งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
เรื่อง ทฤษฎีดนตรีสากลเบื้องต้น จัดทำโดย นายศุภกฤต นิลเอม โรงเรียนอุดมดรุณี อ.เมือง จ.สุโขทัย

2 ระดับเสียงและชื่อทางดนตรี (Pitches And Musical Names)
การกำหนดให้เสียงมีระดับสูงต่ำกว่ากันตามชื่อเรียกได้ต้องมี บรรทัด 5 เส้น ภาษาอังกฤษเรียก สต๊าฟ (STAFF) ไว้สำหรับให้ตัวโน้ตยึดเกาะ มีส่วนประกอบคือ จำนวนเส้น 5 เส้น จำนวนช่อง 4 ช่อง

3 เส้น ช่อง 

4 1.ให้หัวตัวโน้ตวางบนเส้น (On a Line)
การบันทึกตัวโน้ตลงบนบรรทัด 5 เส้นทำได้ 2 แบบ โดยการบันทึกจะต้องชัดเจนแน่นอน 1.ให้หัวตัวโน้ตวางบนเส้น (On a Line) 2.ให้หัวตัวโน้ตวางในช่อง (In a Space)

5 เราจะสามารถบอกชื่อตัวโน้ตต่างๆได้ ก็ต้องมีเครื่องหมายเฉพาะกำกับไว้ก่อนหน้าตัวโน้ต เครื่องหมายเฉพาะนี้เรียกว่า เครื่องหมายประจำหลัก ที่เราจะศึกษานี้ มี 2 ชนิด คือ กุญแจซอล อังกฤษเรียกว่า G Clef หรือ Treble Clef

6 โน้ตคาบเส้น Every Good Boy Does Fine
ชื่อตัวโน้ตเมื่อเขียนลงบรรทัด 5 เส้นพร้อมกุญแจซอล มีหลักเพื่อให้จำง่ายขึ้นคือ โน้ตคาบเส้น Every Good Boy Does Fine โน้ตในช่อง FACE

7 กุญแจฟา อังกฤษเรียกว่า F Clef หรือ Bass Clef

8 ชื่อตัวโน้ตเมื่อเขียนลงบรรทัด 5 เส้นพร้อมกุญแจฟา มีหลักเพื่อให้จำง่ายขึ้นคือ
โน้ตในช่อง A Child Enjoys Games โน้ตคาบเส้น Go Back and Dance For A while

9 การบันทึกตัวโน้ตทีอยู่ต่ำหรือสูงกว่าบรรทัดห้าเส้น เรามีเส้นน้อย ภาษาอังกฤษเรียกว่า Leger Line หรือ Ledger Line เพื่อให้ตัวโน้ตยึดเกาะไว้ ดังนี้

10 โน้ตชื่อ C ที่วางทับกึ่งกลางเส้นน้อย ทั้งที่อยู่ใน Treble Clef หรือ Bass Clef ทั้งสองมีเสียงตรงกัน คือ C กลาง (Middle C)

11 เมื่อมีเส้นน้อยแล้ว ทำให้เรามีตัวโน้ตเพิ่มขึ้นทั้งทางเสียงสูงและเสียงต่ำ ชื่อตัวโน้ตในบรรทัด 5 เส้น ของกุญแจซอล (Treble Clef)

12 ชื่อตัวโน้ตในบรรทัด 5 เส้น ของกุญแจฟา (Bass Clef)
* คือซีกลาง ( Middle C )

13 ตำแหน่งและลักษณะการบันทึกตัวโน้ต และตัวหยุด สำหรับโน้ตตัวขาว ตัวดำ หรือตัวเขบ็ตหนึ่งชั้นรวมทั้งการบันทึกตำแหน่งตัวหยุดลงบนบรรทัด 5 เส้นไม่ว่าจะอยู่ในกุญแจซอล หรือกุญแจฟา หรือกุญแจใดก็ตาม (ต้องเป็นโน้ตแนวเดียวไม่ใช่รูปแบบประสานเสียง) เราใช้วิธีการบันทึกดังนี้

14 ข้อสำคัญ ให้ถือเกณฑ์ เส้นที่ 3 ของบรรทัด 5 เส้น
ข้อสำคัญ ให้ถือเกณฑ์ เส้นที่ 3 ของบรรทัด 5 เส้น เมื่อหัวตัวโน้ตอยู่ต่ำกว่าเส้นที่สามให้มีเส้นตรงชี้ขึ้น แต่ถ้าหัวตัวโน้ตอยู่สูงกว่าเส้นที่สามให้มีเส้นตรงชี้ลง

15 สำหรับระยะช่องไฟระหว่างตัวโน้ตและตัวหยุดในแต่ละตัว
สำหรับหัวตัวโน้ตที่อยู่บนเส้นที่สามพอดี อาจจะใช้เส้นตรงชี้ขึ้นหรือลงก็ได้ตามความเหมาะสมส่วนความสูงของเส้นก็จะสูงพองาม(ประมาณขั้นคู่แปด) สำหรับระยะช่องไฟระหว่างตัวโน้ตและตัวหยุดในแต่ละตัว ให้แบ่งตามส่วนความกว้างภายในห้องให้สมดุลย์ ไม่ควรเขียน

16 แบบทดสอบ เรื่องทฤษฎีดนตรีสากล
1.จากพจนานุกรมไทยฉบับราชบัณฑิตยสถานคำว่าดนตรีหมายถึงอะไร ก. ลำดับเสียงอันไพเราะ ข. เสียงสูงๆต่ำๆสั้นๆยาวๆ ค. ความสนุกสนานในการร้องเพลง ง. ศิลป์และศาสตร์ของการร้อยกรองเสียงร้อง

17 2. เสียงของดนตรีสากลมีทั้งหมดกี่เสียง
ก. 5 เสียง ข. 6 เสียง ค. 7 เสียง ง. 8 เสียง

18 3. เสียงของดนตรีสากลมีครึ่งเสียงห่างกันอยู่กี่แห่ง
ก. 3 แห่ง ข. 2 แห่ง ค. 1 แห่ง ง. ไม่มีครึ่งเสียง

19 4. SEMITONE หมายถึงข้อใด
ก. สองเสียง ข. หนึ่งเสียงครึ่ง ค. หนึ่งเสียง ง. ครึ่งเสียง

20 5. TONE หมายถึงข้อใด ก. สองเสียง ข. หนึ่งเสียงครึ่ง ค. หนึ่งเสียง ง. ครึ่งเสียง

21 6. ตัวโน้ต (MUSICE NOTETION ) คืออะไร
ก. เครื่องหมายหรือสัญลักษณ์ที่ใช้บันทึกแทนเสียงดนตรี ข. ตัวที่ใช้เขียนเพลงสากลต่างๆ ค. สัญลักษณ์ที่ใช้ในการขับร้อง ง. เครื่องหมายที่ใช้ในการบรรเลงดนตรี

22 7. จากรูป ตัว O + O + O มีกี่จังหวะ
ก. 4 จังหวะ ข. 6 จังหวะ ค. 8 จังหวะ ง.12 จังหวะ

23 8. บรรทัด 5 เส้น มีไว้เพื่ออะไร
ก.บันทึกตัวโน้ต ข.การเขียนโน้ตสากลจะได้สวยงาม ค.ให้สามารถอ่านโน้ตสากล ง.บอกตำแหน่งตัวโน้ตสากล

24 9. การร้องรำทำเพลงของมนุษย์ในยุคแรกทำขึ้นเพื่ออะไร
ก. เพื่อความสนุกสนาน ข. เพื่อเป็นการรวมหมู่กลุ่มแสดงพลัง ค. เพื่อเป็นการสวดมนต์อ้อนวอนพระเจ้าเพื่อช่วยให้ตนพ้นภัย ง. เพื่อผ่อนคลายความตึงเครียดและเพื่อความสนุกสนาน

25 10. การบันทึกดนตรีในศตวรรษที่ 5-6 เป็นการบันทึกอะไร
ก. บันทึกจังหวะ ข. บันทึกเนื้อเพลง ค. บันทึกตัวโน้ต ง. บันทึกเครื่องหมายแสดงระดับเสียงและจังหวะ.

26 เฉลยแบบทดสอบ 1.ง 2.ค 3.ข 4.ง 5.ค 6.ก 7.ง 8.ก 9.ค 10.ง

27 แหล่งที่มา


ดาวน์โหลด ppt บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google