งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

มรดกวัฒนธรรมกับการสร้างสรรค์ทางเศรษฐกิจ โดย นางสาวิตรี สุวรรณสถิตย์

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "มรดกวัฒนธรรมกับการสร้างสรรค์ทางเศรษฐกิจ โดย นางสาวิตรี สุวรรณสถิตย์"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 มรดกวัฒนธรรมกับการสร้างสรรค์ทางเศรษฐกิจ โดย นางสาวิตรี สุวรรณสถิตย์
ระบบมรดกวัฒนธรรมในโลก มรดกวัฒนธรรมที่จับต้องได้ (World heritage sites) มรดกหลักฐานความทรงจำ (Memory of the world … Documentary Heritage) มรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ (Intangible cultural heritage)แสดงออกผ่านพาหะต่าง ๆ จัดแบ่งเป็น ๕ ประเภท...ภาษาวรรณกรรม...การแสดงและดนตรี...ประเพณี...ความรู้เรื่องธรรมชาติ...ช่างฝีมือ เก็บรักษาไว้ในเอกสาร หลักฐานทะเบียน ในชุมชน ในใจคนสืบทอดโดยปฏิบัติซ้ำใหม่ สร้างสรรค์เพิ่มใหม่ ผลิตใหม่ สืบทอดผ่านระบบการศึกษาในโรงเรียน ผสมผสานเทคโนโลยีในการผลิตเป็นสินค้าทางวัฒนธรรม

2 แผนภาพที่ ๑ ระบบมรดกทางวัฒนธรรมในปัจจุบัน
มรดกโลกทางด้านธรรมชาติและวัฒนธรรม ตามอนุสัญญา คศ.๑๙๗๒ วัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ ๕ กลุ่ม ความหลากหลายทางธรรมชาติ การเคารพสิทธิ ความหลากหลายทางวัฒนธรรม มรดกความทรงจำที่เก็บไว้ในเอกสาร หลักฐาน และความทรงจำ

3 จินตนาการ/ความคิด ความรู้ และเทคโนโลยี
๒.ระบบมรดกวัฒนธรรมในระบบเศรษฐกิจสร้างสรรค์ - เป็นองค์ประกอบใหม่ที่สำคัญในเศรษฐกิจโลกที่เติบโตรวดเร็ว แผนภาพที่ ๒ ระบบสร้างสรรค์ในเศรษฐกิจโลก การประดิษฐ์และการสร้างสรรค์ ด้านวิทยาศาสตร์ (ความอยากรู้ อยากลอง กล้าทำ กล้าทดลอง) จินตนาการ/ความคิด ความรู้ และเทคโนโลยี การสร้างรายได้ทางด้านเศรษฐกิจ กระบวนการที่มีพลวัตร ต้องเป็นนวัตกรรมใหม่ๆ ต้องมีการแข่งขันกันทางตลาด การสร้างสรรค์ทางวัฒนธรรม(จินตนาการและความคิดเป็นแกนนำ) -ใช้ความรู้ทรัพยากรดั้งเดิมเป็นทุน -มีนวัตกรรม

4 ๓. ระบบมรดกวัฒนธรรมเป็นทุนในการสร้างสรรค์
เป็นต้นทุนทางวัฒนธรรม มีความสำคัญเท่าๆกับทุนด้านอื่นๆ มีผู้ผลิต การลงทุน ผลผลิต ผู้บริโภค - มีประเด็นด้านทรัพย์สินทาง ปัญญาเข้ามาเกี่ยวข้อง แผนภาพที่ ๓ ระบบทุน ในการสร้างสรรค์ ทุนมนุษย์ ทุนวัฒนธรรม การแสดงออกทางการ สร้างสรรค์ กิจกรรม ผลผลิต ผลลัพธ์ ทุนโครงสร้าง ทุนสถาบัน ทุนสังคม

5 แผนภาพที่ ๔ ระบบอุตสาหกรรมทางวัฒนธรรม
๔. ระบบเศรษฐกิจ/อุตสาหกรรมสร้างสรรค์ - มี “คุณค่า” นอกเหนือจาก “มูลค่า” - เป็นระบบอุตสาหกรรมทางวัฒนธรรมที่ส่งออกและนำเข้า แผนภาพที่ ๔ ระบบอุตสาหกรรมทางวัฒนธรรม แหล่งโบราณสถาน พิพิธภัณฑ์ ห้องสมุด นิทรรศการถาวร ทัศนศิลป์ จัดกิจกรรมประติมากรรม ศิลปการถ่ายรูป ของเก่าฯลฯ การแสดงออกทางศิลปะและประเพณี งานฉลอง นิทรรศการ ฯลฯ การแสดงบนเวที การแสดงสด โอเปร่า ละครเวที การเชิดหุ่น หนังตะลุง หนังใหญ่ การพิมพ์โฆษณา และสื่อสิ่งพิมพ์ หนังสือ หนังสือพิมพ์ สื่อสิ่งพิมพ์ อุตสาหกรรมสร้างสรรค์ โสตทัศน์ ภาพยนตร์ โทรทัศน์ วิทยุ การออกแบบ ตกแต่งภายใน กราฟฟิก แฟชั่น อัญมณี ของเล่น สื่อใหม่ซอฟแวร์ วีดิโอเกม สินค้าเนื้อหาทางอิเล็กทรอนิกส์ การบริการเชิงสร้างสรรค์ สถาปัตยกรรมที่อยู่อาศัย การโฆษณา การวิจัยพัฒนาเชิงสร้างสรรค์ การบริการวัฒนธรรม บริการสุขภาพ ความบันเทิงทางวัฒนธรรม

6 ๕.๑ IP คืออะไร มีประโยชน์อะไร
๕. ระบบทรัพย์สินทางปัญญา (IP) กับมรดกทางวัฒนธรรม (CH) ๕.๑ IP คืออะไร มีประโยชน์อะไร ๑. เป็นระบบกฎหมายที่บ่งบอกและระบุความเป็นเจ้าของในผลงานสร้างสรรค์ทางปัญญา เป็นระบบที่สลับซับซ้อน เลื่อนไหลตามภูมิภาคต่างๆ จึงใช้บังคับได้ยาก ๒. ต้องเป็นระบบสิทธิที่ใช้บังคับได้ เพื่อผู้เป็นเจ้าของสิทธิสามารถควบคุมมิให้มีการนำผลผลิตทางปัญญาของเจ้าของไปใช้ประโยชน์ในทางที่มิชอบ หรือไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าของ ๓.มีการระบุระยะเวลาการคุ้มครองสิทธิ ๔.ควรส่งเสริมการสร้างสรรค์ใหม่ๆในสังคม โดยจัดให้มีระบบตอบแทนทางการเงินให้แก่ผู้สร้างสรรค์ผลผลิตดั้งเดิมที่มีผู้นำไปใช้ทางการค้า ในระยะเวลาที่เหมาะสม หลังระยะเวลานั้นอาจเป็นระบบสมบัติสาธารณะที่เปิดให้ใครๆนำไปใช้ได้ โดยไม่ต้องเสียค่าสิทธิ ๕.ระบบตราสินค้า(Trademark) เป็นระบบที่คุ้มครองผลผลิตที่สร้างสรรค์ในเชิงอุตสาหกรรม เพื่อมิให้คนอื่นนำตราสินค่านั้นไปใช้

7 แผนภาพที่ ๕ ระบบทรัพย์สินทางปัญญากับเศรษฐกิจสร้างสรรค์
ระบบสิทธิบัตร Patents ระบบลิขสิทธิ์และสิทธิที่เกี่ยวข้อง Copyrights & Related rights ระบบสิทธิอื่น ๆ สิทธิในการโฆษณา สิทธิความเป็นร้านค้า ศักดิ์ศรีและสิทธิทางศีลธรรมและจรรยาบรรณ ระบบอื่น ๆ ที่ยังตกลงกันใน WIPO ได้แก่ ระบบทรัพย์สินทางปัญญา เพื่อการพัฒนาและเพื่อส่งเสริมการสร้างสรรค์ใหม่ ด้านทรัพยากรพันธุกรรม (GR) ด้านความรู้ของชุมชนท้องถิ่น (TK) - ด้านการแสดงออกทางวัฒนธรรมแบบดั้งเดิม (TCEs) ระบบความลับทางการค้า ระบบออกแบบอุตสาหกรรม ระบบตราสินค้า Trademarks

8 ๕.๒ CH นำไปแปรรูปเป็นสินค้าทางวัฒนธรรมและอุตสาหกรรมทางวัฒนธรรมได้อย่างไร
ตัวอย่างเช่น ๑.มีการนำดนตรีพื้นบ้านไปผสมผสานจัดจังหวะใหม่ เพิ่มเครื่องดนตรีใหม่เข้าไป กลายเป็นผลผลิตใหม่ นำไปอัดเทปขายทั่วโลก ได้เงินมาก มีปัญหาทางIP เมื่อเจ้าของดนตรีนั้นจับได้ว่า นำดนตรีดั้งเดิมของเผ่าตนไปใช้ โดยไม่ระบุที่มา และไม่ขออนุญาต เกิดประเด็นเรื่องการคุ้มครองและบังคับให้ ระบุที่มาของแหล่งบันดาลใจ เกิดมีการเรียกค่าแบ่งปันผลประโยชน์ ๒.มีการนำลวดลายสัญลักษณ์ของชนเผ่าดั้งเดิมไปทำเป็น ศิลปร่วมสมัย โดยอ้างว่าเป็นศิลปะของชนเผ่ามีปัญหาฟ้องร้องว่าละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาและนำชื่อของชนเผ่าไปโฆษณาสินค้าโดยมิชอบ ๓. มีการคิดค้นระบบคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาภายในชุมชนหรือกลุ่มชนขึ้นมาเช่นในหมู่ชาวเผ่าดั้งเดิมในออสเตรเลีย ที่ห้ามมิให้คนในเผ่านำ ภูมิปัญญาเดิมไปบอกหรือถ่ายทอดให้แก่คนนอกเผ่าโดยไม่ได้รับอนุญาตจากชุมชน

9 ๕.๓ IP ปัจจุบันมี ๖ ระบบใหญ่ ๆ
ระบบสิทธิบัตร (Patents) ๒๐ ปี ลิขสิทธิ์และสิทธิที่เกี่ยวข้อง (Copyright & Related rights) ระบบตราสินค้า (Trademarks/Trade names/Logos) ลิขสิทธิ์การออกแบบทางอุตสาหกรรม ระบบความลับทางการค้า (Trade Secret) เป็นระบบที่ไม่มีการจดทะเบียน แต่จะเปิดเผยโดยการตกลงกันเอง สิทธิอื่น ๆ เช่น สิทธิในการโฆษณา สิทธิทางศักดิ์ศรีส่วนบุคคล และจรรยาบรรณและศีลธรรม

10 ๖. ระบบการศึกษาเพื่ออนุรักษ์และการปกป้องคุ้มครองมรดก ภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมและเพื่อสร้างสรรค์พัฒนา
การศึกษาที่สร้างความตระหนักในเรื่องสิทธิตนเองและสิทธิผู้อื่น และส่งเสริมความเคารพความหลากหลายทางวัฒนธรรม หลักสูตรการศึกษาที่ส่งเสริมการเรียนรู้ภูมิปัญญาต่างชาติและภูมิปัญญาโลก การศึกษาที่สมดุลระหว่างวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี ธรรมชาติศึกษา วัฒนธรรม และจริยธรรม การศึกษาและการ ซึมซับ ถ่ายทอดในครอบครัวชุมชนและสื่อสารมวลชน หลักสูตรที่ส่งเสริมจินตนาการ ความคิดสร้างสรรค์ การประดิษฐ์คิดค้นใหม่ ๆ หลักสูตรการศึกษาที่อนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นและภูมิปัญญาไทย การฝึกหัดและพัฒนาตนเองตลอดชีวิต การศึกษามีคุณภาพทั่วถึงและเท่าเทียมสอดคล้องกับความต้องการของบุคคลและสังคม


ดาวน์โหลด ppt มรดกวัฒนธรรมกับการสร้างสรรค์ทางเศรษฐกิจ โดย นางสาวิตรี สุวรรณสถิตย์

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google