งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

ประวัติความเป็นมาภาษาซี

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "ประวัติความเป็นมาภาษาซี"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 ประวัติความเป็นมาภาษาซี
ภาษาซี ( C programming language) เป็นภาษาโปรแกรมเชิงโครงสร้างระดับสูงที่ได้รับการพัฒนาขึ้นในช่วงทศวรรษ 1970 โดย เดนนิส ริทชี่( Dennis Ritchie) ขณะทำงานอยู่ที่เบลล์เทเลโฟน เลบอราทอรี่ สำหรับใช้ในระบบปฏิบัติการยูนิกซ์ ต่อมาภายหลังได้ถูกนำไปใช้กับระบบปฏิบัติการอื่น ๆ และกลายเป็นภาษาโปรแกรมหนึ่งที่ใช้กันแพร่หลายมากที่สุด ภาษาซีมีจุดเด่นที่ประสิทธิภาพในการทำงาน เนื่องจากมีความสามารถใกล้เคียงกับภาษาระดับต่ำ แต่เขียนแบบภาษาระดับสูง โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่เขียนด้วยภาษาซีจึงทำงานได้รวดเร็ว ภาษาซีเป็นภาษาโปรแกรมที่นิยมใช้กันมากสำหรับพัฒนาระบบปฏิบัติการ , ซอฟต์แวร์ระบบ , ควบคุมไมโครคอนโทรลเลอร์ และเป็นภาษาที่ใช้กันทั่วไปในหลักสูตรวิทยาการคอมพิวเตอร์

2 เดนนิส ริทชี่ ( Dennis Ritchie)

3 โครงสร้างโปรแกรม 1. พรีโพรเซสเซอร์ไดเร็กทีฟ ( Preprocessor directives)
การเขียนโปรแกรมแต่ละภาษานั้น โครงสร้างของแต่ละโปรแกรมจะแตกต่างกันไป แต่ลักษณะโครงสร้างของภาษาซีนั้น สามารถแบ่งได้ 5 ส่วนดังนี้ 1. พรีโพรเซสเซอร์ไดเร็กทีฟ ( Preprocessor directives) 2. ส่วนการกำหนดค่า (Global Declarations) 3. ส่วนฟังก์ชั่นหลัก (The Main Functions ) 4. การสร้างฟังก์ชั่นและการใช้ฟังก์ชั่น (Uses – defined function) 5. ส่วนอธิบายโปรแกรม (Program comments)

4 พรีโพรเซสเซอร์ไดเร็กทีฟ ( Preprocessor directives)
ส่วนนี้ ทุกโปรแกรมจะต้องมี ใช้สำหรับเรียกไฟล์ที่โปรแกรมต้องการในการทำงาน และ กำหนดค่าต่างๆ ซึ่งจะต้องเริ่มต้นด้วยเครื่องหมาย #( ไดเร็กทีฟ ) และตามด้วยชื่อโปรแกรมหรือชื่อตัวแปรที่ต้องการกำหนดค่า ส่วนนี้ เราอาจเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า (Header Part) สำหรับไดเร็กทีฟที่นิยมใช้กัน ได้แก่ #include เป็นการแจ้งให้คอมไพเลอร์อ่านไฟล์อื่นเข้ามาคอมไพล์ด้วย รูปแบบ #include แล้วตามด้วยชื่อไฟล์ เช่น #include<stdio.h> #include<conio.h> #include<math.h>

5 ส่วนการกำหนดค่า (Global Declarations)
ส่วนนี้จะใช้ประกาศตัวแปรหรือฟังก์ชั่นที่ต้องใช้ในโปรแกรม โดยทุกส่วนของโปรแกรมสามารถเรียกใช้งานจากส่วนนี้ได้ ในบางโปรแกรมอาจไม่มีก็ได้ #include<stdio.h> float grade; int main()

6 ส่วนฟังก์ชั่นหลัก(Main Function)
ส่วนนี้ทุกโปรแกรมจะต้องมี ซึ่งประกอบไปด้วยประโยคคำสั่งต่างๆ ที่จะให้โปรแกรม ทำงาน โดยนำคำสั่งต่างๆมาเรียงต่อกัน แต่ละประโยคจบด้วยเครื่องหมาย ; (เซมิโคลอน) โดยโปรแกรมหลักนี้ จะเริ่มด้วย int main() ตามด้วยเครื่องหมาย { และจบด้วย } int main() { printf("Good Afternoon"); getch(); }

7 ส่วนกำหนดฟังก์ชั่นขึ้นใช้เอง (Uses-defined function)
เป็นการเขียนคำสั่งและฟังก์ชั่นต่างๆ ขึ้น เพื่อใช้ในโปรแกรม ต้องอยู่ภายใต้เครื่องหมาย { } และต้องสร้างฟังก์ชั่นหรือคำใหม่ให้ทำงานตามที่เราต้องการ เช่น #include<stdio.h> int main() { function(); /*เรียกใช้ฟังก์ชั่นที่สร้างขึ้น */ } function() /*สร้างฟังก์ชั่นใหม่ โดยให้ชื่อว่า function*/ return; /*คืนค่าที่เกิดจากการทำฟังก์ชั่น*/

8 ส่วนอธิบายโปรแกรม (Program Comment)
ส่วนนี้ใช้เขียนคอมเมนต์โปรแกรม เพื่ออธิบายการทำงานต่างๆ ทำให้ผู้ที่ศึกษาโปรแกรมสามารถเข้าใจได้ง่ายขึ้น เมื่อคอมไพล์โปรแกรมในส่วนนี้จะถูกข้ามไป { function(); /*เรียกใช้ฟังก์ชั่นที่สร้างขึ้น */ } function() /*สร้างฟังก์ชั่นใหม่ โดยให้ชื่อว่า function*/ return; /*คืนค่าที่เกิดจากการทำฟังก์ชั่น*/

9 โครงสร้างภาษาซีเบื้องต้น
#include<library> /* ไฟล์ส่วนหัวโปรแกรม*/ void main() /*ฟังก์ชันหลักของโปรแกรม*/ { /*เริ่มต้นการเขียนโปรแกรมด้วยเครื่องหมายปีกกาเปิด*/     variable declaration; /*การประกาศค่าตัวแปรที่ใช้ในโปรแกรม*/     program statement; /*ประโยคคำสั่งในโปรแกรม*/ } /*จบการเขียนโปรแกรมด้วยเครื่องหมายปีกกาปิด*/

10 ตัวอย่างโปรแกรมที่เขียนด้วยภาษาซีเบื้องต้น
include<stdio.h> /*เรียกใช้ฟังก์ชั่นที่สร้างขึ้น */ void main() { printf(“Triamudomsuksa school of the north”); /*แสดงผลข้อความขึ้นทางหน้าจอ*/ } เวลาโปรแกรมแสดงผลจะแสดงออกมาดังนี้ Triamudomsuksa school of the north


ดาวน์โหลด ppt ประวัติความเป็นมาภาษาซี

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google