งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

พรรณไม้ ในลิลิตตะเลงพ่าย.

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "พรรณไม้ ในลิลิตตะเลงพ่าย."— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 พรรณไม้ ในลิลิตตะเลงพ่าย

2

3

4

5

6 กระเบา “...มีไม้นานาไม้แมก หมู่ตะแบกตระบาก มากกระเบากระเบียน ตะขบตะเคียนคูนแค สมอสมีแสมม่วงโมกซากซึกโศกสนสัก รวกโรกรักรังรง ปริกปริงปรงปรางปรู...”

7

8

9 ชื่อวิทยาศาสตร์ :       Hydnocarpus sumatrana
วงศ์   :       FLACOURTIACEAE ชื่ออื่น : กระเบาน้ำ, กระเบาเบ้าแข็ง, กระเบาใหญ่, กาหลง, แก้วกาหลง, กระเบา (ภาคกลาง), กระเบาตึก (เขมร-อีสาน), ตัวโฮ่งจี๊ (จีน), เบา (สุราษฎร์) กระเบา เป็นต้นไม้ที่คนไทยรู้จักมาแต่นานแล้ว เพราะนอกจากกระเบาจะเป็นไม้ที่มีเนื้อเหนียว นิยมใช้ไม้กระเบามาทำเป็นด้ามเครื่องมือเครื่องใช้ต่าง ๆ ในแวดวงของการกสิกรรมแล้ว คนไทยยังนิยมใช้เมล็ดของกระเบาสะกัดไปทำน้ำมันทาแก้โรคผิวหนังมาแต่นานแล้วด้วย กระเบาจึงไม่มีชื่อพื้นเมืองอื่นมาเรียกซ้ำซ้อนในเมืองไทย เหมือนอย่างไม้ชนิดอื่น ๆ              

10 กระเบาเป็นต้นไม้ป่าที่มีขึ้นอยู่ทั้งทางภาคเหนือและใต้ของประเทศไทย และมักพบขึ้นอยู่ในเขตป่าที่อยู่สูงจากระดับน้ำทะเลตั้งแต่ 100 – 1,400 เมตร เป็นต้น ไม้ไม่สูงใหญ่มาก คืออาจมีขนาดต้นสูงตั้งแต่ 6 – 15 เมตร เรือนยอดค่อนข้างแน่นทึบมักเป็นพุ่มทรงกลม ไม่ผลัดใบแต่ลำต้นมักคดงอ กิ่งก้านมักจะแตกออก ไปเป็นแนวตรงในลักษณะที่ตั้งฉากกับต้น เปลือกของลำต้นเรียบเกลี้ยงเป็นสีน้ำตาล มีกลิ่นเหม็น กระเบาเป็นไม้เลี้ยงเดี่ยว ใบเป็นรูปหอกเรียวรี ปลายใบแหลม ขอบในเรียบเกลี้ยงเนื้อใบค่อนข้างหนาแต่อ่อนนุ่ม ใบทุกใบมักบิดพลิ้ว หรือพันไปทางใดทางหนึ่ง ขนาดใบกว้างประมาณ 4 – 5 เซนติเมตร ยาวประมาณ 12 – 25 เซนติเมตร ออกดอกเป็นกระจุกตามกิ่งหรือง่ามใบเป็นสีขาวอมสีเขียวจาง ๆ ในกลุ่มดอกหนึ่ง ๆ อาจออกดอกได้ตั้งแต่ 5 –15 ดอก กระเบาออกดอกในระหว่างเดือน มีนาคม – เมษายน ผลกลมผิวของผลเป็นสีน้ำตาลนวลคล้ายกำมะหยี่

11 กระทุ่ม “...ซากซึกโศกสนสัก รวกโรครักรังรง ปริงปริงปรงปรางปรู ลำแพนลำพูลำพัน จิกแจงจันทร์พันจำ เกดระกำกอกกุ่ม กระทุ่มกระถินพิมาน เหล่าเสลาลานโลดเลียบ...”

12

13

14 ชื่อวิทยาศาสตร์ Anthocephalus chinensis   (Lamk.) A. Rich.ex Walp.
ชื่อวงศ์ RUBIACEAE ชื่อไทยพื้นบ้าน ตุ้มหลวง ทุ่มพราย ตุ้มขี้หมู กระทุ่มบก เป็นไม้ต้น ขนาดกลาง ผลัดใบ สูง ม. เรือนยอด เป็นพุ่มกลม แตกกิ่งต่ำ ลำต้นคดหรือเปลาตรง เปลือกนอกสีเทา มีรูระบายอากาศขนาดใหญ่ทั่วไป ทำให้ดูเปลือกขรุขระ เปลือกใน สีเหลืองอ่อน ใบ ใบเดี่ยว ออกตรงข้ามเวียนสลับตั้งฉากกัน รูปไข่ หรือรูปรี หรือรูปขอบขนาน ปลายกว้าง ซม. ยาว ซม. โคนใบมนหรือเว้าเล็กน้อย ขอบใบเรียบ แผ่นใบด้านบนเกลี้ยง ด้านล่างมีขนประปราย หรือเกลี้ยง ก้านใบ ยาว ซม. หูใบระหว่างก้านใบคู่ละ 1 คู่ รูปรี หรือรูปไข่กลับยาว ซม. ปรากฎชัดเจนตามปลายกิ่ง เส้นใบ มี คู่ แยกเยื้องกันชัดเจน ปลายเส้นใบจรดเส้นใบถัดไป เส้นใบขนานกันเป็นระเบียบสวยงาม เห็นได้ชัดเจน

15 ดอก แบบช่อกระจุกซ้อน 3 ชั้น ระนาบเดียวกัน สลับกับตรงข้าม มีใบประดับขนาดใหญ่ทุกชั้น ลักษณะคล้ายใบแซมห่าง ๆ มีเส้นใบเช่นเดียวกับใบปกติ ก้านใบสีแดง บริเวณส่วนล่างของช่อ ก้านช่อแยกออกเป็นมุม 45 องศาที่โคนก้านดอกแต่ละชั้น ก้านช่อดอกแต่ละชั้น ยาว ซม. ก้านช่อกลม ดอก สีเหลืองแบบกระจุกแน่น ดูรวมกันแล้วเหมือนดอกกลมขนาด ซม. แต่ละช่อมีดอกเล็ก ไม่มีก้านดอก กลิ่นหอมแรง กลีบรองกลีบดอกเล็กมาก ติดกันคล้ายรูปถ้วย ขอบตัด กลีบดอกสีเหลือง ติดกันเป็นหลอดยาว ปลายแยกเป็น 5 แฉก เกสรผู้ มี 5 อัน รังไข่ อยู่ใต้วงกลีบมีก้านเกสรเมียยื่นพ้นปากหลอดกลีบดอก ผล แห้งแตก รูปไข่ ขนาดเล็ก แต่ภาพที่เห็นเป็นดอกสีดำ

16 กระถิน “...ซากซึกโศกสนสัก รวกโรครักรังรง ปริงปริงปรงปรางปรู ลำแพนลำพูลำพัน จิกแจงจันทร์พันจำ เกดระกำกอกกุ่ม กระทุ่มกระถินพิมาน เหล่าเสลาลานโลดเลียบ...”

17

18

19 ชื่อวิทยาศาสตร์ Leucaena leucocephala (Lamk.) de Wit.
วงศ์ LEGUMINOSAE-MIMOSOIDEAE ชื่อไทยพื้นเมือง กระถินไทย,กระถินดอกขาว,กระถินหัวหงอก (ไทยภาคกลาง),สะตอเทศ,สะตอเบา,สะตอบ้าน (ภาคใต้) กระถิน,กระถินน้อย,กระถินบ้าน,ผักก้านถิน,กะตง (สมุทรสงคราม) กระถินเป็นไม้พุ่มขนาดใหญ่ถึงไม้ต้นขนาดเล็ก สูงได้ถึง 10 เมตร ไม่ค่อยแตกกิ่งก้านสาขา 1. ใบ ประกอบแบบขนนกสองชั้น เรียงสลับ ยาว ซม. แกนกลางใบ ประกอบยาว ซม. มีขน แยกแขนง 2-10 คู่ ยาว 5-10 ซม. ก้านแขนงสั้น มีขน ใบย่อย 5-20 คู่ เรียงตรงข้าม รูปแถบ หรือรูปขอบขนานแกมรูปแถบ กว้าง 2-5 มม. ยาว ซม. ปลายแหลม โคนเบี้ยว ขอบมีขน ท้องใบมีนวล 2. ดอก ออกเป็นช่อ ช่อดอกออกแบบช่อกระจุกแน่น ออกตามง่ามใบ 1-3 ช่อ เป็นฝอยนุ่มมีกลิ่นหอมเล็กน้อย 3. ผล เป็นฝัก ฝักออกเป็นช่อแบนยาวประมาณ 4-5 นิ้วฟุต เห็นเมล็ดเป็นจุดๆ ในฝัก ตลอดฝัก การปลูก กระถินทนความแห้งแล้งได้ดี และเติบโตเร็ว ขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ด

20 กร่างหรือไกร “...ประคำควายประคำไก่ ไผ่เพกาตาเสือ มะเกลือมะกล่ำรำไย ไกรกรดกร่างช้างน้าว ขวิดขวาดขว้าวตะโกตะกู พลับพลวงพลูพลองสล้าง...”

21

22

23 ชื่อวิทยาศาสตร์ :      Ficus bengalensis
วงศ์ :      MORACEAE ชื่อไทยพื้นเมือง   :     นิโครธ      กร่างเป็นต้นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ ใบกลมโตขนาดฝ่ามือ ลายเล็กน้อย เรือนพุ่มกลมเตี้ย มีกิ่งก้านสาขางอกงาม กร่างมีรากอากาศย้อยลงมาจากกิ่งก้านและพาดพันหุ้มล้อมรอบลำต้น ทำให้ตามลำต้นของกร่างเป็นซอกเป็นโพรงเหมาะแก่งูใหญ่ ๆ อาศัย กร่างเป็นไม้ที่ให้ร่มเงา เย็น กว่าต้นไม้อื่น ๆ อีกหลายจำพวก      กร่างออกดอกให้ผลเช่นพวกมะเดื่อทั้งหลาย ดอกและผลกลมโตขนาดผลมะแว้งใหญ่ ๆ ผลสุกสีเหลืองแดง จึงทำให้กร่างเป็นที่อาศัยของนกต่าง ๆ ที่อาศัยความร่มเย็นและอาหาร กร่างขึ้นห่าง ๆ ตามป่าเบญจพรรณทั่ว ๆ ไป โดยมากนิยมปลูกตามวัดถือว่าไม้ชนิดนี้พระพุทธเจ้าก็ได้เคยอาศัยร่มเงานั่งบำเพ็ญฌาณมาครั้งกาลก่อนโน้น

24 กรรณิการ์ สุรภีรื่นรสคนธ์ บุนนาคปนปะแปม การะเกดแกมกรรณิการ์ มะลิวัลย์ลาหลายหลาก มากเมิลหมู่แมกไม้ ถวิลถึงองค์อ่อนไท้ ธิราชร้อนทรวงเสียว อยู่นา

25

26 ชื่ออื่นๆ:กณิการ์ กรณิการ์
ชื่อพฤกษศาสตร์:Nyctanthes abortristis L. วงศ์:OLEACEAE กรรณิการ์เป็นไม้พุ่มที่มีขนาดเล็กจนถึงขนาดกลาง ใบ หนา ค่อนข้างแข็ง โคนใบมน ปลายใบแหลม ใบมีขนาดเท่าใบมะยม  พื้นผิวใบหยาบ  สากระคายมือ  ดอกช่อ  ออกเป็นช่อ โคนดอกเป็นหลอด  ปลายดอกแยกเป็นกลีบประมาณ  5 กลีบ เป็นจานคล้ายรูปกงจักร  สีขาว  ก้านดอกมีสีแดง หรือ สีส้ม บานกลางคืน กลิ่นหอมแรง  ออกดอกตลอดปี  การขยายพันธุ์  ปักชำกิ่ง  เพาะเมล็ด   ตอนกิ่ง ประโยชน์  ใบ  ดอก แก้ปวดตามข้อ แก้ไข้ เป็นยาระบาย แก้ตานขโมย เปลือกชั้นในต้มกิน แก้ปวดศีรษะ   ราก บำรุงกำลัง ธาตุ ผิวหนัง  แก้ไอ  แก้ผมหงอก  ถิ่นกำเนิด พบทั่วไปในทวีปเอเชียเขตร้อน เช่น พม่า ศรีลังกา อินเดีย และไทย  ต้องการน้ำและความชื้นปานกลาง เติบโตได้ดีในดินอุดมร่วนซุย

27 กาหลง “...แก้มกาหลงชงโค ยี่สุ่นยี่โถโยทะกา พุดจีบลาลานเนตรเกดพิกุลแบ่งกลีบ ปีบจำปาจำปี มะลิลีประดู่ดง ปรูประยงค์ยมโดย โรยเรณูร่วงเร้า...”

28

29 ชื่ออื่นๆ:โยทะกา ชื่อพฤกษศาสตร์:Bauhinia acuminata L. วงศ์:LEGUMINOSAE - CAESALPINIOIDEAE กาหลงเป็นไม้ต้นขนาดกลาง สูง 2-3 เมตร แตกกิ่งก้านเป็นพุ่มทึบ ใบ เรียงสลับ ใบเดี่ยว ปลายหยักเว้าเหมือนใบแฝด ดอกช่อ ช่อดอกสั้น ออกตามซอกใบและปลายกิ่ง มีกลีบดอก 5 กลีบ สีขาว หอมจาง บานครั้งละ 1-2 ดอก ฝัก แบน มี 5-10 เมล็ด ออกดอกตลอดปี การขยายพันธุ์ เพาะเมล็ด และตอนกิ่ง ประโยชน์ เป็นไม้ประดับ ปลูกตามบ้านหรือสวนควบคู่กับไม้ใบแฝดอื่นๆ เพื่อให้เห็นความงามของดอกแต่ละชนิด ชาวบ้านทางภาคเหนือนิยมปลูกเพราะถือกันว่ามีคุณแก่เจ้าของ มักปลูกตามบ้านและข้างทาง ดอกเป็นยาแก้ปวดศีรษะ ลดความดันโลหิตสูง ถิ่นกำเนิด เอเชียเขตร้อน แอฟริกา

30 เกด ขานางนึกคู่คู้ ขาสมร พลางพี่โอบเอวอร แอบเคล้า
ขานางนึกคู่คู้ ขาสมร พลางพี่โอบเอวอร แอบเคล้า กระทุ่มดั่งทุ่มกร ตีอก เรียมฤา เกดว่าเกศนุชเกล้า กลิ่นกลั้วเสาวคนธ์

31

32 ชื่อวิทยาศาสตร์ :       Manikara hexandra.
 วงศ์ :        SAPOTACEAE.         เกดเป็นต้นไม้ที่ไม่ผลัดใบมีความสูงได้ตั้งแต่ 8-15 เมตร เรือนยอดเป็นพุ่มกลม เปลือกสีน้ำตาลปนเทา บางต้นจะออกเป็นสีคล้ำ ๆ แตกเป็นร่องลึกหรือเป็นสะเก็ด เนื้อไม้สีน้ำตาลอ่อน มีแก่นไม้แข็งสีน้ำตาลแดง ใบหนาเกลี้ยง  หน้าใบเขียวเข้มเป็นมันท้องใบสีเขียวเข้าหาก้านใบ ปลายใบกว้างและหยักเว้าเข้าเป็นรูปหัวใจ                 ออกดอกตั้งแต่เดือนมกราคมไปจนถึงเดือนกรกฎาคม ออกเป็นกลุ่ม ๆ ตามง่ามใบ สีเหลืองอ่อน กลิ่นหอมเย็น กลีบดอกมีถึง 18 กลีบ มีกลีบรองดอก 6 กลีบ เรียงซ้อนกัน 2 ชั้น พบขึ้นตามป่าดงดิบแล้ง และป่าชายเลยหาดทางภาคใต้ ภาคตะวันออกเฉียงใต้ และภาคตะวันตกเฉียงใต้

33 กันเกรา “...หมู่มะไฟมะฝ่อ หมู่มะก่อมะกัก กระลำพักกระลำพอ ยูงยานยอกำยาน แต้วตูมตาลตาดต้อง ซ้องแมวโมงมูกมัน หาดเหียงหันกันเกรา สะเดาดอกเดื่อดก...”

34

35

36 ชื่อวิทยาศาสตร Fagraea fragrans Roxb
ชื่อวิทยาศาสตร     Fagraea fragrans Roxb. วงศ์   LOGANIACEAE ชื่ออื่น ๆ   มันปลา ตำเสา มะซู ไม้ต้น   ขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ สูง เมตร เปลือกสีน้ำตาลเข้ม แตกเป็นร่องลึกไม่เป็นระเบียบ ใบ   เดี่ยวออกตรงกันข้าม   แผ่นใบรูปมนขนาดกว้าง เซนติเมตร ยาว เซนติเมตร ปลายใบแหลมหรือยาวเรียว ฐานใบแหลม โคนมน ดอก   เริ่มบานสีขาว แล้วเปลี่ยนเป็นสีเหลือง กลิ่นหอม ผลกลมเล็ก เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 6 มม. สีส้มแล้วเปลี่ยนไปเป็นสีแดงเลือดนกเมื่อแก่เต็มที่ มีเมล็ดขนาดเล็กเป็น จำนวนมาก ขยายพันธุ์    โดยเมล็ด ประโยชน์ เนื้อไม้สีเหลืองอ่อน เสี้ยนตรง เนื้อละเอียด เหนียว แข็ง ทนทาน ใช้ในการก่อสร้าง นิยมใช้ทำเสาเรือน แก่นมีรสฝาดใช้เข้ายาบำรุงธาตุ แน่นหน้าอก เปลือกใช้บำรุงโลหิต ผิวหนังพุพอง ปลูกเป็นไม้ประดับ

37 กะทกรก “...หาดเหียงหันกันเกรา สะเดาดูกเดื่อดก กระทกรกรกฟ้ามะข้ามะขามขานาง ย่างทรายไทรไข่เหน้า เปล้าประดู่ดูดาษ สนุ่นหนาดขนุนขนาด พะวาหวานหวายหว้า...”

38

39 ชื่อวิทยาศาสตร์ Passiflora foeida L.
ชื่อพื้นเมือง กระโปรงทอง (ใต้) ละพุบาบี (มลายู-นราธิวาส-ปัตตานี) เครือขนตาช้าง (ศรีสะเกษ) ตำลึงฝรั่ง (ชลบุรี) เถาสิงโต เถาเงาะ (ชัยนาท) ผักแคบฝรั่ง (เหนือ) หญ้ารกช้าง (พังงา) ผักขี้หิด หญ้าถลกบาต รก เล่งจูก้วย เล้งทุงจู (จีน) ชื่อวงศ์ กะทกรก PASSIFLORACEAE ชื่อสกุลไม้ กะทกรก Passiflora L. ชื่อสามัญ Red fruit passionflower,Stinking Passion Flower  ต้นไม้ เป็นเถาเลื้อยเนื้ออ่อน อายุฤดูเดียวหรือหลายปี มีระบบรากแก้ว มีมือเกาะและเลื้อยพัน ต้นไม้อื่น ๆ หรือต้องอิงอาศัย ยาวมากกว่า 5 ม. มีขนอ่อนสีขาวคลุมทั่วต้นผิวเครือสีเขียวมีขนคลุมเช่นกัน   

40  ใบ ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปใบมองดูคล้ายใบตำลึงโดยมีแผ่นใบเว้าเป็น 3 แฉก ต่างกันมากที่มีขนสีขาวนุ่มทั่วใบ และใบไม่เป็นมัน ใบอ่อน สีเขียวอ่อน ใบแก่ สีเขียวเข้มและเหลืองก่อนร่วงหล่นโคนใบเว้ารูปหัวใจ ปลายแฉก 3 แฉก สองแฉกลางอาจแหลมหรือมน ส่วนแฉกปลายแหลม เป็นรูปใบที่สวยงาม เส้นแขนงใบแยกจากจุดเดียวกัน 5 เส้น โดยมีเส้นที่1 - 2 และ เป็นเส้นแขนงใบแฉกล่างสองแฉก เส้นที่ 3 เป็นเส้นกลางใบหลัก ปลายเส้นจรดปลายแหลมของใบ เส้นแขนงใบย่อยแบบขั้นบันได เป็นระเบียบสวยงามดีปลายเส้นไม่จรดขอบใบ เส้นใบทั้งหมดเห็นได้ชัดเจนทั้งสองด้าน ขอบใบหยักเป็นคลื่นเล็กน้อยมีขนสั้นคลุม ก้านใบมีขนอ่อนคลุม ยาว ซม. โคนก้านใบมีหูใบเล็ก ๆ ติดอยู่ มือเกาะปลายม้วนแน่นยาว ซม. ใบเหม็นเขียวแรง

41 เมล็ดที่มีเนื้อหุ้ม หวานอมเปรี้ยว ชุ่มคอ กินแก้กระหายน้ำได้ เด็ก ๆ ชอบเก็บเมล็ดที่มีเนื้อกินเล่นทั่วไป       ด้านสมุนไพร ใช้ได้เกือบทุกส่วนและมีสรรพคุณคือ            ราก แก้ไข้จับสั่น แก้ไข้ ถ่ายพยาธิ           เถา รักษากามโรค           เปลือก เป็นยาชูกำลังทำให้แผลเน่าเปื่อยแห้ง           ใบ รสเมาเบื่อ แก้หวัด คัดจมูก แก้ปวดศีรษะ รักษาแผลแก้หืด แก้หิด แก้คัน           ผล รสหวานเย็น ทำให้อาเจียน บำรุงปอด แก้ปวด แก้บาดแผล           เมล็ด แก้เด็กท้องขึ้นอืดเฟ้อทำให้ผายลม           ทั้งต้น รสเมาเบื่อ ขับปัสสาวะ ขับเสมหะ แก้ไอ แก้อาการบวมไม่รู้สาเหตุ

42 การะเกด “...การะเกดแกมกรรณิการ์ มะลิวัลย์ลาหลายหลาก มากเมิลหมู่แมกไม้ ถวิลถึงองค์อ่อนไท้ ธิราชร้อนทรวงเสียว อยู่นา...”

43

44 ชื่ออื่นๆ:ลำเจียกหนู เตยด่าง เตย
ชื่อพฤกษศาสตร์:Pandanus tectorius Sol. ex Parkinson วงศ์:PANDANACEAE การะเกดเป็นไม้ต้น สูง 5-6 เมตร  ต้นสีขาวหรือน้ำตาลอ่อน มีหนามแหลมสั้นๆ กระจายทั่วไป  ใบ  รูปขอบขนาน ยาว 2 เมตร  ขอบหยัก มีหนาม ปลายหนามโค้งไปทางปลายใบ  กลิ่นหอมอ่อนๆ  ดอกช่อ  เพศผู้และเพศเมียอยู่แยกคนละต้น  ดอกเพศผู้ออกตามปลายกิ่งเป็นช่อยาว  เพศผู้มีกลิ่นหอมมาก  การขยายพันธุ์  เพาะเมล็ด แยกหน่อ  ประโยชน์ เป็นไม้ประดับที่มีกลิ่นหอม  ดอกมีรสขมแก้โรคในอก ใช้ปรุงยาหอมทำให้ชุ่มชื่นหัวใจ ใช้เคี่ยวน้ำมันทำน้ำมันใส่ผม  ถิ่นกำเนิด  เป็นไม้ถิ่นเดิมของไทย ชอบขึ้นกระจายตามริมน้ำ ริมคลอง 

45 แก้ว “...เหล่าลำดวนดาษดง แก้วกาหลงชงโค ยี่สุ่นยี่โถโยทะกา พุดจีบลาลานเนตร เกดพิกุลแบ่งกลีบ ปีบจำปาจำปี มะลุลีประดู่ดง ปรูประยงค์ยมโดย...”

46

47 ชื่ออื่นๆ:Chinese box tree , Orange jasmine ชื่อพฤกษศาสตร์:Murraya paniculata (L.) Jack วงศ์:RUTACEAE แก้วเป็นไม้พุ่มหรือไม้ต้นขนาดเล็ก ต้นแตกกิ่งก้านสาขาเป็นพุ่ม สูงได้ถึง 10 เมตร เปลือกต้นสีเทา แต่เป็นร่อง เนื้อไม้สีขาวนวล สีเส้นยาวคดโค้งตามเนื้อไม้เป็นลวดลายสวยงาม ใบ เรียงเวียนสลับ ใบประกอบแบบขนนกปลายคี่ ใบย่อยเรียงสลับ ใบรูปกึ่งใบหอก โคนใบแหลมหรือสอบ ปลายใบแหลม ใบมีต่อมน้ำมันมีกลิ่นหอม สีเขียว หนา แข็งเป็นมัน ถ้าขยี้ดมมีกลิ่นเหมือนผิวส้ม ดอกช่อ ช่อสั้น ออกตามซอกใบ กลีบเลี้ยงและกลีบดอกอย่างละ 5 กลีบ ร่วงง่าย กลีบดอก สีขาว ผล ถ้าแก่สีแดงอมส้ม ต่อมน้ำมันเห็นชัด เมล็ด รูปไข่ ขนาด 5X 10 มม.มีขนเหนียวหุ้มรอบเมล็ด ออกดอกเกือบตลอดปี

48 การขยายพันธุ์ เพาะเมล็ด ปักชำกิ่ง ตอนกิ่ง ประโยชน์ เป็นไม้ประดับ ไม้ใช้ทำไม้เท้าและแกนเพลาเกวียน เครื่องเรือน กรอบรูป ใบ เป็นยาฝาดสมาน ใบสด เป็นยาขับระดู แก้จุกเสียด แน่นเฟ้อ ขับลม บำรุงโลหิต แก้ปวดฟัน น้ำมันจากใบใช้เป็นยาชา เปลือกใช้ทำเครื่องสำอาง ถิ่นกำเนิดในไทยทุกภาค พบในป่าดิบแล้ง ตามเขา ในจีน ญี่ปุ่น เกาหลี อินเดีย ศรีลังกา พม่า อินโดจีน มาเลเซีย ขึ้นได้ดีในที่ดินร่วนปนทรายและทนทานต่อความแห้งแล้ง ที่มีน้ำ ความชื้นพอสมควร และที่กลางแจ้ง แสงแดดจัด

49 กำยาน “...หมู่มะไฟมะฝ่อ หมู่มะก่อมะกัก กะลำพักกะลำพอ ยูงยานยอกำยาน แต้วตูมตาลตาดต้อง ซ้องแมวโมงมูกมัน หาดเหียงหันกันเกรา สะเดาดูกเดื่อดก...”

50

51 ชื่อวิทยาศาสตร์:Styrax benzoides Craib
ชื่ออื่น :    เขว้ (ละว้า เชียงใหม่) ซาดสมิง (นครพนม) เซพอบอ เส้พ่อบอ (กะเหรี่ยง เชียงใหม่) สะด่าน (เขมร สุรินทร์)   กำยานเป็นไม้ต้น สูง 10–20 ม. เรือนยอดโปร่ง ลำต้นเปลาตรง เปลือกเรียบ สีเทา กิ่งอ่อนมีขนนุ่ม ใบ เดี่ยว เรียงสลับ แผ่นใบรูปไข่ กว้าง 3–4.5 ซม. ยาว 8–12 ซม. ปลายใบเรียวแหลม โคนใบมนและเบี้ยวเล็กน้อย ท้องใบสีขาว มีขนประปราย ขอบใบเรียบ หรือเป็นคลื่นเล็กน้อย เส้นแขนงใบ 6–8 คู่ ก้านใบยาวประมาณ 1.5 ซม. ดอก สีขาว กลิ่นหอม ออกเป็นช่อสั้นๆ ตามง่ามใบและปลายกิ่ง ผล กลมหรือแป้น สีเขียวอ่อน กว้างประมาณ 2.5 ซม. ยาวประมาณ 2 ซม. เปลือกแข็งมีฝาหรือหมวกปิดขั้วผล ซึ่งพัฒนาจากกลีบเลี้ยง มี 1–2 เมล็ด         กำยานมีการกระจายพันธุ์ในป่าดิบเขาทางภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคตะวันออก ที่ความสูงจากระดับทะเลปานกลาง 600–1,200 ม. ออกดอกเดือนมกราคม–กุมภาพันธ์ ผลแก่เดือนมีนาคม–เมษายน         ตำราไทยใช้ชันที่เรียก Gum Benjamin ใช้เข้าเครื่องยาและทำเครื่องสำอาง    

52

53 ขานาง “...หาดเหียงหันกันเกรา สะเดาดูกเดื่อดก กระทกรกรกฟ้ามะข้ามะขามขานาง ย่างทรายไทรไข่เหน้า เปล้าประดู่ดูดาษ สนุ่นหนาดขนุนขนาด พะวาหวานหวายหว้า...”

54

55 ชื่ออื่นๆ:ช้างเผือกหลวง เปลือย เปื๋อยนาง ลิงง้อ
ชื่อพฤกษศาสตร์:Homalium tomentosum (Vent.) Benth. วงศ์:FLACOURTIACEAE ขานางเป็นไม้ต้นขนาดใหญ่  ผลัดใบ สูง เมตร เปลือกต้นเรียบ บาง สีเทาแกมขาว ใบ เดี่ยว เรียงสลับรูปไข่กลับถึงรูปขอบขนานแกมรูปไข่กลับ  โคนใบรูปลิ่ม   ปลายใบมนกลมหรือมีติ่งหนาม  ดอกช่อ สีเหลืองแกมเขียว ออกเป็นช่อยาวแบบช่อเชิงลด ห้อยลง กลีบเลี้ยงเชื่อมติดกันเป็นรูปกรวย มีขน กลีบเลี้ยงและกลีบดอกรูปขอบขนานแกมรูปแถบ มีขนยาว การขยายพันธุ์  เพาะเมล็ด  ตอนกิ่ง ประโยชน์  ใช้ทำคาน เกวียน เครื่องเรือน คราด และกระดาน ยาพื้นบ้าน จังหวัดสุรินทร์ ใช้ต้นต้มน้ำดื่ม เป็นยาแก้อัมพฤกษ์ อัมพาต ถิ่นกำเนิด  เอเซียตะวันออกเฉียงใต้

56 ขวิด(มะขวิด) “...พะวาหวานหวายหว้า สะบ้าสะบกเขลงขลาย ประคำควายประคำไก่ ไผ่เพกาตาเสือ มะเกลือมะกล่ำรำไยไกรกรดกร่างช้างน้าว ขวิดขวาดขว้าวตะโกตะกู...”

57

58 ชื่ออื่นๆ:Wood apple, Elephant's Apple
ชื่อพฤกษศาสตร์:Feronialimonia Swing วงศ์:RUTACEAE มะขวิดเป็นไม้ต้น สูง 6-10 เมตร ใบ เรียงเวียนสลับ  ใบประกอบแบบขนนก ใบย่อย 5-7 ใบ หรือ 9 ใบ  รูปขอบขนานแกมไข่กลับ เนื้อใบมีต่อมน้ำมันกระจายที่ขอบใบ ดอกช่อ ออกที่ปลายกิ่ง หรือที่ซอกใบ กลีบดอกสีเหลืองแกมเขียว เจือด้วยสีแดง ผล รูปทรงกลม เมื่อสุก สีเทาแกมน้ำตาล เนื้อในกินได้ สุกเดือนตุลาคม- ธันวาคม การขยายพันธุ์ เพาะเมล็ด ประโยชน์ ใบแก้ท้องเสีย แก้ตกเลือด พอกหรือทาแก้ฟกบวม รักษาฝีและโรคผิวหนังบางชนิด ถิ่นกำเนิด ในอินเดีย

59 ขนุน “...หาดเหียงหันกันเกรา สะเดาดูกเดื่อดก กระทกรกรกฟ้า มะข้ามะขามขานาง ย่างทรายไทรไข่เหน้า เปล้าประดู่ดูดาษ สนุ่นหนาดขนุนขนาด พะวาหวานหวายหว้า...”

60

61 ชื่อวิทยาศาสตร์ Artocarpus heterophyllus Lamk.
ชื่อวงศ์ MORACEAE ชื่อสามัญ Jack Fruit Tree ชื่อท้องถิ่น ภาคเหนือ-ใต้ เรียก ขะหนุน ภาคอีสาน เรียก หมักหมี้, บักมี่จันทบุรี เรียก ขะนู มลายู-ปัตตานี เรียก นากอ ชาวบน-นครราชสีมา เรียก โนน เขมร เรียก ขนุน, ขะเนอ ลักษณะทั่วไป ขนุนเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ ลำต้นสูงประมาร 8–15 เมตรมียางขาวทั้งต้น ใบ กลมรี ยาว 7–15 ซม. ก้านใบยาว ซม. เนื้อใบเหนียวและหนา ดอก ออกเป็นช่อ ช่อดอกตัวเมียและตัวผู้จะอยู่บนต้นเดียวกัน ช่อดอกตัวผู้จะออกที่ปลายกิ่ง เป็นแท่งยาวประมาณ 2.5 ซม. ช่อดอกตัวเมียเป็นแท่งกลมยาวออกจากลำต้น กิ่งก้านขนาดใหญ่ ผล เป็นผลรวม ผลกลมและยาวขนาดใหญ่ หนักหลายกิโลกรัมเมล็ดกลมรี เนื้อหุ้มเมล็ดสีเหลือง ถ้าสุกมีกลิ่นหอม การปลูก โดยการเพาะเมล็ด ปลูกทั่วไปในสวนและบริเวณบ้าน

62 สรรพคุณทางยา ใบ รสฝาดมันรักษาหนองเรื้อรัง และใบสดนำมาตำให้ละเอียดอุ่นพอกแผล ราก รสหวานอมขม แก้ท้องร่วง แก้ไข้ แก้ธาตุน้ำกำเริบ โลหิตพิการ ฝาดสมานบำรุงกำลัง และบำรุงโลหิต แก่นและราก รสหวานอมขม บำรุงโลหิต แก้กามโรค ขับพยาธิ ระงับประสาท และแก้โรคลมชัก ยาง รสจืด ฝาดเฝื่อน แก้อักเสบบวม แผลมีหนองเรื้อรัง แก้ต่อมน้ำเหลืองอักเสบ ขับพยาธิ และขับน้ำนม เนื้อหุ้มเมล็ด รสหวานมันหอม บำรุงกำลัง และชูหัวใจให้ชุ่มชื่น เนื้อในเมล็ด รสหวานมัน บำรุงน้ำนม ขับน้ำนม และบำรุงกำลัง

63 เขลง(หยี) “...สะบ้าสะบกเขลงขลาย ประคำควายประคำไก่ ไผ่เพกาตาเสือ มะเกลือมะกล่ำรำไย ไกรกรดกร่างช้างน้าว ขวิดขวาดขว้าวตะโกตะกู พลับพลวงพรูพลองสล้าง พลางบพิตรเจ้าช้าง...”

64 ชื่อพื้นเมือง           เขลง  เขล็ง  เคง  นางดำ  อีด่าง  หมากเคง
ชื่อวิทยาศาสตร์    Dialium cochincinchinense Pierre. ชื่อวงศ์                LEGUMINOSAE- CAESALPINIOIDEA          ไม้ต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ สูงถึง 30 เมตร ใบ เป็นช่อ แกนช่อใบยาว 5-12 ซม. ไม่มีขนปกคลุม ช่อใบมีใบย่อย 5-9 ใบ ขึ้นเยื้องสลับกันและมีใบย่อยที่ปลายแกนช่อใบ ทรงใบรูปไข่ป้อมถึงรูปมน กว้าง ซม. ยาว 4-8 ซม. ปลายใบเรียวแหลมหรือมนเส้นแขนงใบด้านข้างมี 6-10 คู่ ปลายเส้นเชื่อมติดกันใกล้ขอบใบ ก้านใบย่อยยาว 4-5 มม. ดอก ขนาดเล็ก ออกเป็นช่อใหญ่ ยาว ซม. มีขนคลุมบางๆ ก้านดอก ย่อยยาวประมาณ 2 มม. ดอกตูมรูปไข่ ยาว 3-4 ซม. กลีบรองกลีบดอกรูปมน ยาว ประมาณ 4 มม. ด้านนอกมีขนสีเทาคลุมบางๆ ด้านในเกลี้ยงไม่มีขน     ก้านเกสรผู้สั้นมาก ยาวประมาณ 3 มม. รังไข่ มีขนนุ่มเป็นมันปกคลุม   ผล  รูปไข่ กว้าง 10 มม.    ยาว 15 มม. ผิวนอกมีขนละเอียดคลุมประปราย เมล็ดรูปมน กว้าง 6 มม. ยาว 9 มม. มีริ้วตามทางยาว ผลแก่ระหว่างเดือน                           

65

66 ขว้าว “...สะบ้าสะบกเขลงขลาย ประคำควายประคำไก่ ไผ่เพกาตาเสือ มะเกลือมะกล่ำรำไย ไกรกรดกร่างช้างน้าว ขวิดขวาดขว้าวตะโกตะกู พลับพลวงพรูพลองสล้าง พลางบพิตรเจ้าช้าง...”

67

68 ชื่ออื่นๆ:กว้าว ชื่อพฤกษศาสตร์:Haldina cordifolia (Roxb.) Ridsdale
วงศ์:RUBIACEAE ขว้าวเป็นไม้ต้นผลัดใบขนาดใหญ่  ใบ เรียงตรงข้ามสลับตั้งฉาก ใบเดี่ยว ป้อม รูปหัวใจ โคนใบโค้งกว้างและเว้าหยักลึกตรงรอยต่อก้านใบ ปลายใบมน ขอบเรียบ แผ่นใบด้านบนมีขนสาก หูใบอยู่ระหว่างก้านใบ รูปไข่กว้าง ปลายมน ประกบติดกันเป็นคู่ที่ยอด ร่วงง่าย ช่อดอก แบบช่อกระจุกแน่น รูปทรงกลม เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1.1 ซม. ออก 1-5 ช่อตามง่ามใบหรือเหนือรอยแผลใบตามปลายกิ่ง  ดอกเล็ก มีจำนวนมาก สีเหลือง กลิ่นหอมอ่อน ผล  แห้ง แตก รูปรี ผิวแข็ง รวมกันบนก้านช่อ เป็นก้อนกลม เมล็ดรูปรี ยาว มม.มีปีกบาง 1 ปีก  ออกดอกระหว่างเดือน มีนาคม - พฤษภาคม  การขยายพันธุ์   เพาะเมล็ด   ประโยชน์  เนื้อไม้ใช้ก่อสร้างภายใน  ถิ่นกำเนิด  จีนตอนใต้ อินเดีย  ศรีลังกา พม่า ภูมิภาคอินโดจีนและมาเลเซียตอนเหนือ ในประเทศไทย มีการกระจายทั่วทุกภาค ขึ้นตามป่าเบญจพรรณ ป่าเต็ง ที่สูงตั้งแต่ระดับน้ำทะเลจนถึง 80 ซม.

69 ไข่เน่า(ไข่เหน้า) “...ย่างทรายไทรไข่เหน้า เปล้าประดู่ดูดาษ สนุ่นหนาดขนุนขนาด พะวาหวานหวายหว้า ละบ้าละบกเขลงขลาย ประคำควายประคำไก่ ไผ่เพาตาเสือ มะเกลือมะกล่ำรำไร...”

70

71 ชื่ออื่น ขี้เห็น คมขวาน ฝรั่ง รูปลักษณะ ไม้ยืนต้นขนาดกลาง สูง เมตร ใบประกอบแบบนิ้วมือ เรียงตรงข้าม ใบย่อย 3-5 ใบ รูปไข่กลับแกมวงรี หรือรูปใบหอกกลับ กว้าง 4-6 ซม. ยาว ซม. ดอกช่อ ออกที่ซอกใบ กลีบดอกสีม่วงอ่อน เชื่อมติดกันเป็นหลอดกว้าง มีขนละเอียด ผลเป็นผลสด รูปไข่หรือรูปไข่กลับ เมื่อสุกสีม่วงดำ สรรพคุณและส่วนที่นำมาใช้เป็นยา เปลือกต้น, รากเป็นยาเจริญอาหาร แก้เด็กถ่ายเป็นฟอง แก้บิด แก้ไข้ แก้ตานขโมย แก้ท้องเสีย

72

73 คูน “...หลายเหล่าพรรณพฤกษา มีไม้นานาไม้แมก หมู่ตะแบกตะบาก มากกระเบากระเบียน ตะขบตะเคียนคูนแค สมอสมีแสมม่วงโมก ซากซึกโศกสนสัก รวกโรกรักรังรง...”

74

75 ชื่อวิทยาศาสตร์ Cassia fistula Linn 
ชื่อวงศ์ CAESALPINIACEAE  ชื่อสามัญ Golden Shower, Indian Laburnum, Pudding-Pine Tree, Purging Cassia  ชื่อท้องถิ่น ภาคเหนือ เรียก ลมแล้ง    ภาคใต้ เรียก ราชพฤกษ์   ปัตตานี เรียก ลักเกลือ ลักเคย   ภาคกลาง เรียก ชัยพฤกษ์ ราชพฤกษ์   กะเหรี่ยง-กาญจนบุรี เรียก กุเพยะ   กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน เรียก ปือยู , ปูโย , เปอโซ , แมะหล่า อยู่   อีสาน เรียก คูน     ลักษณะทั่วไป ราชพฤกษ์เป็นไม้ยืนต้นสูงได้ถึง ๑๕ เมตร เปลือกต้นสีเทา ผิวเรียบ ใบ เป็นใบประกอบ ที่ปลายก้านใบเป็นคู่ ใบย่อยเป็นรูปไข่ ปลายใบแหลม เนื้อใบเกลี้ยงค่อนข้างบางหูใบมีขนาดเล็กและร่วงง่าย ดอกออกเป็นช่อห้อยระย้าจากซอกใบ ช่อดอกมีกลีบเลี้ยง ๕ กลีบ มีแผ่นบางๆ ยาว ๑.๑๕ ซม.กลีบดอกมี ๖ กลีบ สีเหลืองสดปลายมนเห็นเส้นลายชัดเจน ผล เป็นฝักทรงกระบอกเปลือกนอกบางและแข็งเหมือนไม้ เรียบไม่มีขนยาว ๒๐ - ๖๐ ซม. มีเส้นผ่าศูนย์กลาง ๑.๕ - ๒ ซม. ภายในแบ่งเป็นช่องๆ มีเมล็ดรูปรีแบนสีน้ำตาลจำนวนมาก

76 การปลูก เพาะเมล็ดให้ได้ต้นกล้าสูง ๓๐ - ๕๐ ซม
การปลูก เพาะเมล็ดให้ได้ต้นกล้าสูง ๓๐ - ๕๐ ซม. ขุดหลุมกว้างและลึก ๕๐ - ๗๐ ซม. ตากดินไว้ ๑๐- ๑๕ วันใช้ปุ๋ยคอกรองก้นหลุมนำต้นกล้าลงปลูก กลบดินให้แน่น รดน้ำให้ชุ่ม ปลูกง่าย ไม่ช้าก็จะตั้งตัวได้  สรรพคุณทางยา   ฝัก รสหวานอมเปรี้ยวเล็กน้อย มีกลิ่นเหม็นเอียน เย็นจัด ไม่มีพิษสรรพคุณใช้ขับเสมหะ ขับพยาธิ แก้เด็กเป็นตานขโมย เป็นยาถ่ายและแก้ไข้มาลาเรีย  เนื้อในฝัก รสหวานเอียน ใช้เป็นยาถ่ายพยาธิ ยาระบาย แก้ไข้มาลาเรีย แก้ปวดข้อ  เมล็ด เมล็ดเป็นยาระบายและทำให้อาเจียน  ดอก ดอก รสขมเปรี้ยว เป็นยาถ่ายแก้โรคเกี่ยวกับกระเพาะอาหารและแผลเรื้อรัง  ใบอ่อน รสเมา แก้กลาก        ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ เนื้อในฝักคูนมีสารประเภท Anthraqinones หลายตัว เช่น Aloin, Rhein, Sennoside A, B และยังมี Organic acid สาร Anthraquinone ทำให้เนื้อฝักคูนมีฤทธิ์เป็นยาระบายได้ โดยมีฤทธิ์ไปกระตุ้นการบีบตัวของลำไส้ เหมาะสำหรับผู้ที่ท้องผูกเป็นประจำ  

77 แค “...หลายเหล่าพรรณพฤกษา มีไม้นานาไม้แมก หมู่ตะแบกตะบาก มากกระเบากระเบียน ตะขบตะเคียนคูนแค สมอสมีแสมม่วงโมก ซากซึกโศกสนสัก รวกโรกรักรังรง..."

78

79 ชื่อวิทยาศาสตร์ Sesbania grandiflora Desv ชื่อวงศ์ Papilionaceae ชื่อสามัญ Vegetable Humming Bird, Sesban, Agasta ชื่อท้องถิ่น แคแกง, แคขาว ลักษณะทั่วไป         เป็นต้นไม้พื้นบ้าน เป็นต้นไม้เนื้ออ่อน ปลูกได้ในทุกพื้นที่ ทั้งดินเหนียวและดินปนทราย นิยมปลูกเป็นรั้วบ้าน คันนา ริมถนน และในบริเวณบ้าน หรือปลูกไว้เพื่อปรับพื้นที่ให้มีปุ๋ย เพราะใบแคที่ผุแล้ว ทำให้ดินอุดมสมบูรณ์ ส่วนที่นำมารับประทานได้ มียอดอ่อน ดอกอ่อน ใบอ่อน และฝักอ่อน ออกในช่วงฤดูฝน ส่วนดอกอ่อนจะออกในช่วงฤดูหนาว ดอกแค 100 กรัม หรือ 1 ขีด ให้พลังงานต่อร่างกาย 10 กิโลแคลอรี มีเส้นใยอาหาร แคลเซียม ฟอสฟอรัส เหล็ก แคโรทีน วิตามินเอ วิตามินบีหนึ่ง วิตามินบีสอง และวิตามินซี การรับประทานดอกแคจะทำให้ร่างกายได้เส้นใยอาหาร ดอกแคเมื่อแก่จนกลีบร่วง ก็จะมีฝักอ่อน นำมาทำอาหารได้ เมื่อแก่จะแพร่พันธุ์ด้วยเมล็ด เจริญเติบโตง่าย มีอายุไม่นาน ก็ยืนต้นตาย แพร่พันธุ์ด้วยฝักที่มีเมล็ดแก่จัด การนำดอกแคมาทำอาหารต้องเด็ดเกสรสีเหลืองของดอกแคออกก่อนจะทำให้ไม่มีรสขม

80

81 จำปา “...เหล่าลำดวนดาษดง แก้วกาหลงชงโค ยี่สุ่นยี่โถโยทะกา
“...เหล่าลำดวนดาษดง แก้วกาหลงชงโค ยี่สุ่นยี่โถโยทะกา พุดจีบลาลานเนตร เกดพิกุลแบ่งกลีบ ปีบจำปีจำปา มะลุลีประดู่ดงปรูประยงค์ยมโดย...”

82

83

84

85 ชื่อวิทยาศาสตร์ Michelia champaca Linn.
วงศ์ MAGNOLIACEAE เป็นต้นไม้สูงประมาณ 3-4 เมตร เรือนต้นเป็นพุ่มน้อยๆ แต่มักจะชะลูด มีดอกสีเหลืองอมสีส้ม     กลิ่นหอมแรงมากพอใช้ และมักเริ่มหอมแต่เวลาเช้า และกลิ่นค่อยๆ ซาลงตอนเที่ยงถึงบ่าย ดอกมีเกือบตลอดปี แต่ชุกเป็นฤดู จำปาไม่ชอบที่ลุ่ม ฉะนั้นเวลาปลูกต้องเลือกที่ดอนๆ สักหน่อย แล้วมีน้ำถ่ายเทได้ตลอด ถ้าเอาไปปลูกตามที่ลุ่มน้ำขัง มักจะไม่รอด การเอาไปปลูกเขาใช้เพาะเมล็ดก็มี และใช้กิ่งตอนก็มีเหมือนกัน

86 จำปี “...เหล่าลำดวนดาษดง แก้วกาหลงชงโค ยี่สุ่นยี่โถโยทะกาพุดจีบลาลานเนตร เกดพิกุลแบ่งกลีบ ปีบจำปี จำปา มะลุลีประดู่ดง ปรูประยงค์ยมโดย...”

87

88

89

90 ชื่อวิทยาศาสตร์ Michelia alba DC.Syn :
M. longifolia Blume. วงศ์ MAGNOLIACEAE ถิ่นกำเนิด อินโดนีเซีย เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง ลำต้นใหญ่สูงกว่าจำปาเล็กน้อย ต้นจะแตกพุ่มยอดใบงามกว่าจำปา ใบนั้นเป็นใบเดี่ยว ปลายใบจะแหลม โคนใบมน ดอกเป็นดอกเดี่ยว มีสีขาวคล้าย ๆ กับสีของงาช้าง จะมีกลีบอยู่ 8-10 กลีบ ซ้อนกัน กลีบดอกจะเรียวกว่าจำปา ยาวประมาณ 2 นิ้ว ตรงกลางดอกจะมีเกสรเป็นแท่งกลมเล็ก ยอดแหลมคล้ายผักข้าวโพดเล็ก ๆ ปลูกประมาณ 3 ปี จำปีถึงจะให้ดอก สามารถออกดอกได้ตลอดทั้งปี

91

92 ช้างน้าว “...สะบ้าสะบกเขลงขลาย ประคำควายประคำไก่ ไผ่ผกาตาเสือ มะเกลือมะกล่ำรำไย ไกรกรดกร่างช้างน้าว ขวิดขวาดขว้าวตะโกตะกู พลับพลวงพลูพลองสล้าง พลางบพิตรเจ้าช้าง...”

93

94 ชื่ออื่นๆ:Ochna integerrima Lour. Merr
ชื่ออื่นๆ:Ochna integerrima Lour. Merr. ชื่อพฤกษศาสตร์:OCHNACEAE วงศ์:กระแจะ, ตาลเหลือง ช้างน้าวเป็นไม้ต้นผลัดใบขนาดเล็ก ตามปลายกิ่งมีกาบหุ้ม ตาแข็งและแหลม ใบ  เดี่ยว รูปไข่กลับ  โคนสอบแคบ ปลายเรียวแหลม มนหรือเว้า  เส้นใบละเอียด  ดอกช่อ  เหลือง ออกเป็นช่อกระจุกตามกิ่ง  ร่วงง่าย  ผล  กลม เมล็ดเมื่อสุกมีสีดำติดอยู่บนฐานรองดอกสีแดง ออกดอกเดือน มกราคม- พฤษภาคม การขยายพันธุ์   เพาะเมล็ด ประโยชน์  รากขับพยาธิ  แก้น้ำเหลืองเสีย ถิ่นกำเนิด เอเชียตะวันออกเฉียงใต้  ขึ้นตามป่าเบญจพรรณและป่าเต็งรัง ในต่างประเทศที่ลาวและเวียตนามถือว่าเป็นไม้มงคล มีการซื้อขายกิ่งที่มีดอกตูมและนิยมนำไปปักไว้ที่

95 ช้องนาง เฌอปรางเปรียบนากน้อง นวลปราง รักดั่งรักน้องพาง พี่ม้วย ช้องนางเฉกช้องนาง คลายคลี่ ลงฤา โศกพี่โศกสมด้วย ดั่งไม้นานมี

96

97 ชื่ออื่นๆ:Bush Clockvine ชื่
อพฤกษศาสตร์:Thunbergia erecta T. Anders. วงศ์:ACANTHACEAE ช้องนางเป็นไม้พุ่มเล็กเตี้ย  ต้นสูง 2-3 เมตร ใบ  คล้ายใบแก้ว ใบมนปลายแหลม ออกเป็นคู่ตามกิ่ง  ขอบใบเป็นคลื่น ดอก  สีน้ำเงินปนม่วง  แต่พันธุ์สีขาวหายากกว่าพันธุ์สีม่วง  ดอกกลมเป็นรูปปากแตรคล้ายดอกอินทนิลแต่เล็กกว่า กลางดอกเป็นตาสีเหลือง ถ้าบานอยู่กับต้นจะอยู่ได้ 2 วัน  ถ้าเด็ดออกจากต้นจะเหี่ยวเฉาเร็ว ผล เป็นรูปสามเหลี่ยม เมื่อแก่มีสีน้ำตาล แตกได้   ออกดอกตลอดปี การขยายพันธุ์   ตอนกิ่ง ปักชำกิ่ง ประโยชน์  เป็นไม้ประดับ ตัดแต่งเป็นพุ่ม หรือปลูกเป็นรั้วงามน่าชม ถิ่นกำเนิด แอฟริกาตะวันตก ปลูกง่ายในที่แจ้งและมีร่มเงา  ชอบดินร่วนซุย

98 ชงโค “….เหล่าลำดวนดาษดง แก้วกาหลงชงโค ยี่สุ่นยี่โถโยทะกา พุดจีบลาลานเนตร เกดพิกุลแบ่งกลีบ ปีบจำปีจำปา มะลุลีประดู่ดง ปรูประยงค์ยมโดย...”

99

100 ชื่ออื่นๆ:เสี้ยวดอกแดง Orchid Tree
ชื่อพฤกษศาสตร์:Bauhinia purpurea L. วงศ์:LEGUMINOSAE - CAESALPINIOIDEAE ชงโคเป็นไม้ต้น  ผลัดใบ  สูง 5-10 เมตร  ใบ  เดี่ยว ออกสลับ รูปค่อนข้างกลม โคนมนหรือเว้า ปลายเว้าลึก ดอกช่อ  สีชมพูถึงม่วงเข้ม ออกเป็นช่อตามซอกใบและปลายกิ่ง  กลีบดอก  5  กลีบ คล้ายดอกกล้วยไม้ มีกลิ่นหอม ดอกใหญ่  7-10 ซม. ผล เป็นฝักแบนเมื่อแก่แตกเป็น 2 ซีก ออกดอกเดือนเมษายน-พฤษภาคม การขยายพันธุ์  เพาะเมล็ด  ตอน ประโยชน์  รากใช้เป็นยาขับลม  เปลือกเป็นยาแก้บิด แก้ท้องร่วง ดอกแก้ไข้  เป็นยาระบาย  เป็นไม้ที่มีประโยชน์ทางเศรฐกิจมาก ถิ่นกำเนิด เขตร้อนทั่วไป 

101 ซ้องเเมว “..หมู่มะไฟมะฝ่อ หมู่มะก่อมะกัก กระลำพักกระลำพอ ยูงยานยอกำยาน แต้วตูมตาลตาดต้อง ซ้องแมว โมงมูกมัน หาดเหียงหันกันเกรา สะเดาดอกเดื่อดก...”

102

103 เป็นไม้พุ่มรอเลื้อย ใบเป็นชนิดใบเดี่ยว ออกตรงข้ามกันกับคู่ มีลักษณะเป็นรูปไข่ ปลายมน ดอกช้องแมวออกเป็นช่อตามกิ่งข้าง และห้อยลงมา ดอกจะออกจากซอกของใบประดับ ซึ่งเรียงซ้อนกัน ตัวใบประดับ เป็นสีเขียวอมเหลืองมีสีแดงประอยู่เป็นจุด ตัวดอกสีเหลือง ที่โคนกลีบติดกันเป็นรูปหลอดกลีบดอกแยกกันที่ปลายของหลอดดอก ช้องแมวจะออกดอกในช่วง เดือนมีนาคม-พฤษภาคม ขยายพันธุ์ ด้วยการตอนหรือการปักชำ

104

105 ตะขบ “...หลายเหล่าพรรณพฤกษามีไม้นานาไม้แมก หมู่ตะแบกตะบากมากกระเบากระเบียน ตะขบตะเคียนคูนแค สมอสมีแสมม่วงโมก ซากซึกโศกสนสัก รวกโรกรักรังรง ...”

106

107 ชื่ออื่นๆ:ตะขบควาย , East Indian plum ชื่อพฤกษศาสตร์:Flacourtia jangomas ( Lour.) Ransch วงศ์:FLACOURTIACEAE ตะขบเป็นไม้ต้นขนาดกลาง  แตกกิ่งก้านสาขาที่เรือนยอดของต้น ใบ เดี่ยว รูปเกือบกลม ใบเรียงสลับตรงข้ามหรือวงรอบข้อ  สีเขียว  ดอก สมมาตรเท่ากัน ออกตามซอกใบหรือปลายยอด กลีบดอกมีมากกว่ากลีบเลี้ยง ผล มีเนื้อหลายเมล็ด รูปทรงกลม มีรสหวานแต่ฝาดเล็กน้อย  สุกมีสีแดงอมดำ การขยายพันธุ์  เพาะเมล็ด  ตอนกิ่ง ประโยชน์  ผล กินได้  เนื้อไม้ใช้ทำยาแก้ท้องร่วง บิด มูกเลือด ราก นำไปปรุงเป็นยาขับเหงื่อ ถิ่นกำเนิด  อินเดีย  จีนภูมิภาคอินโดจีน มาเลเซีย  พบตามป่าราบ

108 ตะเคียน “...หลายเหล่าพรรณพฤกษา มีไม้นานาไม้แมก หมู่ตะแบกตะบาก มากกระเบากระเบียน ตะขบตะเคียนคูนแค สมอสมีแสมม่วงโมก ซากซึกโศกสนสัก รวกโรกรักรังรง...”

109

110 ชื่อพื้นเมืองกะกี้ โกกี้ (กะเหรี่ยง-เชียงใหม่), แคน (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ), จูเค้ โซเก จะเคียน (ภาคเหนือ), ตะเคียนทอง (ภาคกลาง)   ชื่อวิทยาศาสตร์Hopea odorata Roxb.  ชื่อสามัญIron Wood, Thingan, Sace, Malabar lron Wood  ชื่อวงศ์Dipterocarpaceae  ถิ่นกำเนิดเป็นไม้ในเขตมรสุมของเอเชีย ส ภาพนิเวศน์ชอบขึ้นในที่ลุ่มและชุ่มชื้น  การขยายพันธุ์เพาะเมล็ด การเก็บเมล็ดจากต้นโดยสังเกต เมื่อปีกของผลเริ่มเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล และต้องรีบนำมาเพาะ ถ้าเก็บทิ้งไว้นาน เปอร์เซ็นต์การงอกจะลดลง  ประโยชน์เนื้อไม้ต่อเรือ ทำเครื่องตกแต่งบ้าน และเครื่องมือใช้ในทางกสิกรรม เนื้อไม้สวยและทนทาน ทางยา แก่นมีรสขมหวาน รักษาคุดทะราด ขับเสมหะ แก้โลหิตและกำเดา

111 ตะเคียนเป็นไม้ต้นขนาดใหญ่ เป็นพืชอยู่ในสกุลเดียวกันกับสยาดำ ตะเคียนหนูคือสกุล "Hopea" ในวงศ์ "Dipterocarpaceae" ลักษณะ ตะเคียนเป็นไม้ต้นไม่ผลัดใบ ลำต้นเปลาตรงเปลือกสีน้ำตาลคล้ำหรือดำ ที่รอยแตกของเปลือกจะมีชันสีเหลืองเกาะอยู่ที่แผลแตก ต้นที่ยังเล็กอยู่เปลือกจะเรียบ แต่ถ้าต้นโตเต็มที่เปลือกจะแตกเป็นสะเก็ด เรือนยอดหนาทึบเป็นพุ่มกลม เนื้อไม้ละเอียดสีน้ำตาลปนเหลือง ใบ เดี่ยว เรียงสลับรูปไข่แกมรูปหอก ผิวใบเกลี้ยงเป็นมัน ตรงที่ง่ามแขนงใบที่ติดกับเส้นกลางใบมักมีตุ่มหูดติดอยู่ ดอก ช่อ ออกตามง่ามใบ ดอกย่อยมีขนาดเล็กสีขาวถึงเหลืองอ่อน มีกลิ่นหอม ดอกจะเรียงกันเป็นแถวบนก้านช่อดอกย่อยที่ช่อมีขนสีเทาทั่วๆ ไป ผล รูปกระสวยเล็ก มีปีกยาว ๒ ปีก ปีกสั้น ๓ ปีก ปีกยาวแต่ละปีกมีเส้นๆ ตามความยาว ปีกละ ๗ เส้น

112 ตะโก “...สะบ้าสะบกเขลงขลาย ประคำควายประคำไก่ ไผ่ผกาตาเสือมะเกลือมะกล่ำรำไย ไกรกรดกร่างช้างน้าว ขวิดขวาดขว้าวตะโกตะกู พลับพลวงพลูพลองสล้าง พลางบพิตรเจ้าช้าง

113

114 ชื่ออื่นๆ:มะโก, ตะโกนา, Ebony
ชื่อพฤกษศาสตร์:Diospyros rhodocalyx Kurz วงศ์:EBENACEAE ตะโกเป็นไม้ต้น สูงได้ถึง 15 เมตร ใบ  เดี่ยว เรียงสลับ รูปไข่กลับ หรือรูปรี  ดอก กลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นรูปคนโท หรือรูปไข่ สีขาวนวล  ผลสด รูปไข่ มีขนละเอียด  ออกดอกระหว่างเดือนมีนาคม- เมษายน เป็นผลระหว่างเดือน เมษายน- มิถุนายน  การขยายพันธุ์  เพาะเมล็ด ประโยชน์   เปลือก ต้น และแก่น บำรุงธาตุ  บำรุงกำลัง ต้มกับเกลือ  อมรักษารำมะนาด   ผลแก้ท้องร่วง  คลื่นไส้   เปลือกผล    เผาเป็นถ่าน      ขับปัสสาวะ ต้นเป็นไม้ประดับตกแต่งเป็นไม้ดัดสวยงาม  ไม้ใช้ทำเฟอร์นิเจอร์หรือด้ามเครื่องมือ ผลอ่อนใช้ย้อมผ้า ย้อมแห ผลสุกกินได้ ถิ่นกำเนิด ขึ้นได้ทั่วประเทศเว้นภาคใต้  พบตามป่าผลัดใบจนถึงริมทุ่งนาที่ระดับ เมตร เหนือระดับน้ำทะเล  ในต่างประเทศ  พบที่พม่า ลาว เวียดนาม

115 นมสวรรค์ สุกรมกรมสุขไซร้ ไป่มี กรมแต่ทุกข์เทวษทวี ห่อนเว้น
สุกรมกรมสุขไซร้ ไป่มี กรมแต่ทุกข์เทวษทวี ห่อนเว้น นมสวรรค์นึกบัวศรี เสวาภาคย์ พี่เอย ถวิลบ่เคยขาดเคล้น คลาดน้องใครถนอม

116

117

118 ชื่อวิทยาศาสตร์ :   Clerodendruim paniculatum
 วงศ์:  VERBENACEAE                                            พนมสวรรค์ เป็นพันธุ์ไม้ของไทยที่ค่อนข้างหายากชนิดหนึ่งในปัจจุบันนี้ สันนิษฐานว่าจะมีถิ่นกำเนิดอยู่ในประเทศไทย หรือในแถบสุมาตรานี้เอง เป็นไม้พุ่มเตี้ยลักษณะต้นและใบคล้ายนางแย้ม ต้นสูงประมาณ 5-8 ฟุต ลำต้นและกิ่งก้านเป็นทรงสี่เหลี่ยม กิ่งอ่อนสีเขียวจัดกิ่งแก่สีน้ำตาลจาง ๆ  ในลำต้นและกิ่งกลวง กิ่งเปราะและหักง่ายเมื่อทุกพายุแรง ๆ ใบโตขอบใบจักเป็นรูปมุมแหลมหยักเข้าในสองหยัก ขนาดใบยาวประมาณ 8-12 นิ้ว ลักษณะใบค่อนข้างบอบบาง เมื่อโดนแสงแดดจัดใบจะเหี่ยวหลุบลง แต่จะฟื้นได้โดยเร็ว เมื่อพ้นแสงแดด หรือถูกน้ำ ดอกสีเหลืองเหมือนสีทองสุกสว่าง ลักษณะดอกคล้ายดอกเข็ม มี 5 กลีบ เกสรยาวโผล่ดอกออกมาเป็นประมาณเท่ากับความยาวของหลอดดอก คือประมาณ 3 เซนติเมตร ออกเป็นช่อตั้งทรงฉัตรตามยอดปลายกิ่ง ดอกช่อหนึ่ง ๆ สูงประมาณ นิ้ว ดอกจะบานอยู่ราว 1 สัปดาห์ จึงติดเมล็ด เป็นต้นไม้ออกดอกตลอดปี         

119 ไฟว่าไฟราคลาม ลวกร้อน นางแย้มหนึ่งแย้มยาม เยาว์ยั่ว แย้มฤา
ไม้โรกเหมือนโรคเร้า รุมกาม ไฟว่าไฟราคลาม ลวกร้อน นางแย้มหนึ่งแย้มยาม เยาว์ยั่ว แย้มฤา ตูมดั่งตูมตีข้อน อกอั้นกันแสง

120

121

122 ชื่อวิทยาศาสตร์ : Volkameria fragrans.. วงศ์ : VERBENACEAE
ชื่อพื้นเมือง :    ปิ้งชะมด  ปิ้งช้อน ,ปิ้งสมุท, ส้วนใหญ่ วรรณคดีไทยที่กล่าวถึง :     อิเหนา , รามเกียรติ์ , ดาหลัง, ลิลิตพระลอ , นิราศธารโศก , นิราศทองแดง , ลิลิตตะเลงพ่าย , กาพย์เห่เรือเจ้าฟ้ากุ้ง นางแย้มเป็นไม้เนื้ออ่อน มีพุ่มเตี้ย สูงประมาณ 3-5 ฟุต เป็นไม้ใบเดี่ยวออกใบเป็นคู่ขนานกันตามข้อต้น ใบรูปใบโพ ขอบมีจักรอบใบแต่ไม่มีติ่ง ปลายใบแหลมยาวอย่างใบโพ ขนาดใบกว้างประมาณ 14 เซนติเมตร ยาวประมาณ 17 เซนติเมตร ใบค่อนข้างอ่อนนุ่มแต่ระคายมือ

123

124 บุนนาค “... บุญนาคปนปะแปม การะเกด แกมกรรณิการ์ มะลิวัลย์ลาหลายหลาก มากเมิลหมู่แมกไม้ ถวิลถึงอ่อนไท้ ธิราชร้อยทรวงเสียง...”

125

126 ชื่อพฤกษศาสตร์:Mesua ferrea L. วงศ์:GUTTIFERAE
บุนนาคเป็นไม้ต้นขนาดกลาง  สูง   เมตร    ต้นเป็นรูปสามเหลี่ยมขนาดต้นมะพร้าว โคนต้นกว้าง ปลายยอดแหลม เปลือกเรียบ สีน้ำตาลปนเทา  ใบ  เดี่ยว ออกตรงกันข้าม  รูปใบหอก  หรือขอบขนานแกมใบหอก หนา ทึบ โคนใบสอบ  ปลายใบเรียวแหลม  กว้าง 2 ซม. ยาว 8 ซม. ใบอ่อนสีชมพู   ใบแก่คราบสีขาวใต้ใบ  เส้นใบถี่  เนื้อหนา  ดอก  ออกเดี่ยวหรือเป็นกระจุก 2-3  ดอก ตามซอกใบ  ดอกรูปช้อนงอเป็นกระพุ้ง  มี 2 ชั้น  ชั้นละ 2  กลีบ  กลีบดอกมี 4  กลีบ โคนเว้า สอบและปลายบาน กลีบรองดอกหนา แข็ง จะทนอยู่จนเป็นผล  ดอกสีขาวหรือเหลืองอ่อน   กลิ่นหอมมาก   ผล  รูปไข่   แข็ง  กว้าง  2  ซม. ยาว 4 ซม. ปลายโค้งแหลม  มี เมล็ด 1- 2  เมล็ด   ออกดอกเดือน  มีนาคม- กรกฎาคม  การขยายพันธุ์   เพาะเมล็ด  ประโยชน์   ปลูกเป็นไม้ประดับ ใบ สมานแผลสด  ดอก บำรุงดวงจิต ระงับกลิ่นตัว วิงเวียน ใจสั่น บำรุงโลหิต  เกสร บำรุงครรภ์   แก้ไข้   แก่น แก้เลือดออกตามไรฟัน  ราก ขับลมในลำไส้   เปลือก ใช้กระจายหนอง    ถิ่นกำเนิด  เอเซียตะวันออกเฉียงใต้  มักปลูกกันทั่วไป ขึ้นประปรายในป่าดิบทางภาคเหนือและภาคใต้  

127

128 ประดู่ “...แก้มกาหลงชงโค ยี่สุ่นยี่โถโยทะกา พุดจีบลาลานเนตร เกดพิกุลแบ่งกลีบ ปีบจำปาจำปี มะลิลีประดู่ดง ปรูประยงค์ยมโดย โรยเรณูร่วงเร้า...”

129

130 ชื่อวิทยาศาสตร์ :        Pterocapus macrocarpus
 วงศ์ :       PAPILONACEAE ประดู่ เป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่สูงไดถึง 25 เมตร หรือกว่านั้นเนื้อไม้มีราคาและมีประโยชน์ในทางหัตถศิลป์หลายอย่าง เปลือกลำต้นเป็นสีน้ำตาลเข้มหรือดำคล้า และเลือกจะแจกสะเก็ดออกเป็นร่องตื้น ๆ ใบเป็นใบรวมเป็นช่อหนึ่ง ๆ มีประมาณ 7-11 ใบที่ออกปลายช่อออกเดี่ยวไม่จับคู่ และมีขนาดใหญ่กว่าใบคู่อื่น ๆ ในช่อเดียวกัน รูปใบมนรี ปลายใบแหลม ขอบใบเรียบ ขนาดใบยาวประมาณ 3-5 เซนติเมตร

131 ปรู “...แก้มกาหลงชงโค ยี่สุ่นยี่โถโยทะกา พุดจีบลาลานเนตร เกดพิกุลแบ่งกลีบ ปีบจำปาจำปี มะลิลีประดู่ดง ปรูประยงค์ยมโดย โรยเรณูร่วงเร้า..”

132

133

134 ชื่อวิทยาศาสตร์ :      Alangium saluiifolium
 วงศ์ :      ALANGIACEAE ชื่อไทยพื้นเมือง :    ปรู่ ,ปรู๋ ,  ปู๋ , ผุ, ผล,  มะเกลือกา , มะตาปู๋ ปรู เป็นต้นไม้ผลัดใบ ขนาดไม่ใหญ่มากนัก คือ อาจสูงได้ตั้งแต่ 5-15 เมตร พบขึ้นอยู่ตามป่าเบญจพรรณแล้ง ในภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคเหนือ ต้นไม้ต้นนี้จะต้องทิ้งใบหมดต้นก่อน จึงจะผลิดอกออกผล แต่ในระหว่างที่ยังไม่ผลัดใบ เรือนพุ่มยอดจะแลดูโปร่ง รูปร่างเรือนยอดไม่แน่นอน ลำต้นและกิ่งก้านก็มักจะบิดตะกูด คดโค้ง งอไปงอมา ภาษาทางศิลปเราเรียกว่าเรือนต้นไม้ในรูปแบบอย่างนี้ว่า ทรง Dramatic From  หรือ ทรง “ลีลาเริงระบำ” อะไรทำนองนี้แหละครับ คงเพราะเหตุนี้เองจินตกวีของเราจึงกล่าวถึงต้นไม้นี้ไว้มากในวรรณคดีไทยต่างๆ

135 ปริง(มะปริง) “...ตะขบตะเคียนคูนแค สมอสมีแสมม่วงโมก ซากซึกโศกสนสัก รวกโรกรักรังรง ปริกปริง ปรงปรางปรู ลำแพนลำพูลำพัน จิกแจงจันทน์พันจำ เกดระกำกอกกุ่ม...”

136

137 ชื่ออื่นปริง โต้ง ตง(ใต้) ส้มปริง(ระนอง)
เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง สูงประมาณ 8-20 เมตร ใบใบเดี่ยว ออกตรงข้ามเป็นคู่ แต่ละคู่สลับทิศทาง กันใบอ่อนสีม่วงห้อยย้อยลงมา ใบรูปขอบขนาน หรือรูปหอก ดอกดอกสีเหลืองอ่อน หรือขาวปนเขียวอ่อน ออกเป็น ช่อตามง่ามใบ และปลายกิ่งมีทั้งดอกแยกเพศ และดอกสมบูรณ์เพศ ผลผลกลมรี ผิวผลบางมีเนื้อเยื่อหุ้ม ผลแก่สีเหลือง มีรสหวานอมเปรี้ยวหรือหวานเมล็ดแข็ง มีเสี้ยนมาก เมล็ดในสีม่วง ยอดอ่อน รับประทานเป็นผักเหนาะ ผลดิบ ทำน้ำพริก รับประทานได้ รสหวานอม เปรี้ยว

138 คุณค่าทาง โภชนาการ ผลสุก มีกรดอินทรีย์หลายชนิด มีน้ำตาล มีวิตามินซีและวิตามินเอสูง ธาตุฟอสฟอรัส แคลเซียม และอื่น ๆ ผลดิบ มีกรดอินทรีย์และวิตามินซีสูงกว่าผลสุก มีธาตุแคลเซียม ฟอสฟอรัส และอื่น ๆ ใช้เป็นยาราก ถอนพิษสำแดง แก้ไข้กลับไข้ซ้ำ แก้ไข้ ตัวร้อน ผล แก้เสมหะ กัดเสมหะในคอ แก้สอดทางวัว แก้น้ำลายเหนียว ฟอกโลหิต

139 ประยงค์ “...ปรูประยงค์ ยมโดย โรยเรณูร่วงเร้า เย้ากมลชวนชื่น สุรภีรื่นรสคนธ์ บุนนาคปนปะแปม...”

140

141 ชื่ออื่นๆ:Chinese Rice Flower, หอมไกล
ชื่อพฤกษศาสตร์:Aglaia odorata Lour. วงศ์:MELIACEAE ประยงค์เป็นไม้พุ่ม    สูง 4-7 เมตร  ใบ ประกอบแบบขนนกออกสลับ แกนกลางใบแผ่ออกเป็นครีบเล็กๆ  มีใบย่อย 5 ใบ รูปไข่กลับ โคนแหลม ปลายมน คล้ายใบแก้ว ดอกช่อ  ออกเป็นช่อตามซอกใบและปลายกิ่ง ดอกเล็กมาก สีเหลือง กลิ่นหอมแรง ส่งกลิ่นหอมไกล ออกดอกเป็นคราวๆ ตลอดปี ถ้าปลูกในที่แจ้งจะออกดอกง่าย  ผล รูปรี   เมื่อสุกมีสีแดง ออกเดือนสิงหาคม-ธันวาคม  การขยายพันธุ์   เพาะเมล็ด  ตอนกิ่ง  ปักชำ  ประโยชน์  รากกินเป็นยาถอนพิษเบื่อเมา  แก้ไข้  ดอกใช้แต่งกลิ่นใบชา    ถิ่นกำเนิด  เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 

142

143 พุดจีบ “...เหล่าลำดวนดาษดง แก้วกาหลงชงโค ยี่สุ่นยี่โถโยทะกา พุดจีบลาลานเนตร เกดพิกุลแบ่งกลีบ ปีบจำปีจำปา มะลุลีประดู่ดง ปรูประยงค์ยมโดย...”

144

145 พลอง “...สะบ้าสะบกเขลงขลาย ประคำควายประคำไก่ ไผ่ผกาตาเสือ มะเกลือมะกล่ำรำไย ไกรกรดกร่างช้างน้าว ขวิดขวาดขว้าวตะโกตะกู พลับพลวงพลูพลองสล้าง...”

146

147 ชื่ออื่นๆ:พลองเหมือด, พลองดำ ชื่อพฤกษศาสตร์:Memecylon edule L.
วงศ์:MELASTOMATACEAE พลองเป็นไม้ต้น  สูง 5- 7 เมตร  ใบ เดี่ยว ออกตรงกันข้าม  โคนแหลมหรือมน  ปลายเรียวแหลม    ใบหนา   ดอกช่อ  ดอกตูมสีชมพู  บาน มีสีม่วง  น้ำเงิน  ออกเป็นช่อกระจุกตามกิ่ง บานเกือบทั้งต้น  มีผลเล็กๆ ติดอยู่ตามกิ่ง ผล สุกมีสีแดง  ออกดอกเดือนเมษายน-พฤษภาคม   การขยายพันธุ์  เพาะเมล็ด  ประโยชน์  ไม้ทำเครื่องมือเครื่องใช้  ปลูกเป็นไม้ประดับ  ถิ่นกำเนิด ภูมิภาคอินโดจีน  พลองขึ้นตามป่าเบญจพรรณทั่วไป

148 พิกุล “...แก้มกาหลงชงโค ยี่สุ่นยี่โถโยทะกา พุดจีบลาลานเนตร เกดพิกุลแบ่งกลีบ ปีบจำปาจำปี มะลิลีประดู่ดง ปรูประยงค์ยมโดย โรยเรณูร่วงเร้า..”

149

150 ชื่อพฤกษศาสตร์:Mimusops elengi L.
วงศ์:SAPOTACEAE พิกุลเป็นไม้ต้น สูงได้ถึง 15 เมตร  มีเรือนยอดเป็นรูปเจดีย์หรือกลมทึบ  ใบ เดี่ยว ออกเวียนสลับห่างๆ  รูปไข่หรือรี  กว้างประมาณ 5 ซม.  ยาวประมาณ  10 ซม. โคนใบมน   ปลายใบแหลมเป็นติ่งสั้นๆ  ขอบเป็นคลื่น  ดอก  ออกเดี่ยวหรือเป็นกระจุกตามซอกใบใกล้ปลายกิ่ง  กลีบเลี้ยง 8 กลีบ เรียง 2 ชั้น ชั้นละ 4 กลีบ กลีบดอก 24 กลีบ เรียง 2 ชั้น ชั้นนอก 8 กลีบ ชั้นใน 16 กลีบ ร่วงง่าย  ดอกสีขาว กลิ่นหอม ผล รูปไข่  กว้างประมาณ  1 ซม.  ยาวประมาณ 2 ซม. เมื่อสุกสีแดงอมส้ม  ออกดอกเกือบตลอดปี   การขยายพันธุ์   เพาะเมล็ด ประโยชน์  ปลูกเป็นไม้ประดับ   ผลสุก รสหวานรับประทานได้  ดอก ผลดิบและเปลือก แก้ไข้ แก้ลม แก้ท้องเสีย   ดอกแห้ง ทำบุหงา ใช้เข้ายาหอม ทำยานัตถุ์   ถิ่นกำเนิด อินเดีย  พม่า ขึ้นตามป่าดิบภาคใต้และภาคตะวันออก  ปลูกได้ทั่วไป 

151

152 มะลิวัลย์ “...สุรภีรื่นรสคนธ์ บุนนาคปนปะแปม การะเกดแกมกรรณิการ์ มะลิวัลย์ลาหลายหลาก มากเมิลหมู่แมกไม้ ถวิลถึงองค์อ่อนไท้ ธิราชร้อนทรวงเสียว อยู่นา...”

153

154 ชื่ออื่นๆ:มลิวัน ชื่อพฤกษศาสตร์:Jasminum adenophyllum Wall. ex C.B. Clarke วงศ์:OLEANACEAE มะลิวัลย์เป็นไม้เถาเลื้อย เกาะเกี่ยวสิ่งพักพิงหรือเรือนต้นไม้  ใบ เล็ก เนื้อใบบาง ปลายเรียวแหลม ฐานใบกว้าง   ดอก ออกตามซอกก้านใบ  ส่วนมากจะทยอยบาน ขนาดดอกและขาวคล้ายดอกมะลิลา แต่กลีบขาวเรียงเล็กกว่า กลิ่นหอมแรง ส่งกลิ่นไกล แต่ละดอกมี 7-8 กลีบ แยกจากปลายหลอดกลีบเรียวเล็ก การขยายพันธุ์ ตอนกิ่ง ปักชำเถา  ประโยชน์  เป็นไม้ที่มีกลิ่นหอม  รากมีรสเย็นจืด ใช้ถอนพิษทั้งปวง ถิ่นกำเนิด อินเดีย เวียดนาม มาเลเซีย มีขึ้นทั่วไปตามป่าเขา ปลูกได้ในดินร่วนปนทรายผสมอินทรีย์วัตถุจำนวนมาก ชอบน้ำมาก ความชื้นสูง แสงแดดจัด

155 มะเกลือ “...พะวาหวานหวายหว้า สะบ้าสะบกเขลงขลาย ประคำควายประคำไก่ ไผ่เพกาตาเสือ มะเกลือมะกล่ำรำไย ไกรกรดกร่างช้างน้าว ขวิดขวาดขว้าวตะโกตะกู พลับพลวงพลูพลองสล้าง...”

156

157 ชื่อวิทยาศาสตร์ Diospyros mollis Griff.
วงศ์ EBENACEAE ชื่อสามัญ Ebony Tree ชื่ออื่น มักเกลือ มะเกือ ไม้ต้น  ขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ สูง เมตร ลำต้นเปลาตรง เรือนยอดเป็นพุ่มกลมกิ่งอ่อนมีขนนุ่ม    เปลือก  เปลือกนอก สีดำแตกเป็นสะเก็ดเล็ก ๆ เปลือกในเหลืองอ่อนกระพี้ขาวและจะเปลี่ยนเป็นสีค่อนข้างดำถ้าตัดทิ้งไว้แก่นสีดำสนิท  ใบ  ใบเดี่ยว เรียงสลับ แผ่นใบรูปไข่หรือรูปไข่แกมขอบขนาน กว้าง เซนติเมตร ยาว เซนติเมตรใบแห้งสีดำ  ดอก  ดอกเล็กสีขาวหรือขาวอมเหลืองออกรวมกันเป็นช่อสั้น ๆ ตามง่ามใบ  ผล  กลมเกลี้ยง เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 2 เซนติเมตร ผลแก่จัดแห้งเปลือกเปราะและออกสีดำ   กลีบจุกผลมี   4 กลีบ   เมล็ดถ้าผ่าตามขวางจะเห็นว่าระหว่าง เปลือกนอกกันเนื้อขาว ๆ ของเมล็ดนั้นเรียบก้านผลยาวประมาณ มิลลิเมตร

158 มะไฟ “...หมู่มะไฟมะฝ่อ หมู่มะก่อมะกัก กระลำพักกระลำพอ ยูงยานยอกำยาน แต้วตูมตาลตาดต้องซ้องแมวโมงมูกมัน หาดเหียงหันกันเกรา สะเดาดอกเดื่อดก...”

159

160 ชื่อพื้นเมือง แซเครือแซ (กะเหรี่ยงแม่ฮ่องสอน) ผะยิ้ว (เขมร สุรินทร์) มะไฟ (ทั่วไป) ส้มไฟ (ภาคใต้) หัมกัง (เพชรบูรณ์) มะไฟเกลี้ยง มะไฟป่า ชื่อวิทยาศาสตร์  Baccaurea ramiflora Lour. ชื่อวงศ์ มะยม EUPHORBIACEAE ชื่อสกุลไม้  มะไฟ Baccaurea Lour. ต้นไม้ เป็นไม้ต้นขนาดเล็กถึงขนาดกลาง ลำต้นสูง ม. ไม่ผลัดใบ เปลือก สีน้ำตาลอ่อนปนเทา เรียบหรือแตกเป็นร่องตามยาวของลำต้น หนาประมาณ 0.5 ซม. เปลือกใน สีน้ำตาล เรือนยอด เป็นพุ่มกลม ทึบ      ใบ ใบเดี่ยว รูปหอกแกมรูปขอบขนาน ขนาดใบ กว้าง ซม. ยาว ซม. โคนใบสอบแคบปลายหยักเป็นติ่งแหลม ท้องใบมีสีอ่อนกว่าด้านหลังใบ เส้นกลางใบและเส้นแขนงใบเห็นได้ชัด ทางด้านหลังใบ เส้นแขนงใบจำนวน คู่ ปลายเส้นโค้งจรดเส้นถัดไปก่อนถึงขอบใบ ก้านใบ ยาว ซม.      ดอก ออกเป็นช่อสั้น ๆ หรือเป็นกระจุกตามปลายกิ่ง ช่อหนึ่งมีประมาณ ดอก ดอกมีขนาดเล็ก ดอกสีชมพูอมเหลือง บางครั้งสีชมพูอ่อน มีกลิ่นหอมเล็กน้อย      ผล สดกรมหรือรี ๆ ขนาดเล็ก ซม. มีรสเปรี้ยว ๆ ฝาด ๆ ใช้รับประทานได้ ส่วนมากจะเป็นอาหารของสัตว์ป่า ผลแก่ สีเหลือง รสหวาน

161 ด้านสมุนไพร ส่วนที่ใช้เป็นสมุนไพรและมีสรรพคุณคือ
          ผลสุก ใช้รับประทานได้สด ๆ และใช้เป็นอาหารสัตว์ มีรสเปรี้ยวหวาน  ราก แก้ฝีภายใน (วัณโรค) แก้ประไข้ประดง เจริญไฟธาตุ แก้ไข้ตรีโทษ ดับพิษร้อน แก้พิษฝีพุพอง ดับพิษร้อน แก้พิษลำรอก แก้เริม แก้พิษตานทราง แก้ฝีตานทรางของเด็ก ดับพิษต่าง ๆ แก้ไข้ต่าง ๆ แก้พิษฝี แก้พุพอง แก้พิาหัวลำลอก (ลำมะลอก)           ต้น บำรุงธาตุ เจริญไฟธาตุ แก้พิษฝี แก้ไขตรีโทษ           ใบ แก้พยาธิ แก้กลาลเกลื้อน แก้ขี้เรื้อน เจริญไฟธาตุ แก้พิษฝี แก้ไข้ตรีโทษ           ดอก เจริญไฟธาตุ แก้พิษฝี แก้ไข้ตรีโทษ           ผล เจริญไฟธาตุ แก้พิษฝี แก้ไข้ตรีโทษ ขับโลหิต

162 มะเดื่อ “...หาดเหียงหันกันเกรา สะเดาดูกเดื่อดก กระทกรกรกฟ้า มะข้ามะขามขานาง ย่างทรายไทรไข่เหน้า เปล้าประดู่ดูดาษสนุ่นหนาดขนุนขนาด พะวาหวานหวายหว้า...”

163

164

165 ชื่อวิทยาศาสตร์ Ficus racemosa Linn
ชื่อวงศ์ MORACEAE ชื่อท้องถิ่น อุดรธานี-อีสาน เรียก หมากเดื่อ แม่ฮ่องสอน-กะเหรี่ยง เรียก กูแช ลำปาง เรียก มะเดื่อ ภาคกลาง เรียก มะเดื่ออุทุมพร มะเดื่อชุมพร มะเดื่อเกลี้ยง ภาคเหนือ-กลาง เรียก มะเดื่อ เดื่อเกลี้ยง ภาคใต้ เรียก เดื่อน้ำ ลักษณะทั่วไป มะเดื่อเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางสูงประมาณ 10–20 เมตร ลำต้นเกลี้ยงสีน้ำตาลหรือน้ำตาลปนเทา กิ่งอ่อนสีเขียว หรือสีเขียวในน้ำตาล กิ่งแก่มีสีน้ำตาลเกลี้ยง หรือมีขนปกคลุม ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกแบบสลับ ใบบาง รูปไข่หรือรูปหอก ขอบใบเรียบ ปลายใบแหลม ฐานใบมนหรือกลม ผิวใบเกลี้ยง หรือมีขน ไม่หลุดร่วงง่าย ดอก ออกเป็นช่อ ช่อดอก มีก้านเกิดเป็นกลุ่มบนกิ่งสั้นๆ ที่แตกออกจากลำต้น และกิ่งขนาดใหญ่ ผล รูปกลมแป้นหรือรูปไข่ มีขน ออกเป็นกระจุกตามกิ่งและลำต้น เมื่อฉีกออกจะพบเกสรเล็กๆ อยู่ภายในผล ผลสุกมีสีแดง การปลูก มะเดื่อขึ้นในธรรมชาติบริเวณป่าดิบชื้น บริเวณริมแม่น้ำลำคลอง ริมลำธาร หรือปลูกตามบ้านและริมทาง พบได้ในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลาง

166 ขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ด
สรรพคุณทางยา เปลือกต้น รสฝาด แก้ท้องร่วง ชะล้างบาดแผล สมานแผล แก้ประดง ผื่นคันแก้ไข้ท้องเสีย ไข้รากสาดน้อยและแก้ธาตุพิการ ราก รสฝาดเย็น แก้ไข้ กระทุ้งพิษไข้ ถอนพิษไข้ และแก้ท้องร่วง ผล รสฝาดเย็น แก้ท้องร่วง และสมานแผล ผลสุก เป็นยาระบาย

167 มะขาม “...หาดเหียงหันกันเกรา สะเดาดูกเดื่อดก กระทกรกรกฟ้า มะข้ามะขามขานาง ย่างทรายไทรไข่เหน้า เปล้าประดู่ดูดาษสนุ่นหนาดขนุนขนาด พะวาหวานหวายหว้า...”

168

169 ชื่อวิทยาศาสตร์ Tamarindus indica Linn.
ชื่อวงศ์ Leguminosae ชื่อท้องถิ่น ภาคกลาง เรียก มะขามไทย ภาคใต้ เรียก ขาม นครราชสีมา เรียก ตะลูบ กะเหรี่ยง-กาญจนบุรี เรียก ม่วงโคล้ง เขมร-สุรินทร์ เรียก อำเปียล ลักษณะทั่วไป มะขามเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางจนถึงขนาดใหญ่แตกกิ่งก้านสาขามาก เปลือกต้นขรุขระและหนา สีน้ำตาลอ่อน ใบ เป็นใบประกอบ ใบเล็กออกตามกิ่งก้านใบเป็นคู่ ใบย่อยเป็นรูปขอบขนาน ปลายไบและโคนใบมน ดอก ออกเป็นช่อเล็กๆ ตามปลายกิ่ง หนึ่งช่อมี ดอก ดอกย่อยขนาดเล็ก กลีบดอกสีเหลืองและมีจุดประสีแดงอยู่กลางดอก ผล เป็นฝักยาว รูปร่างยาวหรือโค้ง ยาว 3-20 ซม. ฝักอ่อนมีเปลือกสีเขียวอมเทา สีน้ำตาลเกรียม เนื้อในติดกับเปลือก เมื่อแก่ฝักเปลี่ยนเป็นเปลือกแข็งกรอบหักง่าย สีน้ำตาล เนื้อในกลายเป็นสีน้ำตาลหุ้มเมล็ด เนื้อมีรสเปรี้ยว และหวาน

170 สรรพคุณทางยา ยาระบาย แก้อาการท้องผูก ใช้มะขามเปียกรสเปรี้ยว 10–20 ฝัก (หนัก 70–150 กรัม) จิ้มเกลือรับประทาน แล้วดื่มน้ำตามมากๆ หรือต้มน้ำใส่เกลือเล็กน้อยดื่มเป็นน้ำมะขาม ขับพยาธิไส้เดือน นำเอาเมล็ดแก่มาคั่ว แล้วกะเทาะเปลือกออก เอาเนื้อในเมล็ดไปแช่น้ำเกลือจนนุ่ม รับประทานครั้งละ เม็ด ขับเสมหะ ใช้เนื้อในฝักแก่หรือมะขามเปียกจิ้มเกลือรับประทานพอสมควร คุณค่าทางโภชนาการ ยอดอ่อนและฝักอ่อนมีวิตามิน เอ มาก มะขามเปียกรสเปรี้ยว ทำให้ชุ่มคอ ลดความร้อนของร่างกายได้ดี เนื้อในฝักมะขามที่แก่จัด เรียกว่า "มะขามเปียก" ประกอบด้วยกรดอินทรีย์หลายตัว เช่น กรดทาร์ททาร์ริค กรดซิตริค เป็นต้น ทำให้ออกฤทธิ์ ระบายและลดความร้อนของร่างกายลงได้ แพทย์ไทยเชื่อว่า รสเปรี้ยวนี้จะกัดเสมหะให้ละลายได้ด้วย

171 มะลุลี “...แก้วกาหลงชงโค ยี่สุ่นยี่โถโยทะกา พุดจีบลาลานเนตรเกดพิกุลแบ่งกลีบ ปีบจำปาจำปี มะลุลีประดู่ดง ปรูประยงค์ยมโดย โรยเรณูร่วงเร้า...”

172

173 วงศ์: OLEACEAE ถิ่นกำเนิด : ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในประเทศไทยพบทางภาคกลาง ภาคตะวันออกและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มะลุลีเป็นพันธุ์ไม้สกุลเดียวกับมะลิอีกชนิดหนึ่งที่มีดอกหอม มีชื่อเรียกหลายชื่อ เช่น มะลิพวง มะลิเลื้อย มะลิซ่อม เป็นไม้รอเลื้อยกระจายพันธุ์อยู่ในเขตเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กิ่งอ่อนและกิ่งกึ่งแก่กึ่งอ่อนมีขนเห็นเด่นชัดเช่นกัน ใบและรูปแบบตลอดจนการจัดเรียง คล้ายมะลิอื่น ๆ แต่ใบมีขนเห็นเด่นชัด เป็นใบเดี่ยว รูปไข่ ปลายใบแหลม ใบดกมาก จะออกดอกมากเป็นพิเศษประมาณ เดือนกุมภาพันธ์ จึงปลูกคลุมซุ้มไม้ได้ดี ดอกเป็นช่อ แน่นตามปลายกิ่งและซอกใบ มีสีขาว แต่ละช่อมีมากกว่า 10 ดอกขึ้นไป จึงเห็นเป็นช่อใหญ่สวยงาม มีขนนุ่มๆ โดยเฉพาะที่กลีบเลี้ยงซึ่งเป็นแฉกแหลมๆ ลักษณะของดอกคล้ายมะลิลา แต่กลีบแคบยาวและปลายแหลมกว่า ขนาด เส้นผ่านศูนย์กลางดอก ซม. ใช้ทั้งช่อเป็นดอกไม้บูชาพระ กลิ่นหอมตลอดทั้งกลางวันและกลางคืน คล้ายกลิ่นมะลิวัลย์

174

175 ยอ “...หมู่มะไฟมะฝ่อ หมู่มะก่อมะกัก กระลำพักกระลำพอ ยูงยานยอกำยาน แต้วตูมตาลตาดต้องซ้องแมวโมงมูกมัน หาดเหียงหันกันเกรา สะเดาดอกเดื่อดก...”

176

177

178 ชื่อวิทยาศาสตร์ Morinda citrfolia Linn.
ชื่อวงศ์ Rubiaceae ชื่อท้องถิ่น ภาคกลาง เรียก ยอบ้าน ภาคเหนือ เรียก มะตาเสือ ภาคอีสาน เรียก ยอ กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน เรียก แยใหญ่ ลักษณะทั่วไป ต้นยอเป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก ใบใหญ่หนาสีเขียวสด ดอกเล็กสีขาวเป็นกระจุก ผลกลมยาวรี มีตาเป็นปุ่มโดยรอบผล ลูกอ่อนสีเขียวสด เปลี่ยนเป็นสีขาวนวลเมื่อสุก มีกลิ่นฉุน การปลูก ปลูกโดยการใช้เมล็ดขึ้นได้ในดินแทบทุกชนิด ชอบดินชุ่มชื้น วิธีปลูกจะปลูกลงหลุมเลย หรือเพาะกล้าก่อนแล้วค่อยนำไปปลูกในที่ที่เตรียมไว้ก็ได้ ควรกำจัดวัชพืชบ้าง

179 สรรพคุณทางยา ผลดิบ รสเผ็ดร้อน สรรพคุณขับลม บำรุงธาตุ เจริญอาหาร ขับโลหิต ระดูของสตรี ฟอกเลือด แก้คลื่นเหียนอาเจียน ผสมยาแก้สะอึก อมแก้เหงือกเปื่อย แก้เสียงแหบแห้ง และแก้ร้อนใน ราก เป็นยาระบาย แก้ท้องผูก ใบ รสขมเผื่อน บำรุงธาตุ แก้ไข้ ฆ่าเหา ปวดข้อ คั้นน้ำทาแก้โรคเกาต์ แก้ท้องร่วงในเด็ก แก้เหงือกบวม คั้นน้ำทาแก้แผลเรื้อรัง แก้กะษัย หรือผสมยาอื่นแก้วัณโรค คุณค่าทางโภชนาการ ใบยอและลูกยอใช้เป็นผักได้ นิยมใช้รองกระทงห่อหมก ภาคใต้นิยมใช้ใบยออ่อนๆ ซอยเป็นฝอยแกงเผ็ดกับปลา ใส่ขมิ้น ในใบยอมีสารอาหาร ทั้งแคลเซียมมาก มีเกลือแร่ วิตามิน รวมทั้งกากและเส้นใยอาหาร

180 ยี่สุ่น “...วายุพานพัดรำเพย ระเหยหอมฟุ้งเฟื่อง เปลื้องหฤทัยรำจวนเหล่าลำดวนดาษดง แก้วกาหลงชงโค ยี่สุ่นยี่โถโยทะกา พุดจีบลาลานเนตร เกดพิกุลแบ่งกลีบ...”

181

182

183 ชื่ออื่นๆ:กุหลาบมอญ กุหลาบจีน
ชื่อพฤกษศาสตร์:Rosa damascena Mill. วงศ์:ROSACEAE ยี่สุ่นเป็นไม้พุ่ม สูง 1-2 เมตร  ต้นและกิ่งมีหนาม  ใบประกอบแบบขนนก มีใบย่อย 5-7 ใบ รูปไข่ ยาว 3-5 ซม. ดอกช่อ สีชมพูขาว แดง ออกเป็นช่อที่ปลายกิ่ง ฐานรองดอกรูปถ้วย  กลีบดอกซ้อนหลายชั้น ไม่มีกลิ่นหอม เส้นผ่านศูนย์กลางดอก 4-5  ซม.  ผล เมื่อสุกมีสีแดง  การขยายพันธุ์  ติดตา  ปักชำกิ่ง  และตอนกิ่ง  ประโยชน์ เป็นไม้ประดับ  ถิ่นกำเนิดในทะเลเมดิเตอร์เรเนียนและจีน

184 ยี่โถ “...วายุพานพัดรำเพย ระเหยหอมฟุ้งเฟื่อง เปลื้องหฤทัยรำจวน เหล่าลำดวนดาษดง แก้วกาหลงชงโค ยี่สุ่นยี่โถโยทะกา พุดจีบลาลานเนตร เกดพิกุลแบ่งกลีบ ...”

185

186 ชื่ออื่นๆ:Oleander, Rose bay, Sweet oleandar
ชื่อพฤกษศาสตร์:Nerium oleander วงศ์:APOCYNACEAE ยี่โถเป็นไม้พุ่ม แตกกิ่งก้านสาขาไม่มากนัก  ต้นมียางสีขาวคล้ายน้ำนม  ใบ เดี่ยว รูปหอก โคนใบสอบ ปลายแหลม ขอบเรียบ  สีเขียวเข้ม  กว้าง ซม.  ยาว 8-14 ซม.  ดอกช่อ ออกเป็นช่ออยู่ส่วนยอดของต้น ดอกเป็นรูปทรงกรวย มีทั้งชนิดลาและซ้อน หลากหลายสี  เช่น สีชมพูเข้ม  ชมพู  ขาว  มีกลิ่นหอม  ผล  เป็นฝักคู่  เมื่อแก่จะแตกเห็นเมล็ดภายในผล  เมล็ด  มีขนละเอียดเป็นมันคล้ายเส้นไหมปกคลุมอยู่  เมล็ดนี้จะลอยตามลมกระจายพันธุ์ได้  การขยายพันธุ์  เพาะเมล็ด  ตอนกิ่ง ปักชำกิ่ง  ประโยชน์  ใบขนาดพอเหมาะ เป็นยาบำรุงหัวใจ  ใบเป็นพิษ  มีสารที่มีฤทธิ์แรงมากในการใช้ปรุงยา  ถ้าใช้เกินขนาดเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตได้ เป็นยาเบื่อหนูและฆ่าแมลง  ถิ่นกำเนิด เมดิเตอร์เรเนียน เคบเวอดี ญี่ปุ่น  ขึ้นได้ดีในดินที่ร่วนซุย  น้ำพอควร   ความชื้นสูง  กลางแจ้ง  แดดจัด 

187 โยทะกา “...วายุพานพัดรำเพย ระเหยหอมฟุ้งเฟื่อง เปลื้องหฤทัยรำจวนเหล่าลำดวนดาษดง แก้วกาหลงชงโค ยี่สุ่นยี่โถโยทะกา พุดจีบลาลานเนตร เกดพิกุลแบ่งกลีบ...”

188

189 ชื่ออื่นๆ:ชงโคดอกเหลือง Bell Bauhinia
ชื่อพฤกษศาสตร์:Bauhinia tomentosa L. วงศ์:LEGUMINOSAE - CAESALPINIACEAE โยทะกาเป็นไม้ต้นขนาดกลาง สูง 2-3 เมตร แตกกิ่งก้านเป็นพุ่ม ใ บ แฝด ค่อนข้างใหญ่ ดอก เหลือง ออกตามปลายกิ่งและยอด บานครั้งละ 1-2 ดอก ดอกกว้างกลม ซ้อนติดกันงองุ้มและคว่ำหน้าลง  เมื่อพ้น 2 วันไปแล้วกลีบสีแดง  เหลือง และขาวจะเปลี่ยนเป็นสีชมพู ออกดอกตลอดปี  การขยายพันธุ์   เพาะเมล็ดและตอนกิ่ง ประโยชน์  เป็นไม้ประดับปลูกตามบ้านหรือสวนควบคู่ไปกับไม้ใบแฝดอื่นๆ  เช่น กาหลง เพื่อให้เห็นความงามของดอกแต่ละชนิด    ถิ่นกำเนิด เอเชียเขตร้อน แอฟริกา ชอบดินร่วนปนทรายผสมใบไม้ผุ  ชอบน้ำมาก ความชื้นสูง   แสงแดดจัด  

190

191 รสสุคนธ์ “...เกดพิกุลแบ่งกลีบ ปีบจำปีจำปา มะลุลีประดู่ดง ปรูประยงค์ยมโดย โรยเรณูร่วงเร้า เย้ากมลชวนชื่น สุรภีรื่นรสคนธ์ บุนาคปนปะแปม...”

192

193 ชื่ออื่นๆ:สุคนธรส เสาวรส เสาวคนธ์
ชื่อพฤกษศาสตร์:Tetracera loureirii (Fin & Gagnep.) Pierre ex Craib วงศ์:DILLENIACEAE รสสุคนธ์เป็นไม้เถา เนื้อแข็ง ใบ เดี่ยว ออกสลับ รูปรี  กว้าง 4-7 ซม. ยาว 7-16 ซม. โคนเรียว  ปลายแหลม ขอบจัก เนื้อใบสาก  ดอกช่อ กลิ่นหอม ออกเป็นช่อตามซอกใบและปลายกิ่ง กลีบเลี้ยง 5 กลีบ รูปรี โค้ง  ดอกติดทนจนเป็นผล  กลีบดอก 5 กลีบ บาง ร่วงง่าย  ผล  ค่อนข้างกลม  เมล็ด  รูปไข่  1-2 เมล็ด มีเนื้อหุ้มสีแดง ออกดอกเดือนพฤศจิกายน - กุมภาพันธ์  การขยายพันธุ์  เพาะเมล็ด   ตอนกิ่ง  ประโยชน์  ดอกเข้ายาหอม  บำรุงหัวใจ  รสสุคนธ์ขึ้นตามป่าละเมาะ ป่าผลัดใบและริมทะเล ปลูกได้ทั่วไปทั้งที่ร่มและรำไร 

194 รัก รักดั่งรักนุชพาง พี่ม้วย เฌอปรางเปรียบนาฏน้อง นวลปราง
เฌอปรางเปรียบนาฏน้อง นวลปราง รักดั่งรักนุชพาง พี่ม้วย ช้องนางเฉกช้องนาง คลายคลี่ ลงฤา โศกพี่โศกสมด้วย ดั่งไม้นามมี

195

196 ชื่อวิทยาศาสตร์ :       Melanorrhoea usitata
วงศ์  :       ANACARDIACEAE ชื่อไทยพื้นเมือง  :       ฮัก      รักเป็นตนไม้ขนาดใหญ่ มีความสูงได้ตั้งแต่ 15 – 25 เมตร ลำต้นเปลาตรงเรือนยอดเป็นพุ่มกลมเขียวเข้ม เปลือกสีเทาเข้มค่อนข้างดำ หรือสีน้ำตาลเทาแตกเป็นสะเก็ดเป็นร่องมียางสีดำซึมตามรอยแตก ตามกิ่งก้านอ่อนจะมีขนสีน้ำตาลเทาหนาแน่นปกคลุมอยู่ ขนจะร่วงหลุดเมื่อกิ่งก้านแก่ขึ้น ใบเป็นใบเลี้ยงเดี่ยว รูปมนรีขอบขนานออกเรียงเวียนสลับอยู่ตอนปลาย ๆ กิ่งเป็นกลุ่ม ขนาดใบกว้างประมาณ 5 – 12 เซนติเมตร ยาวประมาณ 12 – 36 เซนติเมตร โคนใบและปลายใบโค้งเป็นวงมนกว้างเข้าหากัน หลังมีขนเล็กน้อย แต่ท้องใบมีขนสีน้ำตาลปนเทาขึ้นอย่างหนาแน่นแต่จะร่วงหลุดออกหมดเมื่อใบแก่เต็มที่ เนื้อใบหนา ก้านใบยาวประมาณ 1 – 3.5 เซนติเมตร      ออกดอกระหว่างเดือนธันวาคมติดต่อกันไปจนถึงเดือนกุมภาพันธ์ จึงค่อยกลายเป็นผล ออกดอกเป็นช่อใหญ่ตามง่ามใบปลาย ๆ กิ่ง เป็นดอกสมบูรณ์เพศ กลีบดอกมี 5 กลีบ ที่ดอกมีขนสีน้ำตาลปนเทาขึ้นปกคลุมอยู่ด้วยเช่นเดียวกับใบพบขึ้นตามป่าเบญจพรรณแล้งและป่าดงดิบ

197 รำเพย “...วายุพานพัดรำเพย ระเหยหอมฟุ้งเฟื่อง เปลื้องหฤทัยรำจวนเหล่าลำดวนดาษดง แก้วกาหลงชงโค ยี่สุ่นยี่โถโยทะกา พุดจีบลาลานเนตร เกดพิกุลแบ่งกลีบ...”

198

199 ชื่ออื่นๆ:กระบอก ชื่อพฤกษศาสตร์:Thevetia peruviana Schum. วงศ์:APOCYNACEAE รำเพยเป็นไม้พุ่ม  สูง 2-3 เมตร  ทรงพุ่มโปร่ง ต้นมียางขาวข้น ยางเป็นพิษ  ใบ เดี่ยว เรียวยาว ดอกช่อ ออกดอกเป็นช่อที่ซอกใบปลายกิ่งช่อละ 3-8 ดอก ดอกมีลักษณะเป็นหลอด ปลายกลีบแยกจากกันคล้ายรูประฆัง  มีหลายสี เช่น สีขาว เหลือง ส้ม  ผล  เป็นรูปสี่เหลี่ยม สีเขียว เมื่อแก่จัดเป็นสีดำ  เมล็ด    มี 1-2 เมล็ด  ออกช่วงฤดูฝนถึงฤดูหนาว  ออกดอกตลอดปี  การขยายพันธุ์ เพาะเมล็ด และตอนกิ่ง ประโยชน์  เป็นไม้ประดับ ถิ่นกำเนิด จากอเมริกาเขตใต้

200

201 ลำไย “...มะเกลือมะกล่ำรำไย ไกรกรดกร่างช้างน้าว ขวิดขวาดขว้าวตะโกตะกู พลับพลวงพลูพลองสล้าง...”

202

203 ชื่อพฤกษศาสตร์:Dimocarpus longan L. วงศ์:SAPINDACEAE
ลำไยเป็นไม้ต้นกลางแจ้ง ขนาดกลาง แตกกิ่งก้านสาขาที่เรือนยอดของต้น ต้นและกิ่งก้าน สีน้ำตาลอมเทา  ใบ เดี่ยว ดกหนาทึบให้ร่มเงาดี  รูปใบหอก โคนใบสอบ ปลายใบแหลม ขอบใบเรียบหรือเป็นคลื่นเล็กน้อย สีเขียวเข้ม เล็ก  ดอกช่อ  ออกเป็นช่อตรงส่วนยอดของต้น ดอกเล็ก สีเหลือง หรือน้ำตาลอ่อนๆ  ผล พอดอกร่วงก็ติดผล รูปทรงกลม เปลือกสีน้ำตาล เนื้อในผล สีขาวใส  ในผลมี 1 เมล็ด สีดำ ผลมีรสหวาน แก่จัดเดือนมิถุนายน - กรกฎาคม  การขยายพันธุ์  เพาะเมล็ด ตอนกิ่ง ประโยชน์  ใบสดแก้โรคมาลาเรีย ริดสีดวงทวาร ไข้หวัด  ดอกสดหรือดอกแห้ง ต้มน้ำกินแก้โรคเกี่ยวกับหนอง  ราก เปลือกราก ต้มกินขับพยาธิ  เนื้อหุ้มเมล็ด กินเป็นผลไม้  ต้มน้ำกินแก้อ่อนเพลีย บำรุงร่างกาย บรรจุกระป๋อง ตากแห้ง ทำเป็นชา ผู้ที่มีอาการเจ็บคอ หรือไอ หรือแผลอักเสบมีหนอง ไม่ควรกิน เปลือกต้น ต้มกินแก้ท้องร่วง ต้นใช้ทำเครื่องเรือน สร้างบ้าน ลำไยเจริญเติบโตได้ดีในดินที่ร่วนซุยและมีความชื้นเล็กน้อย ไม่ชอบน้ำมาก

204 ลำดวน “...วายุพานพัดรำเพย ระเหยหอมฟุ้งเฟื่อง เปลื้องหฤทัยรำจวนเหล่าลำดวนดาษดง แก้วกาหลงชงโค ยี่สุ่นยี่โถโยทะกา พุดจีบลาลานเนตร เกดพิกุลแบ่งกลีบ...”

205

206 ชื่ออื่นๆ:หอมนวล ชื่อพฤกษศาสตร์:Melodorum fruticosum Lour. วงศ์:ANNONACEAE ลำดวนเป็นไม้ต้นขนาดกลาง สูง เมตร   ต้น  ตรง  ทรงพุ่มรูปกรวยทึบ  เรียบเกลี้ยง ไม่มีขน ใบ  เดี่ยว เรียงเวียนสลับ  รูปรีหรือขอบขนาน โคนใบมนหรือแหลม   ปลายใบแหลม ขอบใบเรียบหรือเป็นคลื่นเล็กน้อย ผิวใบเรียบเกลี้ยง ด้านบนเป็นมันสีเขียวเข้ม ส่วนด้านล่างนั้นสีจะอ่อนกว่า ใบกว้าง ซม. ดอก เดี่ยว ออกตามส่วนยอดและตามง่ามใบ สีนวล  กลิ่นหอม กลีบดอกหนา ชั้นนอก 3 กลีบแผ่ออก เมื่อบานเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 2 ซม.ผล  ออกเป็นกลุ่ม  สีเขียวอ่อน ยาว โคนผลแหลม  ปลายผลมน ผิวเรียบเกลี้ยง เมื่อสุกสีดำ  รสหวานอมเปรี้ยว  ออกดอกเดือนตุลาคม  เกือบตลอดปี  การขยายพันธุ์  เพาะเมล็ด ตอนกิ่ง  ประโยชน์    นิยมปลูกเป็นไม้ประดับ   ดอกหอม  เกสรผสมเป็นยาบำรุงเลือด บำรุงกำลัง บำรุงหัวใจ และแก้ลม  ถิ่นกำเนิด เอเชียตะวันออกเฉียงใต้  มักขึ้นตามป่าดิบแล้ง 

207 เล็บมือนาง เล็บมือนาง นี้หนึ่ง นขา นางฤา ต้องดั่งต้องบุษบา นิ่มน้อง
เล็บมือนาง นี้หนึ่ง นขา นางฤา ต้องดั่งต้องบุษบา นิ่มน้อง ชงโคคิดชงฆา นุชนาฏ เหมือนฤา เรียมระเมียรเดื่อปล้อง ดั่งปล้องศอสมร

208

209 ชื่ออื่นๆ:เล็บนาง Rangoon Creeper
ชื่อพฤกษศาสตร์:Quisqualis indica L. วงศ์:COMBRETACEAE เล็บมือนางเป็นไม้เถาเลื้อย  กิ่งแก่มีหนามเกี่ยวเกาะตามต้นที่แข็งแรง  อายุยืน  ยอดและปลายกิ่งเป็นพุ่มหนาทึบ  ใบ อ่อนนุ่ม ใบเดี่ยว  ออกตรงกันข้าม กว้าง 7 เซนติเมตร ยาว เซนติเมตร  โคนใบค่อนข้างกลม ปลายใบเรียวแหลม  สีค่อนข้างเหลืองถึงเขียวแก่ ตามข้อต้นมักมีบุ้ง หนอนกินใบ    ดอกช่อ  ออกเป็นช่อใหญ่ตามซอกใบหรือปลายกิ่งตลอดปี คล้ายดอกเข็ม มี 5 กลีบ กลีบยาวเป็นปากแตร เมื่อเริ่มบานสีขาวหรือชมพูอ่อน แล้วเปลี่ยนเป็นสี ชมพูและแดงตามลำดับแล้วจึงร่วงโรย ภายใน 3- 4 วัน ตอนเย็นมีกลิ่นหอม  การขยายพันธุ์ เพาะเมล็ด ปักชำกิ่ง ชำราก ทับกิ่ง  ประโยชน์ ราก ต้มเป็นยาถ่ายพยาธิ ทำอาหารรับประทาน ใบ ตำพอกแผลหรือฝี  เมล็ดใช้ขับพยาธิ  แก้ตานขโมย แต่กินมากจะคลื่นไส้ อาเจียน เวียนศรีษะ นิยมปลูกเป็นไม้ประดับ  

210

211 สายหยุด สายหยุดหยุดกลิ่นฟุ้ง ยามสาย สายบ่หยุดเสน่ห์หาย ห่างเศร้า
สายหยุดหยุดกลิ่นฟุ้ง ยามสาย สายบ่หยุดเสน่ห์หาย ห่างเศร้า กี่คืนกี่วันวาย วางเทวษ ลาแม่ ถวิลทุกขวบค่ำเช้า หยุดได้ฉันใด

212

213

214 ชื่อวิทยาศาสตร์ :     Desmos chinensis
วงศ์  :     ANNONACEAF ชื่อไทยพื้นเมือง  : สายหยุด การกระจายพันธุ์ : จีนตอนใต้      สายหยุดเป็นไม้เลื้อยกิ่งไม้ยื่นต้น มีเถาหรือต้นใหญ่แข็งแรง สามารถเลื้อยพันเกาะต้นไม้หรือสิ่งอื่นไปได้ไกลตั้งแต่ 5 – 8 เมตร มักแตกกิ่งก้านสาขามากในบริเวณส่วนยอด และแผ่สาขาออกไปเป็นบริเวณกว้าง ใบสีเขียวเข็ม รูปรีขอบขนาดปลายใบแหลม ออกใบสลับกันตรงข้ามตามข้อต้นขนาดใบยาวประมาณ 12 – 14 เซนติเมตร      ดอกออกเป็นดอกเดี่ยว ตามข้อต้นโคนก้านใบ และตามตาติดกับกิ่งหรือลำต้น ดอกมีลักษณะคล้ายดอกกระดังงาไทย กลีบเล็กยาวดอกละ 5 กลีบ แต่ละกลีบจะบิดงออย่างดอกกระดังงาไทย เมื่ออ่อนเป็นดอกสีเขียว และเมื่อแก่จัดหรือบานเต็มที่ดอกจะมีสีเหลือง จะออกดอกเป็นระยะตลอดปี ดอกไม้ชนิดนี้ส่งกลิ่นหอมจัดในตอนเช้าตรู่ พอสายกลิ่นจะค่อยลดกลิ่นหอมลงและหมดกลิ่นเมื่อใกล้เที่ยงวัน      

215 พันธุ์ไม้ชนิดนี้ขยายพันธุ์ ด้วยวิธีเพาะเมล็ดหรือตอน แต่ก็เป็นไม้ที่ตอนออกรากยาก และตายง่ายกว่าต้นที่ปลูกจากเมล็ด เป็นพันธุ์ไม้กลางแจ้งการปลูกบนที่ซึ่งน้ำท่วมไม่ถึง ในสภาพดินอันชุ่มชื้น เมื่อปลูกได้โตพอควรแล้ว ก็ไม่ต้องเดือดร้อนเรื่องปุ๋ยเท่าใดนัก แต่เมื่อต้นยังเล็ก ๆ อยู่ควรให้ปุ๋ยไนโตรเจน และปุ๋ยหมักไว้บ้าง เป็นพันธุ์ไม้ที่เติบโตช้า ปลูกโดยการเพาะเมล็ดและบำรุงเต็มที่ประมาณ 3 – 4 ปี จึงจะมีดอก   สายหยุดเป็นพันธุ์ไม้ของไทยแท้ชนิดหนึ่ง    และมีกล่าวถึงอยู่ในวรรณคดีไทยมากที่สุด แต่ชื่อพฤกษศาสตร์ของสายหยุดกับฟังดูเหมือนไม้เมืองจีนไปได้อย่างไรก็ไม่ทราบ

216 เสลา “...ชะโงกชะง่อนเงื้อมง้ำ ถ้ำท่อธารธารา แสงเสลาหลากหลาย พรายพะแพร้วไพโรจน์ ช่วงช่อโชติฉายฉัน สีสุพรรณเลื่อมเหลือง เรืองโมรารายเรียบ ขาวปูนเปรียบเพชรรัตน์...”

217 เสลาบใหญ่ หรือ อินทชิต

218 ชื่อวิทยาศาสตร์ : Lagerstroemia tomentosa วงศ์ : LYTHRACEAE
ชื่อไทยพื้นเมือง  :      เสลาใบใหญ่,  อินทชิต,  ตะแบกขน,  อินทนิล,  ตะเกรียบ      เสลาเป็นไม้ยืนต้น ผลัดใบ ขนาดกลาง ลำต้นมีความสูงได้ตั้งแต่ 10 – 20 เมตร เรือนยอดเป็นพุ่มกลมแน่นทึบ สีเข้มเปลือกไม้เสลาสีเทาเข้มค่อยข้างดำ ตามลำต้นมีรอยแตกเป็นร่องเล็ก ๆ ไปตลอดลำต้น ใบยาวรูปหอก ขอบขนานเป็นคลื่นที่ขอบใบเล็กน้อย มีขนปุยอ่อนนุ่มสีเหลืองทอง ปกคลุมทั้ง 2 ด้าน ทั้งอ่อนและใบแก่ โคนใบโค้งมนเข้าหากัน มีก้านใบเพียงนิดหน่อย ปลายใบเรียวแหลมและมีติ่งแหลมยื่นเล็กน้อย      ตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออกและภาคกลาง ลงมาจนถึงจังหวัดประจวบคีรีขันธ์

219 ก่อนที่เสลาจะออกดอกจะผลัดใบก่อน แต่การผลัดใบของเสลามักจะทิ้งใบไม่หมดเลยทีเดียว จากนั้นเสลาก็จะเริ่มออกดอก และบานติดต่อกันในประมาณเดือน  มีนาคม  ถึงเมษายน ดอกของเสลามีสีม่วงสดใสออกเป็นช่อ ๆ เมื่อเวลาที่ดอกเสลาบานก็จะแน่นช่อซึ่งเป็นรูปทรงกระบอก ที่ก้านช่อดอกและกลีบรองดอกมีขนอ่อนนุ่มสีเหลืองทองปกคลุมโดยทั่วไป กลีบดอกและกลีบรองดอกของเสลามักมีจำนวนไม่แน่นอน มักมี 6,7 หรือ 8 กลีบ      เสลาเป็นไม้ที่ขึ้นได้ทั่วไปตามป่าเบญจพรรณ ป่าดงดิบ และป่าชายหาดทางภาค

220 สลัดได สลัดไดใดสลัดน้อง แหนงนอน ไพรฤา เพราะเพื่อมาราญรอน เศิกไสร้
สลัดไดใดสลัดน้อง แหนงนอน ไพรฤา เพราะเพื่อมาราญรอน เศิกไสร้ สละสละสมร เสมอชื่อ ไม้นา นึกระกำนามไม้ แม่นแม้นทรวงเรียม

221

222 ชื่อวิทยาศาสตร์ : Euphorbia antiquorum L ชื่อวงศ์: EUPHORBIACEAE
ชื่ออื่น: กะลำพัก เคียะผา เคียะเลี่ยม หนอนงู   ลักษณะ : สลัดไดเป็นไม้พุ่มขนาดย่อม เป็นพืชที่ใช้ลำต้นเป็นใบไปในตัว ต้นหรือใบเป็นไม้รูปเหลี่ยมปกติมีสี่เหลี่ยมมีหนามแหลมตามแนวเหลี่ยมทั้งสี่ด้าน มีดอกขนาดเล็กเป็นสีขาว หรือแดง ออกเป็นระยะระหว่างแนวหนามตามเหลี่ยมต้นในบริเวณส่วนยอด เป็นพืชที่มักขึ้นอยู่ตามโขดเขาหินที่แห้งแล้ง ตามภูเขา หรือตามเกาะแก่งในทะเล เป็นพืชที่มีความทนทานต่อความแห้งแล้งได้ดีมาก      สลัดได จะมียางสีขาวอยู่ตามลำต้นและกิ่งก้าน ยางของสลัดไดมีพิษมาก หากคนหรือสัตว์รับประทานเข้าไปแล้วจะทำให้มึนเมา ท้องร่วงอาจเป็นภัยถึงชีวิตได้ ถ้ามีปลูกในบ้านจึงควรระมัดระวังเด็ก ๆ ที่ซุกซน อาจพลาดพลั้งเล่นยางเข้าปาก     

223 สะเดา “...หาดเหียงหันกันเกรา สะเดาดูกเดื่อดก กระทกรกรกฟ้า มะข้ามะขามขานาง ย่างทรายไทรไข่เหน้า เปล้าประดู่ดูดาษสนุ่นหนาดขนุนขนาด พะวาหวานหวายหว้า...”

224

225

226 ชื่อวิทยาศาสตร์ Azadirachta indica Juss. Var. siamensis Valeton
ชื่อวงศ์ MELIACEAE ชื่อสามัญ Neem Tree ชื่อท้องถิ่น ภาคเหนือ เรียก สะเลียม ภาคอีสาน เรียก กะเดา, กาเดา ส่วย เรียกจะตัง ภาคใต้ เรียก กะเดา, ไม้เดา, เดา ลักษณะทั่วไป สะเดาเป็นยืนต้นขนาดกลาง สูง 12–15 เมตร ขึ้นได้ในป่า หรือปลูกไว้ตามบ้าน ทุกส่วนมีรสขม เรือนยอดเป็นพุ่มกลม เปลือกของลำต้นสีน้ำตาลเทาหรือเทาปนดำ แตกระแหงเป็นร่องเล็กๆ ตามต้น แต่เปลือกของกิ่งอ่อนเรียบ ใบ เป็นช่อแบบขนนก ใบย่อยรูปหอก ขอบใบหยัก ใบออกเวียนกัน ตอนปลายกิ่งจะผลิใบใหม่พร้อมกับผลิดอกในฤดูหนาว ดอก เป็นช่อสีขาว ผล กลมรี อวบน้ำ ผลแก่สีเหลือง ภายในผลมี 1 เมล็ด การปลูก สะเดาเป็นไม้ดั้งเดิมของเขตเอเชียอาคเนย์ พบทั่วไปในประเทศพม่า อินเดีย สะเดาพบในป่าเบญจพรรณและป่าแดง มักขึ้นปะปนกับไม้ใหญ่ สะเดาเป็นพันธุ์ไม่ปลูกง่าย โตเร็ง และเป็นพันธุ์บุกเบิกในที่แห้งแล้งได้ดี ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด

227 สรรพคุณทางยา ใบอ่อน รสขม แก้โรคผิวหนัง น้ำเหลืองเสีย และพุพอง ใบแก่ รสขม บำรุงธาตุ ช่วยย่อยอาหาร และฆ่าแมลงศัตรูพืช ก้าน รสขม แก้ไข้ บำรุงน้ำดี และแก้ร้อนในกระหายน้ำ ดอก รสขม แก้พิษโลหิต พิษกำเดา แก้ริดสีดวง คันในลำคอ และบำรุงธาตุ ลูก รสขมเย็น บำรุงหัวใจให้เต้นเป็นปกติ และฆ่าแมลงศัตรูพืช คุณค่าทางโภชนาการ ทุกส่วนของสะเดามีรสขม นำยอดอ่อนและดอกสะเดาลวกน้ำร้อน 2-3 ครั้ง เพื่อให้หายขม รับประทานเป็นอาหารได้

228 สวัสดีค่ะ

229

230

231

232 ชื่อวิทยาศาสตร์ :       Erratamd Coronarid
 วงศ์ :     APOCYNACFAE พุดจีบ เป็นพันธ์ไม้ของประเทศอินเดีย ต้นไม้และใบคล้าย  ๆ พุดซ้อน (Cardenia jasminoides)  ของไทยเรา คือ เป็นไม้พุ่มเตี้ยออกใบหนาทึบ ทรงพุ่มแน่น มีพุ่มสูงประมาณ 4-8 ฟุต ใบสีเขียวเข้มมีลักษณะใบมนรี ปลายใบแหลมเป็นติ่งยาวออกมาประมาณ 1 เซนติเมตร ลำต้นเหนียว เมื่อเด็ดใบหรือหักกิ่งจะมีน้ำยางสีขาวไหลซึมออกมา (แต่ต้นหรือใบของพุดซ้อนจะไม่มียางที่ว่านี้ เพราะเป็นไม้ต่างวงศ์)


ดาวน์โหลด ppt พรรณไม้ ในลิลิตตะเลงพ่าย.

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google