวลาประมาณ น. เพื่อสรุปผลการพิจาณายุทธศาสตร์รายประเทศ และกำหนดกลยุทธ์เของไทยเกี่ยวกับ FTA ก้าวต่อไป

3 สถานการณ์เศรษฐกิจโลก
การค้าขยายตัวและมีแนวโน้มเปิดเสรี มากขึ้น FTA การเจรจา WTO ชะงักงัน ประเทศต่างๆ มีแนวโน้มทำ FTA การค้าในปัจจุบันมีการขยายตัวและมีแนวโน้มเปิดเสรีมากขึ้น จาการายงานของ WTO การค้า (สินค้า) ในปี 2002 มีการขยายตัวเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 3 ประเทศที่มีการนำเข้าเป็นอันดับ 1 คือ สหรัฐฯ รองมา ได้แก่ สหภาพยุโรป ญี่ปุ่น จีน และแคนาดา ตามลำดับ ประเทศเหล่านี้ เป็นสมาชิก WTO ที่สนับสนุนการค้าเสรี แต่หลังจากความล้มเหลวของการประชุมรัฐมนตรี WTO ที่ Seattle การเจรจารอบโดฮา ชะงักงัน และความล้นเหลวการประชุมรัฐมนตรีที่แคนคูน เมื่อปี 2544 สมาชิก WTO ได้หันมาทำ FTA กันมากขึ้น ทั้งประเทศพัฒนาแล้ว เช่น - สหรัฐฯ ประกาศทำเขตการค้าเสรีกับประเทศต่างๆ ในทวีปอเมริกาทั้งทวีป (34 ประเทศ) เป็น FTAA (Free Trade America Agreement) ในปี 2005 - สหภาพยุโรปขยายสมาชิกภาพเป็น 25 ประเทศ ในเดือนพฤษภาคม นี้ - ญีปุ่น ทำ FTA กับเม็กซิโก ไทย อินโดนีเซีย มาเลเซีย และ ฟิลิปปินส์ - ประเทศกำลังพัฒนา เช่น - สิงคโปร์ ทำ FTA กับ ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย สหรัฐฯ นิวซีแลนด์ ชิลี ฯลฯ - ชิลี ทำ FTA กับ สหรัฐฯ เกาหลี นิวซีแลนด์ แคนาดา เม็กซิโก ฯลฯ

4 แนวโน้มการทำเขตการค้าเสรี
โลกมีแนวโน้มทำเขตการค้าเสรีมากขึ้น 70% เป็น Bilateral FTAs กราฟนี้แสดงแนวโน้มการทำ FTA ของประเทศต่างๆ ซึ่งชี้ให้เห็นว่า ตั้งแต่ปี 1999 (2543) การประชุม WTO ที่ Seattle ล้มเหลว ประเทศสมาชิกเริ่มหันไปให้ความสนใจการทำ FTA เป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการแข่งขันกันเปิดเสรี ในปี 2003 (2546) WTO รายงานว่ามีการทำ FTA ที่แจ้งต่อ WTO รวม 215 ฉบับ (สำหรับประเทศกำลังพัฒนาที่เริ่มเจรจา FTA ซึ่งยังอยู่ระหว่างการเจรจา จึงยังไม่มีการแจ้งต่อ WTO) และในจำนวน 215 ความตกลง เป็นความตกลง 2 ฝ่าย หรือ Bilateral Agreement กว่าร้อยละ 70 Source : WTO

5 ใครทำ FTA ? Source : WTO สหรัฐฯ 20% ยุโรป 70% เอเชีย 8%
ในความตกลง FTA ที่แจ้งต่อ WTO นั้น ส่วนใหญ่ เป็น ประเทศพัฒนาแล้ว - สหภาพยุโรป ทำ FTA กับประเทศต่างๆ ถึงร้อยละ 70 ของ FTA ทั้งหมด ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการทำ FTA กับประเทศกำลังพัฒนาที่เคยเป็นอาณานิคม เช่นกลุ่ม ACP และประเทศในทวีปแอฟริกา เช่น โมร็อกโก กลุ่ม SACU (Southrn African Customs Union) และ กลุ่ม SEDEC (Southern African Development Economic Community) และประเทศในทะเลบอลติก เป็นต้น - สหรัฐฯ ทำเขตการค้า NAFTA และ FTAA และ FTA กับ ชิลี สิงคโปร์ ออสเตรเลีย แอฟริกาใต้ บาห์เรน เป็นต้น สำหรับ เอเชีย มีการทำ FTA เพียงร้อยละ 8 (จาก 215 ความตกลง) ที่สำคัญคือ ASEAN หรือ AFTA เอเชีย 8% Source : WTO

6 เป้าหมายของไทย เป้าหมายของไทย Trade and Investment Hub in Asia Top 20
World Exporter Top 5 Investment Destination in Asia วิสัยทัศน์ของประเทศไทย - ต้องการให้ไทยเป็นศูนย์กลางการค้าและการลงทุนในภูมิภาคเอเชีย - เพิ่มรายได้จากการส่งออก โดยยกระดับการเป็นผู้ส่งออกในปี 2545 อันดับที่ 23 เป็นอันดับที่ 20 ในปี 2005 (2548) (ปัจจุบัน สหรัฐฯ ส่งออกเป็นอันดับ 1 ของโลก ตามด้วย เยอรมันนี ฝรั่งเศส อังกฤษ จีน แคนาดา สิงคโปร์ ($121 bill) มาเลเซีย ($88 bill) และไทย ($65 bill) - เป็นแหล่งลงทุนที่สำคัญเป็นอันดับ 5 ในภูมิภาคเอเชีย ในปี 2002 (2545) ไทยเป็นแหล่งลงทุนอันดับที่ 8 ของเอเชีย (เท่ากับฟิลิปปินส์) รองจาก เกาหลี และไต้หวัน (อันดับ 1 คือ จีน ตามด้วย ฮ่องกง สิงคโปร์ อินเดีย และมาเลเซีย) - สร้างฐานเศรษฐกิจที่เข็มแข็งตามนโยบาย Dual Track Policy ในการพัฒนาประเทศ โดยการขยายการส่งออก เพิ่มการจ้างงาน และรายได้แก่ผู้ประกอบการและเกษตรกร ซึ่งจะช่วยสร้างความเข็มแข็งให้แก่เศรษฐกิจรากหญ้า สร้างฐานเศรษฐกิจที่เข้มแข็งโดย Dual track policies

7 เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน
FTA เพื่อ ….. เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน ดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศ FTA เป็นกลไกลทางเศรษฐกิจการค้าระหว่างประเทศกลไกหนึ่ง ที่รัฐบาลนำมาใช้เป็นเครื่องมือในการขยายเศรษฐกิจการค้าระหว่างประเทศ เพื่อ - เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับผู้กระกอบการภายในประเทศ โดยการรักษาความได้เปรียบเชิงภาษี ซึ่งปัจจุบันมีแนวโน้มลงลงเนื่องจากถูกตัด GSP และการทำ FTA ของประเทศต่าง ๆ มากขึ้น - การทำ FTA กับบางประเทศ จะช่วยให้ไทยมีวัตถุดิบที่มีความหลากหลาย และราคาถูก เป็นการลดต้นทุนการผลิต และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันสินค้าไทยในตลาดโลก ได้ - การทำ FTA ทำให้ไทยมีตลาดที่ใหญ่ขึ้น และจูงใจให้มีการลงทุนทั้งในด้านสินค้าและบริการมากขึ้น เพราะมองเห็นโอกาสในการขยายการส่งออกสินค้าและบริการไปตลาดต่างๆ ที่ไทยทำ FTA เพิ่มโอกาสในการส่งออก

8 9 FTA Total trade with Thailand 43.8% Include AFTA 62.5%
China USA India Japan Bahrain BIMST-EC Peru ปัจจุบันไทยทำ FTA กับ 8 ประเทศ คือ บาห์เรน ออสเตรเลีย อินเดีย จีน ญี่ปุ่น เปรู สหรัฐฯ และนิวซีแลนด์ และกับ 1 กลุ่มเศรษฐกิจ (BIMST-EC) ประกอบด้วย (บังคลาเทศ) อินเดีย พม่า ศรีลังกา ไทย เนปาล และภูฐาน สำหรับบังคลาเทศ คาดว่าจะลงนามได้ในเร็วๆ นี้ การค้าระหว่างไทยกับประเทศที่ทำ FTA ด้วย คิดเป็นการค้า ประมาณ ร้อยละ 43.8 ของการค้ารวมของไทย และหากรวมอาเซียนด้วยแล้วจะมีการค้าประมาณ ร้อยละ 62.5 ของการค้าทั้งหมดของไทย Australia New Zealand Total trade with Thailand 43.8% Include AFTA 62.5%

9 ยุทธศาสตร์การเจรจา ประเทศใหญ่ ตลาดเดิม (Market Strengthening) : ญี่ปุ่น สหรัฐฯ ขยายตลาดใหม่ (Market Broadening & Deepening) ตลาดที่มีศักยภาพ: จีน อินเดีย ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ ตลาดที่เป็นประตูการค้า (Gateway): บาห์เรน เปรู ตลาดภูมิภาค: BIMST-EC กลยุทธสำคัญที่รัฐบาลใช้พิจารณาเลือกประเทศที่ทำ FTA ด้วยคือ - รักษาตลาดเดิม (Market Strengthening) ได้แก่ ญี่ปุ่น สหรัฐฯ - ขยายตลาดใหม่ (Market Broadening & Deepening) ซึ่งเป็นตลาดที่มี ศักยภาพ: จีน อินเดีย ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ - ตลาดที่เป็นประตูการค้า (Gateway) คือ บาห์เรน เปรู ซึ่งจะเป็นฐานการลงทุนและการค้าของไทยในตะวันออกกลาง และกลุ่มแอนเดียน (อเมริกากลาง) - สำหรับ BIMST-EC จะเป็นการสร้างความเข็มแข็งในเอเชีย และที่สำคัญ จะเป็นแหล่งวัตถุดิบที่ดีของไทย

10 Fact Sheet ประเทศคู่เจรจา FTA
ประชากร (ล้าน) GDP ($ bn.) การค้ากับไทย($) % 284 10,557 20 bn. 13.3 127 4,136 30 bn. 19 1.3 พันล้าน 1,406 12 bn. 7.5 1.1 พันล้าน 556 1.5 bn. 0.97 19.4 410 3.7 bn. 2.4 3.9 75.7 475 m. 0.3 0.7 133 m. 0.1 26.7 60.5 55 m. 0.04 ญี่ปุ่น เป็นคู่ค้าอันดับ 1 ของไทย มีประชากร 127 ล้านคน ค้ากับไทยถึงร้อยละ 19 ของการค้ารวม สหรัฐฯ เป็นคู่ค้าอันดับ 2 ของไทย มีประชากร 284 ล้านคน ค้ากับไทยถึงร้อยละ 13.3 ของการค้ารวม จีน เป็นคู่ค้าอันดับ 4 ของไทย มีประชากร 1,300 ล้านคน ค้ากับไทยถึงร้อยละ 13.3 ของการค้ารวม อินเดีย มีประชากร 1,100 ล้านคน GDP 556 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ค้ากับไทยถึงร้อยละ 0.9 ของการค้ารวม อินเดียถึงแม้จะมีการค้าระหว่างกันน้อย แต่มีศักยภาพมาก เนื่องจากเพิ่มเปิดประเทศ ประชากรระดับบนมีรายได้สูง อำนาจซื้อมาก ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ บาห์เรน และ BIMST-EC ถึงแม้มีสัดส่วนการค้าน้อย และสามารถใช้เป็นพันธมิตร และ FTA ช่วยแก้ปัญหา NTMs ได้

11 สถานะปัจจุบัน/Target Date
2004 2005 จีน ญี่ปุ่น สหรัฐฯ ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ อินเดีย บาห์เรน เปรู BIMST-EC สถานการณ์เจรจา FTA กับประเทศต่างๆ จีน ลงนามกรอบความตกลง FTA แล้ว ในกรอบความตกลง ASEAN-จีน ตกลงว่าจะลดภาษีสินค้าเกษตร พิกัดศุลกากร (ได้แก่ สัตว์มีชีวิต ประมง ธัญพืช ผักและผลไม้) เหลือ 0% ในปี สำหรับส่วนที่เหลือ ตกลงว่าจะเจรจาสูตรการลดภาษีให้เสร็จภายในเดือนมิถุนายน ศกนี้ สำหรับ การค้าบริการ การลงทุน และเรื่องกฎ ระเบียบต่างๆ จะเจรจาให้เสร็จภายในสิ้นปีนี้ ญี่ปุ่น ได้เจรจาเตรียมการ ศึกษาความเป็นไปได้ในการทำ FTA มาปีกว่าๆ และผู้นำทั้ง 2 ประเทศ ประกาศเปิดการเจรจา JTEP (Japan-Thailand Closer Economic) เมื่อ ธันวาคม 2546 และเริ่มเจรจารอบแรกไปแล้วเมื่อกุมภาพันธ์ 2547 คาดว่าจะเจรจาได้เสร็จภายในสิ้นปีนี้ สหรัฐฯ USTR ได้ยื่นหนังสือต่อ Congress และ วุฒิสภา แจ้งเจตนารมณ์ ที่จะเจรจา FTA กับไทย เมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ เพื่อทราบ (เนื่องจาก กฎหมาย Trade Promotion Act ของสหรัฐฯ ให้อำนาจ Fast track แก่ฝ่ายบริหารในการเจรจาทำความตกลงการค้าใน WTO และรวมถึงการทำ FTA ด้วย แต่เมื่อเจรจาเสร็จให้เสนอต่อ Congress ซึ่งจะพิจารณา รับ หรือ ไม่รับความตกลงที่ไปเจรจามา โดยไม่มีการแก้ไขสาระในความตกลงนั้นๆ) ทั้งนี้ จะมีเวลา ประมาณ 90 วัน ในการหารือ lobby และแลกเปลี่ยนความเห็นกับ Congress และกับวุฒิฯ ก่อนเริ่มเจรจากับไทย คาดว่า จะเริ่มเจรจาได้ประมาณปลายเดือนพฤษภาคม หรือ ต้นเดือนมิถุนายน นี้ และคาดว่าจะสามารถสรุปผลการเจรจาได้ในปี 2005 (2548) ออสเตรเลีย เจรจาเสร็จแล้วเมือปลายปี 2003 (2546) ขณะนี้อยู่ระหว่างการเจรจาร่างกฎหมาย คาดว่าจะสามารถลงนามได้ในเร็วๆ นี้ นิวซีแลนด์ ขณะนี้อยู่ระหว่างการทำการศึกษาร่วม ไทย-นิวซีแลนด์ เพื่อดูผลประโยชน์จากการทำ FTA และ กำหนดกรอบ ขอบเขตการเจรจาร่วมกัน คาดว่าจะเจาราเสร็จภายในปีนี้ อินเดีย ได้ลงนามกรอบความตกลง ไทย-อินเดีย เมื่อ 9 ตุลาคม 2546 ซึ่งครอบคลุมการเปิดเสรี การค้าสินค้า บริการ การลงทุน และการลดอุปสรรค มีเป้าหมายลดภาษีเหลือ 0% ภายในปี 2010 (2553) และตกลงจะลดภาษีล่วงหน้า Early Harvest 83 รายการในเดือนมีนาคม นี้ บาห์เรน ได้ลงนามกรอบความตกลงเมื่อ ธันวาคม 2545 ครอบคลุม การค้าสินค้า บริการ การลงทุน และความร่วมมือทางเศรษฐกิจ และมี Early Harvest 626 รายการที่จะลดภาษีเหลือ 0% ในปี 2005 สำหรับสินค้าที่เหลือมีเป้าหมายลดภาษีเหลือ 0% ภายในปี 2010 ทั้งนี้ คาดว่าการเจรจาความตกลงนี้จะเสร็จภายในปีนี้ เปรู ได้ลงนามกรอบความตกลงการเป็นหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจที่ใกล้ชิดยิ่งขึ้น เมื่อ ตุลาคม 2546 ขณะนี้ได้เจรจารอบแรก แล้วเมื่อปลายเดือนมกราคม นี้ ได้ตกลงในหลักการว่าการเจรจาจะครอบคลุมสินค้าทุกรายการ ส่วนการค้าบริการ จะเน้นเรื่องการอำนวยความสะดวก โดยเฉพาะในสาขา การขนส่ง การท่องเที่ยว คาดว่าการเจรจาจะเสร็จได้ภายในสิ้นปีนี้ โดยจะเป็นเขตการค้าเสรีที่สมบูรณ์ในปี 2015 BIMST-EC ลงนามกรอบความตกลง เมื่อ8 กุมภาพันธ์ 2547 ครอบคลุมการค้าสินค้า บริการ การลงทุน และความร่วมมือทางเศรษฐกิจ ความตกลงฯ มีเป้าหมายลดภาษีเหลือ 0% ปี (สำหรับประเทศพัฒนาน้อย) เริ่มเจรจา Framework Early Harvest เจรจาเสร็จ

12 ก้าวต่อไป ....... EU NAFTA ASEAN + 3 Africa CER: AUS-NZ Andean
BIMST -EC Latin America Africa MERCOSUR South Africa CER: AUS-NZ Andean การค้าในปัจจุบัน มีแนวโน้มเป็นกลุ่มเศรษฐกิจ มากขึ้น ในปัจจุบัน มีกลุ่มเศรษฐกิจที่สำคัญ ได้แก่ ทวีปอเมริกา มี NAFTA, ANDEAN, Mercosur ซึ่งในปี 2005 สหรัฐฯ จะทำ FTA กับทุกประเทศในทวีปนี้ เป็น FTAA และสหรัฐฯ ยังทำ FTA กับประเทศต่างๆ อีก เช่น กับ SACU กับ Middle East (การฟื้นฟูความสัมพันธ์หลังสงครามอิรัก) และกำลังเจรจากับ EU (Trans Atlantic) กับ ASEAN ภายใต้ ASEAN Economic Initiative (AEI) ยุโปร สหภาพยุโรป ขยายสมาชิกภาพเป็น 25 ประเทศ และยังมี FTA กับประเทศ / กลุ่ม ต่างๆ ใน ยุโรป ด้วย เช่น EFTA อิสราเอล แอฟริกาใต้ อียิปต์ และ ตุรกี หรับภูมิภาค EU กำลังเจรจากับกลุ่ม Mercosur และ ACP ส่วน กับ ASEAN มีความร่วมมือ Trans-Regional EU-ASEAN Trade Initiative (TREATI) เป็นต้น แอฟริกา มีกลุ่ม SACU ( 5 ประเทศ นามิเบีย เลโซโถ สวาซิแลนด์ บอสวานา และ แอฟริกาใต้) SADC (Southern African Development Community มี 14 ประเทศ เช่น SACU 5 ประเทศ และ แองโกลา มาลาวี มอริเชียส โมแซมบิก แทนซาเนีย ซิมบับเว คองโก เป็นต้น ) และมีแผนพัฒนาแอฟริกาทั้งทวีปภายใต้ NEPAD ทั้งด้านเศรษฐกิจ ความยากจน และสิ่งแวดล้อม ความร่วมมือดังกล่าว ทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำในเรื่องสิทธิพิเศษด้านภาษี การค้าบริการ และการลงทุน รวมทั้งการอำนวยความสะดวกด้านการค้าต่างๆ ทิศทาง FTA ของไทยในอนาคต ควรจะเจรจากับประเทศใดต่อไป ?

13 Future FTA : Candidates
EU Canada Korea Mexico Chile ขณะนี้ ไทยทำ FTA กับ 8 ประเทศ 1 กลุ่มเศรษฐกิจ มีความร่วมมือค่อนข้างมากใน ASIA เนื่องจากเป็นนโยบายที่จะสร้างความเข็มแข็งในภูมิภาค มีการเชื่อมโยงกับภูมิภาคอื่น คือ อเมริกา มี สหรัฐฯ อเมริกากลางมี เปรู ตะวันออกกลาง มีบาห์เรน ไทยยังขาดการเชื่อมโยงกับยุโรป ซึ่งเป็นคู่ค้าอันดับต้นของไทย มีการศึกษาโดยอาจารย์ที่ปรึกษาฯ ว่าหากทำ FTA กับ EU จะทำให้การส่งออกเพิ่มขึ้น 18.43% และ GDP เพิ่มขึ้น 4.85% อเมริกาใต้ กลุ่มที่มีศักยภาพได้แก่ Mercosur (ประกอบด้วย บราซิล อาร์เจนตินา อุรุกวัย และปารากวัย) ซึ่งเป็นประเทศสำคัญในอเมริกาใต้และเป็นตลาดใหม่ของไทย เราควรมีนโยบายเกี่ยวกับประเทศเหล่านี้โดยการทำ FTA หรือไม่ แอฟริกา ไทยมีความตกลงการค้าสองฝ่ายกับแอฟริกาใต้ มีความร่วมมือในการส่งเสริมการค้าและการลงทุน ในกรอบความตกลงดังกล่าวมีเป้าหมายที่จะมีความร่วมมือที่จะนำไปสู่การเป็นพันธมิตรที่ใกล้ชิด (Close Economic Partnership : CEP) ซึ่งจะเป็น Gateway ที่สำคัญของไทยในตลาดแอฟริกาได้ นอกจากนี้ ยังมีบางประเทศที่แสดงความสนใจที่จะทำ FTA กับไทย ได้แก่ แคนาดา เกาหลี และเม็กซิโก สำหรับเกาหลี หากมี FTA ด้วย จะทำให้ความเชื่อมโยงในเอเชียของไทยสมบูรณ์ยิ่งขึ้น S. Africa MERCOSUR

14 ก้าวอย่างไร … ศึกษาความเป็นไปได้และ ประโยชน์จากการทำ FTA
Candidates : EU Mercosur South Africa Canada Korea Mexico Chile ศึกษาความเป็นไปได้และ ประโยชน์จากการทำ FTA ทำ CEP ก่อนเป็น FTA ใช้การเมืองระดับสูง lobby การทำ FTA กับ ประเทศเป้าหมายในลำดับ ต่อไป หากไทยจะเจรจากับประเทศใดต่อไป ควรมีแนวทางดำเนินการอย่างไร แผนการเจรจา FTA ของไทยในปัจจุบัน ส่วนใหญ่ จะเจรจาเสร็จภายในปี 2004 (2547) นี้ ยกเว้น อินเดีย และ BIMST-EC ซึ่งจะเสร็จในปี 2005 (2548) สำหรับประเทศที่แสดงความสนใจจะทำ FTA กับไทย อาจเริ่มจากการศึกษาร่วมกันถึงประประโยชน์จากการทำ FTA และกรอบการเจรจา สำหรับประเทศที่มีศักยภาพ และเห็นว่าน่าจะเป็นประโยชน์ต่อไป ควรเริ่มศึกษาความเป็นไปได้และประโยชน์ในการทำ FTA กับประเทศต่างๆ โดยประเทศที่มีกรอบความร่วมมืออยู่แล้ว เช่น แอฟริกาใต้ อาจเริ่มจากการขยายความร่วมมือให้ใกล้ชิดขึ้นเป็น CEP ก่อนเป็น FTA เป็นต้น สำหรับประเทศอื่นๆ รวมทั้ง EU ที่ผลการศึกษาสนับสนุนให้ทำ FTA อาจต้องใช้การเมืองระดับสูง lobby การทำ FTA หยุดเพื่อรับฟังความคิดเห็นจากที่ประชุม

15 เกษตร อุตสาหกรรม บริการ ทรัพย์สินทางปัญญา ยุทธศาสตร์รายสาขา
เนื่องจากไทยมีการเจรจา FTA กับหลายประเทศ ดังนั้น เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด จึงควรมียุทธศาสตร์ในสาขาที่สำคัญ คือ เกษตร อุตสาหกรรม บริการ และ ทรัพย์สินทางปัญญา ซึ่งจะพิจารณาเป็นรายสาขา

16 เกษตร เน้นอุตสาหกรรมเกษตร และอาหารแปรรูป
สินค้าอ่อนไหว ให้เวลาปรับตัวนานกว่า ปัญหา NTMs เช่น SPS Food safety สิ่งแวดล้อม เจรจาให้ลด/ยกเลิก หรือปรับเพื่อไม่ให้เป็นอุปสรรคการค้า พัฒนาการผลิต ทำ MRA กำหนดมาตรฐานการนำเข้าวัตถุดิบสินค้าเกษตรและอาหาร ในการเจรจาเรื่องเกษตร ไทยควรเน้นอุตสาหกรรมที่ไทยมีศักยภาพในการแข่งขันสูง ได้แก่ อุตสาหกรรมการเกษตร และอาหารแปรรูป (มีเป้าหมายส่งออก 14,619 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัวเพิ่มขึ้น 13%) โดยอาจเร่งให้มีการเปิดเสรีเร็ว สำหรับสินค้าเกษตรที่มีความอ่อนไหว เช่น นมและผลิตภัณฑ์นม เนื้อวัว ข้าวโพด ถั่วเหลือง หอม กระเทียม ให้เจรจาโดยมีเวลาในการปรับตัวที่นาน เช่น กรณีที่เจรจากับออสเตรเลีย ไทยมีเวลาในการปรับตัวเรื่องนมผง ถึง 20 ปี สินค้าเกษตรและอาหาร จะมีปัญหาเรื่องมาตรฐานด้านสุขอนามัยมาก ดังนั้น ประเด็นในเรื่องการใช้มาตรการที่ไม่ให้เป็นการกีดกันการค้า และความร่วมมือในการแก้ไขปัญหาและอำนวยความสะดวกด้านการค้าจึงเป็นเรื่องที่ต้องให้ความสำคัญ และรวมถึงการทำ MRA และ การถ่ายทอดเทคโนโลยีด้วย สำหรับในด้านการเตรียมการภายในประเทศ จะต้องเร่งกำหนดมาตรฐานการนำเข้า โดยเฉพาะอย่างยิ่งวัตถุดิบที่ต้องนำเข้ามาแปรรูปเพื่อการส่งออก จะต้องได้มาตรฐาน และปลอดภัย

17 อุตสาหกรรม (1) เน้นอุตสาหกรรมเป้าหมายและกลุ่ม cluster ที่ผลิตแบบ production network ได้ เช่น แฟชั่น (เสื้อผ้า อัญมณี รองเท้า เครื่องหนัง) ยานยนต์และชิ้นส่วน สินค้าอิเล็กทรอนิกส์ เฟอร์นิเจอร์ เครื่องใช้ในบ้าน ของแต่งบ้าน เป้าหมายของการเจรจาเน้นอุตสาหกรรมเป้าหมายในการส่งออกของไทย และกลุ่ม cluster ที่มีการร่วมลงทุนผลิตที่เป็น production network สาขาที่สำคัญ ที่ไทยมีศักยภาพมาก ได้แก่ แฟชั่น รวมถึง เสื้อผ้า เครื่องนุ่งห่ม เครื่องประดับ รองเท้า ซึ่งไทยมีการพัฒนาและมีแผนจะเป็นศูนย์กลางแฟชั่นในเอเชีย ประเทศที่ไทยมีโอกาสมาก ได้แก่ สหรัฐฯ ออสเตรเลีย ญี่ปุ่น บาห์เรน และกับจีน อาจมีผลกระทบบ้าง ซึ่งต้องเร่งปรับปรุงและหามาตรการรองรับ สาขายานยนต์และชิ้นส่วน ครอบคลุมตั้งแต่อุตสาหกรรมขนาดใหญ่ที่มีการลงทุนจากต่างประเทศ และอุตสาหกรรมต่อเนื่อง ซึ่งเป็น SMEs จากการศึกษา พบว่าการทำ FTA จะให้ประโยชน์กับอุตสาหกรรมนี้ โดยเฉพาะชิ้นส่วนและยายยนต์ สาขาอิเล็กทรอนิกส์ เป็นสินค้าเป้าหมายขยายการส่งออกในปี 2547 ถึง 7.2% สาขาเฟอร์นิเจอร์ เครื่องใช้ในบ้าน และของแต่บ้าน จากการหารือกับภาคเอกชน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง พบว่าไทยไทยพร้อมในการแข่งขันกับทุกประเทศ

18 อุตสาหกรรม (2) กำหนดมาตรฐานนำเข้าสินค้าอุตสาหกรรม Rules of Origin :
NTMs เช่นมาตรฐานสินค้า (TBT) สิ่งแวดล้อม เจรจาให้ลด/ยกเลิก หรือปรับเพื่อไม่ให้เป็นอุปสรรคการค้า พัฒนาการผลิต ทำ MRA กำหนดมาตรฐานนำเข้าสินค้าอุตสาหกรรม Rules of Origin : ต้องสะท้อนถึงสถานะการผลิตของไทย พัฒนาอุตสาหกรรมต้นน้ำ ในการเจรจาต้องเจรจามาตรการที่ไม่ใช่ภาษีควบคู่กันไป โดยเฉพาะในเรื่องมาตรฐานสินค้า ต้องปรับวิธีการตรวจสอบไม่ให้เป็นอุปสรรคต่อการค้า มีการจัดทำความยอมรับร่วมกัน ขณะเดียวกันต้องพัฒนาการผลิตในประเทศ และพัฒนาเทคโนโลยี รวมทั้ง R&D Rules of Origin เป็นปัจจัยสำคัญที่จะส่งเสริมให้เกิดการค้าหรือการพัฒนาในประเทศ จึงต้องสะท้อนสภาพการผลิตในประเทศ และในประเทศต้องปรับการผลิตต้นน้ำให้มากขึ้น เพื่อตอบสนอง dual track policy ตอบสนอง SMEs

19 การค้าบริการ เปิดเสรีแบบค่อยเป็นค่อยไป ใช้ positive-list approach
เน้นธุรกิจบริการที่มีความพร้อม เช่น ท่องเที่ยว สุขภาพ ก่อสร้างออกแบบ สนับสนุนธุรกิจที่มีอนาคต เช่น ICT logistics บันเทิง ซ่อมบำรุง กลุ่มธุรกิจบริการที่ยังไม่พร้อม เช่น ธนาคาร ประกันภัย โทรคมนาคม ขนส่ง ให้มี transition period 10 ปี การค้าบริการของไทย ไทยมีความพร้อมในหลายด้าน เช่น ท่องเที่ยว (โรงแรม ภัตตาคาร บริษัททัวร์) สุขภาพ (โรงพยาบาล สปา ) ก่อสร้างออกแบบ แต่ในขณะเดียวกันก็ยังมีการบริการที่ยังไม่พร้อมแข่งขัน แต่เป็นพื้นฐานการผลิต ภาคอุตสาหกรรม และการเกษตร เช่น ธนาคาร โทรคม ขนส่ง สาขาการบริการบางอย่างของไทยอาจกำลังเริ่มต้น แต่มีอนาคต เช่น logistics ICT positive-list approach สาขาที่พร้อมแข่งขัน อาจเสนอให้มีการเปิดเสรีได้ในลำดับแรก ๆ พร้อมไปกับการพัฒนาธุรกิจบริการเหล่านี้ให้พร้อมในการแข่งขันต่อไป ส่วนธุรกิจที่ยังไม่พร้อม ก็อาจให้มีระยะเวลาในการเปิดเสรีที่นาน เพื่อเปิดโอกาสให้มีการปรับตัว เช่น 10 ปี

20 เน้นความร่วมมือเพื่อ....
ทรัพย์สินทางปัญญา มาตรฐานการคุ้มครองในระดับสากล อิงความตกลง WTO เน้นความร่วมมือเพื่อ.... เสริมสร้างนวัตกรรม การใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ อำนวยความสะดวกในการจดทะเบียน และลดค่าใช้จ่าย เรื่องการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา มีทั้งแง่บวกและแง่ลบ คือ ประเทศที่พัฒนาแล้ว เช่น สหรัฐฯ และ ญีปุ่น ก็ควรแสวงหาการคุ้มครองและการ enforce ในระดับที่สูง ในขณะเดียวกัน ประเทศไทยซึ่งกำลังมีระดับการพัฒนาเศรษฐกิจ อุตสาหกรรม ที่สูงขึ้น เพราฉะนั้น การผลิตภายในประเทศเอง ซึ่งเรากำลังสนับสนุนให้ใช้ภูมิปัญญาเป็นทรัพย์สินเป็นทุน ก็จำเป็นต้องมีการคุ้มครอง เพื่อให้คนไทยมีความคิดค้นมากขึ้น รวมทั้งที่จะนำระบบทรัพย์สินทางปัญญาเข้ามาต่อยอดของไทย ดังนั้น จึงจะมีผลบวกให้คนไทยพัฒนามากขึ้น สำหรับยุทธศาสตร์ในการเจรจาเรื่อ ทรัพย์สินทางปัญญา ไทยควร เน้นระดับการคุ้มครองภายใต้ความตกลงว่าด้วยทรัพย์สินทางปัญญาที่เกี่ยวกับการค้าใน WTO เป็นหลัก ควรแสวงหาความร่วมมือจากประเทศคู่เจรจาในการอำนวยความสะดวกด้านการขอรับการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาของคนไทยในต่างประเทศ เช่น การขอรับการคุ้มครองพันธุ์ข้าวหอมมะลิ และเครื่องหมายรับรองข้าวหอมมะลิของไทย ผลักดันให้ประเทศคู้เจรจาให้ให้การคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาที่ไทยมีผลประโยชน์ เช่น ภูมิปัญญาท้องถิ่น แหล่งที่มาทางชีวภาพ ส่งเสริมความร่วมมือด้านการถ่ายทอดเทคโนโลยี การใช้ประโยชน์ในข้อมูลสิทธิบัตร เพิ่มศักยภาพและทักษะของนักประดิษฐ์ของไทยในการวิจัยพัฒนาต่อยอด

21 ทีม FTA คณะรัฐมนตรี กนศ. คณะเจรจา คณะทำงาน คณะทำงาน ประสานยุทธศาสตร์
และนโยบายการ เจรจาการค้า ระหว่างประเทศ (ที่ปรึกษารองนายกฯ) (สมพล เกียรติไพบูลย์) คณะทำงาน ติดตามผลการเจรจา (ดร.ณรงค์ชัย อัครเศรณี) Australia&NZ การุณ กิตติสถาพร Bahrain อภิรดี ตันตราภรณ์ China รองนายกรัฐมนตรี (นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์) ประธาน กนศ. ได้มีคำสั่งแต่งตั้ง คณะทำงานประสานยุทธศาสตร์และนโยบายการเจรจาการค้าระหว่างประเทศ โดยมี นายสมพล เกรียติไพบูลย์ ที่ปรึกษารองนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน คทง.ประสานนโยบายฯ มีหน้าที่พิจาณานโยบายและยุทธศาสตร์การเจรจา FTA และคทง. นี้ ได้มีการพิจารณากรอบท่าทีการเจรจา FTA ของไทย ซึ่งจะได้นำเสนอต่อ กนศ. ต่อไป หัวหน้าคณะเจรจาจัดทำเขตการค้าเสรีรายประเทศ รวม 8 ประเทศ และ 1 กลุ่มเศรษฐกิจ สำหรับวันนี้ ได้จัดประชุมยุทธศาสตร์ 3 ประเทศ เพื่อใช้เป็นแนวทางในการเจรจาและกำหนดกลยุทธ์ในการเจรจา FTA ต่อไป คณะติดตามผลการเจรจา ซึ่งมี ดร. ณรงค์ชัย อัครเศรณี เป็นประธาน คณะทำงานชุดนี้ จะมีความสำคัญมาก ในการติดตามประเมินผลการเจรจา FTA ต่างๆ ว่าเป็นไปตามเปาหมายหรือไม่ และในการทำ FTA กับประเทศต่างๆ นั้น ไทยควรมีมาตรการรองรับผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นอย่างไร และจะทำอย่างไรจึงจะช่วยให้ผู้ประกอบการสามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการแข่งขันในสาขาที่มีความสามารถอยู่แล้ว ให้เก่งยิ่งขึ้น อย่างไร และผลจากการประชุมวันนี้ ท่าน ดร. ณรงค์ชัยฯ คงจะนำไปประกอบการจัดทำข้อเสนอแนะและนำเสนอต่อ กนศ. ต่อไป สมพล เกียรติไพบูลย์ India & BIMSTEC ปานปรีย์ พหิทธานุกร Japan พิศาล มาณวพัฒน์ Peru กันตธีร์ ศุภมงคล US นิตย์ พิบูลสงคราม

22 คณะทำงานประสานงานยุทธศาสตร์ และนโยบายการเจรจาการค้าระหว่างประเทศ
การเปิดตลาดสินค้า กระทรวงพาณิชย์ แหล่งกำเนิดสินค้า กระทรวงการคลัง การลด/เลิกอุปสรรคทางการค้า - มาตรฐานสุขอนามัย - มาตรฐานสินค้าอุตสาหกรรม กระทรวงเกษตรฯ กระทรวงอุตสาหกรรม การค้าบริการ กระทรวงพาณิชย์และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง คทง. ประสานยุทธศาสตร์ฯ ได้ประชุม และมอบหมายให้หน่วยงานที่รับผิดชอบในเรื่องต่างๆ ในการเจรจา FTA เพื่อ เตรียมการกำหนดท่าที กลยุทธ์ในการเจรจา ในสาขาสำคัญ คือ การเจรจาเปิดตลาด กระทรวงพาณิชย์ จะเป็นแกนกลางในการเจรจา โดยการประสานงานอย่างใกล้ชิดกับกระทรวงการคลัง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และกระทรวงอุตสาหกรรม แหล่งกำเนิดสินค้า กรมศุลกากร กระทรวงการคลัง มีคณะอนุกรรมการว่าด้วยแหล่งกำเนิดสินค้าทำหน้าที่กำหนดท่าทีการเจรจาอยู่แล้ว มาตรการ TBT สมอ. กระทรวงอุตสาหกรรม SPS มกอช. กระทรวงเกษตร การค้าบริการ กระทรวงพาณิชย์ โดยการประสานงานกับกระทรวงที่เกี่ยวข้องอย่างใกล้ชิด การลงทุน BOI ทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์ E- Commerce กระทรวง ICT ที่ดูแลเรื่อง IT ทั้งระบบ การจัดซื้อโดยรัฐ กระทรวงการคลัง (กรมบัญชีกลาง) การลงทุน BOI ทรัพย์สินทางปัญญา กรมทรัพย์สินทางปัญญา E-commerce กระทรวง ICT

23 การรองรับผลการเจรจา (Implementation)
คณะทำงานรองรับผลการเจรจา ปรับโครงสร้าง เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันเพื่อรองรับการเปิดเสรี ด้านการผลิต ด้านการตลาด ด้านเทคโนโลยี พัฒนาตลาดเชิงรุก Thailand Market Place พัฒนาระบบข้อมูลการตลาด Marketing Survey พัฒนาบุคลากร Inter-trader พัฒนาสินค้า Brand image พัฒนาระบบการค้าอิเล็กทรอนิกส์ ช่วยเหลือผู้ผลิตที่ได้รับผลกระทบ ส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีเพื่อการผลิต การบริหาร จัดการ ารรองรับผลการเจรจา กระทรวงพาณิชย์ ได้ยกร่างยุทธศาสตร์การรองรับผลการเจรจา โดยแบ่งเป็น 3 ประเด็น คือ ในด้านการตลาด ด้านการผลิต ละการพัฒนาเทคโนโลยี ที่จะนำไปสู่ Knowledge Base Economy ต่อไป


ดาวน์โหลด ppt ยุทธศาสตร์ การจัดทำเขตการค้าเสรีของไทย

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google