งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร
สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) : กระทรวงการคลัง STATE ENTERPRISE LAW FOCUS : รายแห่ง การเคหะแห่งชาติ (กคช.) ข้อมูลทั่วไป พระราชบัญญัติคุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ และที่แก้ไขเพิ่มเติม สังกัด : กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ประธานกรรมการ : นางพนิตา กำภู ณ อยุธยา กรรมการผู้แทน กค. : นายประสิทธิ์ สืบชนะ Website : โทร คุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของบุคลากรรัฐวิสาหกิจ ประกอบด้วย กรรมการ (ม.5) ผู้บริหารสูงสุด (ม. 8 ตรี) พนักงาน (ม.9) จำนวนกรรมการ ไม่เกิน 11 คน แต่ถ้ารัฐวิสาหกิจใดมีข้อกำหนดให้มีกรรมการน้อยกว่า 11 คน ก็ให้เป็นไปตามที่กำหนดไว้ แต่ถ้าจำเป็นต้องมีกรรมการเกินกว่า 11 คน ให้รัฐมนตรีเจ้าสังกัดขออนุมัติจาก ครม. แต่รวมแล้วต้องไม่เกิน 15 คน (ม. 6) การนับจำนวนการดำรงตำแหน่งของกรรมการในรัฐวิสาหกิจ ไม่เกิน 3 แห่ง นับรวมการเป็นกรรมการโดยตำแหน่ง การได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติราชการแทน แต่ไม่รวมการเป็นกรรมการโดยตำแหน่งที่ได้มีการมอบหมายให้ผู้อื่นปฏิบัติราชการแทน (ม. 7) วาระการดำรงตำแหน่ง 3 ปี กรณีกรรมการที่มิใช่กรรมการโดยตำแหน่ง (ไม่ใช้บังคับแก่กรรมการของบริษัทจำกัด) แต่อาจได้รับแต่งตั้งใหม่ (ม. 8) การแต่งตั้งกรรมการอื่น ผู้มีอำนาจพิจารณาแต่งตั้งจากบุคคลในบัญชีรายชื่อกรรมการที่กระทรวงการคลังจัดทำขึ้น ไม่น้อยกว่า 1 ใน 3 ของจำนวนกรรมการอื่นของรัฐวิสาหกิจนั้น (ม. 12 / 1 วรรคหนึ่ง) การกำหนดค่าตอบแทนและร่างสัญญาจ้างผู้บริหารสูงสุด คณะกรรมการรัฐวิสาหกิจกำหนด โดยความเห็นชอบของกระทรวงการคลัง (ม. 8 จัตวา วรรคเจ็ด) ข้อมูลเกี่ยวกับสัญญาจ้างผู้บริหารสูงสุด ผู้บริหาร (CEO) :นายวิฑูรย์ เจียสกุล สัญญาจ้างลงวันที่ : ระยะเวลาจ้าง : 1 พ.ย. 50 – 16 เม.ย. 56  วาระที่ 1  วาระที่ 2 ตำแหน่งเดิมก่อนเป็น CEO:  Board  รอง CEO  บุคคลภายนอก เงินเดือนพนักงาน พระราชบัญญัติการเคหะชาติ พ.ศ และที่แก้ไขเพิ่มเติม กลุ่มโครงสร้างเงินเดือน บอร์ดกำหนดโครงสร้างเงินเดือนได้เอง มีบัญชีโครงสร้างเงินเดือนของตนเอง  ใช้บัญชีโครงสร้างเงินเดือน 58 ขั้น Min-max ของเงินเดือน = 5, ,520 บาท จำนวนพนักงาน = 1,865 คน (31 พ.ค 54) วัตถุประสงค์ (มาตรา 6) (1) จัดให้มีเคหะเพื่อให้ประชาชนได้มีที่อยู่อาศัย รวมตลอดถึงจัดให้มีสาธารณูปโภค สาธารณูปการ และ สิ่งอำนวยความสะดวกแก่ผู้อยู่อาศัย ทำนุบำรุง ปรับปรุง และพัฒนาบรรดาเคหะดังกล่าว รวมทั้งพัฒนาผู้อยู่อาศัยให้มีคุณภาพชีวิตที่ขึ้น ทั้งในสังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม (2) ให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ประชาชนผู้ประสงค์จะมีเคหะของตนเอง หรือแก่บุคคลผู้ประสงค์จะร่วมดำเนินกิจการกับ กคช. ในการจัดให้มีเคหะขึ้นเพื่อให้ประชาชนเช่า เช่าซื้อ หรือซื้อ (3) ประกอบธุรกิจเกี่ยวกับการก่อสร้างอาคารหรือจัดหาที่ดิน (4) ปรับปรุง รื้อ หรือย้ายแหล่งเสื่อมโทรมเพื่อให้มีสภาพการอยู่อาศัยสิ่งแวดล้อมเศรษฐกิจ และสังคมดีขึ้น (5) ประกอบกิจการอื่นที่สนับสนุนหรือเกี่ยวเนื่องกับวัตถุประสงค์ดังกล่าวข้างต้น มติ ครม. ที่ยกเว้นการปฏิบัติเรื่องต่าง จำนวนและองค์ประกอบคณะกรรมการ : ไม่เกิน 11 คน ประกอบด้วยประธานกรรมการและกรรมการอื่นอีกไม่น้อยกว่า 5 คน แต่ไม่เกิน 9 คน ในจำนวนนี้ให้มีผู้แทนกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ 1 คน และผู้แทนกระทรวงการคลัง 1 คน และให้ผู้ว่าการเป็นกรรมการโดยตำแหน่ง (มาตรา 11) วาระการดำรงตำแหน่ง : ประธานกรรมการและกรรมการซึ่งคณะรัฐมนตรีแต่งตั้งอยู่ในตำแหน่งคราวละ 3 ปี และอาจได้รับแต่งตั้งอีก แต่จะดำรงตำแหน่งติดต่อกันเกิน 2 วาระไม่ได้ (มาตรา 14) การแต่งตั้งกรรมการอื่น :คณะรัฐมนตรีเป็นผู้แต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการอื่น (มาตรา 11) ผู้มีอำนาจแต่งตั้งแผู้บริหารสูงสุด : ให้คณะกรรมการแต่งตั้งผู้ว่าการและกำหนดอัตราเงินเดือนของผู้ว่าการด้วยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี (มาตรา 18) การพ้นจากตำแหน่ง : ผู้ว่าการอาจพ้นจากตำแหน่งเมื่อคณะกรรมการให้ออกด้วยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี (มาตรา 20(3))  ยกเว้นการปฏิบัติตามระเบียบ ข้อบังคับ และมติคณะรัฐมนตรีที่ใช้บังคับกับรัฐวิสาหกิจทั่วไป  ยกเว้นการปฏิบัติตามมาตรา 13 (2) พ.ร.บ.แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2543 การดำเนินการตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมงานหรือดำเนินการในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2535 ปัจจุบันไม่ปรากฎว่ามีโครงการที่ได้ดำเนินการ ตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมงาน หรือดำเนินการในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2535 คุณสมบัติเพิ่มเติมจาก พ.ร.บ. คุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2518 ผู้ที่จะดำรงตำแหน่งประธานกรรมการ กรรมการ และผู้ว่าการ ต้องเป็นผู้มีสัญชาติไทย และต้อง มีความรู้ ความสามารถ ความจัดเจนเกี่ยวกับการบริหารธุรกิจการบริหารรัฐกิจ การผังเมือง การสาธารณูปโภค สถาปัตยกรรม วิศวกรรม การเศรษฐกิจ การเงิน หรือกฎหมาย (มาตรา 12 ) ผู้มีลักษณะอย่างหนึ่งอย่างใดดังต่อไปนี้ ต้องห้ามมิให้เป็นประธานกรรมการหรือกรรมการ (1) เป็นผู้มีส่วนได้เสียในธุรกิจที่กระทำกับ กคช. หรือในธุรกิจที่เป็นการแข่งขันกับกิจการของ กคช. ทั้งนี้ไม่ว่าโดยทางตรงหรือโดยทางอ้อม เว้นแต่เป็นผู้ถือหุ้นหรือเป็นหุ้นส่วนที่จำกัดความรับผิดในกิจการเช่นว่านั้น ก่อนวันดำรงตำแหน่งประธานกรรมการ กรรมการ หรือเป็นผู้ซึ่งคณะกรรมการมอบหมายให้เป็นประธานกรรมการหรือกรรมการในบริษัทจำกัด หรือบริษัทมหาชนจำกัด ที่ กคช. เป็นผู้ถือหุ้น (2) เป็นพนักงานหรือลูกจ้างนอกจากผู้ว่าการ (มาตรา 13 ) หมายเหตุ ในการพิจารณาคุณสมบัติบุคลากรรัฐวิสาหกิจจะต้องพิจารณา พ.ร.บ. คุณสมบัติมาตรฐานฯ กฎหมายจัดตั้งรัฐวิสาหกิจและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องประกอบกัน ที่มาของข้อมูล  สัญญาจ้างผู้บริหาร   มติคณะรัฐมนตรี  ประสานงานกับเจ้าหน้าที่รัฐวิสาหกิจ อำนาจพิเศษตามกฎหมายจัดตั้ง - ไม่ปรากฏว่ามีอำนาจพิเศษตามกฎหมายจัดตั้ง สำนักกฎหมาย ส่วนกฎหมาย 1 ผู้อำนวยการส่วน : - ผู้จัดทำ : นางสาวยสวดี นิลคูหา โทร ต่อ 6721 วันที่จัดทำ : 31 พ.ค. 54 (Update) สิทธิพิเศษตามมติคณะรัฐมนตรีเกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้าง ไม่ปรากฎว่ามีสิทธิพิเศษเกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้างตามมติคณะรัฐมนตรี ความเห็นคณะกรรมการกฤษฎีกาที่เกี่ยวข้อง เรื่องเสร็จที่ 497/2544 เรื่อง การตั้งตัวแทนตามพรบ.การเคหะแห่งชาติ พ.ศ ตามมาตรา 7 เป็นบทบัญญัติเกี่ยวกับสำนักงานตัวแทนซึ่งเป็นเรื่องสถานที่ตั้งอย่างเดียว โดยอำนาจในการแต่งตั้งแทนย่อมเป็นไปตามมาตรา 23 ดังนั้น การเคหะชาติสามารถมอบอำนาจให้บริษัทเอกชนเป็นตัวแทนขายโครงการและลงนามสัญญาเช่า การเคหะฯต้องออกข้อบังคับตามมาตรา 16(5) แห่งพรบ.การเคหะแห่งชาติ เป็นการเฉพาะสำหรับกรณีนี้ เรื่องเสร็จที่ 212/2549 เรื่อง กรรมสิทธิ์ที่ดินที่ตั้งอาคารเช่าแฟลตดินแดง ว่า การกำหนดให้โอนเฉพาะทรัพย์สินที่เกี่ยวกับกิจการอาคารสงเคราะห์ดำเนินการอยู่ให้แก่การเคหะแห่งชาติ ไม่มีผลเป็นการโอนที่ดินแปลงที่ใช้ก่อสร้างอาคารสงเคราะห์ที่เป็นกรรมสิทธิ์ของกระทรวงมหาดไทยขณะนั้นให้แก่การเคหะแห่งชาติแต่อย่างใด กรรมสิทธิ์ในที่ดินแปลงดังกล่าวยังคงเป็นกรรมสิทธิ์ของกระทรวงมหาดไทยอยู่ และต่อมาเมื่อมีการตรา พรบ. ที่ราชพัสดุ พ.ศ ที่ดินแปลงนี้ จึงตกเป็นที่ราชพัสดุตามมาตรา 4 แห่ง พรบ. ที่ราชพัสดุ พ.ศ กรรมสิทธิ์ในที่ดินแปลงนี้จึงถูกโอนไปเป็นของกระทรวงการคลังตามมาตรา 11 แห่ง พรบ. ที่ราชพัสดุฯ กทม. จึงต้องส่งมอบโฉนดที่ดินและเอกสารที่เกี่ยวข้องให้แก่กระทรวงการคลัง


ดาวน์โหลด ppt สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google