งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

กลุ่มงานเภสัชกรรมและคุ้มครองผู้บริโภค

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "กลุ่มงานเภสัชกรรมและคุ้มครองผู้บริโภค"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 กลุ่มงานเภสัชกรรมและคุ้มครองผู้บริโภค
พัฒนาการที่ไม่หยุดนิ่ง ของระบบการจัดการยาเดิมเหลือใช้ในผู้ป่วยเบาหวาน ภญ.สมพญา ชัยภัทรกิจ กลุ่มงานเภสัชกรรมและคุ้มครองผู้บริโภค โรงพยาบาลลอง จ.แพร่ 1 พย. 2555

2 Contents 1 2 3 4 วัตถุประสงค์ วิธีดำเนินการ ผลการศึกษา
สรุปผลและข้อเสนอแนะ 4

3 บทนำ รพ.ลองดำเนินจัดการยาเหลือใช้ตั้งแต่ ปีงบประมาณ 2551 ระยะแรก « ประชาสัมพันธ์เสียงตามสายในรพ.และชุมชน ให้ประชาชน ผู้รับบริการนำยาที่ไม่ได้ใช้มาบริจาค และผู้ป่วยนำยาเหลือใช้กลับมาพบแพทย์ครั้งต่อไป « ยาที่ได้รับคืนถูกคัดแยก โดยยาที่ไม่หมดอายุ /ไม่เสื่อมสภาพจะนำมาหมุนเวียนใช้ภายในหน่วยงาน หรือ ส่งคืนหน่วยงานเดิม เช่น รพ.แพร่ ยาที่หมดอายุ / เสื่อมสภาพจะถูกทำลาย

4 บทนำ ผลการดำเนินงาน มูลค่าประหยัดค่าใช้จ่ายด้านยาเกิดขึ้นจากการนำยาเดิมมาหมุนเวียนใช้ จากระบบการจัดการยาเดิมทั้งสิ้น 25, บาท แบ่งเป็น ยาที่ใช้ในคลินิกเบาหวานและความดันโลหิตสูง 18, บาท ยาอื่นๆ 7, บาท

5 บทนำ ระยะที่สอง จากผลการดำเนินงานในระยะแรกยาที่ได้รับคืนส่วนใหญ่เป็นยาที่ใช้ในกลุ่มผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง จึงพัฒนาโดยจัดตั้งระบบการจัดการยาเดิมเชิงรุก ในคลินิกเบาหวานและความดันโลหิตสูง โดยความร่วมมือของ สหสาขาวิชาชีพ กระตุ้นให้ผู้ป่วยคลินิกเบาหวานและความดันโลหิตสูง นำยาเดิมที่เหลือจากการใช้ กลับมาด้วยทุกครั้งเมื่อมาพบแพทย์

6 บทนำ กลุ่มงานเภสัชกรรมฯคัดแยกยาที่ได้รับคืน พิจารณายานั้นควรนำมาเพื่อหมุนเวียนใช้ในหน่วยงาน หรือนำไปทำลาย มูลค่ายาเหลือใช้ที่นำมากลับหมุนเวียนใช้ที่เกิดจากการจัดตั้งระบบการจัดการยาเดิมเชิงรุก มูลค่ายาทั้งจากระบบการจัดการยาเดิมเชิงรับและเชิงรุก มีมูลค่ารวมทั้งสิ้น 134, บาท เฉลี่ยเดือนละ 9, บาท

7 บทนำ ระยะที่สาม ภายใต้ชื่อกิจกรรม การพัฒนาที่ไม่หยุดนิ่งของระบบการจัดการยาเดิมเหลือใช้ในผู้ป่วยโรคเบาหวาน รพ.ลอง เพื่อให้คงกิจกรรมการจัดการยาเดิมเหลือใช้และพัฒนาให้เกิดรูปแบบของการส่งเสริมให้เกิดความสอดคล้องต่อเนื่องในการรับยา ค้นหา แก้ไขและติดตามปัญหาเนื่องจากยาในผู้ป่วยเบาหวานที่มียาเดิมเหลือใช้

8 วัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาการจัดการยาเดิมเหลือใช้ในผู้ป่วยนอกคลินิกเบาหวาน โดยงานบริการและบริบาลเภสัชกรรมผู้ป่วยนอก รพ.ลอง

9 คำนิยามศัพท์เฉพาะ ยาเดิมเหลือใช้ หมายถึง ยาโรคเบาหวาน 4 ชนิดได้แก่ metformin glibenclamide glipizide และ human insulin 70:30 penfill ที่แพทย์มีการสั่งใช้ โดยเหลือใช้จากรพ.ลองหรือสถานบริการอื่น เช่น รพ.แพร่ และผู้ป่วยนำมาคืนที่ห้องยานอกทุกครั้งที่มารับบริการตามนัดของคลินิกโรคเบาหวาน

10 วิธีการดำเนินการ รูปแบบและขอบเขตการศึกษา Prospective descriptive study
ผู้ป่วยเบาหวานที่สมัครใจนำยาเดิมเหลือใช้มาด้วย เก็บข้อมูลตั้งแต่กุมภาพันธ์ กรกฎาคม 2555

11 วิธีการดำเนินการ(ต่อ)
ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ประชากร : ผู้ป่วยนอกคลินิกเบาหวานที่รับการรักษาที่ รพ.ลอง กลุ่มตัวอย่าง : ผู้ป่วยนอกคลินิกเบาหวานที่รับการรักษาที่ รพ.ลอง ที่มาพบแพทย์ตามนัดในช่วงเดือน กุมภาพันธ์ กรกฎาคม 2555 และ สมัครใจนำยาเดิมเหลือใช้มาด้วย

12 วิธีการดำเนินการ(ต่อ)
ขั้นตอนการดำเนินการ เภสัชกร/เจ้าพนักงานเภสัชกรรม รณรงค์ให้ผู้ป่วยนำยา เดิมเหลือใช้ยาด้วยทุกครั้งที่รับบริการในคลินิกเบาหวาน ให้ความรู้ เรื่อง การสังเกตวันหมดอายุ/การเสื่อมสภาพของยา ทุกวันพุธและพฤหัสบดี ณ คลินิกเบาหวาน ผู้ป่วยคลินิกเบาหวานนำยาเดิมเหลือใช้มายื่นพร้อมใบสั่งยาที่ตะกร้ารับใบสั่งยาของงานบริการและบริบาลเภสัชกรรมผู้ป่วยนอก

13 วิธีการดำเนินการ(ต่อ)
ผู้ปฏิบัติหน้าที่รับใบสั่งยา รับใบสั่งยาพร้อมยาเดิมเหลือใช้ : พิจารณาลักษณะยาเดิมเหลือใช้ บันทึกข้อมูลในแบบเก็บข้อมูลและเปลี่ยนจำนวนยาที่ฉลากยา ติดฉลากยาบนซองบรรจุ ฉลากสีเขียว หมายเลข ใช้ก่อน : ยาเดิมเหลือใช้ที่ ให้นำกลับไปใช้ต่อ ฉลากสีส้ม ยางดใช้ : ยาเหลือใช้มีจำนวนมากกว่าจำนวนยาแพทย์สั่ง ยาหยุดใช้ : ดึงออกจากตะกร้าเพื่อไม่ให้ผู้ป่วยนำกลับบ้าน

14 วิธีการดำเนินการ(ต่อ)
AdYour Title เจ้าหน้าที่จัดยา : จัดยา ตามฉลากยา เจ้าหน้าที่ติดฉลากยา : ติดฉลากยาที่รพ.จัดเพิ่ม สีเหลือง หมายเลข  ใช้หลัง เภสัชกร : - ประเมินปัญหาด้านยาจากใบสั่งยา - แนะนำให้นำยาเดิมเหลือใช้ยาด้วยในนัด ต่อไป (ซองยาที่ระบุ ยางดใช้) ปัญหาด้านยา :ส่งต่อทีมเยี่ยมบ้าน

15 นวัตกรรมสติ๊กเกอร์สี

16 เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา
แบบบันทึกยาเดิมเหลือใช้ผู้ป่วยคลินิกเบาหวาน เครื่องมือสื่อสารระหว่างผู้ปฏิบัติหน้าที่รับใบสั่งยา เภสัชกรผู้ส่งมอบยา และเภสัชกรผู้ปฏิบัติหน้าที่เยี่ยมบ้าน

17 เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา
แบบบันทึกยาเดิมเหลือใช้ผู้ป่วย คลินิกเบาหวานกลุ่มงานเภสัชกรรมและคุ้มครองผู้บริโภค ชื่อ/สกุล HN……………………….วดป รายการยา/สมุนไพร/ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร วิธีใช้ จำนวน/เม็ด หมดอายุ วิเคราะห์โอกาสเกิดอันตรกิริยา สภาพยา/ผลิตภัณฑ์ จำนวนยาที่งดใช้/เม็ด เกิด ไม่เกิด ใช้ต่อ ไม่ใช้ต่อ Glibenclamide 5 mg Glipizide 5 mg การดำเนินการ การเยี่ยมบ้าน ผู้ดำเนินการ วันที่ การถามตอบด้านยา ผู้ดำเนินการ วันที่

18 เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา
เกณฑ์ในการคัดแยกยา เพื่อนำมาหมุนเวียนใช้ 1. มีอายุเหลือไม่น้อยกว่า 6 เดือน 2. เป็นยาที่ได้รับจากสถานพยาบาลไม่เกิน 6 เดือน นับตั้งแต่วันที่ได้รับยา 3. เป็นยาที่บรรจุในแผง 4. ไม่เสื่อมสภาพ ยาเม็ดสังเกตลักษณะภายนอกของยาไม่ปรากฏลักษณะแตก กร่อน กะเทาะ เปลี่ยนสี หรือ สีซีด และสุ่มแกะเม็ดยาจากแผงบรรจุยาตามครั้งที่ผลิต (Lot. No.) 5. เป็นรายการยาที่มีในบัญชียารพ.ลอง 6. ถุงบรรจุยา ไม่มีหยากไย่ ฝุ่น โคลน หรือ สภาพที่สกปรก

19 วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล
ใช้วิธีการรวบรวมรายชื่อ ปริมาณยาที่เหลือจากการแจงนับยาที่ได้ รับคืนจากผู้ป่วย

20 การวิเคราะห์ข้อมูล สถิติเชิงพรรณนา โดยใช้ ผลรวม ค่าเฉลี่ย และร้อยละ และการคำนวณมูลค่าของยา ที่เหลือใช้การคำนวณมูลค่ายาจากราคาต้นทุนของโรงพยาบาลลอง และแสดงข้อมูลเป็นผลรวม โดยใช้ Microsoft excel ในการคำนวณ Your Text Your Text Your Text

21 การวิเคราะห์ข้อมูล ข้อมูลเดือนกุมภาพันธ์ - เดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2555
จำนวน 5,202 ราย เพศชาย 1,729 ราย ร้อยละ 33.24 เพศหญิง 3,473 ราย ร้อยละ 66.76 ผู้ป่วยนำยาเดิมเหลือใช้มา จำนวน ราย เพศชาย 111 ราย ร้อยละ 46.25 เพศหญิง 129 ราย ร้อยละ และ 53.75

22 ผลการศึกษา

23 ผลการศึกษา รายการยา ก่อน ระหว่าง มูลค่าประหยัด
ตาราง 1 มูลค่ายาลดระดับน้ำตาลในเลือดเปรียบเทียบก่อนและหลัง ดำเนินการ พัฒนาการจัดการยาเดิมเหลือใช้ รายการยา ก่อน ระหว่าง มูลค่าประหยัด Metformin 572,834 481,882 11,565 Human Insulin 70:30 penfill 498,562 576,662 8,804 Glibenclamide 216,669 162,121 1,807 Glipizide 87,912 71,271 1,858 รวม 1,375,977 1,291,936 24,034

24 ผลการศึกษา การเกิดนวัตกรรมการจัดการฉลากยา เพื่อส่งเสริมความร่วมมือในการใช้ยา - ยาเหลือใช้ของผู้ป่วยที่ให้ใช้ต่อระบุหมายเลข  บนฉลากยาโดยใช้ปากกาเคมีเขียนบนฉลากยา พัฒนาเป็น สติ๊กเกอร์สีเขียวที่ระบุ หมายเลข ใช้ก่อน

25 ผลการศึกษา ยาที่โรงพยาบาลจัดเพิ่มให้ ระบุหมายเลข  บนฉลาก
ยาโดยใช้ปากกาเคมีเขียนบนฉลากยา พัฒนาเป็น สติ๊กเกอร์สีเหลืองที่ระบุ หมายเลข  ใช้หลัง -ยาเหลือใช้ผู้ป่วยมีจำนวนมากกว่าจำนวนยาที่แพทย์สั่ง ระบุหมายเลข  บนฉลากยาโดยใช้ปากกา เคมีเขียนบนฉลากยาพัฒนาเป็น สติ๊กเกอร์สีแดงระบุข้อความ “หยุด ยางดใช้” กรุณานำยามาครั้งต่อไป

26 อภิปราย สรุปผลและข้อเสนอแนะ
ผลการดำเนินงานการพัฒนาการจัดการยาเหลือใช้ผู้ป่วยนอกคลินิกเบาหวาน พบมูลค่าการจ่ายยาเบาหวาน 4 รายการ ได้แก่ Metformin, Human Insulin 70:30 penfill, Glibenclamide และ Glipizide ลดลงร้อยละ 7.85 เปรียบเทียบกับก่อนการพัฒนาการจัดการยาเหลือใช้ผู้ป่วยนอกคลินิกเบาหวานฯ ในช่วงเวลาเดียวกัน

27 อภิปราย สรุปผลและข้อเสนอแนะ
พบการสั่งใช้ยาฉีด Human Insulin 70:30 penfill มีแนวโน้มมากขึ้น ควรดำเนินการค้นหาปัญหาและสาเหตุว่ามีความสัมพันธ์กับปัญหาเนื่องจากยา (Drug related problems) หรือไม่ เพื่อนำมาแก้ไขต่อไป

28 ปัจจัยแห่งความสำเร็จ
ความร่วมมือของเจ้าหน้าที่กลุ่มงานเภสัชกรรมและคุ้มครองผู้บริโภคที่ให้ความร่วมมือใน การดำเนินการตามขั้นตอนให้บรรลุตามจุดมุ่งหมาย ทักษะการประเมินสภาพยาการติดบัตรคิวรับยาของเจ้าพนักงานเภสัชกรรมผู้ปฏิบัติงานรับใบสั่งยา ความคิดเชิงสร้างสรรค์

29 ปัจจัยแห่งความสำเร็จ
ความเสียสละของผู้รับใบสั่งยา ทำกิจกรรมหลายกิจกรรมในช่วงเวลาเดียวกัน การรับใบสั่งยา การติดใบคิวรอรับยา ตรวจสอบรายการยาในใบสั่งยากับข้อมูลในโปรแกรม HosXp กรณีพบข้อมูลไม่ตรงกันจะต้องแก้ไขเบื้องต้นโดยประสานงานกับผู้ที่เกี่ยวข้อง

30 ปัจจัยแห่งความสำเร็จ
รับยาเดิมเหลือใช้ เพื่อคัดแยกยาและบันทึกข้อมูล ในแบบบันทึกยาเดิมเหลือใช้ผู้ป่วยคลินิกเบาหวาน กิจกรรมการจัดยาเดิมเหลือใช้ ใช้เวลาโดยเฉลี่ย 10 นาทีต่อผู้ป่วย 1 ราย

31 การพัฒนาต่อยอด จัดตั้งระบบการจัดการยาเดิมเหลือใช้ในรพ.สต.โดยจัดกิจกรรมให้สอดคล้องกับกิจกรรมของรพ. ศึกษาการเก็บรักษายาของผู้ป่วยในเขตพื้นที่อ.ลอง จ.แพร่ ดำเนินงานร่วมกับ รพ.สต. การค้นหาแก้ไขและติดตามปัญหาเนื่องจากยาในผู้ป่วยสูงอายุที่มียาเดิมเหลือใช้ โดยกระบวนการเยี่ยมบ้าน

32 Thank You !


ดาวน์โหลด ppt กลุ่มงานเภสัชกรรมและคุ้มครองผู้บริโภค

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google