งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

adsffsdfsdfsdfdsfsdfsdfsdfsd

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "adsffsdfsdfsdfdsfsdfsdfsdfsd"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 adsffsdfsdfsdfdsfsdfsdfsdfsd
ข้าราชการวันนี้เช้าชาม พรุ่งนี้เย็นชาม พาแม่ไปต่อบัตรประชาชนที่อำเภอเกาะสมุยตอน 8.40 น.มีคนรอทำบัตรอยู่ก่อนหน้าเรา 4 คน ได้บัตรตอน น. ทำไมถึงได้นานขนาดนี้จะเล่าให้ฟัง - ไปถึงยื่นบัตรเก่ากับทะเบียนบ้าน นั่งรอนอกห้องรอซักประวัติ - มีเจ้าหน้าที่ทำงาน 2 คน คุยมือถือบ้าง ทานขนมบ้าง เดินไปด้านนอกบ้าง - คนมาทีหลัง (1) ได้เรียกก่อนเพราะรู้จักกันหรือเป็นญาติก็ไม่รู้ - คนมาทีหลัง (2) ได้เรียกก่อน อ้างว่าต้องรีบขึ้นเรือไปสุราษฎร์ฯ ต้องเอาบัตรไปติดต่อหลายอย่าง เจ้าหน้าที่จะให้ใบแทนไปก่อน ก็ไม่ยอม เลยต้องทำให้ก่อน - คนมาทีหลัง (3) สงสัยเป็นญาติถึงขั้นเดินตามหาให้มาถ่ายรูปเลยทีเดียว - รอจน น. ก็ยังไม่ได้เรียกซักประวัติเลย จนเขาบอกว่าพักเที่ยงแล้ว - ออกไปทานข้าวกลับมาตอน น.จอดมอเตอร์ไซด์เจ้าหน้าที่แผนกไหนไม่รู้ถามว่ามาทำอะไร เราบอกว่ามาทำบัตร เขาบอกว่ามาพรุ่งนี้ดีกว่า น.ได้เรียกซักประวัติ นั่งรอถ่ายรูป น. ถ่ายรูป นั่งรอรับบัตร น. ได้บัตร ดูเอาก็แล้วกัน ต้องมารอเสียเวลากับพวกนี้ตั้งครึ่งค่อนวัน แทนที่จะทำตามคิวกลับทำให้ญาติและคนรู้จักก่อน แต่เราก็ทำอะไรไม่ได้เพราะรู้ว่าที่นี่เล่นพรรคเล่นพวก โวยวายไปเผลอๆ ตายเอาไม่รู้เรื่อง ตอนนี้รัฐบาลกำลังปฏิรูปข้าราชการไม่รู้ว่าจะไปถึงในเกาะหรือเปล่า เพราะเห็นคนต่างถิ่นมาทำงานได้ไม่นานก็ต้องย้าย คิดว่าเราคงแก้ปัญหาโดยย้ายแม่ไปอยู่ที่อื่นดีกว่า adsffsdfsdfsdfdsfsdfsdfsdfsd ยังงี้ล่ะครับระบบข้าราชการสมัยเก่า (และสมัยนี้ด้วย) ที่ยังคงมีเหลือเป็นส่วนมากในทุก ๆ หน่วยงานราชการ เจ้าหน้าที่ไม่ได้รับแรงกระตุ้นให้รู้สึกอยากทำงานให้ดี เพราะต่อให้ทำงานไม่ดีก็โดนไล่ออกยาก เจ้าหน้าที่ส่วนใหญ่ที่ไปเป็นข้าราชการก็จะถูกปลูกฝังให้คิดแบบเดิม ๆ ต่อให้ไปทำทีแรกมีไฟ ไม่นานไฟก็จะดับ เพราะจะทนกระแสสังคมเช้าชามเย็นชามไม่ไหว แต่ก็มีคนทำงานดีนะครับผมก็เคยเห็น แต่ก็มีเป็นส่วนน้อยเท่านั้นที่มีจิตสำนึกที่ดีอย่างนั้น ก็ได้แต่หวังว่าอยากให้มีเจ้าหน้าที่ที่ทำงานโดยมีความรับผิดชอบต่อหน้าที่เพิ่มมากขึ้น หลังจากมีการปฏิรูประบบราชการตามนโยบายของนายกทักษิณครับ

2 ข้าราชการวันนี้เช้าชาม พรุ่งนี้เย็นชาม
ข้าราชการก็เป็นอย่างนี้แหละ เพราะตัวเองก็เป็นข้าราชการในสังกัด... เหมือนกัน หัวหน้างานวันวันไม่ได้ทำอะไรเลย เช้ามาดูทีวี บางวันดูหนังจากซีดี ส่วนเครื่องคอมพิวเตอร์มีไว้สำหรับดูหนังซีดีและร้องคาราโอแก ตอนแรกใช้คอมพิวเตอร์ไม่เป็น แต่พอร้องเพลงใช้คอมพิวเตอร์คล่องมากๆ ตอนกลางวันเล่นปิงปอง ตั้งแต่ น อาบน้ำแต่งตัวเสร็จ ซื้ออาหารกินข้าวเสร็จ ต่อมาอ่านหนังสือเตรียมสอบเนติ เพราะสอบมาแล้ว 10 ปี ยังสอบไม่ผ่าน อ่านซัก นาที ก็ดึงหนวดเครา สักพัก ก็นอนตรงโต๊ะ สัก 30 นาที ตื่นมาสัก ก็เตรียมกลับมา งานการไม่ทำเคย รับเงินเดือน 15,000 บาท สบายจะตาย น่าเป็นข้าราชการบ้างจัง ไม่ว่าที่ไหน ข้าราชการก็ ขี้เกียจเหมือนกัน สงสารประเทศชาติ ตอนนี้เราก็เป็นข้าราชการ แต่เราอยู่ประมาณระดับกลาง ไม่ถึงกับละทิ้งขนาดนั้น แต่เราก็ไม่ขยันถึงขั้นดี เพราะอะไรรู้ไหม ทำดีไปก็ไม่เคยเข้าตานาย ใครเลียเก่ง ใครพวกใครก็รับไป 2 ขั้น ทำดีให้ตาย ก็ไม่เคยมองเห็น เรารับราชการมา 4 ปี ไม่เคยเห็นเลย 2 ขั้นเป็นยังไง บางคนเพิ่งเข้ามา รับไปแล้ว ด้วยเหตุผลง่าย ๆ ว่า คนเข้ามาใหม่เงินเดือนน้อย ต้องให้ 2 ขั้น (แล้วทีตอนเราเข้ามาใหม่ไม่เห็นคิดแบบนี้) นี่ถ้าไม่ติดว่า เรามีหนี้กับทางหน่วยงานนะ ลาออกไปแล้วเพราะไม่ได้ใช้ความรู้ความสามารถอะไรเลย นอกจาก พิมพ์งานไปวัน ๆ เท่านั้นเอง หาความเจริญยาก มันถึงทำให้คนไม่ค่อยกระตือรือร้น เพราะทำไปก็เป็นได้เท่านี้ จะเลื่อนชั้น เลื่อนระดับ ก็ต้องมีพวก

3 นายธรรมรักษ์ การพิศิษฎ์
ข้าราชการวันนี้เช้าชาม พรุ่งนี้เย็นชาม จะว่าไปแล้วที่ว่ามาก็มีส่วนถูกนะ แต่ตอนนี้หลายหน่วยงานได้พยายามปรับปรุง เกี่ยวกับการให้บริการประชาชน แต่ก็ยังมีพวกเลือดเก่า ที่มาทำให้พวกเลือดใหม่ไฟแรงมอดไปด้วย การรับราชการเราต้องทำด้วยใจ ถ้าเราคิดและตั้งใจมาตั้งต้นโดยที่เราได้เห็นผู้อื่นปฏิบัติไม่ดี แล้วเราเป็นผู้ไปใช้บริการเราเกิดความไม่พอใจในจุดนั้น ก็ขอให้ตั้งปณิธาน ณ แต่วินาทีนั้นเลยว่า "ถ้าข้าพเจ้าได้รับราชการแล้วข้าพเจ้าจะปฏิบัติให้ดีกว่าที่ท่านทำอยู่" เมื่อได้เป็นข้าราชการแล้ว ต้องเป็นข้าราชการที่ดีให้ได้ อย่าคิดว่าจะเอาแต่ขั้น ยศ ถ้าเราด้วยใจแล้ว ไม่มีใครเห็น แต่เราสิ่งที่เราให้ไปกับผู้อื่น วันหนึ่งทุกอย่างมันจะย้อนกลับมาหาเรา โดยที่คุณเป็นข้าราชการ 1 คุณต้องมีความรู้ 2 ต้องมีความเชี่ยวชาญในทุกด้านที่ควรจะรูไม่ใช่แต่หน้าที่ที่ทำ โดยมีจุดยืนให้ตัวเอง 3 ต้องมีจรรยาบรรณ ... การพัฒนาระบบราชการจะเป็นไปได้เพียงใดขึ้นอยู่กับการปรับเปลี่ยนวิธีคิดและวิธีการทำงานของข้าราชการ เพราะการที่ราชการจะสามารถสนองตอบต่อการเปลี่ยนแปลงก็จำเป็นจะต้องคิดกันใหม่ ทำกันใหม่ ฉะนั้นในการปรับราชการสมัยใหม่จึงจำเป็นต้องเปลี่ยนวิธีการทำงาน เปลี่ยนวิธีคิด วิธีทำงานให้เข้ากับบริบทของการเปลี่ยนแปลงของโลกปัจจุบัน ราชการสมัยใหม่จะต้องปรับตัวไว ปรับตัวเร็ว และสามารถพัฒนาคุณภาพให้บริการประชาชนอย่างรวดเร็ว ดีขึ้น สามารถที่จะรองรับการพัฒนาประเทศในยุคโลกาภิวัตน์ เพราะว่ายุคโลกาภิวัตน์เป็นยุคที่เปลี่ยนแปลงไว เปลี่ยนเร็ว ถ้าจะมุ่งไปสู่จุดนี้ ถ้าจะปรับระบบราชการไทยให้รับกับการเปลี่ยนแปลงได้อย่างรวดเร็วให้เข้าสู่โลกสมัยใหม่ในบริบทของโลกสมัยใหม่ก็คงจำเป็นต้องทำ 3 – 4 เรื่อง เรื่องแรกคงต้องมุ่งการพัฒนาคุณภาพการให้บริการประชาชนให้ดีขึ้น ถ้าหากว่าเราไม่พัฒนาระบบให้คล่องตัวพอที่จะสนองให้สามารถปฏิบัติงานเพื่อให้เกิดคุณภาพ พัฒนาคุณภาพ ให้บริการประชาชนที่ดีได้ เราก็คงไม่สามารถอยู่ได้ให้สอดคล้องกับโลกสมัยใหม่ครับ จะต้องปรับบทบาทภารกิจให้เหมาะสม บทบาทของระบบราชการก็คงมีขนาดที่เหมาะสมกับภารกิจที่ต้องกระทำ จะต้องยกระดับความสามารถให้ทำงานรวดเร็วมีมาตรฐานการทำงานสูงขึ้น และสนองตอบต่อการปกครองในระบอบประชาธิปไตย นี่คือสิ่งที่เราจำเป็นต้องปรับปรุงระบบของเราให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลง นายธรรมรักษ์ การพิศิษฎ์ กรรมการ ก.พ.ร.

4 ข้อดีของงานราชการ (หรือเปล่า??)
งานราชการ เข้างาน 9 โมง ไม่มีตอกบัตร เลิกงาน 4 โมงครึ่ง กลับก่อนก็ยังได้ ไม่ค่อยมีงานให้ทำเท่าไร พักเที่ยงไป ก่อนก็ได้ เข้ามาบ่าย2 ยังได้เลย หยุดเสาร์-อาทิตย์ แถมถ้าช่วงเทศกาลก็หยุดยาวก็มี สบาย งานราชการ ไม่ต้องกลัวโดนบีบออก.... (ตอนเจ้านายไม่พอใจ,ตอนแก่,ตอนหมดประโยชน์) ยกเว้นเราทำผิดอย่างร้ายแรง งานราชการไม่ต้องกังวลเรื่องค่ารักษาพยาบาลของพ่อ แม่ ตัวเอง แฟน ลูก เพราะส่วนใหญ่เบิกได้หมด เคยประสบมาด้วยตนเองเลยล่ะ ตอนยังไม่ได้ทำงานราชการ คนในครอบครัวมีเรื่องต้องเข้าโรงพยาบาลต้องเสียเงินค่า ร.พ. หลายหมื่น ปรากฎว่าเครียดมาก มีเงินให้เขาไม่พอ แต่พอมารับราชการแล้ว ค่ารักษาฟรีตลอด จะนอน ร.พ. กี่วันก็ได้แล้วแต่หมอสั่ง การดูแลของหมอ,พยาบาลก็ดี (ต้องแล้วแต่โรงพยาบาลด้วยนะ) ถ้าเป็นเมื่อก่อนคงต้องรีบรักษาแล้วต้องออกจาก ร.พ. , ค่าเล่าเรียนลูก ก้อไม่ต้องกังวลเพราะเบิกได้ถึงอายุ 18 , งานราชการ บางตำแหน่งก็สบายอย่างที่เขาว่า , บางตำแหน่งก็ หัวฟูเหมือนกัน ขึ้นอยู่กับตำแหน่งและความสำคัญ , งานราชการ เงินเดือนน้อย แต่มีวันหยุดเสาร์-อาทิตย์ ก็หารายได้เสริมเอา , เราทำงานมาหลายที่ แต่สุดท้ายก็มาเป็นข้าราชการ ข้าราชการโกงได้ไม่รู้จบ ใช้ตำแหน่งหาเงิน ยากที่จะโดนไล่ออกถ้าไม่เลวจริง ๆ เป็นที่นับหน้าถือตา รักษาพยาบาลฟรี เคยผ่านมาหมดหละครับ เอกชนก็ทำมาแล้ว เมื่อก่อนเป็นโปรแกรมเมอร์ แล้วได้เลื่อนตำแหน่งใหม่เป็นนักวิเคราะห์ระบบ ถามว่าเงินเดือนเยอะไหม มันก็เยอะกว่าข้าราชการอยู่แล้วครับ แต่ความรับผิดชอบ หรือ หน้าที่มันก็มากตามเงินเดือนงานหนักทำงานให้บริษัทได้เยอะ เงินก็ดีเป็นธรรมดา แต่อยู่ไปอยู่มา อยากเรียนต่อไปสมัครเรียน แล้วก็ได้เรียนต่อ คราวนี้ซิครับ ไม่ไหวหละ หัวหน้าให้จะให้ออกต่างจังหวัดด้วย ก็เลยลาออกมาสอบเป็นข้าราชการ แล้วถามว่าเงินเดือนเป็นไง ก็น้อยกว่าอยู่เอกชนมากหละครับ start เริ่มต้นนี่เทียบกันไม่ได้ครับ แต่ทำงานแล้วสบายใจ มีความสุขกว่ากันมาก ๆ อิ อิ ตอนนี้ก็ได้ลาเรียนต่อ ป.เอก อีกแล้วหละครับ ได้ทุนจากราชการด้วย คิด ๆ ดูแล้วก็ถือว่าเลือกไม่ผิดหละครับ ปล. เป็นความคิดเห็นส่วนตัวนะครับ

5 นายธรรมรักษ์ การพิศิษฎ์
บทบาทของสำนักงาน ก.พ.ร. นายธรรมรักษ์ การพิศิษฎ์ กรรมการ ก.พ.ร. ข้าราชการไทยสมัยใหม่เป็นบุคคลที่มีส่วนสำคัญอย่างมากต่อการพัฒนาระบบราชการ เพราะเป็นบุคคลที่มีการทำงานในลักษณะของมืออาชีพมากขึ้น ในส่วนของ ก.พ.ร. ซึ่งเป็นหน่วยงานหลักทำหน้าที่ส่งเสริมการพัฒนาระบบราชการก็พร้อมสนับสนุนข้าราชการสมัยใหม่ให้ก้าวไปสู่ความเป็นบุคลากรที่มีประสิทธิภาพสามารถรองรับการทำงานในระบบราชการยุคใหม่ได้ ประสิทธิภาพในการทำงานจะเกิดขึ้นได้ นอกจากข้าราชการต้องมีคุณลักษณะหลายด้านประกอบกัน เช่น เป็นผู้ที่มีความรอบรู้ในเรื่องที่ทำ มีความสามารถในการประยุกต์ความรู้ไปใช้อย่างเหมาะสม มีความสามารถด้านภาษาต่างประเทศ มีความสามารถใช้อุปกรณ์เทคโนโลยีสารสนเทศ และคุณลักษณะที่สำคัญอย่างอื่นแล้ว สิ่งสำคัญที่ข้าราชการต้องได้รับการสนับสนุนอีกประการหนึ่งคือ การเรียนรู้จากการปฏิบัติ “ ระบบที่จะทำให้ข้าราชการสมัยใหม่เกิดการเรียนรู้จากการปฏิบัติด้วยตนเอง ระบบที่กำลังจะได้รับการพัฒนาขึ้นมาก็จะเอื้อต่อการเรียนรู้ให้ข้าราชการมีการเรียนรู้ที่พึงประสงค์จากการปฏิบัติเหมือนกัน อย่างเช่น ต่อไปจะสนับสนุนให้เกิดการปรับเปลี่ยนกระบวนการต่างๆ คือ ใช้ระบบการทำงานที่มุ่งการลดต้นทุน ค่าใช้จ่าย การเพิ่มผลผลิต การปรับเปลี่ยนระบบการควบคุมภายใน กระบวนการและวิธีการทำงานก็จะทำให้ข้าราชการยุคใหม่ได้เรียนรู้จากวิธีการด้วย นอกจากการเรียนรู้จากการฝึกอบรม เรียนรู้จากระบบการทำงานที่จะได้รับการสนับสนุนที่ปรับเปลี่ยนไป นอกจากนี้จะได้เรียนรู้จากการจัดโครงสร้างการบริหารราชการแผ่นดินที่จะได้รับการสนับสนุนให้มีขีดสมรรถนะและความยืดหยุ่นคล่องตัว มีการทำงานเป็นทีมขึ้น มีการทำงานแบบเชื่อมโยงกันในกระบวนการทำงานเอง ในลักษณะนี้ก็จะเกิดการเรียนรู้ไปพร้อมกันด้วย จะมีการสนับสนุนให้เกิดการปรับเปลี่ยนระบบการเงิน ระบบงบประมาณแบบใหม่ ซึ่งในกระบวนการทำให้เกิดการจัดทำงบประมาณแบบใหม่เชื่อมโยงกับยุทธศาสตร์เชื่อมโยงกับเป้าหมาย จะอำนวยให้เกิดผลประโยชน์ให้แก่ประชาชน ก็จะเกิดกระบวนการเรียนรู้การทำงานไปด้วยในตัว จะมีการทบทวนระบบค่าตอบแทน ระบบการพัฒนาบุคลากรแบบใหม่ ซึ่งจะเอื้อให้เกิดการสร้างพัฒนาตัวข้าราชการให้มีความสามารถสูงไปด้วยในตัว ระบบบุคคล ระบบการพัฒนาบุคคล ระบบค่าตอบแทน จะมีการเสริมสร้างความทันสมัยในระบบราชการ เช่น จะสนับสนุนให้เกิดการทำให้หน่วยงานเป็นสำนักงานอิเลคทรอนิกส์ นำระบบเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ ในกระบวนการนำมาใช้นี่ก็จะควบคู่ไปกับการเรียนรู้ไปในตัวด้วย”

6 นายธรรมรักษ์ การพิศิษฎ์
บทบาทของข้าราชการยุคใหม่ นายธรรมรักษ์ การพิศิษฎ์ กรรมการ ก.พ.ร. บทบาทการทำงานของข้าราชการยุคใหม่ต้องเปลี่ยนแปลงจากเดิมหลายด้าน จากที่เคยมุ่งเน้นกระบวนการทำงานตามลำดับชั้นการบังคับบัญชา จะเป็นการปฏิบัติงานในรูปแบบของการทำงานที่เบ็ดเสร็จและสำเร็จโดย ข้าราชการแต่ละบุคคลมากขึ้น ข้าราชการต้องรอบรู้การดำเนินงานที่ครอบคลุมหลายด้านและสามารถปฏิบัติงานให้สำเร็จได้ในจุดเดียว ขณะเดียวกันจะลดขั้นตอนการดำเนินงานให้สั้น มีความกระชับและคล่องตัวมากขึ้นกว่าเดิม ข้าราชการยุคใหม่จำเป็นต้องเป็นข้าราชการที่สอดคล้องกับระบบใหม่นี้ ประเด็นแรกคงจะต้องคำนึงถึงหน้าที่การทำงานได้อย่างมีศักดิ์ศรี การทำงานอย่างมีศักดิ์ศรี คือ การทำงานที่มุ่งประโยชน์ต่อประชาชน ยึดประชาชนเป็นตัวตั้ง สามารถปฏิบัติหน้าที่อย่างมีศักดิ์ศรี มีความซื่อสัตย์สุจริต โปร่งใส มีค่านิยมที่ดี จะต้องเป็นผู้ปฏิบัติงานในเชิงรุก ไม่ใช่ว่าตั้งรับเพียงแต่เปิดระเบียบดูหรือทำงานตามระเบียบแบบแผนที่กำหนดไว้ ต้องมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ทำงานในเชิงรุก มีวิสัยทัศน์ รู้จักมองเห็นการเปลี่ยนแปลง รู้จักวิเคราะห์จุดอ่อนจุดแข็ง ภัยคุกคามที่จะเกิดขึ้น มีความคิดเชิงยุทธศาสตร์เหล่านี้เป็นต้น นอกจากนี้ก็จะต้องมีความสามารถในการเรียนรู้ปรับตัวทันโลก ข้าราชการสมัยใหม่ต้องปรับตัว ไม่ใช่ว่านั่งกอดระเบียบทำงานตามระเบียบไปเพียงวันหนึ่ง ๆ ซึ่งมันไม่พอแล้วสำหรับโลกสมัยใหม่ จะต้องเรียนรู้ให้ทันโลก ติดตามข้อมูลข่าวสารอยู่เสมอและเรียนรู้ตลอดเวลา ทันปัญหาและมีการทำงานที่มีประสิทธิภาพ แสดงผลงานได้อย่างชัดเจน สามารถทำอะไรๆที่เกิดประโยชน์ต่อประชาชนและมีความรับผิดชอบต่อความสำเร็จต่อสาธารณะ มีใจเป็นประชาธิปไตย หมายความว่า เปิดกว้าง รู้จักรับฟังความคิดเห็น เปิดกว้างให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมคิด ร่วมทำและร่วมแสดงความคิดเห็นในการทำงาน สิ่งต่างๆเหล่านี้ ข้าราชการยุคใหม่จึงต้องมีความรู้รอบรอบรู้มากกว่าเดิม เป็นข้าราชการที่พร้อมปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลง นอกจากตัวข้าราชการแล้วกระบวนการเรียนรู้ระบบใหม่ ระบบการทำงานแบบใหม่ ก็ต้องเกิดขึ้น เช่น ระบบการทำงานที่ต้องมุ่งผลการทำงานเป็นหลัก ระบบการทำงานเป็นทีม ระบบการทำงานที่ไม่ยึดติดกับหน้าที่ แต่เป็นการทำงานที่มุ่งภารกิจร่วมกัน ข้ามสาย ข้ามกอง ข้ามกระทรวง เหล่านี้เป็นต้น”

7 เจตนารมณ์ของการปฏิรูประบบราชการก็เพื่อ ประโยชน์สุขของประชาชนเป็นสำคัญ
รัฐบาลภายใต้การนำของพันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ ๒๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๔ [วันแถลงนโยบายการบริหารราชการแผ่นดิน] รัฐบาลได้แถลงนโยบายต่อรัฐสภา ว่าจะเร่งปฏิรูประบบราชการ โดยกำหนดแนวทางไว้ 5 ประการ คือ ปฏิรูประบบราชการให้มีประสิทธิภาพและมีโครงสร้างที่กระชับเหมาะสมกับสถานการณ์ในปัจจุบันและสามารถตอบสนองต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ ปรับปรุงบทบาทของภาครัฐจากผู้ปฏิบัติและควบคุมมาเป็นผู้สนับสนุนและอำนวยความสะดวก และให้การสนับสนุนการดำเนินงานของภาคเอกชนและประชาชน ปรับกระบวนการบริหารราชการ โดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ เร่งพัฒนาคุณภาพของข้าราชการให้มีทัศนคติที่เอื้อต่องานบริการประชาชน เร่งรัดการปรับเปลี่ยนกระบวนการจัดทำและจัดสรรงบประมาณ ในเวลาต่อมา ประเทศไทยได้ประกาศใช้พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๔๕ และพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. ๒๕๔๕ พร้อมกับการกำเนิดของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ หรือ สำนักงาน ก.พ.ร. เมื่อวันที่ ๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๕ เพื่อเป็นกลไกหลักที่จะแปลงนโยบายการพัฒนาระบบราชการด้านต่าง ๆ ไปสู่การปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม ซึ่งถือเป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญของประวัติศาสตร์ การปฏิรูประบบราชการไทย เจตนารมณ์ของการปฏิรูประบบราชการก็เพื่อ ประโยชน์สุขของประชาชนเป็นสำคัญ

8 ต้องอยู่ที่ความผาสุกของประชาชน
แนวคิดของพันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี “เป้าหมายของการบริหารประเทศ ไม่ว่าจะเป็นการบริหารแบบไหนก็แล้วแต่” ต้องอยู่ที่ความผาสุกของประชาชน อยู่ที่ความก้าวหน้าของประเทศ ที่สำคัญ ต้องเป็นวิธีการที่มีประชาชนเป็นศูนย์กลาง

9 แนวคิดของ ฯพณฯ พ.ต.ท. ดร. ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี
ก้าวข้ามผ่านให้พ้นความเป็นระบบราชการ ให้ประชาชนเป็นศูนย์กลาง (citizen-centered) และยึดประโยชน์สุขของประชาชนเป็นหลัก คิดเชิงยุทธศาสตร์ มุ่งไปข้างหน้า และเปิดมุมมองให้กว้าง บริหารงานบนฐานขององค์ความรู้และข้อมูลสารสนเทศ ทำงานเชิงรุก กล้าคิด กล้าทำ ท้าทาย ไม่ยึดติดกับรูปแบบเดิม เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้น ยึดหลักบูรณาการไร้พรมแดนของหน่วยงาน มีเป้าหมายในการทำงาน สามารถวัดผลสำเร็จได้อย่างชัดเจน เน้นความรวดเร็ว เพื่อให้สามารถแข่งขันได้ เรียนรู้อย่างต่อเนื่อง ปรับตัวให้ทันโลกทันสมัย แสวงหาและใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีสมัยใหม่ คุณลักษณะของข้าราชการตามแนวทางของ ฯพณฯ เป็นข้าราชการมืออาชีพ มีเป้าหมายในการทำงานเพื่อชาติประชาชน ปฏิบัติงานด้วยความฉลาด เต็มกำลังความสามารถ ประสานการทำงานระหว่างหน่วยงาน ใช้ดุลยพินิจให้เกิดประสิทธิผลไม่ยึดติดกฎระเบียบ ทำงานแบบมีส่วนร่วม ทำงานเชิงรุก เลิกประเพณีวิ่งเต้น พัฒนาตนเอง

10 PM’s mind mapping: การพัฒนาประเทศให้มั่งคั่งอย่างยั่งยืน
แนวคิดของ ฯพณฯ VC Funds ปรับบทบาทสถาบันเฉพาะทาง กองทุนนวัตกรรม Incubator แปรรูปรัฐวิสาหกิจ อาหาร แปลงสินทรัพย์เป็นทุน VC Funds Software พักชำระหนี้เกษตรกร Fashion City สนามบิน ปรับปรุงโครงสร้างกฎหมาย ปรับปรุงโครงสร้างภาษี IPR ธนาคารประชาชน สร้างโอกาสโดยการสร้างทุนให้คนจน รถยนต์ สนับสนุนการพัฒนานวัตกรรม กองทุนหมู่บ้าน ปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐาน ผู้ว่า CEO ท่องเที่ยว ปรับปรุงโครงสร้างและบริหารจัดการ 30 บาทรักษาทุกโรค สนับสนุนอุตสาหกรรมทีมีศักยภาพ ลดปัญหาความยากจนและการกระจายรายได้ ลดรายจ่ายของคนจน ปฏิรูประบบราชการ FTA สินค้าเอื้ออาทร เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน ASEAN เพิ่มรายได้โดยส่งเสริมภาคเศรษฐกิจที่คนจนพึ่งพิง PM’s mind mapping: การพัฒนาประเทศให้มั่งคั่งอย่างยั่งยืน สร้างตลาด สร้างพันธมิตร OTOP Asian Bond 30 บาทรักษาทุกโรค ปรับปรุงระบบการศึกษา ปราบปรามยาเสพติด พัฒนาคุณภาพชีวิตและทุนสังคม The Best and The Brightest สร้างสังคมไทยให้เป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ ส่งเสริมให้ประเทศไทยเป็นประเทศที่น่าอยู่และปลอดภัย ปราบปรามผู้มีอิทธิพล Computer เอื้ออาทร จัดระเบียบแรงงานต่างด้าว อนุรักษ์และรักษาสิ่งแวดล้อม อนุรักษ์ วัฒนธรรมไทย ห้องสมุด จัดระเบียบสังคม การลดมลพิษ บ้านเอื้ออาทร ไทยสากล การประหยัดพลังงาน

11 การวางระบบประเมินผลของส่วนราชการ
ถ่ายทอดตัวชี้วัดและเป้าหมายระดับองค์กรสู่ระดับบุคคล individual performance agreement นิวัฒน์ ตุ่นบุตรเสลา นักจัดการงานทั่วไปปฏิบัติการ วช. สกอ. 16 กรกฎาคม 2552 IPA หมายถึง ระบบประเมินผลการดำเนินงานภายในส่วนราชการ โดยมีระบบในการถ่ายทอดเป้าประสงค์ ตัวชี้วัดตามพันธกิจและยุทธศาสตร์ของส่วนราชการ ไปยังหน่วยงานที่รับผิดชอบ กำหนดเป็นตัวชี้วัด ผลการดำเนินงานและเป้าหมายในระดับองค์กรจนถึงระดับบุคคล และจัดทำคำรับรองการปฏิบัติราชการ รวมถึงจัดให้มีการติดตามและประเมินผลการดำเนินงานตามเป้าหมายในแต่ละปีงบประมาณ แผนที่ยุทธศาสตร์ (รศ.ดร. พสุ เดชะรินทร์ และคณะ : 2548) การกำหนดตัวชี้วัดระดับบุคคล (รศ.ดร. พสุ เดชะรินทร์ และคณะ : 2548) การบริหารการเปลี่ยนแปลง (ดร. บุษกร วัชรศรีโรจน์ : 2548) คู่มือประกอบการใช้ระบบประเมินผลระดับกลุ่มภารกิจ กรม สำนัก/กอง จนถึงระดับบุคคล สำหรับสำนักงานคุมประพฤติภาค กรมคุมประพฤติ (ศูนย์บริการวิชาการแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย : 2549)

12 ____________________
เหตุผล 1 พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 5) พ.ศ.2545 มาตรา 3/1 การบริหารราชการตามพระราชบัญญัตินี้ต้องเป็นไป [เพื่อประโยชน์สุขของประชาชน] [เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของรัฐ] ความมีประสิทธิภาพ ความคุ้มค่าในเชิงภารกิจของรัฐ การลดขั้นตอนการปฏิบัติงาน การลดภารกิจและยุบเลิกหน่วยงานที่ไม่จำเป็น การกระจายภารกิจและทรัพยากรให้แก่ท้องถิ่น การกระจายอำนาจตัดสินใจ การอำนวยความสะดวกและการตอบสนองความต้องการของประชาชน ทั้งนี้โดยมีผู้รับผิดชอบต่อผลของงาน การจัดสรรงบประมาณ และการบรรจุและแต่งตั้งบุคคลเข้าดำรงตำแหน่งหรือปฏิบัติหน้าที่ ต้องคำนึงถึงหลักการตามวรรคหนึ่ง ในการปฏิบัติหน้าที่ของส่วนราชการต้องใช้วิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีโดยเฉพาะอย่างยิ่งให้คำนึงถึงความรับผิดชอบของผู้ปฏิบัติงาน [การมีส่วนร่วมของประชาชน] การเปิดเผยข้อมูลการติดตามตรวจสอบและประเมินผลการปฏิบัติงาน ทั้งนี้ตามความเหมาะสมของแต่ละภารกิจ เพื่อประโยชน์ในการดำเนินการให้เป็นไปตามมาตรานี้ จะตราพระราชกฤษฎีกากำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการในการปฏิบัติราชการและการสั่งการให้ส่วนราชการและข้าราชการปฏิบัติก็ได้” มาตรา 71/1 ให้มีคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการคณะหนึ่งเรียกโดยย่อว่า “ก.พ.ร.” มีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้ 1. เสนอแนะและให้คำปรึกษาแก่คณะรัฐมนตรีเกี่ยวกับการพัฒนาระบบราชการและงานของรัฐอย่างอื่น รวมถึงโครงสร้างระบบราชการ ระบบงบประมาณ ระบบบุคลากร มาตรฐานทางคุณธรรมและจริยธรรม ค่าตอบแทน และวิธีปฏิบัติราชการอื่นให้เป็นไปตามาตรา 3/1 โดยจะเสนอแนะให้มีเป้าหมาย ยุทธศาสตร์ และมาตรการก็ได้ 2. เสนอแนะและให้คำปรึกษาแก่หน่วยงานอื่นของรัฐที่มิได้อยู่ในกำกับของราชการฝ่ายบริหารตามที่หน่วยงานดังกล่าวร้องขอ 3. รายงานต่อคณะรัฐมนตรีในกรณีที่มีการดำเนินการขัดหรือไม่สอดคล้องกับหลักเกณฑ์ที่กำหนดในมาตรา 3/1 ____________________

13 ____________________
เหตุผล 1 พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ.2546 หมวด 1 การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี [มาตรา 6] หมวด 2 การบริหารราชการเพื่อประโยชน์สุขของประชาชน [มาตรา 6 - มาตรา 8] หมวด 3 การบริหารราชการเพื่อให้เกิดผมสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของรัฐ [มาตรา 9 - มาตรา 19] หมวด 4 การบริหารราชการอย่างมีประสิทธิภาพและเกิดความคุ้มค่าในเชิงภารกิจของรัฐ [มาตรา 20 - มาตรา 26] หมวด 5 การลดขั้นตอนการปฏิบัติงาน [มาตรา 27 - มาตรา 32] หมวด 6 การปรับปรุงภารกิจของส่วนราชการ [มาตรา 33 - มาตรา 36] หมวด 7 การอำนวยความสะดวกและการตอบสนองความต้องการของประชาชน [มาตรา 37 - มาตรา 44] หมวด 8 การประเมินผลการปฏิบัติราชการ [มาตรา 45 - มาตรา 49] หมวด 9 บทเบ็ดเตล็ด [มาตรา 50 - มาตรา 53] ____________________ พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ เป็นการกำหนดแนวทางการปฏิบัติราชการขึ้นไว้เป็นลายลักษณ์อักษรในรูปแบบกฎหมายในครั้งแรก โดยรวบรวมแนวทางที่ควรปฏิบัติและกำหนดหลักเกณฑ์ใหม่ในการปฏิบัติราชการให้เกิดความชัดเจน สามารถวัดผลการปฏิบัติราชการที่แน่นอนขึ้น แม้ว่าหลายเรื่องเป็นการกำหนดให้เพื่อให้เกิดการพัฒนาในชั้นแรกและจะต้องมีการปรับปรุงเพื่อให้เกิดความสมบูรณ์ในการปฏิบัติราชการภาครัฐในระยะต่อไปก็ตาม แต่แนวทางตามพระราชกฤษฎีกานี้หากได้มีการนำไปปฏิบัติโดยครบถ้วนก็เชื่อได้ว่าจะเป็นการวางรากฐานการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีในระยะแรกของการปฏิรูประบบราชการขึ้นได้ และสามารถรองรับการพัฒนาระบบราชการที่กำลังจะดำเนินการในระยะต่อไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ

14 เหตุผล 1 แผนยุทธศาสตร์พัฒนาระบบราชการไทย ( ) ระยะที่ 1 พัฒนาระบบราชการให้มีความเป็นเลิศสามารถรองรับกับการพัฒนาประเทศในยุคโลกาภิวัฒน์ โดยยึดหลักการบริหารบ้านเมืองที่ดีและประโยชน์สุขของประชาชน วิสัยทัศน์ : 1. พัฒนาคุณภาพการให้บริการประชาชนที่ดีขึ้น 2. ปรับบทบาทภารกิจ และขนาดให้มีความเหมาะสม 4. ตอบสนองต่อการบริหารปกครองในระบอบประชาธิปไตย 3. ยกระดับขีดความสามารถและมาตรฐานการทำงานให้อยู่ในระดับสูง เทียบเท่าเกณฑ์มาตรฐานสากล เป้าประสงค์หลัก : การปรับเปลี่ยนกระบวนการและวิธีการทำงาน การปรับปรุงโครงสร้างการบริหารราชการแผ่นดิน การรื้อปรับระบบการเงินและการงบประมาณ การสร้างระบบบริหารงานบุคคลและค่าตอบแทนใหม่ การปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ วัฒนธรรม และค่านิยม การเสริมสร้างระบบราชการให้ทันสมัย การเปิดระบบราชการให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วม ยุทธศาสตร์ : กำหนดมาตรการ โดยวางเงื่อนไขให้ส่วนราชการต่าง ๆ นำระบบการบริหารแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ มาประยุกต์ใช้อย่างจริงจัง โดยให้มีการจัดทำแผนยุทธศาสตร์และแผนดำเนินงานอย่างเป็นระบบ มีความสอดคล้องและเชื่อมโยงกับนโยบายและเป้าหมายเชิงยุทธศาสตร์ของรัฐบาล โดยให้มีการกำหนดตัวชี้วัดผลสัมฤทธิ์ที่ชัดเจนเป็นรูปธรรมและสามารถวัดผลได้ในทุกระดับ ตั้งแต่ระดับองค์การ (organization scorecard) ลงไปจนถึงระดับตัวบุคคล (individual scorecard) รวมถึงให้แต่ละส่วนราชการจัดให้มีการรายงานผลสัมฤทธิ์รายปี เพื่อเผยแพร่ต่อสาธารณะ

15 เหตุผล 1

16 แผนยุทธศาสตร์พัฒนาระบบราชการไทย (2551 – 2555) ระยะที่ 2
เหตุผล 1 แผนยุทธศาสตร์พัฒนาระบบราชการไทย (2551 – 2555) ระยะที่ 2 ระบบราชการไทยมุ่งเน้นประโยชน์สุขของประชาชนและรักษาผลประโยชน์ของประเทศชาติ มีขีดสมรรถนะสูง สามารถเรียนรู้ปรับตัวและตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลง ยึดมั่นในหลักจริยธรรมและธรรมาภิบาล วิสัยทัศน์ : ยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบราชการไทย ยกระดับการให้บริการและการทำงานเพื่อตอบสนองความคาดหวังและความต้องการของประชาชนที่มีต่อความสลับซับซ้อน หลากหลาย และเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ปรับรูปแบบการทำงานให้มีลักษณะเชิงบูรณาการ เกิดการแสวงหาความร่วมมือและสร้างเครือข่ายกับฝ่ายต่าง ๆ รวมทั้งเปิดให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วม มุ่งสู่การเป็นองค์การที่มีขีดสมรรถนะสูง บุคลากรมีความพร้อมและความสามารถในการเรียนรู้ คิดริเริ่ม เปลี่ยนแปลงและปรับตัวได้อย่างเหมาะสมต่อสภาพการต่าง ๆ สร้างระบบการกำกับดูแลตนเองที่ดี เกิดความโปร่งใส มั่นใจ และสามารถตรวจสอบได้ รวมทั้งทำให้บุคลากรปฏิบัติงานอย่างมีจิตสำนึกความรับผิดชอบต่อตนเอง ต่อประชาชน และต่อสังคมโดยรวม 86.sp5 105.hr2 113.pm5 กลยุทธ์ที่ ปรับปรุงกลไกและระบบประเมินผลตามคำรับรองการปฏิบัติราชการให้เหมาะสม สอดคล้องกับพันธกิจและลักษณะของหน่วยงานของรัฐ สามารถวัดผลได้ทั้งในระดับองค์การและระดับบุคคล รวมทั้งการพัฒนามาตรการการเสริมสร้างแรงจูงใจตามผลงาน และขยายผลระบบบริหารยุทธศาสตร์องค์การภาครัฐ (Government Strategic management system) ให้เชื่อมโยงกับระบบบริหารการเงิน การคลังภาครัฐสู่ระบบอิเล็กทรอนิกส์ (Government Fiscal Management Information System) เพื่อประมวลรายงานผลการดำเนินงานตามตัวชี้วัดควบคู่ไปกับรายงานผลทางการเงินได้อย่างเป็นระบบ 4

17 เหตุผล 2 ปัญหาการนำยุทธศาสตร์ไปสู่การปฏิบัติ ปัญหาประการที่ 1 องค์กรหลายแห่งมีการกำหนดตัวชี้วัดเป็นจำนวนมาก แต่ตัวชี้วัดเหล่านั้นไม่ได้มีความความสอดคล้องและเชื่อมโยงกับยุทธศาสตร์ขององค์กร ทำให้การวัดและประเมินผลโดยใช้ตัวชี้วัดขาดประสิทธิภาพ ไปคนละทิศทาง ไม่ก่อให้เกิดการผลักดันหรือขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ขององค์กรแต่อย่างใด ปัญหาประการที่ 2 การที่บุคลากรในระดับต่าง ๆ มุ่งแต่จะทำงานประจำของตนเองเป็นหลัก ส่งผลให้บุคคลเหล่านั้นขาดความรู้สึกการมีส่วนร่วมและรับผิดชอบต่อการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์ขององค์กร ไม่สามารถเชื่อมโยงระหว่างบทบาทหน้าที่ของตนเองกับยุทธศาสตร์ขององค์กรได้ และขาดแรงจูงใจที่จะปฏิบัติตามยุทธศาสตร์ให้บังเกิดผล ทั้งนี้อาจเกิดจากการที่องค์กรไม่ได้มีการสื่อสารและถ่ายทอดระบบประเมินผลระดับองค์กรลงไปสู่ผู้บริหารระดับล่างและบุคลากรทั่วทั้งองค์กร หรืออีกประการหนึ่งคือบุคลากรเองไม่ได้มีการศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมทั้งในเรื่องการปฏิบัติงานตามยุทธศาสตร์ และรวมถึงการพัฒนาระบบราชการในด้านอื่น ๆ ด้วย

18 วิธีการพิจารณาเลื่อนเงินเดือนของ ก.พ.
เหตุผล 3 วิธีการพิจารณาเลื่อนเงินเดือนของ ก.พ. กำหนดโดยพิจารณาความสำเร็จของงานและตกลงกันระหว่างผู้ปฏิบัติงานกับผู้บังคับบัญชา 70% องค์ประกอบผลสัมฤทธิ์ของงาน - ตัวชี้วัด ค่าเป้าหมาย ประเมิน คะแนน ผลสัมฤทธิ์ ของงาน คะแนนผล การ ปฏิบัติงาน กำหนดโดยอ้างอิงจากข้อกำหนดสมรรถนะซึ่งประกาศโดยส่วนราชการ 30% องค์ประกอบพฤติกรรมสมรรถนะ สมรรถนะ กำหนดโดยอ้างอิงจากข้อกำหนดของส่วนราชการ องค์ประกอบอื่น ๆ(ขึ้นอยู่กับส่วนราชการ) ปัจจัยอื่น ๆ พิจารณาเลื่อนเงินเดือน แจ้งผลการปฏิบัติงานและปรึกษาหารือถึงการพัฒนาปรับปรุง เริ่มใช้ปีงบประมาณ 2553

19 1. วิธีการประเมินจากผลสัมฤทธิ์ของงาน 70%
เหตุผล 3 1. วิธีการประเมินจากผลสัมฤทธิ์ของงาน 70% จะประเมินจากตัวชี้วัดและค่าเป้าหมาย ซึ่งตกลงและเห็นชอบร่วมกันระหว่างผู้ปฏิบัติกับผู้บังคับบัญชา โดยอ้างอิงความสำเร็จของงานตามตัวชี้วัด และ/หรือหลักฐานที่บ่งชี้ผลผลิตและผลลัพธ์ของงานอย่างเป็นรูปธรรม การกำหนดตัวชี้วัดจะต้องอิงกับงานที่ ผู้ปฏิบัติรับผิดชอบ มี 3 ลักษณะ คือ 1. งานที่ปรากฏในคำรับรองการปฏิบัติราชการ หรือแผนปฏิบัติราชการประจำปี [งานยุทธศาสตร์] 2. งานตามหน้าที่ความรับผิดชอบหลักของสำนัก/กลุ่ม/ฝ่าย หรืองานประจำของผู้รับการประเมิน [งานภารกิจ] 3. งานที่ได้รับมอบหมายพิเศษ ซึ่งไม่ใช่งานประจำของส่วนราชการหรือของผู้รับการประเมิน เช่น งานโครงการ หรืองานในการแก้ไขปัญหาสำคัญเร่งด่วนในรอบการประเมิน ประเภทของตัวชี้วัด แนวทางการพิจารณา ตัวอย่าง มุ่งเน้นปริมาณของงาน จำนวนผลงานที่ทำได้สำเร็จเปรียบเทียบกับปริมาณงานที่กำหนดหรือควรจะทำได้ในเวลาที่ควรจะเป็น ปริมาณพลังงานที่ประหยัดได้ จำนวนอาคาร/โรงงานควบคุมที่ได้รับการส่งเสริม มุ่งเน้นคุณภาพของงาน ความถูกต้อง ประณีต ความเรียบร้อยของงาน ความตรงและมาตรฐานของงาน ร้อยละของคดีที่เสนอความเห็นสอดคล้องกับคำพิพากษา จำนวนครั้งของความผิดพลาดในการจัดทำบัญชี มุ่งเน้นความรวดเร็วหรือทันการณ์ เวลาที่ใช้ในการปฏิบัติงานเทียบกับเวลาที่กำหนดไว้ ร้อยละในการวินิจฉัยการเป็นอาคาร/โรงงาน ร้อยละในการต่อภาษีรถยนต์ภายในเวลาที่กำหนด มุ่งเน้นความประหยัดหรือคุ้มค่าในการใช้ทรัพยากร การประหยัดในการใช้วัสดุ อุปกรณ์ ต้นทุนหรือค่าใช้จ่ายในการทำงาน การระวังรักษาเครื่องมือเครื่องใช้ ร้อยละของปริมาณพลังงานที่ใช้ลดลงกว่าปีก่อน ระดับความสำเร็จในการนำข้อมูลต้นทุนต่อหน่วยไปปรับปรุงกระบวนการทำงาน ตัวชี้วัด : จะต้องวัดได้และควบคุมได้

20 เหตุผล 3

21 2. วิธีการประเมินสมรรถนะ 30%
เหตุผล 3 2. วิธีการประเมินสมรรถนะ 30% สมรรถนะ ถูกนำไปใช้ในระบบการบริหารทรัพยากรบุคคลในด้าน [การคัดเลือก | การพัฒนา | การบริหารผลงาน] สำนักงาน ก.พ. นิยามคำว่า “สมรรถนะ” ไว้ว่าเป็น คุณลักษณะเชิงพฤติกรรมที่เป็นผลมาจากความรู้ ทักษะ/ความสามารถ และคุณลักษณะอื่น ๆ ที่ทำให้บุคคลสามารถสร้างผลงานได้โดดเด่นกว่าเพื่อนร่วมงานอื่น ๆ ในองค์กร ดังนั้น ความรู้ ทักษะ/ความสามารถ และคุณลักษณะอื่น ๆ ที่ใช้ในการปฏิบัติงานนั้น เป็นเพียงพื้นฐานที่จะทำให้บุคคลปฏิบัติงานได้ การวัดพฤติกรรมเราจะเห็นเพียงงานที่ได้มอบหมาย ซึ่งตัวงานที่ได้รับมอบหมายนี้เป็นสิ่งที่เกิดจากความรู้ ทักษะ/ความสามารถ และคุณลักษณะอื่น ๆ ที่จำเป็นสำหรับการทำงานนั้นเอง ซึ่งเป็นส่วนที่ใช้ทำนายว่าบุคคลจะทำงานได้ดี แต่เมื่อบุคคลเข้ามาทำงานแล้วจึงจะมาวัดที่ผลงานแทน ความรู้ ทักษะ/ความสามารถ และคุณลักษณะอื่น ๆ จะเน้นในการ [การคัดเลือก | การฝีกอบรมพัฒนา] เท่านั้น ส่วนสมรรถนะเป็นส่วนที่ต่อยอดเพิ่มเติมขึ้นมาทำให้บุคคลปฏิบัติงานได้ผลงานที่โดดเด่น ในการบริหารผลงาน สมรรถนะคือส่วนหนึ่งของผลการปฏิบัติงาน และสมรรถนะเป็นคุณลักษณะเชิงพฤติกรรม ดังนั้น การประเมินสมรรถนะ = การประเมินพฤติกรรมนั่นเอง การที่สำนักงาน ก.พ. แยกคุณลักษณะเชิงพฤติกรรมออกมาวัดต่างหากจากงานที่มอบหมายนั้น เพื่อเป็นการขยายขอบเขตการประเมินผลการปฏิบัติงานให้ครอบคุลมมากยิ่งขึ้น กล่าวคือ นอกจากข้าราชการจะต้องทำงานให้ได้ ผลงานตามที่ได้รับมอบหมายแล้ว ยังต้องแสดงพฤติกรรมในการทำงานที่พึงประสงค์อีกด้วย ได้แก่ ทำงานอย่างมุ่งผลสัมฤทธิ์ [ขยันขันแข็ง | ตั้งใจทำงาน | รับผิดชอบ | ทำงานถูกต้อง] ทำงานอย่างเน้นบริการที่ดี [เต็มใจให้บริการ | ให้บริการที่ผู้รับบริการต้องการได้] ทำงานอย่างเน้นความเชี่ยวชาญในอาชีพ [หมั่นศึกษา | ขวนขวายหาความรู้มาปรับใช้ในงานเสมอ] ทำงานอย่างเน้นจริยธรรม [ซื่อสัตย์ | โปร่งใส | ยึดมั่นในหลักการ | ดำรงความถูกต้อง] ทำงานอย่างร่วมแรงร่วมใจ [ช่วยเหลือเพื่อนร่วมงานทำให้งานประสบความสำเร็จ]

22 ตัวชี้วัดผลในแต่ละระดับหมายความว่าอย่างไร?
ตัวชี้วัดระดับองค์กร หมายถึง สิ่งที่ใช้วัดผลการทำงานในภาพรวมขององค์กร เป็นตัวชี้วัดหลักเพื่อตอบสนอง ต่อวิสัยทัศน์ พันธกิจ และเป้าประสงค์ขององค์กร เช่น ปริมาณพลังงานที่ประหยัดได้ จำนวนผลผลิต จำนวนหมู่บ้านที่ได้รับการจัดสรรเงินโครงการกองทุน 1 ล้านบาท เป็นต้น ตัวชี้วัดระดับหน่วยงาน หมายถึง สิ่งที่ใช้วัดผลการทำงานของหน่วยงาน อาจจะเป็นในระดับสำนัก/กอง ระดับกลุ่ม/ฝ่าย ทั้งนี้ ตัวชี้วัดดังกล่าวจะแตกต่างกันตามลักษณะงานที่รับผิดชอบ เช่น ความพึงพอใจ : การให้บริการ การดำเนินโครงการ การเข้ามามีส่วนร่วม เป็นต้น ตัวชี้วัดระดับบุคคล หมายถึง สิ่งที่ใช้วัดผลการทำงานของเจ้าหน้าที่เป็นรายบุคคลตามขอบเขตหน้าที่งานที่รับผิดชอบ ทั้งนี้ เจ้าหน้าที่ที่มีหน้าที่งานคล้ายกัน ตัวชี้วัดที่กำหนดขึ้นควรจะไม่แตกต่างกัน ผู้ว่าราชการจังหวัด ก. ตัวชี้วัด : จำนวนข้าวที่ผลิตได้ [เป้าหมาย 100 ตัน] : ความพึงพอใจของคนในจังหวัด [เป้าหมาย 80%] เกษตรอำเภอ ข. ตัวชี้วัด : จำนวนข้าวที่ผลิตได้ [ทำได้ 30 ตัน] : ความพึงพอใจของการให้บริการ [ทำได้ 90%] เกษตรอำเภอ ค. ตัวชี้วัด : จำนวนข้าวที่ผลิตได้ [ทำได้ 70 ตัน] : ความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมโครงการ [ทำได้ 70%] นักวิชาการเกษตร ง. ตัวชี้วัด : จำนวนข้าวที่ผลิตได้ [ทำได้ 35 ตัน] : ความพึงพอใจของคนในจังหวัด [ทำได้ 50%] : ระดับความสำเร็จในการถ่ายทอดความรู้ให้ชุมชน [2] : ต้นทุนผลผลิต [ใช้เงินทุนไป 30,000 บาท] นักวิชาการเกษตร จ. ตัวชี้วัด : จำนวนข้าวที่ผลิตได้ [ทำได้ 35 ตัน] : ความพึงพอใจของคนในจังหวัด [ทำได้ 90%] : ระดับความสำเร็จในการถ่ายทอดความรู้ให้ชุมชน [5] : ต้นทุนผลผลิต [ใช้เงินทุนไป 20,000 บาท]

23 (ประกอบด้วย วิสัยทัศน์ ประเด็นยุทธศาสตร์ และเป้าประสงค์ )
แผนที่ยุทธศาสตร์ : แผนภาพที่แสดงความสัมพันธ์ระหว่างเป้าประสงค์ในแต่ละมิติที่มีความเชื่อมโยงกันในลักษณะของเหตุผล (ประกอบด้วย วิสัยทัศน์ ประเด็นยุทธศาสตร์ และเป้าประสงค์ ) 68 วิสัยทัศน์ : แก้ไขฟื้นฟูผู้กระทำผิด และฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดเพื่อคืนคนดีสู่สังคม ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 1 การพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการปฏิบัติงาน ประสิทธิผล ตามยุทธศาตร์ 1.ผู้ผ่านการฟื้นฟูในระบบบังคับรักษา สามารถเลิกยาเสพติดได้อย่างยั่งยืน 2.ผู้กระทำผิดในชุมชนสามารถ กลับตนเป็นคนดีของสังคม คุณภาพ การให้บริการ 3.การเปลี่ยนแปลงพฤตินิสัย อย่างมีประสิทธิภาพ 4.ประชาชนในพื้นที่ต่าง ๆ สามารถได้รับบริการ อย่างสะดวก รวดเร็วจากเครือข่ายยุติธรรมชุมชน ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 2 พัฒนาการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในภารกิจของกรม ประสิทธิภาพของ การปฏิบัติราชการ 5.การส่งเสริมให้หน่วยงาน ปฏิบัติตามมาตรฐานสากล 6.การให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วม การพัฒนา องค์กร 7.การนำหลักเกณฑ์และวิธีบริหาร จัดการบ้านเมืองที่ดีมาใช้ ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 3 พัฒนาระบบบริหารจัดการของกรม แผนที่ยุทธศาสตร์ กรมคุมประพฤติ

24 ประเด็นหลักที่หน่วยงานจะต้องดำเนินการเพื่อให้บรรลุวิสัยทัศน์
วิสัยทัศน์ : ความปราถนาเกี่ยวกับอนาคตขององค์กร เป็นการชี้ถึงทิศทาง ที่องค์กรต้องการ ที่จะมุ่งไป แต่ไม่ได้ระบุถึงวิธีการที่จะนำไปสู่ความมุ่งหมายนั้น ประเด็นยุทธศาสตร์ : ประเด็นหลักที่หน่วยงานจะต้องดำเนินการเพื่อให้บรรลุวิสัยทัศน์ เป้าประสงค์ : เป้าหมายต่าง ๆ ที่ต้องการบรรลุในแต่ละประเด็นยุทธศาสตร์ ภายใต้กรอบ การประเมินผลการพัฒนาการปฏิบัติราชการ 4 มิติ ตามมติคณะรัฐมนตรี 30 ก.ย. 2546 มิติที่ 1 ด้านประสิทธิผลตามพันธกิจ ส่วนราชการแสดงผลงานที่บรรลุเป้าประสงค์และเป้าหมายตามที่ได้รับงบประมาณมาดำเนินการ มิติที่ 2 ด้านประสิทธิภาพของการปฏิบัติราชการ มิติที่ 3 ด้านประสิทธิภาพของการปฏิบัติราชการ ส่วนราชการแสดงการให้ความสำคัญ กับผู้รับบริการในการให้บริการที่มีคุณภาพ ส่วนราชการแสดงความสามารถ ในการปฏิบัติราชการ มิติที่ 4 ด้านการพัฒนาองค์กร ส่วนราชการแสดงความสามารถในการ เตรียมพร้อมกับการเปลี่ยนแปลงขององค์กร

25 มิติที่ 1 ด้านประสิทธิผลตามยุทธศาสตร์
มีหลักการให้ส่วนราชการแสดงผลงานที่บรรลุเป้าประสงค์และเป้าหมายตามที่ได้รับงบประมาณมาดำเนินการ เช่น รายได้จากนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้น ประชาชนมีจิตสำนึกและพฤติกรรมในการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม ประชาชนมีสุขภาพดีขึ้น มิติที่ 2 ด้านคุณภาพการให้บริการ มีหลักการให้ส่วนราชการแสดงการให้ความสำคัญกับผู้รับบริการในการให้บริการที่มีคุณภาพ สร้างความพึงพอใจแก่ผู้รับบริการ เช่น ความพึงพอใจของผู้รับบริการ ประชาชนได้รับการบริการที่สะดวกและรวดเร็วขึ้น มิติที่ 3 ด้านประสิทธิภาพของการปฏิบัติราชการ มีหลักการให้ส่วนราชการแสดงความสามารถในการปฏิบัติราชการ เช่น การปรับปรุง/ลดขั้นตอนการให้บริการ การประหยัดพลังงาน การมอบอำนาจในการปฏิบัติงาน มิติที่ 4 ด้านการพัฒนาองค์กร มีหลักการให้ส่วนราชการแสดงความสามารถในการเตรียมความพร้อมกับการเปลี่ยนแปลงขององค์กร เช่น มีการพัฒนาทรัพยากรบุคคลอย่างต่อเนื่อง หน่วยงานเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ มีระบบการบริหารความเสี่ยง การนำระบบอิเล็กทรอนิกส์มาใช้ในการปฏิบัติงาน

26 ทุกเป้าประสงค์จะต้องมีตัวชี้วัดและทุกตัวชี้วัดต้องมีผู้รับผิดชอบ
ตัวชี้วัด : ดัชนีที่ใช้ในการวัดความก้าวหน้าของการบรรลุเป้าประสงค์ ต้องสามารถวัดได้ โดยมีหน่วยวัดที่ชัดเจนและกำหนดเป้าหมายของความสำเร็จได้ในเวลาที่เหมาะสม ทุกเป้าประสงค์จะต้องมีตัวชี้วัดและทุกตัวชี้วัดต้องมีผู้รับผิดชอบ โครงการ : สิ่งต่าง ๆ ที่หน่วยงานจะต้องดำเนินการเพื่อให้เป้าประสงค์ต่าง ๆ บรรลุได้ตามเป้าหมายของตัวชี้วัดที่กำหนดไว้ ความสัมพันธ์ระหว่างเป้าประสงค์ ตัวชี้วัด เป้าหมาย และโครงการ เป้าประสงค์ ตัวชี้วัด เป้าหมาย โครงการ 1.ผู้ผ่านการฟื้นฟูในระบบบังคับรักษาสามารถเลิก ยาเสพติดได้อย่างยั่งยืน ร้อยละของผู้ผ่านการฟื้นฟูสมรรถภาพและกลับมาเสพยาเสพติดซ้ำ ร้อยละ 5 การดำเนินการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดโดย ศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด จ.ปทุมธานี หน่วยงานพหุภาคีในระบบบังคับรักษาจำนวน 9 แห่ง 6.การให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วม ร้อยละของการปฏิบัติงานที่สอดคล้องกับมาตรฐานงาน คุมประพฤติ 3 ใน 5 ด้าน ระดับความพึงพอใจของผู้กระทำความผิดต่อการได้รับปฏิบัติจากสำนักงานคุมประพฤติจังหวัด/ประจำศาล ร้อยละของผู้ถูกคุมความประพฤติที่ได้รับการแก้ไข ฟื้นฟูจากอาสาสมัครคุมประพฤติสามารถปฏิบัติตามเงื่อนไขการคุมความประพฤติ ร้อยละ 80 ร้อยละ 90 การดำเนินการตามแนวทางมาตรฐานงานคุมประพฤติอย่างเป็นระบบ การลดขั้นตอนการปฏิบัติงานในกระบวนงานต่าง ๆ ของสำนักงานคุมประพฤติจังหวัด/ประจำศาล โครงการอบรมอาสาสมัครคุมประพฤติรุ่นที่ ของสำนักงานคุมประพฤติจังหวัด/ประจำศาล

27 เป้าประสงค์ ตัวชี้วัด เป้าหมาย โครงการ 1.ประชาชนมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดี ร้อยละของจำนวนผู้ที่ขึ้นทะเบียนคนจน ไม่เกิน ร้อยละ 20 ตั้งศูนย์ลงทะเบียนคนจนทั่วประเทศ โดรงการคาราวานแก้จน 2.ประชาชนมีสุขภาพดี ร้อยละของจำนวนผู้มาใช้บริการที่ รพ.ลดลง จำนวนเงินที่ใช้เป็นค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลลดลง ร้อยละ 30 2,000,000 เปิดสถานีอนามัยตำบลเพิ่มขึ้น โดรงการรักษาฟรีทุกโรค 3.ประชาชนมีความสะดวกปลอดภัยในการเดินทาง จำนวนรถยนต์โดยสารประจำทางที่เพิ่มขึ้นจากปีก่อน ร้อยละของผู้ที่ผ่านหลักสูตรการอบรมวินัยการจราจร 5,000 คัน ร้อยละ 95 โดรงการรถเมล์ NGV 4,000 คัน โครงการถนนปลอดฝุ่น 4.มีระบบการจัดการความรู้ จำนวนครั้งในการจัด KM จำนวนนวัตกรรมการจัดการความรู้ 20 ครั้ง 200 นวัตกรรม การจัดกิจกรรม KM การประกวดนวัตกรรมการจัดการความรู้ เป้าประสงค์ ตัวชี้วัด เป้าหมาย โครงการ 1.ประชาชนมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดี ร้อยละของที่ลดลงของครัวเรือนยากจนที่มีรายได้ต่ำกว่าเกณฑ์ จปฐ. 80 % โครงการกองทุนหมู่บ้าน / SMEs โดรงการ OTOP 2.ประชาชนมีสุขภาพดี ร้อยละของจำนวนผู้มาใช้บริการที่ รพ.ลดลง จำนวนเงินที่ใช้เป็นค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลลดลง ร้อยละ 30 2,000,000 โดรงการการให้ความรู้เกี่ยวกับการป้องกันการเกิดโรคและการรักษาพยาบาลจากการเจ็บป่วยเบื้องต้นในระดับหมู่บ้าน โครงการ 30 บาทรักษาทุกโรค 3.ประชาชนมีความสะดวกปลอดภัยในการเดินทาง จำนวนเจ้าหน้าที่ที่ดื่มเหล้าก่อนขับรถ จำนวนครั้งในการตรวจสอบสภาพรถ จำนวนศูนย์อำนวยความสะดวกฯ ไม่เกิน 1 คน 1 ครั้ง/สัปดาห์ จังหวัดละ 10 การเป่าวัดฯ ก่อนขับรถยนต์โดยสาร การตรวจสภาพรถเป็นประจำ โครงการจัดตั้งศูนย์อำนวยความสะดวก 4.มีระบบการจัดการความรู้ จำนวนกลุ่ม CoP ระดับความสำเร็จในการจัดระบบการจัดการความรู้ 20 กลุ่ม ระดับ 5 การดำเนินการตามแผนการจัดการความรู้ของหน่วยงานระยะ 4 ปี

28 สำนักงานการศึกษาแห่งประเทศ
วิสัยทัศน์ : พัฒนาคุณภาพการศึกษาของชาติให้เทียบเท่าระดับสากล ประเด็นยุทธศาสตร์ : ยกระดับคุณภาพการศึกษาตามแผนแม่บทการปฏิรูปการศึกษา เป้าประสงค์ ตัวชี้วัด ระดับค่าเป้าหมาย โครงการ (1) (2) (3) (4) (5) ประชาชนได้รับ โอกาสการศึกษา อย่างเสมอภาค และเท่าเทียมกัน ร้อยละของจำนวนนักเรียนทั้งประเทศที่ได้รับเงินจากนโยบายเรียนฟรีฯ จำนวนเงินที่ได้รับเฉลี่ยต่อคน [บาท] 80 500 85 550 90 600 95 650 100 700 เรียนฟรี 15 ปีอย่างมีคุณภาพ เป้าประสงค์ ตัวชี้วัด ระดับค่าเป้าหมาย โครงการ (1) (2) (3) (4) (5) ประชาชนมีระดับ คุณภาพการศึกษา ที่สูงขึ้น ร้อยละของจำนวนอาจารย์ที่ได้รับการพัฒนาและมีความรู้ในระดับที่สูงขึ้น ร้อยละของนักเรียนทั่วประเทศที่มีระดับความรู้สูงขึ้นกว่าปีก่อน ระดับคะแนนเฉลี่ยในการสอบเข้าศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษา 80 50% 85 55% 90 60% 95 65% 100 70% ส่งครูไปฝึกอบรมยังต่างประเทศ จัดสรรครูที่ผ่านการฝึกอบรมลงสู่ทุกชุมชน พัฒนารูปแบบการสอนและระบบการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม

29 บรรลุ บรรลุ วิสัยทัศน์ ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 1. ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 2.
ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 3. ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 4. บรรลุ บรรลุ เป้าประสงค์ ผลลัพธ์ที่ต้องการตามประเด็นยุทธศาสตร์ ผลลัพธ์ที่ต้องการตามประเด็นยุทธศาสตร์ ผลลัพธ์ที่ต้องการตามประเด็นยุทธศาสตร์ ผลลัพธ์ที่ต้องการตามประเด็นยุทธศาสตร์ ประสิทธิผล ตามยุทธศาตร์ คุณภาพ การให้บริการ สิ่งที่ประชาชน ควรได้รับ สิ่งที่ประชาชน ควรได้รับ สิ่งที่ประชาชน ควรได้รับ สิ่งที่ประชาชน ควรได้รับ ประสิทธิภาพของ การปฏิบัติราชการ กลยุทธ์ที่จะทำให้การปฏิบัติราชการเกิดความคุ้มค่า ถูกต้อง แม่นยำ รวดเร็ว ฯลฯ หรือทำให้เกิดคุณภาพในการให้บริการ จนบรรลุประเด็นยุทธ์ศาสตร์ การพัฒนา องค์กร ความพร้อมทางด้านทรัพยากร ทั้ง คน (ความรู้ สมรรถนะ คุณภาพชีวิตในการทำงาน) เทคโนโลยี ฯลฯ

30 ระดับกระทรวง ระดับกรม ระดับสำนัก/กอง ระดับบุคคล
หลักการและแนวคิดที่สำคัญ ควรจะเป็นแบบ บน ลง ล่าง ควรพิจารณาทั้งการดึงเป้าประสงค์ลงมาจากระดับองค์กร และการกำหนดเป้าประสงค์ ตามบทบาทหน้าที่ของหน่วยงาน ควรเริ่มจากหน่วยงานหลักก่อน แล้วค่อยต่อด้วยหน่วยงานสนับสนุน ในหน่วยงานสนับสนุนตัวชี้วัดจะเป็นในลักษณะของการพัฒนางานประจำให้ดีขึ้น หรือ การดำเนินงานอย่างมีประสิทธิภาพ ระดับกระทรวง ระดับกรม ระดับสำนัก/กอง ระดับบุคคล

31 รูปแบบ [ตัวอย่าง] 5 กรม (พพ.) 3 2 5 7 สำนัก (สกอ.) สำนัก (สสอ.) 2 1 3
กลุ่ม (วช.) กลุ่ม (อพ1.) 1 2 3 1 3 2 7 สาร์รัฐ สยาม ประพนธ์ วรรณาภรณ์ ตัวชี้วัดระดับกรม ตัวชี้วัดตามบทบาทหน้าที่ของสำนัก/กอง ตัวชี้วัดตามหน้าที่งานประจำของบุคคล ตัวชี้วัดตามบทบาทหน้าที่ของกลุ่ม/ฝ่าย ตัวชี้วัดตามงานที่ได้รับมอบหมายพิเศษ

32 Scorecard ของสำนัก/กอง Scorecard ของกลุ่ม/ฝ่าย Scorecard ของรายบุคคล
เป้าประสงค์ ตัวชี้วัด 1. 1. ตามแผนยุทธศาสตร์ 2. 2. ตามคำรับรองฯ การแปลง/ถ่ายทอด ตอบสนองต่อ Scorecard ของสำนัก/กอง เป้าประสงค์ ตัวชี้วัด 1. 1. สนับสนุนกรม 2. 2. ตามอำนาจหน้าที่ของสำนัก การแปลง/ถ่ายทอด Scorecard ของกลุ่ม/ฝ่าย เป้าประสงค์ ตัวชี้วัด 1. 1. สนับสนุนกรม 2. 2. สนับสนุนอำนาจหน้าที่ของสำนัก 3. 3. ตามบทบาทหน้าที่ของกลุ่ม ตอบสนองต่อ การแปลง/ถ่ายทอด ตอบสนองต่อ Scorecard ของรายบุคคล เป้าประสงค์ ตัวชี้วัด 1. 1. สนับสนุนกรม 2. 2. สนับสนุนอำนาจหน้าที่ของสำนัก 3. 3. สนับสนุนบทบาทหน้าที่ของกลุ่ม [งานประจำ] 4. 4. งานที่ได้รับมอบหมายพิเศษ

33 1. การถ่ายทอดเป้าหมายผลการปฏิบัติงานลงมาโดยตรง
มอบหมายความรับผิดชอบทั้ง ตัวชี้วัด และ ค่าเป้าหมาย ในแต่ละข้อ จากผู้บังคับบัญชาสู่ผู้ใต้บังคับบัญชาทั้งหมด มักใช้ในกรณีที่เป็นการมอบหมายจากผู้บังคับบัญชาระดับสูง เป้าประสงค์ ตัวชี้วัด ระดับค่าเป้าหมาย (1) (2) (3) (4) (5) ความปลอดภัยบนท้อง ถนน ระดับความสำเร็จของ การดำเนินโครงการลด อุบัติเหตุบนท้องถนน ระดับ 1 ระดับ 2 ระดับ 3 ระดับ 4 ระดับ 5 ผอ.สำนัก เป้าประสงค์ ตัวชี้วัด ระดับค่าเป้าหมาย (1) (2) (3) (4) (5) ความปลอดภัยบนท้อง ถนน ระดับความสำเร็จของ การดำเนินโครงการลด อุบัติเหตุบนท้องถนน ระดับ 1 ระดับ 2 ระดับ 3 ระดับ 4 ระดับ 5 หัวหน้ากลุ่ม เป้าประสงค์ ตัวชี้วัด ระดับค่าเป้าหมาย (1) (2) (3) (4) (5) ความปลอดภัยบนท้อง ถนน ระดับความสำเร็จของ การดำเนินโครงการลด อุบัติเหตุบนท้องถนน ระดับ 1 ระดับ 2 ระดับ 3 ระดับ 4 ระดับ 5 มีป้ายรณรงค์ที่เพียงพอ จำนวนป้ายรณรงค์ที่ จัดทำเสร็จ 80 90 100 110 120 ผู้ปฏิบัติ 1 O ผู้ปฏิบัติ 2 S

34 2. การถ่ายทอดเป้าหมายผลการปฏิบัติงาน โดยแบ่งค่าเป้าหมาย
ยังใช้ตัวชี้วัดเดิมเป็นหลัก แต่อาจกำหนดระบุพื้นที่หรือขอบเขตความรับผิดชอบ และมีการกำหนดตัวเลขเป้าหมายที่ลดลงตามส่วน มักใช้ในกรณีการแบ่งพื้นที่รับผิดชอบ หรือการแบ่งการปฏิบัติงานตามกลุ่มเป้าหมาย เป้าประสงค์ ตัวชี้วัด ระดับค่าเป้าหมาย (1) (2) (3) (4) (5) ลดการใช้พลังงาน ปริมาณพลังงานที่ประหยัด ได้ (ktoe) 50 55 60 65 70 ผอ.สำนัก เป้าประสงค์ ตัวชี้วัด ระดับค่าเป้าหมาย (1) (2) (3) (4) (5) ลดการใช้พลังงาน ปริมาณพลังงานที่ประหยัด ได้ (ktoe) 50 55 60 65 70 หัวหน้ากลุ่ม ค่าตัวเลขเป้าหมายของผู้ใต้บังคับบัญชาทุกคนในระดับเดียวกันรวมแล้ว เท่ากับหรือมากกว่า ค่าตัวเลขเป้าหมายของผู้บังคับบัญชา เป้าประสงค์ ตัวชี้วัด ระดับค่าเป้าหมาย (1) (2) (3) (4) (5) ลดการใช้พลังงาน ปริมาณพลังงานที่ประหยัด ได้ (ktoe) 14 17 20 23 26 11 29 ผู้ปฏิบัติ 1 O ผู้ปฏิบัติ 2 O ผู้ปฏิบัติ 3 O หรือเฉลี่ยค่าเป้าหมายก็ได้ เช่น การวัดความพึงพอใจกรณีที่ O ทุกคนเป็นผู้ให้บริการที่เคาน์เตอร์

35 3. การถ่ายทอดเป้าหมายผลการปฏิบัติงาน ที่ผู้ใต้บังคับบัญชาได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติงานเพียงบางด้าน
มอบหมายงานเพียงบางด้าน หรือบางส่วนแก่ผู้ใต้บังคับบัญชา จำเป็นต้องกำหนด ผลสัมฤทธิ์หลัก และตัวชี้วัดที่ต้องการจากผู้ใต้บังคับบัญชาใหม่ มักใช้ในกรณีที่ เป้าหมายผลการปฏิบัติงานของตนที่ต้องการถ่ายทอด ประกอบขึ้นด้วย เป้าหมายการปฏิบัติงานย่อยหลายประการ และต้องการมอบหมายเป้าหมายผลการปฏิบัติงานย่อยในแต่ละส่วนให้ผู้ใต้บังคับบัญชาแต่ละคนรับผิดชอบ จำเป็นต้องมีความเข้าใจในกระบวนการทำงานที่จะส่งผลต่อเป้าหมายผลการปฏิบัติงานของตนก่อน เป้าประสงค์ ตัวชี้วัด ระดับค่าเป้าหมาย (1) (2) (3) (4) (5) ความปลอดภัยบน ท้องถนน ระดับความสำเร็จของการ ดำเนินโครงการลดอุบัติเหตุ บนท้องถนน ระดับ 1 ระดับ 2 ระดับ 3 ระดับ 4 ระดับ 5 ผอ.สำนัก หัวหน้ากลุ่ม เป้าประสงค์ ตัวชี้วัด ระดับค่าเป้าหมาย (1) (2) (3) (4) (5) อุบัติเหตุลดลง ร้อยละของจำนวนอุบัติเหตุที่ เกิดขึ้นลดลงจากปีก่อน 10 20 30 40 50 ประชาชนตื่นตัวใน การขับขี่ปลอดภัย จำนวนครั้งของการรณรงค์ ขับขี่ปลอดภัย 15 25 สร้างเครือข่าย ช่วยลดอุบัติเหตุ จำนวนหน่วยงานภาคีที่เข้า ร่วมโครงการฯ 1 3 5 7 9 ผู้ปฏิบัติ 1 O ผู้ปฏิบัติ 2 O ผู้ปฏิบัติ 3 O

36  ตัวอย่าง ผอ.สำนัก หัวหน้ากลุ่ม ผู้ปฏิบัติ O ตัวชี้วัด
ร้อยละของระดับความพึงพอใจ สกอ. ร้อยละของระดับความพึงพอใจ บท. ร้อยละของระดับความพึงพอใจ อพ. ร้อยละของระดับความพึงพอใจ อพ. ร้อยละของระดับความพึงพอใจ อพ. ร้อยละของระดับความพึงพอใจ วช. ร้อยละของระดับความพึงพอใจ อพ. ร้อยละเฉลี่ยของผู้ที่เกี่ยวข้องเข้ามา มีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็น ข้อเสนอแนะในโครงการต่าง ๆ ร้อยละเฉลี่ยของผู้ที่เกี่ยวข้องเข้ามา มีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็น ข้อเสนอแนะในโครงการต่าง ๆ ร้อยละเฉลี่ยของผู้ที่เกี่ยวข้องเข้ามา มีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็น ข้อเสนอแนะในโครงการต่าง ๆ จำนวนครั้งในการจัดกิจกรรม KM จำนวนครั้งในการจัดกิจกรรม KM จำนวนครั้งในการจัดกิจกรรม KM จำนวนครั้งในการจัดกิจกรรม KM ร้อยละของจำนวนอาคาร/โรงงาน ควบคุมที่ปฏิบัติตามกฎหมาย ร้อยละของจำนวนอาคารควบคุม ที่ปฏิบัติตามกฎหมาย ร้อยละของจำนวนอาคารควบคุม ที่ปฏิบัติตามกฎหมาย ร้อยละของจำนวนโรงงานควบคุม ที่ปฏิบัติตามกฎหมาย ร้อยละของจำนวนอาคารควบคุม ที่ปฏิบัติตามกฎหมาย ร้อยละของจำนวนอาคารควบคุม ที่ปฏิบัติตามกฎหมาย ร้อยละของจำนวนอาคารควบคุม ที่ปฏิบัติตามกฎหมาย

37  ตัวอย่าง ผอ.สำนัก หัวหน้ากลุ่ม ผู้ปฏิบัติ O ตัวชี้วัด
ร้อยละของระดับความพึงพอใจ สกอ. ร้อยละของระดับความพึงพอใจ บท. ร้อยละของระดับความพึงพอใจ จากการให้บริการของนาย ก. ร้อยละของระดับความพึงพอใจ อพ. ร้อยละของระดับความพึงพอใจ จากการให้บริการของนาย ข. ร้อยละของระดับความพึงพอใจ วช. ระดับความสำเร็จในการจัดทำระบบ ประเมินผลความพึงพอใจของ อพ. ร้อยละเฉลี่ยของผู้ที่เกี่ยวข้องเข้ามา มีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็น ข้อเสนอแนะในโครงการต่าง ๆ ร้อยละเฉลี่ยของผู้ที่เกี่ยวข้องเข้ามา มีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็น ข้อเสนอแนะในโครงการต่าง ๆ ร้อยละเฉลี่ยของผู้ที่เกี่ยวข้องเข้ามา มีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็น ข้อเสนอแนะในโครงการต่าง ๆ จำนวนครั้งในการจัดกิจกรรม KM จำนวนครั้งในการจัดกิจกรรม KM จำนวนครั้งในการจัดกิจกรรม KM ระดับความสำเร็จในการจัดทำมุม KM ร้อยละของจำนวนอาคาร/โรงงาน ควบคุมที่ปฏิบัติตามกฎหมาย ร้อยละของจำนวนอาคารควบคุม ที่ปฏิบัติตามกฎหมาย จำนวนครั้งในการจัดสัมมนาเกี่ยวกับ การปฏิบัติตามกฎหมาย ร้อยละของจำนวนโรงงานควบคุม ที่ปฏิบัติตามกฎหมาย ระดับความสำเร็จในการจัดทำคู่มือ การปฏิบัติตามกฎหมาย ร้อยละของจำนวนอาคารควบคุมที่ได้ รับทราบขั้นตอนการปฏิบัติตามกฎหมาย ร้อยละของจำนวนอาคารควบคุมที่มี ผชอ.

38

39

40 1 z o ตัวอย่าง สำนักงานผลิตอาหารแห่งชาติ อำนาจหน้าที่
ผลิตอาหารประเภทเนื้อและผัก/ผลไม้ให้เพียงพอต่อความต้องการของประเทศ จำหน่ายอาหารประเภทเนื้อและผัก/ผลไม้ให้ถึงมือผู้บริโภคทันต่อความต้องการ นำเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาใช้ในกระบวนการผลิตเพื่อเป็นต้นแบบ สำนักงานผลิตอาหารแห่งชาติ กองผลิตอาหาร (เนื้อ) กองผลิตอาหาร (ผัก/ผลไม้) กองขนส่ง กองสารสนเทศ กองบริหาร ทิด A ทิด B ทิด C ทิด D มานี มานะ ชูใจ ชูชง บุญหนึ่ง บุญสอง บุญสาม บุญสี่ สมชัย สมชาติ สมชู สมชง วีระชัย วีระชาติ วีระชู วีระชง สำนักงานผลิตอาหารแห่งชาติ กองบริหาร กองผลิตอาหาร (ผัก/ผลไม้) ร้าน กองสารสนเทศ z กองขนส่ง ร้าน o กองผลิตอาหาร (เนื้อ)

41

42 2 แผนที่ยุทธศาสตร์สำนักงานผลิตอาหารแห่งชาติ ตัวอย่าง
วิสัยทัศน์ : เป็นองค์กรหลักในการผลิตอาหารของประเทศ มุ่งเน้นการพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตอันทันสมัยควบคู่ไปกับการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงในยุคโลกาภิวัฒน์ ประเด็นยุทธศาสตร์ : ผลิตอาหารด้วยเทคโนโลยีอันทันสมัยเพื่อเพิ่มผลผลิต ประสิทธิผลตามยุทธศาสตร์ 1.ผลิตอาหารเพียงพอต่อความต้องการของผู้บริโภค คุณภาพ การให้บริการ 2.ความพึงพอใจของผู้บริโภค 3.ผู้บริโภคได้รับบริการที่รวดเร็ว ประสิทธิภาพ การปฏิบัติราชการ 4.การลดต้นทุนการผลิต การพัฒนาองค์กร 5.การบริหารจัดการความรู้ 6.การนำเทคโนโลยีมาใช้

43 3 ตัวอย่าง เป้าประสงค์และตัวชี้วัดระดับองค์กร เป้าประสงค์ ตัวชี้วัด
เป้าหมาย โครงการ 1. ผลิตอาหารเพียงพอต่อความต้องการของผู้บริโภค 1.1 ปริมาณการผลิตอาหารประเภทเนื้อ 1.2 ปริมาณการผลิตอาหารประเภทผัก/ผลไม้ 50 ตัน 100 ตัน เลี้ยงสุกรที่ฟาร์ม A เลี้ยงวัวที่ฟาร์ม B เลี้ยงปลาที่บ่อ C ปลูกผักที่แปลง D ปลูกผลไม้ที่แปลง E 2. ความพึงพอใจของผู้บริโภค 2.1 ร้อยละของระดับความพึงพอใจของผู้บริโภค ร้อยละ 80 การให้บริการของศูนย์จำหน่ายผลผลิต การให้บริการทางเว็บไซต์ 3. ผู้บริโภคได้รับบริการที่รวดเร็ว 3.1 ร้อยละของการส่งผลผลิตที่เกินเวลามาตรฐาน ไม่เกิน ร้อยละ 5 การปรับปรุงกระบวนการโลจีสติกส์ 4. การลดต้นทุนการผลิต 4.1 ร้อยละของปริมาณเชื้อเพลิงที่ประหยัดได้ 4.2 ระดับความสำเร็จในการจัดทำต้นทุนต่อหน่วย ร้อยละ 15 ระดับ 5 การปรับปรุงกระบวนการผลิต การจัดทำต้นทุนต่อหน่วยผลผลิต 5. การบริหารจัดการความรู้ 5.1 ระดับความสำเร็จในการจัดการความรู้ 5.2 จำนวนกลุ่ม CoP 20 กลุ่ม การปฏิบัติตามแผน KM 5 ปี การจัดกิจกรรม CoP 6. การนำเทคโนโลยีมาใช้ 6.1 ระดับความสำเร็จในการพัฒนาโปรแกรมควบคุมกระบวนการผลผลิต 6.2 ระดับความสำเร็จในการพัฒนาโปรแกรมคำนวณต้นทุนต่อหน่วย 6.3 ระดับความสำเร็จในการพัฒนาเว็บไซต์ขององค์กร 6.4 ระดับความสำเร็จในการพัฒนาเว็บไซต์ KM การพัฒนาโปรแกรมควบคุมกระบวนการผลิต การพัฒนาโปรแกรมคำนวณต้นทุนต่อหน่วย การพัฒนาเว็บไซต์ขององค์กร การพัฒนาเว็บไซต์ KM

44

45 4 ตัวอย่าง กองผลิตอาหาร (เนื้อ) ผลิตอาหารประเภทเนื้อ เช่น สุกร วัว ปลา
แปรรูปเป็นเนื้อสำเร็จรูป วิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการแปรรูปในกระบวนการผลิต กองผลิตอาหาร (ผัก/ผลไม้) ผลิตอาหารประเภทผัก/ผลไม้ วิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการเก็บรักษาความสดใหม่ กองขนส่ง ดำเนินการระบบโลจีสติกส์ขององค์กร นำผลผลิตส่งให้ถึงมือผู้บริโภค ทำหน้าที่เป็นร้านจำหน่ายอาหารขององค์กร ตรวจสอบดูแล บำรุงรักษาเครื่องจักร อุปกรณ์และยานพาหนะขององค์กร กองบริหาร บริหารงานทั่วไป บริหารต้นทุนขององค์กร กองสารสนเทศ พัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อสนับสนุนการทำงานในด้านต่าง ๆ ตรวจสอบดูแล บำรุงรักษาระบบคอมพิวเตอร์

46 5 ตัวอย่าง ตารางแสดงความรับผิดชอบ O/S เป้าประสงค์ ตัวชี้วัด กองเนื้อ
กองผัก ขนส่ง บริหาร ไอที 1. ผลิตอาหารเพียงพอต่อความต้องการของผู้บริโภค 1.1 ปริมาณการผลิตอาหารประเภทเนื้อ O S 1.2 ปริมาณการผลิตอาหารประเภทผัก/ผลไม้ 2. ความพึงพอใจของผู้บริโภค 2.1 ร้อยละของระดับความพึงพอใจของผู้บริโภค 3. ผู้บริโภคได้รับบริการที่รวดเร็ว 3.1 ร้อยละของการส่งผลผลิตที่เกินเวลามาตรฐาน 4. การลดต้นทุนการผลิต 4.1 ร้อยละของปริมาณเชื้อเพลิงที่ประหยัดได้ 4.2 ระดับความสำเร็จในการจัดทำต้นทุนต่อหน่วย 5. การบริหารจัดการความรู้ 5.1 ระดับความสำเร็จในการจัดการความรู้ 5.2 จำนวนกลุ่ม CoP 6. การนำเทคโนโลยีมาใช้ 6.1 ระดับความสำเร็จในการพัฒนาโปรแกรมควบคุมกระบวนการผลผลิต 6.2 ระดับความสำเร็จในการพัฒนาโปรแกรมคำนวณต้นทุนต่อหน่วย 6.3 ระดับความสำเร็จในการพัฒนาเว็บไซต์ขององค์กร 6.4 ระดับความสำเร็จในการพัฒนาเว็บไซต์KM

47

48 6 ตัวอย่าง เป้าประสงค์ขององค์กร
2.2 กำหนดเป้าประสงค์ที่สำนัก/กองมีส่วนผลักดันเป้าประสงค์ขององค์กร 2.3 กำหนดป้าประสงค์เพิ่มเติมตามหน้าที่งานที่ยังไม่ได้มีการประเมิน 1.ผลิตอาหารเพียงพอต่อความต้องการของผู้บริโภค 2.ความพึงพอใจของผู้บริโภค 3.ผู้บริโภคได้รับบริการที่รวดเร็ว 4.การลดต้นทุนการผลิต 5.การบริหารจัดการความรู้ 6.การนำเทคโนโลยีมาใช้ 1.ผลิตอาหารเพียงพอต่อความต้องการของผู้บริโภค 2.การลดต้นทุนการผลิต 3.วิจัยเทคโนโลยีการผลิตที่ทันสมัย 4.การดำเนินกิจกรรม KM

49

50 7 ตัวอย่าง เป้าประสงค์ ตัวชี้วัด เป้าหมาย โครงการ
1. ผลิตอาหารเพียงพอต่อความต้องการของผู้บริโภค น1.1 ปริมาณการผลิตอาหารประเภทเนื้อ 50 ตัน เลี้ยงสุกรที่ฟาร์ม A เลี้ยงวัวที่ฟาร์ม B เลี้ยงปลาที่บ่อ C 2. การลดต้นทุนการผลิต น1.2 ร้อยละของปริมาณเชื้อเพลิงที่ประหยัดได้ ร้อยละ 15 การปรับปรุงกระบวนการเลี้ยงสุกร วัว และปลา น1.3 ระดับความสำเร็จในการจัดทำต้นทุนต่อหน่วย ระดับ 5 การจัดทำต้นทุนต่อหน่วยผลผลิตของกอง (เนื้อ) 3. วิจัยเทคโนโลยีการผลิตที่ทันสมัย น1.4 จำนวนงานวิจัยเทคโนโลยีการผลิต (เนื้อ) 2 งานวิจัย การปรับปรุงคุณภาพอาหารเลี้ยงสุกร การสร้างบ่อเลี้ยงปลาแบบอัตโนมัติ 4. การดำเนินกิจกรรม KM น1.5 จำนวนกลุ่ม CoP 10 กลุ่ม การจัดกิจกรรม CoP

51 8 ตัวอย่าง เป้าประสงค์ขององค์กร
2.2 กำหนดเป้าประสงค์ที่สำนัก/กองมีส่วนผลักดันเป้าประสงค์ขององค์กร 2.3 กำหนดป้าประสงค์เพิ่มเติมตามหน้าที่งานที่ยังไม่ได้มีการประเมิน 1.ผลิตอาหารเพียงพอต่อความต้องการของผู้บริโภค 2.ความพึงพอใจของผู้บริโภค 3.ผู้บริโภคได้รับบริการที่รวดเร็ว 4.การลดต้นทุนการผลิต 5.การบริหารจัดการความรู้ 6.การนำเทคโนโลยีมาใช้ 1.ผลิตอาหารเพียงพอต่อความต้องการของผู้บริโภค 2.การลดต้นทุนการผลิต 3.วิจัยเทคโนโลยีการผลิตที่ทันสมัย 4.การดำเนินกิจกรรม KM

52 9 ตัวอย่าง เป้าประสงค์ ตัวชี้วัด เป้าหมาย โครงการ
1. ผลิตอาหารเพียงพอต่อความต้องการของผู้บริโภค ผ1.1 ปริมาณการผลิตอาหารประเภทผัก/ผลไม้ 100 ตัน ปลูกผักที่แปลง D ปลูกผลไม้ที่แปลง E 2. การลดต้นทุนการผลิต ผ1.2 ร้อยละของปริมาณเชื้อเพลิงที่ประหยัดได้ ร้อยละ 15 การปรับปรุงวิธีการรดน้ำแบบอัตโนมัติ การพัฒนาปุ๋ยอินทรีย์แทนการใช้สารเคมี ผ1.3 ระดับความสำเร็จในการจัดทำต้นทุนต่อหน่วย ระดับ 5 การจัดทำต้นทุนต่อหน่วยผลผลิตของกอง (ผัก/ผลไม้) 3. วิจัยเทคโนโลยีการผลิตที่ทันสมัย ผ1.4 จำนวนงานวิจัยเทคโนโลยีการผลิต (ผัก/ผลไม้) 2 งานวิจัย การปรับปรุงคุณภาพเชื้อพันธ์ผัก การสร้างโรงปลูกผักแบบระบบปิด 4. การดำเนินกิจกรรม KM ผ1.5 จำนวนกลุ่ม CoP 5 กลุ่ม การจัดกิจกรรม CoP

53 10 ตัวอย่าง เป้าประสงค์ขององค์กร
2.2 กำหนดเป้าประสงค์ที่สำนัก/กองมีส่วนผลักดันเป้าประสงค์ขององค์กร 2.3 กำหนดป้าประสงค์เพิ่มเติมตามหน้าที่งานที่ยังไม่ได้มีการประเมิน 1.ผลิตอาหารเพียงพอต่อความต้องการของผู้บริโภค 2.ความพึงพอใจของผู้บริโภค 3.ผู้บริโภคได้รับบริการที่รวดเร็ว 4.การลดต้นทุนการผลิต 5.การบริหารจัดการความรู้ 6.การนำเทคโนโลยีมาใช้ 1.ความพึงพอใจของลูกค้า 2.ผู้บริโภคได้รับบริการที่รวดเร็ว 3.การลดต้นทุนการผลิต 4.การดำเนินการโลจีสติกส์ 5.การดำเนินกิจกรรม KM

54 11 ตัวอย่าง เป้าประสงค์ ตัวชี้วัด เป้าหมาย โครงการ
1. ความพึงพอใจของลูกค้า ข1.1 ร้อยละของระดับความพึงพอใจของลูกค้า ร้อยละ 80 การให้บริการของศูนย์จำหน่ายผลผลิตประเภทเนื้อ (shop z) การให้บริการของศูนย์จำหน่ายผลผลิตประเภทผัก/ผลไม้ (shop o) 2. ผู้บริโภคได้รับบริการที่รวดเร็ว ข1.2 ร้อยละของการส่งผลผลิตที่เกินเวลามาตรฐาน ไม่เกิน ร้อยละ 5 การปรับปรุงกระบวนการโลจีสติกส์ 3. การลดต้นทุนการผลิต ข1.3 ร้อยละของปริมาณเชื้อเพลิงที่ประหยัดได้ ร้อยละ 15 ข1.4 ระดับความสำเร็จในการจัดทำต้นทุนต่อหน่วย ระดับ 5 การจัดทำต้นทุนต่อหน่วยผลผลิตของกองขนส่ง 4. การดำเนินการ โลจีสติกส์ ข1.5 จำนวนผลผลิตเฉลี่ยต่อวันที่ได้มีการขนส่งไปยังร้านจำหน่าย 400 kg. การดำเนินกิจกรรมการขนถ่ายผลผลิต 5. การดำเนินกิจกรรม KM ข1.6 จำนวนกลุ่ม CoP 5 กลุ่ม การจัดกิจกรรม CoP

55 12 ตัวอย่าง เป้าประสงค์ขององค์กร
2.2 กำหนดเป้าประสงค์ที่สำนัก/กองมีส่วนผลักดันเป้าประสงค์ขององค์กร 2.3 กำหนดป้าประสงค์เพิ่มเติมตามหน้าที่งานที่ยังไม่ได้มีการประเมิน 1.ผลิตอาหารเพียงพอต่อความต้องการของผู้บริโภค 2.ความพึงพอใจของผู้บริโภค 3.ผู้บริโภคได้รับบริการที่รวดเร็ว 4.การลดต้นทุนการผลิต 5.การบริหารจัดการความรู้ 6.การนำเทคโนโลยีมาใช้ 1.ความพึงพอใจของผู้รับบริการที่ มีต่อการให้บริการของกองบริหาร 3.ควบคุมการปฏิบัติงานงบประมาณ งานการเงิน การบัญชี 2.การลดต้นทุนการผลิต 4.ลดความผิดพลาดในการดำเนินงาน 5.งานแผนงานและโครงการต่าง ๆ 6.การบริหารจัดการความรู้

56 13 ตัวอย่าง เป้าประสงค์ ตัวชี้วัด เป้าหมาย โครงการ
1. ความพึงพอใจของผู้รับบริการที่มีต่อการให้บริการของกองบริหาร บ1.1 ร้อยละของระดับความพึงพอใจของผู้รับบริการที่มีต่อการให้บริการของกองบริหาร ร้อยละ 80 การให้บริการแก่บุคลากรภายในองค์กรของกองบริหาร 2. การลดต้นทุนการผลิต บ1.2 ระดับความสำเร็จในการจัดทำต้นทุนต่อหน่วย ระดับ 5 การจัดทำต้นทุนต่อหน่วยผลผลิตขององค์กร 3. การควบคุมการปฏิบัติงานงบประมาณ งานการเงิน การบัญชี บ1.3 ร้อยละของการเบิกจ่ายงบประมาณภายในเวลาที่กำหนด การเบิกจ่ายงบประมาณ 4. ลดความผิดพลาดในการดำเนินงาน บ1.4 จำนวนความผิดพลาดที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงาน ไม่เกิน 2 ครั้ง การดำเนินงานของกองบริหาร 5. งานแผนงานและโครงการต่าง ๆ บ1.5 ร้อยละความสำเร็จของการดำเนินโครงการเทียบกับแผนที่วางไว้ การดำเนินโครงการตามแผนปฏิบัติการ 6. การบริหารจัดการความรู้ บ1.6 ระดับความสำเร็จในการจัดการความรู้ การปฏิบัติตามแผน KM 5 ปี

57 14 ตัวอย่าง เป้าประสงค์ขององค์กร
2.2 กำหนดเป้าประสงค์ที่สำนัก/กองมีส่วนผลักดันเป้าประสงค์ขององค์กร 2.3 กำหนดป้าประสงค์เพิ่มเติมตามหน้าที่งานที่ยังไม่ได้มีการประเมิน 1.ผลิตอาหารเพียงพอต่อความต้องการของผู้บริโภค 2.ความพึงพอใจของผู้บริโภค 3.ผู้บริโภคได้รับบริการที่รวดเร็ว 4.การลดต้นทุนการผลิต 5.การบริหารจัดการความรู้ 6.การนำเทคโนโลยีมาใช้ 1.ความพึงพอใจของผู้บริโภค 2.ความพึงพอใจของผู้รับบริการที่มี ต่อการให้บริการของกองสารสนเทศ 3.การประหยัดพลังงาน 4.การตรวจสอบดูแล บำรุงรักษาระบบคอมพิวเตอร์ 5.การนำเทคโนโลยีมาใช้ 6.การนำระบบบริหารความเสี่ยงมาใช้

58 15 ตัวอย่าง เป้าประสงค์ ตัวชี้วัด เป้าหมาย โครงการ
1. ความพึงพอใจของผู้บริโภค ส1.1 ร้อยละของระดับความพึงพอใจของผู้บริโภค ร้อยละ 80 การให้บริการทางเว็บไซต์ 2. ความพึงพอใจของผู้รับบริการที่มีต่อการให้บริการของกองสารสนเทศ ส1.2 ร้อยละของระดับความพึงพอใจของผู้รับบริการที่มีต่อการให้บริการของกองสารสนเทศ การให้บริการแก่บุคลากรภายในองค์กรของกองสารสนเทศ 3. การประหยัดพลังงาน ส1.3 ร้อยละของค่าไฟฟ้าที่ลดลงเมื่อเทียบกับปีก่อน ร้อยละ 10 เปลี่ยนระบบปรับอากาศ 4. การตรวจสอบดูแล บำรุงรักษาเครื่องคอมพิวเตอร์ ส1.4 จำนวนครั้งของการตรวจสอบฯ 24 ครั้ง/ปี การตรวจสอบดูแล บำรุงรักษาเครื่องคอมพิวเตอร์เป็นประจำ 5. การนำเทคโนโลยีมาใช้ ส1.5 ระดับความสำเร็จในการพัฒนาโปรแกรมควบคุมกระบวนการผลผลิต ระดับ 5 การพัฒนาโปรแกรมควบคุมกระบวนการผลิต ส1.6 ระดับความสำเร็จในการพัฒนาโปรแกรมคำนวณต้นทุนต่อหน่วย การพัฒนาโปรแกรมคำนวณต้นทุนต่อหน่วย ส1.7 ระดับความสำเร็จในการพัฒนาเว็บไซต์ขององค์กร การพัฒนาเว็บไซต์ขององค์กร ส1.8 ระดับความสำเร็จในการพัฒนาเว็บไซต์ KM การพัฒนาเว็บไซต์ KM 6. การนำระบบบริหารความเสี่ยงมาใช้ ส1.9 ร้อยละของการดำเนินการตามแผนบริหารความเสี่ยง ร้อยละ 90 การดำเนินการตามแผนบริหารความเสี่ยง

59

60 ให้พิจารณาจากกระบวนการทำงานในแต่ละงาน + กำหนดตัวชี้วัดตามกระบวนงานนั้นให้เป็นชุดเดียวกัน หากบุคคลใดไม่ได้มีงานอยู่ในกระบวนการทำงานของสำนัก/กองนั้น ๆ ให้จัดทำรายละเอียดงานของบุคคลนั้นเพิ่มเติม ทั้งนี้ให้ผู้บังคับบัญชาช่วยพิจารณาและให้ความเห็นชอบก่อนจัดทำระบบประเมินผลระดับบุคคล ข้อควรพิจารณา : จากการได้ร่วมทำตัวชี้วัดระดับบุคคลมามีข้อสังเกตว่าไม่ได้ให้ความสำคัญกับตำแหน่งของบุคคลที่จะทำการประเมินผลเท่าที่ควร แต่กลับให้ความสำคัญกับลักษณะงานที่กำลังทำอยู่ ณ ปัจจุบันมากกว่าและวัดผลงานตามงานที่กำลังทำอยู่นั้นเป็นหลัก แต่ในข้อเท็จจริงส่วนราชการควรต้องให้ความสำคัญกับตำแหน่งงานของบุคคลที่จะทำการประเมินผลนั้นด้วย เช่น ตำแหน่งนักวิชาการคอมพิวเตอร์ ก็ไม่ควรให้ทำงานในสายงานการจัดซื้อจัดจ้าง TOR เป็นหลัก แต่ควรให้ทำงานในลักษณะที่เกี่ยวข้องกับตำแหน่งด้วย อาทิ การเขียนโปรแกรม การดูแลตรวจซ่อมระบบเครือข่าย หรือการบำรุงดูแลรักษาระบบงาน เป็นต้น ดังนั้น ตัวชี้วัดหลัก ๆ ที่มีค่าคะแนนถ่วงน้ำหนักมาก ๆ ของบุคคลใด ๆ ก็ควรจะต้องเป็นงานที่มีความสัมพันธ์กับตำแหน่งงานของบุคคลนั้นด้วย ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับลักษณะงานของแต่ละส่วนราชการ

61 16 ตัวอย่าง เลี้ยงสุกร ดูแลรักษาฟาร์มเลี้ยงสุกรให้มีสภาพดีอยู่เสมอ
ทิด A (นวช.เกษตร) เลี้ยงสุกร ดูแลรักษาฟาร์มเลี้ยงสุกรให้มีสภาพดีอยู่เสมอ ทิด B (นวช.เกษตร) เลี้ยงวัว ดูแลรักษาฟาร์มเลี้ยงวัวให้มีสภาพดีอยู่เสมอ ทิด C (นวช.เกษตร) เลี้ยงปลา ดูแลรักษาบ่อเลี้ยงปลาให้มีสภาพดีอยู่เสมอ แปรรูปในกระบวนการผลิตเป็นเนื้อสำเร็จรูป ช่วยวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการแปรรูปในกระบวนการผลิต ทิด D (นักวิจัย) วิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการแปรรูปในกระบวนการผลิต ประสานความร่วมมือด้านเทคโนโลยีกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

62 กระบวนงานเลี้ยงสัตว์
ตัวอย่าง 17 3.1 ยืนยันหน้าที่งานของบุคคล (จัดสาย/กลุ่มกระบวนงานของสำนัก/กอง) กระบวนงานเลี้ยงสัตว์ กระบวนงานแปรรูป กระบวนงานวิจัยฯ กระบวนงานประสานฯ ทิด A (นวช.เกษตร) ทิด C (นวช.เกษตร) ทิด D (นักวิจัย) ทิด D (นักวิจัย) ทิด B (นวช.เกษตร) ทิด C (นวช.เกษตร)

63 18 ตัวอย่าง ตารางแสดงความรับผิดชอบ O/S เป้าประสงค์ ตัวชี้วัด ทิด A
ทิด B ทิด C ทิด D 1. ผลิตอาหารเพียงพอต่อความต้องการของผู้บริโภค น1.1 ปริมาณการผลิตอาหารประเภทเนื้อ O 2. การลดต้นทุนการผลิต น1.2 ร้อยละของปริมาณเชื้อเพลิงที่ประหยัดได้ น1.3 ระดับความสำเร็จในการจัดทำต้นทุนต่อหน่วย S 3. วิจัยเทคโนโลยีการผลิตที่ทันสมัย น1.4 จำนวนงานวิจัยเทคโนโลยีการผลิต (เนื้อ) 4. การดำเนินกิจกรรม KM น1.5 จำนวนกลุ่ม CoP เป้าประสงค์ ตัวชี้วัด proc1 proc2 proc3 proc4 1. ผลิตอาหารเพียงพอต่อความต้องการของผู้บริโภค น1.1 ปริมาณการผลิตอาหารประเภทเนื้อ O S 2. การลดต้นทุนการผลิต น1.2 ร้อยละของปริมาณเชื้อเพลิงที่ประหยัดได้ น1.3 ระดับความสำเร็จในการจัดทำต้นทุนต่อหน่วย 3. วิจัยเทคโนโลยีการผลิตที่ทันสมัย น1.4 จำนวนงานวิจัยเทคโนโลยีการผลิต (เนื้อ) 4. การดำเนินกิจกรรม KM น1.5 จำนวนกลุ่ม CoP

64

65 19 สรุปเป้าประสงค์และตัวชี้วัดระดับบุคคล ตัวอย่าง ทิด A ทิด B
เป้าประสงค์และตัวชี้วัดของผู้บังคับบัญชา - เป้าประสงค์และตัวชี้วัดที่สนับสนุนผู้บังคับบัญชา 1. ผลิตอาหารเพียงพอต่อความต้องการของผู้บริโภค น2.1 ปริมาณการผลิตอาหารประเภทเนื้อสุกร 2. การลดต้นทุนการผลิต น2.2 จำนวนครั้งในการบันทึกข้อมูลต้นทุน (allocate) เป้าประสงค์และตัวชี้วัดตามบทบาทหน้าที่ 3. การรักษามาตรฐานฟาร์ม น2.3- ระดับมาตรฐานฟาร์มเลี้ยงสุกร เป้าประสงค์และตัวชี้วัดตามงานที่ได้รับมอบหมายพิเศษ 4. การสำรวจตลาดผู้บริโภค น2.4 จำนวนครั้งในการสำรวจความต้องการของผู้บริโภค ทิด B เป้าประสงค์ ตัวชี้วัด เป้าประสงค์และตัวชี้วัดของผู้บังคับบัญชา 1. การดำเนินกิจกรรม KM น3.1 จำนวนกลุ่ม CoP เป้าประสงค์และตัวชี้วัดที่สนับสนุนผู้บังคับบัญชา 2. ผลิตอาหารเพียงพอต่อความต้องการของผู้บริโภค น3.2 ปริมาณการผลิตอาหารประเภทเนื้อวัว 3. การลดต้นทุนการผลิต น3.3 ระดับความสำเร็จในการนำข้อมูลต้นทุนผลผลิตมาปรับปรุง/ยกเลิกกิจกรรมที่สูญเปล่า เป้าประสงค์และตัวชี้วัดตามบทบาทหน้าที่ 4. การรักษามาตรฐานฟาร์ม น3.4 ระดับมาตรฐานฟาร์มเลี้ยงวัว เป้าประสงค์และตัวชี้วัดตามงานที่ได้รับมอบหมายพิเศษ -

66 20 สรุปเป้าประสงค์และตัวชี้วัดระดับบุคคล ตัวอย่าง ทิด C ทิด D
เป้าประสงค์และตัวชี้วัดของผู้บังคับบัญชา - เป้าประสงค์และตัวชี้วัดที่สนับสนุนผู้บังคับบัญชา 1. ผลิตอาหารเพียงพอต่อความต้องการของผู้บริโภค น4.1 ปริมาณการผลิตอาหารประเภทเนื้อปลา เป้าประสงค์และตัวชี้วัดตามบทบาทหน้าที่ 2. การรักษามาตรฐานบ่อเลี้ยงปลา น4.2 ระดับมาตรฐานบ่อเลี้ยงปลา 3. แปรรูปกระบวนการผลิต น4.3 ระดับความสำเร็จในการแปรรูปผลผลิตตามแผนฯ น4.4 ร้อยละของกระบวนการแปรรูปที่ได้มาตรฐานสากล 4. วิจัยเทคโนโลยีการผลิตที่ทันสมัย น4.5 จำนวนเอกสารการวิจัยที่ที่ได้ตีพิมพ์และเผยแพร่ เป้าประสงค์และตัวชี้วัดตามงานที่ได้รับมอบหมายพิเศษ ทิด D เป้าประสงค์ ตัวชี้วัด เป้าประสงค์และตัวชี้วัดของผู้บังคับบัญชา - เป้าประสงค์และตัวชี้วัดที่สนับสนุนผู้บังคับบัญชา 1. วิจัยเทคโนโลยีการผลิตที่ทันสมัย น5.1 จำนวนงานวิจัยเทคโนโลยีการผลิต (เนื้อ) เป้าประสงค์และตัวชี้วัดตามบทบาทหน้าที่ 2. ประสานความร่วมมือด้านเทคโนโลยี น5.2 จำนวนหน่วยงานที่แจ้งความประสงค์เข้าร่วมโครงการฯ เป้าประสงค์และตัวชี้วัดตามงานที่ได้รับมอบหมายพิเศษ 3. การวิเคราะห์ข้อมูลผู้บริโภค น5.3 จำนวนข้อเสนอที่ได้จากการวิเคราะห์ข้อมูลความต้องการของผู้บริโภค

67 21 ตัวอย่าง ขายอาหารประเภทเนื้อ ดูแลรักษาทำความสะอาดร้าน z
บุญหนึ่ง (พนักงานขาย) ขายอาหารประเภทเนื้อ ดูแลรักษาทำความสะอาดร้าน z บุญสอง (พนักงานขาย) ขายอาหารประเภทผัก/ผลไม้ ดูแลรักษาทำความสะอาดร้าน o บุญสาม (นวช.ขนส่ง) ดำเนินการระบบโลจีสติกส์ พัฒนาเทคโนโลยีที่ทันสมัยในระบบโลจีสติกส์ จัดทำรายงานการจัดส่งสินค้ารายเดือน บุญสี่ (พนง.ขับรถ) ดำเนินการระบบโลจีสติกส์ ตรวจสอบดูแล บำรุงรักษาเครื่องจักร อุปกรณ์และยานพาหนะ

68 ตัวอย่าง 22 3.1 ยืนยันหน้าที่งานของบุคคล (จัดสาย/กลุ่มกระบวนงานของสำนัก/กอง) กระบวนงานจำหน่ายอาหาร กระบวนงานโลจีสติกส์ กระบวนงานบำรุงรักษาฯ บุญหนึ่ง (พนักงานขาย) บุญสาม (นวช.ขนส่ง) บุญสี่ (พนง.ขับรถ) บุญสอง (พนักงานขาย) บุญสี่ (พนง.ขับรถ)

69 23 ตัวอย่าง ตารางแสดงความรับผิดชอบ O/S เป้าประสงค์ ตัวชี้วัด
บุญหนึ่ง บุญสอง บุญสาม บุญสี่ 1. ความพึงพอใจของลูกค้า น1.1 ร้อยละของระดับความพึงพอใจของลูกค้า O 2. ผู้บริโภคได้รับบริการที่รวดเร็ว น1.2 ร้อยละของการส่งผลผลิตที่เกินเวลามาตรฐาน S 3. การลดต้นทุนการผลิต ข1.3 ร้อยละของปริมาณเชื้อเพลิงที่ประหยัดได้ ข1.4 ระดับความสำเร็จในการจัดทำต้นทุนต่อหน่วย 4. การดำเนินการโลจีสติกส์ น1.5 จำนวนผลผลิตเฉลี่ยต่อวันที่ได้มีการขนส่งไปยังร้านจำหน่าย 5. การดำเนินกิจกรรม KM ข1.6 จำนวนกลุ่ม CoP เป้าประสงค์ ตัวชี้วัด proc1 proc2 proc3 1. ความพึงพอใจของลูกค้า น1.1 ร้อยละของระดับความพึงพอใจของลูกค้า O 2. ผู้บริโภคได้รับบริการที่รวดเร็ว น1.2 ร้อยละของการส่งผลผลิตที่เกินเวลามาตรฐาน 3. การลดต้นทุนการผลิต ข1.3 ร้อยละของปริมาณเชื้อเพลิงที่ประหยัดได้ ข1.4 ระดับความสำเร็จในการจัดทำต้นทุนต่อหน่วย S 4. การดำเนินการโลจีสติกส์ น1.5 จำนวนผลผลิตเฉลี่ยต่อวันที่ได้มีการขนส่งไปยังร้านจำหน่าย 5. การดำเนินกิจกรรม KM ข1.6 จำนวนกลุ่ม CoP

70 24 สรุปเป้าประสงค์และตัวชี้วัดระดับบุคคล ตัวอย่าง บุญหนึ่ง บุญสอง
เป้าประสงค์และตัวชี้วัดของผู้บังคับบัญชา 1. ความพึงพอใจของลูกค้า ข2.1 ร้อยละของระดับความพึงพอใจของลูกค้าที่มีต่อการให้บริการของศูนย์จำหน่ายผลผลิตประเภทเนื้อ (shop z) เป้าประสงค์และตัวชี้วัดที่สนับสนุนผู้บังคับบัญชา - เป้าประสงค์และตัวชี้วัดตามบทบาทหน้าที่ 2. การรักษาความสะอาดของร้าน ข2.2 จำนวนครั้งในการทำความสะอาดร้าน เป้าประสงค์และตัวชี้วัดตามงานที่ได้รับมอบหมายพิเศษ 3. การ update ข้อมูลในเว็บไซต์ ข2.3 จำนวนครั้งในการสำรวจความต้องการของผู้บริโภค บุญสอง เป้าประสงค์ ตัวชี้วัด เป้าประสงค์และตัวชี้วัดของผู้บังคับบัญชา 1. ความพึงพอใจของลูกค้า ข3.1 ร้อยละของระดับความพึงพอใจของลูกค้าที่มีต่อการให้บริการของศูนย์จำหน่ายผลผลิตผัก/ผลไม้ (shop o) เป้าประสงค์และตัวชี้วัดที่สนับสนุนผู้บังคับบัญชา - เป้าประสงค์และตัวชี้วัดตามบทบาทหน้าที่ 2. การรักษาความสะอาดของร้าน ข3.2 จำนวนครั้งในการทำความสะอาดร้าน เป้าประสงค์และตัวชี้วัดตามงานที่ได้รับมอบหมายพิเศษ 3. การจัดจำหน่ายผลไม้ราคาพิเศษ ข3.3 ร้อยละของจำนวนลุกค้าที่เพิ่มขึ้น

71 25 สรุปเป้าประสงค์และตัวชี้วัดระดับบุคคล ตัวอย่าง บุญสาม บุญสี่
เป้าประสงค์และตัวชี้วัดของผู้บังคับบัญชา 1. การดำเนินกิจกรรม KM ข4.1 จำนวนกลุ่ม CoP เป้าประสงค์และตัวชี้วัดที่สนับสนุนผู้บังคับบัญชา 2. การลดต้นทุนการผลิต ข4.2 ระดับความสำเร็จในการจัดทำต้นทุนต่อหน่วย 3. การดำเนินการโลจีสติกส์ ข4.3 จำนวนผลผลิตเฉลี่ยต่อวันที่ได้มีการขนส่งไปยังร้านจำหน่าย เป้าประสงค์และตัวชี้วัดตามบทบาทหน้าที่ 4. พัฒนาเทคโนโลยีระบบโลจีสติกส์ น4.4 ระดับความสำเร็จในการพัฒนาเทคโนโลยีระบบโลจีสติกส์ 5. การจัดทำรายงาน น4.5 การจัดทำรายงานภายในเวลาที่กำหนด เป้าประสงค์และตัวชี้วัดตามงานที่ได้รับมอบหมายพิเศษ - บุญสี่ เป้าประสงค์ ตัวชี้วัด เป้าประสงค์และตัวชี้วัดของผู้บังคับบัญชา 1. ผู้บริโภคได้รับบริการที่รวดเร็ว ข5.1 ร้อยละของการส่งผลผลิตที่เกินเวลามาตรฐาน เป้าประสงค์และตัวชี้วัดที่สนับสนุนผู้บังคับบัญชา 2. การลดต้นทุนการผลิต ข5.2 ร้อยละของปริมาณเชื้อเพลิงที่ประหยัดได้ 3. การดำเนินการโลจีสติกส์ ข5.3 จำนวนผลผลิตเฉลี่ยต่อวันที่ได้มีการขนส่งไปยังร้านจำหน่าย เป้าประสงค์และตัวชี้วัดตามบทบาทหน้าที่ 4. ตรวจสอบดูแล บำรุงรักษาเครื่องจักร อุปกรณ์และยานพาหนะ น5.4 จำนวนครั้งของความผิดพลาดที่เกิดขึ้นจากการทำงานของอุปกรณ์เครื่องจักรและยานพาหนะ เป้าประสงค์และตัวชี้วัดตามงานที่ได้รับมอบหมายพิเศษ -

72 4.00 5.00 2.00 น2.1 ปริมาณการผลิตอาหารประเภทเนื้อสุกร
1.1 ปริมาณการผลิตอาหารประเภทเนื้อ น1.1 ปริมาณการผลิตอาหารประเภทเนื้อ น3.2 ปริมาณการผลิตอาหารประเภทเนื้อวัว น4.1 ปริมาณการผลิตอาหารประเภทเนื้อปลา ผ2.1 ปริมาณการผลิตอาหารผัก 1.2 ปริมาณการผลิตอาหารผัก/ผลไม้ ผ1.1 ปริมาณการผลิตอาหารผัก/ผลไม้ ผ3.1 ปริมาณการผลิตอาหารผลไม้ ข2.1 ร้อยละของระดับความพึงพอใจของลูกค้า ที่มีต่อการให้บริการของศูนย์จำหน่ายผลผลิต ประเภทเนื้อ (shop z) ข3.1 ร้อยละของระดับความพึงพอใจของลูกค้า ที่มีต่อการให้บริการของศูนย์จำหน่ายผลผลิต ประเภทผัก/ผลไม้ (shop z) ข1.1 ร้อยละของระดับความพึงพอใจของลูกค้า 2.1 ร้อยละของระดับความพึงพอใจของผู้บริโภค ส1.1 ร้อยละของระดับความพึงพอใจของผู้บริโภค ส3.2 ร้อยละความพึงพอใจการให้บริการผ่าน ทางเว็บไซต์ 3.1 ร้อยละของการส่งผลผลิต ที่เกินเวลามาตรฐาน ข1.2 ร้อยละของการส่งผลผลิต ที่เกินเวลามาตรฐาน ข5.1 ร้อยละของการส่งผลผลิต ที่เกินเวลามาตรฐาน น1.3 ระดับความสำเร็จในการจัดทำต้นทุนต่อหน่วย น2.2 จำนวนครั้งในการบันทึกต้นทุน (allocate) น3.3 ระดับความสำเร็จในการนำข้อมูลต้นทุน ผลผลิตมาปรับปรุง/ยกเลิกกิจกรรมที่สูญเปล่า 4.2 ระดับความสำเร็จในการจัดทำต้นทุนต่อหน่วย ผ1.3 ระดับความสำเร็จในการจัดทำต้นทุนต่อหน่วย ข4.2 ระดับความสำเร็จ ในการจัดทำต้นทุนต่อหน่วย ข1.4 ระดับความสำเร็จในการจัดทำต้นทุนต่อหน่วย บ1.2 ระดับความสำเร็จในการจัดทำต้นทุนต่อหน่วย

73 เกรดของ ดช.มานะ สูงกว่าเนื่องจากทำคะแนนในวิชาที่มีหน่วยกิตมากได้ในระดับสูง
ตัวชี้วัดตามคำรับรองฯ ใช้หลักการเดียวกัน ลักษณะที่ 1 ตัวชี้วัดที่มีค่าน้ำหนักมากและทำคะแนนได้สูง = คะแนนรวม “ดี” ลักษณะที่ 2 ตัวชี้วัดที่มีค่าน้ำหนักมากแต่ทำคะแนนได้ไม่สูง = คะแนนรวม “พอใช้” หรือ “ต้องปรับปรุง” เปรียบเทียบเกรดของ ดช.มานะ กับ ดญ.ชูใจ ชื่อตัวชี้วัด น้ำหนัก คะแนน คะแนนถ่วงน้ำหนัก มิติที่ 1 65 2.20 ตัวชี้วัดที่ 1.1 xxxxxxxxxxxxxxxx 20 3.00 0.60 ตัวชี้วัดที่ 1.2 xxxxxxxxxxxxxxxx ตัวชี้วัดที่ 1.3 xxxxxxxxxxxxxxxx 15 4.00 ตัวชี้วัดที่ 1.4 xxxxxxxxxxxxxxxx 10 0.40 มิติที่ 2 35 1.75 ตัวชี้วัดที่ 2.1 xxxxxxxxxxxxxxxx 5.00 0.50 ตัวชี้วัดที่ 2.2 xxxxxxxxxxxxxxxx 5 0.25 ตัวชี้วัดที่ 2.3 xxxxxxxxxxxxxxxx ตัวชี้วัดที่ 2.4 xxxxxxxxxxxxxxxx รวม 100 3.95 ดช.มานะ ดญ.ชูใจ วิชา หน่วยกิต เกรด คะแนนถ่วงน้ำหนัก คณิตศาสตร์ 2.5 3 1 วิทยาศาสตร์ 4 2 ภาษาไทย สังคมศึกษา สุขศึกษา 0.5 พลศึกษา รวม 10 ดช.มานะ ดญ.ชูใจ วิชา หน่วยกิต เกรด คะแนนถ่วงน้ำหนัก คณิตศาสตร์ 2.5 3 0.80 1 0.30 วิทยาศาสตร์ 4 1.00 2 0.50 ภาษาไทย 0.40 0.60 สังคมศึกษา สุขศึกษา 0.5 0.05 0.20 พลศึกษา 0.00 รวม 10 2.80 2.40 ชื่อตัวชี้วัด น้ำหนัก คะแนน คะแนนถ่วงน้ำหนัก มิติที่ 1 65 3.25 ตัวชี้วัดที่ 1.1 xxxxxxxxxxxxxxxx 20 5.00 1.00 ตัวชี้วัดที่ 1.2 xxxxxxxxxxxxxxxx ตัวชี้วัดที่ 1.3 xxxxxxxxxxxxxxxx 15 0.75 ตัวชี้วัดที่ 1.4 xxxxxxxxxxxxxxxx 10 0.50 มิติที่ 2 35 1.75 ตัวชี้วัดที่ 2.1 xxxxxxxxxxxxxxxx ตัวชี้วัดที่ 2.2 xxxxxxxxxxxxxxxx 5 0.25 ตัวชี้วัดที่ 2.3 xxxxxxxxxxxxxxxx ตัวชี้วัดที่ 2.4 xxxxxxxxxxxxxxxx รวม 100 ชื่อตัวชี้วัด น้ำหนัก คะแนน คะแนนถ่วงน้ำหนัก มิติที่ 1 65 3.15 ตัวชี้วัดที่ 1.1 xxxxxxxxxxxxxxxx 20 5.00 1.00 ตัวชี้วัดที่ 1.2 xxxxxxxxxxxxxxxx ตัวชี้วัดที่ 1.3 xxxxxxxxxxxxxxxx 15 0.75 ตัวชี้วัดที่ 1.4 xxxxxxxxxxxxxxxx 10 4.00 0.40 มิติที่ 2 35 ตัวชี้วัดที่ 2.1 xxxxxxxxxxxxxxxx 3.00 0.30 ตัวชี้วัดที่ 2.2 xxxxxxxxxxxxxxxx 5 2.00 0.10 ตัวชี้วัดที่ 2.3 xxxxxxxxxxxxxxxx ตัวชี้วัดที่ 2.4 xxxxxxxxxxxxxxxx รวม 100 4.15 วิชา หน่วยกิต เกรด คะแนนถ่วงน้ำหนัก คณิตศาสตร์ 2.5 4 1.00 วิทยาศาสตร์ ภาษาไทย 2 0.80 สังคมศึกษา สุขศึกษา 0.5 0.20 พลศึกษา รวม 10 4.00

74 Y - รักษามาตรฐาน - ทำให้ดียิ่งขึ้น - เดินสะดุดอีกแล้ว
- เปลี่ยนวิธีเดินใหม่ 1.ผลิตอาหารเพียงพอต่อความต้องการของผู้บริโภค 1.ผลิตอาหารเพียงพอต่อความต้องการของผู้บริโภค 2.ความพึงพอใจของผู้บริโภค 3.ผู้บริโภคได้รับบริการที่รวดเร็ว 2.ความพึงพอใจของผู้บริโภค 3.ผู้บริโภคได้รับบริการที่รวดเร็ว 4.การลดต้นทุนการผลิต 4.การลดต้นทุนการผลิต 5.การบริหารจัดการความรู้ 6.การนำเทคโนโลยีมาใช้ 5.การบริหารจัดการความรู้ 6.การนำเทคโนโลยีมาใช้ องค์กรบางแห่ง สามารถทำตัวชี้วัดได้สีเขียวทั้งหมด แต่ทำไมถึงไม่บรรลุวิสัยทัศน์ สาเหตุส่วนใหญ่น่าจะเกิดจาก การกำหนดเป้าประสงค์ที่ ไม่สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์ > การกำหนดตัวชี้วัดที่ไม่สอดคล้องกับเป้าประสงค์ > พอมากำหนดตัวชี้วัดระดับบุคคล ก็กำหนดกันไป โดยแยกไม่ออกว่าตัวชี้วัดตัวไหนสนับสนุนเป้าประสงค์อันไหน ตัวชี้วัดไหนที่เป็นตัวชี้วัดงานประจำ เมื่อเป็นเช่นนี้องค์กรนั้นอาจมีตัวชี้วัดมากมาย แถมยังสามารถทำคะแนนได้สีเขียวทั้งหมดด้วย [หลอกตัวเองตั้งตัวชี้วัดง่าย ๆ] ดังนั้น การกำหนดตัวชี้วัดจะต้องมีความสอดคล้องกับเป้าประสงค์ ตั้งแต่ระดับองค์กรลงมาจนถึงระดับบุคคล และสามารถแสดงให้เห็นถึงความเชื่อมโยงอย่างเป็นเหตุเป็นผลกันในแต่ละเป้าประสงค์ให้ได้ด้วย และบุคคลทั่วทั้งองค์กรต้องมีความเข้าใจที่ตรงกันมีความรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งร่วมกันจึงจะสามารถบรรลุวิสัยทัศน์ที่ตั้งใว้ได้อย่างแท้จริง

75 อำนาจหน้าที่ของสำนักกำกับและอนุรักษ์พลังงาน
กำหนดมาตรการและแผนงานการอนุรักษ์พลังงานในโรงงานและอาคารควบคุม กำกับดูแลการอนุรักษ์พลังงานและการผลิตพลังงานควบคุมตามที่กฎหมายกำหนด ให้คำปรึกษาแนะนำทางวิชาการอนุรักษ์พลังงานในอาคารและโรงงานควบคุม บริหารจัดการและสนับสนุนทางการเงินเพื่อดำเนินการนุรักษ์พลังงานตามที่กฎหมายกำหนด ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย ประสิทธิผล ตามยุทธศาตร์ 1.เพื่อให้การใช้พลังงาน เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ คุณภาพ การให้บริการ 2.ความพึงพอใจของกลุ่มเป้าหมาย ที่มีต่อการให้บริการของ สกอ. 3.กลุ่มเป้าหมายและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้ามามีส่วนร่วม ในการกำหนดแนวทางการลดต้นทุนการใช้พลังงาน 4.การรักษามาตรฐาน ระยะเวลาการให้บริการ 5.การกำกับดูแลและอนุรักษ์ พลังงานตามที่กฎหมายกำหนด 6. การถ่ายทอดและเผยแพร่องค์ความรู้และสร้าง ความเข้าใจในแนวทางปฏิบัติเพื่อการอนุรักษ์พลังงาน ประสิทธิภาพของ การปฏิบัติราชการ 7.การส่งเสริมและสนับสนุน การอนุรักษ์พลังงานในกลุ่มเป้าหมาย การพัฒนา องค์กร 8.การบริหารจัดการองค์กร 9.การพัฒนาระบบบริหาร จัดการความรู้ในหน่วยงาน 10.เพิ่มทักษะความรู้ความสามารถ ให้แก่บุคลากรในหน่วยงาน

76 กลุ่มกำกับการอนุรักษ์พลังงาน 1
1. กำกับดูแลให้คำปรึกษาแก่อาคารควบคุมตาม พรบ.ฯ ดำเนินกิจกรรมตามที่กฎหมายกำหนด ได้แก่ การจัดทำรายงานการจัดการพลังงาน การจัดให้มี ผชอ. 2. ตรวจสอบการเป็น ผชอ. 3. ตรวจสอบรายงานการจัดการพลังงานของอาคารควบคุม 4. การจัดทำ feedback report ให้แก่อาคารควบคุม 5. จัดให้มีการขึ้นทะเบียนผู้ตรวจสอบพลังงานฯ 6. ตรวจสอบการรับรองการจัดการพลังงานฯ 7. ส่งเสริม สนับสนุน ให้อาคารหรือส่วนของอาคารที่ออกแบบก่อสร้างใหม่ ออกแบบให้เป็นไปตามมาตรฐาน 8. ส่งเสริม สนับสนุน มาตรการทางการเงินและการคลังแก่อาคารควบคุมในการดำเนินกิจกรรมอนุรักษ์พลังงาน กลุ่มกำกับการอนุรักษ์พลังงาน 2 1. กำกับดูแลให้คำปรึกษาแก่โรงงานควบคุมตาม พรบ.ฯ ดำเนินกิจกรรมตามที่กฎหมายกำหนด ได้แก่ การจัดทำรายงานการจัดการพลังงาน การจัดให้มี ผชร. 2. ตรวจสอบการเป็น ผชร. 3. ตรวจสอบรายงานการจัดการพลังงานของโรงงานควบคุม 4. การจัดทำ feedback report ให้แก่โรงงานควบคุม 5. จัดให้มีการขึ้นทะเบียนผู้ตรวจสอบพลังงานฯ 6. ตรวจสอบการรับรองการจัดการพลังงานฯ 7. ส่งเสริม สนับสนุน มาตรการทางการเงินและการคลังแก่อาคารควบคุมในการดำเนินกิจกรรมอนุรักษ์พลังงาน กลุ่มวิชาการและส่งเสริมประสิทธิภาพ 1. ศึกษา วิเคราะห์ และติดตามเทคโนโลยีการอนุรักษ์พลังงาน รวมถึงประสิทธิภาพการใช้พลังงานของโรงงานอุตสาหกรรมและอาคารธุรกิจประเภทต่าง ๆ ให้เป็นที่แพร่หลายและดำเนินการส่งเสริมให้เกิดการใช้งานในเทคโนโลยีเหล่านั้น 2. เป็นศูนย์กลางในการรวบรวมข้อมูลและองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับการอนุรักษ์พลังงาน 3. วิเคราะห์และพัฒนาระบบการจัดทำ feedback report 4. จัดทำรายงานสรุปสถานภาพการใช้พลังงานของโรงงานและอาคารควบคุม และรายงานสรุปผลการดำเนินงานด้านอนุรักษ์พลังงานของ พพ. 5. เสนอแนะและให้คำปรึกษาด้านวิชาการเกี่ยวกับการอนุรักษ์พลังงาน 6. พัฒนาคู่มือองค์ความรู้และเอกสารเผยแพร่ด้านวิชาการ ที่เกี่ยวกับการอนุรักษ์พลังงาน 7. ให้ความร่วมมือในโครงการความร่วมมือด้านพลังงานกับหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งในและต่างประเทศ ในลักษณะของการเสนอแนะให้ข้อคิดเห็น การร่วมประชุมและการดำเนินการในกิจกรรมต่าง ๆ ร่วมกันโดยประสานงานกับหน่วยงานอื่น ๆ ของ พพ. ที่เกี่ยวข้อง 8. ตรวจวินิจฉัยการเป็น/การยกเลิกเป็นอาคาร/โรงงานควบคุม และแจ้งหน้าที่สิทธิ์ที่ได้รับตามกฎหมาย รวมทั้งพิจารณาการขอผ่อนผันการปฏิบัติตามกฎหมายฯ 9. ทำหน้าที่สนับสนุนหน่วยลูกค้าสัมพันธ์ 10. ทำหน้าที่เป็นหน่วยงานกลางของศูนย์ปรึกษาการประหยัดพลังงานภายใต้ความร่วมมือด้านพลังงานระหว่างภาครัฐและเอกชน 11. ปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย กลุ่มพลังงานควบคุม พิจารณาตรวจสอบ และออกใบอนุญาตผลิตหรือขยายการผลิตพลังงานควบคุม โดยปฏิบัติหน้าที่ตาม พรบ.การพัฒนาและส่งเสริมพลังงาน 2535 ฝ่ายบริหารงานทั่วไป ปฏิบัติงานด้านธุรการ การเจ้าหน้าที่ งบประมาณ บัญชีและพัสดุ จัดและประสานงานการประชุม สัมมนา อบรม ศึกษา ดูงาน ฯลฯ ตลอดจนประสานงานจัดทำแผนการปฏิบัติงานและระบบการบริหารงานของสำนักฯ จัดทำสถิติและทะเบียน รวมทั้งงานอื่น ๆ ที่มิได้เป็นหน้าที่ของส่วนใดโดยเฉพาะ

77 ตารางแสดงความรับผิดชอบ O/S เป้าประสงค์ ตัวชี้วัด เป้าหมาย บท อพ1 อพ2
พค วช 1. เพื่อให้การใช้พลังงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ สกอ ปริมาณพลังงานที่ประหยัดได้ 100 ktoe S O สกอ ร้อยละของจำนวนอาคาร/โรงงานควบคุมที่ปฏิบัติตามกฎหมาย ร้อยละ 70 2. ความพึงพอใจของกลุ่มเป้าหมายที่มีต่อการให้บริการของ สกอ. สกอ ร้อยละของระดับความพึงพอใจของการให้บริการของ สกอ. สกอ ร้อยละของระดับความพึงพอใจของการ ให้บริการของฝ่ายบริหารงานทั่วไป 3. กลุ่มเป้าหมายและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้ามามีส่วนร่วมในการกำหนดแนวทางการลดต้นทุนการใช้พลังงาน สกอ ร้อยละเฉลี่ยของผู้ที่เกี่ยวข้องเข้ามามีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็น ข้อเสนอแนะในโครงการต่าง ๆ สกอ จำนวนครั้งของกลุ่มเป้าหมายได้รับทราบ หรือมีโอกาสหรือแสดงข้อคิดเห็นในการดำเนินโครงการส่งเสริมและสนับสนุน 10 ครั้ง/ปี สกอ จำนวนหน่วยงานที่เข้าร่วมเครือข่ายดำเนินการอนุรักษ์พลังงาน 1 หน่วยงาน 4. การรักษามาตรฐานระยะเวลาการให้บริการ สกอ ระดับความสำเร็จของร้อยละเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักในการรักษามาตรฐานระยะเวลาการให้บริการ ระดับ 5 5. การกำกับดูแลและอนุรักษ์พลังงานตามที่กฎหมายกำหนด สกอ ร้อยละของผู้เข้ารับการสัมมนาสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ พ.ร.บ. และกฎหมายด้านอนุรักษ์พลังงานที่ปรับปรุงใหม่มีความรู้ความเข้าใจผ่านเกณฑ์ที่กำหนด สกอ จำนวนผู้ได้รับพิจารณาในการอนุญาตผลิตพลังงานควบคุม 60 แห่ง 6. การถ่ายทอดและเผยแพร่องค์ความรู้และสร้างความเข้าใจในแนวทางปฏิบัติเพื่อการอนุรักษ์พลังงาน สกอ จำนวนครั้งที่มีการให้บริการด้านวิชาการในรูปแบบต่าง ๆ แก่กลุ่มเป้าหมาย 300 ครั้ง

78 ตารางแสดงความรับผิดชอบ O/S เป้าประสงค์ ตัวชี้วัด เป้าหมาย บท อพ1 อพ2
พค วช 7. การส่งเสริมและสนับสนุนการอนุรักษ์พลังงานในกลุ่มเป้าหมาย สกอ ระดับความสำเร็จของการปรับปรุงกระบวนงานจัดทำ Feedback Report ระดับ 5 S O สกอ ระดับความสำเร็จของการดำเนินโครงการส่งเสริมและกำกับดูแลอาคารควบคุมภาครัฐ สกอ ระดับของความสำเร็จของการดำเนินโครงการอนุรักษ์พลังงานในกระบวนการผลิต สกอ ระดับของความสำเร็จของการดำเนินโครงการส่งเสริมและกำกับการอนุรักษ์พลังงานในอาคารที่จะก่อสร้างหรือดัดแปลง (Building Code) 8. การบริหารจัดการองค์กร สกอ ระดับความสำเร็จของการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ 9. การพัฒนาระบบบริหารจัดการความรู้ในหน่วยงาน สกอ จำนวนครั้งในการจัดกิจกรรม KM 5 ครั้ง สกอ จำนวนนวัตกรรมการจัดการความรู้ 2 เรื่อง สกอ จำนวนข้อมูลที่จัดส่งให้ศูนย์สารสนเทศฯ 10. เพิ่มทักษะความรู้ความสามารถให้แก่บุคลากรในหน่วยงาน สกอ จำนวนครั้งที่ได้รับการพัฒนาเฉลี่ยต่อคนต่อปี 1 ครั้ง/คน/ปี หมายเหตุ : สกอ = (ผกอ.ตัวชี้วัดที่ 1) สกอ = (ผอพ1.ตัวชี้วัดที่ 2) สกอ = (ผอพ2.ตัวชี้วัดที่ 4) สกอ = (ผวช.ตัวชี้วัดที่ 5) สกอ = (คุณสุกัญญา.ตัวชี้วัดที่ 5) สกอ = (คุณสาร์รัฐ.ตัวชี้วัดที่ 5) สกอ = (ผพค.ตัวชี้วัดที่ 6) สกอ = (หบท.ตัวชี้วัดที่ 7) สกอ = (คุณเบญจา.ตัวชี้วัดที่ 3) สกอ = (คุณภาสกร.ตัวชี้วัดที่ 3)

79 ผกอ. หบท. ตัวชี้วัด ผู้ปฏิบัติ 1 ผู้ปฏิบัติ 2
ปริมาณพลังงานทีประหยัดได้ ร้อยละของการนำเรื่องเสนอ ผกอ. ภายในเวลาที่กำหนด ร้อยละของการแจ้งให้คณะทำงาน PMQA เข้าร่วมประชุมได้ทันเวลา จำนวนแบบสอบถามวัดระดับ ความพึงพอใจที่ผลิตได้ จำนวนครั้งที่ได้แจ้งให้อาคาร/ โรงงานต้องปฏิบัติตามกฎหมาย จำนวนครั้งในการติดต่อประสานงาน อาคาร/โรงงานแทน อพ1. อพ2. จำนวนหนังสือเชิญเข้าร่วมสัมมนาที่ ส่งไปยังอาคาร/โรงงานควบคุม จำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรม KM ระดับความสำเร็จของการดำเนินการ ตามแผนการจัดทำนวัตกรรม สกอ. จำนวนข้อมูลที่รวบรวมได้และสามารถ ส่งข้อมูลให้ศูนย์ฯ ได้สำเร็จ โรงงานปฏิบัติตามกฎหมาย ร้อยละของจำนวนอาคาร/โรงงาน ควบคุมที่ปฏิบัติตามกฎหมาย ร้อยละของระดับความพึงพอใจ ของการให้บริการของ สกอ. ผู้ปฏิบัติ 1 ร้อยละของระดับความพึงพอใจ ของการให้บริการของฝ่าย บท. ร้อยละของระดับความพึงพอใจ ของการให้บริการของฝ่าย บท. ระดับความสำเร็จในการจัดทำ ระบบวัดความพึงพอใจของ บท. ร้อยละของผู้เข้ารับการสัมมนาสร้าง ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ พ.ร.บ. และกฎหมายด้านอนุรักษ์พลังงานที่ ปรับปรุงใหม่มีความรู้ความเข้าใจ ผ่านเกณฑ์ที่กำหนด จำนวนผู้ได้รับพิจารณาในการ อนุญาตผลิตพลังงานควบคุม ระดับความสำเร็จของการพัฒนา คุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ ผู้ปฏิบัติ 2 จำนวนครั้งในการจัดกิจกรรม KM จำนวนนวัตกรรมการจัดการความรู้ จำนวนข้อมูลที่จัดส่งให้ศูนย์สารสนเทศ จำนวนครั้งที่ได้รับการพัฒนา/คน/ปี จำนวนครั้งที่ได้รับการพัฒนา/คน/ปี จำนวนครั้งที่ได้รับการพัฒนา/คน/ปี ร้อยละของจำนวนงานที่ได้รับ มอบหมายพิเศษที่สามารถทำได้สำเร็จ

80 Strategy Map ฝ่ายบริหารงานทั่วไป
เป้าประสงค์ที่สนับสนุนสำนัก เป้าประสงค์ตามบทบาทหน้าที่ของฝ่าย ประสิทธิผล ตามยุทธศาตร์ 1. กลุ่มเป้าหมายมีความพึงพอใจ ต่อการให้บริการของสำนัก บท. คุณภาพ การให้บริการ 2.ควบคุมดูแลการปฏิบัติงาน งบประมาณ งานการเงิน และบัญชี 3.งานแผนงาน และโครงการต่าง ๆ ประสิทธิภาพของ การปฏิบัติราชการ 4.รักษาระยะเวลา การปฏิบัติงาน 5.ลดความผิดพลาด ในการดำเนินงาน 6.มีมาตรการการ ประหยัดพลังงาน 7.เพิ่มทักษะความรู้ความสามารถ ให้แก่บุคลากรในหน่วยงาน การพัฒนา องค์กร

81 ผกอ. หบท. ตัวชี้วัด ผู้ปฏิบัติ 1 ผู้ปฏิบัติ 2
ร้อยละของระดับความพึงพอใจ ของการให้บริการของฝ่าย บท. ร้อยละของระดับความพึงพอใจ ของการให้บริการของฝ่าย บท. ระดับความสำเร็จในการจัดทำ ระบบวัดความพึงพอใจของ บท. ระดับความสำเร็จในการจัดทำระบบ จัดเก็บข้อมูลPMQA ทั้ง 6 หมวด ระดับความสำเร็จของการพัฒนา คุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ ร้อยละความสำเร็จของการดำเนิน โครงการเทียบกับแผนที่วางไว้ ร้อยละของเอกสาร [รายงานงบประมาณประจำเดือน] ที่จัดทำภายในเวลาที่กำหนด ร้อยละของการเบิกจ่ายงบประมาณ ภายในเวลาที่กำหนด เวลาเฉลี่ยในการให้บริการ ในกระบวนการหลัก ในกระบวนการรับ - ส่งเอกสาร เวลาเฉลี่ยในการให้บริการใน กระบวนการตรวจสอบแผนงบประมาณ ร้อยละของการจัดซื้อจัดจ้าง เทียบกับแผนงบลงทุน ร้อยละของมาตรการในการประหยัด พลังงานที่ทำได้สำเร็จ ผู้ปฏิบัติ 1 ระดับความสำเร็จในการจัดทำระบบ ข้อมูลครุภัณฑ์ของ สกอ. จำนวนความผิดพลาดที่เกิดขึ้น จากการดำเนินงาน ผู้ปฏิบัติ 2 จำนวนครั้งที่ได้รับการพัฒนา/คน/ปี จำนวนครั้งที่ได้รับการพัฒนา/คน/ปี ระดับความสำเร็จของการดำเนินการ ตามแผนการจัดทำนวัตกรรมฯ สกอ. จำนวนนวัตกรรมการจัดการความรู้ ร้อยละของจำนวนงานที่ได้รับ มอบหมายพิเศษที่สามารถทำได้สำเร็จ จำนวนครั้งที่ได้รับการพัฒนา/คน/ปี

82 ลงนามคำรองการปฏิบัติราชการระดับองค์กร
การกำหนดตัวชี้วัด และค่าเป้าหมายนี้ เป็นเครื่องมือ ในการบริหารงานของส่วนราชการและผู้บังคับบัญชา (หรือผู้ประเมิน) ดังนั้น ผู้บังคับบัญชาพึงเข้ามีส่วนร่วมในกระบวนการกำหนดตัวชี้วัด ซึ่งมักใช้วิธีการประชุมเชิงปฏิบัติการทุกครั้ง เพื่อที่จะได้กำหนดทิศทาง เป้าหมาย ตลอดจนมอบหมายนโยบาย และแนวทางต่าง ๆ ให้ผู้ปฏิบัติต่าง ๆ เข้าใจอย่างถ่องแท้ ที่มา : คู่มือการประเมินผลการปฏิบัติราชการ (สำนักงาน ก.พ. : 2551)

83

84

85 นถถิ ปัญญา สมา อาภา แสงสว่างเสมอด้วยปัญญาไม่มี .

86 ขั้นตอนต่อไป : การจัดทำรายละเอียดตัวชี้วัดสำหรับทุกตัวชี้วัด
เพื่อเป็นการยืนยันร่วมกันในความหมายของตัวชี้วัด รวมถึงเพื่อเป็นคู่มือสำหรับแสดงรายละเอียดของตัวชี้วัดแต่ละตัวให้ชัดเจน รายการ คำอธิบาย ความหมายของตัวชี้วัด คำอธิบาย คำวินิจฉัย และคำจำกัดความที่จำเป็นเพื่อให้เกิดความเข้าใจ ตัวชี้วัดที่ตรงกัน หากตัวชี้วัดดังกล่าวมีผู้รับผิดชอบหลายคน และแต่ละคนมีรายละเอียดของตัวชี้วัดที่ ต่างกัน ให้แยกแสดงรายละเอียดของแต่ละคนให้ชัดเจน เป้าประสงค์ เป็นสิ่งที่องค์กรมุ่งหวังหรือต้องการที่จะบรรลุในด้านต่าง ๆ โดยต้องสอดคล้องกับประเด็น ยุทธศาสตร์ที่กำหนดไว้ สูตรในการคำนวณ วิธีการคำนวณอย่างคร่าวๆ ของตัวชี้วัดดังกล่าว ซึ่งควรระบุเป็นสูตรทางคณิตศาสตร์ เช่น (X/Y) x 100, X-Y หน่วยวัด มาตราที่ใช้วัดผล เช่น ร้อยละ, บาท, คน, ครั้ง หรือมาตราส่วนผสม เช่น บาทต่อคน ตามแต่ลักษณะของตัวชี้วัด ความถี่ในการเก็บข้อมูลและรายงาน รอบระยะเวลาที่ใช้นำเสนอข้อมูลต่อครั้ง เช่น วัน, สัปดาห์, เดือน, ไตรมาส, ปี กระบวนการจัดเก็บข้อมูล กระบวนการในการจัดเก็บข้อมูลอย่างคร่าวๆ ช่วยแสดงให้เห็นว่าตัวชี้วัดนั้นมีแหล่งที่มา จากที่ไหน และถูกรวบรวมอย่างไรบ้าง หน่วยงานที่จัดเก็บข้อมูล ผู้เก็บรวบรวมข้อมูลตัวชี้วัด เพื่อให้ผู้กรอกแบบฟอร์มการเก็บข้อมูลมาขอรับข้อมูลไป กรอกในแบบฟอร์มการเก็บข้อมูลที่รับผิดชอบ ผู้ตั้งเป้าหมาย ผู้ที่กำหนดเป้าหมายว่าตัวชี้วัดควรมีค่าเป้าหมายเท่าใด เมื่อได้ดำเนินการเสร็จสิ้นไปแล้ว รอบระยะเวลาหนึ่ง หน่วยงานที่รับผิดชอบ ผู้ที่ดำเนินงานหรือมีความรับผิดชอบหลักต่อการบรรลุเป้าหมายดังกล่าว (ไม่ใช่ผู้ที่เก็บข้อมูล แต่อาจเป็นคนเดียวกันได้) ข้อมูลปีฐาน ข้อมูลในอดีต ซึ่งได้มีการเก็บรวบรวมไว้ เป้าหมาย เป้าหมายตามที่ผู้ตั้งเป้าหมายได้กำหนดไว้ (หากตัวชี้วัดดังกล่าวมีผู้รับผิดชอบหลายคน และแต่ละคนมีเป้าหมายต่างกัน ให้แยกแสดงเป้าหมายของแต่ละคนให้ชัดเจน)

87 ตัวอย่าง ตัวชี้วัดที่ 4.1 ร้อยละของปริมาณเชื้อเพลิงที่ประหยัดได้
ตัวชี้วัดที่ 4.1 ร้อยละของปริมาณเชื้อเพลิงที่ประหยัดได้ ความหมายของตัวชี้วัด พิจารณาจากความครบถ้วนของข้อมูลปริมาณการใช้พลังงานไฟฟ้า (kWh) และข้อมูล ปริมาณการใช้น้ำมันเชื้อเพลิง (ลิตร) ข้อมูลพื้นฐานสำหรับการจัดทำดัชนีการใช้พลังงาน เช่น กระบวนการเลี้ยงสัตว์/ปลูกผัก กระบวนการผลิต โลจีสติกส์ เป็นต้น และพิจารณา ปริมาณพลังงานที่แต่ละกองใช้จริง โดยเปรียบเทียบกับปริมาณพลังงานมาตรฐาน ที่ หน่วยงานควรจะใช้อย่างเหมาะสมตามปัจจัยที่มีผลต่อการใช้พลังงานของหน่วยงาน โดยใช้ข้อมูลตามที่รายงานและจัดเก็บในฐานข้อมูลของสำนักงานผลิตอาหารแห่งชาติ เป้าประสงค์ การลดต้นทุนการผลิต สูตรในการคำนวณ ผลรวมร้อยละของปริมาณเชื้อเพลิงที่ประหยัดได้ของกองผลิตอาหาร (เนื้อ), กองผลิตอาหาร (ผัก/ผลไม้) และกองขนส่ง / จำนวนกองที่เกี่ยวข้อง หน่วยวัด ร้อยละ ความถี่ในการเก็บข้อมูลและรายงาน ทุก 3 เดือน กระบวนการจัดเก็บข้อมูล กองผลิตอาหาร (เนื้อ), กองผลิตอาหาร (ผัก/ผลไม้) และกองขนส่ง ส่งรายงานให้กอง บริหารเป็นผู้คำนวณและจัดเก็บข้อมูล หน่วยงานที่จัดเก็บข้อมูล กองบริหาร ผู้ตั้งเป้าหมาย ผู้อำนวยการสำนักงานผลิตอาหารแห่งชาติ หน่วยงานที่รับผิดชอบ กองผลิตอาหาร (เนื้อ), กองผลิตอาหาร (ผัก/ผลไม้) และกองขนส่ง ข้อมูลปีฐาน ร้อยละ 13 เป้าหมาย ร้อยละ 15

88 ตัวอย่าง ตัวชี้วัดที่ น1.4 ร้อยละของปริมาณเชื้อเพลิงที่ประหยัดได้
ตัวชี้วัดที่ น1.4 ร้อยละของปริมาณเชื้อเพลิงที่ประหยัดได้ ความหมายของตัวชี้วัด พิจารณาจากความครบถ้วนของข้อมูลปริมาณการใช้พลังงานไฟฟ้า (kWh) และข้อมูล ปริมาณการใช้น้ำมันเชื้อเพลิง (ลิตร) ของการปรับปรุงกระบวนการเลี้ยงสุกร วัว และปลา โดยเปรียบเทียบกับปริมาณพลังงานมาตรฐาน ที่กองผลผลิตอาหาร (เนื้อ) ควรจะใช้ อย่างเหมาะสมตามปัจจัยที่มีผลต่อการใช้พลังงานของกอง โดยใช้ข้อมูลตามที่รายงาน และจัดเก็บในฐานข้อมูลของสำนักงานผลิตอาหารแห่งชาติ เป้าประสงค์ การลดต้นทุนการผลิต สูตรในการคำนวณ [(ปริมาณการใช้พลังงานไฟฟ้าในกระบวนการเลี้ยงสุกร วัว และปลา / ปริมาณการใช้พลังงานมาตรฐาน) x 100 – (ปริมาณการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงในกระบวนการเลี้ยงสุกร วัว และปลา / ปริมาณการใช้พลังงานมาตรฐาน) x 100 – 100] / 2 หน่วยวัด ร้อยละ ความถี่ในการเก็บข้อมูลและรายงาน ทุก 3 เดือน กระบวนการจัดเก็บข้อมูล ทิด A ทิด B ทิด C และทิด D นำสำเนาบิลค่าไฟฟ้าและสำเนาการซื้อน้ำมันเชื้อเพลิง ส่งให้ฝ่ายบริหารงานทั่วไปของกองเป็นผู้คำนวณและจัดเก็บข้อมูล หน่วยงานที่จัดเก็บข้อมูล ฝ่ายบริหารงานทั่วไปของกองผลิตอาหาร (เนื้อ) ผู้ตั้งเป้าหมาย หัวหน้ากองผลิตอาหาร (เนื้อ) หน่วยงานที่รับผิดชอบ กองผลิตอาหาร (เนื้อ) [กรณี : เป็นตัวชี้วัดบุคคลจะต้องระบุทิด A ทิด B ทิด C หรือทิด D] ข้อมูลปีฐาน ร้อยละ 14 เป้าหมาย ร้อยละ 15

89 ตัวอย่างที่ 1 ตัวอย่างที่ 2
ขั้นตอนต่อไป : จัดทำแบบฟอร์มการเก็บข้อมูลตัวชี้วัดสำหรับแต่ละตัวชี้วัด โดยตัวชี้วัดที่มีผู้รับผิดชอบหลายคน จะมีแบบฟอร์มการเก็บข้อมูลตัวชี้วัดผลการดำเนินงานเพียงชุดเดียว เฉพาะผู้ที่รับผิดชอบในระดับล่างสุด เมื่อผู้ที่รับผิดชอบในระดับล่างสุดกรอกข้อมูลใส่ ข้อมูลการดำเนินงานตามตัวชี้วัดดังกล่าวจะปรากฏผลกับผู้รับผิดชอบตัวชี้วัดดังกล่าวทุกท่านเหมือนกัน แนวทางการจัดทำแบบฟอร์มการเก็บข้อมูลตัวชี้วัดผลการดำเนินงานดังกล่าวช่วยให้ข้อมูลมีความถูกต้องตรงกัน ตัวอย่างที่ 1 ตัวอย่างที่ 2 ตัวชี้วัดที่ 2.1 ร้อยละของระดับความพึงพอใจของผู้บริโภค ตัวชี้วัดที่ 1.1 ปริมาณการผลิตอาหารประเภทเนื้อ ผอ.สำนักงานผลิตอาหารแห่งชาติ ตัวชี้วัดที่ ข1.1 ร้อยละของระดับความพึงพอใจของลูกค้า ตัวชี้วัดที่ น1.1 ปริมาณการผลิตอาหารประเภทเนื้อ ผอ.กองขนส่ง ผอ.กองผลิตอาหาร (เนื้อ) ตัวชี้วัดที่ ข2.1 ร้อยละของระดับความพึงพอใจการให้บริการของศูนย์จำหน่ายผลผลิตประเภทเนื้อ (shop z) ตัวชี้วัดที่ น2.1 ปริมาณการผลิตอาหารประเภทเนื้อสุกร แบบฟอร์มเก็บข้อมูลตัวชี้วัด ทิด A (นวช.เกษตร) แบบฟอร์มเก็บข้อมูลตัวชี้วัด บุญหนึ่ง (พนักงานขาย) ตัวชี้วัดที่ น3.1 ปริมาณการผลิตอาหารประเภทเนื้อวัว แบบฟอร์มเก็บข้อมูลตัวชี้วัด ตัวชี้วัดที่ ข3.1 ร้อยละของระดับความพึงพอใจการให้บริการของศูนย์จำหน่ายผลผลิตประเภทผัก/ผลไม้ (shop o) ทิด B (นวช.เกษตร) ตัวชี้วัดที่ น2.1 ปริมาณการผลิตอาหารประเภทเนื้อปลา แบบฟอร์มเก็บข้อมูลตัวชี้วัด ทิด C (นวช.เกษตร) บุญสอง (พนักงานขาย)

90 ตัวอย่าง ตัวชี้วัดที่ ข2.1 ร้อยละของระดับความพึงพอใจการให้บริการของศูนย์จำหน่ายผลผลิตประเภทเนื้อ (shop z) ตัวชี้วัดที่ ข3.1 ร้อยละของระดับความพึงพอใจการให้บริการของศูนย์จำหน่ายผลผลิตประเภทผัก/ผลไม้ (shop o) ความหมายของตัวชี้วัด พิจารณาจากระดับความพึงพอใจของลูกค้าที่มาใช้บริการศูนย์จำหน่ายผลผลิต ประเภทเนื้อ (shop z) และศูนย์จำหน่ายผลผลิตประเภทผัก/ผลไม้ (shop o) เป้าประสงค์ ความพึงพอใจของผู้บริโภค กระบวนการจัดเก็บข้อมูล บุญหนึ่งและบุญสอง นำแบบสอบถามความพึงพอใจ ส่งให้ฝ่ายบริหารงานทั่วไป ของกองเป็นผู้คำนวณและจัดเก็บข้อมูล หน่วยงานที่จัดเก็บข้อมูล ฝ่ายบริหารงานทั่วไปของกองขนส่ง หน่วยงานที่รับผิดชอบ กองขนส่ง / บุญหนึ่ง / บุญสอง เดือน (A) ผลรวมค่าคะแนนความพึงพอใจในรูป ของร้อยละจากผู้ตอบแบบสอบถาม (B) จำนวนผู้ตอบ แบบสอบถามทั้งหมด (A / B) หมายเหตุ ต.ค. – ธ.ค. 7,000 100 70 ม.ค. – มี.ค. 9,000 90 เม.ย.– มิ.ย. ก.ค. – ก.ย. 8,000 80 77.50

91 ปริมาณการผลิตอาหารประเภทเนื้อสุกร (ตัน)
ตัวอย่าง ตัวชี้วัดที่ น2.1 ปริมาณการผลิตอาหารประเภทเนื้อสุกร ความหมายของตัวชี้วัด พิจารณาจากปริมาณการผลิตอาหารประเภทเนื้อสุกรที่ผ่านกระบวนการ แปรรูปแล้ว เป้าประสงค์ ผลิตอาหารเพียงพอต่อความต้องการของผู้บริโภค กระบวนการจัดเก็บข้อมูล ทิด A เก็บข้อมูลปริมาณการผลิตที่ผลิตได้ในแต่ละเดือน ส่งให้ฝ่าย บริหารงานทั่วไปของกองเป็นผู้จัดเก็บข้อมูล หน่วยงานที่จัดเก็บข้อมูล ฝ่ายบริหารงานทั่วไปของกองผลิตอาหาร (เนื้อ) หน่วยงานที่รับผิดชอบ กองผลิตอาหาร (เนื้อ) / ทิด A เดือน ปริมาณการผลิตอาหารประเภทเนื้อสุกร (ตัน) หมายเหตุ ตุลาคม 10 พฤศจิกายน 5 ธันวาคม มกราคม กุมภาพันธ์ มีนาคม เมษายน พฤษภาคม มิถุนายน กรกฎาคม สิงหาคม กันยายน 75

92 ขั้นตอนต่อไป : การแสดงผลการดำเนินงาน
เป็นการแสดงผลการดำเนินงานตามช่วงเวลาที่ได้กำหนดไว้อย่างชัดเจน เช่น ทุกเดือน หรือทุก 3 เดือน โดยผลการดำเนินงานในช่วงเวลาปัจจุบันเป็นการแสดงผลการดำเนินงานรวมตั้งแต่ต้นปีงบประมาณ และตัวชี้วัดที่ไม่สามารถแสดงผลได้ในช่วงเวลาที่กำหนด เนื่องจากมีระยะเวลาในการเก็บข้อมูลยาวนานกว่าระยะเวลาในการแสดงผลการดำเนินงาน ไม่ต้องแสดงผลการดำเนินงานในแบบฟอร์มแสดงผลการดำเนินงาน และให้เหตุผลที่ไม่สามารถแสดงผลการดำเนินงานของตัวชี้วัดดังกล่าวในช่องความเห็น/คำอธิบาย ทั้งนี้เพื่อให้การนำระบบประเมินผลมาใช้ในการบริหารได้อย่างมีประสิทธิภาพ แบบฟอร์มแสดงผลการดำเนินงานควรใช้ประกอบกับการวิเคราะห์ผลการดำเนินงาน (performance analysis) เพื่อให้ผู้ที่เกี่ยวข้องโดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้บังคับบัญชาได้ทราบถึงสาเหตุที่ผลการดำเนินงานสำเร็จหรือไม่สำเร็จนั้นมีที่มาที่ไปอย่างไร และอาจมีคำแนะนำ (recommendation) ในการดำเนินงานในอนาคตด้วย ผู้รับผิดชอบ : แสดงชื่อผู้รับผิดชอบผลการดำเนินงาน เป้าประสงค์ ตัวชี้วัด เป้าหมาย ข้อมูลปัจจุบัน หมายเหตุ ธ.ค.52 มี.ค.53 มิ.ย.53 ก.ย.53 เป็นสิ่งที่มุ่งหวังหรือ ต้องการที่จะบรรลุใน ด้านต่างๆ ตัวชี้วัดความก้าวหน้าของกาบรรลุ เป้าประสงค์ เป้าหมาย ตามที่ผู้ ตั้งเป้าหมา ยได้กำหนด ไว้ แสดงผล การ ดำเนินง านของ ช่วงต.ค ธ.ค. 48 แสดงผล การ ดำเนินง านของ ช่วงต.ค มี.ค. 49 แสดงผล การ ดำเนินง านของ ช่วงต.ค มิ.ย. 49 แสดงผล การ ดำเนินง านของ ช่วงต.ค ก.ย. 49 คำอธิบายผล การ ดำเนินงาน ของตัวชี้วัด / คำแนะนำ

93 ตัวอย่าง ผู้รับผิดชอบ : ทิด A เป้าประสงค์ ตัวชี้วัด เป้าหมาย
ข้อมูลปัจจุบัน หมายเหตุ ธ.ค.52 มี.ค.53 มิ.ย.53 ก.ย.53 ผลิตอาหารเพียงพอต่อ ความต้องการของ ผู้บริโภค น2.1 ปริมาณการผลิตอาหาร ประเภทเนื้อสุกร 20 ตัน 5 ตัน 10 ตัน 15 ตัน การรักษามาตรฐาน ฟาร์ม น2.2 ระดับมาตรฐานฟาร์มเลี้ยง สุกร ระดับ 5 5 การสำรวจตลาด ผู้บริโภค น2.3 จำนวนครั้งในการสำรวจ ความต้องการของผู้บริโภค 12 ครั้ง 3 6 9 12 ผู้รับผิดชอบ : ทิด C เป้าประสงค์ ตัวชี้วัด เป้าหมาย ข้อมูลปัจจุบัน หมายเหตุ ธ.ค.52 มี.ค.53 มิ.ย.53 ก.ย.53 ผลิตอาหารเพียงพอต่อ ความต้องการของ ผู้บริโภค น4.1 ปริมาณการผลิตอาหาร ประเภทเนื้อปลา 10 ตัน 2 ตัน 3 ตัน น้ำท่วม พื้นที่เลี้ยง ปลา การรักษามาตรฐานบ่อ เลี้ยงปลา น4.2 ระดับมาตรฐานฟาร์มเลี้ยง บ่อเลี้ยงปลา ระดับ 5 5 แปรรูปกระบวนการผลิต น4.3 ระดับความสำเร็จในการ แปรรูปผลผลิตตามแผนฯ 1 2 3 น4.4 ร้อยละของกระบวนการ แปรรูปที่ได้มาตรฐานสากล ร้อยละ 90 92 93 94 95 วิจัยเทคโนโลยีการ ผลิตที่ทันสมัย น4.5 ร้อยละของเอกสารการ วิจัยที่จัดทำสำเร็จภายในเวลา ร้อยละ 80 90 89 91

94 PowerPoint present จบการนำเสนอ


ดาวน์โหลด ppt adsffsdfsdfsdfdsfsdfsdfsdfsd

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google