งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

โรคที่เกิดจากต่อมไร้ท่อ

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "โรคที่เกิดจากต่อมไร้ท่อ"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 โรคที่เกิดจากต่อมไร้ท่อ

2 โรค Acromegaly เป็นโรคที่เกิดจากการที่มีโกรทฮอร์โมนหรือฮอร์โมนโซมาโตโทรฟินสูงมากเมื่อโตเต็มวัย ทำให้กระดูกบางส่วนของร่างกายเติบโตผิดปกติ เช่น กระดูกบริเวณใบหน้ายาวทำให้มีใบหน้ายาวผิดปกติ สำหรับประเทศไทยยังมีอัตราการเติบโตของผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้ เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งหากปล่อยเอาไว้นานอาจจะสายเกินแก้และอันตรายถึงชีวิต ซึ่งโรคเนื้องอก ของต่อมใต้สมองผิดปกติ (Acromegaly)สามารถเป็นได้ทั้งในเด็ก และผู้ใหญ่ หากพบความผิดปกติ ทางร่างกาย เช่น สูงใหญ่ มือเท้าโตผิดปกติ หรือหน้าตาเปลี่ยนไป ให้รีบพบแพทย์ทันที

3 สาเหตุ โรคเนื้องอกของต่อมใต้สมองผิดปกติว่าโรคเนื้องอกของต่อมใต้สมองผิดปกติ (Acromegaly)เกิดจากความผิดปกติของเนื้องอก ที่ได้สร้างฮอร์โมนชนิดหนึ่งที่เรียกว่า โกรธฮอร์โมน (Growth Homone) ซึ่งผลิตขึ้นมามากกว่าคนปกติทั่วไป โดยโรคนี้ปกติจะไม่ค่อยพบบ่อยมากนัก เทียบเป็นอัตราส่วน 1 ต่อหลายแสนคน แต่สำหรับในประเทศไทยนั้นพบจำนวนผู้ป่วยเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ เนื่องจากว่าระบบการแพทย์ของไทยในปัจจุบันดีขึ้นกว่าในอดีตมาก มีการร่วมมือกันระหว่างแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านต่อมไร้ท่อ และแพทย์ระบบทางเดินทางประสาทในการวินิจฉัยและรักษา ทำให้ค้นพบผู้ที่เป็นโรคนี้เพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง

4 อาการ อาการของโรคเนื้องอกของต่อมใต้สมองผิดปกตินั้น ขึ้นอยู่กับการตรวจพบและการวินิจฉัยของโรคว่า ผู้ป่วยเป็นโรคนี้ตั้งแต่อายุเท่าไหร่ หากเป็นตั้งแต่เด็ก ๆ ความสูงจะเพิ่มขึ้นอย่างชัดเจน เฉลี่ยปีละ เซนติเมตร ส่วนใหญ่ผู้ปกครองมักจะพาบุตรหลานมารักษา ก็จะสูงเกือบ 2 เมตรแล้ว ทำให้โอกาสที่จะรักษาหายมีน้อยมาก สำหรับผู้ที่ป่วยเป็นโรคนี้ในช่วงผ่านการเป็นวัยรุ่น หรือวัยผู้ใหญ่ไปแล้ว การเจริญเติบโตด้านความสูงจะไม่เพิ่มขึ้น แต่สรีระทางร่างกายจะเปลี่ยนไป เช่น หน้าตาจะเปลี่ยนไป คิ้วจะโหนกขึ้น จมูกจะใหญ่ขึ้น คางจะขยาย ปากใหญ่ขึ้น คางจะยื่น ฟันห่าง มือเท้าจะใหญ่หยาบกร้าน เสียงพูดจะเปลี่ยนไป ลิ้นคับปาก และอายุไม่ยืน ส่วนระบบร่างกายภายใน อาทิ หัวใจและตับ จะโตมากขึ้น ข้อจะเสื่อมเร็ว หลังโก่ง นอกจากนี้ผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้จะเป็นโรคอื่น ๆ ตามมา เช่น โรคเบาหวาน โรคหัวใจโต อาจหัวใจวายและเสียชีวิตได้

5 การรักษา โดยปกติโรคนี้ หากรักษาแต่เนิ่น ๆ สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่ส่วนใหญ่ผู้ป่วยมักจะมาพบแพทย์ในตอนท้าย ๆ ของโรค ทำให้การรักษายากมากขึ้น และโอกาสที่จะหายขาดมีน้อย สำหรับวิธีการรักษามีหลายวิธี หากพบเนื้องอกมีขนาดเล็กหรือพบแต่เนิ่น ๆ จะรักษาด้วยวิธีการผ่าตัด กรณีที่เนื้องอกมีขนาดใหญ่มาก ไม่สามารถผ่าตัดออกได้หมด (ประเทศไทยมักจะพบถึง 9 ใน 10 คน ขนาดของเนื้องอกประมาณ 5-6 เซนติเมตร ซึ่งเนื้องอกจะไปกดเบียดบริเวณประสาทตาทำให้ตาบอดได้)

6 วิธีที่ 2 คือการฉายแสง วิธีการรักษาลักษณะนี้ไม่แนะนำ เนื่องจาการฉายแสงจะไปทำลายเนื้องอกตายลงก็จริง แต่ก็จะทำลายเซลล์ดี ๆ ตายไปด้วย ซึ่งส่งผลกับเรื่องของฮอร์โมนเพศ และฮอร์โมนชนิดอื่น ๆ ซึ่งเป็นวิธีทางเลือกสุดท้ายที่ใช้กัน ปัจจุบันการรักษาโรคเนื้องอกของต่อมใต้สมองผิดปกติ (Acromegaly) จะนิยมใช้วิธีการรักษาโดยการฉีดยา ซึ่งจะสามารถต้านการสร้างฮอร์โมนที่ผิดปกติได้ และพบว่าเมื่อใช้ยาฉีดฮอร์โมนชนิดนี้ จะทำให้เนื้องอกมีขนาดเล็กลงได้แต่ไม่ได้หายขาด ซึ่งการรักษาด้วยยาจะช่วยทำให้เนื้องอกมีขนาดเล็กลง สามารถควบคุมการเจริญเติบโตของเนื้องอกให้ผู้ป่วยรู้สึกบรรเทา และมีชีวิตเหมือนคนปกติได้

7 หากเนื้องอกไปโดนในส่วนของฮอร์โมนไธรอยด์ก็จะเฉื่อยชา ทำงานช้า ขี้หนาว ท้องผูก หากเนื้องอกลุกลามไปที่ต่อมฮอร์โมนเพศ จะทำให้ขาดฮอร์โมนเพศ ซึ่งจะมีความผิดปกติทางเพศ ซึ่งจะไม่มีลักษณะของผู้หญิงหรือผู้ชาย ผู้หญิงก็จะไม่มีประจำเดือน ผู้ชายก็ไม่มีความรู้สึกทางเพศ แต่จะตัวสูง แต่ต่อมทางเพศถูกทำลายหมดแล้ว หรือหากเนื้องอกไปกดทับฮอร์โมนที่เรียกว่า สเตอรอยด์ ก็จะไม่มีแรง ลุกนั่งก็จะเป็นลม น้ำตาลต่ำและเกิดโรคภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ ตามมา เป็นโรคเบาหวาน โรคหัวใจ เป็นต้น

8         ภาวะเตี๊ย หรือเคระ เกิดจากร่างกายขาย ฮอร์โมน GH (Growth Hormone) มาตั้งแต่เด็ก ๆ ทำให้การเจริญเติบโตของร่างกายนั้นมีผลน้อย ส่งผลให้ร่างกายเต้ยแคระ แต่ร่างกายก็ยังเป็นสัดส่วนที่ถูกต้องอยู่ รวมถึงความสามารถในการใช้ชีวิตประจำวันได้อย่างปกติ

9 สาเหตุ ส่วนใหญ่สาเหตุของโรค Dwarfism เกิดจากโรค Achondroplasia กระดูกเติบโตอย่างผิดปกติ ซึ่งเป็นถึง70%ของ ผู้ป่วยโรค Dwarfism แต่ในกรณีของโรค Achondroplasia จะมีรูปร่างที่ไม่สมสัดส่วน ช่วงแขนหรือขาจะดูสั้นๆเล็กๆ เมื่อเทียบกับลำตัว (บริเวณท้อง) โดยมีหัวขนาดใหญ่กว่าปกติและใบหน้าที่มีลักษณะพิเศษ หากร่างกายเกิดความไม่สมส่วน มักจะเกิดจากหนึ่งหรือมากกว่าหนึ่งยีนที่ควบคุมลักษณะหรือความผิดปกติในการพัฒนากระดูกอ่อน การที่ร่างการมนุษย์เกิดการผิดปกติอย่างมาก มักจะมีสาเหตุเกี่ยวกับ ฮอร์โมน เช่น การเจริญเติบโตฮอร์โมนบกพร่องซึ่งรู้จักกันในชื่อของ “Pituitary Dwarfism” ซึ่งการเติบโตที่ผิดปกตินี้เกี่ยวกับระบบต่อมไร้ท่อ เกิดจากการทำงานที่ผิดปกติของ Growth Hormone จากแหล่งที่ผลิตฮอร์โมนชนิดนี้ คือ ต่อม พิธูอิตารี่ ส่วนหน้า หรือเรียกอีกอย่างว่า ต่อมใต้สมองส่วนหน้า

10 อาการ ความไม่สมส่วนของ dwarfism จะถูกกำหนดโดยหนึ่งหรือมากกว่าของสัดส่วนร่างกาย ความ ไม่สมส่วน ขนาดใหญ่หรือเล็กจะเปรียบเทียบกับส่วนที่เหลือของร่างกาย โดยมีการเจริญเติบโตที่ผิดปกติโดยเฉพาะที่บริเวณที่เห็นได้ชัดเจน. ในกรณีที่ผู้เป็น dwarfism ที่มีร่างกายสมส่วน โดยทั่วไปไม่มีการเติบโตปรากฏอย่างชัดเจน. Hypotonia หรือขาดกล้ามเนื้อเป็นธรรมดาใน dwarfs แต่สติปัญญาและอายุขัยมักปกติ

11 การรักษา ปัจจุบันยังไม่มีวิธีรักษาโรค Dwarfism บุคคลที่ความผิดปกติเช่นกระดูกเติบโตผิดปกติ บางครั้งพวกเขาสามารถแก้ไขได้คือการ ศัลยกรรม และบางฮอร์โมนที่ผิดปกติจะสามารถรักษาได้โดยแพทย์แต่ใน กรณีส่วนใหญ่จะมักเป็นไปไม่ได้ที่จะทำให้โรค Dwarfismหายขาด เมื่ออายุยิ่งมากขึ้น ก็ต้องทนรับมือกับโรค Dwarfism อุปกรณ์เฟอร์นิเจอร์ภาย ในบ้านจะสามารถช่วยให้ร่างกายในผู้ป่วย Dwarf ทำงานต่างๆได้อย่างปกติ ของหลายกลุ่มมีการสนับสนุนที่จะช่วยให้ ผู้ป่วยโรค Dwarfism รับมือกับความท้าทายต่อหน้าพวกเขาและเพื่อช่วยให้พัฒนาขึ้นไปเพื่อที่จะทำให้พวกเขาสามารถพึ่งตนเองได้

12 โรค gigantism อาจเรียกอีกอย่างนึงว่า ภาวะยักษ์ ที่เรียกว่าภาวะยักษ์ เพราะผู้ป่วยมีอาการ ตังสูงใหญ่กว่าคนปกติ แต่สัดส่วนของร่างกาย เท่าเดิมทุกอย่าง มักจะเกิดตั้งแต่เด็ก 

13 สาเหตุ                โรค gigantism มีสาเหตุมาจาก ในวัยเด็กได้รับ ฮอร์โมนชนิดหนึ่งที่ผลิตจากต่อมใต้สมอง ที่ชื่อ Growth Hormone (GH) มากเกินไป ซึ่งฮอร์โมนนี้จะทำหน้าที่สร้งความเจริญเติบโตของร่างกาาย เมื่อร่างกายมีการผลิต Growth Hormone (GH) มากจนเกินไป ก็ทำให้ร่างกายใหญ่โต ดังรูป โดยผู้ป่วยในส่วนมาก จะมีความสูงเกิน 200 เซนติเมตร (2 เมตร)

14 อาการ                จากเคสตัวอย่างในเมืองไทย เด็กหญิงมาลี ดวงดี อายุ 16 ปี นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านปะเดา ต.ด่านชุมพล อ.บ่อไร่ จ.ตราด เป็นโรคที่เรียกว่า ไจแกนติซึม (Gigantism) หรือเด็กร่างยักษ์ คือรูปร่างสูงใหญ่แต่สมส่วน โรคนี้พบได้น้อยมาก มีสาเหตุจากความผิดปกติของโกรท ฮอร์โมน (Growth hormone) เธอมีอาการ รูปร่างสูงใหญ่ อาจสูงได้ถึง 270 เซนติเมตร แต่หากเกิดตอนโตเต็มที่แล้ว คือหลังอายุ 18 ปี จะทำให้กระดูกใบหน้า กระดูกนิ้วมือ นิ้วเท้า โตผิดปกติ ใบหน้าเป็นรูปสามเหลี่ยม หน้าจั่ว จมูกใหญ่ กระดูกแก้มโหนก เรียกว่า อะโครเมกาลี่ (Acromegaly) 

15 การรักษา                นายแพทย์เรวัต แพทย์ประจำตัวคนไข้ได้กล่าวว่า การรักษาทำได้ 3 วิธี คือ                 1.รักษาด้วยยา มีทั้งกินและฉีด ยากินคือ บรอมโมคริบตีน (Bromocriptine) ทำให้ก้อนเนื้องอกเล็กลง อาการต่างๆ ก็จะดีขึ้น ได้ผลประมาณร้อยละ 40 ส่วนยาฉีดต้องฉีดทุก 8 ชั่วโมง และต้องฉีดต่อเนื่องระยะยาว                  2.รักษาโดยการผ่าตัดสมองผ่านทางช่องจมูก ซึ่งมักจะทำหลังจากที่รักษาด้วยยาแล้วไม่ได้ผล หรือมีปัญหาก้อนเนื้อกดทับประสาทตา วิธีนี้สามารถทำได้ในโรงพยาบาลขนาดใหญ่ โรงพยาบาลที่เป็นโรงเรียนแพทย์ หรือโรงพยาบาลเฉพาะทางคือ สถาบันประสาทวิทยา สังกัดกรมการการแพทย์ วิธีนี้ได้ผลดี โรคแทรกซ้อนต่ำ                  3.รักษาโดยการฉายรังสี เพื่อให้ก้อนเนื้องอกยุบ ซึ่งกรณีของเด็กหญิงมาลีนั้น มีทางรักษาได้ จะให้สถาบันประสาทวิทยาประสานงานกับสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดตราดต่อไป เพื่อวางแผนรักษาร่วมกัน

16 Hyperthyroidism ต่อมไทรอยด์เป็นพิษ  ( Hyperthyroidism ) หรือคอพอกเป็นพิษ : ภาวะที่ต่อมไทรอยด์สร้างฮอร์โมนออกมามากว่าปกติเป็นผลทำให้ร่างกายมีการเผาผลาญสารอาหารมากเกินไป

17 สาเหตุ เกิดภาวะที่มีภูมิไปกระตุ้นต่อมไทรอยด์สร้างฮอร์โมนออกมามาก ผู้ป่วยจะมีต่อมไทรอยด์โตทั้งต่อม โรค Multinudular toxic goiter หมายถึงภาวะที่ก้อน [nodule] ในต่อมไทรอยด์ทำงานสร้างฮอร์โมนเพิ่มขึ้น อาจก้อนเดียว หรือหลายก้อน Thyroiditis ช่องแรกของต่อมไทรอยด์อักเสบจะมีอาการของคอพอกเป็นพิษ ผู้ป่วยคอพอกเป็นพิษจะมีอาการคือ อารมณ์แปรปรวน นอนไม่หลับ กล้ามเนื้ออ่อนแรง ตาโปน มือสั่น ใจสั่น เหนื่อยง่าย คอพอก ประจำเดือนผิดปกติ ขี้ร้อน น้ำหนักลดแม้ว่าจะรับประทานอาหารได้ดี 

18 อาการ ความผิดปกติของร่างกายจากปริมาณ GH สูงหรือต่ำเกินไป
- ขาด GH ในเด็ก ทำให้เด็กนั้นไม่โต รูปร่างเตี้ยแคระแกรน เรียกลักษณะนี้ว่า คนเตี้ยแคระ (Dwarfism) ขาด GH ในผู้ใหญ่   จะไม่แสดงอาการสำคัญที่เห็นเด่นชัด แต่มักจะมีน้ำตาลในเลือดน้อยกว่าคนการขาด GH ในวัยผู้ใหญ่ทำให้เกิด Simmonds disease ทำให้เนื้อเยื่อต่างๆเหี่ยวแห้งหรือเหี่ยวย่น - ได้รับ GH มากเกินไปในเด็ก ทำให้ร่างกายสูงใหญ่ผิดปกติเรียกว่า โรคยักษ์ (Gigantism) ในผู้ใหญ่มักจะเกิดอาการเติบโตเฉพาะกระดูกบางส่วนของร่างกายจะเพิ่มมากขึ้นผิดปกติ เรียกอาการนี้ว่า อะโครเมกาลี (Acromegaly)

19 การรักษา การรักษามีได้หลายวิธีแพทย์จะพิจารณาจาก อายุ สภาพของผู้ป่วย ชนิดของคอพอกเป็นพิษ ความรุนแรงของโรค การรักษามีได้ 3 วิธี คือการรับประทานยาเพื่อลดการสร้างฮอร์โมน เช่น PTU,Methimazole การรับประทานน้ำแร่ radioactive iodineเมื่อผู้ป่วย รับประทานน้ำแร่เข้าไป ต่อมไทรอยด์ก็จะรับ iodine ที่มีรังสีเข้าไป รังสีนี้จะทำลายเนื้อต่อมไทรอยด์ แพทย์จะคำนวณขนาดยาที่เหมาะสม หากได้มากเกินไปจะเกิดภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานน้อยจำเป็นต้องได้รับยา thyroid hormone ไปตลอดชีวิต แต่ถ้าหากได้รับน้ำแร่น้อยไปผู้ป่วยยังคงเกิดอาการของต่อมไทรอยด์เป็นพิษแต่รุนแรงน้อยลง แพทย์จะนัดให้ยาอีกครั้ง  การผ่าตัด ปัจจุบันการผ่าตัดมีความนิยมลดลงไปมาก โดยเลือกใช้กับผู้ป่วยบางราย เช่น เด็ก วัยรุ่น หรือหญิงตั้งครรภ์ที่มีปัญหากับยาที่รักษา หรือผู้ที่มีต่อมโตมาก มีอาการทางตารุนแรง หรือมีก้อนในต่อม ยาอื่น betablocker เช่น propanolol,atenolol,metoprolol เพื่อลดอาการของโรค

20       ในผู้ที่มีไทรอยด์ฮอร์โมนต่ำ สารประกอบที่ประเภทวุ้นเช่น กรดไฮยาลูโรนิก (hyaluronic acid) และคอนดรอยติน ซัลเฟต (chondroitin sulfate) จะจับกับโปรตีนใต้ผิวหนังมากขึ้น ทำให้รู้สึกว่าผิวหนังบวมน้ำ หน้าบวม อ้วน ทำให้น้ำหนักเพิ่ม ผมและผิวแห้ง สมองจะทำงานช้าลง ปฏิกิริยาโต้ตอบช้า ประจำเดือนผิดปกติ เรียกกลุ่มอาการนี้ว่ามิกซีดีมา ( myxedema)           นอกจากนี้เสียงยังแหบและต่ำ จนมีผู้กล่าวว่ามิกซีดีมาเป็นโรคที่วินิจฉัยได้ทางโทรศัพท์ ( myxedema is the one disease that can be diagnosed over the telephone) นอกจากนี้ยังจิตประสาทไม่ดี (myxedema madness) และมีผลต่อประสาทหูทำให้หูหนวกและเป็นใบ้ได้(deaf-mutism)

21 สาเหตุ 1. การสร้างฮอร์โมนไม่เพียงพอ
1. การสร้างฮอร์โมนไม่เพียงพอ           2. เซลล์เป้าหมายไม่ตอบสนองต่อฮอร์โมน ซึ่งมีระดับปกติ           3. ตัวรับสัญญาณ (receptors) ผิดปกติ เกิดโรคของต่อมไทรอยด์           4. ต่อมไทรอยด์ไม่ทำงาน           5. การฉายรังสีที่กระทบกระเทือนต่อมไทรอยด์           6. การได้รับยากลุ่มกอยโทรเจน (goitrogens) ซึ่งเป็นสารที่ทำให้การนำไอโอดีนเข้าเซลล์ไม่ได้ดี หรือแย่งเอนไซม์TPOในการจับไอโอดีน           7. การขาดไอโอดีน           8. การขาดเอนไซม์ไทโรเปอรอกซิเดส (thyroperoxidase)           9. การเกิดโรคของต่อมใต้สมอง หรือที่ไฮโพทาลามัส

22 อาการ 1. การขาดไทรอยด์ฮอร์โมนในวัยเด็ก
1. การขาดไทรอยด์ฮอร์โมนในวัยเด็ก        การขาดสารไอโอดีนในระดับเล็กน้อย อาจไม่ทำให้เกิดความผิดปกติทางร่างกายอย่างชัดเจน แต่มีผลต่อระดับเชาว์ปัญญาหรือไอคิว ทารกตั้งแต่แรกเกิดถึงอายุ 2-3 ปี ถ้าขาดไอโอดีน จะมีสติปัญญาด้อย มีไอคิวต่ำกว่าที่ควรจะเป็นตามศักยภาพ เด็กที่อยู่ในบริเวณที่เสี่ยงต่อการขาดไอโอดีน มักมีไอคิวต่ำลงประมาณ 13.5 จุดเด็กที่เกิดจากแม่ที่มีปัญหาไทรอยด์มักมีไอคิวต่ำกว่า 85       การขาดไทรอยด์ฮอร์โมนในทารกแรกเกิดมีความ สำคัญต่อการเจริญเติบโตมาก โดยเฉพาะการเจริญ เติบโตของสมอง จะทำให้รูปร่างเตี้ยแคระ แขน ขาสั้นหน้าและมือบวม ผิวหยาบแห้ง ผมบาง ไม่ เจริญเติบโต ปัญญาอ่อน อาจหูหนวกและเป็นใบ้

23 2. การขาดฮอร์โมนไทรอกซินในวัยผู้ใหญ่
        จะส่งผลให้อัตราเมแทบอลิซึมลดน้อยลง ทำให้อ่อนเพลีย เซื่องซึม เคลื่อนไหวช้า กล้ามเนื้ออ่อนแรง ร่างกายอ่อนแอ ติดเชื้อได้ง่าย หัวใจเต้นช้า ทนหนาวไม่ได้ มีคอเลสเทอรอลสูง         ในผู้ที่มีไทรอยด์ฮอร์โมนต่ำ สารประกอบที่ประเภทวุ้นเช่น กรดไฮยาลูโรนิก (hyaluronic acid) และคอนดรอยติน ซัลเฟต (chondroitin sulfate) จะจับกับโปรตีนใต้ผิวหนังมากขึ้น ทำให้รู้สึกว่าผิวหนังบวมน้ำ หน้าบวม อ้วน ทำให้น้ำหนักเพิ่ม ผมและผิวแห้ง สมองจะทำงานช้าลง ปฏิกิริยาโต้ตอบช้า ประจำเดือนผิดปกติ เรียกกลุ่มอาการนี้ว่ามิกซีดีมา ( myxedema)

24 จากภาพจะเห็นอาการบวมของหน้าและมือของผู้ป่วยที่เป็นมิกซีดีมา
นอกจากนี้เสียงยังแหบและต่ำ  จนมีผู้กล่าวว่ามิกซีดีมาเป็นโรคที่วินิจฉัยได้ทางโทรศัพท์ (myxedema is the one disease that can be diagnosed over the telephone)  นอกจากนี้ยังจิตประสาทไม่ดี (myxedema madness) และมีผลต่อประสาทหูทำให้หูหนวกและเป็นใบ้ได้ (deaf-mutism)        จากภาพจะเห็นอาการบวมของหน้าและมือของผู้ป่วยที่เป็นมิกซีดีมา        

25   นอกจากนี้ยังพบอาการการทำงานของต่อมไทรอยด์ผิดปกติเนื่องจากการอักเสบของต่อมไทรอยด์ (thyroiditis) ซึ่งเกิดจากการแพ้ภูมิป้องกันของตนเอง (autoimmune) ทำให้มีอาการเหมือนคนที่มีไทรอยด์ฮอร์โมนน้อยลง คืออ่อนเพลีย ไม่มีแรง ตาและปากแห้งและอาจมีอาการซึมเศร้าได้ เรียกโรคนี้ว่าต่อมไทรอยด์อักเสบแบบฮาชิโมโต( Hashimoto's thyroiditis )  

26 การรักษา        การรักษา      ในมารดาที่มีไทรอยด์ฮอร์โมนที่ปกติ ระหว่างที่ตั้งครรภ์ไทรอยด์ฮอร์โมนจะผ่านรกไปได้ ดังนั้นทารกจะมีอาการขาดไทรอยด์ฮอร์โมนเมื่อเกิดแล้ว ซึ่งถ้าสามารถวินิจฉัยและรักษาได้เร็ว  โดยการให้ฮอร์โมนชดเชยตั้งแต่เด็กแรกเกิด  จะทำให้เด็กมีโอกาสเติบโตได้เป็นปกติ ถ้าไม่ได้รับฮอร์โมนชดเชยในขวบปีแรก เด็กจะเติบโตเป็นเด็กปัญญาอ่อน ปัจจุบันจะเจาะเลือดทารกแรกเกิดเพื่อดูระดับไทรอยด์ฮอร์โมนทุกคน      แต่ถ้ามารดาที่ตั้งครรภ์ขาดไทรอยด์ฮอร์โมน ทารกที่เกิดมาจะมีอาการขาดไทรอยด์ฮอร์โมนอย่างถาวร ดังนั้นสตรีวัยเจริญพันธุ์ ตั้งแต่อายุ 13 ปี ควรได้รับไอโอดีนอย่างเพียงพอ ไม่ควรรอจนกระทั่งตั้งครรภ์

27 สมาชิกกลุ่ม 1 น.ส.อทิตยา เพียรแก้ว เลขที่ 15ก
น.ส.อทิตยา เพียรแก้ว เลขที่ 15ก น.ส.ศิชลดา จีนหนู เลขที่ 10ข น.ส.ชนนิภานันท์ ฤทธิ์ศิรัฐ เลขที่ 11ข ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/1

28 อ้างอิง http://www.pibul.ac.th http://www.chaiwbi.com
 


ดาวน์โหลด ppt โรคที่เกิดจากต่อมไร้ท่อ

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google