งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

แนวทางการดำเนินงานด้านการเตรียมความพร้อมก่อนปล่อย

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "แนวทางการดำเนินงานด้านการเตรียมความพร้อมก่อนปล่อย"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 แนวทางการดำเนินงานด้านการเตรียมความพร้อมก่อนปล่อย
โครงการพัฒนาบุคลากรด้านการเตรียมความพร้อม ก่อนปล่อยเด็กและเยาวชน วันที่ 18 มีนาคม 2553 ณ โรงแรมแกรนด์ ทาวเวอร์ อินท์ พญาไท กรุงเทพฯ โดย นางสาวดวงพร อุกฤษณ์ หัวหน้าส่วนพัฒนาระบบงาน สำนักพัฒนาระบบงานยุติธรรมเด็กและเยาวชน กรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน

2 ความเป็นมา พ.ศ. ปล่อย ผิดซ้ำ 2546 4,596 4,535 2547 3,198 4,607 2548 3,709 4,357 2549 3,580 5,712 2550 4,732 6,608 2551 5,868 6,606 2552 6,868 * จำนวนเด็ก/เยาวชน 1. ปล่อยตัว 2. กระทำความผิดซ้ำ ข้อมูลจาก

3 การเตรียมความพร้อมก่อนปล่อย
ระบบการฝึกอบรม การปฐมนิเทศ (Orientation Stage) การฝึกและอบรม (Intermediate Stage) การเตรียมความพร้อมก่อนปล่อย (Pre-release Stage)

4 กลุ่มเป้าหมายในการเตรียมความพร้อมก่อนปล่อย
เด็ก/เยาวชน ครอบครัว ชุมชน

5 ปัญหาที่พบ : เด็ก/เยาวชนเหล่านี้จะเข้าในโปรแกรม
เด็กและเยาวชนทุกรายที่ใกล้ครบกำหนดปล่อยตัวและมีระยะเวลาการฝึกอบรมเหลือตั้งแต่ เดือน ปัญหาที่พบ : เด็ก/เยาวชนเหล่านี้จะเข้าในโปรแกรม เตรียมปล่อยหรือไม่ 1. กลุ่มขั้นต่ำ 2. กลุ่มขอปล่อยก่อนกำหนด 3. กลุ่มขั้นที่ 1 รักษาสถานภาพ

6 แนวทางการดำเนินงาน จัดตั้งคณะทำงาน
กำหนดผู้รับผิดชอบและประเมินผลกิจกรรม จัดกลุ่มเด็กและเยาวชนตามผลการจำแนก/ คัดกรองเพื่อเข้ารับกิจกรรมในโปรแกรมต่างๆ จัดกิจกรรมตามที่กำหนดในโปรแกรม ประเมินผลโครงการและจัดส่งรายงานเป็นรายไตรมาสและสรุปผลในภาพรวม

7 การส่งรายงานสรุปผลในครั้งสุดท้าย
- เดือนสิงหาคม 2553 - สรุปผลเป็นรายกิจกรรม และรายงานปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินงาน ข้อเสนอแนะ - ส่งมายังสำนักพัฒนาระบบฯ (เอกสารหน้า : แนวทางการเตรียมความพร้อม 2553)

8 หน้าที่คณะทำงาน ประเมินและจัดกลุ่ม รับผลการจำแนก/คัดกรอง
ตามระดับปัญา/สภาพปัญหา รับผลการจำแนก/คัดกรอง และผลการฝึกอบรม วางแผนกำหนดกิจกรรมเพื่อเตรียม เด็ก เยาวชน ครอบครัว ชุมชน คณะทำงาน ส่งรายงานมา ยังกรม/ ผู้รับผิดชอบหลัก กำหนดผู้รับผิดชอบตามแผน คณะทำงานสรุปผล การดำเนินงาน ในภาพรวม รายงานผลส่งคณะทำงาน

9 การจำแนก/การประเมินสภาวะความเสี่ยง และความจำเป็น
ผลการบำบัดแก้ไขฟื้นฟู ตามแผนบำบัดฟื้นฟู รายบุคคล หลักเกณฑ์การจำแนก เพื่อเตรียมพร้อมเด็ก/เยาวชน

10 การจำแนกกลุ่มเด็ก/เยาวชน
กลุ่ม /ประเภท ระดับปัญหา เด็ก/เยาวชน ครอบครัว A น้อย ดี พร้อม B ปานกลาง ไม่พร้อม C D มาก

11 หลักเกณฑ์การพิจารณาเด็ก/เยาวชน
มีความพร้อมด้านร่างกาย พฤติกรรม อารมณ์ สติปัญญา จิตใจ สภาพแวดล้อม เด็กดี ไม่พร้อมด้านใดด้านหนึ่งหรือทุกด้าน ทั้งด้านอารมณ์ จิตใจ ร่างกาย พฤติกรรม มีแนวโน้มกระทำความผิดซ้ำ/เสี่ยงสูงที่จะกลับไปใช้ยาเสพติดซ้ำ หรือใช้ความรุนแรง ต้องได้รับการสงเคราะห์ และการติดตามดูแลอย่างต่อเนื่อง (เน้นการประสานส่งต่อ) เด็กไม่พร้อม

12 หลักเกณฑ์การพิจารณาครอบครัว
มีความพร้อมที่จะดูแล จัดหาสถานที่เรียนหรือประกอบอาชีพให้เด็กได้ ไม่จำเป็นต้องได้รับการสงเคราะห์ ครอบครัวพร้อม ไม่มีผู้อุปการะ สัมพันธภาพไม่ดี ผู้ปกครองไม่สามารถควบคุมพฤติกรรม ผู้ปกครองเป็นตัวอย่างที่ไม่ดี (ติดยาเสพติด ติดสุรา ติดการพนัน ถูกจำคุก ฯลฯ) จำเป็นต้องได้รับการสงเคราะห์ด้านใดด้านหนึ่ง ครอบครัวไม่พร้อม

13 การจัดหอนอน เตรียมปล่อยปกติ เตรียมปล่อยหอนอนพิเศษ
1. กลุ่มเด็กและเยาวชนที่อยู่ขั้นที่ และใกล้ครบกำหนดปล่อย 2. กลุ่มเด็กและเยาวชนที่มีปัญหาด้านพฤติกรรมและใกล้ปล่อยตัว เตรียมปล่อยหอนอนพิเศษ กลุ่มเด็กและเยาวชนที่อยู่ขั้นที่ 1 และใกล้ครบกำหนดปล่อย เตรียมปล่อยโปรแกรม บ้านกาญจนาภิเษก กลุ่มเด็กและเยาวชนที่อยู่ในขั้นที่ 1 และกลุ่มเด็กและเยาวชนที่สามารถรักษาสถานะภาพในขั้นที่ 1 มีความประพฤติดีอย่างสม่ำเสมอ สถานเตรียมความพร้อมก่อนปล่อย และสงเคราะห์ภายหลังปล่อย (Halfway House)* 1.กลุ่มเด็กและเยาวชนใกล้ปล่อยและจำเป็นต้องได้รับการสงเคราะห์ ภายหลังปล่อย 2. กลุ่มที่มีปัญหาความประพฤติ และมีปัญหาขอรับการสงเคราะห์ใน ด้านต่าง ๆ จำเป็นต้องติดตามสอดส่อง

14 กิจกรรมภาคบังคับ การอบรมจริยธรรม เด็ก/เยาวชน การฝึกทักษะชีวิต
การสร้างความเข้มแข็งทางจิตใจ ปัจฉิมนิเทศ เด็ก เยาวชน ครอบครัว ปัจฉิมนิเทศครอบครัว ครอบครัวสัมพันธ์ การกลับไปเยี่ยมบ้าน ชุมชน แนะแนวการศึกษา/อาชีพ การบำเพ็ญประโยชน์

15 กิจกรรมทางเลือกเฉพาะปัญหา
ค่ายครอบครัว ปัญหาครอบครัว ค่ายพุทธบุตร ครอบครัวอุปถัมภ์ ค่ายวิวัฒน์พลเมือง ปัญหาพฤติกรรม การประชุมเตรียมความพร้อม ร่วมกับครอบครัวและเครือข่ายชุมชน ความเสี่ยงกระทำผิดซ้ำสูง รายงานคุมประพฤติภายหลังปล่อย จำเป็นต้องสงเคราะห์ ประสานส่งต่อ มีความพร้อม ฝึกงาน/เรียนภายนอก กลับบ้านและมารายงานตัว

16 แบบ/เครื่องมือ แบบการจัดทำแผนเพื่อเตรียมความพร้อมก่อนปล่อยเด็กและเยาวชนเฉพาะราย (หน้า ) สรุปผลการดำเนินงานตามแผนการเตรียมความพร้อมก่อนปล่อยของเด็กและเยาวชน (หน้า 17)

17 ปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินงาน 2552
ด้านนโยบาย ผู้บริหารมีแนวคิดการดำเนินงานแตกต่างกัน ทำให้แนวทางในการปฏิบัติงานไม่เป็นไปในแนวทางเดียวกัน ด้านการบริหารจัดการ - ขาดการถ่ายทอดโครงการฯ ภายในหน่วยงานทำให้ผู้ปฏิบัติงานไม่เข้าใจแนวทางในการดำเนินงานตามโครงการจึงทำให้เกิดการทำงานที่ไม่เอื้อต่อการประสานกัน - บุคลากรที่ได้รับมอบหมายให้จัดกิจกรรม บางท่านเต็มใจช่วยแต่ขาดทักษะ และความเข้าใจที่ชัดเจนในการจัดกิจกรรม ซึ่งส่งผลให้เมื่อจัดกิจกรรมแก่เด็กและเยาวชนจะไม่เกิดประโยชน์เต็มที่

18 - ผู้รับผิดชอบไม่ส่งรายงาน ทำให้ การรายงานผลการดำเนินงาน เป็นไปด้วยความยากลำบาก เกิดความล่าช้าและเสียสัมพันธภาพต่อเพื่อนร่วมงาน ผู้รับผิดชอบโครงการฯ ได้รับมอบหมายให้ทำกิจกรรมอื่นๆ และมีงานด้านเอกสารมากเกินไปทำให้การดำเนินงานติดตามผลโครงการฯ ไม่สามารถทำได้อย่างสมบูรณ์ การจัดกิจกรรมนอกสถานที่ส่วนใหญ่มักมีปัญหาในเรื่องการเดินทาง ยานพาหนะ จึงทำให้ไม่สามารถรองรับเด็กและเยาวชนในกลุ่มเพียงพอ

19 การเบิกจ่ายมีปัญหาติดขัดเนื่องจากผู้รับผิดชอบกิจกรรมจะต้องทำการเบิกจ่ายเงินซ้ำๆ เพราะผู้รับผิดชอบมีหลายโครงการที่ต้องรับผิดชอบ การเลือกเยาวชนบางส่วนที่เป็นเยาวชนกลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมกิจกรรม ทำให้เยาวชนที่เหลือเกิดความน้อยใจ บางครั้งก็เกิดความรู้สึกไม่พอใจ

20 ด้านงบประมาณ - งบประมาณไม่เพียงพอและมีจำนวนจำกัด เมื่อแบ่งงบฯให้กับแต่ละกิจกรรมย่อยแล้ว ไม่เพียงพอต่อการจัดซื้อวัสดุอุปกรณ์เพื่อจัดกิจกรรม รวมทั้งไม่เพียงพอต่อจำนวนเยาวชน ที่เพิ่มขึ้น - งบประมาณมาช้า ทำให้การจัดกิจรรม/โครงการล่าช้า - การจัดสรรงบประมาณในการดำเนินงานมีข้อจำกัดในระเบียบการเบิกจ่าย

21 ด้านอัตรากำลัง - บุคลากรผู้ปฏิบัติไม่เพียงพอกับปริมาณงาน ทำให้บุคลากรบางคนต้องรับผิดชอบหลายกิจกรรมมีผลต่อประสิทธิภาพในการทำงาน - บุคลากรอื่นๆ ในหน่วยงานไม่ตระหนักถึงความสำคัญและไม่ให้ความร่วมมือเท่าที่ควร - ผู้ที่ได้รับมอบหมายให้รับผิดชอบโครงการไม่ดำเนินการให้ตรงตามแผนที่กำหนดไว้ ทำให้งบประมาณที่ตั้งไว้ไม่เป็นตามเป้าหมาย - มีการโยกย้ายและลาออกหลายคน ทำให้การทำงานไม่ต่อเนื่อง

22 ด้านสถานที่และวัสดุอุปกรณ์
ไม่มีสถานที่รองรับการทำกิจกรรมของเด็กและเยาวชน ทำให้ไม่สะดวกในการจัดกิจกรรมที่ต้องเลือกเยาวชนเข้าร่วมกิจกรรมเพียงบางส่วน ด้านระบบ/แนวทางในการปฏิบัติงาน เด็กและเยาวชนมีระยะการฝึกอบรมที่แตกต่างกัน เมื่อตัดเยาวชนเข้ากลุ่มเตรียมความพร้อม เด็กและเยาวชนจะได้รับการฝึกวิชาชีพไม่ครบตามหลักสูตร เนื่องจากการตรวจเช็คอายัดเด็กและเยาวชนจะทำก่อนเด็กและเยาวชนปล่อยตัวก่อน 1 เดือน ทำให้ต้องเสี่ยงกับเด็กและเยาวชนหลบหนี หรือกระทำผิดได้ง่าย

23 การจำแนกเด็กและเยาวชนเข้ากลุ่มเตรียมความพร้อมก่อนปล่อยนั้น ไม่สามารถทำกิจกรรมให้เยาวชนจนครบโปรแกรมได้ เนื่องจากมีเยาวชนจำนวนหนึ่งได้รับการปล่อยตัวจากศูนย์ฝึกและอบรมฯไปก่อน ศาลมีคำพิพากษาให้เยาวชนเข้าฝึกอบรมมีระยะเวลาสั้นเกินไป เช่น 3-6 เดือน หรือไม่ก็ฝากควบคุม ทำให้การจัดเยาวชนเข้ากิจกรรมตามค่อนข้างไม่ประสบผลสำเร็จ ยอดของเด็กและเยาวชนเคลื่อนไหว เข้า – ออก อยู่ตลอดเวลา เครื่องมือ/กิจกรรม การออกไปทำงานเข้าไปเย็นกลับ เป็นช่วงระยะเวลาสั้น ๆ ไม่สามารถประเมินผลได้ว่าเยาวชนอยากประกอบอาชีพนั้น ๆ หรือศึกษาต่อ

24 แบบแผนการอนาคต และแบบสรุปแผนการอนาคตในส่วนรายละเอียด การประกอบอาชีพ ยังมีความไม่ชัดเจน ไม่เที่ยงตรง รับจ้างรายวัน ทำงานโรงงาน ลูกจ้างสถานประกอบการ ควรมีการทำความเข้าใจให้ตรงกันของผู้รายงาน มิเช่นนั้นข้อมูลที่ได้จะไม่มีความถูกต้อง เที่ยงตรง และควรจะเพิ่มในรายละเอียดไม่เรียน ไม่ประกอบอาชีพ และเรียนและทำงาน ด้านผู้ปกครอง พบว่า ผู้ปกครองบางรายไม่สามารถเดินทางมาร่วมกิจกรรมปัจฉิมนิเทศได้ เนื่องจากไม่สามารถลางานได้ยังไม่มีความตระหนักในการให้ความร่วมมือเท่าที่ควร ในการเข้าร่วมกิจกรรมของศูนย์ฝึกฯ เมื่อเข้าร่วมก็จะขอกลับก่อนโดยไม่อยู่ร่วมจนครบกิจกรรมนั้น ขาดความสนใจในตัวเยาวชน และมักจะมีข้อต่อรองกับทางเจ้าหน้าที่เสมอ

25 ข้อเสนอแนะ ด้านนโยบาย
1. กรมจัดนโยบายเตรียมความพร้อมก่อนปล่อย จัดประชุมบุคลากรที่จะดำเนินงานที่ผ่านมาซึ่งเป็นผู้ปฏิบัติ ควรจะจัดประชุม ผอ. เพื่อแจ้งวัตถุประสงค์ นโยบายของโครงการเตรียมความพร้อมให้ชัดเจนกับ ผอ. ของศูนย์ฝึกฯ ทุกศูนย์เพื่อจะได้เข้าใจไปในทิศทางเดียวกัน 2. การเตรียมความพร้อมมีความจำเป็นในการดำเนินงานควรให้มีความต่อเนื่องตลอดถึงการสนับสนุนงบประมาณ 3. การจัดสรรงบประมาณมายังศูนย์ฝึกฯ ตั้งแต่ต้นปีงบประมาณเพื่อให้ทำงานเป็นไปตามแผนที่วางไว้

26 4. ควรมีวางแผนงานโครงการปีงบประมาณต่อไป ตั้งแต่ก่อนปีงบประมาณเพื่อให้ผู้ปฏิบัติได้ดำเนินการวางแผนเตรียมการในการจัดโครงการฯ ได้ในแต่ละไตรมาส 5. กรมควรจัดให้มีการประชุมบุคลากรให้เกิดความเข้าใจในนโยบายด้านเตรียมความพร้อมก่อนปล่อย เช่นเดียวกับที่ผ่านมาซึ่งเป็นกลุ่มผู้ปฏิบัติงานหลัก และควรจะจัดประชุม ผู้อำนวยการฯเพื่อแจ้งวัตถุประสงค์ นโยบายของโครงการเตรียมความพร้อมให้ชัดเจนกับผู้อำนวยการของศูนย์ฝึกฯ ทุกศูนย์เพื่อจะได้เข้าใจไปในทิศทางเดียว

27 ด้านการบริหารจัดการ 6. ในการทำงานเตรียมความพร้อม ควรมีทีมในการทำงาน เฉพาะถ้าหากเป็นไปได้ เพราะจะสามารถทำงานได้เต็มที่ ซึ่งจะได้ผลดีมากกว่ารวมอยู่กับงานในภาพรวมของการบำบัดเยาวชน 7. ควรมีการสับเปลี่ยนหมุนเวียน ผู้ทำรายงานประจำเดือน/ไตรมาศ เป็นกลุ่มงานอื่น ๆ เช่น กลุ่มพฤตินิสัย เนื่องจากเป็นกลุ่มงาน ที่มีจำนวนคนมากกว่า น่าจะช่วยกันทำงานได้มากกว่า กลุ่มประสาน กลุ่มบำบัด ที่มีภารกิจในการทำงานค่อนข้างเยอะ 8. เพิ่มบุคลากรผู้รับผิดชอบการเตรียมความพร้อมก่อนปล่อย โดยเฉพาะและควรให้มีเจ้าหน้าที่กลุ่มงานอื่นด้วย ไม่ใช่มีแต่นักสังคมฯ

28 9. เห็นควรเพิ่มระยะเวลาโครงการ และควรมีการฝึกอบรมเจ้าหน้าที่หลากหลายวิชาชีพเพื่อเพิ่มทักษะให้ครอบคลุม 10. ควรมีจัดทำแผนการปฏิบัติงานที่มีความชัดเจนต่อเนื่อง ส่วนการประเมินผลควรเป็นหน่วยงานอื่น และส่งผลให้กรมทราบโดยตรง เพื่อการพัฒนา

29 11. กิจกรรมการเตรียมความพร้อมก่อนปล่อย เช่น เยาวชนที่ได้รับการคัดเลือกให้ออกมาอยู่โดยแยกจากเด็กที่อยู่ข้างใน โดยมาอยู่เป็นบ้าน คน ควรคัดเด็ก/เยาวชน ดังนี้ - คดีของเด็กที่ไม่เสี่ยงต่อการกระทำความผิดอีก เช่น คดียาเสพติด - ต้องเหลือระยะเวลาการฝึกอบรมต้องน้อยที่สุดในกลุ่มที่ได้รับการคัดเลือก โดยเลือกจากคะแนนน้อยสุดไปหาคะแนนมากจนได้ครบตามจำนวนที่ต้องการ - การคัดเลือกต้องเป็นธรรมและให้ผู้เกี่ยวข้องทุกกลุ่มเป็นกรรมการ เช่น ครูประจำชั้น ครูวิชาชีพ พ่อบ้านแม่บ้าน ครูที่ปรึกษา นักจิตฯ นักสังคมฯ พยาบาลฯ หรือผู้ที่เกี่ยวข้องอื่น ๆ

30 12. ควรจัดตั้งหน่วยเตรียมความพร้อมก่อนปล่อย เหมือนหน่วยเรียนเป็นกิจจะลักษณะ
13. การกำหนดกลุ่มเป้าหมาย ควรให้เป็นไปตามเงื่อนไขขององค์กรนั้น ๆ 14. คำนึงถึงระยะเวลาการฝึกอบรมให้สอดคล้องกับจำนวนกิจกรรม เยาวชนกลุ่มเป้าหมายทุกคน ควรได้รับทุกกิจกรรม เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อม และมีทักษะมีทุนในการออกไปเผชิญสังคมภายนอก

31 15. ควรมีแบบฟอร์มการประเมินผลในแต่ละกิจกรรมให้ชัดเจน จะได้เป็นไปในแนวทางเดียวกัน
16. กิจกรรมเสริมสร้างความเข้มแข็งควรเป็นแผนบำบัดตั้งแต่เยาวชนแรกเข้า หรือจำแนกแล้ว เพราะอยู่ในศูนย์ฝึกฯ ก็ต้องมีความเข้มแข็งเหมือนกัน

32 17. เน้นกิจกรรมพัฒนาทักษะชีวิตเพื่อให้เด็กมีต้นทุนทางด้านความคิด ควรเน้นด้านคุณธรรม จริยธรรมให้มากและเป็นประจำ เน้นความรัก ความผูกพันในครอบครัว ปรับความเข้าใจพ่อแม่ โดยการให้ครอบครัวเข้ามามีส่วนร่วมถือเป็นสิ่งสำคัญมากๆ เพื่อจะได้มีการปรับความรู้ ความเข้าใจต่อกัน มีการวางแผนอนาคตร่วมกัน 18. กิจกรรมประชุมเตรียมความพร้อมก่อนปล่อยร่วมกับครอบครัวและชุมชน ควรปรับปรุงแบบฟอร์มการขอความช่วยเหลือและการให้ความช่วยเหลือ เพราะเมื่อเป็นการผูกมัดที่จะต้องทำ บางหน่วยงานยังไม่มีความพร้อมในการช่วยเหลืออย่างเต็มที่

33 19. เน้นกิจกรรมพัฒนาทักษะชีวิตเพื่อให้เด็กมีต้นทุนทางด้านความคิด ควรเน้นด้านคุณธรรม จริยธรรมให้มากและเป็นประจำ เน้นความรัก ความผูกพันในครอบครัว ปรับความเข้าใจพ่อแม่ โดยการให้ครอบครัวเข้ามามีส่วนร่วมถือเป็นสิ่งสำคัญมากๆ เพื่อจะได้มีการปรับความรู้ ความเข้าใจต่อกัน มีการวางแผนอนาคตร่วมกัน 20. กิจกรรมประชุมเตรียมความพร้อมก่อนปล่อยร่วมกับครอบครัวและชุมชน ควรปรับปรุงแบบฟอร์มการขอความช่วยเหลือและการให้ความช่วยเหลือ เพราะเมื่อเป็นการผูกมัดที่จะต้องทำ บางหน่วยงานยังไม่มีความพร้อมในการช่วยเหลืออย่างเต็มที่

34 21. กิจกรรมครอบครัวอุปถัมภ์ อาจจะต้องปรับปรุงรูปแบบกิจกรรม เนื่องจากการนำชุมชนหรือบุคคลที่มีความสนใจเข้าร่วมในช่วงแรกก็เข้าร่วมดี แต่จากนั้นไม่เคยมาร่วมกิจกรรมอีก เนื่องจากไม่มีเวลา ควรปรับปรุงรูปแบบอาจให้ผู้ปกครองเด็กและเยาวชนที่มีความพร้อมเข้าร่วมในการดูแลเด็กและเยาวชนที่ด้อยโอกาส 22. การปล่อยตัวแบบคุมประพฤติ ไม่เป็นประโยชน์กับเด็กและสร้างการผูกมัด ขั้นตอนยุ่งยาก ควรใช้การติดตามโดยการเยี่ยมบ้าน โดยสถานพินิจฯ แต่ละจังหวัด 23. ถ้าปล่อยตัวแบบมีเงื่อนไขคุมประพฤติให้ส่งต่อข้อมูลไปยังสำนักงานคุมประพฤติ เพื่อติดตามประเมินผลต่อ และทางศูนย์ฝึกอาจติดตามเยี่ยมบ้านบ้างขึ้นอยู่เป็นรายกรณี

35 24. ในการปล่อยตัวแบบมีเงื่อนไขคุมประพฤติ เราควรให้เยาวชนไปและให้ทำงานกับชุมชนที่ตนเองอยู่ เป็นระยะเวลา 1 เดือน เพื่อให้เยาวชนได้สำนึกรักบ้านเกิด 25. กิจกรรมทางเลือก กิจกรรมควรจัดให้มากขึ้นและจริงจัง ส่วนกิจกรรมทางเลือก ข้อ 3 ควรคัดเลือกเด็กที่มีความประพฤติตัวดีจริง ๆ ระยะเวลาที่ฝึกอบรมเหลือน้อย และเพิ่มจำนวนขึ้น กิจกรรมทางเลือก ข้อ 4 ครอบครัวอุปถัมภ์ ควรเพิ่มปริมาณ กิจกรรมทางเลือก ข้อ 5 การจัดกิจกรรมเพื่อสร้างความเข้มแข็งในทางจิตใจกิจกรรมควรจัดให้มากขึ้นและจริงจัง 26. ถ้าต้องให้เยาวชนไปค่ายวิวัฒน์พลเมือง ศูนย์ฯควรเชิญวิทยากรทหารมานำค่ายฝึกระเบียบวินัยในศูนย์ฝึกฯ น่าจะดีกว่า ช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายด้วย

36 27. ควรเข้าค่ายทหาร อบรมวินัย ปลูกฝังความรักชาติ ก่อนปล่อย 7 วันและให้ทหารที่มีวินัยสูงเป็นวิทยากรอบรมด้านวินัย คุณธรรม จริยธรรม ความรักชาติ ความกตัญญู ศาสนา และพระมหากษัตริย์ สถานที่ควรใช้ในค่ายทหาร 28. การคัดเลือกกิจกรรมควรคำนึงถึงกิจกรรมเพื่อการเปลี่ยนแปลงที่มีความหมายต่อเด็กและเยาวชน 29. ทัศนศึกษา สถานที่เยาวชนได้เกิดความสำนึกได้ เช่น สถานสงเคราะห์เด็กกำพร้า คนพิการ เรือนจำ แดนประหาร

37 ขอบคุณ


ดาวน์โหลด ppt แนวทางการดำเนินงานด้านการเตรียมความพร้อมก่อนปล่อย

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google