งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

การเข้ารหัสข้อมูลและการถอดรหัสข้อมูล

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "การเข้ารหัสข้อมูลและการถอดรหัสข้อมูล"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 การเข้ารหัสข้อมูลและการถอดรหัสข้อมูล
Basic Encryption and Decryption Techniques

2 คริพโตกราฟี (Cryptography)
How are you feeling today HXEOWYLP 34ACJLKLO GDEABCQ…. Encryption Algorithm Plain text Key Ciphertext คริพโตกราฟี (Cryptography) เป็นการรวมหลักการและกรรมวิธีของการแปลงรูปข้อมูลข่าวสารต้นฉบับ ให้อยู่ในรูปแบบของข้อมูลข่าวสารที่ได้ผ่านการเข้ารหัส และการนำข่าวสารนี้ไปใช้งาน จะต้องมีการแปลงรูปใหม่ เพื่อให้กลับมาเป็นข้อมูลข่าวสารเหมือนต้นฉบับเดิม Plain text คือ ข้อมูลต้นฉบับซึ่งเป็นข้อความที่สามารถอ่านแล้วเข้าใจ Encryption Algorithm คือ ขั้นตอนวิธีในโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในการแปลงข้อมูลต้นฉบับเป็นข้อมูลที่ได้รับการเข้ารหัส Ciphertext คือ ข้อมูลหรือข่าวสารที่ได้รับการเข้ารหัส ทำให้อ่านไม่รู้เรื่อง Key คือ เป็นกุญแจที่ใช้ร่วมกับ อัลกอริทึมในการเข้ารหัส และถอดรหัส

3 เทคนิคและแนวทางในการเข้ารหัสข้อมูล
เพื่อแปลงเพลนเท็กซ์ เป็นไซเฟอร์เท็ก แบบดั้งเดิมแบ่งได้ 2 วิธี ดังนี้ 1. เทคนิคการแทนที่ (Substitution Techniques) 1.1 การเข้ารหัสด้วยวิธีแทนที่แบบ caesar 1.2 การเข้ารหัสด้วยวิธีแทนที่แบบโมโนอัลฟาเบติค

4 1.1 เทคนิคการแทนที่แบบ caesar
เป็นการแทนค่าแต่ละตัวอักษรด้วยสัญลักษณ์เพียงตัวเดียว เป็นวิธีทีง่ายที่สุด ใช้มาตั้งแต่สมัยจูเลียส ซีซาร์ ในการเข้ารหัสเนื้อความจดหมายส่งไปให้ทัพทหารระหว่างการรบ ตัวอย่าง ใช้ความสัมพันธ์ของอักษรในภาษาอังกฤษ 26 ตัว โดยที่ ตัวอักษรใน Cipher Text จะได้จาก Plain Text + ไปยัง 3 ลำดับของตัวอักษรในภาษาอังกฤษ ในทางกลับกัน Plain Text จะเท่ากับ Cipher Text - ไปยัง 3 ลำดับของตัวอักษรในภาษาอังกฤษ Plain Text : a b c d e f g h I j k l m n o p q r s t u v w x y z Cipher Text : d e f g h I j k l m n o p q r s t u v w x y z a b c เช่น Love You ---> 0ryh brx

5 1.2 เทคนิคการแทนที่ แบบ Monoalphabetic
การเข้ารหัสด้วยวิธีแทนที่แบบโมโนอัลฟาเบติค (Monoalphabetic Substitution-Based Cipher) เป็นเทคนิคการเข้ารหัสอย่างง่าย โดยทำการจับคู่ตัวอักษร ระหว่างเพลนเท็กซ์ และไซเฟอร์เท็กซ์ มีข้อเสีย เนื่องจากทำให้เกิดการซ้ำกันของตัวอักษร และถอดรหัสได้ง่าย

6 ตัวอย่าง Plaintext = car Encrypt Cipher text คือ pkj

7 เทคนิคและแนวทางในการเข้ารหัสข้อมูล
2 เทคนิคการสับเปลี่ยน (Transposition Techniques) เป็นเทคนิคที่มีประสิทธิภาพดีกว่า สามารถแก้ปัญหาการซ้ำกันของตัวอักษรรวมถึงยากต่อการถอดรหัส ซึ่งประกอบด้วย 2.1 การเข้ารหัสด้วยวิธีการสับเปลี่ยนแบบเรลเฟ็นซ์ 2.2 การเข้ารหัสด้วยวิธีการสับเปลี่ยนแบบคอลัมน์

8 2.1 เทคนิคการสับเปลี่ยนแบบ เรลเฟ็น
C m h t r o e w Plaintext : Come home tomorrow Ciphertext : Cmhmtmrooeoeoorw การเข้ารหัสด้วยวิธีการสับเปลี่ยนแบบเรลเฟ็นซ์ (Rail Fence Transposition Cipher) เป็นการเข้ารหัสอย่างง่าย ใช้ลักษณะของ Row-by-Row หรือ Zigzag

9 2.2 เทคนิคการสับเปลี่ยน แบบคอลัมน์
1 4 3 5 8 7 2 6 C O M P U T E R t h i s e b c l a v r k n Column Key Key : computer Plaintext : this is the best class I have ever taken Ciphertext : TESVTLEEIEIRHBSESSHTHAENSCVKITAA การเข้ารหัสด้วยวิธีการสับเปลี่ยนแบบคอลัมน์ (Columnar Transposition Cipher) เป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพวิธีหนึ่ง จะทำให้อักษรเดียวกันเมื่อผ่านการเข้ารหัสแล้วจะไม่มีการซ้ำกัน โดยการกำหนดคีย์ขึ้นมา  เรียงลำดับคอลัมน์ตามคีย์ตัวอักษร  นำ Plaintext ไปเรียงตามคอลัมน์  ทำการเข้ารหัสตามคีย์ และ คอลัมน์ที่กำหนด


ดาวน์โหลด ppt การเข้ารหัสข้อมูลและการถอดรหัสข้อมูล

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google