งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

ภูมิปัญญาท้องถิ่นในการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "ภูมิปัญญาท้องถิ่นในการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 ภูมิปัญญาท้องถิ่นในการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
โดยการอนุรักษ์และฟื้นฟูป่าไม้ และต้นน้ำลำธาร ของชุมชนสะเอียบ ตำบลสะเอียบ อำเภอสอง จังหวัดแพร่

2 พื้นที่ดำเนินการโครงการการอนุรักษ์และฟื้นฟูป่าไม้ และต้นน้ำ ลำธารของชุมชนตำบลสะเอียบ อำเภอสอง จังหวัดแพร่

3 ความเป็นมา/สภาพปัญหา
วิกฤติการณ์น้ำท่วมและดินถล่ม ในอดีตที่ผ่านมามีตัวชี้วัดที่สำคัญที่แสดงให้เห็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดวิกฤติการณ์ดังกล่าว อันได้แก่ พื้นที่ป่าไม้ถูกทำลาย สาเหตุสำคัญเนื่องมาจากการบุกรุกพื้นที่ป่าไม้ เพื่อทำการเกษตรทำให้สภาพป่าไม้ลดลงก่อให้เกิดผลกระทบสภาวะธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เสียสมดุลของนิเวศวิทยา หน้าดินไม่สามารถซึมซับน้ำไว้ได้ ทำให้น้ำไหลบ่าอย่างรวดเร็ว หน้าดินถูกซะล้างทำให้ดินพังทลาย จนมีสภาพเป็นดินดานและเกิดตะกอนสะสมในแม่น้ำ จนลำธารตื้นเขิน นอกจากนี้ ชาวบ้านเริ่มสังเกตว่าการจับปลาได้น้อย เมื่อเทียบกับในอดีต หลังจากตั้งกลุ่มราษฎรรักษ์ป่าขึ้นมาเราได้อนุรักษ์แหล่งขยายพันธ์ปลาในแม่น้ำยมหนึ่งแห่งในพื้นที่ชุมชน ทำให้เริ่มจับปลาได้มากบ้างแล้ว

4 วัตถุประสงค์ เพื่อรักษาระบบนิเวศน์และความหลากหลายทางชีวภาพ ของพื้นป่าต้นน้ำยม เพื่อรักษาประเพณีวัฒนธรรมของชุมชน (โดยนำความเชื่อว่าป่าและน้ำเป็นที่สิงสถิตของสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทำให้เกิดภัยพิบัติถ้าหากมนุษย์ทำลายธรรมชาติ เช่น น้ำท่วม ดินถล่ม เป็นต้น)

5 พื้นที่ดำเนินการ/สมาชิกกลุ่ม
จากการประชุมคณะกรรมการหมู่บ้านเมื่อปี 2532 หลังจากที่พายุเกย์พัดถล่มที่จังหวัดชุมพรและรัฐบาลได้ประกาศยกเลิกป่าสัมปทานทั่วประเทศ เราจึงได้เล็งเห็นความสำคัญของป่าไม้ที่เป็นแหล่งกำเนิดของต้นน้ำ ที่ริเริ่มจาก 4 หมู่บ้านคือหมู่ 1 บ้านดอนชัย หมู่ 5 บ้านแม่เต้น หมู่ 6 บ้านดอนแก้ว และหมู่ 9 บ้านดอนชัยสักทอง ต.สะเอียบ อ.สอง จ.แพร่ จึงได้จัดตั้งกลุ่มราษฎรรักษ์ป่า ซึ่งมีจำนวนคณะกรรมการทั้งหมด คน โดยคัดเลือกจากชุมชน และแบ่งเขตพื้นที่รับผิดชอบ ใช้กฎระเบียบของชุมชน และจัดตั้งกองทุนราษฎรรักษาป่า โดยมีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเข้ามามีส่วนร่วม

6 หลัก/วิธีดำเนินการ การนำความเชื่อว่าบริเวณป่าต้นน้ำยมเป็นที่สิงสถิตของสิ่งศักดิ์สิทธิ์ หรือมีเจ้าที่ จึงทำให้มีความคิดที่จะทำอะไรเพื่อให้เกิดสิริมงคลกับป่าและแม่น้ำลำธาร จึงได้นำประเพณี วัฒนธรรม ที่เป็นความเชื่อของชาวบ้านมาเป็นจุดศูนย์รวม ของชุมชน เพื่อรวมพลังในการอนุรักษ์และพื้นฟูป่าต้นน้ำและเพื่อการอนุรักษ์สัตว์น้ำ โดยดำเนินการ การปลูกป่า/บวชป่า การสืบชะตาแม่น้ำ การเลี้ยงผีฝาย การสร้างฝายต้นน้ำเพื่อการอนุรักษ์และ พื้นฟูป่าต้นน้ำ / การอนุรักษ์พันธุ์ปลา

7 การปลูกป่าเฉลิมพระเกียรติเนื่องในวันสำคัญของทุกปีเพื่อฟื้นฟูสภาพป่า
ผลการดำเนินการของกลุ่มราษฎรรักษ์ป่า การปลูกป่าเฉลิมพระเกียรติเนื่องในวันสำคัญของทุกปีเพื่อฟื้นฟูสภาพป่า

8 การบวชป่า เพื่อให้เกิดความเกรงกลัวต่อบาปและปลูกจิตสำนึกในการรักต้นไม้ให้กับเยาวชนรุ่นหลัง

9 การสร้างฝายต้นน้ำ

10 การสืบชะตาแม่น้ำยมเพื่อปลูกจิตสำนึก รู้จักคุณค่า ของแม่น้ำที่ให้กำเนิดกับวิถีชีวิตคน

11 ผลจากการดำเนินการของกลุ่มราษฎรรักษ์ป่า
ทำให้คนไม่กล้าจะทำลายป่า/แม่น้ำลำธาร จึงทำให้เกิดแนวร่วมในการอนุรักษ์ป่าต้นน้ำโดยชาวบ้านเห็นประโยชน์ของป่าไม้และแม่น้ำที่มีคุณค่ามหาศาล เพราะทุกคนต้องอาศัยป่าและน้ำ จึงไม่กล้าทำสิ่งไม่ดีกับป่าและแม่น้ำ ***************************************


ดาวน์โหลด ppt ภูมิปัญญาท้องถิ่นในการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google