งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

น้องเลี้ยง นางสาวปภานิจ สวงโท หน่วยงานสำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "น้องเลี้ยง นางสาวปภานิจ สวงโท หน่วยงานสำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 น้องเลี้ยง นางสาวปภานิจ สวงโท หน่วยงานสำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค
โครงการ พัฒนาความเข้มแข็งของระบบเฝ้าระวังในพื้นที่พักพิงตามแนวชายแดนไทย-พม่า น้องเลี้ยง นางสาวปภานิจ สวงโท หน่วยงานสำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค

2 ความเป็นมา บอกความสำคัญของปัญหา และ ความเกี่ยวข้องกับหน่วยงานที่ท่านสังกัด สำนักระบาดวิทยาได้ตั้งระบบเฝ้าระวังโรคติดต่อในศูนย์พักพิงตามแนวชายแดนไทย – พม่า ขึ้นตั้งแต่ปี ๒๕๔๕ แต่ยังไม่มีการพัฒนาระบบเฝ้าระวังให้มีความเข้มแข็งมากขึ้น มีโรคติดต่อร้ายแรง ที่มีโอกาสแพร่กระจายและก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพต่อประชาชนในประเทศไทยได้ จึงจำเป็นต้องพัฒนาความเข้มแข็งของระบบเฝ้าระวังดังกล่าว จำเป็นต้องบูรณาการการทำงานของหน่วยงาน ต่าง ๆ ที่รับผิดชอบด้านการเฝ้าระวังโรคติดต่อในศูนย์พักพิงตามแนวชายแดนให้สอดคล้องกัน

3 วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาระบบเฝ้าระวังโรคติดต่อในศูนย์พักพิงตามแนวชายแดนไทย-พม่า เพื่อทราบสถานการณ์และปัญหาของโรคติดต่อสำคัญในพื้นที่พักพิงตามแนวชายแดนไทย-พม่า เพื่อหาข้อเสนอแนะในการพัฒนาความเข้มแข็งของระบบเฝ้าระวังโรคติดต่อตามแนวชายแดนไทย - พม่า

4 วิธีการศึกษา (๑) รูปแบบการศึกษา การศึกษาเชิงพรรณนา (descriptive study)
ทบทวนระบบเฝ้าระวังโรคติดต่อตามแนวชายแดนไทย-พม่า รวบรวมรายงานการเฝ้าระวังและสอบสวนโรคจากศูนย์พักพิงตามแนวชายแดนไทย พม่า ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๔๘ – ๒๕๕๒ ศึกษาสถานการณ์โรคติดต่อในศูนย์พักพิงตามแนวชายแดนในประเทศไทย ข้อมูลจากระบบเฝ้าระวังของสำนักระบาดวิทยา ข้อมูล HIS system ของ CCSDPT (Committee for Coordination of Services to Displaced Persons in Thailand )

5 วิธีการศึกษา (๒) รูปแบบการศึกษา (ต่อ) ประชากรกลุ่มเป้าหมาย และจำนวน
ประสานงานร่วมกับองค์กรที่เกี่ยวข้องเพื่อบูรณาการระบบเฝ้าระวังในศูนย์พักพิงตามแนวชายแดนไทย-พม่า ร่วมกันหาข้อมูล อุปสรรค์ในการดำเนินการเฝ้าระวังโรค ฯ ร่วมกัน ประชากรกลุ่มเป้าหมาย และจำนวน เจ้าหน้าที่องค์กรต่าง ๆที่รับผิดชอบในศูนย์พักพิงที่เกี่ยวข้อง แห่งละ ๕ คน พื้นที่ศึกษา หรือดำเนินโครงการ ศูนย์พักพิงบ้านต้นยาง จ.กาญจนบุรี และบ้านใหม่ในสอย จ.แม่ฮ่องสอน

6 วิธีการศึกษา (๓) หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง แนวทางการวิเคราะห์ข้อมูล
หน่วยงาน NGOs ที่รับผิดชอบศูนย์พักพิงแต่ละแห่ง ศูนย์ความร่วมมือไทย-สหรัฐ ด้านสาธารณสุข (TUC ) CCSDPT (Committee for Coordination of Services to Displaced Persons in Thailand ) องค์การอนามัยโลก ประจำประเทศไทย แนวทางการวิเคราะห์ข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนา

7 ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
การนำผลไปใช้ประโยชน์ ได้รูปแบบระบบเฝ้าระวังโรคติดต่อตามแนวชายแดนที่มีความเข้มแข็ง ทราบสถานการณ์และปัญหาโรคติดต่อสำคัญตามแนวชายแดนไทย -พม่า และใช้ข้อมูลจากการเฝ้าระวังโรคในการวางแผนป้องกัน ควบคุมโรค บูรณาการระบบเฝ้าระวังโรคติดต่อตามแนวชายแดนกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

8 ระยะเวลาที่ศึกษา กิจกรรม ทบทวนเอกสาร
ธ.ค. ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. ทบทวนเอกสาร / ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อบูรณาการระบบเฝ้าระวัง รวบรวมข้อมูลสถานการณ์ต่าง ๆ ศึกษาระบบเฝ้าระวังฯ วิเคราะห์ข้อมูลการเฝ้าระวัง ฯ จัดทำรายงาน

9 งบประมาณและแหล่งทุน งบประมาณภายใต้โครงการนิเทศติดตามและประเมินผลภาพรวมของระบบเฝ้าระวัง กิจกรรม การบริหารจัดการ ควบคุมกำกับติดตาม ประเมินผลระบบเฝ้าระวังโรคติดต่อ กรมควบคุมโรค

10 ทีมงาน น้องเลี้ยงพี่เลี้ยงที่ปรึกษา
เจ้าหน้าที่กลุ่มงานระบาดวิทยาโรคติดต่อ สำนักระบาดวิทยา


ดาวน์โหลด ppt น้องเลี้ยง นางสาวปภานิจ สวงโท หน่วยงานสำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google