งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

การวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "การวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 การวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)
รศ.ดร. โยธิน แสวงดี สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัย มหิดล

2 หลักเบื้องต้นของการวิจัยในเชิงคุณภาพ
การเชื่อในหลักปฏิฐานนิยม การเชื่อในหลักปรากฏการณ์นิยม การค้นหาความรู้ที่เป็นความจริง จากผู้รู้ที่รู้จริง (Key informants)ในประเด็นที่ค้นหาคำตอบ ข้อมูลที่ได้จึงเป็นเนื้อหา (Content) ที่เรียบเรียงเป็นร้อยแก้ว อาจเขียนในลักษณะของเรียงความ เรื่องเล่า ถอดเทปบทสนทนา เนื้อความจากเอกสาร จดหมายเหตุ ฯลฯ ภาพถ่าย แผนที่ วัตถุ ฯลฯ

3 หลักสำคัญในการวิจัยในเชิงคุณภาพ
เชื่อในความจริง (Reality) ที่ปรากฏและนักวิจัยเห็น อัตวิสัย (Subjectivity) แล้วอธิบายเป็นความรู้ (Knowledge) ที่ปรากฏ โดยนักวิจัยเป็นผู้ตีความ การมีความรู้ในทฤษฎีหลักที่ใช้เป็นฐานคิดในการวิจัยจะช่วยให้ตีความได้เร็วขึ้น การวิเคราะห์จะแม่นตรงมาก กระบวนการในการตีความเพื่อการวิเคราะห์เนื้อหา ต้องอ่านเนื้อความที่เป็นข้อมูลร้อยแก้ว บทถอดเทป ฯลฯ จากทุกแหล่งข้อมูลอย่างละเอียดและถี่ถ้วนจนตกผลึก (Internal validity)

4 หลักสำคัญในการวิจัยในเชิงคุณภาพ
และต้องตรวจสอบกับข้อมูลที่ได้จากแหล่งอื่นๆ เช่น วรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง งานวิจัยที่ผ่านมา (External validity) ว่าเนื้อความที่ได้ คล้าย สอดคล้องหรือแตกต่างอย่างไร หากแตกต่างต้องแยกประเด็นออกมา แล้ววิเคราะห์ว่าเพราะอะไร เช่น เวลาเปลี่ยนแปลง ทัศนคติเปลี่ยน ค่านิยมเปลี่ยน (ไม่ใช่ความแตกต่างของผู้ให้ข้อมูล เพราะถือว่าไม่มีความแตกต่างเนื่องจากทุกอย่างได้มาตามหลักระเบียบวิธีวิจัยแล้ว)

5 กระบวนการในการตีความเพื่อการวิเคราะห์เนื้อหา
Thesis  Synthesis  Antithesis Thesis คือ ทฤษฎี หรือองค์ความรู้หลักที่ใช้เป็นฐานในการพิสูจน์ Synthesis คือ ขั้นตอน การสังเคราะห์ วิเคราะห์ คิดและตีความ Antithesis คือ ขั้นตอนการสรุปผลที่ได้ว่าขัดแย้งหรือสอดคล้องกับทฤษฎี (หากเป็นการตรวจสอบทฤษฎีจะได้ผลยืนยันทฤษฎี)

6 หลักสำคัญในการตีความ (Content Analysis)
นฤมิตนิยม (Constructionism) ให้ความสำคัญกับความคิดรวบยอดที่สรุปออกมาว่ามีเนื้อหาที่สำคัญที่สุดจากประเด็นที่ปรากฏอย่างไรบ้าง ในการแยกประเด็น อาจจำแนกเป็นข้อๆตามเนื้อหา นัยนิยม (Interpretivism) การตีความตามความจริงที่คาดว่ามีนัยยะ หรือส่อเค้าว่าจะเป็นอย่างที่ให้เนื้อความไว้ เช่น ตามทฤษฎีคนอ้วนมีโอกาสเป็นโรคหัวใจหลอดเลือดสูง ดังนั้นในการตีความจะพิจารณาถึง นัยยะที่ส่อเค้าคือความอ้วน “ในชุมชนล้วนมีแต่คนอ้วน หลายคนชอบกินของมันๆ เช่นเครื่องในสัตว์ มันเป็นความชอบของคนพื้นเพนี้ จะแก้ไม่ให้กินเลยคงไม่ได้”

7 หลักสำคัญในการตีความ (Content Analysis)
สัญญนิยม (Phenomenology) เป็นเนื้อความที่ให้ความหมายไปในทางที่เป็นสัญญาณหรือปรากฏการณ์ว่าน่าจะตีความไปตามที่เห็นหรือที่ปรากฏนั้น ยกตัวอย่างเช่น ตามทฤษฎีว่าด้วยการป่วยเป็นโรคเอดส์ อาการจะได้แก่ มีตุ่มดำที่คอ ลำตัว แขน ฯลฯ รูปร่างผอม ตัวดำคล้ำ มีสะเก็ดเงินหลุดล่วง ฯลฯ

8 การตีความ (Interpretation)
ในข้อมูลที่เป็นร้อยแก้วเขียนว่า “ผู้ชายวัยแรงงานที่มาโรงพยาบาลช่วงนี้ส่วนมากที่คอจะมีตุ่มดำคล้ำ ตัวผอมมากๆเลย แต่ละคนที่แขนจะมีอะไรก็ไม่รู้ร่วงเหมือนสะเก็ดรังแคสีขาวๆ เหมือนคนไม่สบายมากๆเลย..... บางคนเวลาพูดเราแอบเห็นลิ้นเขาเป็นสีขาวๆ นั่งเดี๋ยวหลับ เดี๋ยวลุก เดินเหมือนคนไม่มีแรง ถ่มถุยเสมหะตลอด... .” เนื้อความนี้คือสัญญาณที่ส่อว่าน่าจะเป็นผู้ป่วยโรคเอดส์

9 การตีความ (Interpretation)
ควรมีการเขียนแผนผัง (Diagram) เพื่อช่วยในการตีความและวิเคราะห์ ขั้นตอนนี้จะเริ่มทำเมื่อคิดว่าอ่านข้อมูลที่ได้จนตกผลึก ค้นพบว่าข้อมูลนิ่ง ไม่มีอะไรใหม่ปรากฏขึ้นมาอีก อ่านแล้วพบว่าเนื้อหาที่ได้วนไปวนมาซ้ำอยู่กับที่ จึงวาดแผนผังขึ้นมาเพื่อช่วยในการเขียน ตัวอย่างแผนผังเช่น ลักษณะครัวเรือน  ความเชื่อ  การใช้ยาเม็ดคุมกำเนิด

10 การตีความ (Interpretation)
ลักษณะหมู่บ้าน  ความเชื่อ  การเคารพผู้วิเศษ การรักษาแผนโบราณ การไม่ยอมรับแผนใหม่

11 การตีความ (Interpretation)
ในการวิเคราะห์และตีความต้องนำความรู้จากทฤษฎี วรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนงานวิจัยที่ผ่านมา มาร่วมพิจารณาด้วยทุกครั้ง โดยต้องเขียนผสมผสานเข้าด้วยกันในลักษณะการอ้างอิงและระบุเชิงอรรถ เช่น ใช้คำว่า สอดคล้องกับ คล้ายกับ ขัดแย้งกับ ตอบโต้กับ ฯลฯ หากไม่มีการนำทฤษฎี วรรณกรรมที่เกี่ยวข้องและงานวิจัยที่ผ่านมา มาร่วมบรรยายในลักษณะข้างต้น ผลการวิเคราะห์ในเชิงการบรรยายจะเหมือนกับเรื่องเล่า เป็นการบรรยายข้อมูลที่ขาดการวิเคราะห์และตีความรายงานจะไม่มีคุณค่า


ดาวน์โหลด ppt การวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google