งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

ความสำคัญและมโนทัศน์พื้นฐานของการวัดและประเมินผลการศึกษา

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "ความสำคัญและมโนทัศน์พื้นฐานของการวัดและประเมินผลการศึกษา"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 ความสำคัญและมโนทัศน์พื้นฐานของการวัดและประเมินผลการศึกษา

2 องค์ประกอบของการศึกษา
1. ปรัชญาการศึกษา 2. หลักสูตร 2.1 จุดมุ่งหมาย (Objective) 2.2 เนื้อหา (Content) 3. การสอน 3.1 จุดมุ่งหมายของการสอน 3.2 วิธีสอน 3.3 จิตวิทยา 3.4 สื่อการเรียน

3 4. การวัดผล 4.1 วัดผลเพื่อปรับปรุงการเรียนการสอน (Formative evaluation) 4.2 วัดผลเพื่อประเมินผลการเรียน (Summative evaluation) 5. การวิจัย

4 การวัดผลกับการจัดการเรียนการสอน

5 การเรียนการสอนเพื่อให้บรรลุผลสูงสุดนั้น ผู้สอนควรจะตอบคำถามที่เกี่ยวข้องอย่างน้อย 3 ประการคือ
1. ผู้เรียนมีความสามารถเบื้องต้น หรือมีพฤติกรรมที่ใช้เป็นพื้นฐานอะไรบ้าง (ก่อนสอน) 2. ระหว่างที่เรียนแต่ละเนื้อหา สิ่งใดบ้างที่ผู้เรียนยังไม่เรียนรู้ดีพอ ขาดตกบกพร่องตรงไหน (ระหว่างสอน) 3. หลังจากจบบทเรียนแต่ละตอนหรือทั้งหมด ผู้เรียนมีพฤติกรรมความสามารถขนาดไหน ตรงตามจุดมุ่งหมายที่ต้องการหรือไม่ (หลังสอน)

6 การวัดและประเมินผลกับการประกันคุณภาพการศึกษา
การประกันคุณภาพการศึกษา (quality assurance) เป็นกระบวนการที่ก่อให้เกิดการพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาของสถานศึกษา โดยสถานศึกษาต้องมีกระบวนการบริหารจัดการคุณภาพอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งตรวจสอบ ปรับปรุงแก้ไขและรายงานผลอย่างสม่ำเสมอ

7 พรบ.การศึกษา มาตรา 48 การประกันคุณภาพภายในเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการจัดการศึกษาที่สถานศึกษาต้องดำเนินการต่อเนื่อง โดยจัดทำรายงานประจำปีเสนอต่อหน่วยงานต้นสังกัด หน่วยงานที่เกี่ยวข้องและเปิดเผยต่อสาธารณชน พรบ.การศึกษา มาตรา 49 สถานศึกษาทุกแห่งต้องได้รับการประเมินคุณภาพนอกอย่างน้อย 1 ครั้งทุก 5 ปี และเสนอผลการประเมินคุณภาพต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและสาธารณชน

8 หน้าที่ของการวัดผลการศึกษาในสถานศึกษา
1. จัดตำแหน่ง (placement) 2. วินิจฉัย (diagnosis) 3. เปรียบเทียบ (assessment) 4. พยากรณ์ (prediction) 5. ประเมินผล (evaluation)

9 หน้าที่ของการวัดผลการศึกษาในการศึกษาระดับชาติ
1. การสอบ NT มีการสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในวิชาที่สำคัญของปีสุดท้ายในแต่ละช่วงชั้น ด้วยแบบทดสอบมาตรฐานระดับชาติ (National Test : NT) ส่วนม.6 เพิ่มการสอบความถนัดทางการเรียน (SAT : Scholastic Aptitude Test) 2. การสอบ Admission ในปี 2549 ระบบสอบคัดเลือกเพื่อเข้าศึกษาในระดับมหาวิทยาลัย 5 ส่วนคือ 2.1 GPAX 10% 2.2 GPA 20% 2.3 O-NET (Ordinary National Education Test) 35-70% 2.4 A-NET (Advance National Education Test) 0-35% 2.5 สอบสัมภาษณ์ และตรวจร่างกาย (ไม่คิดคะแนน)

10 เพื่อค้นหาและพัฒนาสมรรถภาพของมนุษย์
หน้าที่ของการวัดผลการศึกษาทั้งหมดนี้มีประโยชน์ต่อผู้เรียนทั้งสิ้น และช่วยให้ครูผู้สอนทำหน้าที่เสริมสร้างความรู้ให้แก่ผู้เรียนได้อย่างเต็มที่ โดยพยายามค้นหาความสามารถที่เด่นและด้อยของผู้เรียนเพื่อการพัฒนาและปรับปรุง ดังนั้นหน้าที่ของการวัดผลการศึกษาจึงสรุปได้ว่า เพื่อค้นหาและพัฒนาสมรรถภาพของมนุษย์


ดาวน์โหลด ppt ความสำคัญและมโนทัศน์พื้นฐานของการวัดและประเมินผลการศึกษา

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google