งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

ความสอดคล้องของผลทดสอบความไวต่อยาวัณโรคจากห้องปฏิบัติการระดับประเทศ 2 แห่ง (รายงานเบื้องต้น) อดุล เขียวเล็ก* แวฟาอูวยียะ ยามิน* เพชรวรรณ พึ่งรัศมี* ทวีพร.

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "ความสอดคล้องของผลทดสอบความไวต่อยาวัณโรคจากห้องปฏิบัติการระดับประเทศ 2 แห่ง (รายงานเบื้องต้น) อดุล เขียวเล็ก* แวฟาอูวยียะ ยามิน* เพชรวรรณ พึ่งรัศมี* ทวีพร."— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 ความสอดคล้องของผลทดสอบความไวต่อยาวัณโรคจากห้องปฏิบัติการระดับประเทศ 2 แห่ง (รายงานเบื้องต้น) อดุล เขียวเล็ก* แวฟาอูวยียะ ยามิน* เพชรวรรณ พึ่งรัศมี* ทวีพร บุญกิจเจริญ* อวยพร เพ็ชรบริสุทธิ์* มณฑา ยานะวิมุติ* *ศูนย์วัณโรคที่ 12 จังหวัดยะลา สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 12 จังหวัดสงขลา หลักการและเหตุผล แนวทางแห่งชาติสำหรับการรักษาวัณโรคดื้อยาหลายขนาน (1) แนะนำให้พิจารณาปรับเปลี่ยนระบบยารักษาผู้ป่วยวัณโรคดื้อยาหลายขนาน (Multidrug Resistance, MDR) ตามผลการทดสอบความไวต่อยา สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) (2) กำหนดเงื่อนไขในการสนับสนุนยารักษาวัณโรคดื้อยาหลายขนานและงบประมาณสำหรับบริหารจัดการให้กับโรงพยาบาลว่า ต้องมีผลทดสอบความไวต่อยายืนยันว่าดื้อต่อยา INH และ Rifampicin ประเทศไทยมีห้องปฏิบัติการที่สามารถทำการทดสอบความไวต่อยาวัณโรค น้อยกว่า 10 แห่ง โดยมี 2 แห่งซึ่งให้บริการกับหน่วยงานทั่วประเทศโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย คือ สำนักวัณโรค (Lab1) และภาควิชาจุลชีววิทยา คณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล (Lab2) ห้องปฏิบ้ติการ 2 แห่ง ใช้วิธีต่างกันในการทดสอบ โดย Lab1 ใช้วิธี Indirect susceptibility test, proportional method ตอบผลช้า (อย่างน้อย 3 เดือน ในขณะที่ Lab2 ใช้วิธี Direct susceptibility test ตอบผลเร็ว (ภายใน 1 เดือน) วัตถุประสงค์ เปรียบเทียบผลการทดสอบความไวต่อยาวัณโรคจากห้องปฏิบัติการระดับประเทศ 2 แห่ง วิธีการ ห้องปฏิบัติการของศูนย์วัณโรคที่ 12 ยะลา ส่งตัวอย่างเสมหะจากผู้ป่วยวัณโรคคนเดียวกันในวันเดียวกัน เพื่อทดสอบความไวต่อยาวัณโรค ณ ห้องปฏิบัติการระดับประเทศ 2 แห่ง เปรียบเทียบผลการทดสอบความไวต่อยาวัณโรคของผู้ป่วยที่มีผลจากห้องปฏิบัติการทั้ง 2 แห่ง ใส่ข้อมูล 2 ครั้ง โดยเจ้าหน้าที่ 2 คน และตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย EpiData 3.02 โอนข้อมูลโดย StatTranfer 8 วิเคราะห์ข้อมูลโดย STATA 9 ทดสอบความสอดคล้องของผลการทดสอบความไวต่อยา ด้วย kappa statistic ผลการศึกษา ระหว่างปี มีผู้ป่วยที่มีผลการทดสอบความไวต่อยาจากห้องปฏิบัติการระดับประเทศทั้ง 2 แห่ง จำนวน 81 ราย ความสอดคล้องของผลการทดสอบความไว-ดื้อต่อยา INH ระหว่างห้องปฏิบัติการ 2 แห่ง เท่ากับ 76.54% (kappa = , p = ) ดังตารางที่ 1 ความสอดคล้องของผลการทดสอบความไว-ดื้อต่อยา Rifampicin ระหว่างห้องปฏิบัติการ 2 แห่ง เท่ากับ 79.01% (kappa = , p = ) ดังตารางที่ 2 ความสอดคล้องของผลการทดสอบความไวต่อยา ว่า MDR หรือไม่ ระหว่างห้องปฏิบัติการ 2 แห่ง เท่ากับ 77.78% (kappa = , p = ) ดังตารางที่ 3 ตารางที่ 1 ความสอดคล้องของผลการทดสอบความไวต่อยา INH ผลการทดสอบของ Lab 1 ผลการทดสอบของ Lab 2 ไว ดื้อยา รวม ไว ดื้อยา รวม ตารางที่ 2 ความสอดคล้องของผลการทดสอบความไวต่อยา Rifampicin ผลการทดสอบของ Lab 1 ผลการทดสอบของ Lab 2 ไว ดื้อยา รวม ไว ดื้อยา รวม ตารางที่ 3 ความสอดคล้องของผลการทดสอบความไวต่อยาว่า MDR หรือไม่ ผลการทดสอบของ Lab 1 ผลการทดสอบของ Lab 2 ไม่ใช่ MDR MDR รวม ไม่ใช่ MDR MDR รวม สรุปและวิจารณ์ผล ผลการทดสอบความไวต่อยาวัณโรคของห้องปฏิบัติการ 2 แห่ง มีความสอดคล้องกันในระดับปานกลาง ความแตกต่างของผลการทดสอบความไวต่อยาระหว่างห้องปฏิบัติการเกิดขึ้นได้โดยเฉพาะเมื่อตัวอย่างเสมหะเป็นคนละตัวอย่าง แต่ในทางคลินิกผลการทดสอบที่ตรงกันข้ามกัน อาจทำให้ความสับสนในการตัดสินใจรักษาหรือการบริหารจัดการระบบบริการ ข้อเสนอแนะ ห้องปฏิบัติการวัณโรคระดับประเทศควรร่วมกันพัฒนาเกณฑ์การทดสอบความไวต่อยาวัณโรคสำหรับวิธีการทดสอบที่แตกต่างกันให้มีความสอดคล้องกันในระดับสูงสุด เอกสารอ้างอิง แนวทางแห่งชาติสำหรับการรักษาวัณโรคดื้อยาหลายขนาน สำนักวัณโรค กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข คู่มือแนวทางบริหารจัดการโรควัณโรคอย่างครบวงจรในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ปีงบประมาณ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ กระทรวงสาธารณสุข


ดาวน์โหลด ppt ความสอดคล้องของผลทดสอบความไวต่อยาวัณโรคจากห้องปฏิบัติการระดับประเทศ 2 แห่ง (รายงานเบื้องต้น) อดุล เขียวเล็ก* แวฟาอูวยียะ ยามิน* เพชรวรรณ พึ่งรัศมี* ทวีพร.

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google