งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

การเก็บวัตถุตัวอย่าง และการตรวจทางห้องปฏิบัติการ

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "การเก็บวัตถุตัวอย่าง และการตรวจทางห้องปฏิบัติการ"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 การเก็บวัตถุตัวอย่าง และการตรวจทางห้องปฏิบัติการ
Specimen Collection and Testing การเก็บวัตถุตัวอย่าง และการตรวจทางห้องปฏิบัติการ

2 เราคาดหวังอะไร ? จาก Lab

3 เมื่อเกิดโรคระบาด ต้องการรู้อะไร
รู้เชื้อที่เป็นสาเหตุ ได้อย่างรวดเร็ว เป็นเชื้อตัวเดิม หรือ ตัวใหม่ (มีการ เปลี่ยนแปลงอย่างไร) ต้นตอของเชื้อมาจากไหน (ตามรอยเส้นทางการถ่ายทอดเชื้อ) ยาอะไรที่ใช้ได้ผล เพื่อการรักษา & ตัด Transmission

4 จะบรรลุความคาดหวัง ได้อย่างไร Sharing & Learning

5 เครือข่ายห้องปฏิบัติการ (Laboratory)
Sharing & Learning เครือข่ายห้องปฏิบัติการ (Laboratory) ความสามารถ (Capacity) ของห้องปฏิบัติการ ในแต่ละระดับ:- รพ.ช รพ.ท รพ.ศ ศวก. กรมวิทย์ฯ และหน่วยงานอื่น ๆ รู้ชนิด ปริมาณ และระยะเวลาการตรวจ ของห้องปฏิบัติการในแต่ละระดับ สนับสนุน Media และ วิธีการเก็บตัวอย่างสิ่ง ส่งตรวจ ได้รวดเร็ว เหมาะสมกับเชื้อ วิธีการตรวจวิเคราะห์ ตามที่ SRRT reguest & ความไวของเชื้อต่อยาปฏิชีวนะ ปรึกษาหารือ แลกเปลี่ยนความรู้ เพื่อหา ข้อสรุปของการระบาดเป็นครั้งคราว

6 การเก็บวัตถุตัวอย่าง ส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการ
เพื่อ ส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการ

7 ปัญหาที่พบ เก็บตัวอย่างผิดวิธี ตัวอย่างไม่ได้คุณภาพ สลับตัวอย่าง
ไม่มีรายละเอียดในใบนำส่งตัวอย่าง ขนส่งผิดวิธี ในรายที่มีปัญหา ขาดการประสานงาน เชื่อมั่นในผลของ Rapid test หรือผล Lab เกี่ยงกันในการทำหน้าที่เก็บตัวอย่าง การแปลผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ

8 + + ผลการตรวจที่ถูกต้อง คุณภาพตัวอย่าง (Quality of Specimens)
- การเก็บตัวอย่างที่ถูกต้อง - การนำส่งที่ถูกต้อง ระยะเวลาที่เก็บตัวอย่าง ผู้ป่วยอาการแย่ลง ขอให้ส่งตัวอย่างซ้ำ ข้อมูลประกอบที่ถูกต้อง (Epidemiological + Clinical data) คุณภาพการตรวจวิเคราะห์ การประมวลผลเพื่อสรุป (Epidemiological + Clinical + Laboratory data) + + Pre-testing Testing Post-testing

9 หลักการเก็บและส่งตัวอย่าง
โรคอะไร... Differential diagnosis ระบบอะไร วิธีเก็บตัวอย่าง ? Transport media ? Lab ใดตรวจ ? ประสานงานหรือยัง ใครรับผิดชอบหรือผู้ประสานงาน ? นัดหมายการส่ง และนัดหมายการรับผล Lab 7. จินตนาการ “ภาพตัวอย่างออกจากผู้ป่วยถึง Lab” 8. ห้ามมั่ว คาดเดา ...ควรปรึกษาผู้รู้จริง

10 หลักทั่วไปการเก็บวัตถุตัวอย่างส่งตรวจ ทางห้องปฏิบัติการ
จะเลือกเก็บตัวอย่างอะไร บริเวณไหนที่จะมีโอกาสพบเชื้อสูง ช่วงระยะเวลาที่เก็บ เมื่อใด ใส่ภาชนะอะไร อาหารเก็บรักษาเชื้อที่เหมาะสม การนำส่งวัตถุตัวอย่างไปตรวจ อย่างไร ข้อมูลของคนไข้

11 อุปกรณ์ที่ต้องเตรียมก่อนการออกสอบสวนโรคในชุมชน
อุปกรณ์เก็บตัวอย่าง 1. Syringe 2. เข็ม 3. Alcohol 4. หลอดใส่เลือด : Clotted blood, EDTA 5. ตะแกรงวางเลือด 6. สายยางรัดแขน 7. สติ๊กเกอร์ ป้ายชื่อ 8. กระติกน้ำแข็ง 9. Ice pack 10. Rectal swab + Media 11. Nasopharyngeal swab + Media 12. Nasal swab + Media 13. พาราฟิลม์ 14. กรรไกร

12 อุปกรณ์ที่ต้องเตรียมก่อนการออกสอบสวนโรคในชุมชน
อุปกรณ์ป้องกันตนเอง อื่นๆ 1. ชุด disposable 2. น้ำยาล้างมือ 3. ถุงมือ 4. Mask 5. แว่นตา 6. Face shield 7. รองเท้าบู๊ต 1. แบบสอบสวนโรค 2. แบบส่งตัวอย่าง 3. กล้องถ่ายรูป 4. โทรศัพท์และ เบอร์โทรศัพท์ที่จำเป็น

13 1. ป้องกันตนเองจากการติดเชื้อ
“เก็บอย่างถูกต้อง และ นำส่งอย่างถูกต้อง” “ป้องกันตนเองและการแพร่เชื้อสู่ชุมชน” ขั้นตอนการเก็บตัวอย่าง 1. ป้องกันตนเองจากการติดเชื้อ 2. เตรียมผู้ต้องสงสัยว่าเป็นพาหะหรือผู้ป่วย 3. ดำเนินการเก็บและส่ง สิ่งส่งตรวจ

14 1. ป้องกันตนเองจากการติดเชื้อ
ข้อแนะนำการใช้เครื่องป้องกันร่างกาย (PPE) มีการฝึกซ้อมใส่ ถอด ก่อนปฏิบัติงานจริง เลือก N95 ที่เหมาะสมกับใบหน้า (โดยการทำ Fit test) หลีกเลี่ยงการสัมผัสส่วนต่างๆ ของร่างกาย โดยเฉพาะ ใบหน้าด้วยมือหรือถุงมือ หลีกเลี่ยงสัมผัสพื้นผิวอื่น ๆ ด้วยเช่นกัน ถอดเครื่องป้องกันก่อนออกจาก Anteroom หากไม่มี Anteroom ให้ถอดในห้องผู้ป่วย ยกเว้น Mask ระหว่างถอด PPE ต้องระมัดระวังการปนเปื้อนเสื้อผ้า เยื่อ บุผิวหนัง ทำความสะอาดมือ

15 2. เตรียมผู้ป่วยหรือผู้ต้องสงสัยว่าเป็นพาหะ
อธิบายให้เห็นความสำคัญของการตรวจหาเชื้อที่เป็นสาเหตุของการเกิดโรค แต่ละชนิด อธิบายวิธีการเก็บตัวอย่าง ให้ผู้ถูกเก็บเข้าใจ เพื่อให้คลายความกลัว และให้ความร่วมมือได้ถูกต้องขณะทำการเก็บ ควรให้ความรู้เกี่ยวกับการป้องกันควบคุมโรคนั้นๆไปด้วย เพื่อให้ผู้ป่วย/พาหะ ปฏิบัติตนได้ถูกต้อง และจะช่วยได้ให้ความร่วมมือดีขึ้น

16 3. ดำเนินการเก็บและส่ง สิ่งส่งตรวจ
ตามแนวทางและวิธีการที่ถูกต้อง ของแต่ละกลุ่มโรค/ชนิดของเชื้อ

17 การเก็บวัตถุตัวอย่างส่งตรวจ กลุ่มโรคติดต่อทางอาหารและน้ำ

18 กลุ่มโรคติดต่อโดยทางอาหารและน้ำ
Acute Diarrhea Cholera Food Poisoning Dysentery Enteric Fever HFMD Salmonellosis Typhoid Fever Paratyphoid Fever Shigellosis Amoebiasis Hepatitis A

19 Food and Water-borne Disease
Bacteria Bacillus cereus Brucella Campylobacter jejuni Clostridium botulinum Clostridium perfringens Escherichia coli Salmonellosis Shigella spp. Staphylococcus aureus Vibrio parahaemolyticus Vibrio cholerae Virus Hepatitis A Norwalk virus Rota virus Protozoa Entamoeba histolytica Giardia lamblia Toxin & Chemical 1.Marine toxins Ciguatoxin ปลา Scombroid toxin Paralytic shellfish 2.Mushroom toxin ออกฤทธิ์ระยะสั้น ภายใน 1 ชม. ออกฤทธิ์ระยะยาว 6-24 ชม.: Amanita spp. 3.โลหะหนัก: แคดเมียมเหล็ก สังกะสี ตะกั่วฯ 4.Monosodium glutamate (MSG) 5.พิษยาฆ่าแมลง

20 อุจจาระร่วง/ปวดท้อง/อาเจียน
กลุ่มอาการ อุจจาระร่วง/ปวดท้อง/อาเจียน จากเชื้อไวรัส :- Rotavirus, Enterovirus จากเชื้อแบคทีเรีย :-C. jejuni, S.aureus, E.coli, Bacillus cerues, Aeromonas, Plesiomonas, Vibrio spp., Vibrio cholerae, Non-Typhoidal Salmonella, Shigella, Salmonella Typhi, Salmonella paratyphi A

21 การเก็บและส่งอุจจาระตรวจหาเชื้อไวรัส
เก็บตัวอย่างอุจจาระทั้งกากและน้ำโดยเร็วที่สุดไม่เกิน 7 วัน ของวันเริ่มป่วย เก็บตัวอย่างประมาณ 10 มิลลิลิตร เป็นอย่างน้อยใส่ในขวดปราศจากเชื้อ ปิดจุกให้แน่น ปิดฉลากระบุชื่อผู้ป่วย วันที่เก็บ ใส่ถุงพลาสติก รัดยางให้แน่น แช่ในกระติกน้ำแข็งที่มีปริมาณนำแข็งเพียงพอจนถึงปลายทางห้องปฏิบัติการ หากไม่สามารถส่งได้ทันที ให้เก็บตัวอย่างไว้ในช่องแช่แข็งของตู้เย็น หรือตู้แช่แข็ง จนกว่าจะส่งตัวอย่างตรวจ โดยส่งตัวอย่างตรวจในระบบลูกโซ่ความเย็น

22 การเก็บและส่งตรวจหาเชื้อแบคทีเรีย
1. การเก็บตัวอย่างจากผู้ป่วย/ผู้สัมผัส อุจจาระ และ Rectal swab การ swab มือหรือผิวหนัง 2. การเก็บตัวอย่างจากสิ่งแวดล้อม การ swab ภาชนะ และ อุปกรณ์ต่าง ๆ การเก็บตัวอย่างอาหารและน้ำที่สงสัย

23 การเก็บตัวอย่างจากผู้ป่วย/ผู้สัมผัส
@ อุจจาระ และ Rectal swab @ การ swab มือหรือผิวหนัง

24 หลักเกณฑ์ทั่วไปในการเก็บอุจจาระส่งตรวจ
ควรเก็บในช่วงระยะแรก ที่เริ่มมีอาการอุจจาระร่วง และเก็บก่อนได้รับยาปฏิชีวนะ (กรณี Bacteria พบเชื้อ ได้มากใน 3 วันแรกของอาการยกเว้น โรคทัยฟอยด์และพาราทัยฟอยด์ พบเชื้อมากในสัปดาห์ที่ 2 และ 3 ) 2. ตำแหน่ง ลักษณะสิ่งส่งตรวจที่ดี:-เก็บจากบริเวณที่มี โอกาสพบเชื้อมากที่สุด เช่น อุจจาระส่วนที่มีมูกเลือด 3. ปริมาณที่เหมาะสม สำหรับการเพาะเชื้อแต่ละชนิด 4. ภาชนะที่ใช้เก็บต้องสะอาดปราศจากเชื้อ วิธีการ เก็บที่ถูกต้อง และนำส่งห้องปฏิบัติการโดยเร็ว 5. ข้อมูลประวัติการป่วย การวินิจฉัย เพื่อใช้ประกอบในการเลือกใช้อาหารเลี้ยงเชื้อ และเทคนิคที่เหมาะสม

25 วิธีการเก็บอุจจาระ และ Rectal swab
ในกรณีที่ส่งตัวอย่างถึงห้อง Lab ได้ภายใน 2 ชม. ให้ผู้ป่วยถ่ายอุจจาระลงในภาชนะที่สะอาด ใช้ช้อน/ไม้สะอาดตักอุจจาระประมาณ 5 กรัม ใส่ในขวด/กล่องที่สะอาดปราศจากเชื้อ ปิดฝาให้สนิท นำส่งทันที 2. กรณีส่งไม่ได้ภายใน 2 ชม. ต้องเก็บอุจจาระใส่ใน transport media :- Cary blair หรือ Amies หรือ Stuart หรือ Buffered glycerol saline solution (ซึ่งจะได้ผลดี หากต้องการแยกเชื้อ Shigella) Cary-Blair เป็นอาหารถนอมเชื้อ มีอายุ 5-8 เดือน หลังจากเตรียม ก่อนใช้ควรสังเกต หากมีการเปลี่ยนสี มีการหด ตัว ไม่ควรใช้ (เก็บได้ 4 สัปดาห์ การนำส่งไม่ควรแช่เย็น)

26 วิธีการเก็บอุจจาระ และ Rectal swab
ความสะอาดรอบทวารหนักด้วยสบู่และน้ำ แล้วใช้ไม้ swab ปราศจากเชื้อจุ่มใน Cary-Blair เพื่อให้สำลีติดน้ำยาและอ่อนตัวลดความเจ็บปวด สอดผ่านทวารหนัก ลึกเข้าไป 1 – 1.5 นิ้ว สังเกตว่า ต้องมีสีอุจจาระติดที่สำลี จุ่มลงใน transport media - กรณีตองการตรวจหาเชื้อ Vibrio cholerae O1 & O139 ถ้าส่งตัวอย่างได้ภายใน ชั่วโมง ให้เก็บตัวอย่างใส่ในอาหารเพิ่มจำนวนเชื้อ Alkaline peptone water จะทำให้ทราบผลการตรวจได้เร็วขึ้น         ตัวอย่างอุจจาระที่ส่งตรวจหาเชื้อ V.cholerae ไม่ต้องแช่เย็น

27 การเก็บอุจจาระ และ Rectal swab

28 วิธีการเก็บ swab จากมือหรือผิวหนัง
ใช้ Sterile swab ชุบ น้ำกลั่น หรือ NSS ป้ายบริเวณมือหรือผิวหนัง ในพื้นที่อย่าง น้อย 2 X 2 ตารางนิ้ว ใส่ Carry Blaire หรือ 2% Alkaline peptone water กรณี Nasal cavity ใช้เทคนิคเดียวกับ Nasal swab

29

30 วิธีการเก็บตัวอย่างจากสิ่งแวดล้อม
การ swab ภาชนะ และ อุปกรณ์ต่าง ๆ การเก็บตัวอย่างอาหารและน้ำที่สงสัย

31 การเก็บ swab ภาชนะและอุปกรณ์ประกอบอาหาร
2. นำไม้ swab จุ่มลงใน 0.9 % NSS หรืออาหาร เลี้ยงเชื้อชนิดน้ำ นำไปป้ายภาชนะ หรืออุปกรณ์ ที่จะตรวจให้ทั่ว 3. นำไม้ swab ที่ป้ายแล้วมาใส่ในอาหารเลี้ยงเชื้อ ชนิดที่เป็นน้ำ หรือใส่ลงใน Cary-Blair 4. เขียน เบอร์ ชนิดของภาชนะและอุปกรณ์ที่ทำการ swab 5. เขียนสถานที่เก็บ วัน เวลา และ ชื่อผู้เก็บตัวอย่าง ส่งไปห้องปฏิบัติการทันที

32 การเก็บ swab ภาชนะและอุปกรณ์ประกอบอาหาร
2. นำไม้ swab จุ่มลงใน 0.9 % NSS หรืออาหาร เลี้ยงเชื้อชนิดน้ำ นำไปป้ายภาชนะ หรืออุปกรณ์ ที่จะตรวจให้ทั่ว 3. นำไม้ swab ที่ป้ายแล้วมาใส่ในอาหารเลี้ยงเชื้อ ชนิดที่เป็นน้ำ หรือใส่ลงใน Cary-Blair 4. เขียน เบอร์ ชนิดของภาชนะและอุปกรณ์ที่ทำการ swab 5. เขียนสถานที่เก็บ วัน เวลา และ ชื่อผู้เก็บตัวอย่าง ส่งไปห้องปฏิบัติการทันที

33 การเก็บตัวอย่างอาหารและน้ำที่สงสัย
อุปกรณ์ สามารถใช้ถุงพลาสติกทนความร้อนที่ใหม่และสะอาด ขนาดประมาณ 6x9 นิ้ว ทดแทนขวดแก้วได้ เก็บน้ำ ปริมาตร มิลลิลิตร ไม่ควรเก็บปริมาตรน้อยจะทำให้ตรวจไม่พบเชื้อ อาหาร เก็บในปริมาณ กรัม กรณีอาหารให้เก็บเท่าที่มีอาหารเหลือได้ ใช้ยางรัดปากถุงให้แน่น ติดฉลากเขียนรายละเอียดสิ่งส่งตรวจ พร้อมสถานที่ วันที่เก็บและความเกี่ยวข้องกับการสอบสวนโรค หลังจากนั้นควรใส่ในถุงพลาสติกอีกชั้นหนึ่ง รัดให้แน่น เพื่อไม่ให้ตัวอย่างหก และป้องกันสลากเปียก ตัวหนังสือเลอะเลือนและหลุดลอก

34 การเก็บตัวอย่างอาหาร
การเก็บตัวอย่างน้ำ การเก็บตัวอย่างอาหาร

35 การเก็บตัวอย่างอาหารและน้ำที่สงสัย
การนำส่งตัวอย่างอาหารและน้ำ ต้องใส่ในภาชนะบรรจุน้ำแข็ง อุณหภูมิ 4-10°ซ เพื่อป้องกันอาหารเน่าเสีย รวมทั้ง ป้องกันเชื้อไม่ก่อโรค เพิ่มจำนวนมากกว่า เชื้อโรคที่ต้อง การจะตรวจ

36 Botulism วิธีการตรวจ กรณีสงสัยอาหารเป็นพิษจาก Toxin ของเชื้อ
Clostridium Botulinum วิธีการตรวจ ELISA (test kid จาก CDC) เพื่อตรวจหา Type ของ toxin 2. ตรวจเพาะเชื้อ Clostridium Botulinum และทดสอบโดยการฉีดหนู (Gold standard) :- Toxicity, Neutralization, LD50

37 Botulism ตัวอย่างส่งตรวจ 1. จากผู้ป่วย ควรเก็บก่อนให้ antitoxin
Serum อย่างน้อย 10 มล. อุจจาระ กรัม น้ำล้างกระเพาะ มล. อาเจียน มล. (น่าจะตรวจได้) 2. อาหารที่สงสัย กรัม

38 Botulism การเก็บและนำส่ง
ตัวอย่างทุกชนิด เก็บใส่ในภาชนะที่สะอาดปราศจากเชื้อ นำส่งโดยแช่เย็นที่อุณหภูมิ 4 0C ให้ถึงห้องปฏิบัติการ เร็วที่สุด/ ภายใน 24 ชม. และไม่ควรเกิน 3 วัน

39 ตับอักเสบ (Hepatitis)
ตรวจหาการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ A, B, C, D ชนิดตัวอย่างและข้อแนะนำ Serum เจาะเลือดจากเส้นเลือดดำอย่างน้อย 5 ซีซี ปั่นแยก นำส่งเฉพาะ Serum ที่อุณหภูมิ 4 0C 2. ตัวอย่างอุจจาระ อย่างน้อย 5 กรัม กรณีสงสัย Hepatitis A เก็บและนำส่งอุจจาระในภาชนะที่สะอาด ในสภาพแช่เย็นที่ อุณหภูมิ 4 0C ภายใน 24 ชั่วโมง 3. ตัวอย่างน้ำปริมาณ 1 ลิตร จำนวน 2 ขวด กรณีสงสัย Hepatitis A เก็บและนำส่งน้ำในภาชนะที่สะอาดในสภาพ แช่เย็นที่อุณหภูมิ 4 0C ภายใน 24 ชั่วโมง

40 มือ เท้า ปาก (Hand, Foot and Mouth Disease)
ชนิดตัวอย่างและข้อแนะนำ Throat swab ใส่ลงใน VTM สำหรับไวรัสระบบทาง เดินอาหาร นำส่งทันทีในภาชนะที่แช่เย็นอุณหภุมิ 4 0C ตัวอย่างอุจจาระ จำนวน 8 กรัม ( 2 นิ้วหัวแม่มือของผู้ใหญ่) เก็บและนำส่งอุจจาระในภาชนะที่สะอาด ในสภาพแช่เย็นที่อุณหภูมิ 4 0C ภายใน 24 ชั่วโมง 3. Serum เจาะเลือดจากเส้นเลือดดำอย่างน้อย 5 ซีซี ปั่นแยก นำส่งเฉพาะ Serum ที่อุณหภูมิ 4 0C โดยเก็บ Serum 2 ครั้ง ห่างกันอย่างน้อย 14 วัน

41 ตัวอย่างซีรั่มคู่ และการติดสติกเกอร์ ระบุชื่อผู้ป่วย
วันที่เก็บตัวอย่าง ครั้งที่เก็บ และเชื้อที่ต้องการตรวจ

42 ชนิดตัวอย่างและข้อแนะนำ
กลุ่มอาการกล้ามเนื้ออ่อนปวกเปียกอย่างเฉียบพลัน (Acute Flaccid Paralysis - AFP) ชนิดตัวอย่างและข้อแนะนำ ตัวอย่างอุจจาระ จำนวน 8 กรัม ( 2 นิ้วหัวแม่มือของ ผู้ใหญ่) เก็บและนำส่งอุจจาระในภาชนะที่สะอาด ต้องทำการเก็บ 2 ครั้ง ห่างกันอย่างน้อย 24 ชั่วโมง และเก็บภายใน 14 วันหลังมีอาการอัมพาต เก็บและนำส่งในสภาพแช่เย็นที่อุณหภูมิ 4 0 C นำส่งที่สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข

43 วัสดุเก็บตัวอย่างผู้ป่วยสงสัยโรคโปลิโอ (AFP) และเอนเทอโรไวรัสอื่นๆ

44 การเก็บตัวอย่างส่งตรวจ
โรคระบบทางเดินหายใจ

45 กลุ่มโรค ในระบบทางเดินหายใจ
กลุ่มโรคติดเชื้อไวรัส :- Influenza virus, Parainfluenza, Adenovirus, Respiratory syncytial virus, Mumps, Measles, Rubella, SARS กลุ่มโรคติดเชื้อแบคทีเรีย:- โรคคอตีบ (Diphtheria), โรคไอกรน (Pertussis), โรค Legionellosis, ไข้กาฬหลังแอ่น

46 สิ่งส่งตรวจกลุ่มโรคติดเชื้อไวรัส
1. ระบบทางเดินหายใจส่วนบน ได้แก่ Nasal swab Throat swab Nasopharyngeal swab/ wash/ aspiration 2. ระบบทางเดินหายใจส่วนล่าง ได้แก่ Bronchoalveolar lavage Tracheal aspirate 3. เลือด (Blood):- Paired sera เก็บ 2 ครั้งห่างกัน 14 วันกรณีไข้หวัดใหญ่ และกรณีส่งตรวจ SARS ต้องเก็บห่างกัน 21 วัน ขึ้นไป

47 โรคไข้หวัดใหญ่ (Influenza)
ชนิดของการตรวจ Rapid test สำหรับการตรวจเชื้อ Influenza A, B ผลิตขึ้นเพื่อใช้ตรวจข้างเตียงผู้ป่วย โดยเก็บตัวอย่าง TS หรือ NPS หรือ NS ตามคำแนะนำ และทดสอบตามขั้นตอนเฉพาะ ของแต่ละชุดทดสอบ การแยกเชื้อไวรัสและตรวจหา viral RNA จากNasopharyngeal aspiration/ Nasopharyngeal swab (NSP) / Throat swab (TS)/ Tracheal aspirate (TA)/ Bronchoalveolar lavage (BAL) ตรวจหาแอนติบอดี จาก Paired sera โดยเจาะเลือด 5 cc. ปั่นแยกซีรั่ม ใส่ในหลอดปราศจากเชื้อ เก็บครั้งแรกเมื่อพบผู้ป่วย และครั้งที่สองห่างจากครั้งแรก 14 วัน

48 อุปกรณ์ทำ Nasal swab สำหรับการตรวจด้วยวิธี rapid test

49 อุปกรณ์สำหรับเก็บส่งตรวจหาเชื้อไวรัส ระบบทางเดินหายใจ
NPS ใช้ Sterile Nasopharyngeal swab ที่ไม่มีสาร calcium alginate TS ใช้แบบ polyester-fiber swabs ต้องไม่มี calcium alginate VTM (Viral Transport Media) ที่ใช้สำหรับเชื้อไวรัสทางเดินหายใจ

50 ไข้หวัดใหญ่/ไข้หวัดนก และปอดอักเสบ
ชนิดตัวอย่างและข้อแนะนำ 1. Nasopharyngeal swab, Nasal swab, Throat swab เก็บตัวอย่าง ใส่ Viral Transpot Media (VTM) แช่เย็น 4 0C นำส่งภายใน 48 ชั่วโมง 2. Nasopharyngeal aspirate ดูดและใส่ใน VTM แช่เย็น 4 0C นำส่งภายใน 48 ชั่วโมง 3. Serum เจาะเลือดจากเส้นเลือดดำอย่างน้อย 5 ซีซี ปั่นแยก นำส่งเฉพาะ Serum ที่อุณหภูมิ 4 0C โดยเก็บ 2 ครั้ง ห่างกันอย่างน้อย 14 วัน 4. ควรเก็บในระยะเริ่มมีอาการและก่อนให้ยาต้านไวรัส

51 หัด (Measles) ชนิดตัวอย่างและข้อแนะนำ
1) Heparinized blood 3-5 มล. 2) Nasal swab หรือ Throat swab ข้อแนะนำและวิธีการเก็บตัวอย่าง 1) เจาะเลือดผู้ป่วยในระยะเริ่มป่วย ( ภายใน 24 ชั่วโมงแรก ที่พบผื่น ) ประมาณ 3-5 มล. ใส่หลอดไร้เชื้อ ที่บรรจุ Heparin เข้มข้น 1-2 IU ต่อเลือด 1 มล.ผสมให้เข้ากัน อย่างช้าๆ 2) เก็บ Nasal swab หรือ Throat swab ตามวิธีไร้เชื้อ แช่ ใน Transport Media*** ถ้าไม่สามารถนำส่งได้ในทันทีควรเก็บในตู้เย็น ที่ 4 o ซ และรีบนำส่งภายในเวลา 24 ช.ม

52 หัดเยอรมัน (German measles, Rubella)
ชนิดตัวอย่างและข้อแนะนำ 1. Throat swab เก็บตัวอย่างตามวิธีที่ได้ฝึกปฏิบัติ ใส่ VTM แช่เย็น 4 0C นำส่งภายใน 48 ชั่วโมง 2. เจาะเลือดจากเส้นเลือดดำอย่างน้อย 5 ซีซี ปั่นแยก นำส่งเฉพาะ Serum ที่อุณหภูมิ 40C โดยเก็บ Serum 2 ครั้ง ห่างกันอย่างน้อย 14 วัน

53 สุกใส (Chickenpox) ชนิดตัวอย่างและข้อแนะนำ
1. จากแผลที่เป็น Vesicular fluid - ทำความสะอาดตุ่มแผลด้วย 70 % Alcohol - ดูดน้ำ Vesicular fluid จากหลายๆ แผล หรือใช้ Lancet ทำ swab จากแผลและใส่ใน VTM แช่เย็น 4 0C นำส่งภายใน 48 ชั่วโมง 2. เจาะเลือดจากเส้นเลือดดำอย่างน้อย 5 ซีซี ปั่น แยก นำส่งเฉพาะ Serum ที่อุณหภูมิ 4 0C โดย เก็บ Serum 2 ครั้ง ห่างกันอย่างน้อย 14 วัน หมายเหตุ: ในการตรวจทางภูมิคุ้มกันวิทยา สำหรับบางโรค เช่น โรคสุกใส สามารถใช้ Serum เดี่ยว เพื่อตรวจหา IgM ได้

54 กลุ่มโรคติดเชื้อแบคทีเรีย
*ควรเก็บก่อนให้ยาปฏิชีวนะ* โรคคอตีบ (Diphtheria) ชนิดตัวอย่าง :- Throat swab ภาชนะ media ที่ใช้ และวิธีการนำส่ง 1) ถ้าส่งภายใน 2 ชม. ใส่ swab ในหลอดปราศจากเชื้อ ไม่ต้องแช่เย็น 2) ส่งภายใน 24 ชม.ให้ใส่ swab ใน Amies transport medium 3) ส่งนานกว่า 24 ชม.แต่ไม่เกิน 3 วัน ให้ใส่ swab ใน Silica gel transport medium 4) กรณี swab จากผู้สัมผัสให้ใส่ swab ใน liquid enrichment medium

55 โรคไอกรน (Pertussis) ชนิดตัวอย่าง 1) Nasopharyngeal Swab เก็บจากรูจมูกทั้ง 2 ข้าง 2) Blood ปั่นแยก serum เก็บ 2 ครั้ง ห่างกัน 14 วัน ข้อแนะนำวิธีการเก็บตัวอย่าง 1) เก็บตัวอย่างในระยะ Catarrhal phase (ผู้ป่วยมีอาการคล้ายไข้หวัด มีน้ำมูกมาก) จะพบเชื้อมากที่สุด 2) Nasopharyngeal swab ต้องใช้ชนิด calcium alginate swab วิธีการนำส่งตัวอย่าง : Nasopharyngeal swab 1) ภายใน 2 ชม. เก็บใส่ 1% Casamino acid (fatty acid-free solution) 2) ภายใน 24 ชม. เก็บใส่ Amies transport medium with charcoal 3) มากกว่า 24 ชม. เก็บใส่ Regan-Lowe transport medium 4) ห้ามแช่เย็น รีบนำส่งห้องปฏิบัติการ

56 โรค Legionellosis ชนิดตัวอย่าง และวิธีการนำส่งตัวอย่าง 1) Endotracheal aspirate, Trantracheal aspirate, และ Bronchoalveolar lavage ปริมาตร 2 มล. ใส่ในขวด cryotube เก็บและนำส่งในถังไนโตรเจนเหลว (-20 ถึง -70 oc) หรือ ชิ้นเนื้อ จากปอด(biopsy), ม้าม, ตับ, ไต (autopsy) 1-5 กรัม ใส่ในภาชนะ ปราศจากเชื้อ แช่ในกระติกน้ำแข็ง ส่งถึงปลายทางภายใน 5 วัน 2) เจาะเลือด 5 มล. ปั่นแยก serum โดยเก็บเป็น paired sera ห่างกัน วัน ครั้งละ 1 หลอดๆละไม่ต่ำกว่า 1 มล. ใส่ในหลอดปลอด เชื้อ พันด้วยพาราฟิลม์ให้แน่น เก็บและนำส่งโดยถังไนโตรเจนเหลว 3) เก็บปัสสาวะช่วงกลาง ไม่ต่ำกว่า 5 มล.(ต้องความสะอาดอวัยวะก่อน ปัสสาวะ) นำตัวอย่างเก็บที่ 4 oc นำส่งภายในกระติกน้ำแข็ง (ควร เก็บมากกว่า 1 ตัวอย่างต่อผู้ป่วย 1 คน) 4) น้ำจาก cooling tower ฝักบัว ก๊อกน้ำ แหล่งกักเก็บน้ำ ไม่น้อยกว่า 200 มล. แช่เย็นขณะเก็บและนำส่ง เก็บไว้ได้ไม่เกิน 7 วัน หากเก็บ Swab เพื่อการเพาะเชื้อ เก็บและนำส่งโดยถังไนโตรเจนเหลว

57 (Meningococcal meningitis)
ไข้กาฬหลังแอ่น (Meningococcal meningitis) ชนิดตัวอย่าง 1) ผู้ป่วยมีอาการของเยื่อหุ้มสมองอักเสบ ให้เก็บ ตัวอย่างน้ำไขสันหลัง อย่างน้อย 1.5 มล. หรือ เลือด มล. หรือ น้ำ และผิวหนังที่ผื่นเลือด หรือ Nasopharyngeal swab 2) ผู้ป่วยมีอาการของข้ออักเสบ (Arthritis) ให้เก็บ น้ำเจาะข้อ 3) ผู้ป่วยมีอาการของเยื่อบุตาขาวอักเสบ ให้เก็บ conjunctival swab จากตาทั้ง 2 ข้าง 4) ผู้ป่วยที่สงสัยว่าเป็น Meningococcol Septicemia ให้เก็บเลือด มล.

58 (Meningococcal meningitis)
ไข้กาฬหลังแอ่น (Meningococcal meningitis) ข้อแนะนำวิธีการเก็บตัวอย่าง 1) CSF และ น้ำเจาะข้อ ต้องเก็บโดยแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญเท่านั้น 2) เลือดที่เจาะได้ให้ดูดใส่ 40 มล. Brain heart infusion หรือ tryptic soy broth โดยใส่สาร anticoagulant ชนิดที่ไม่ใช่ sodium polyanethol sulfonate 3) น้ำและผิวหนังที่ผื่นเลือด ทำความสะอาดผิว ใช้เข็มฉีดน้ำเกลือ เข้าใต้ผื่นแล้วดูดออกเสียบปลอกเข็มไว้ ใช้มีดสะอาดขูดผิวเก็บ ใส่ขวด โดยหยดน้ำเกลือเล็กน้อย 4) Nasopharyngeal swab ใช้ calcium alginate swab 5) conjunctival swab ใช้ swab จุ่มน้ำเกลือป้ายบริเวณตาขาว โดยหมุนไปรอบ ๆ แล้วป้ายลง Chocolate agar ก่อนป้ายลง บนสไลด์ ทำเช่นเดียวกันกับตาอีกข้าง

59 Nasopharyngeal swab For Neisseria meningitidis

60 วิธีการนำส่งตัวอย่าง 1) CSF น้ำเจาะข้อ และเลือด ให้นำส่งทันที หรือส่ง
ภายใน 24 ชม. ใน candle jar ที่อุณหภูมิห้อง 2) น้ำและผิวหนังที่ผื่นเลือด นำส่งเข็มที่เจาะตัวอย่างไว้ และตัวอย่างผิวหนังทันที หรือป้ายลงบน Chocolate agar ส่งภายใน 24 ชม. ใน candle jar 3) Nasopharyngeal และ conjunctival swab ป้ายลง บน Chocolate agar ส่งทันที หรือ ภายใน 24 ชม. ให้บ่มใน candle jar ที่อุณหภูมิห้อง หรือตัดปลาย ลวดจุ่มลงในอาหาร Amies ส่งภายใน 2 ชม. และ ไม่ ควรเกิน 48 ชม. 4) ตัวอย่างทุกชนิดห้ามเก็บแช่เย็นและต้องไม่ปล่อยไว้ ให้แห้ง 5) ติดฉลากระบุ ชื่อผู้ป่วย อายุ เพศ เป็นผู้ป่วยหรือ ผู้ สัมผัส ชนิดตัวอย่าง และวันที่เก็บตัวอย่าง

61 กลุ่มโรคอื่น ๆ ที่พบบ่อย

62 ไข้สมองอักเสบ (Encephalitis)
ชนิดตัวอย่างและปริมาณ 1) น้ำไขสันหลัง (CSF) ปริมาณ 1-2 มิลลิลิตร 2) น้ำเหลืองปริมาณ 1-2 มิลลิลิตร หรือ เลือดในกระดาษซับเลือด มาตรฐาน โดยเก็บตัวอย่างสองครั้งตัวอย่างที่ 2 ห่างจากวันเริ่ม ป่วย 14 วัน ข้อแนะนำวิธีเก็บตัวอย่าง 1) การเก็บน้ำไขสันหลัง (CSF) เจาะหลังใส่ขวด หรือหลอดปลอด เชื้อปิดจุก และพันด้วยพาราฟิล์มหรือเทปให้แน่น ปิดฉลากเขียน ชื่อนามสกุลผู้ป่วย วันที่เจาะ และการตรวจทางน้ำเหลืองวิทยาที่ ต้องการ จากนั้นเก็บน้ำเหลืองดังกล่าวไว้ที่ 4oซ

63 ข้อแนะนำวิธีเก็บตัวอย่าง (ต่อ)
2) เก็บเลือดจากหลอดเลือดดำ เจาะเลือด ประมาณ 5 มล. ใส่ หลอดแก้วที่ปลอดเชื้อ ปั่นแยกเฉพาะน้ำเหลืองใส่ในหลอด ที่ปลอดเชื้อ ปิดจุกและพันด้วยพาราฟิลม์หรือ เทปให้แน่น ปิดฉลากเขียน ชื่อ นามสกุลผู้ป่วย วันที่เจาะเก็บเลือด และ การตรวจทางน้ำเหลืองวิทยาที่ต้องการ จากนั้นเก็บ น้ำเหลืองดังกล่าวไว้ที่ 4oซ หรือ ในช่องแช่แข็งของตู้เย็น รอจนได้ตัวอย่างที่ 2 แล้วจึงส่งพร้อมกัน 3) เก็บโดยใช้กระดาษซับเลือดมาตรฐาน เจาะเลือดจากปลาย นิ้วแตะเลือดบนกระดาษซับเลือดส่วน ก. หรือถ้าเจาะเลือด เพื่อการอื่นอยู่แล้วก็หยดเลือดลงบนกระดาษส่วน ก. ให้ เลือดซึมจนชุ่มทั้งด้านหน้าและด้านหลัง ทิ้งไว้ให้แห้งที่ อุณหภูมิห้อง รอจนได้ตัวอย่างที่ 2 แล้วจึงส่งพร้อมกัน

64 ไข้เลือดออก (DF, DHF, DSS)
น้ำเหลืองปริมาณ 1-2 มิลลิลิตร หรือ @ เลือดในกระดาษซับเลือดมาตรฐาน @ โดยเก็บตัวอย่าง 2-3 ครั้ง ครั้งที่ 1 วันที่เข้ารักษา ครั้งที่ 2 วันกลับบ้าน ถ้าน้อยกว่า 10 วัน ให้นัดมาเจาะครั้งที่ 3 หลังวันเริ่มป่วย วัน 1) เก็บเลือดจากหลอดเลือดดำ เจาะเลือดโดยวิธีการปลอดเชื้อ ประมาณ 5 มล. ใส่หลอดแก้ว ที่ปลอดเชื้อ ปั่นแยกเฉพาะน้ำเหลือง ใส่ในหลอดที่ปลอดเชื้อปิด จุกและพันด้วยพาราฟิล์มหรือเทปให้แน่น ปิดฉลากเขียนชื่อ นามสกุลผู้ป่วย วันที่เจาะเก็บเลือด จากนั้นเก็บน้ำเหลืองดังกล่าว ไว้ที่ 4oซ หรือในช่องแช่แข็งของตู้เย็นรอจนได้ตัวอย่างที่ 2 แล้ว จึงส่งพร้อมกัน

65 ไข้เลือดออก (DF, DHF, DSS)
2) เก็บโดยใช้กระดาษซับเลือดมาตรฐาน เจาะเลือดจากปลายนิ้ว แตะเลือดบนกระดาษซับเลือดส่วน ก หรือถ้าเจาะเลือดเพื่อการอื่นอยู่แล้วก็หยดเลือดลงบนกระดาษส่วน ก. ให้เลือดซึมจนชุ่มทั้งด้านหน้าและด้านหลัง ทิ้งไว้ให้แห้งที่อุณหภูมิห้อง กระดาษซับเลือด

66

67 ตาแดง (Haemorrhagic conjunctivitis)
ชนิดตัวอย่างและปริมาณ 1) ตัวอย่างสวอบตา ข้างละ 1 หลอด 2) ตัวอย่างเลือด เก็บเลือด 2 ครั้ง ครั้งละ 3-5 มล. ข้อแนะนำวิธีการเก็บตัวอย่าง 1) เก็บตัวอย่างสวอบตาโดยเร็วที่สุดภายใน 5 วันหลังป่วย โดยป้าย จากบริเวณเยื่อบุตาด้วยสวอบปราศจากเชื้อ หักใส่ในหลอดที่มี viral transport media ปิดฝาให้แน่น 2) เก็บเลือด 2 ครั้ง ครั้งแรกเก็บโดยเร็วที่สุดไม่เกิน 3 วันหลังป่วย ครั้งที่ 2 ห่างจากครั้งแรกไม่ต่ำกว่า 2 สัปดาห์ 3) ปิดฉลากบนหลอด แจ้งชื่อผู้ป่วย วันที่เก็บตัวอย่าง และชนิดของ ตัวอย่างให้ชัดเจน

68 ตาแดง (Haemorrhagic conjunctivitis)
วิธีการนำส่งตัวอย่าง 1) ใส่หลอดที่เก็บตัวอย่างลงในถุงพลาสติกแล้วรัดยางให้แน่น 2) แช่ลงในกระติกที่มีปริมาณน้ำแข็งมากเพียงพอจนถึงปลายทาง 3) ส่งตัวอย่างพร้อมประวัติผู้ป่วยซึ่งได้กรอกข้อมูลครบตาม แบบฟอร์มของห้องปฏิบัติการ พร้อมทั้งแจ้งชื่อ ที่อยู่ของผู้ ต้องการทราบผลการตรวจให้ชัดเจน 4) แจ้งวันเวลาที่ตัวอย่างจะถึงปลายทางให้ห้องปฏิบัติการทราบ ทางโทรสารหรือโทรศัพท์

69

70 การเก็บตัวอย่างทุกระบบอย่างละเอียดที่สุด การชันสูตรศพ
ผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงหรือเสียชีวิตเฉียบพลันโดยไม่ทราบสาเหตุ (Acute severity ill or death of unknown etiology) การเก็บตัวอย่างทุกระบบอย่างละเอียดที่สุด การชันสูตรศพ

71 + วิธีการเก็บถูกต้อง ภาชนะที่บรรจุตัวอย่าง ผลที่ถูกต้อง
โรคที่มีอาการคล้ายคลึงกันแต่ไม่สามารถระบุสาเหตุได้ (Cluster of diseases with unknown etiology) เน้นการสอบสวนเป็นหลัก และเก็บตัวอย่างทุกระบบ ครอบคลุมทุกกลุ่มโรค วิธีการเก็บถูกต้อง ภาชนะที่บรรจุตัวอย่าง + ผลที่ถูกต้อง การรักษาสภาพตัวอย่าง และ ขั้นตอนการนำส่ง “การประสานงาน”

72 การบรรจุ และ นำส่ง ไปที่ห้อง ปฏิบัติการ

73 + ...

74 1. ติดเทปพันให้รอบกล่อง
2. ติดเครื่องหมาย Biohazard (Diagnostic specimens)

75 สถานที่ส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการ
ผู้ส่ง ... ชื่อ-สกุล ที่อยู่ โทรศัพท์ ...ติดเครื่องหมาย... แช่เย็น, Diagnostic specimen วางตั้งเท่านั้น ระวังแตก ผู้รับ ... ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ (อาคาร 1) 88/7 ซอยโรงพยาบาลบำราศนราดูร ถนนติวานนท์ อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000 โทร ต่อ 99248

76 ศูนย์ประสานงานการตรวจวิเคราะห์และเฝ้าระวังโรคทางห้องปฏิบัติการ สวส.
ส่วนภูมิภาค ส่วนกลาง ศวพ.เชียงราย สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข (สวส.) ศวพ.เชียงใหม่ ศวพ.อุดรธานี ศวพ.พิษณุโลก ศวพ.นครสวรรค์ ศวพ.ขอนแก่น ศวพ.นครราชสีมา ศวพ.อุบลราชธานี ศวพ.สมุทรสงคราม ศวพ.ชลบุรี ศวพ.ตรัง ศวพ.สุราษฏร์ธานี ศวพ.สงขลา ศูนย์ประสานงานการตรวจวิเคราะห์และเฝ้าระวังโรคทางห้องปฏิบัติการ สวส. กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ โทร ต่อ ,

77 สวัสดี หากมีข้อสงสัย ในการปฏิบัติ สอบถามได้ที่
กลุ่มเฝ้าระวังสอบสวนทางระบาดวิทยา Tel , สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข Tel ต่อ 99248 สวัสดี


ดาวน์โหลด ppt การเก็บวัตถุตัวอย่าง และการตรวจทางห้องปฏิบัติการ

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google