งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

ระบบการบริหารจัดการด้านยา

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "ระบบการบริหารจัดการด้านยา"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 ระบบการบริหารจัดการด้านยา
ที่มีประสิทธิภาพ นพ.สมชัย นิจพานิช รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข

2 ๑) ระบบบริหารจัดการยาและเวชภัณฑ์
๑.๑ สร้างความเข้มแข็งของคณะกรรมการ เภสัชกรรมและการบำบัด (PTC) โดยให้มี การประชุมประจำทุก ๒ - ๓ เดือน และ เน้นให้มีบทบาทหน้าที่หลักในการกำหนด นโยบายด้านยาและเวชภัณฑ์ และการ กำกับติดตามการใช้ยาและเวชภัณฑ์ใน โรงพยาบาล ๑.๒ ให้มีการจัดทำแผนจัดซื้อยาและเวชภัณฑ์ ประจำปีของแต่ละโรงพยาบาล

3 ๒) การคัดเลือก ๒.๑ ให้มีการกำหนดเกณฑ์การคัดเลือก
๒) การคัดเลือก ๒.๑ ให้มีการกำหนดเกณฑ์การคัดเลือก รายการยาและเวชภัณฑ์ เข้า-ออก จาก บัญชีโรงพยาบาลที่ชัดเจน ๒.๒ มีการจัดทำ/ทบทวนบัญชีรายการยาและ เวชภัณฑ์ ของหน่วยงานให้เป็นปัจจุบัน ทุกปี

4 ๓) การจัดซื้อ/จัดหา ๓.๑ จัดซื้อตามแผนการจัดซื้อยาและเวชภัณฑ์ประจำปี
๓.๑ จัดซื้อตามแผนการจัดซื้อยาและเวชภัณฑ์ประจำปี และหากไม่สามารถดำเนินการตามแผนจัดซื้อที่ กำหนดได้ ให้เสนอขออนุมัติปรับแผนการจัดซื้อยาและ เวชภัณฑ์ต่อหัวหน้าหน่วยงาน ๓.๒ ยาและเวชภัณฑ์ที่มีการใช้มากให้ดำเนินการจัดซื้อร่วม ระดับจังหวัดหรือระดับเขต ๓.๓ ให้เสนอขออนุมัติจัดซื้อก่อนดำเนินการสั่งซื้อ (ตาม ระเบียบพัสดุฯ ข้อ ๒๗) ๓.๔ วิธีการจัดซื้อให้ดำเนินการตามที่กำหนดในระเบียบ พัสดุฯ และไม่แบ่งซื้อแบ่งจ้าง ๓.๕ ไม่กำหนดคุณลักษณะเฉพาะที่เอื้อต่อบริษัทใดบริษัท หนึ่ง หรือผลิตภัณฑ์ใดผลิตภัณฑ์หนึ่ง

5 ๔) การตรวจรับ ๔.๑ กรรมการตรวจรับยาและเวชภัณฑ์ต้อง
๔) การตรวจรับ ๔.๑ กรรมการตรวจรับยาและเวชภัณฑ์ต้อง ตรวจรับให้ถูกต้องตามระเบียบพัสดุฯ และให้มีหลักฐานการส่งมอบยาให้คลัง เวชภัณฑ์ที่เป็นลายลักษณ์อักษร ๔.๒ รายการที่ไม่มีใบสั่งซื้อหรือคำสั่งซื้อ ให้ แจ้งบริษัทและส่งคืนทันที โดยมีการ ลงบัญชีไว้ และมีการลงนามชื่อผู้แทน บริษัทที่มารับสินค้าคืนทุกครั้ง

6 ๕) การควบคุม/เก็บรักษา
๕.๑ ประตูคลังเวชภัณฑ์หรือประตูห้องจ่ายยา ควร ใส่กุญแจอย่างน้อย ๒ ชุด และให้มีผู้จัดเก็บ กุญแจแยกจากกันคนละดอก ไม่เปิดประตูคลัง เวชภัณฑ์ไว้ตลอดเวลา ๕.๒ มีการจัดทำทะเบียนควบคุมเวชภัณฑ์ (Stock card) อาจทำไว้ ๒ ชุด เก็บที่คลังเวชภัณฑ์ และหัวหน้ากลุ่มงานเภสัชกรรมโดยสามารถ ตรวจสอบซึ่งกันและกันได้ ๕.๓ ให้มีการสำรองยาในคลังไม่เกิน ๓ เดือน ๕.๔ ให้มีระบบเฝ้าระวังวันหมดอายุ และการ เสื่อมสภาพของยา

7 ๕) การควบคุม/เก็บรักษา (ต่อ)
๕.๕ จัดให้มีระบบการรักษาความปลอดภัยของห้อง จ่ายยา และคลังเวชภัณฑ์ โดยอาจติดตั้ง ระบบ CCTV ในจุดที่สำคัญสามารถดูย้อนหลัง ได้เมื่อเกิดปัญหา ๕.๖ จัดระบบการควบคุมที่เข้มงวดในยาที่อาจ นำไปใช้ในทางที่ผิดตามแนวทางที่กำหนด เช่น ยาเสพติดให้โทษ วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิต และประสาท หรือยาอื่นที่อาจถูกนำไปใช้ ในทางที่ผิด ลงบัญชีรับ-จ่าย หรือระบบที่ สามารถตรวจสอบการเบิกการจ่ายยาและ เวชภัณฑ์ได้ หรือระบบอื่น กรณีมีบุคลากรน้อย

8 ๖) การเบิกจ่าย ๖.๑ กำหนดผู้รับผิดชอบการเบิก-จ่าย หน่วยเบิก
๖.๑ กำหนดผู้รับผิดชอบการเบิก-จ่าย หน่วยเบิก แบบฟอร์มการขอเบิก และเวลาการเบิกที่ ชัดเจน ๖.๒ จัดระบบการตรวจสอบซึ่งกันและกันในการ เบิกจ่ายยาและเวชภัณฑ์โดยให้ เจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบเป็นคนละคนกัน ใน เรื่อง การรับใบเบิก/จัดยาตามใบเบิกและการ จ่ายของ/ลงบัญชีรับจ่าย หรือระบบอื่นที่ สามารถตรวจสอบการเบิกการจ่ายยาและ เวชภัณฑ์ได้กรณีมีบุคลากรน้อย

9 ๗) การใช้ ๗.๑ ให้มีการกำหนดหลักเกณฑ์การสั่งใช้ยา
๗.๑ ให้มีการกำหนดหลักเกณฑ์การสั่งใช้ยา อย่างสมเหตุสมผล ในรายการยาที่มี ความสำคัญหรือมีมูลค่าสูง ๗.๒ ให้มีระบบการติดตาม ประเมินการใช้ยา (Drug Utilization Evaluation) ในกลุ่ม ยาที่ต้องเฝ้าระวังหรือมีมูลค่าสูง

10 ๘) ระบบรายงาน ๘.๑ จัดให้มีระบบการตรวจสอบภายใน คลังเวชภัณฑ์ และ
๘.๑ จัดให้มีระบบการตรวจสอบภายใน คลังเวชภัณฑ์ และ ห้องจ่ายยา โดยให้มีการตรวจสอบการรับ-จ่าย ทะเบียนควบคุม และนับจำนวนที่เหลือจริงเป็นระยะ ๆ โดยสุ่มเลือกตรวจเป็นบางรายการ เฉพาะที่มีราคาแพง หรือรายการที่มีการ เบิกจ่าย มากหรือรายการที่อาจถูก นำไปใช้ในทางที่ผิด และเสนอผลกการตรวจสอบ ต่อ ผู้บังคับบัญชา ๘.๒ จัดให้มีรายงานสรุปการรับจ่ายยาและเวชภัณฑ์ ราย เดือน/ปี เสนอผู้บังคับบัญชาตามลำดับขั้น ๘.๓ รายงานการตรวจสอบพัสดุประจำปี (ตามระเบียบพัสดุ) และขออนุมัติจำหน่ายรายการที่หมดอายุหรือเสื่อมสภาพ

11 ๙) การตรวจสอบและรายงาน
๙.๑ ให้รายงานการจัดซื้อยาและเวชภัณฑ์ประจำเดือนให้ ส่วนกลาง (ศูนย์ข้อมูลข่าวสารด้านเวชภัณฑ์ กระทรวง สาธารณสุข) ๙.๒ ให้สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกำกับติดตามการ ดำเนินการของโรงพยาบาลชุมชนให้เป็นไปตาม ระเบียบและแนวทาง มาตรการที่กำหนด ๙.๓ ให้สำนักตรวจราชการและประเมินผล กำกับติดตามการ ดำเนินการของโรงพยาบาลต่าง ๆ ในการออกตรวจ ราชการประจำปี

12 การบริหารด้านยาและเวชภัณฑ์ของโรงพยาบาล
การตรวจและนิเทศงาน แต่งตั้งคณะกรรมการเภสัชกรรมและการบำบัด (PTC) - กำหนดนโยบายด้านยาและเวชภัณฑ์ฯ - กำกับติดตามการใช้ยาและเวชภัณฑ์ฯในโรงพยาบาล จัดทำแผนจัดซื้อยาและเวชภัณฑ์ประจำปี ระบบบริหารจัดการยาและเวชภัณฑ์ฯ ผู้ตรวจราชการกระทรวง ทีมนิเทศเฉพาะกิจ ระบบสุ่มตรวจสอบภายใน สรุปการรับจ่ายยา/เวชภัณฑ์ฯรายเดือน/ปีเสนอผู้บังคับบัญชาตามลำดับขั้น รายงานการจัดซื้อยา/เวชภัณฑ์ฯประจำเดือน รายงานบริหารเวชภัณฑ์ รายไตรมาสให้ส่วนกลาง (ศูนย์ข้อมูลข่าวสารด้านเวชภัณฑ์ กระทรวงสาธารณสุข) รายงานการตรวจสอบพัสดุประจำปี (ตามระเบียบพัสดุ) และขออนุมัติจำหน่ายรายการที่หมดอายุ / เสื่อมสภาพ กำหนดเกณฑ์การคัดเลือกรายการเข้า-ออกจากบัญชีโรงพยาบาล จัดทำ/ทบทวนบัญชีรายการยาและเวชภัณฑ์ฯ ของหน่วยงาน การจัดซื้อ/จัดหา การคัดเลือก การตรวจรับ การควบคุม/เก็บรักษา การเบิกจ่าย การตรวจสอบและรายงาน การใช้ จัดซื้อตามแผนการจัดซื้อ ยาและเวชภัณฑ์ฯที่มีการใช้มาก ให้จัดซื้อร่วมระดับจังหวัด / เขต เสนอขออนุมัติจัดซื้อก่อนดำเนินการสั่งซื้อ (ตามระเบียบพัสดุ ข้อ 27) วิธีการจัดซื้อ (ตามทีกำหนดในระเบียบพัสดุ) / ไม่แบ่งซื้อแบ่งจ้าง ไม่ lock spec. กำหนดหลักเกณฑ์ การสั่งใช้ยาอย่างสมเหตุสมผล ติดตาม ประเมินการใช้ยา (Drug Utilization Evaluation) ในกลุ่มยาที่ต้องเฝ้าระวัง/มูลค่าสูง ตรวจรับโดยคณะกรรมการตามระเบียบพัสดุ ยาที่ไม่มีใบสั่งซื้อ ให้แจ้งบริษัทและส่งคืนทันที กำหนดหน่วยเบิกและแบบฟอร์มการขอเบิก จัดระบบการเบิกจ่ายโดยเจ้าหน้าที่คนละคน - เจ้าหน้าที่รับใบเบิก/จัดยาตามใบเบิก - เจ้าหน้าที่จ่ายของ/ลงบัญชีรับจ่าย จัดทำบัญชีควบคุมเวชภัณฑ์ สำรองคลังไม่เกิน 3 เดือน เฝ้าระวังการหมดอายุ / เสื่อมสภาพ จัดให้มีระบบการรักษาความปลอดภัย เช่น ประตูคลังเวชภัณฑ์ควรใส่กุญแจอย่างน้อย 2 ชุด มีระบบการควบคุมที่เข้มงวดในยาที่อาจนำไปใช้ในทางที่ผิด เช่น ยาเสพติด วัตถุออกฤทธิ์ฯ

13 และกำกับดูแลในการบริหารจัดการ
สรุปข้อมูลเบื้องต้น การรายงานมาตรการในการดำเนินการ และกำกับดูแลในการบริหารจัดการ ด้านยาของโรงพยาบาล

14 ผลการดำเนินการตรวจสอบการบริหาร จัดการด้านยาของโรงพยาบาล
๑.๑ จำนวนจังหวัดที่รายงานข้อมูล ๗๖ จังหวัด รวม ๘๓๑ โรงพยาบาล ๑.๒ จำแนกเป็นประเภทโรงพยาบาล ๑.๒.๑ รพศ./รพท ๙๕ แห่ง (๑๐๐%) ๑.๒.๒ รพช ๗๓๖ แห่ง (๙๙.๔๖.%)

15 จำนวนโรงพยาบาลที่ดำเนินการได้ครบตามมาตรการ
ข้อ ๑ ระบบบริหารจัดการยาฯ ๗๘๖ รพ. (๙๔.๕๘%) ข้อ ๒ การคัดเลือก ๗๙๕ รพ. (๙๕.๖๗%) ข้อ ๓ การจัดซื้อ/จัดหา ๖๖๓ รพ. (๗๙.๖๑%) ข้อ ๔ การตรวจรับ ๗๔๔ รพ. (๘๙.๕๓%) ข้อ ๕ การควบคุม/เก็บรักษา ๕๕๗ รพ. (๖๗.๐๓%) ข้อ ๖ การเบิกจ่าย ๗๔๔ รพ. (๘๙.๕๓%) ข้อ ๗ การใช้ ๖๕๙ รพ. (๗๙.๓๐%) ข้อ ๘ ระบบรายงาน ๗๔๕ รพ. (๘๙.๖๕%) ข้อ ๙ การตรวจสอบ รายงาน ๖๐๗ รพ. (๗๓.๐๔%)

16 รายงานข้อมูลด้านมูลค่าและปริมาณการใช้ ยาของโรงพยาบาล ในปีงบประมาณ ๒๕๕๔
๒.๑ จำนวนโรงพยาบาลที่รายงานข้อมูล รวม ๗๑๕ แห่ง ๒.๒ จำแนกเป็นประเภทโรงพยาบาล ๑.๒.๑ รพศ./รพท. ๙๕ แห่ง (๑๐๐.%) ๑.๒.๒ รพช ๖๒๐ แห่ง (๘๓.๗๘%)

17 ๒.๓ รายการที่มีมูลค่าการใช้ สูงสุด ๒๐ อันดับแรก
๒.๓ รายการที่มีมูลค่าการใช้ สูงสุด ๒๐ อันดับแรก ลำดับ รายการ มูลค่า รพ. 1 IMIPENAM+CILASTATIN 1 G INJ 334,850,056.33 61 2 MEROPENEM 1 G INJ 252,743,436.74 50 3 ROSUVASTATIN 10 MG TAB 179,774,382.43 40 4 CLOPIDOGREL 75 MG TAB 159,421,403.01 32 5 CEFOPERAZONE+SULBACTAM 1.5 G INJ 155,236,175.23 35 6 PIPERACILLIN 4 G + TAZOBACTAM 500 MG INJ 140,328,873.82 38 7 ATORVASTATIN 20 MG TAB 128,730,863.35 8 EPOETIN ALPHA 4000 IU INJ 111,497,820.98 43 9 CELECOXIB 200 MG CAP 109,021,260.26 41 10 RABIES HUMAN IMMUNOGLOBULIN 300 U INJ 102,478,007.77 33

18 ๒.๓ รายการที่มีมูลค่าการใช้ สูงสุด ๒๐ อันดับแรก (ต่อ)
๒.๓ รายการที่มีมูลค่าการใช้ สูงสุด ๒๐ อันดับแรก (ต่อ) ลำดับ รายการ มูลค่า รพ. 11 EPOETIN BETA 5000 IU INJ 99,214,318.19 22 12 CAPECITABINE 500 MG TAB 89,036,856.32 18 13 EPOETIN ALPHA 5000 IU INJ 76,963,161.84 16 14 MANIDIPINE 20 MG TAB 69,389,073.35 24 15 SODIUM CHLORIDE 0.9% INJ ML 67,214,629.66 49 ROSUVASTATIN 20 MG TAB 66,003,605.48 10 17 INSULIN MIXED 300 IU INJ PENFILLED 65,203,880.21 31 IMATINIB 100 MG TAB 59,382,036.99 7 19 OCTREOTIDE 0.1 MG/ML INJ 57,948,578.11 20 TIGECYCLINE 50 MG INJ 57,174,477.01

19 ๒.๔ รายการที่มีปริมาณการใช้ สูงสุด ๒๐ อันดับแรก
๒.๔ รายการที่มีปริมาณการใช้ สูงสุด ๒๐ อันดับแรก ลำดับ รายการยา รพ. ปริมาณ 1 OMEPRAZOLE 20 MG CAP 88 114,717,635 2 PARACETAMOL 500 MG TAB 87 178,612,938 3 ENALAPRIL 5 MG TAB 86 116,674,257 4 METFORMIN 500 MG TAB 85 253,490,900 5 ASPIRIN 81 MG TAB 84 123,360,925 6 VITAMIN B COMPLEX TAB 75 137,683,251 7 FOLIC ACID 5 MG TAB 70 79,048,499 8 GLIBENCLAMIDE 5 MG TAB 64 79,155,318 9 MULTIVITAMINS TAB 63 66,600,866 10 ATENOLOL 50 MG TAB 62 77,373,598

20 ๒.๔ รายการที่มีปริมาณการใช้ สูงสุด ๒๐ อันดับแรก (ต่อ)
๒.๔ รายการที่มีปริมาณการใช้ สูงสุด ๒๐ อันดับแรก (ต่อ) ลำดับ รายการยา รพ. ปริมาณ 11 AMLODIPINE 5 MG TAB 58 83,229,727 12 SIMVASTATIN 20 MG TAB 53 89,789,383 13 FERROUS FUMARATE 200 MG TAB 51 70,441,541 14 GLIPIZIDE 5 MG TAB 49 73,756,715 15 VITAMIN B TAB 41 48,030,193 16 HYDROCHLOROTHIAZIDE 25 MG TAB 40 40,803,173 17 SODIUM BICARBONATE 300 MG TAB 39 79,048,499 18 ENALAPRIL 20 MG TAB 37 32,690,392 19 DICLOFENAC 25 MG TAB 26,594,770 20 SIMVASTATIN 10 MG TAB 32 57,917,490

21 ๒.๕ รายการที่มีมูลค่าต่อหน่วยสูงสุด ๒๐ อันดับแรก
ลำดับ รายการ มูลค่าต่อหน่วย รพ. 1 OCTREOTIDE 30 MG INJ PREFILLED 86,294.43 2 TRASTUZUMAB 440 MG INJ 81,875.04 14 3 OCTREOTIDE 20 MG INJ 63,921.80 4 RITUXIMAB 500 MG/50 ML INJ 63,599.06 20 5 BASILIXIMAB 20 MG INJ 61,257.50 6 BORTEZOMIB 3.5 MG INJ 60,152.19 7 OXALIPLATIN 200 MG INJ 53,759.83 8 RANIBIZUMAB 10MG/ML 2.3 ML INJ 49,961.11 9 PEMETREXED 500 MG INJ 46,103.75 10 TENECTEPLACE 8000 U INJ 44,726.00

22 ๒.๕ รายการที่มีมูลค่าต่อหน่วย สูงสุด ๒๐ อันดับแรก (ต่อ)
ลำดับ รายการ มูลค่าต่อหน่วย รพ. 11 TENECTEPLACE INJ 44,726.00 1 12 VERTEPORFIN 15 MG INJ 42,586.00 2 13 DECITABINE 50 MG INJ 37,999.98 14 IRINOTECAN HCL 300 MG INJ 28,719.77 15 TRASTUZUMAB 150 MG INJ 28,552.95 4 16 INFIXIMAB 100 MG INJ 28,513.72 6 17 RECOMBINANT COAGULATION FACTOR VIIA INJ 26,748.93 18 RECOMBINANT COAGULATION FACTOR VIIa 1.2 MG INJ 26,666.29 19 DOCETAXEL 80 MG INJ 24,994.86 20 GOSERELIN 10.8 MG INJ 22,639.20 3

23 การดำเนินการกำกับต่อเนื่อง
1.โรงพยาบาลที่ดำเนินการมาตรการบริหารจัดการ ด้านยา 9 ข้อ ยังไม่ครบถ้วน ให้ดำเนินการพัฒนาต่อเนื่องโดยให้จังหวัด ผู้ตรวจราชการเขต ช่วยกำกับติดตาม และรายงานให้ กสธ. ทราบ 2. รายการยาที่มีมูลค่าการใช้สูง รายการยาที่มีราคา ต่อหน่วยสูง และรายการยาที่มีปริมาณการใช้สูง ให้ รพ. จัดระบบเฝ้าระวังและมีการสุ่มตรวจสอบเป็นระยะ

24 การดำเนินการกำกับต่อเนื่อง (ต่อ)
3. สำนักบริหารการสาธารณสุข ได้จัดทำโปรแกรมระบบรายงานข้อมูลบริหารเวชภัณฑ์ เพื่ออำนวยความสะดวกในการจัดส่งรายงานข้อมูลด้านยาและเวชภัณฑ์ของ รพ. ซึ่งรวมถึงรายงานการจัดซื้อฯ โดยใช้รหัสยามาตรฐาน 24 หลัก เป็นมาตรฐานในการเชื่อมโยงข้อมูล และให้ รพ.ต่าง ๆ จัดส่งรายงานตามที่กำหนด ทุกเดือน เพื่อที่จะได้มีข้อมูลในการเฝ้าระวังและกำกับติดตามการใช้ยาในภาพรวม และสามารถแจ้งเตือน รพ.ได้กรณียาใดมีการใช้ผิดปกติ

25 การดำเนินการกำกับต่อเนื่อง (ต่อ)
4. สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขได้ขอตั้งงบประมาณดำเนิน “โครงการพัฒนาระบบบริหารคลังยาและเวชภัณฑ์ของกระทรวงสาธารณสุข” ในปี ภายในวงเงิน 500 ล้านบาท เพื่อให้ระบบคลังยาและเวชภัณฑ์มีมาตรฐานการดำเนินงาน เพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการ และตรวจสอบได้ รวมทั้งสามารถเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาคเพื่อพัฒนาและใช้ประโยชน์สารสนเทศร่วมกันในการบริหารจัดการด้านสุขภาพ และการขยายผลระบบงานไปสู่การให้บริการรักษาพยาบาลที่ดียิ่งขึ้นในอนาคต


ดาวน์โหลด ppt ระบบการบริหารจัดการด้านยา

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google