งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

ไขก๊อกสินเชื่อบ้าน ยื่นขออย่างไรผ่านฉลุย

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "ไขก๊อกสินเชื่อบ้าน ยื่นขออย่างไรผ่านฉลุย"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 ไขก๊อกสินเชื่อบ้าน ยื่นขออย่างไรผ่านฉลุย
วันพุธที่ 16 กันยายน 2552 คุณชาติชาย พยุหนาวีชัย ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ สายงานธุรกิจลูกค้าบุคคลและเครือข่ายบริการ บมจ. ธนาคารกสิกรไทย

2 หัวข้อการนำเสนอ แนวโน้มเศรษฐกิจไทยปี 2552 แนวโน้มอัตราดอกเบี้ยนโยบาย
วิธีการตรวจสอบกำลังซื้อ (เบื้องต้น) ... ด้วยตัวคุณเอง การเลือกแหล่งเงินกู้ ... ต้องดูตัวเองเป็นหลัก หลักเกณฑ์สำคัญที่ธนาคารพิจารณาในการอนุมัติสินเชื่อรายย่อย เหตุผลหลักๆ ที่ทำให้ลูกค้ารายย่อยไม่ได้รับอนุมัติ และแนวทางแก้ไข การเตรียมตัวของผู้ประกอบการเพื่อช่วยลูกค้าในการขอสินเชื่อ ปัญหาเรื่อง “เครดิตบูโร” แนวทางในการตัดสินใจเลือกสินเชื่อที่อยู่อาศัยให้ลูกค้า

3 แนวโน้มเศรษฐกิจไทยปี 2552
ประมาณการณ์เศรษฐกิจไทยปี 2552 เศรษฐกิจในช่วงครึ่งปีหลังก็ยังอยู่ภายใต้ปัจจัย ความไม่แน่นอนหลายด้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง : ความต่อเนื่องของการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก ในอีกด้านหนึ่งก็อาจเป็นตัวเร่งเงินเฟ้อ หากราคาสินค้าโภคภัณฑ์ปรับตัวสูงขึ้นรวดเร็วกว่าอุปสงค์ที่แท้จริง ความรุนแรงของการแพร่ระบาดของไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 สถานการณ์การเมืองภายในประเทศและเสถียรภาพของรัฐบาล ปัญหาความตึงเครียดทางภูมิรัฐศาสตร์ในหลายภูมิภาค เช่น อิหร่าน เกาหลีเหนือ หรือความไม่สงบในไนจีเรีย ซึ่งอาจจะส่งผลให้ราคาน้ำมันทะยานสูงขึ้น ภาคการส่งออกอาจได้รับแรงกดดันจากทิศทางค่าเงินบาทของไทย ซึ่งอาจยังคงมีแรงหนุนให้อยู่ในระดับที่แข็งค่า เนื่องจากไทยยังมีแนวโน้มเกินดุลบัญชีเดินสะพัดและมีแนวโน้มเงินทุนไหลเข้าในช่วงครึ่งปีหลัง จึงคาดว่า เศรษฐกิจไทยในช่วงครึ่งหลังของปี 2552 น่าจะมีทิศทางปรับตัวดีขึ้นกว่าในช่วงครึ่งแรก โดยคาดว่า : ในไตรมาสที่ 3/2552 จีดีพีอาจจะหดตัวอยู่ระหว่างร้อยละ 4.5 และอาจจะเริ่มขยายตัวเป็นบวกในช่วงไตรมาสที่ 4/2552 ถ้าเศรษฐกิจมีการฟื้นตัวได้อย่างต่อเนื่อง ในครึ่งหลังของปี 2552 จีดีพีอาจจะหดตัวอยู่ระหว่างร้อยละ 1.0 จากที่หดตัวร้อยละ 6.0 ในช่วงครึ่งปีแรก ส่งผลให้กรอบประมาณการอัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยตลอดทั้งปีปรับขึ้นมาเป็นหดตัวร้อยละ 3.5 ถึงร้อยละ 5.0

4 แนวโน้มอัตราดอกเบี้ยนโยบาย : วัฏจักรดอกเบี้ยนโยบายขาลงสิ้นสุดแล้ว ณ ขณะนี้
เริ่มต้นขึ้นในช่วงเดือนธันวาคม 2551 ด้วยการปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงถึง 1.00% (จากระดับ 3.75% สู่ 2.75%) ต่อเนื่องด้วยการลดขนาดของการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงในการประชุม 3 รอบถัดมา โดยกนง.ปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลง 0.75%, 0.50% และ 0.25% ในการประชุมเดือนม.ค., ก.พ. และ เม.ย ตามลำดับ ล่าสุดเมื่อวันที่ 26 สิงหาคม 2552 กนง. ยังมีมติคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 1.25% อย่างต่อเนื่องในการประชุม 3 รอบที่ผ่านมา โดยมองว่า อัตราดอกเบี้ยที่อยู่ในเกณฑ์ที่ต่ำที่จะช่วยสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ ซึ่งเป็นระดับอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ต่ำที่สุดนับตั้งแต่ ธปท.เริ่มดำเนินนโยบายการเงินภายใต้กรอบเป้าหมายเงินเฟ้อในเดือนพฤษภาคม 2543

5 แนวโน้มอัตราดอกเบี้ยนโยบาย : ธนาคารกลางในประเทศอื่นๆ
ในขณะที่เฟดน่าจะเริ่มปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย Fed Funds ในช่วงปลาย 3Q53 การกลับสู่ระดับปกติของอัตราดอกเบี้ยนโยบายของธนาคารกลางยุโรปและธนาคารกลางญี่ปุ่นนั้น จะใช้เวลานานกว่า อัตราดอกเบี้ยนโยบายของธนาคารกลางแกนหลักของโลก และ ธปท. สำหรับ ธปท. คาดว่า อัตราดอกเบี้ยนโยบายจะทยอยถูกปรับขึ้นในเวลาที่ใกล้เคียงกับเฟด และเข้าหาระดับ % ในปี 2555 Most Likely Case ที่มา: ศูนย์วิจัยกสิกรไทย

6 จังหวะเวลาของการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยรอบถัดไปจะเกิดขึ้นเมื่อใด ?
คำตอบนี้ ขึ้นอยู่กับแนวโน้มการฟื้นตัวอย่างต่อเนื่องของเศรษฐกิจไทย ตลอดจนแรงกดดันเงินเฟ้อที่อาจตามมาอย่างชัดเจนในช่วงเวลานั้นเป็นหลัก โดยคาดว่ากนง.น่าที่จะคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ในระดับปัจจุบันที่ร้อยละ 1.25 ในช่วงที่เหลือของปี 2552 และอาจต่อเนื่องในช่วงครึ่งแรกของปี 2553 โดยกระแสการคาดการณ์ต่อวัฏจักรขาขึ้นของอัตราดอกเบี้ยนโยบายอาจมีความชัดเจนมากขึ้นในช่วงปลายปีนี้ถึงต้นปีหน้า แต่อย่างไรก็ดี คาดว่าอัตราดอกเบี้ยของธนาคารพาณิชย์คงจะทยอยเข้าสู่รอบของวัฏจักรขาขึ้นก่อนอัตราดอกเบี้ยนโยบายของธปท. ตามภาวะสภาพคล่องของสถาบันการเงินที่จะต้องเผชิญกับผลิตภัณฑ์ทางเลือกในการออมประเภทอื่นๆ ที่ให้อัตราผลตอบแทนที่น่าดึงดูดใจมากกว่าอัตราดอกเบี้ยเงินฝาก กิจกรรมทางเศรษฐกิจอาจมีความแข็งแกร่งมากขึ้นในระยะถัดไป ก็อาจทำให้การปล่อยสินเชื่อของธนาคารพาณิชย์พลิกกลับมาขยายตัวอีกครั้งหนึ่ง

7 วิธีการตรวจสอบกำลังซื้อ (เบื้องต้น) ... ด้วยตัวคุณเอง
ประเมินกำลังซื้อจากราคาบ้านที่จะซื้อ เริ่มจากการสำรวจเงินออมว่าเพียงพอสำหรับการจ่ายเงินดาวน์หรือไม่ และที่เหลือต้องขอกู้จากธนาคารจำนวนเท่าใด โดยทั่วไปสถาบันการเงินจะให้กู้ได้สูงสุดไม่เกิน 40% ของรายได้ หากวงเงินผ่อนชำระสูงเกินกว่า 40% ของรายได้ ผู้กู้อาจต้องหาผู้กู้ร่วม หรือจ่ายดาวน์ให้มากกว่าเดิม หรือเพิ่มระยะเวลาการกู้ให้นานขึ้น เพื่อให้เงินงวดที่ผ่อนชำระลดลงจนเพียงพอกับความสามารถในการชำระหนี้ของผู้กู้ ประเมินกำลังซื้อจากรายได้ของผู้ซื้อ วิธีนี้จะทำให้ทราบว่ารายได้เท่านี้จะสามารถซื้อบ้านได้ในระดับราคาใด ตัวอย่าง นายก. มีรายได้ประจำเดือนละ 20,000 บาท นายก.จะสามารถกู้เงินได้ในวงเงินประมาณ 1,000,000 บาท (40% ของรายได้) ซึ่งหากอัตราดอกเบี้ยอยู่ที่ 6.0% - 7.0% จะต้องผ่อนชำระเดือนละ 7, ,000 บาท ในระยะเวลา 20 ปี

8 การเลือกแหล่งเงินกู้ ... ต้องดูตัวเองเป็นหลัก
ผู้กู้ควรศึกษารายละเอียดและเงื่อนไขของแต่ละสถาบันการเงินให้รอบคอบ โดยเฉพาะในเรื่องของอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ที่มีหลากหลายรูปแบบ ทั้งแบบคงที่และลอยตัว หากต้องการความมั่นใจว่าจะไม่รับผลกระทบจากการขึ้น – ลงของอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ การเลือกใช้อัตราดอกเบี้ยคงที่จะทำให้ผู้กู้สามารถวางแผนการชำระเงินค่าบ้านได้อย่างชัดเจน (จะเลือกในช่วงดอกเบี้ยขาขึ้น) แต่หากคิดว่าในอนาคตดอกเบี้ยมีแนวโน้มเปลี่ยนแปลงลดลงต่ำกว่าอัตราดอกเบี้ยคงที่ในปัจจุบัน ก็สามารถเลือกใช้อัตราดอกเบี้ยแบบลอยตัวได้ (จะเลือกในช่วงดอกเบี้ยขาลง) ผู้กู้ควรคำนึงถึงความต้องการและเงื่อนไขความจำเป็นของตัวเองเป็นหลัก จากนั้นค่อยดูว่าข้อเสนอของสถาบันการเงินใดที่ตรงกับเงื่อนไขที่ตั้งไว้ให้มากที่สุด ก็น่าจะช่วยทำให้ตัดสินใจได้ง่ายขึ้น

9 หลักเกณฑ์สำคัญที่ธนาคารพิจารณาในการอนุมัติสินเชื่อรายย่อย (1/4)
มีคุณสมบัติพื้นฐานตามที่ธนาคารกำหนด อาทิ อายุ ไม่มาก - น้อยจนเกินไป เป็นผู้ที่มีรายได้มั่นคง แน่นอน มีรายการเดินบัญชีสม่ำเสมอ ต้องไม่มีประวัติเสียในระบบ Credit Bureau ต้องไม่เป็นลูกหนี้ NPL กับสถาบันการเงินใดๆ ต้องไม่อยู่ในกลุ่มที่ไม่พึงประสงค์ (Blacklist) ของธนาคาร อาทิ ประกอบธุรกิจโรงแรมม่านรูด, อาบอบนวด, อาชีพติดตามตัวยาก, พวกที่มีอิทธิพล และ อาชีพที่ผิดศีลธรรม เป็นต้น พิสูจน์ได้ว่ามีรายได้แน่นอน สามารถจ่ายชำระหนี้ได้ กรณีเป็นผู้มีรายได้ประจำ: แสดงเอกสารทางการเงิน อาทิ หนังสือรับรองเงินเดือน หรือ Slip เงินเดือน กรณีเป็นผู้มีอาชีพอิสระ: แสดงเอกสารการเดินบัญชีผ่าน Statement ที่ดี มีที่อยู่อาศัยและที่ทำงานเป็นหลักแหล่งแน่นอน สามารถติดตามตัวได้

10 หลักเกณฑ์สำคัญที่ธนาคารพิจารณาในการอนุมัติสินเชื่อรายย่อย (2/4)
“หากประกอบอาชีพอิสระ รายได้ไม่แน่นอนจะขอกู้ซื้อบ้านได้หรือไม่ ?” ตัวอย่างของ “อาชีพอิสระ” ได้แก่ งานขายตรง ดารา นักแสดง นักร้อง นายหน้า นายประกัน ร้านค้าแผงลอย / ร้านขายก๋วยเตี๋ยวข้างทาง / ร้าค้าโชห่วย ฯลฯ แนวทางในการกู้ให้ผ่าน: ต้องแสดงให้ธนาคารเห็นถึงรายได้ที่แท้จริงให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ และควรเป็นรายได้ที่สม่ำเสมอด้วย ต้องแสดงเอกสารแสดงรายได้ อาทิ หนังสือ 50 ทวิ หรือ รายการเดินบัญชี Statement ที่มีรายได้เข้า – ออกอย่างสม่ำเสมอ ต้องแสดงฐานะ และทรัพย์สินที่มั่นคง เช่น บัญชีเงินฝาก, โฉนดปลอดภาระ, รถยนต์ปลอดภาระ หรือทรัพย์สินอื่นๆ เป็นต้น

11 หลักเกณฑ์สำคัญที่ธนาคารพิจารณาในการอนุมัติสินเชื่อรายย่อย (3/4)
เอกสาร / หลักฐานที่สำคัญประกอบการขอกู้สินเชื่อบ้าน: สำเนาบัตรประชาชน / สำเนาบัตรประจำตัวข้าราชการ สำเนาทะเบียนบ้าน สำเนาใบเปลี่ยนชื่อ – นามสกุล สำเนาทะเบียนสมรส / หย่า / ใบมรณะบัตร (กรณีหม้าย) ใบแจ้งความ สำเนาใบต่างด้าว (กรณีผู้ขอกู้เป็นชาวต่างชาติ) กรณีผู้ขอกู้มีรายได้ประจำจากเงินเดือน หนังสือรับรองเงินเดือน (ฉบับจริง) ไม่เกิน 3 เดือน สลิปเงินเดือน (ฉบับจริง) สำเนา Statement ย้อนหลัง 6 เดือน กรณีผู้ขอกู้เป็นผู้ประกอบธุรกิจ สำเนา Statement ย้อนหลัง 6 เดือน สำเนาใบทะเบียนการค้า / ทะเบียนพาณิชย์ สำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล อายุไม่เกิน 6 เดือน สำเนาหนังสือบริคนธ์สนธิ สำเนาใบประกอบแสดงรายการผู้ถือหุ้น (บอจ.5) สำเนาใบแสดงรายการชำระค่าภาษี

12 หลักเกณฑ์สำคัญที่ธนาคารพิจารณาในการอนุมัติสินเชื่อรายย่อย (4/4)
หากเอกสารครบจะได้รับการพิจารณาเร็วขึ้นหรือไม่ จะได้รับการแจ้งผลอนุมัติภายในระยะเวลาที่ธนาคารกำหนดไว้ ประมาณ 3 วันทำการ ผลเสียจากการจัดเตรียมเอกสารไม่ครบถ้วน ธนาคารจะไม่สามารถดำเนินการพิจารณาได้ ต้องรอจนกว่าเอกสารจะครบ ซึ่งทำให้ล่าช้า เอกสารครบและถูกต้องตามข้อกำหนดของธนาคาร อาทิ รายการเดินบัญชี Statement หรือใบรับรองเงินเดือนต้องมีอายุไม่เกินกี่เดือน เป็นต้น

13 เหตุผลหลักๆ ที่ทำให้ลูกค้ารายย่อยไม่ได้รับอนุมัติ และแนวทางแก้ไข
เหตุผลในการปฏิเสธ แนวทางแก้ไข มีประวัติเคยเป็น NPL ของสถาบันการเงิน ปรับปรุงโครงสร้างหนี้ / ชำระหนี้ให้หมด / มีประวัติผิดเงื่อนไขการชำระหนี้ ชำระหนี้ตามเงื่อนไขเป็นเวลาอย่างน้อย 1 ปี ไม่มีเงินออม หาข้อมูลแสดงแหล่งรายได้และฐานะเพิ่มเติม / รายได้ไม่เพียงพอในการผ่อนชำระหนี้ หาผู้กู้ร่วม รายได้ไม่ผ่านเกณฑ์ที่ธนาคารกำหนด ไม่ผ่านหลักเกณฑ์ของธนาคาร ความน่าเชื่อถือ / ความมีตัวตน ไม่มีหลักแหล่งที่อยู่อาศัยแน่นอน พยายามพิสูจน์แหล่งที่อยู่อาศัยที่แน่นอน ไม่มีเบอร์โทรศัพท์พื้นฐาน มีเบอร์โทรศัพท์พื้นฐาน ไม่สามารถติดต่อได้ สามารถตรวจสอบความมีตัวตนได้ เช่นโทรไปที่บริษัท แล้วตามตัวได้ เป็นต้น

14 การเตรียมตัวของผู้ประกอบการเพื่อช่วยลูกค้าในการขอสินเชื่อ
ทดสอบความสามารถในการกู้ผ่านระบบ K-Home Loan Online (สินเชื่อบ้านออนไลน์กสิกรไทย) กลั่นกรองลูกค้ารายย่อยให้มีคุณสมบัติตรงตามที่ธนาคารกำหนด, มีรายได้เพียงพอ, ติดตามการผ่อนเงินดาวน์ของลูกค้า และไม่เป็น NPL ตั้งแต่เริ่มต้น แนะนำการจัดเตรียมเอกสารในการยื่นขอสินเชื่อให้พร้อม โดยพยามยามแสดงหลักฐานแสดงรายได้ให้ครบ หรือมากที่สุดเท่าที่มีอยู่ ประสานงานระหว่างธนาคาร – ลูกค้าอย่างใกล้ชิด เผื่อกรณีธนาคารขอเอกสารอื่นๆ เพิ่มเติมจะได้รวดเร็ว (โดยหาผู้ประสานงานระหว่างเจ้าของโครงการกับธนาคาร) หากพบว่าลูกค้ามีรายได้ไม่เพียงพอ ให้หาผู้กู้ร่วมจะได้ไม่เสียเวลา

15 ปัญหาเรื่อง “เครดิตบูโร”
ทำอย่างไรจึงจะไม่ติดเครดิตบูโร (วิธีการรักษาเครดิต) ??? ผู้บริโภคควรดำรงสัดส่วนหนี้อย่างเหมาะสม โดยไม่ควรมีภาระหนี้ที่ต้องจ่ายต่อเดือนสูงเกินไป จนรายได้หลังหักค่าใช้จ่ายหลักในการดำรงชีพที่จำเป็นเหลือไม่พอสำหรับชำระหนี้ขั้นต่ำในแต่ละงวด ผู้บริโภคควรมีบัตรเครดิตจำนวนน้อยเท่าที่พอเพียงต่อความจำเป็น และควรปิดบัญชีบัตรเครดิตใดๆ ที่ไม่ได้ใช้แล้ว โดยปกติสถาบันผู้ให้สินเชื่อจะดูขีดความสามารถในการจับจ่ายว่าผู้บริโภครายนั้นๆ มีขีดความสามารถในการชำระหนี้ได้ขนาดไหน หากมีจำนวนบัตรเครดิตมากแนวโน้มการก่อหนี้ก็จะมีมากขึ้น ผู้บริโภคควรชำระหนี้ทุกรายการตามใบแจ้งหนี้จากสถาบันเจ้าหนี้ในจำนวนอย่างน้อยที่สุดเท่ากับจำนวนขั้นต่ำที่กำหนดและภายในระยะเวลาที่กำหนด และควรต้องชำระเต็มจำนวนตามเงื่อนไขที่ตกลงไว้กับสถาบันเจ้าหนี้ ควรรีบติดต่อกับสถาบันการเงินทันที หากไม่สามารถที่จะชำระหนี้ได้ตามกำหนดระยะเวลา หรือหากพบว่าข้อมูลในใบแจ้งหนี้มีความคลาดเคลื่อน การดำเนินการร้องเรียนหรือแก้ไขข้อมูลควรทำเป็นลายลักษณ์อักษร

16 ปัญหาเรื่อง “เครดิตบูโร”
แนวทางแก้ไข หากลูกค้าติดเครดิตบูโร พยายามหาเหตุผล / หลักฐานอื่นมาแสดง ติดเครดิตบูโรแบบอ่อน อาทิ หนี้บัตรเครดิต - -> ให้จ่ายชำระให้ครบ แล้วนำหลักกฐานมาแสดง ติดเครดิตบูโรแบบเข้ม อาทิ เป็นหนี้ปรับโครงสร้าง ต้องพยายามผ่อนชำระให้ตรงตามกำหนดเป็นเวลา 1 ปี แล้วจึงมายื่นขอกู้

17 แนวทางในการตัดสินใจเลือกสินเชื่อที่อยู่อาศัยให้ลูกค้า
พิจารณาจากประเภทอัตราดอกเบี้ยให้เหมาะสมที่สุด เลือกอัตราดอกเบี้ยแบบ “คงที่” ให้ยาวที่สุด (เหมาะกับช่วงดอกเบี้ยขาขึ้น) เลือกอัตราดอกเบี้ยแบบ “ลอยตัว” (เหมาะกับช่วงดอกเบี้ยขาลง) พิจารณาระยะเวลาการกู้ให้ยาวนานที่สุด เพื่อแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายรายเดือนให้น้อยลง พิจารณาวงเงินได้เพียงพอ และรวดเร็ว เสนอบริการที่ครบวงจร และดูแลลูกค้าอย่างต่อเนื่อง (Total Financial Solutions) “K Home Smiles Club” เนรมิตทุกสิ่งเรื่องบ้าน ... ให้เป็นเรื่องง่าย

18


ดาวน์โหลด ppt ไขก๊อกสินเชื่อบ้าน ยื่นขออย่างไรผ่านฉลุย

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google