งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย (ธอท.)

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย (ธอท.)"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย (ธอท.)
สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) : กระทรวงการคลัง STATE ENTERPRISE LAW FOCUS : รายแห่ง ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย (ธอท.) ข้อมูลทั่วไป พระราชบัญญัติคุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ และที่แก้ไขเพิ่มเติม สังกัด : กระทรวงการคลัง ประธานกรรมการ : นายบัณฑิต โสตถิพลาฤทธิ์ กรรมการผู้แทน กค. : นายเอกศักดิ์ โอเจริญ Website : โทร คุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของบุคลากรรัฐวิสาหกิจ ประกอบด้วย กรรมการ (ม.5) ผู้บริหารสูงสุด (ม. 8 ตรี) พนักงาน (ม.9) จำนวนกรรมการ ไม่เกิน 11 คน แต่ถ้ารัฐวิสาหกิจใดมีข้อกำหนดให้มีกรรมการน้อยกว่า 11 คน ก็ให้เป็นไปตามที่กำหนดไว้ แต่ถ้าจำเป็นต้องมีกรรมการเกินกว่า 11 คน ให้รัฐมนตรีเจ้าสังกัดขออนุมัติจาก ครม. แต่รวมแล้วต้องไม่เกิน 15 คน (ม. 6) การนับจำนวนการดำรงตำแหน่งของกรรมการในรัฐวิสาหกิจ ไม่เกิน 3 แห่ง นับรวมการเป็นกรรมการโดยตำแหน่ง การได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติราชการแทน แต่ไม่รวมการเป็นกรรมการโดยตำแหน่งที่ได้มีการมอบหมายให้ผู้อื่นปฏิบัติราชการแทน (ม. 7) วาระการดำรงตำแหน่ง 3 ปี กรณีกรรมการที่มิใช่กรรมการโดยตำแหน่ง (ไม่ได้บังคับแก่กรรมการของบริษัทจำกัด) แต่อาจได้รับแต่งตั้งใหม่ (ม. 8) การแต่งตั้งกรรมการอื่น ผู้มีอำนาจพิจารณาแต่งตั้งจากบุคคลในบัญชีรายชื่อกรรมการที่กระทรวง การคลังจัดทำขึ้น ไม่น้อยกว่า 1 ใน 3 ของจำนวนกรรมการอื่นของรัฐวิสาหกิจนั้น (ม. 12/1 วรรค 1) การกำหนดค่าตอบแทนและร่างสัญญาจ้างผู้บริหารสูงสุด คณะกรรมการรัฐวิสาหกิจกำหนด โดยความเห็นชอบของกระทรวงการคลัง (ม. 8 จัตวา วรรคเจ็ด) ข้อมูลเกี่ยวกับสัญญาจ้างผู้บริหารสูงสุด ผู้จัดการ (CEO) : นายธีรศักดิ์ สุวรรณยศ สัญญาจ้างลงวันที่ : 1 ส.ค. 51 ระยะเวลาจ้าง : 1 ส.ค. 51– 4 ก.ค. 55  วาระที่ 1  วาระที่ 2 ตำแหน่งเดิมก่อนเป็น CEO  Board  รอง CEO  บุคคลภายนอก (กรรมการ (รักษาการกรรมการผู้จัดการ ธอท.)) รอง CEO  พนักงาน  สัญญาจ้าง CFO  พนักงาน  สัญญาจ้าง พรบ. ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2545 วัตถุประสงค์ (ม. 12) เพื่อประกอบธุรกิจทางการเงินที่ไม่ผูกพันกับดอกเบี้ยและประกอบกิจการอื่น โดยยกตัวอย่าง ดังต่อไปนี้ (๘) จัดการบัญชีซะกาต (๙) เป็นนายหน้าหรือตัวแทนซื้อขายหรือแลกเปลี่ยนสังหาริมทรัพย์หรืออสังหาริม ทรัพย์โดยได้รับค่านายหน้าหรือบำเหน็จเป็นการตอบแทนในทางการค้า (๑๐) เป็นนายหน้าหรือตัวแทนในการจัดหาเงินให้ยืมหรือเงินลงทุนให้แก่กิจการ อุตสาหกรรม เกษตรกรรม พาณิชยกรรม หรือการจัดการให้ยืมหรือการลงทุนแก่กิจการดังกล่าว การดำเนินกิจการของธนาคารตามวรรคหนึ่งจะต้องไม่ขัดกับหลักการของศาสนาอิสลาม (ดู ม. 13 ประกอบ) เงินเดือนพนักงาน กลุ่มโครงสร้างเงินเดือน  คณะกรรมการกำหนดโครงสร้างเงินเดือนได้เอง  มีบัญชีโครงสร้างเงินเดือนของตนเอง  ใช้บัญชีโครงสร้างเงินเดือน 58 ขั้น Min-max ของเงินเดือน : 10,630 – 328,090 บาท อัตราเงินเดือนแรกบรรจุ (ปริญญาตรี) : 10,630 บาท จำนวนพนักงาน : 1,816 คน (31 พ.ค. 54) จำนวนและองค์ประกอบคณะกรรมการ : ไม่เกิน 11 คน 7 คน (ในวาระเริ่มแรกก่อนมีผู้ถือหุ้น) ประกอบด้วย ผู้แทนกระทรวงการคลัง,ผู้แทนธนาคารแห่งประเทศไทย ผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งมีความรู้ความเชี่ยวชาญและมีประสบการณ์ด้านศาสนาอิสลามอย่างน้อย 2 คน และผู้ทรงคุณวุฒิ ด้านการเงินการธนาคารหรือด้านอื่นอันเป็นประโยชน์แก่กิจการของธนาคาร ให้รัฐมนตรีเป็นผู้แต่งตั้งกรรมการคนหนึ่งคนใดประธานกรรมการ ให้คณะกรรมการเป็นผู้แต่งตั้งเลขานุการคณะกรรมการ (ม.16) 4 คน (ในการประชุมผู้ถือหุ้นครั้งแรก) ประกอบด้วย กรรมการซึ่งเลือกเพิ่มขึ้นจากจำนวนกรรมการ ตาม ม.16 อีก 2 คน และเมื่อที่ประชุมสามัญประจำปีเห็นสมควรจะเลือกตั้งกรรมการเพิ่มขึ้นอีกไม่เกิน 2 คนก็ได้ (ม.18) วาระการดำรงตำแหน่ง : 4 ปี เมื่อครบ 1 ปีนับแต่วันที่ประชุมสามัญประจำปีครั้งแรกให้กรรมการตาม ม.16 ออกจากตำแหน่ง 2 คนโดยวิธีจับสลาก และในทุกปีถัดไป ให้กรรมการที่เหลือจากการจับสลากออกจากตำแหน่ง 2 คนโดยวิธีจับสลาก (ม. 19) ผู้มีอำนาจแต่งตั้งผู้บริหารสูงสุด :คณะกรรมการอาจแต่งตั้งกรรมการคนใดเป็นผู้จัดการก็ได้ และให้ผู้จัดการ ได้รับประโยชน์ตอบแทนตามที่คณะกรรมการกำหนด (ม. 27 วรรค 2 และ 3) มติ ครม. ที่ยกเว้นการปฏิบัติเรื่องต่าง ๆ  ยกเว้นการปฏิบัติตามระเบียบ ข้อบังคับ และมติคณะรัฐมนตรีที่ใช้บังคับกับรัฐวิสาหกิจทั่วไป  ยกเว้นการปฏิบัติตามมาตรา 13 (2) พ.ร.บ.แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2543 การดำเนินการตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมงานหรือดำเนินการ ในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2535  ไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่ามีโครงการที่ปฏิบัติตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมงานฯ คุณสมบัติเพิ่มเติมจาก พ.ร.บ. คุณสมบัติมาตรฐานฯ กรรมการ กรรมการ ต้องไม่มีลักษณะ ดังนี้ (ม. 22) (1) เป็นหรือเคยเป็นบุคคลล้มละลาย (2) เป็นคนไร้ความสามารถหรือคนเสมือนไร้ความสามารถ (3) ได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ (4) เป็นข้าราชการการเมือง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา สมาชิกสภาท้องถิ่น หรือผู้บริหารท้องถิ่นซึ่งได้รับเลือกตั้งหรือเป็นเจ้าหน้าที่ในพรรคการเมือง (5) เป็นผู้มีมลทินมัวหมองว่าทุจริตในสถาบันการเงินใด หรือบริหารงานในสถาบันการเงินใดผิดพลาด อย่างร้ายแรง (6) เป็นกรรมการหรือผู้บริหารหรือผู้มีอำนาจในการจัดการของสถาบันการเงินอื่น ผู้จัดการ ผู้จัดการต้องปฏิบัติงานเต็มเวลาให้แก่ธนาคาร ไม่เป็นเจ้าของหรือผู้ถือหุ้นใหญ่หรือผู้บริหารหรือผู้มีอำนาจในการจัดการใน กิจการอื่นที่มีส่วนเกี่ยวเนื่องกับธนาคาร และไม่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา 22 (ม.29) หมายเหตุ ในการพิจารณาคุณสมบัติบุคลากรรัฐวิสาหกิจจะต้องพิจารณา พ.ร.บ. คุณสมบัติมาตรฐานฯ กฎหมายจัดตั้งรัฐวิสาหกิจและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องประกอบกัน ที่มาของข้อมูล  สัญญาจ้างผู้บริหาร   มติคณะรัฐมนตรี  ประสานงานกับเจ้าหน้าที่รัฐวิสาหกิจ สำนักกฎหมาย ส่วนกฎหมาย 2 ผู้อำนวยการส่วน : นายปัญญ์สุธา รายา ผู้จัดทำ : นาย ปนิธิ ภูเจริญ โทร ต่อ 6746 วันที่จัดทำ : 31 พ.ค. 54 (Update) อำนาจพิเศษตามกฎหมายจัดตั้ง -ไม่มี- สิทธิพิเศษตามมติคณะรัฐมนตรีเกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้าง -ไม่มี- ความเห็นคณะกรรมการกฤษฎีกาที่เกี่ยวข้อง เรื่องเสร็จที่ 557/2550 เมื่อพระราชบัญญัติธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทยฯ ไม่ได้มีบทบัญญัติเกี่ยวกับการเพิ่มทุนไว้โดยเฉพาะ ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทยก็สามารถเพิ่มทุนโดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 11 ที่กำหนดให้นำบทบัญญัติว่าด้วยบริษัทมหาชนจำกัดมาใช้บังคับโดยอนุโลม เท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งต่อพระราชบัญญัติธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทยฯ ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทยจึงสามารถนำบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยบริษัทมหาชนจำกัดมาใช้บังคับได้


ดาวน์โหลด ppt ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย (ธอท.)

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google