งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

กลิ่นจันทน์ เขียวเจริญ

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "กลิ่นจันทน์ เขียวเจริญ"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 กลิ่นจันทน์ เขียวเจริญ
การบริหารงานแบบมุ่งเน้นผลสัมฤทธิ์ กลิ่นจันทน์ เขียวเจริญ

2 ที่มาและหลักการ หัวข้อการบรรยาย
การจัดทำคำรับรองการปฏิบัติราชการและการประเมินผลการ ปฏิบัติราชการ

3 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550
ที่มาและหลักการ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 78 (4) พัฒนาระบบงานภาครัฐ โดยมุ่งเน้นการพัฒนาคุณภาพ คุณธรรม และจริยธรรมของเจ้าหน้าที่ของรัฐ ควบคู่ไปกับการปรับปรุงรูปแบบและวิธีการทำงาน เพื่อให้การบริหารราชการแผ่นดินเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และส่งเสริมให้หน่วยงานของรัฐใช้หลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีเป็นแนวทางในการปฏิบัติราชการ มาตรา 78 (5) จัดระบบงานราชการและงานของรัฐอย่างอื่น เพื่อให้การจัดทำและการให้บริการสาธารณะเป็นไปอย่างรวดเร็ว มีประสิทธิภาพ โปร่งใส และตรวจสอบได้ โดยคำนึงถึงการมีส่วนร่วมของประชาชน มาตรา 78 (8) ดำเนินการให้ข้าราชการและเจ้าหน้าที่ของรัฐได้รับสิทธิประโยชน์อย่างเหมาะสม

4 พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2545
ที่มาและหลักการ พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2545 มาตรา 3/1 การบริหารราชการตามพระราชบัญญัตินี้ต้องเป็นไปเพื่อประโยชน์สุขของประชาชน เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของรัฐ ความมีประสิทธิภาพ ความคุ้มค่าในเชิงภารกิจแห่งรัฐ การลดขั้นตอนการปฏิบัติงาน การลดภารกิจและยุบเลิกหน่วยงานที่ไม่จำเป็น การกระจายภารกิจและทรัพยากรให้แก่ท้องถิ่น การกระจายอำนาจตัดสินใจ การอำนวยความสะดวก และการตอบสนองความต้องการของประชาชน ทั้งนี้ โดยมีผู้รับผิดชอบต่อผลของงาน ... ในการปฏิบัติหน้าที่ของส่วนราชการ ต้องใช้วิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี โดยเฉพาะอย่างยิ่งให้คำนึงถึงความรับผิดชอบของผู้ปฏิบัติงาน การมีส่วนร่วมของประชาชน การเปิดเผยข้อมูล การติดตามตรวจสอบและประเมินผลการปฏิบัติงาน ทั้งนี้ ตามความเหมาะสมของแต่ละภารกิจ

5 ที่มาและหลักการ พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546 การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี มาตรา 6 เกิดประโยชน์สุขต่อประชาชน เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของรัฐ มีประสิทธิภาพและเกิดความคุ้มค่าในเชิงภารกิจของรัฐ ไม่มีขั้นตอนการปฏิบัติงานเกินความจำเป็น มีการปรับปรุงภารกิจของส่วนราชการให้ทันต่อสถานการณ์ ประชาชนได้รับการอำนวยความสะดวกและได้รับการตอบสนองความต้องการ มีการประเมินผลการปฏิบัติราชการอย่างสม่ำเสมอ มาตรา 6 การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี ได้แก่ การบริหารราชการเพื่อบรรลุเป้าหมาย ดังต่อไปนี้ (1) เกิดประโยชน์สุขของประชาชน ... (7) มีการประเมินผลการปฏิบัติราชการอย่างสม่ำเสมอ >> วนขวา หมวด 8 การประเมินผลการปฏิบัติราชการ (ม ) มาตรา 45 ให้ส่วนราชการจัดให้มีคณะผู้ประเมินอิสระดำเนินการประเมินผลการปฏิบัติราชการของส่วนราชการเกี่ยวกับผลสัมฤทธิ์ของภารกิจ คุณภาพการให้บริการ ความพึงพอใจของประชาชนผู้รับบริการ ความคุ้มค่าในภารกิจ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และระยะเวลาที่ ก.พ.ร. กำหนด มาตรา 46 ส่วนราชการอาจจัดให้มีการประเมินภาพรวมของผู้บังคับบัญชาแต่ละระดับหรือหน่วยงานในส่วนราชการก็ได้ ทั้งนี้ การประเมินดังกล่าวต้องกระทำเป็นความลับและเป็นไปเพื่อประโยชน์แห่งความสามัคคีของข้าราชการ มาตรา 47 ในการประเมินผลการปฏิบัติงานของข้าราชการเพื่อประโยชน์ในการบริหารงานบุคคล ให้ส่วนราชการประเมินโดยคำนึงถึงผลการปฏิบัติงานเฉพาะตัวของข้าราชการผู้นั้นในตำแหน่งที่ปฏิบัติ ประโยชน์และผลสัมฤทธิ์ที่หน่วยงานที่ข้าราชการผู้นั้นสังกัดได้รับจากการปฏิบัติงานของข้าราชการผู้นั้น มาตรา 48 ในกรณีที่ส่วนราชการใดดำเนินการให้บริการที่มีคุณภาพและเป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนด รวมทั้งเป็นที่พึงพอใจแก่ประชาชน ให้ ก.พ.ร. เสนอคณะรัฐมนตรีจัดสรรเงินเพิ่มพิเศษเป็นบำเหน็จความชอบแก่ส่วนราชการ หรือให้ส่วนราชการใช้เงินงบประมาณเหลือจ่ายของส่วนราชการนั้น เพื่อนำไปใช้ในการปรับปรุงการปฏิบัติงานของส่วนราชการหรือจัดสรรเป็นรางวัลให้ข้าราชการในสังกัด ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.พ.ร. กำหนดโดยความเห็นชอบของคณะรัญมนตรี มาตรา 49 เมื่อส่วนราชการใดได้ดำเนินงานไปตามเป้าหมาย สามารถเพิ่มผลงานและผลสัฤทธิ์โดยไม่เป็นการเพิ่มค่าใช้จ่ายและคุ้มค่าต่อภารกิจของรัฐหรือสามารถดำเนินการตามแผนการลดค่าใช้จ่ายต่อหน่วยได้ตามหลักเกณฑ์ที่ ก.พ.ร. กำหนด ให้ ก.พ.ร. เสนอคณะรัฐมนตรีจัดสรรเงินรางวัลการเพิ่มประสิทธิภาพให้แก่ส่วนราชการนั้น หรือให้ส่วนราชการใช้เงินงบประมาณเหลือจ่ายของส่วนราชการนั้น เพื่อนำไปใช้ในการปรับปรุงการปฏิบัติงานของส่วนราชการหรือจัดสรรเป็นรางวัลให้ข้าราชการในสังกัด ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑฤและวิธีการที่ ก.พ.ร. กำหนดโยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี มาตรา 9, 12, 45, 48, 49

6 แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบราชการไทย (พ.ศ. 2551 – พ.ศ. 2555)
ที่มาและหลักการ แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบราชการไทย (พ.ศ – พ.ศ. 2555) แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบราชการไทย (พ.ศ – พ.ศ. 2555) ยุทธศาสตร์ที่ 3 การมุ่งสู่การเป็นองค์กรที่มีขีดสมรรถนะสูง บุคลากรมีความพร้อมและความสามารถในการเรียนรู้ คิดริเริ่ม เปลี่ยนแปลง และปรับตัวได้อย่างเหมาะสมต่อสถานการณ์ต่างๆ โดยมีการปรับปรุงกลไกและระบบการประเมินผลตามคำรับรองการปฏิบัติราชการให้เหมาะสมสอดรับกับพันธกิจและลักษณะของหน่วยงานของรัฐ สามรถวัดผลได้ทั้งในระดับองค์การและระดับบุคคล รวมทั้งการพัฒนามาตรการเสริมสร้างแรงจูงใจตามผลงาน

7 จากเครื่องมือในการควบคุมสู่เครื่องมือในการบริหาร
ที่มาและหลักการ จากเครื่องมือในการควบคุมสู่เครื่องมือในการบริหาร Four functions of management: planning, organizing, leading, controlling If you can’t measure, you can’t managed If you can’t measure, you can’t improved What gets measure, gets done วัดหรือประเมินเฉพาะสิ่งที่มีความสำคัญเท่านั้น (Key Performance Indicators) ปัจจุบันมีเครื่องมือใหม่ๆ ที่เข้ามาช่วยในเรื่องของการประเมินผลมากขึ้น เช่น BSC, KPI, Benchmarking, Management Cockpit, BSC Software

8 P D A C มาตรฐาน การปรับปรุงและ พัฒนาให้ดียิ่งขึ้น
ที่มาและหลักการ P D A C มาตรฐาน การปรับปรุงและ พัฒนาให้ดียิ่งขึ้น PLAN วัตถุประสงค์/เป้าหมายชัดเจน (ต้องการผลสัมฤทธิ์อะไร) DO ปฏิบัติมุ่งให้เกิดผลสัมฤทธิ์ตามที่วางแผนไว้ CHECK วัดว่าปฏิบัติได้ผลสัมฤทธิ์ตามที่วางแผนหรือไม่ (KPI ชัดเจน) ACT ปรับปรุงแก้ไขให้ได้ตามที่วางแผนไว้

9 การติดตามประเมินผล และ
ที่มาและหลักการ ระบบการบริหารราชการแผ่นดินเชิงกลยุทธ์แบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ การวางยุทธศาสตร์ แผนการบริหารราชการ แผ่นดิน แผนปฏิบัติราชการ 4 ปี การวางแผนปฏิบัติการ แผนปฏิบัติราชการ ประจำปี (คำขอ งบประมาณประจำปี) การวัดผลการดำเนินงานตามคำรับรองการปฏิบัติราชการ เงินรางวัลตามผลงาน การติดตามประเมินผล และ การทบทวนยุทธศาสตร์ Plan Do Check Act

10 Strategy Implementation
ที่มาและหลักการ Strategy Formulation Strategy Implementation S W O T Action Plan Vision Strategic Issue Goal (KPI / target) Strategies แผนปฏิบัติราชการ 4 ปี แผนการบริหารราชการแผ่นดิน Risk Assessment & Management Structure Process/IT Rule & Regulation People/ Culture Alignment Blueprint for Change Strategic Control Strategic Management Process

11 ระบบการบริหารราชการแผ่นดินเชิงกลยุทธ์แบบมุ่งผลสัมฤทธิ์
ที่มาและหลักการ ระบบการบริหารราชการแผ่นดินเชิงกลยุทธ์แบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ แผนการบริหาร ราชการแผ่นดิน (4 ปี) Corporate Scorecard แผนปฏิบัติราชการ (4 ปี) กระทรวง/กรม กลุ่มจังหวัด/จังหวัด Strategic Business Unit Scorecard แผนปฏิบัติราชการ (รายปี) กระทรวง กรม Team & Individual Scorecard Planning Measurement เป้าประสงค์ ตัวชี้วัด ค่าเป้าหมาย กลยุทธ์ Sub-unit Scorecard ยุทธศาสตร์รัฐบาล ยุทธศาสตร์กระทรวง/กรม ยุทธศาสตร์กลุ่มจังหวัด/จังหวัด Budgeting

12 ที่มาและหลักการ ความสอดคล้องจากแผนการบริหารราชการแผ่นดิน ถ่ายทอดมาสู่ระดับกระทรวงและระดับกรม เป้าหมายตาม แผนการบริหาร ราชการแผ่นดิน Z เป้าหมาย ระดับกระทรวง y1 y2 เป้าหมาย ระดับกรม x1 x2 x3 x4 12

13 แผนบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2555 - 2558 แผนปฏิบัติราชการสี่ปี
แผนบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ แผนปฏิบัติราชการสี่ปี กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ แผนปฏิบัติราชการสี่ปี (กรม) กรมพัฒนาที่ดิน นโยบายย่อยที่ 1.4 ส่งเสริมให้มีการบริหารจัดการน้ำอย่างบูรณาการและเร่งรัดขยายเขตพื้นที่ชลประทาน ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 3 พัฒนาทรัพยากรการเกษตรอย่างมีประสิทธิภาพ สมดุลและยั่งยืน พัฒนาพื้นที่ทำการเกษตรที่มีปัญหาแห้งแล้งซ้ำซากให้สามารถใช้ประโยชน์ได้อย่างยั่งยืน การอนุรักษ์ดินและน้ำโดยการพัฒนาแหล่งน้ำชุมชน จำนวนแหล่งน้ำชุมชนที่ได้รับการพัฒนา 970 แห่ง เป้าประสงค์ เพิ่มพื้นที่ชลประทานได้ประมาณ 4.22 ล้านไร่ เพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของฐานทรัพยากรธรรมชาติด้านการประมงและบริหารจัดการให้เกิดความสมดุลและยั่งยืน ดำเนินการกระจายการถือครองที่ดินที่เป็นธรรมและการพัฒนาที่ดินอย่างยั่งยืน เป้าประสงค์เชิงนโยบาย 1 เกิดกลไกในการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำแบบบูรณาการทุกระดับโดยการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน เร่งรัดขยายการก่อสร้างแหล่งน้ำในไร่นานอกเขตชลประทานเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรในการแก้ไขปัญหาภัยแล้ง การอนุรักษ์ดินและน้ำโดยการพัฒนาแหล่งน้ำในไร่นา จำนวนแหล่งน้ำในไร่นาที่ได้รับการพัฒนา 689,628 บ่อ เป้าหมาย / ตัวชี้วัด จำนวนแผนและกลไกการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ จำนวนกฎหมายที่ผ่านการปรับปรุงและแก้ไข จำนวนกิจกรรมความร่วมมือระหว่างประเทศ ร้อยละของประชาชนกลุ่มเป้าหมายที่มีส่วนร่วมในกิจกรรมมีความพึงพอใจ จำนวนแหล่งน้ำที่ดำเนินการอนุรักษ์ พัฒนาและฟื้นฟู จำนวนแหล่งน้ำที่ดำเนินการพัฒนาเพิ่มน้ำต้นทุน จำนวนหมู่บ้านที่มีระบบฐานข้อมูลเตือนภัยน้ำหลาก ดินถล่ม จำนวนแผน มาตรการ ในการบรรเทาภัยจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลก จำนวนแหล่งน้ำบาดาลที่ได้รับการอนุรักษ์ พัฒนา และฟื้นฟู เป้าหมาย / ตัวชี้วัด เพิ่มพื้นที่ชลประทานได้ประมาณ 4.22 ล้านไร่ พื้นที่ทำการประมงที่ได้รับการบริหารจัดการไม่น้อยกว่าปีละ 8.8 ล้านไร่ แหล่งอาศัยสัตว์น้ำได้รับการบริหารจัดการไม่น้อยกว่าปีละ 60 แห่ง ทรัพยากรที่ดินได้รับการบริหารจัดการไม่น้อยกว่าปีละ 2.15 ล้านไร่ สำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ การพัฒนาและเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติการฝนหลวง - พื้นที่เป้าหมายที่ได้รับประโยชน์จากการปฏิบัติการฝนหลวง จำนวนพื้นที่เป้าหมายที่ได้รับประโยชน์จากการปฏิบัติการฝนหลวง (160 ล้านไร่)

14 (ต่อ) แผนบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2555 - 2558 แผนปฏิบัติราชการสี่ปี
แผนบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ แผนปฏิบัติราชการสี่ปี กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ แผนปฏิบัติราชการสี่ปี (กรม) กรมชลประทาน นโยบายย่อยที่ 1.4 ส่งเสริมให้มีการบริหารจัดการน้ำอย่างบูรณาการและเร่งรัดขยายเขตพื้นที่ชลประทาน ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 3 พัฒนาทรัพยากรการเกษตรอย่างมีประสิทธิภาพ สมดุลและยั่งยืน การพัฒนาแหล่งน้ำ ปริมาณน้ำเก็บกักและพื้นที่ชลประทานเพิ่มขึ้น เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการน้ำโดยการผันน้ำและกระจายน้ำ จำนวนพื้นที่ชลประทานที่เพิ่มขึ้น (4,222,817 ไร่) จำนวนปริมาณเก็บกักที่เพิ่มขึ้น (1, ล้าน ลบ.ม.) จำนวนปริมาณน้ำต้นทุนที่เพิ่มให้อ่างฯ ( ล้าน ลบ.ม./ปี) จำนวนแหล่งน้ำชุมชน/ชนบทที่เพิ่มขึ้น (3,152 แห่ง) เป้าประสงค์ เพิ่มพื้นที่ชลประทานได้ประมาณ 4.22 ล้านไร่ เพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของฐานทรัพยากรธรรมชาติด้านการประมงและบริหารจัดการให้เกิดความสมดุลและยั่งยืน ดำเนินการกระจายการถือครองที่ดินที่เป็นธรรมและการพัฒนาที่ดินอย่างยั่งยืน เป้าประสงค์เชิงนโยบาย 2 เพิ่มพื้นที่ชลประทานได้ประมาณ 3.35 ล้านไร่ การบริหารจัดการน้ำ ทุกภาคส่วนได้รับน้ำอย่างทั่วถึงและเป็นธรรม จำนวนพื้นที่ชลประทานที่บริหารจัดการน้ำ (25.10 ล้านไร่) ร้อยละของพื้นที่ชลประทานที่ได้รับน้ำต่อพื้นที่เป้าหมาย (ไม่น้อยกว่าร้อยละ 100) จำนวนศูนย์/โครงการที่ดำเนินการ (335 แห่ง) เป้าหมาย / ตัวชี้วัด จำนวนพื้นที่ชลประทาน เป้าหมาย / ตัวชี้วัด เพิ่มพื้นที่ชลประทานได้ประมาณ 4.22 ล้านไร่ พื้นที่ทำการประมงที่ได้รับการบริหารจัดการไม่น้อยกว่าปีละ 8.8 ล้านไร่ แหล่งอาศัยสัตว์น้ำได้รับการบริหารจัดการไม่น้อยกว่าปีละ 60 แห่ง ทรัพยากรที่ดินได้รับการบริหารจัดการไม่น้อยกว่าปีละ 2.15 ล้านไร่ การป้องกันและบรรเทาภัยอันเนื่องจากน้ำ ความสูญเสียที่ลดลงอันเนื่องจากภัยอันเกิดจากน้ำ จำนวนพื้นที่ที่ได้รับประโยชน์ (3.71 ล้านไร่) จำนวนพื้นที่ป้องกันและบรรเทาปัญหาน้ำท่วมพื้นที่การเกษตรและพื้นที่ในเขตชุมชนเมือง (52,000 ไร่) (ต่อ)

15 การจัดทำคำรับรองการปฏิบัติราชการและ การประเมินผลการปฏิบัติราชการ
หัวข้อการบรรยาย ที่มาและหลักการ การจัดทำคำรับรองการปฏิบัติราชการและ การประเมินผลการปฏิบัติราชการ การบูรณาการการทำงานระหว่างกระทรวงในยุทธศาสตร์ที่มี เป้าหมายร่วมกันและการจัดทำตัวชี้วัดร่วมยุทธศาสตร์ (Joint KPIs)ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2555 การจัดสรรเงินรางวัลประจำปี

16 หน่วยงานของรัฐรูปแบบใหม่
การประเมินผลการปฏิบัติราชการของส่วนราชการและหน่วยงานของรัฐในกำกับของฝ่ายบริหาร กระทรวง กลุ่ม ภารกิจ กรม สป. สถาบัน อุดมศึกษา มหาวิทยาลัย ของรัฐ ในกำกับของรัฐ2 จังหวัด องค์การ มหาชน สำนักงาน ก.พ.ร. รับผิดชอบการติดตามประเมินผล หน่วยธุรการขององค์กรของรัฐที่เป็นอิสระ ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์แห่งชาติ สำนักงานคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกันภัย สำนักงานคณะกรรมการกิจการพลังงาน องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย สถาบันคุ้มครองเงินฝาก กองทุนที่เป็นนิติบุคคล กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน กองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ กองทุนอ้อยและน้ำตาลทราย หน่วยบริการรูปแบบพิเศษ สถาบันส่งเสริมการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี (สำนักงาน ก.พ.ร.) สำนักพิมพ์คณะรัฐมนตรีและราชกิจจานุเบกษา (สำนักเลขาธิกรคณะรัฐมนตรี) รัฐวิสาหกิจ1 หน่วยธุรการของ องค์กรของรัฐ ที่เป็นอิสระ3 กองทุน ที่เป็น นิติบุคคล1 หน่วยงานของรัฐรูปแบบใหม่ หน่วยบริการ รูปแบบพิเศษ3 1 กระทรวงการคลัง รับผิดชอบการติดตามประเมินผล 2 สกอ. และ สมศ. รับผิดชอบการติดตามประเมินผล 3 คณะกรรมการ รับผิดชอบการติดตามประเมินผล

17 ขั้นตอนการจัดทำคำรับรองการปฏิบัติราชการ 1
1.1 ก.พ.ร. เห็นชอบกรอบการประเมินผลการปฏิบัติราชการ 1.2 เจรจาความเหมาะสมของตัวชี้วัด ค่าเป้าหมาย น้ำหนัก และเกณฑ์การให้คะแนนตามคำรับรองฯ ของแต่ละส่วนราชการ 1.3 ลงนามคำรับรองการปฏิบัติราชการ 1.4 ส่วนราชการจัดส่งรายละเอียดตัวชี้วัด (KPI Template) ไปยังสำนักงาน ก.พ.ร. เพื่อประกอบการประเมินผล การจัดทำคำรับรอง การปฏิบัติราชการ 2 2.1 รอบ 6 เดือน (1 ต.ค. – 31 มี.ค.) - ส่งรายงานการประเมินผลตนเอง (SAR) ไปยังสำนักงาน ก.พ.ร. (ภายในวันที่ 30 เมษายน) - กรอกรายงานการประเมินผลตนเอง (e-SAR Card) เข้าระบบใน (ภายในวันที่ 30 เมษายน) - ส่งคำขอเปลี่ยนแปลงรายละเอียดตัวชี้วัด น้ำหนัก และเกณฑ์การให้คะแนน (อุทธรณ์ครั้งที่ 1) (ภายในวันที่ 31 มีนาคม) 2.2 รอบ 9 เดือน (1 ต.ค. – 30 มิ.ย.) - กรอกรายงานการประเมินผลตนเอง (e-SAR Card) เข้าระบบใน (ภายในวันที่ 16 กรกฎาคม) 2.3 รอบ 12 เดือน (1 ต.ค. – 30 ก.ย.) - ส่งรายงานการประเมินผลตนเอง (SAR) ไปยังสำนักงาน ก.พ.ร. (ภายในวันที่ 31 ตุลาคม) - กรอกรายงานการประเมินผลตนเอง (e-SAR Card) เข้าระบบใน (ภายในวันที่ 31 ตุลาคม) - ส่งคำขอเปลี่ยนแปลงรายละเอียดตัวชี้วัด น้ำหนัก และเกณฑ์การให้คะแนน (อุทธรณ์ครั้งที่ 2) (ภายในวันที่ 31 ตุลาคม) การติดตามการปฏิบัติราชการ ตามคำรับรองการปฏิบัติราชการ 3 การประเมินผลการปฏิบัติราชการ ตามคำรับรองการปฏิบัติราชการ

18 ขั้นตอนการจัดทำคำรับรองการปฏิบัติราชการ 3
การประเมินผลการปฏิบัติราชการ ตามคำรับรองการปฏิบัติราชการ 3.1 สำนักงาน ก.พ.ร. ติดตามประเมินผลการปฏิบัติราชการตาม คำรับรองฯ ณ ส่วนราชการ (Site Visit) รอบ 12 เดือน จากนั้น - แจ้งผลการประเมินให้ส่วนราชการทราบเพื่อยื่นยัน/ทักท้วง - ปรับปรุงคะแนนการประเมินผลให้สมบูรณ์ครบถ้วน 3.2 สำนักงาน ก.พ.ร. จัดทำสรุปผลคะแนนตามคำรับรองฯ ของ ส่วนราชการ - เชื่อมโยงผลการประเมินไปกับการจัดสรรสิ่งจูงใจ 3.3 สำนักงาน ก.พ.ร. นำผลการประเมินการปฏิบัติราชการตาม คำรับรองฯ เสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อทราบ

19 การประเมินผลการปฏิบัติราชการตามคำรับรองการปฏิบัติราชการ
การจัดทำคำรับรองการปฏิบัติราชการ การประเมินผลการปฏิบัติราชการตามคำรับรองการปฏิบัติราชการ ขั้นตอนการจัดทำคำรับรองการปฏิบัติราชการ ส่วนราชการจัดทำแผนปฏิบัติราชการ พัฒนาอะไร ผลงานวัดด้วยตัวชี้วัดอะไร เป้าหมายเท่าใด ส่งแผนปฏิบัติราชการ ให้สำนักงาน ก.พ.ร. เจรจาความเหมาะสมของตัวชี้วัด ค่าเป้าหมาย และเกณฑ์การให้คะแนน ประกาศให้ ประชาชนทราบ จัดทำคำรับรอง การปฏิบัติราชการ ดำเนินการตามคำรับรองการปฏิบัติราชการและประเมินผลตนเอง ก.พ.ร. พิจารณาผลการปฏิบัติราชการตามคำรับรองฯ จัดสรรสิ่งจูงใจตามระดับของผลงาน 19

20 การประเมินผลการปฏิบัติราชการตามคำรับรองการปฏิบัติราชการ
การจัดทำคำรับรองการปฏิบัติราชการ การประเมินผลการปฏิบัติราชการตามคำรับรองการปฏิบัติราชการ กลไกการจัดทำคำรับรองการปฏิบัติราชการ คณะกรรมการกำกับการจัดทำข้อตกลงและการประเมินผล กำหนดหลักเกณฑ์และกรอบการเจรจาข้อตกลงผลงาน เป้าหมาย วิธีการประเมินผล และจัดสรรสิ่งจูงใจ กำกับให้ส่วนราชการและคณะกรรมการเจรจาข้อตกลงและประเมินผลดำเนินการตามหลักเกณฑ์อย่างมีมาตรฐาน แก้ไขปัญหาในการจัดทำข้อตกลงและประเมินผล คณะกรรมการเจรจาข้อตกลงและการประเมินผล เจรจาความเหมาะสมของตัวชี้วัด น้ำหนัก ค่าเป้าหมาย และเกณฑ์การให้คะแนน เพื่อใช้ในการจัดทำคำรับรองการปฏิบัติราชการ สำหรับส่วนราชการเจรจาเฉพาะตัวชี้วัดตามแผนปฏิบัติราชการของส่วนราชการที่อยู่ในมิติภายนอก ประเด็นการประเมินประสิทธิผล สำหรับจังหวัดเจรจาเฉพาะตัวชี้วัดตามแผนปฏิบัติราชการของจังหวัดที่อยู่ในมิติด้านประสิทธิผล (ผลสำเร็จตามแผนปฏิบัติราชการ) คณะกรรมการพิจารณาคำขอเปลี่ยนแปลงรายละเอียดตัวชี้วัด น้ำหนัก และเกณฑ์การให้คะแนน พิจารณาคำขอเปลี่ยนแปลงรายละเอียดตัวชี้วัด น้ำหนัก และเกณฑ์การให้คะแนน

21 ระบบการประเมินผลภาคราชการแบบบูรณาการ
การจัดทำคำรับรองการปฏิบัติราชการ ระบบการประเมินผลภาคราชการแบบบูรณาการ (Government Evaluation System – GES) หลักการและแนวทาง: Public Accountability แต่ละส่วนราชการต้องมีความพร้อมต่อการตรวจสอบ โดยต้องจัดให้มีฐานข้อมูลสารสนเทศที่จำเป็น (บูรณาการตัวชี้วัด) และเผยแพร่ต่อสาธารณะ ผ่านทาง website เพื่อแสดงความโปร่งใส (ไม่ต้องจัดส่งข้อมูลและรายงานต่างๆ ให้แก่หน่วยงานกลาง) แต่ละส่วนราชการต้องทำการประเมินและรายงานผลด้วยตนเอง (Self-assessment Report) ตามเกณฑ์ที่กำหนด เพื่อแสดงให้เห็นถึงสถานะของผลสัมฤทธิ์ในการปฏิบัติราชการ รวมถึงขีดสมรรถนะและศักยภาพของหน่วยงานในด้านต่างๆ Public Trust & Confidence หน่วยงานกลางจะ access เข้าไปในระบบฐานข้อมูลสารสนเทศ (อาจจัดให้มี site visit) เพื่อสอบทานความถูกต้องและประเมินผล เพื่อประกอบการตัดสินใจเชิงนโยบายในด้านต่างๆ ต่อไป เช่น การจัดสรรทรัพยากร การลงโทษและให้รางวัลตอบแทน เป็นต้น เงื่อนไข : แต่ละส่วนราชการต้องมอบหมาย CIO ทำหน้าที่เป็นผู้สอบทานความถูกต้องและทันเวลาของข้อมูลที่นำเข้าสู่ระบบดังกล่าวนี้

22 นำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการบริหารจัดการข้อมูลอย่างเป็นระบบ
ออกแบบระบบโปรแกรมการจัดการฐานข้อมูลเพื่อใช้ในการจัดการฐานข้อมูลให้หน่วยงานต่าง ๆ สามารถดึงข้อมูลที่อยู่ในฐานข้อมูลไปใช้งานได้อย่างเหมาะสม หน่วยงานกลางสามารถเข้าถึงข้อมูลสารสนเทศได้ ฐานข้อมูลกลางของประเทศ ฐานข้อมูล ของส่วนราชการ Accountability Report กรม Database ภายในอื่น ๆ ระบบ GES Database กลาง เช่น GFMIS, e-Budgeting ระบบ GES กรม Database ภายในอื่น ๆ ระบบ GES กรม Database ภายในอื่น ๆ ระบบ GES กรม Database อื่น ๆ แต่ละส่วนราชการมีหน้าที่ที่จะต้องนำเข้าข้อมูลพื้นฐานของตนไว้ในระบบ เพื่อพร้อมต่อการรายงานและการตรวจสอบสาธารณะ (Public Accountability) ประมวลผ่านทางระบบอินเตอร์เน็ต และระบบ StatXchange ของสำนักงานสถิติแห่งชาติ

23 ข้อดีของระบบการประเมินผลภาคราชการแบบบูรณาการ
การจัดทำคำรับรองการปฏิบัติราชการ ข้อดีของระบบการประเมินผลภาคราชการแบบบูรณาการ 1 การทำงานแบบ Work Collaboration ระบบจะคำนึงถึงการทำงานจริงของ ผู้ใช้เป็นหลัก โดยผู้ใช้สามารถบันทึกผล การดำเนินงาน ติดตามความก้าวหน้าของ งาน ปัญหาอุปสรรค และติดต่อสื่อสารกัน ระหว่างผู้ปฏิบัติงานและผู้บริหาร นอกจากนั้นข้อมูลที่บันทึกในระบบจะ สามารถแลกเปลี่ยนแบบเว็บเซอร์วิสได้ ซึ่งจะช่วยให้คอมพิวเตอร์สามารถ แลกเปลี่ยนข้อมูลกับระบบงานของ หน่วยงานอื่นได้อัตโนมัติ ดังนั้น ระบบที่ สร้างขึ้นจึงมิใช่เพียงเพื่อการรายงานให้แก่ หน่วยงานกลางเท่านั้น แต่ผลผลิตหลัก ของระบบ คือ ผลสำเร็จของงานต่าง ๆ ที่ เกิดขึ้นจากการใช้ระบบงาน 2 ลดความซ้ำซ้อนของการจัดทำรายงาน เนื่องจากระบบนี้มีฐานข้อมูลเดียว ซึ่ง สามารถจัดเก็บข้อมูลได้ทั้งที่เป็น Structure (DBMS) และ Unstructure (.doc, .xls, .ppt, .pdf) โดยระบบถูก ออกแบบให้สามารถเชื่อมโยงข้อมูลใน ฐานข้อมูลกับ Item ต่าง ๆในรายงานที่ ต้องการเพื่อสร้างรูปแบบรายงานผลการ ดำเนินงานตามตัวชี้วัดที่เป็นมาตรฐาน เดียวกันโดยอัตโนมัติจากฐานข้อมูลที่ผู้ใช้ สร้างไว้ ซึ่งเป็นการช่วยลดภาระในการ บันทึกข้อมูลและการจัดทำรายงานของ เจ้าหน้าที่ และจะเป็นประโยชน์ต่อการ บริหารราชการของหัวหน้าส่วนราชการ และการรายงานผลต่อหน่วยงานกลาง 3 การตรวจสอบและประเมินผล Online หน่วยงานกลางที่ทำหน้าที่ในการ ตรวจสอบและประเมินผลสามารถ ตรวจสอบรายงานและเอกสารประกอบ ผ่านระบบก่อนที่จะ Site Visit ส่วน ราชการ หรือจะส่ง Feedback เช่น ผล การประเมิน หรือข้อซักถามแบบ ออนไลน์ได้ 23

24 กรอบการประเมินผลภาคราชการแบบบูรณาการของส่วนราชการ
การจัดทำคำรับรองการปฏิบัติราชการ กรอบการประเมินผลภาคราชการแบบบูรณาการของส่วนราชการ มิติภายนอก (ร้อยละ70 ) การประเมินประสิทธิผล (ร้อยละ 60) ระดับความสำเร็จในการบรรลุเป้าหมาย ระดับกระทรวง กลุ่มภารกิจ (ถ้ามี) กรม การประเมินคุณภาพ (ร้อยละ10) ร้อยละของระดับความพึงพอใจของ ผู้รับบริการต่อกระบวนการให้บริการ ผู้กำหนดนโยบาย มิติภายใน (ร้อยละ30 ) การพัฒนาองค์การ (ร้อยละ15) ขีดสมรรถนะของการบริหาร จัดการ ระดับความสำเร็จของการพัฒนา สมรรถนะของบุคลากร ปรับปรุงสารสนเทศ ปรับปรุงวัฒนธรรมองค์การ การประเมินประสิทธิภาพ (ร้อยละ15) ต้นทุนต่อหน่วยผลผลิต สัดส่วนค่าใช้จ่ายจริงต่อค่าใช้จ่าย ตามแผน การเบิกจ่ายเงินงบประมาณรายจ่ายลงทุน การเบิกจ่ายเงินงบประมาณรายจ่าย ภาพรวม ปริมาณผลผลิตที่ทำได้จริงเปรียบเทียบกับ แผน การประหยัดพลังงาน การประเมินผลประโยชน์ต่อค่าใช้จ่าย (Benefit-Cost Ratio) หรือการประเมินผระสิทธิผลต่อค่าใช้จ่าย (Cost-Effectiveness) การประเมินผลกระทบ

25 กรอบการประเมินผลภาคราชการแบบบูรณาการ
การจัดทำคำรับรองการปฏิบัติราชการ กรอบการประเมินผลภาคราชการแบบบูรณาการ ประเด็นการประเมินผล การปฏิบัติราชการ ตัวชี้วัด น้ำหนัก (ร้อยละ) มิติภายนอก 70  การประเมินประสิทธิผล 1. ระดับความสำเร็จของร้อยละเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักในการบรรลุเป้าหมายตามแผนปฏิบัติราชการของกระทรวงและนโยบายสำคัญ/พิเศษของรัฐบาล 20 1.1 ระดับความสำเร็จของร้อยละเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักในการบรรลุเป้าหมายตามแผนปฏิบัติราชการของกระทรวง (15) 1.2 ระดับความสำเร็จในการขับเคลื่อนนโยบายสำคัญ/พิเศษของรัฐบาล (5) 2. ระดับความสำเร็จของร้อยละเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักในการดำเนินการ ตามแผนปฏิบัติราชการของกระทรวงที่มีเป้าหมายร่วมกันระหว่างกระทรวง 10 3. ระดับความสำเร็จของร้อยละเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักในการบรรลุเป้าหมายตามแผนปฏิบัติราชการของกลุ่มภารกิจ 4. ระดับความสำเร็จของร้อยละเฉลี่ยถ่วงน้ำหนัก ในการบรรลุเป้าหมายตามแผนปฏิบัติราชการ/ภารกิจหลัก/เอกสารงบประมาณรายจ่ายฯ ของส่วนราชการระดับกรมหรือเทียบเท่า การประเมินคุณภาพ 5. ร้อยละของระดับความพึงพอใจของผู้รับบริการ 7 6. ร้อยละของระดับความพึงพอใจของผู้กำหนดนโยบาย 3 25

26 กรอบการประเมินผลภาคราชการแบบบูรณาการ
การจัดทำคำรับรองการปฏิบัติราชการ กรอบการประเมินผลภาคราชการแบบบูรณาการ ประเด็นการประเมินผล การปฏิบัติราชการ ตัวชี้วัด น้ำหนัก (ร้อยละ) มิติภายใน 30 การประเมินประสิทธิภาพ 7. ระดับความสำเร็จของการจัดทำต้นทุนต่อหน่วยผลผลิต 3 8. ระดับความสำเร็จของการเบิกจ่ายเงินงบประมาณตามแผน 2.5 9. ร้อยละการเบิกจ่ายเงินงบประมาณรายจ่ายลงทุน 1 10. ร้อยละการเบิกจ่ายเงินงบประมาณรายจ่ายภาพรวม 1.5 11. ระดับความสำเร็จของปริมาณผลผลิตที่ทำได้จริงเปรียบเทียบกับเป้าหมายผลผลิตตามเอกสารงบประมาณรายจ่าย 5 12. ระดับความสำเร็จของการดำเนินงานตามมาตรการประหยัดพลังงาน 2 การพัฒนาองค์การ 13. ระดับความสำเร็จของการพัฒนาสมรรถนะของบุคลากร 14. ระดับความสำเร็จของการพัฒนาปรับปรุงสารสนเทศ 15. ระดับความสำเร็จของการพัฒนาปรับปรุงวัฒนธรรมองค์การ 26

27 กรอบการประเมินผลภาคราชการแบบบูรณาการของจังหวัด
การจัดทำคำรับรองการปฏิบัติราชการ กรอบการประเมินผลภาคราชการแบบบูรณาการของจังหวัด มิติที่ 1 : มิติด้าน ประสิทธิผล มิติที่ 2 : มิติด้านคุณภาพการให้บริการ มิติที่ 3 : มิติด้านประสิทธิ ภาพของการ ปฏิบัติราชการ มิติที่ 4 : มิติด้านการพัฒนาองค์การ แสดงผลงานที่บรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมายของแผนปฏิบัติราชการ ตามที่ได้รับงบประมาณมา ดำเนินการเพื่อให้เกิด ประโยชน์สุขต่อประชาชน แสดงการให้ความสำคัญกับผู้รับบริการ ในการให้บริการที่มีคุณภาพ สร้างความพึงพอใจแก่ ผู้รับบริการ แสดงความสามารถในการ ปฏิบัติราชการ เช่น การบริหาร งบประมาณ การรักษามาตรฐาน ระยะเวลาการให้บริการ การประหยัด พลังงาน แสดงความสามารถในการ บริหารจัดการองค์การเพื่อสร้าง ความพร้อมในการสนับสนุน แผนปฏิบัติราชการ

28 คำรับรองการปฏิบัติราชการ
การจัดทำคำรับรองการปฏิบัติราชการ คำรับรองการปฏิบัติราชการ คำรับรองการปฏิบัติราชการ เป็นการแสดงความจำนงของผู้ทำ คำรับรองเกี่ยวกับการพัฒนาการปฏิบัติราชการและผลการดำเนินการ ของส่วนราชการที่ส่วนราชการต้องการบรรลุผล โดยมีตัวชี้วัด เป้าหมาย และเกณฑ์การให้คะแนนที่ชัดเจน ระหว่างผู้ทำคำรับรอง (หัวหน้าส่วนราชการ) กับผู้รับคำรับรอง (ผู้บังคับบัญชาของหัวหน้า ส่วนราชการ) คำรับรองการปฏิบัติราชการของส่วนราชการ ถือเป็นคำรับรองของ ส่วนราชการฝ่ายเดียว ไม่ใช่สัญญา และใช้สำหรับระยะเวลา 1 ปี ซึ่ง เริ่มต้นและสิ้นสุดสอดคล้องกับปีงบประมาณ

29 คำรับรองการปฏิบัติราชการ
การจัดทำคำรับรองการปฏิบัติราชการ คำรับรองการปฏิบัติราชการ

30 ขั้นตอนการพัฒนาระบบการบริหารมุ่งผลสัมฤทธิ์
ขั้นตอนการกำหนดตัวชี้วัด ขั้นตอนการพัฒนาระบบการบริหารมุ่งผลสัมฤทธิ์ 1. การวิเคราะห์วิสัยทัศน์และพันธกิจ 2. การกำหนดตัวชี้วัด 3. การกำหนดแหล่งข้อมูล 4. การตั้งค่าเป้าหมาย 5. การรวบรวมข้อมูล 6. การวิเคราะห์และรายงานผล

31 1. การวิเคราะห์วิสัยทัศน์และพันธกิจ
ขั้นตอนการกำหนดตัวชี้วัด 1. การวิเคราะห์วิสัยทัศน์และพันธกิจ วิสัยทัศน์ (Vision) พันธกิจ (Mission) ประเด็นยุทธศาสตร์ (Strategic Issues/ Themes) เป้าประสงค์ (Strategic Goals) กลยุทธ์ (Strategies) แผนปฏิบัติการ (Action Plan) องค์กรใช้วิสัยทัศน์เป็นเป้าหมายสูงสุดที่ต้องบรรลุและถ่ายทอดลงไปถึงเจ้าหน้าที่ระดับปฏิบัติโดยกำหนดเป็นแผนปฏิบัติการ

32 ประเด็นยุทธศาสตร์ (Strategic Issues/
ขั้นตอนการกำหนดตัวชี้วัด คำนิยาม / คำจำกัดความ วิสัยทัศน์ (Vision) เป็นข้อความที่สะท้อนถึงความมุ่งมั่นเกี่ยวกับทิศทางและสถานะที่ส่วนราชการต้องการจะเป็นในอนาคตตามห้วงเวลาที่กำหนด เป็นจุดมุ่งหมายปลายทางร่วมกันของคนในส่วนราชการที่จะดำเนินการผลักดันให้เกิดขึ้น พันธกิจ (Mission) เป็นข้อความแสดงให้เห็นหลักการพื้นฐาน จุดมุ่งหมาย หรือวัตถุประสงค์ของการก่อตั้งองค์กรและขอบข่ายการดำเนินงานขององค์กร เพื่อทำให้องค์กรบรรลุวิสัยทัศน์ที่กำหนดไว้ ซึ่งมีที่มาจากอำนาจหน้าที่ตามที่กฎหมายบัญญัติไว้หรือวัตถุประสงค์ของการจัดตั้งองค์กรนั้นๆ ประเด็นยุทธศาสตร์ (Strategic Issues/ Themes) เป็นการกำหนดประเด็นที่สำคัญที่องค์กรจำเป็นต้องดำเนินการพัฒนาเพื่อให้สามารถบรรลุวิสัยทัศน์ที่ตั้งไว้ได้ ประเด็นยุทธศาสตร์มักจะมีที่มาจาก : แนวทางหลักในการบรรลุวิสัยทัศน์ขององค์กร นโยบายหรือความจำเป็นเร่งด่วนจากภายนอกที่มีผลกระทบต่อการบบรลุวิสัยทัศน์ขององค์กร ความคาดหวังจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่สำคัญ

33 แผนงาน / โครงการ / กิจกรรม
ขั้นตอนการกำหนดตัวชี้วัด คำนิยาม / คำจำกัดความ เป้าประสงค์ (Goal) เป็นการกำหนดเป้าหมายในระดับวิสัยทัศน์ โดยเขียนเป็นข้อความเพื่อแสดงเป้าหมายความสำเร็จที่องค์กรมุ่งมั่นให้เกิดผล เพื่อแสดงว่าองค์กรได้บรรลุถึงวิสัยทัศน์ที่ได้ตั้งไว้หรือไม่ กลยุทธ์ (Strategy) เป็นแนวคิดหรือวิธีการที่แยบคายอันบ่งบอกถึงลักษณะการเคลื่อนตัวขององค์กรว่าจะก้าวไปสู่เป้าหมายที่ต้องการในอนาคตได้อย่างไร เป็นการตอบคำถามที่ว่า “เราจะไปถึงจุดหมายที่ต้องการอย่างไร” แผนงาน / โครงการ / กิจกรรม เป็นการนำแผนยุทธศาสตร์ไปสู่การปฏิบัติด้วยการเชื่อมโยงประเด็นยุทธศาสตร์ เป้าประสงค์ กลยุทธ์ ไปสู่แผนงาน/โครงการ/กิจจกรมแบบบูรณาการ มีการกำหนดผู้รับผิดชอบ กิจกรรมหรือขั้นตอน กำหนดระยะเวลาดำเนินการ ตัวชี้วัดและเป้าหมายที่ต้องการให้เกิดขึ้น ปัจจัยนำเข้าที่ต้องการ เช่น บุคลากร งบประมาณ เป็นต้น

34 (Key Performance Indicator - KPI)
ขั้นตอนการกำหนดตัวชี้วัด คำนิยาม / คำจำกัดความ ตัวชี้วัด (Key Performance Indicator - KPI) เครื่องมือหรือดัชนีที่ใช้ในการวัดความก้าวหน้าของการบรรลุแต่ละเป้าประสงค์ เป็นค่าที่วัดจากผลการปฏิบัติงานที่เกิดขึ้นจริง เพื่อแสดงความก้าวหน้าหรือผลสัมฤทธิ์ของการบรรลุตามเป้าประสงค์หรือกลยุทธ์ โดยเทียบกับเป้าหมายที่ได้ตั้งไว้ ค่าเป้าหมาย (Target) เป็นการแสดงระดับผลสัมฤทธิ์ที่คาดหวังของแต่ละตัวชี้วัด

35 การวัดผลสัมฤทธิ์ของการทำงาน
ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการติดตามและประเมินผล การวัดผลสัมฤทธิ์ของการทำงาน วัตถุประสงค์ (Objectives) ปัจจัยนำเข้า (Inputs) กิจกรรมในการทำงาน (Processes) ผลผลิต (Outputs) ผลลัพธ์ (Outcome) ผลสัมฤทธิ์ (Results) ความประหยัด (Economy) ความมีประสิทธิผล (Effectiveness) ความมีประสิทธิภาพ (Efficiency) วัตถุประสงค์ = เป้าหมายของผลสัมฤทธิ์ของงานที่ต้องการทั้งในระยะสั้น ระยะกลาง หรือระยะยาว ปัจจัยนำเข้า = ทรัพยากรที่ใช้ในการผลิต การให้บริการหรือการปฏิบัติงาน กิจกรรม = กระบวนการทำงาน การนำปัจจัยนำเข้ามาผ่านกระบวนการเพื่อทำให้เกิดมูลค่าเพิ่ม ตามมาตรฐานคุณภาพที่ได้กำหนดไว้ ผลผลิต = ผลงานหรือบริการที่องค์กรจัดทำขึ้น ผลลัพธ์ = ผลกระทบที่เกิดจากผลผลิตหรือผลงานที่ได้ทำขึ้น ซึ่งจะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงต่อผู้รับบริการอันเนื่องจากการดำเนินการ ความประหยัด = การใช้ทรัพยากรน้อยที่สุดในการผลิต ความมีประสิทธิภาพ = การเปรียบเทียบระหว่างปัจจัยนำเข้ากับผลผลิต = Input/Output ค่าน้อยแสดงว่ามีประสิทธิภาพมาก ผลิตภาพ (Productivity) เป็นการปรับปรุงประสิทธิภาพ โดยใช้ปัจจัยนำเข้าที่คงที่ หรือโดยการประหยัด หรือการคงรักษาระดับผลผลิตให้คงที่ ความมีประสิทธิผล = การเปรียบเทียบระหว่างวัตถุประสงค์กับผลผลิตและผลลัพธ์ของโครงการที่ได้ตั้งไว้ล่วงหน้า

36 คำนิยาม / คำจำกัดความ วัตถุประสงค์ (Objectives)
ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการติดตามและประเมินผล คำนิยาม / คำจำกัดความ วัตถุประสงค์ (Objectives) เป้าหมายของผลสัมฤทธิ์ของงานที่ต้องการทั้งในระยะสั้น กลาง หรือระยะยาว ปัจจัยนำเข้า (Inputs) ทรัพยากรที่ใช้ในการผลิต การให้บริการหรือการปฏิบัติงาน เช่น เงินทุน คน อาคาร เครื่องมือ วัสดุ อุปกรณ์ เทคโนโลยี เวลา ทรัพย์สินทางปัญญา กฎ ระเบียบ เป็นต้น กิจกรรม (Processes) กระบวนการทำงาน ได้แก่ การนำปัจจัยนำเข้าทั้งหลายมาผ่านกระบวนการเพื่อทำให้เกิดมูลค่าเพิ่ม ตามมาตรฐานคุณภาพที่ได้กำหนดไว้ กระบวนการแปลงทรัพยากรให้เป็นผลผลิตและผลลัพธ์

37 คำนิยาม / คำจำกัดความ ผลผลิต (Outputs)
ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการติดตามและประเมินผล คำนิยาม / คำจำกัดความ ผลผลิต (Outputs) ผลงานหรือบริการที่หน่วยงานจัดทำขึ้น โดยกิจกรรมที่ทำให้เกิดผลงานนั้นจะอยู่ภายใต้การควบคุมของหน่วยงาน ผลผลิตเป็นปริมาณงานที่หน่วยงานทำได้ ผลผลิตของโครงการอาจนำไปสู่ผลลัพธ์ของงานตามที่ต้องการ แต่ผลผลิตไม่ได้แสดงถึงผลลัพธ์ของงานหรือคุณภาพของการทำงาน ผลลัพธ์ (Outcomes) ผลกระทบที่เกิดจากผลผลิตหรือผลงานที่ได้ทำขึ้นซึ่งก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงต่อผู้รับบริการอันเนื่องมาจากการดำเนินการ เช่น ประโยชน์หรือความพึงพอใจที่ประชาชนได้รับ เป็นต้น ผลสัมฤทธิ์ (Results) ผลรวมของผลผลิตและผลลัพธ์

38 ความประหยัด (Economy)
ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการติดตามและประเมินผล คำนิยาม / คำจำกัดความ ความประหยัด (Economy) การใช้ทรัพยากรน้อยที่สุดในการผลิตโดยการใช้ปัจจัยนำเข้า (Inputs) ซึ่งได้แก่ทรัพยากรในการผลิตด้วยราคาที่ต่ำที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ความมีประสิทธิภาพ (Efficiency) ความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณทรัพยากรที่ใช้กับปริมาณผลผลิตที่เกิดจากกิจกรรมหรือโครงการ เป็นการแสดงความสามารถในการผลิตและความคุ้มค่าของการลงทุน ความมีประสิทธิผล (Effectiveness) ความสัมพันธ์ของผลลัพธ์ของการทำงานกับเป้าหมายหรือวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ ระดับของการบรรลุวัตถุประสงค์ที่ได้ตั้งไว้ล่วงหน้าของโครงการหนึ่งๆ ว่าได้ผลลัพธ์ตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้เพียงไร

39 ทดสอบความเข้าใจ ปัจจัยนำเข้า กระบวน การ ผลผลิต ผลลัพธ์
1. จำนวนเงินงบประมาณ 2. จำนวนเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานภาคสนาม 3. การฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ 4. การทดสอบปริมาณสารพิษตกค้างในอาหาร 5. จำนวนผู้เข้ารับการฝึกอบรม 6. ร้อยละของผู้ผ่านการฝึกอบรม 7. ร้อยละของผู้สอบไม่ผ่านวิชาภาษาไทย 8. ร้อยละของผู้รับบริการที่มีความพึงพอใจต่อการให้บริการ 9. ร้อยละของผู้เข้ารับการฝึกอบรมที่สามารถปฏิบัติงานได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

40 ทดสอบความเข้าใจ ผลผลิต ผลลัพธ์ 1. ผู้ใช้บริการ
ผู้ใช้บริการมีความพึงพอใจในบริการที่ได้รับ 2. ความยาวของถนนที่ได้รับการซ่อมแซม 2. ……………………………………………….. 3. ผู้เข้ารับฝึกอบรมมีความรู้สามารถนำไปปฏิบัติงานได้ถูกต้องยิ่งขึ้น 4. ผู้เข้าร่วมโครงการเลิกสูบบุหรี่ 4. ………………………………………………..

41 2. การกำหนดตัวชี้วัด Balanced Scorecard ด้านประสิทธิผล
ขั้นตอนการกำหนดตัวชี้วัด 2. การกำหนดตัวชี้วัด Balanced Scorecard ด้านประสิทธิผล คุณภาพการให้บริการ ด้านประสิทธิภาพ ด้านการพัฒนาองค์การ External Perspective Internal Perspective

42 ขั้นตอนการกำหนดตัวชี้วัด
2. การกำหนดตัวชี้วัด ตัวอย่าง Scorecard

43 SMART 2. การกำหนดตัวชี้วัด คุณลักษณะของตัวชี้วัด Specific
ขั้นตอนการกำหนดตัวชี้วัด 2. การกำหนดตัวชี้วัด SMART คุณลักษณะของตัวชี้วัด Specific มีความเฉพาะเจาะจง ชัดเจน มีความหมายมุ่งไปยังสิ่งที่วัด Measurable ใช้วัดผลได้จริง เปรียบเทียบได้ ใช้วิเคราะห์ความหมายทางสถิติได้ Attainable (Achievable) สามารถบรรลุผลสำเร็จได้ มีความสมเหตุสมผล Realistic (Relevant) มีความสมจริง ไม่ใช้ต้นทุนการวัดที่สูงเกินไป มีความสอดคล้องสะท้อนถึงเป้าประสงค์และวัตถุประสงค์เชิงยุทธศาสตร์ Timely สามารถใช้วัดผลการปฏิบัติงานได้ภายในเวลาที่กำหนด แสดงผลลัพธ์ได้รวดเร็ว ทำให้สามารถใช้ในการติดตามและปรับปรุงได้ง่าย

44 ขั้นตอนการกำหนดตัวชี้วัด
2. การกำหนดตัวชี้วัด การประเมินผลตัวชี้วัดผลสำเร็จ/ไม่สำเร็จ (Pass/Fail) การประเมินผลตัวชี้วัดตามขั้นตอนการดำเนินงาน (Milestones) การประเมินผลตัวชี้วัดเชิงผลผลิต (Output) การประเมินผลตัวชี้วัดเชิงผลลัพธ์ (Outcome) การประเมินผลตัวชี้วัดแบบผสมผสาน (Hybrid)

45 ขั้นตอนการกำหนดตัวชี้วัด
2. การกำหนดตัวชี้วัด การประเมินผลตัวชี้วัดผลสำเร็จ/ไม่สำเร็จ (Pass/Fail) ตัวอย่างตัวชี้วัด : ผลสำเร็จของการศึกษาพัฒนาการท่องเที่ยวชายฝั่งทะเลภาคใต้ ระดับคะแนน ขั้นตอนการดำเนินงาน ระดับที่ 1 ไม่สามารถจัดทำรายงานการศึกษาพัฒนาการท่องเที่ยวชายฝั่งทะเลภาคใต้ได้ หรือจัดทำรายงานการศึกษาพัฒนาการท่องเที่ยวชายฝั่งทะเลภาคใต้ได้หลังวันที่ 30 กันยายน 2554 ระดับที่ 2 - ระดับที่ 3 ระดับที่ 4 ระดับที่ 5 จัดทำรายงานการศึกษาพัฒนาการท่องเที่ยวชายฝั่งทะเลภาคใต้ได้แล้วเสร็จภายในวันที่ 30 กันยายน 2554 การประเมินตัวชี้วัดผลสำเร็จ / ไม่สำเร็จ (Pass/Fail) เป็นการประเมินผลความสำเร็จจาก ผลการดำเนินงานเทียบกับเกณฑ์การให้คะแนน

46 ขั้นตอนการกำหนดตัวชี้วัด
2. การกำหนดตัวชี้วัด การประเมินผลตัวชี้วัดตามขั้นตอนการดำเนินงาน (Milestones) ตัวอย่างตัวชี้วัด : ระดับความสำเร็จของการจัดทำแผนปฏิบัติการตามแผนพัฒนาสตรี ระดับคะแนน ขั้นตอนการดำเนินงาน ระดับที่ 1 จัดตั้งคณะทำงานจัดทำแผนปฏิบัติการฯ ปี ซึ่งประกอบด้วยหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชนและองค์กรเอกชนที่เกี่ยวข้อง ระดับที่ 2 จัดทำร่างแผนปฏิบัติการฯ ระดับที่ 3 ระดมความคิดเห็นจากผู้มีส่วนได้เสียเพื่อปรับปรุงร่างแผนปฏิบัติการฯ ปรับปรุงร่างแผนปฏิบัติการฯเพื่อให้ได้แผนปฏิบัติการฯฉบับสมบูรณ์ ระดับที่ 4 ดำเนินการตามแผนปฏิบัติการฯ สำหรับปี 2554 ได้ร้อยละ 80 ระดับที่ 5 ดำเนินการตามแผนปฏิบัติการฯ สำหรับ ปี 2554 ได้ร้อยละ 100 และมีรายงานสรุปผลการดำเนินการตามแผนปฏิบัติการ รวมทั้งปัญหาอุปสรรคและแนวทางการดำเนินงานในปี 2555 การประเมินผลตัวชี้วัดตามขั้นตอนการดำเนินงาน (Milestone) เป็นการประเมินผลความสำเร็จจากความคืบหน้าของผลการดำเนินงานตามขั้นตอน/แผนงาน/โครงการเทียบกับแผนงานที่กำหนด แล้วพิจารณาให้คะแนนตามเกณฑ์การให้คะแนนที่กำหนด

47 2. การกำหนดตัวชี้วัด การประเมินผลตัวชี้วัดเชิงผลผลิต (Output)
ขั้นตอนการกำหนดตัวชี้วัด 2. การกำหนดตัวชี้วัด การประเมินผลตัวชี้วัดเชิงผลผลิต (Output) ตัวอย่างตัวชี้วัด : ร้อยละที่เพิ่มขึ้นของผลผลิตต่อหน่วยของข้าว ตัวชี้วัด น้ำหนัก เกณฑ์การให้คะแนน 1 2 3 4 5 ข้าว ตัวอย่างตัวชี้วัด : ร้อยละที่เพิ่มขึ้นของผลผลิตต่อหน่วยของพืชเศรษฐกิจที่สำคัญ ตัวชี้วัด น้ำหนัก เกณฑ์การให้คะแนน 1 2 3 4 5 ข้าว 1.5 10 15 20 25 ข้าวโพด 6 8 12 14 อ้อย รวม การประเมินผลตัวชี้วัดเชิงผลผลิต 1 ตัว เป็นการประเมินผลจากการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานจริงของตัวชี้วัดย่อยกับเกณฑ์การให้คะแนนของตัวชี้วัดย่อยแต่ละตัวที่กำหนดไว้ตัวอย่างตัวชี้วัด : ร้อย การประเมินผลตัวชี้วัดเชิงผลผลิตมากกว่า 1 ตัว เป็นการประเมินผลจากการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานจริงของตัวชี้วัดย่อยกับเกณฑ์การให้คะแนนของตัวชี้วัดย่อยแต่ละตัวที่กำหนดไว้ละที่เพิ่มขึ้นของผลผลิตต่อหน่วยของข้าว

48 2. การกำหนดตัวชี้วัด การประเมินผลตัวชี้วัดเชิงผลลัพธ์ (Outcome)
ขั้นตอนการกำหนดตัวชี้วัด 2. การกำหนดตัวชี้วัด การประเมินผลตัวชี้วัดเชิงผลลัพธ์ (Outcome) ตัวอย่างตัวชี้วัด : ระดับคุณภาพของการบริหารจัดการระบบฐานข้อมูลสารสนเทศของส่วนราชการ ระดับคะแนน ขั้นตอนการดำเนินงาน ระดับที่ 1 จัดทำแผนปฏิบัติการบริหารจัดการระบบฐานข้อมูลสารสนเทศของส่วนราชการโดยมีเนื้อหาและคุณภาพครอบคลุม 3 ประเด็นหลักและประเด็นย่อยไม่น้อยกว่า 6 ประเด็น ระดับที่ 2 จัดทำแผนปฏิบัติการบริหารจัดการระบบฐานข้อมูลสารสนเทศของส่วนราชการโดยมีเนื้อหาและคุณภาพครอบคลุม 3 ประเด็นหลักและประเด็นย่อยไม่น้อยกว่า 7 ประเด็น ระดับที่ 3 จัดทำแผนปฏิบัติการบริหารจัดการระบบฐานข้อมูลสารสนเทศของส่วนราชการโดยมีเนื้อหาและคุณภาพครอบคลุม 3 ประเด็นหลักและประเด็นย่อยไม่น้อยกว่า 8 ประเด็น ระดับที่ 4 จัดทำแผนปฏิบัติการบริหารจัดการระบบฐานข้อมูลสารสนเทศของส่วนราชการโดยมีเนื้อหาและคุณภาพครอบคลุม 3 ประเด็นหลักและประเด็นย่อยไม่น้อยกว่า 9 ประเด็น ระดับที่ 5 จัดทำแผนปฏิบัติการบริหารจัดการระบบฐานข้อมูลสารสนเทศของส่วนราชการโดยมีเนื้อหาและคุณภาพครอบคลุม 3 ประเด็นหลักและประเด็นย่อยไม่น้อยกว่า 10 ประเด็น การประเมินผลตัวชี้วัดเชิงผลลัพธ์ ประเมินผลความสำเร็จจากผลการดำเนินงานเทียบกับเกณฑ์การให้คะแนน

49 2. การกำหนดตัวชี้วัด การประเมินผลตัวชี้วัดแบบผสมผสาน (Hybrid)
ขั้นตอนการกำหนดตัวชี้วัด 2. การกำหนดตัวชี้วัด การประเมินผลตัวชี้วัดแบบผสมผสาน (Hybrid) ตัวอย่างตัวชี้วัด : ระดับความสำเร็จของการลดต้นทุนด้านโลจิสติกส์แก่ผู้ส่งออก ระดับ คะแนน ขั้นตอนการดำเนินงาน ระดับที่ 1 ทบทวนการดำเนินงานปี 2552 และจัดทำแผนส่งเสริมและพัฒนาการให้บริการโลจิ สติกส์แก่ผู้ส่งออกกำหนดหลักเกณฑ์ คุณสมบัติและคัดเลือก ผู้ส่งออกเข้าร่วมโครงการ (Milestone) ระดับที่ 2 ดำเนินการตามแผนการส่งเสริมและพัฒนาการให้บริการโลจิสติกส์แก่ผู้ส่งออกได้แล้ว เสร็จร้อยละ 100 (Output) ระดับที่ 3 มีการประเมินผลและติดตามธุรกิจที่เข้าร่วมโครงการทั้งหมดและนำข้อเสนอแนะไป ปฏิบัติหรือปรับปรุงกระบวนการต่างๆ (Outcome) ระดับที่ 4 จำนวนธุรกิจที่เข้าร่วมโครงการไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 ได้นำข้อเสนอแนะไปปรับปรุง กระบวนการหรือกำหนดแนวทางปฏิบัติ (Outcome) ระดับที่ 5 จำนวนธุรกิจที่เข้าร่วมโครงการไม่น้อยกว่าร้อยละ 60 ได้นำข้อเสนอแนะไปปรับปรุง กระบวนการหรือกำหนดแนวทางปฏิบัติ (Outcome) การประเมินผลตัวชี้วัดแบบผสมผสานเป็นการประเมินผลจากความคืบหน้าของผลการดำเนินงานตามขั้นตอน/แผนงาน/โครงการเทียบกับแผนงานที่กำหนด แล้วพิจารณาให้คะแนนตามเกณฑ์การให้คะแนนที่กำหนด และประเมินผลจากการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานจริงกับเกณฑ์การให้คะแนนที่กำหนดไว้

50 2. การกำหนดตัวชี้วัด การทดสอบคุณภาพของตัวชี้วัด
ขั้นตอนการกำหนดตัวชี้วัด 2. การกำหนดตัวชี้วัด การทดสอบคุณภาพของตัวชี้วัด ตัวชี้วัดนั้นมีความสอดคล้องกับยุทธศาสตร์มากน้อยเพียงใด ความพร้อมของข้อมูล (Data Availability) : มีข้อมูลเพียงพอ หรือไม่ ความถูกต้องของข้อมูล (Data Accuracy) : ข้อมูลที่มีอยู่มีความ ถูกต้องและแม่นยำเพียงใด ความทันสมัยของข้อมูล (Timeliness of Data) : ข้อมูลที่มีอยู่มี ความทันสมัยหรือไม่ ต้นทุนในการจัดหาข้อมูล (Cost of Data Collection) : ต้นทุน ในการจัดหามากหรือน้อยเพียงใดและมีความคุ้มค่าหรือไม่ที่จะ หาข้อมูลมาเพื่อตัวชี้วัดนั้นๆ การประเมินผลตัวชี้วัดแบบผสมผสานเป็นการประเมินผลจากความคืบหน้าของผลการดำเนินงานตามขั้นตอน/แผนงาน/โครงการเทียบกับแผนงานที่กำหนด แล้วพิจารณาให้คะแนนตามเกณฑ์การให้คะแนนที่กำหนด และประเมินผลจากการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานจริงกับเกณฑ์การให้คะแนนที่กำหนดไว้

51 2. การกำหนดตัวชี้วัด การทดสอบคุณภาพของตัวชี้วัด (ต่อ)
ขั้นตอนการกำหนดตัวชี้วัด 2. การกำหนดตัวชี้วัด การทดสอบคุณภาพของตัวชี้วัด (ต่อ) ความชัดเจนของตัวชี้วัด (Clarity of KPI) : ตัวชี้วัดนั้นมีความ ชัดเจน เป็นที่เข้าใจร่วมกันของทุกๆ ฝ่ายที่เกี่ยวข้องหรือไม่ ตัวชี้วัดนั้นสะท้อนให้เห็นถึงผลการดำเนินงานที่แท้จริงหรือไม่ (Validity of KPI) หรือแสดงให้เห็นถึงสิ่งที่ต้องการที่จะวัดจริง หรือไม่ ตัวชี้วัดนั้นสามารถนำไปใช้ในการเปรียบเทียบผลการดำเนินงาน กับองค์กรหรือหน่วยงานอื่น หรือกับผลการดำเนินงานในอดีตได้ หรือไม่ (Comparability of KPI) ตัวชี้วัดนั้นมีความสัมพันธ์กับตัวชี้วัดอื่นในเชิงเหตุและผลหรือไม่ (Relationships with other KPIs) การประเมินผลตัวชี้วัดแบบผสมผสานเป็นการประเมินผลจากความคืบหน้าของผลการดำเนินงานตามขั้นตอน/แผนงาน/โครงการเทียบกับแผนงานที่กำหนด แล้วพิจารณาให้คะแนนตามเกณฑ์การให้คะแนนที่กำหนด และประเมินผลจากการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานจริงกับเกณฑ์การให้คะแนนที่กำหนดไว้

52 KPI Template 3. การกำหนดแหล่งข้อมูล
ขั้นตอนการกำหนดตัวชี้วัด KPI Template 3. การกำหนดแหล่งข้อมูล ชื่อตัวชี้วัด ระบุชื่อของตัวชี้วัดให้ชัดเจน หน่วยวัด ระบุหน่วยนับของข้อมูลตัวชี้วัด เช่น บาท ราย ร้อยละ เป็นต้น สูตรการวัด เป็นวิธีการคำนวณเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ของตัวชี้วัด คำอธิบาย เป็นการอธิบายเกี่ยวกับตัวชี้วัดให้ชัดเจนเพื่อให้ผู้ใช้ตัวชี้วัดมีความ เข้าใจตรงกันถึงความมุ่งหมายของตัวชี้วัดและรายละเอียดอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น วัตถุประสงค์/ที่มาของตัวชี้วัด คำจำกัดความ/นิยาม ขอบเขตของตัวชี้วัด เป็นต้น ข้อมูลพื้นฐานประกอบตัวชี้วัด เป็นการแสดงข้อมูลย้อนหลังของตัวชี้วัด วิธีการเก็บข้อมูล/ วแหล่งข้อมูล ระบุว่าจะเก็บข้อมูลผลการปฏิบัติงานได้ อย่างไร หรือจะใช้ข้อมูลจากแหล่งข้อมูลใด

53 KPI Template 3. การกำหนดแหล่งข้อมูล
ขั้นตอนการกำหนดตัวชี้วัด KPI Template 3. การกำหนดแหล่งข้อมูล ผู้จัดเก็บข้อมูล เป็นผู้รับผิดชอบ ในการจัดเก็บและรวบรวมข้อมูลผล การปฏิบัติงานตามตัวชี้วัด หากมี หน่วยงานผู้รับผิดชอบผลงาน มากกว่าหนึ่งแห่ง ให้กำหนด หน่วยงานจัดเก็บและรวบรวม ข้อมูลไว้เป็นหน่วยงานกลาง มี หน้าที่ประสานการจัดเก็บและ รวบรวมข้อมูล ผู้กำกับดูแลตัวชี้วัด เป็น ผู้รับผิดชอบผลักดันการดำเนินงาน ตามตัวชี้วัดให้บรรลุเป้าหมายที่ กำหนดไว้ รวมทั้งมีหน้าที่ดูแล ตรวจสอบความถูกต้องของการ จัดเก็บและรวบรวมข้อมูล

54 ลักษณะของข้อมูลที่ดี
ขั้นตอนการกำหนดตัวชี้วัด 3. การกำหนดแหล่งข้อมูล แนวคิดเกี่ยวกับข้อมูล ลักษณะของข้อมูลที่ดี ข้อมูลควรมาจากแหล่งข้อมูลมีความน่าเชื่อถือ สามารถตรวจสอบได้ หากเป็นข้อมูลประมาณการหรือค่าคาดการณ์ทางสถิติโดยใช้กลุ่มตัวอย่าง ต้องมีการดำเนินการตามระเบียบวิธีวิจัยที่ถูกต้อง น่าเชื่อถือ แหล่งข้อมูล ที่ดี เป็นแหล่งข้อมูลที่มีข้อมูลพร้อม ต้นทุนต่ำ สามารถเข้าถึงข้อมูลได้สะดวก นำข้อมูลมาปรับใช้ได้ง่าย สะดวก และรวดเร็ว และเป็นข้อมูลที่เชื่อถือได้

55 3. การกำหนดแหล่งข้อมูล แนวคิดเกี่ยวกับวิธีเก็บข้อมูลหรือแหล่งข้อมูล
ขั้นตอนการกำหนดตัวชี้วัด 3. การกำหนดแหล่งข้อมูล แนวคิดเกี่ยวกับวิธีเก็บข้อมูลหรือแหล่งข้อมูล ข้อมูลหลักฐานของหน่วยงานที่มีการเก็บรวบรวมไว้ หรือที่จะพัฒนาขึ้นมาใหม่ การสำรวจ เช่น การสัมภาษณ์ หรือการสอบถามโดยใช้แบบสอบถาม การสังเกต โดยผู้สังเกตการณ์ที่ได้รับการฝึก เครื่องมือวัดเฉพาะด้าน เช่น เครื่องมือวัดความสะอาดของน้ำ เป็นต้น แนวคิดเกี่ยวกับการเลือกใช้วิธีเก็บข้อมูล ความเป็นไปได้ ความเที่ยงตรงและเชื่อถือได้ของวิธีการเก็บข้อมูล การใช้ประโยชน์จากเครื่องมือเพื่อการบริหารโครงการและ การรายงานผล ต้นทุนการเก็บข้อมูล

56 ข้อควรระวัง 3. การกำหนดแหล่งข้อมูล แนวคิดเกี่ยวกับข้อมูล
ขั้นตอนการกำหนดตัวชี้วัด 3. การกำหนดแหล่งข้อมูล แนวคิดเกี่ยวกับข้อมูล ข้อควรระวัง คำนิยาม/คำจำกัดความของข้อมูลที่ต้องการต้องตรงกัน ข้อมูลจากเอกสารราชการมักเก็บเฉพาะสิ่งที่เกิดขึ้นจริง ไม่จัดเก็บสิ่งที่ควรจะ เกิดขึ้นแต่ไม่เกิดขึ้น เช่น การแสดงจำนวนรถยนต์ที่มีการประกันภัยรถยนต์ แต่ ไม่แสดงว่ามีเจ้าของรถยนต์จำนวนเท่าใดที่ใช้รถโดยไม่ทำประกันภัย เป็นต้น ข้อร้องเรียนอย่างเป็นทางการที่องค์กรบันทึกอาจไม่สะท้อนถึงความพอใจที่ แท้จริงของผู้รับบริการ เนื่องจากเหตุผลหลายประการ เช่น ผู้ร้องเรียนไม่ใช่ ตัวแทนของประชากรทั้งหมด ปัจจัยบางอย่าง เช่น วัฒนธรรมที่ส่งเสริมให้ อดทน ความเกรงกลัวต่อผลที่จะตามมาจากการร้องเรียน กระบวนการร้องเรียน ยุ่งยาก เป็นต้น

57 4. การตั้งเป้าหมาย การตั้งเป้าหมายขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของผู้ใช้
ขั้นตอนการกำหนดตัวชี้วัด ค่าเป้าหมาย เป็นการแสดงระดับผลสัมฤทธิ์ที่คาดหวังของแต่ละตัวชี้วัด 4. การตั้งเป้าหมาย การตั้งเป้าหมายขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของผู้ใช้ เป้าหมายที่สะท้อนถึงการปฏิบัติงานตามที่กฎหมายกำหนด เป้าหมายที่ตั้งตามระดับผลการปฏิบัติงานในปัจจุบัน แสดงว่า ผลการปฏิบัติงานในปัจุบันอยู่ในระดับที่น่าพึงพอใจและไม่ควร ต่ำกว่านี้ เป้าหมายในระดับที่สามารถบรรลุผลได้ เป็นการตั้งเป้าหมายให้ อยู่เหนือระดับผลการปฏิบัติงานในปัจุบัน แต่ไม่กำหนดให้สูง เกินไป กำหนดเพียงระดับที่สามารถบรรลุถึงโดยไม่ต้องทุ่มเท ทรัพยากรทางการบริหารมากนัก เป้าหมายแบบท้าทาย เป็นการกำหนดเป้าหมายในระดับสูงที่ ต้องการให้มีการปรับปรุงผลการปฏิบัติงานให้เห็นการ เปลี่ยนแปลงอย่างชัดเจน

58 4. การตั้งเป้าหมาย ขั้นตอนการกำหนดตัวชี้วัด
Lofty Target Stretch Target Realistic Target Always being better เป้าหมาย (Target) [แสดงถึงผลการดำเนินงานที่คาดหวังไว้] ปัจจัยผลักดันจากภายใน (Internal driven) ปัจจัยผลักดันจากภายนอก (External driven) เป้าหมาย คือ ระดับหรือมาตรฐานผลการปฏิบัติงานที่คาดหวัง สมรรถนะ (Capability) ความคาดหวัง (Expectation) ผู้มีส่วนได้เสีย (Stakeholder) มาตรฐาน (Standard) วิธีปฏิบัติที่ดีที่สุด(Best practice)

59 4. การตั้งเป้าหมาย ตัวอย่างวิธีการตั้งเป้าหมาย
ขั้นตอนการกำหนดตัวชี้วัด ตัวอย่างวิธีการตั้งเป้าหมาย 4. การตั้งเป้าหมาย 1. มีระเบียบ/กฎหมายกำหนดระดับของผลการปฏิบัติงานหรือไม่ มี ไม่มี ใช้ระดับที่กำหนดไว้ตามระเบียบ/กฎหมายเป็นเป้าหมาย 2. พอใจระดับผลการปฏิบัติงานในปัจจุบันหรือไม่ พอใจ ไม่พอใจ กำหนดเป้าหมายตามระดับผลการปฏิบัติงานในปัจจุบัน 3. จำเป็นต้องปรับปรุงผลการปฏิบัติงานโดยรีบด่วนหรือไม่ จำเป็น ไม่จำเป็น กำหนดเป้าหมายแบบท้าทาย กำหนดเป้าหมายในระดับที่สามารถบรรลุผลได้

60 4. การตั้งเป้าหมาย ปัจจัยที่ควรคำนึงถึงในการตั้งเป้าหมาย
ขั้นตอนการกำหนดตัวชี้วัด 4. การตั้งเป้าหมาย ปัจจัยที่ควรคำนึงถึงในการตั้งเป้าหมาย ผลการปฏิบัติงานขององค์การที่ผ่านๆ มา อุปสรรค/ความสำเร็จ และค่าเฉลี่ย ผลการปฏิบัติงานขององค์การหรือหน่วยงานอื่นทั้งในและ ต่างประเทศที่มีลักษณะงานสามารถเทียบเคียงกันได้ ความต้องการ ความคาดหวังของผู้รับบริการและผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง แนวโน้มทั่วไปและการปรับปรุงให้ดีขึ้น (Self Improvement) นโยบายของผู้บริหารระดับสูงซึ่งต้องการให้ผลงานดีกว่าในอดีต และคู่เปรียบ โดยมีทรัพยากรหรือเทคโนโลยีสนับสนุนการบรรลุ เป้าหมาย

61 4. การตั้งเป้าหมาย เกณฑ์การให้คะแนน ขั้นตอนการกำหนดตัวชี้วัด
ผลการประเมิน ระดับคะแนน ที่ได้รับ มีผลการปฏิบัติราชการอยู่ในระดับดีกว่าเป้าหมายมาก เป็นเกณฑ์ท้าทายที่ส่วนราชการต้องบริหารจัดการทรัพยกรที่มีอยู่ให้ได้ผลดีกว่าปกติอย่างมากถึงจะได้คะแนนในระดับนี้ หรือเป็นผลงานที่เหนือความคาดหมาย หรือมีการเทียบกับมาตรฐาน (Benchmarking) ในระดับต่างๆ เช่น ระดับชาติ ระดับสากล หรือ Top 10 5 เป็นเกณฑ์ที่ส่วนราชการต้องบริหารจัดการทรัพยกรที่มีอยู่ให้ได้ผลดีกว่าปกติถึงจะทำสำเร็จได้ โดยผลที่ได้เกินกว่าเป้าหมายพอสมควร แต่ไม่ถึงระดับเหนือความคาดหมาย 4 มีผลการปฏิบัติราชการอยู่ในระดับเป็นไปตามเป้าหมาย เป็นเกณฑ์ที่แสดงว่าส่วนราชการสามารถปฏิบัติได้ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้หรือสามารถรักษาระดับผลการดำเนินงานของปีที่ผ่านมาไว้ได้ 3 มีผลการปฏิบัติราชการอยู่ในระดับต่ำกว่าเป้าหมาย 2 มีผลการปฏิบัติราชการอยู่ในระดับต่ำกว่าเป้าหมายมาก 1

62 แนวทางการกำหนดน้ำหนัก
ขั้นตอนการกำหนดตัวชี้วัด 4. การตั้งเป้าหมาย แนวทางการกำหนดน้ำหนัก Validity & Reliability ให้น้ำหนักมาก KPI1 KPI2 KPI3 KPI4 KPI5 Impact ให้น้ำหนักน้อย KPI = Key Performance Indicator

63 หลักเกณฑ์ในการเลือกวิธีการเก็บข้อมูล
ขั้นตอนการกำหนดตัวชี้วัด 5. การรวบรวมข้อมูล หลักเกณฑ์ในการเลือกวิธีการเก็บข้อมูล ความเป็นไปได้ในการดำเนินการ ความเที่ยงตรง ความถูกต้องแม่นยำ ความน่าเชื่อถือ ความสม่ำเสมอของข้อมูล ระยะเวลาการเก็บข้อมูล ความมีประโยชน์ ต้นทุนในการดำเนินการ

64 5. การวิเคราะห์และรายงานผล
ขั้นตอนการกำหนดตัวชี้วัด 5. การวิเคราะห์และรายงานผล การวิเคราะห์ผล เป็นการพิจารณาผลการปฏิบัติงานที่เกิดขึ้นจริงเทียบกับเป้าหมายที่กำหนด และประเมินย้อนกลับเข้าไปในกระบวนการทำงานขององค์การเพื่อคาดหมายถึงสิ่งที่จะเกิดขึ้นล่วงหน้า ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นและแนวโน้มการตัดสินใจในเชิงบริหาร การจำแนกข้อมูลผลลัพธ์ตามตัวชี้วัดแต่ละตัว จะช่วยทำให้มองเห็นชัดเจนว่าจุดใดที่โครงการทำได้ดี และจุดใดที่ควรต้องปรับปรุง การเปรียบเทียบข้อมูลของโครงการกับข้อมูลหลักอื่นๆ ที่จะนำมาใช้ในการเปรียบเทียบ เช่น ผลการปฏิบัติงานครั้งก่อนๆ มาตรฐานสากล เป็นต้น คำอธิบายว่าทำไมข้อมูลผลการวัดจึงเป็นเช่นนั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อข้อมูลไม่เป็นไปตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ การนำเสนอข้อมูลในรูปแบบที่ชัดเจน เข้าใจได้ และมีรูปแบบที่ง่ายต่อการนำไปใช้ประโยชน์

65 5. การวิเคราะห์และรายงานผล
ขั้นตอนการกำหนดตัวชี้วัด ตัวอย่างการรายงานผล 5. การวิเคราะห์และรายงานผล

66 ขั้นตอนการกำหนดตัวชี้วัด
ข้อจำกัดของการวัด การวัดไม่สามารถวัดได้สมบูรณ์ ครอบคลุมทุกผลลัพธ์ของทุกกระบวนการ ของการปฏิบัติงานได้ และไม่อาจวัดผลการปฏิบัติงานได้ครบถ้วนทุกงาน หรือทุกโครงการได้ ผลของการวัดอาจมีความคลาดเคลื่อนบ้าง เนื่องจากกระบวนการเก็บ รวบรวมข้อมูล และบางครั้งอาจต้องใช้ข้อมูลจากการเก็บข้อมูลจากกลุ่ม ตัวอย่าง ข้อมูลที่ได้จากการวัดผลการปฏิบัติงานมีประโยชน์ต่อการติดตาม ผลสัมฤทธิ์ของงานในระยะสั้นมากกว่าระยะยาว เพราะข้อมูลไม่ได้แสดง จุดอ่อนในกิจกรรมของโครงการเสมอไป และไม่ได้บอกว่าควรดำเนินการ ปรับปรุงโครงการด้วยวิธีใด ผลลัพธ์ของงานอาจเป็นผลมาจากงานหรือโครงการซึ่งอยู่นอกเหนือความ รับผิดชอบของหน่วยงาน ผลที่ได้จากการวัดจะไม่บอกว่าอะไรคือสาเหตุที่ทำให้ผลของการวัดเป็น เช่นนั้น การหาสาเหตุจะต้องมีการศึกษาวิเคราะห์เพิ่มเติมเพื่อหาว่าอะไร คือสาเหตุที่ทำให้เกิดผลนั้นๆ ต่อไป

67 ขั้นตอนการกำหนดตัวชี้วัด
เงื่อนไขความสำเร็จ หน่วยงานต้องให้การสนับสนุนทรัพยากรต่างๆ อย่างเพียงพอ การยอมรับและมีส่วนร่วมจากผู้เกี่ยวข้อง ซึ่งได้แก่ เจ้าหน้าที่ ทุกระดับและสาธารณชน เจ้าหน้าที่ทุกระดับในหน่วยงานต้องเข้าใจวัตถุประสงค์และ เห็นประโยชน์ของการวัด ติดตาม และประเมินผลการ ปฏิบัติงาน เมื่อได้ผลจากการวัดแล้ว ต้องมีการนำผลที่วัดได้และ พฤติกรรมที่เปลี่ยนไป ไปศึกษาวิเคราะห์เพิ่มเติมเพื่อหา สาเหตุและแนวทางในการปรับปรุงแก้ไข

68 การติดตามและประเมินผล
ตัวชี้วัดตามคำรับรองการปฏิบัติราชการและการติดตามประเมินผลการปฏิบัติราชการ การติดตามและประเมินผล การศึกษาข้อมูล เอกสาร หลักฐานต่างๆ รายงานผลการปฏิบัติราชการตามคำรับรองการปฏิบัติราชการ (Self-Assessment Report – SAR) รอบ 6 เดือน และ 12 เดือน รายงานการประเมินผลตนเองทางอิเล็กทรอนิกส์ (e-SAR) รอบ 6 เดือน 9 เดือน และ 12 เดือน) เอกสารหลักฐานประกอบอื่นๆ เช่น รายงานการประชุม คำสั่งแต่งตั้งคณะทำงาน แผนการดำเนินงานที่ได้รับความเห็นชอบจากผู้มีอำนาจ ภาพถ่าย การสัมภาษณ์บุคคลที่เกี่ยวข้อง ผู้กำกับดูแลตัวชี้วัด ผู้จัดเก็บข้อมูล ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกับการดำเนินการของส่วนราชการ

69 การติดตามและประเมินผล
ตัวชี้วัดตามคำรับรองการปฏิบัติราชการและการติดตามประเมินผลการปฏิบัติราชการ การติดตามและประเมินผล การสังเกตการณ์ สภาพแวดล้อมของสถานที่ดำเนินการตามกิจกรรมหรือโครงการหลัก การเก็บรักษาและดูแลเอกสาร/ข้อมูล การมีส่วนร่วมของผู้บริหารระดับสูงของส่วนราชการ ระบบฐานข้อมูล : ความถูกต้อง ความน่าเชื่อถือ ความทันสมัย ความสามารถในการตรวจสอบได้ การขอความเห็นจากคณะผู้เชี่ยวชาญ (Expert panel)

70 แบบฟอร์มรายงานสรุปผลการดำเนินงาน
รายงาน ณ วันที่.....เดือน พ.ศ. .... ผู้รายงาน หน่วยงาน ตำแหน่ง โทรศัพท์ รายงาน ณ วันที่.....เดือน พ.ศ. .... ผู้รายงาน หน่วยงาน ตำแหน่ง โทรศัพท์

71 แบบฟอร์มรายงาน ผลการดำเนินงาน รายตัวชี้วัด

72 ตัวอย่าง

73 ประโยชน์ของการติดตามและประเมินผลภาคราชการ
ทำให้ทราบว่า... องค์การปฏิบัติงานได้ผลลัพธ์ตามที่ต้องการหรือไม่ มีกิจกรรมใดที่ผู้บริหารต้องให้ความสนใจเพิ่มขึ้น การใช้ทรัพยากรต่างๆ มีความสมเหตุสมผลหรือไม่

74 ประโยชน์ของการติดตามและประเมินผลภาคราชการ
ช่วยกระตุ้นให้มีการสื่อสารภายในองค์การ ช่วยในการปรับปรุงการกำหนดนโยบาย โดยมีข้อมูลผลการปฏิบัติงานเพื่อ ประกอบการตัดสินใจของผู้บริหาร ช่วยให้มีภาพรวมแสดงสถานภาพของโครงการหรือนโยบาย เพื่อประเมิน ความก้าวหน้า ปัญหา และอุปสรรค ในการดำเนินงาน ช่วยส่งเสริมความน่าเชื่อถือขององค์การและทำให้ประชาชนเกิดความมั่นใจ โดยมีการรายงานให้ทราบถึงผลสัมฤทธิ์ของโครงการ ช่วยในการจัดทำและแสดงเหตุผลในการของบประมาณ ช่วยทำให้ผลสัมฤทธิ์ที่ต้องการมีความชัดเจนขึ้น โดยนำความสนใจของ ผู้ปฏิบัติงานให้มุ่งไปสู่ผลสำเร็จของงานที่ต้องการโดยเฉพาะ ช่วยสนับสนุนการวิเคราะห์แนวโน้มโดยการใช้ข้อมูลการปฏิบัติงานและ ผลสัมฤทธิ์

75 ทุกเรื่องมีข้อดีและข้อเสียในตัวของมันเอง
การติดตามและประเมินผลภาคราชการ ข้อคิดเกี่ยวกับการติดตามและประเมินผล ทุกเรื่องมีข้อดีและข้อเสียในตัวของมันเอง ให้ถือคติว่า “ความเร็วดีกว่าความสมบูรณ์ (Speed over perfection) และ มีดีกว่าไม่มี (Something better than nothing)” เอาไว้เสมอ ผู้บริหารต้องมีความเข้าใจ ทัศนคติที่ดีในการนำตัวชี้วัดมาใช้ และต้องรับเป็นเจ้าภาพในการพัฒนาและนำตัวชี้วัดมาใช้ในองค์กร โดยไม่ควรจะมอบหมายให้ผู้บริหารระดับรองเป็นเจ้าภาพแทน


ดาวน์โหลด ppt กลิ่นจันทน์ เขียวเจริญ

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google