งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

วิธีการตรวจสอบ Content Validity

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "วิธีการตรวจสอบ Content Validity"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 วิธีการตรวจสอบ Content Validity
ต้องการตรวจสอบความเที่ยงตรงตามเนื้อหาของข้อสอบ ตรวจสอบความสอดคล้องของข้อสอบกับประชากรเนื้อหาข้อสอบ ตรวจสอบความสอดคล้องของเนื้อหาข้อสอบกับเนื้อหาที่ระบุไว้ในตารางการวิเคราะห์หลักสูตร รวมทั้งตรวจสอบสัดส่วนของจำนวน ข้อคำถามในแต่ละเนื้อหา การตรวจสอบโดยใช้ดุลยพินิจของผู้เชี่ยวชาญหรือผู้รอบรู้เฉพาะเรื่องตรวจสอบว่าข้อสอบดังกล่าวครอบคลุมประเด็นที่ควรถามหรือไม่ ดร.ณัชชา มหปุญญานนท์ บรรยาย ณ สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 12 สงขลา

2 ดร.ณัชชา มหปุญญานนท์ บรรยาย ณ สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 12 สงขลา
Construct Validity คือความสอดคล้องระหว่างลักษณะพฤติกรรมที่เป็นโครงสร้างของคำถามกับพฤติกรรมโครงสร้างเป้าหมายของสิ่งที่ต้องการจะวัด ผู้วิจัยต้องทำการศึกษานิยามและความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรต่างๆตามทฤษฎีให้เข้าใจเสียก่อนในเบื้องต้น ดร.ณัชชา มหปุญญานนท์ บรรยาย ณ สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 12 สงขลา

3 การหา Construct Validity
สามารถทำได้หลายวิธี เช่น การตรวจสอบโดยอาศัยดุลยพินิจของผู้เชี่ยวชาญหรือผู้รอบรู้เฉพาะเรื่อง เรียกว่าการหา face validity การใช้วิธีวิเคราะห์องค์ประกอบ (factor analysis) เป็นการนำวิธีทางคณิตศาสตร์มาวิเคราะห์ว่าเครื่องมือที่สร้างขึ้นมีส่วนประกอบอะไรบ้าง อย่างละเท่าไร เป็นการแสดงโครงสร้างของเครื่องมือนั่นเอง การตรวจสอบความสัมพันธ์ระหว่างเครื่องมือที่สร้างขึ้นกับแบบทดสอบมาตรฐาน โดยใช้ค่าสหสัมพันธ์ของเพียรสัน หรือสหสัมพันธ์อื่นๆตามความเหมาะสม ดร.ณัชชา มหปุญญานนท์ บรรยาย ณ สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 12 สงขลา

4 Content and Construct Validity
การตรวจสอบความเที่ยงตรงของเนื้อหาและโครงสร้างโดยอาศัยดุลยพินิจของผู้เชี่ยวชาญนั้นในทางปฏิบัติสามารถตรวจสอบไปพร้อมๆกันได้ และสามารถวิเคราะห์ออกมาในเชิงปริมาณหรือตัวเลขได้ ดร.ณัชชา มหปุญญานนท์ บรรยาย ณ สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 12 สงขลา

5 Criterion-related Validity
เป็นการพิจารณาจากพฤติกรรมของบุคคลที่ถูกทดสอบเป็นหลัก โดยอาศัยเวลาเป็นเกณฑ์บ่งชี้ความเที่ยงตรง แบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ ความเที่ยงตรงตามสภาพ (concurrent validity) เป็นความสอดคล้องของผลการวัดจากเครื่องมือที่สร้างขึ้นกับสภาพความเป็นจริงขณะนั้น เช่นการสร้างเครื่องวัดความรู้ด้านการรักษาสุขภาพ (การบริโภคอาหาร การออกกำลังกาย ฯลฯ) หากผู้ที่ได้คะแนนจากการทดสอบนี้สูงเป็นผู้ที่ปฏิบัติตนในเรื่องการรักษาสุขภาพดี ส่วนผู้ที่ได้คะแนนต่ำเป็นผู้ที่มีการปฏิบัติตัวไม่ถูกต้องแสดงว่าเครื่องมือวิจัยนี้มีความเที่ยงตรงตามสภาพสูง ดร.ณัชชา มหปุญญานนท์ บรรยาย ณ สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 12 สงขลา


ดาวน์โหลด ppt วิธีการตรวจสอบ Content Validity

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google