งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

ระบบการลาดตระเวนเชิงคุณภาพ

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "ระบบการลาดตระเวนเชิงคุณภาพ"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 ระบบการลาดตระเวนเชิงคุณภาพ

2 ระบบลาดตระเวนควบคู่ไปกับการบันทึกข้อมูลสัตว์ป่าและปัจจัยคุกคามได้มีการพัฒนามาจากระบบ MIKE หรือการลักลอบล่าช้าง ได้มีการปรับรูปแบบของแบบฟอร์มการบันทึกข้อมูลเพื่อ อำนวนความสะดวกให้กับเจ้าหน้าที่ลาดตระเวน ไม่ให้เสียเวลาในการเขียนบันทึกมานัก 2548

3 ต่อมาเพื่อให้การลาดตระเวนเพื่อการอนุรักษ์สัตว์ป่ามีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น จึงได้มีการพัฒนาแบบฟอร์มการบันทึกข้อมูลในการลาดตระเวน เพื่อให้มีความสอดคล้องกับระบบฐานข้อมูลที่มีแนวคิดในการจัดการข้อมูลเชิงพื้นที่ หรือ MIST (a spatial Management Information System) ซึ่งได้รับการพัฒนาให้เหมาะสมกับวัตถุประสงค์และเป้าหมายของการลาดตระเวนเพื่อการอนุรักษ์สัตว์ป่ามากยิ่งขึ้น จึงได้เกิดระบบการลาดตระเวนเชิงคุณภาพขึ้นมา โดยการพัฒนาร่วมกันระหว่างกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าแลพันธุ์พืช

4 ข้อมูลภาคสนาม แบบบันทึกข้อมูล รายงานผล
MIST ระบบฐานข้อมูล MIST สามารถอำนวยความสะดวกให้กับเจ้าหน้าที่ลาดตระเวนผู้เก็บข้อมูล เจ้าหน้าที่ผู้ดูและระบบสามรถนำเข้าข้อมูลได้ง่ายขึ้นลดข้อผิดพลาดจากการนำเข้ามูล หัวหน้าหน่วยงานสามารถนำผลจากการลาดตระเวนมาใช้ในการวางแผนตัดสินใจได้อย่างทันเหตุการณ์ แบบบันทึกข้อมูล

5 ชนิดของแบบฟอร์ม แบบฟอร์มหลัก (ใช้บ่อย) แบบฟอร์มรายงานการลาดตระเวน
แบบฟอร์มความเคลื่อนไหวของชุดลาดตระเวน แบบฟอร์มการสังเกตการณ์โดยชุดลาดตระเวน แบบฟอร์มการสอบทานข้อมูลหลังปฏิบัติงาน แบบฟอร์มย่อย (ใช้เมื่อพบข้อมูล) แบบฟอร์มการสำรวจเสือโคร่ง แบบฟอร์มรายงานซากสัตว์ แบบฟอร์มการสำรวจโป่งและปัจจัยที่เหมาะสม สำหรับสัตว์ป่า แบบฟอร์มบันทึกข้อมูลที่ใช้ในระบบลาดตระเวนเชิงคุณภาพไม่ได้มีความยุ่งยากในการบันทึกข้อมูลถึงแม้จะมีหลายแบบฟอร์มด้วย แต่จะเพียงแบบฟอร์มหลักเท่านั้นที่จะถูกใช้อยู่เสมอ ในขณะที่แบบฟอร์มย่อยจะถูกบันทึกเมื่อพบข้อมูลเท่านั้น

6 แบบฟอร์มรายงานการลาดตระเวน
DPM เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าดอยผาเมือง นายแดง ชมไตร นายทองกฎ นนท์ลือชา พนักงานพิทักษ์ป่า แบบฟอร์มรายงานการลาดตระเวนเป็นแบบฟอร์มที่จะต้องใช้ทุกครั้งที่ออกลาดตระเวนเพราะเป็นแบบฟอร์มที่บันทึกข้อมูลทั้งหมดของการลาดตระเวน ส่วนสำคัญ คือ เลขที่ประจำชุดลาดตระเวน เพื่ออำนวยความสะดวกในการจัดเก็บข้อมูลเมื่อเสร็จภารกิจการลาดตระเวนและป้องกันการสับสนเมื่อมีชุดลาดตระเวนหลายชุดมากขึ้น ประกอบด้วย 3 ด้วยกันคือ ส่วนที่ 1 รหัสพื้นที่เป็นตัวย่อภาษาอังกฤษ ตัวอย่างเช่น เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง ใช้ตัวย่อ HKK ทุ่งใหญ่ตะวันออกใช้ TYE ส่วนที่ 2 ประกอบด้วยวันเดือนปี ที่เริ่มต้นลาดตระเวนเป็นตัวเลขทั้งหมด ส่วนที่ 3 รหัสประจำตัวหัวหน้าชุดลาดตระเวนเป็นตัวเลข 3 ตัวซึ่งแล้วแต่ละพื้นที่จะมีการให้รหัสเจ้าหน้าที่ลาดตระเวนของตนอย่างไร ไม่ว่าจะลาดตระเวนเป็นเวลากี่วันก็จะใช้เลขที่ประจำชุดลาดตระเวนเพียงเลขเดียวเท่านั้น ต่อไปเป็นรายละเอียดใรการลาดตระเวนแต่ละครั้ง คือ 1. ชื่อพื้นที่โครงการ : กรอกชื่อเต็มอย่างเป็นทางการของพื้นที่โครงการ 2. เจ้าหน้าที่ผู้รายงาน : เป็นผู้บันทึกข้อมูลตลอดการลาดตระเวน 3. ชื่อและตำแหน่งของหัวหน้าชุดลาดตระเวน : กรอกชื่อและตำแหน่งของผู้มีอำนาจบังคับบัญชาระหว่างการลาดตระเวนในภาคสนาม ตามปกติคือเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจสูงสุดในชุดลาดตระเวน 4. ลาดตระเวนโดย : ระบุวิธีการลาดตระเวนโดยการขีดเครื่องหมายถูก (ติ๊ก)เลือกหนึ่งข้อ 5. บริเวณการลาดตระเวน : ควรเป็นชื่อจุดเริ่มต้นของการลาดตระเวนขีดจุดสุดท้ายของการลาดตระเวน เช่น เริ่มลาดตระเวนจากหน่วยพิทักษ์ป่ายู่ยี่แล้วกำหนดให้ไปสิ้นสุดที่สำนักงานเขตฯ ทุ่งแฝก เขียนว่า หน่วยฯยู่ยี่– โป่งซับตะเคียน – สำนักงานเขตฯ ในกรณีที่พื้นที่เป้าหมายไม่มีชื่อเรียก ให้ใช้จุดพิกัดในแผนที่แทน เช่น หน่วยฯยู่ยี่– , 6. วัตถุประสงค์ขั้นต้น / ประเภทของการลาดตระเวน : ระบุวัตถุประสงค์หลักของการลาดตระเวนโดยเลือกขีดเครื่องหมายถูก (ติ๊ก) ในช่องที่เหมาะสม ประกอบด้วย ลาดตระเวนทั่วไป – ลาดตระเวนเพื่อป้องกันและปราบปรามการกระทำผิด สืบสวนหาข้อมูล – ลาดตระเวนเพื่อสืบสวนหาข้อมูลเรื่องใดเรื่องหนึ่ง แก้ปัญหาแผ้วถาง บุกรุกพื้นที่ - ลาดตระเวนเพื่อตรวจสอบและป้องกันการบุกรุกแผ้วถางพื้นที่ ติดตามตรวจสอบ – ลาดตระเวนเพื่อติดตามตรวจสอบสถานการณ์ บำรุงรักษาพื้นที่ – ลาดตระเวนเพื่อปฏิบัติภารกิจในการบำรุงรักษา แก้ปัญหาสัตว์ป่า – ลาดตระเวนเพื่อปฏิบัติภารกิจแก้ปัญหาเกี่ยวกับสัตว์ป่า การวิจัย – ลาดตระเวนเพื่อปฏิบัติภารกิจการวิจัย ดักซุ่ม – ลาดตระเวนเพื่อดักซุ่มจับผู้กระทำผิด หรือการดักซุ่มตามจุดเมื่อได้รับข่าวว่ามีการกระทำผิดเกิดขึ้นในพื้นที่ ห้วยแม่ยาว – ห้วยแม่สะป๊วด พื้นที่รับผิดชอบของหน่วย...

7 แบบฟอร์มรายงานการลาดตระเวน
ตรวจสอบการเข้ามาล่าสัตว์ตามที่ได้รับข่าวมาหรือป้องกันการบุกรุกทำลายทรัพยากรป่าไม้ และสัตว์ป่า ในพื้นที่รับผิดชอบ 18 ก.พ 19 ก.พ นายทองกฎ นนท์ลือชา ประจำเขตฯดอยผาเมือง มม. นายแดง ชมไตร ประจำเขตฯดอยผาเมือง ลูกซอง 5นัด นายสุพจน์ เชียงคำ ประจำเขตฯดอยผาเมือง HK นายบุญย้าย ไชยวงค์ ประจำเขตฯดอยผาเมือง เข็มทิศ นายธนัน เทพยศ ประจำเขตฯดอยผาเมือง GPS 7. วัตถุประสงค์เฉพาะของการลาดตระเวน : ให้ข้อมูลเกี่ยวกับวัตถุประสงค์เฉพาะของการลาดตระเวนครั้งนี้ เช่น กลับไปตรวจสอบแคมป์ล่าสัตว์ของพรานที่ได้รับข่าวมา หรือเข้าไปขุดแอ่งน้ำให้สัตว์ได้ใช้ในช่วงหน้าแล้ง เป็นต้น 8. วันเริ่มต้นลาดตระเวน : ลงวันที่วันแรกที่เริ่มต้นลาดตระเวน โดยกรอกวันเป็นตัวเลข เดือนเป็นตัวอักษร และปีเป็นตัวเลข เช่น 26 ตุลาคม 2550 พิกัดเริ่มต้น (UTM) : ใส่พิกัด UTM ที่เป็นจุดเริ่มต้นของการลาดตระเวนครั้งนี้ 9. วันที่สิ้นสุดการลาดตระเวน : ลงวันที่สุดท้ายของการลาดตระเวนโดยใช้รูปแบบเดียวกับข้อ 8 พิกัดสุดท้าย (UTM) : ใส่พิกัด UTM ที่เป็นจุดสิ้นสุดการลาดตระเวนครั้งนี้ 10. กำลังคนในชุดลาดตระเวน : ระบุชื่อ-นามสกุล สังกัดหน่วยงาน และอาวุธประจำกายของเจ้าหน้าที่ที่ร่วมอยู่ในทีมลาดตระเวน (อาวุธในที่นี้หมายถึงอาวุธปืน ซึ่งควรจะระบุชนิดของปืนด้วยถ้าทำได้และระบุจำนวนอาวุธที่นำติดตัวไปด้วย) รวมทั้งระบุว่าเจ้าหน้าที่คนใดที่รับผิดชอบในการใช้ GPS ในการลาดตระเวนครั้งนี้ สุดท้ายเป็นการลงนามที่แสดงถึงการตรวจสอบข้อมูลหลังจากการปฏิบัติงานของหัวหน้าชุดลาดตระเวน และหัวหน้าหน่วยงาน เพื่อเป็นการทำงานร่วมกันทั้งสองฝ่าย นายผจญ จอมทัน นายทองกฎ นนท์ลือชา

8 การบันทึกข้อมูลลงในตารางจากข้อมูลจากเครื่อง GPS
ชื่อ Way Point ที่บันทึกในตาราง วันที่และเวลา ที่บันทึกในตาราง ค่าพิกัด E (แถวบน) N (แถวล่าง) ที่บันทึกในตาราง ค่าความสูง ซึ่งไม่มี การบันทึกลงในตาราง หลังจากบันทึกข้อมูลลง ในตารางแล้ว ให้กดปุ่ม Enter (ตกลง)

9 แบบฟอร์มความเคลื่อนไหวของชุดลาดตระเวน
1 8 DPM นายแดง ชมไตร 18ก.พ 54 8.00 ใช้ชื่อ way point ตาม GPS 001 แบบฟอร์มความเคลื่อนไหวของชุดลาดตระเวน บันทึกข้อมูลขณะการลาดตระเวน โดยยังคงมีการบันทึกเลขที่ประจำชุดลาดลาดตระเวน และชื่อผู้บันทึกข้อมูลเพื่อป้องกันแบบฟอร์มสูญหายขณะการทำงาน แบบฟอร์มนี้ต้องบันทึกข้อมูลวันที่ ณ ขณะลาดตระเวน ในช่องที่ 1 (สามารถใส่เป็นตัวย่อได้) ปีเป็นตัวเลข ช่องที่ 2 ชื่อ way point ซึ่งจะเรียงตามลำดับในเครื่อง GPS ตลอดแม้จะเป็นเครื่อง GPS ที่ใช้งานต่อจากชุดลาดตระเวนอื่นโดยที่ไม่ได้ลบข้อมูลออก ช่องที่ 3 เวลา ณ ขณะที่ทำการบันทึกพิกัดนั้นๆ ช่องที่ 4 ชนิดของ way point เลือกชนิดของ way point ที่กระทำหรือพบเห็น โดยให้กากบาทที่ช่องของชนิด waypoint นั้น ๆ (คำอธิบายความหมายชนิดของ way point อยู่หน้าหลังสุดของแบบฟอร์ม) ในกรณีจุดเริ่มต้นให้ Mark พิกัดเฉพาะ SP ย่อมาจาก Start patrol คือเริ่มต้นลาดตระเวน เมื่อพบร่องรอยอื่นในบริเวณนี้ ให้ Mark พิกัดใหม่ ใส่คำอธิบายหรือรายละเอียดเพิ่มเติม ช่องที่ 5 การเดินทาง : เลือกรูปแบบของการเดินทาง (คำอธิบายตัวย่อต่าง ๆ อยู่หน้าหลังสุดของแบบฟอร์ม) ช่องที่ 6 พิกัด : กรอกพิกัด UTM ที่อ่านได้จากเครื่อง GPS ในแต่ละเหตุการณ์หรือการ สังเกตพบ รูปแบบการสังเกตการณ์ : แบ่งเป็น 1.การสังเกตการณ์สัตว์ป่า : ถ้าพบเห็นตัวสัตว์ป่าระหว่างการลาดตระเวนให้บันทึกข้อมูลของสัตว์ป่าชนิดนั้น ๆ ลงในแบบฟอร์มนี้ โดยเลือกบันทึกเฉพาะสัตว์ที่เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดใหญ่ที่เป็นเหยื่อของเสือโคร่งและมีความสำคัญในพื้นที่ เช่น ช้าง สมเสร็จ เก้ง กวาง กระทิง วัวแดง และเสือโคร่ง ในแต่ละช่องจะเป็นการพบเห็นตัวสัตว์แต่ละครั้ง - การพบเห็นตัวสัตว์ป่าโดยตรง ให้บันทึกในช่องพบเห็นตัวสัตว์ป่าโดยตรงถ้าพบเห็นตัวสัตว์ป่าหลายชนิดในเวลาเดียวกันให้ใส่ข้อมูลของสัตว์แต่ละชนิดในช่องที่ต่างกัน ใส่จำนวนของสัตว์ที่พบโดยให้ระบุจำนวนตัว (ใช้ตัวย่อ ต.) เพศ (ใช้ตัวย่อ ผ.หมายถึง ตัวผู้ , ม.หมายถึง ตัวเมีย) และช่วงวัยของสัตว์ที่พบด้วย ถ้าไม่ทราบเพศให้ใส่ตัวเลขในช่องไม่ทราบ 2.การสังเกตการณ์ : ระบุแบบฟอร์มการลาดตระเวนและหน้า (ใช้ตัวย่อ น.หมายถึง หน้าของแบบฟอร์มที่บันทึกข้อมูล) ของแต่ละแบบฟอร์มที่ได้มีการบันทึกในขณะการลาดตระเวนและระบุรูปแบบการสังเกตการณ์ เช่น การล่า หาปลา การบุกรุกพื้นที่ การเก็บหาของป่า สัตว์เลี้ยง ฯลฯ (ดูรูปแบบการสังเกตการณ์ในแบบฟอร์มการสังเกตการณ์โดยชุดลาดตระเวน) ประกอบด้วยแบบฟอร์มการสังเกตการณ์โดยชุดลาตระเวน ใช้คำว่าการสังเกตการณ์ แบบฟอร์มรายงานซากสัตว์ใช้คำว่ารายงานซากสัตว์ แบบฟอร์มการสำรวจโป่งและปัจจัยที่เหมาะสมสำหรับสัตว์ป่า ใช้คำว่าปัจจัยด้านนิเวศ แบบฟอร์มการสำรวจเสือโคร่ง ใช้คำว่าเสือโคร่ง) โดยส่วนนี้จะเชื่อโยงไปยังแบบฟอร์มการสังเกตการณ์อื่นๆต่อไป จำนวนหน้าของแต่ละแบบฟอร์มจะนับแยกกันโดยเริ่มต้นที่หน้าที่ 1 หน้าเป็นหน้าแรกของแบบฟอร์มความเคลื่อนไหว จึงเป็นหน้าที่ 1 จาก ทั้งหมดที่ทำการบันทึกไดด้ 8 หน้า (จะระบุได้เมื่อเสร็จสิ้นภาระกิจ) ออก เดิน ทาง 18dก.พ 54 8.15 เชื่อมโยงไปยังแบบฟอร์มการสังเกตการณ์โดยชุดลาดตระเวน 1 ห้าง 002 2 1

10

11 แบบฟอร์มความเคลื่อนไหวของชุดลาดตระเวน
4 8 DPM นายแดง ชมไตร 2 3 18ก.พ. 54 007 5 10.30 นี่คือตัวอย่างการบันทึกข้อมูลการพบเห็นตัวสัตว์ป่าโดยตรง ชนิดของ way point ต้องเป็น OBS โดยให้ระบุจำนวนตัวสัตว์ป่าที่พบ และเพศถ้าหากระบุได้ และการบันทึกข้อมูลเมื่อทีมลาดตระเวนทำการหยุดพักเที่ยง เขียนอธิบายเพิ่มเติมในช่องนี้ว่ารับประทานอาหารกลางวัน ต้องเลือกชนิดของ way point คือ STOP 2 18ก.พ. 54 12.00 008 พักเที่ยง

12 แบบฟอร์มความเคลื่อนไหวของชุดลาดตระเวน
5 8 DPM นายแดง ชมไตร 18ก.พ 54 009 13.00 นี่เป็นตัวอย่างการบันทึกแบบฟอร์มเมื่อออกเดินทางต่อ ชนิดของ way point เป็น START ถึงแม้พิกัดที่ 009 จะเป็นพิกัด 008 แต่จะต้องทำการ Mark บันทึกพิกัด สองครั้ง ในการเขียนเลขพิกัดอนุโลมใช้เขียนคำว่าพิกัดเดียวกับ way point ที่ 008 ได้ และในกรณีที่เปลี่ยนรูปแบบการเดินทาง ให้ Mark บันทึกพิกัด อีกครั้ง เปลี่ยน ชนิดของ way point เป็น NPL เลือกรูปแบบการเดินทางเป็น พ หมายถึง เดินทางต่อด้วยการล่องแพ 18ก.พ. 54 13.00 010 เดิน ทาง ด้วย รถยนต์

13 แบบฟอร์มการสังเกตการณ์โดยชุดลาดตระเวน
1 3 DPM นายแดง ชมไตร 002 18 ก.พ. 54 8.15 1 8.45 เป็นห้างไม้ไผ่ทำ บนต้นแดงสูง 5 ม. ทำลายโดย การรื้อถอน ทุกครั้งที่ชุดลาดตระเวนพบซากสัตว์ ผู้กระทำผิด อาวุธ ค่ายพักแรก กับดักสัตว์หรือกิจกรรมผิดกฎหมายอื่น ๆ ให้บันทึกรายละเอียดลงในแบบฟอร์มนี้ สำหรับซากสัตว์ป่าที่พบให้บันทึกข้อมูลเพิ่มเติมในใบแบบฟอร์มรายงานซากสัตว์ ซากละหนึ่งชุด เป็นตัวอย่างของการบันทึกข้อมูลที่ต่อเนื่องมาจากแบบฟอร์มความเคลื่อนไหว คือ way point ที่ 002 กรณีเจอห้างล่าสัตว์ หน้านี้เป็นหน้าแรกของแบบฟอร์มการสังเกตการณ์โดยชุดตระเวน จึงระบุว่าเป็นหน้าที่ 1 คำว่าจาก จะระบุเมือ่เสร็จสิ้นภาระกิจแล้ว วันที่ : วันที่พบเห็นการสังเกต วันที่เป็นตัวเลข เดือนเป็นตัวอักษร (สามารถใช้ตัวย่อได้) ปีเป็นตัวเลข เวลาที่เริ่มสังเกต และเวลาสิ้นสุดการสังเกต : ให้ระบบ 24 ชั่วโมง เช่น 14.30 ซากสัตว์ป่าจากการกระทำผิด : ในกรณีที่พบซากสัตว์ที่เกิดจากการกระทำผิดให้ระบุชนิดสัตว์ จำนวนสัตว์ที่ยังมีชีวิต จำนวนซาก ของแต่ละซาก ระบุชิ้นส่วนต่าง ๆ ที่ผู้กระทำผิดได้นำไป ระบุในช่องการจัดการด้วยว่าได้มีการกระทำอะไรลงไป เช่น สังเกตพบ ยึดซากสัตว์หรืออวัยวะของซากสัตว์ เช่น งาช้าง เขี้ยวเสื้อ ไว้เป็นของกลางหรือได้ทำลายของกลาง ถ้าไม่ได้จัดการใด ๆ ต้องอธิบายด้วยว่าเพราะเหตุใด ผู้กระทำผิด : ถ้าพบผู้กระทำผิดต้องระบุเหตุการณ์การกระทำผิดเช่น ล่ากวางป่า การหาปลา การตัดไม้ การเก็บหาของป่า หรือบุกรุกพื้นที่ พร้อมทั้งระบุเชื้อชาติเช่น คนไทย หมายถึง คนที่เชื้อชาติและสัญชาติไทย ชาวเขา หมายถึง คนไทยที่เป็นชาวเขาเผ่ากะเหรี่ยงและคนไทยชาวเขาเผ่าม้ง จำนวนคน จำนวนอาวุธ อาวุธ : ถ้าได้ยินเสียงอาวุธ (ในที่นี้หมายถึงปืน) ให้ระบุทิศทางของเสียงที่ได้ยิน (องศา) ระยะทางโดยประมาณ (เมตร) และจำนวนครั้ง ถ้าพบเห็นอาวุธปืนให้ระบุชนิดและจำนวน และถ้าสามารถยึดเป็นของกลางได้ให้ระบุชนิดและจำนวนด้วยเช่นกัน ถ้าไม่ทราบให้ใส่ในช่องไม่ทราบ แต่ถ้าทราบชนิดแล้วไม่มีชื่ออยู่ในตารางให้ระบุชื่อในช่องอื่น ๆ สามารถอธิบายเพิ่มเติมได้ในช่องอธิบาย เครื่องกระสุน : หากพบลูกกระสุนและ / หรือปลอกกระสุนในระหว่างการลาดตระเวนให้ระบุว่าเป็นของปืนชนิดใดและจำนวนเท่าใดลงในตารางถ้าไม่มีรายชื่ออยู่ในตารางให้ระบุชื่อในช่องอื่น ๆ ถ้าไม่ทราบให้ใส่ในช่องไม่ทราบ สามารถอธิบายเพิ่มเติมได้ในช่องข้างล่าง กับดักสัตว์ / อุปกรณ์อื่น ๆ : ถ้าพบอุปกรณ์ดักหรือฆ่าสัตว์ป่า การหาปลา การเก็บหาของป่า การบุกรุกพื้นที่ และการลักลอบตัดไม้ให้เลือกติ๊กที่อุปกรณ์ที่พบเห็นพร้อมทั้งระบุจำนวน ถ้าอุปกรณ์ที่พบเห็นไม่มีอยู่ในรายชื่อที่ให้มาให้ติ๊กที่ช่องอื่น ๆ พร้อมทั้งระบุชื่อและจำนวน - ถ้าพบเห็นพาหนะที่ไม่ใช่ของเจ้าหน้าที่หรือพาหนะที่ไม่ได้รับอนุญาตอยู่ในพื้นที่ขณะทำการลาดตระเวนให้ระบุชนิดของพาหนะที่พบเห็น อายุของกับดักสัตว์ : ประเมินอายุของกับดักสัตว์ที่พบว่ามีการใช้นานเท่าไร คือ ใหม่ (0-1 สัปดาห์) ไม่เก่านัก (1-4 สัปดาห์) และเก่า ( > 4 สัปดาห์ ) ค่ายพักแรม : ถ้าพบค่ายพักแรมในป่าให้เลือกติ๊กสภาพของค่ายพักแรมที่พบว่ายังมีการใช้อยู่หรือเลิกใช้มานานเท่าไรแล้ว มีผู้อยู่อาศัยหมายถึงพบเห็นคนอาศัยหรือใช้อยู่ เพิ่งเลิกใช้ไม่นานหมายถึงไม่พบเห็นคนแต่อาจเห็นร่องรอยกองไฟยังมีควันหรือระอุอยู่ หรือสังเกตจากความสดของไม้ไผ่ที่ใช้ทำค่ายพักแรม ถ้าไม่เก่ามากนักอาจสังเกตจากไม้ไผ่ที่ตัดทำของใช้อาจเป็นสีเหลืองแกมเขียว เก่าเลิกใช้นานแล้วหมายถึงค่ายพักแรกนี้เก่าเริ่มมีราขึ้นที่ไม้ไผ่หรือไม้เริ่มผุเป็นต้น ถ้าไม่ทราบ ติ๊กช่องไม่ทราบ สามารถอธิบายเพิ่มเติมได้ในช่องบรรยาย ปัจจัยคุกคามอื่น ๆ : ตัดไม้: ถ้าพบเห็นการตัดไม้ให้ติ๊กช่อง ตัดไม้ พร้อมระบุชนิดพันธุ์ จำนวนต้นไม้ จำนวนท่อนและประเมินเนื้อไม้เป็นลูกบาศก์เมตร การเก็บหาของป่า : ถ้าพบเห็นการหาของป่าเช่น หาเห็ด ตีผึ้ง เก็บลูกเหลียงให้ติ๊กช่อง การเก็บหาของป่า พร้องทั้งระบุชนิดของป่าที่ผู้กระทำความผิดได้เข้ามา การบุกรุก : การบุกรุกหรือแผ้วถางพื้นที่ป่าให้บันทึกในช่อง บุกรุกพื้นที่ พร้อมทั้งระบุระดับของการบุกรุก กำลังบุกรุก คือ เจ้าหน้าที่ลาดตระเวนพบผู้กระทำผิดกำลังบุกรุกอยู่ ถูกบุกรุกนานแล้ว คือ ไม่มีการใช้ประโยชน์พื้นที่นั้นมาเป็นเวลานาน ปลูกพืช คือ พบการปลูกพืชอยู่ในพื้นที่ โดยระบุชนิดพืชที่พบด้วย สัตว์เลี้ยง : สัตว์เลี้ยงอาจนำอันตรายมาสู่สัตว์ป่าได้เช่น นำเชื้อโรคมาแพร่สู่สัตว์ป่าดังนั้นเมื่อพบเห็นตัวและ/หรือร่องรอยของสัตว์เลี้ยงระหว่างทำการลาดตระเวนให้ติ๊กในช่อง สัตว์เลี้ยง ระบุชนิดสัตว์เลี้ยงที่เห็นตัวและ/หรือเห็นร่องรอย พร้อมทั้งจำนวนตัวที่พบเห็นด้วย ถ้าพบชนิดของสัตว์เลี้ยงนอกเหนือจากที่กำหนดให้สามารถระบุเพิ่มเติมได้ในช่องอื่น ๆ การจัดการภัยคุกคาม : เจ้าหน้าที่ควรมีมาตรการจัดการกับภัยคุกคามที่พบเห็น ให้เลือกติ๊กในช่องที่ได้กระทำพร้อมระบุสิ่งที่ได้จัดการลงในช่องการจัดการเช่น ยึดเป็นของกลาง หรือทำลายของกลางหรือเขียนบรรยายเพิ่มเติมใช่องบรรยาย ร่องรอยอื่นๆ : ถ้าพบเห็นร่องรอยอื่น ๆ ที่ไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นร่องรอยของเจ้าหน้าที่หรือร่องรอยของนักวิจัย ให้เขียนอธิบายในช่อง ร่องรอยอื่นๆ หรือบรรยายรายละเอียดเพิมเติมในช่องบรรยาย 1 พบปลอกกระสุนปืน ลูกซองคาดว่าจะ ใช้ยิงสัตว์

14 แบบฟอร์มการสังเกตการณ์โดยชุดลาดตระเวน
2 3 นายแดง ชมไตร DPM เก้ง ล่าเก้งป่า 1 ตัว (เมีย) 1 1 003 1 18 ก.พ. 54 50 8. 45 1 8. 50 1 1 เคยเข้ามาล่าหลาย ครั้งแล้ว จับกุมตัว ส่ง สภ.ห้างฉัตร เป็นตัวอย่างของการบันทึกข้อมูลกรณีเจอพบการซากสัตว์ป่าที่เกิดจากการล่าโดนมนุษย์ ซากสัตว์ป่าที่ระบุในแบบบฟอร์มคือ ซากสัตว์ป่าที่ถูกนำไปหรือเป็นชิ้นส่วนที่พรานเอาไปไม่ใช่ซากที่เหลืออยุ่นะคะ ให้เขียนอธิบายเพิ่มเติมกรณีมีรายละเอียดอื่นๆในช่องอธิบาย

15 แบบฟอร์มการสังเกตการณ์โดยชุดลาดตระเวน
3 3 DPM นายแดง ชมไตร 1 031 18 ก.พ. 54 8. 45 8. 50 1 เป็นตัวอย่างของการบันทึกข้อมูลกรณี บุกรุกแผ้วทางพื้นที่ เจ้าหน้าลาดตระเวนควรทำการประเมินพื้นที่เสียหายคร่าวๆจากการใช้เครื่อง GPS และอาจทำการลงบันทีกภาคฑัณในกรณีที่โทษไม่ร้ายแรง 2 ปลูกข้าวโพดอายุ ประมาณ 1 เดือน ทำการรื้อถอนออกหมด

16 แบบฟอร์มการสำรวจเสือโคร่ง
1 1 นายแดง ชมไตร DPM 13 13.3 7.7 ลักษณะรอยคุ้ย 49 22 ระหว่างการลาดตระเวนถ้าพบเห็นตัวเสือโคร่ง ร่องรอยและซากเหยื่อของเสือโคร่งให้บันทึกข้อมูลโดยละเอียดในแบบฟอร์มนี้ ร่องรอยตีน : ให้วัดความกว้างทั้งหมด (TW) และความยาวทั้งหมด (TL) ของรอยตีน ความกว้างของอุ้ง (PW) โดยวัดเป็นหน่วยเซนติเมตร พร้อมระบุว่าเป็นตีนซ้ายหรือขวา ตีนหน้าหรือหลัง เท่าที่ร่องรอยจะเอื้อประโยชน์ต่อการวัด กินซาก : ถ้าพบซากเหยื่อของเสือโคร่งให้ระบุว่าซากนั้น ๆ เป็นอาหารของเสือโคร่ง หรือ เสือดาว ถ้าไม่ทราบติ๊กช่องไม่ทราบ พร้อมทั้งระบุชนิดเหยื่อ เสียงร้อง : ถ้าได้ยินเสียงร้องของเสือโคร่งให้บันทึกจำนวนครั้งและจำนวนตัวด้วยเท่าที่จะสามารถทำได้ เช่น ร้องสองตัว ร้องเฉลี่ย 5 ครั้งต่อ1นาที เห็นตัว : ถ้าพบเห็นตัวให้พิจารณาว่าเสือโคร่งที่พบเห็นมีอายุอยู่ในช่วงใด และเพศอะไร (ถ้าทราบ) และระบุเวลาที่พบเห็นตัวเสือ โดย ช่วงตัวเสือโคร่งเต็มวัยประมาณ ซม. หางยาวประมาณ ซม. น้ำหนักประมาณ 245 กก. พร้อมระบุพฤติกรรมของเสือที่พบเห็นในช่อง พฤติกรรม เช่น กำลังเดินผ่านตามถนนดิน ลับเล็บ/ที่ : หมายถึงร่องรอยลับเล็บของเสือโคร่งถ้าพบให้ระบุว่าพบที่ไหน เช่น พบรอยเล็บบนต้นแดง เป็นต้น กองขี้ : ถ้าพบกองขี้ให้ระบุว่าเก่าหรือใหม่ โดยขี้ใหม่มักจะมีเมือกเปียก และรา ยังไม่ขึ้น พร้อมทั้งเก็บตัวอย่างกองขี้ที่พบโดยต้องให้ รหัสตัวอย่างขี้ ที่เก็บ มาด้วยทุกครั้ง (รหัสตัวอย่างขี้ต้องขึ้นต้นด้วย Sc ซึ่งเป็นตัวย่อของ Scat ที่ แปลว่า ขี้ ตามด้วยขีด ชื่อย่อของผู้เก็บตัวอย่าง (ตัวอักษรภาษาอังกฤษ) วันเดือนปี (ตัวเลข) ขีด ตามด้วยลำดับตัวอย่างที่เก็บในรอบวันนั้น ๆ) เช่น Sc-NK ทั้งนี้การจะระบุว่ากองขี้นั้นเป็นขี้เสือโคร่งหรือไม่นั้นจำเป็นต้องมีร่องรอยของการคุ้ยหรือรอยตีนอยู่ในบริเวณนั้นด้วยเพื่อประกอบการพิจารณา มิฉะนั้นอาจเกิดความผิดพลาดในการจำแนก ดังนั้นหากจะบันทึกกองขี้ต้องบันทึกร่องรอยการคุ้ยหรือ/และรอยตีนด้วยเสมอ Spray : ถ้าพบเห็นร่องรอยการพ่นสเปรย์ของเสือโคร่งให้ระบุสถานที่ที่พบร่องรอยและระดับความสูงจากพื้นดิน (หน่วยเป็นเมตร) รหัสซาก : ถ้าพบเห็นซากเสือโคร่งต้องระบุรหัสซากซึ่งขึ้นต้นด้วย Ca ย่อมาจากคำว่า Carcass ที่แปลว่า ซาก ตามด้วยขีด ชื่อย่อของคนเก็บข้อมูล (ตัวอักษรภาษาอังกฤษ) ขีด วันที่เก็บข้อมูลซากนั้น ๆ ขีด และลำดับการพบเห็นซากในวันนั้น ๆ เช่น Ca-NK จากนั้นบันทึกรายละเอียดในแบบฟอร์มซากสัตว์ รหัสเก็บรอย : ถ้าทำการวาดหรือหล่อรอยตีนเก็บไว้ต้องมีการใส่รหัสให้ร่องรอยทุกอันที่เก็บมา โดยขึ้นด้วย Tr ซึ่งเป็นตัวอย่างจากคำว่า Track ที่แปลว่า รอยตีน ตามด้วยขีด ชื่อย่อของคนเก็บตัวอย่าง (ตัวอักษรภาษาอังกฤษ) ขีด วันที่เก็บตัวอย่างรอย ขีด และลำดับของตัวอย่างที่ทำการเก็บในวันนั้น ๆ เช่น Tr-NK I - Shape

17 ความยาวทั้งหมด ความกว้างทั้งหมด ความกว้างของอุ้ง
ตัวอย่างการวัดร่องรอยเสือโร่ง ถ่ายภาพโดยทีมลาดตระเวน เขตฯห้วยขาแข้ง ความกว้างของอุ้ง

18 รอยคุ้ยยาว รอยคุ้ยกว้าง ตัวอย่างการวัดร่องรอยเสือโร่ง
ถ่ายภาพโดยทีมลาดตระเวน เขตฯห้วยขาแข้ง

19 แบบฟอร์มการสำรวจโป่ง
1 1 นายแดง ชมไตร DPM 004 10 20 ช้าง เก้ง หมูป่า ป่าเบญจพรรณ โป่ง : ถ้าพบโป่งให้พิจารณาว่าเป็นโป่งน้ำหรือโป่งดินแล้วให้ติ๊กในช่องนั้น ๆ จากนั้นระบุความกว้างและยาวของโป่งที่พบโดยประมาณ ถ้ามีร่องรอยของสัตว์เข้ามาใช้โป่งให้ติ๊กที่ช่อง “มีสัตว์เข้าไปใช้ประโยชน์” พร้อมระบุชนิดสัตว์ที่พบเห็นว่าเข้ามาใช้โป่งนั้น ๆ คร่าว ๆ โดยอาจเลือกบันทึกเฉพาะชนิดสัตว์ป่าที่มีความเสี่ยงต่อปัจจัยคุกคาม ถ้าพิจารณาแล้วว่าโป่งที่พบเห็นไม่น่ามีสัตว์เข้ามาใช้แล้วให้ติ๊กในช่อง “ไม่มีสัตว์ใช้ประโยชน์” จากนั้นให้ติ๊กเลือกสาเหตุที่ทำให้คิดว่าโป่งนั้น ๆ ไม่มีสัตว์ใช้ประโยชน์แล้ว จากนั้นอธิบายลักษณะโป่งนั้น ๆ คร่าว ๆ เช่น เป็นโป่งดินขนาดไม่ใหญ่มากอยู่ข้างร่องห้วยแห้งมีตรงกลางเว้าเข้าไปเกิดจากการขุดกินดินของสัตว์ ไทร : เมื่อพบต้นไทรให้สังเกตผลว่ามีผลไทรหรือไม่ สุกหรือยัง (อธิบายเพิ่มเติม) แล้วเลือกติ๊กในช่องใดช่องหนึ่ง และระบุร่องรอยสัตว์ที่พบเห็นรอบต้นไทรโดยอาจเลือกบันทึกเฉพาะชนิดสัตว์ป่าที่มีความเสี่ยงต่อปัจจัยคุกคาม สามารถแสดงความคิดเห็นและอธิบายเพิ่มเติมในช่องหมายเหตุ ต้นญวณผึ้ง : เมื่อพบเห็นต้นญวณผึ้งให้สังเกตว่ามีรังผึ้งหรือไม่แล้วเลือกติ๊กในช่องที่กำหนดให้ แล้วสังเกตว่ามีร่องรอยการใช้ประโยชน์หรือไม่ ถ้ามีให้เลือกว่ามีการใช้ประโยชน์จากอะไร สามารถแสดงความคิดเห็นและอธิบายเพิ่มเติมในช่องหมายเหตุ อื่น ๆ บรรยาย : ในกรณีที่สภาพพื้นที่บริเวณนั้นเหมาะต่อการดักล่าสัตว์ป่าอันเนื่องมาจากมีอาหารที่สัตว์ป่าชอบ ผู้ลาดตระเวนพึงบันทึกในช่องนี้ เช่น ต้นไม้ชนิดอื่นที่เป็นพืชอาหารของสัตว์ป่า หรือบริเวณที่มีหญ้าระบัดขึ้นและเป็นแนวต่อระหว่างเขตอนุรักษ์กับไร่ชาวบ้าน หรืออาจได้ข่าวว่ามีวัวแดงออกมากินหญ้าระบัดในบริเวณดังกล่าว ซึ่งอาจเป็นสาเหตุให้ถูกล่าได้ง่ายยิ่งขึ้น เป็นโป่งน้ำไหลตลอดปี มีร่องรอยการใช้ประโยชน์ จากสัตว์ป่าชุกชุม

20 แบบฟอร์มรายงายซากสัตว์
เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าอมก๋อย 17 มกราคม 2553 OMK 17 ม.ค.53 เมื่อพบเห็นซากสัตว์ต้องทำการบันทึกรายละเอียดของซากสัตว์ป่าที่พบจากการตายตามธรรมชาติ หรือการตายจากการบ่าในแบบฟอร์มนี้ ชื่อพื้นที่โครงการ : ใส่ชื่อเต็มของพื้นที่โครงการ เช่น เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง วันที่กรอกข้อมูล : ใส่วันเดือนปีที่ทำการกรอกข้อมูล วัน (ตัวเลข) เดือน (ตัวอักษร) ปี (ตัวเลข) เจ้าหน้าที่ผู้บันทึกข้อมูล : ใส่ชื่อนามสกุลของผู้บันทึกข้อมูลพร้อมทั้งตำแหน่ง ซาก : ระบุชนิดสัตว์ของซากที่พบ พบซากครั้งแรกโดย : ในช่องนี้ให้กรอกข้อมูลในกรณีที่ผู้พบซากคนแรกไม่ได้เป็นผู้บันทึกข้อมูลลงแบบฟอร์มนี้ อาจเป็นการได้รับรายงานจากชาวบ้าน นักท่องเที่ยว นักวิจัย หรือทีมลาดตระเวนทีมอื่น ๆ โดยถ้าผู้พบเห็นซากคนแรกเป็นทีมลาดตระเวนทีมอื่น ต้องใส่เลขที่ประจำชุดลาดตระเวนหรือชื่อชุดสำรวจด้วย และต้องใส่วันที่พบเห็นซากเป็นครั้งแรกด้วย พิกัด : ใส่พิกัด UTM ที่จุดที่พบซาก ชื่อ way point : ใส่ชื่อ way point ของพิกัดที่พบซากที่ได้ทำการบันทึกลงในเครื่อง GPS ชื่อสถานที่ที่พบซาก : ใส่ชื่อสถานที่ที่พบซาก สามารถใส่เป็นชื่อท้องถิ่นหรือชื่อพื้นที่ที่คนในพื้นที่รู้จัก ชื่อส่วนการจัดการที่เป็นที่พบซาก : ถ้าพื้นที่มีการแบ่งพื้นที่ออกเป็นหน่วยจัดการเป็นส่วน ๆ ให้ระบุชื่อพื้นที่หน่วยจัดการที่พบซากนั้น ๆ บรรยายสถานที่ที่พบซาก : อธิบายเพิ่มเติมเกี่ยวกับสภาพบริเวณที่พบซาก หน่วยฯ ยางเปียง

21 แบบฟอร์มรายงายซากสัตว์
อายุซาก : ระบุอายุซากที่พบ ถ้าสภาพซากยังสดใหม่อายุไม่เกิน 3 สัปดาห์ให้ติ๊กในช่อง สด ถ้าซากที่พบดูเก่าต้องพิจารณาว่าน่าจะมีอายุเท่าไรแล้วเลือกติ๊กในช่องนั้น ๆ ถ้าไม่ทราบติ๊กในช่อง ไม่ทราบ สาเหตุการตาย : ระบุสาเหตุการตายของซากสัตว์ที่พบ โดยพิจารณาจากสิ่งที่เห็นจากซากและหลักฐานที่แท้จริง ไม่ควรคาดเดาสาเหตุการตายของสัตว์โดยไม่มีหลักฐานประกอบ ถ้าไม่ทราบให้ใส่ช่อง ไม่ทราบ พร้อมอธิบายลักษณะซากที่พบเห็นและบริเวณที่พบซาก ถ้าซากนั้นตายตามธรรมชาติหรือถูกฆ่าเพื่อการจัดการ ต้องระบุสาเหตุด้วย แต่ถ้าซากที่พบตายจากการล่าให้ระบุอาวุธที่ใช้ล่า (ถ้าทำได้) และระบุสาเหตุผลักดันที่ทำให้เกิดการล่าสัตว์ชนิดนั้น ๆ

22 แบบฟอร์มรายงายซากสัตว์
การเก็บข้อกลาง : ถ้าซากสัตว์ป่าที่พบมีชิ้นส่วนที่มีค่าเช่น งาช้าง เขาสัตว์ เขี้ยว หนัง และอื่น ๆ ให้บันทึกด้วยว่าเก็บชิ้นส่วนใดไปบ้าง โดยการเลือกติ๊กในช่องที่กำหนด ถ้าทีมลาดตระเวนทำการเก็บของกลางกลับมาให้ระบุด้วยว่าเก็บชิ้นส่วนด้านใดกลับมา ถ้าอวัยวะนั้นมีทั้งด้านซ้าย-ขวาเช่น งาช้าง ต้องระบุด้วยว่าเก็บด้านใดกลับมาบ้าง ไม่ได้เก็บด้านใดกลับมาบ้าง หรือถ้าเป็นอวัยวะที่มีทั้งด้านหน้า-หลัง ซ้าย-ขวาเช่นอุ้งตีนหมี ระบุด้วยว่าชิ้นส่วนไหนเก็บมาและชิ้นส่วนไหนไม่ได้เก็บมา หากไม่ได้เก็บมาต้องระบุสาเหตุที่ไม่ได้เก็บด้วยโดยเลือก ติ๊กจากช่องที่กำหนดให้ หากมีการเผาหรือฝังซากโดยชุดลาดตระเวนให้ติ๊กลงไปด้วย เพศของซากสัตว์ : ถ้าสามารถระบุได้ให้ระบุด้วย เกณฑ์อายุของสัตว์ : ถ้าสามารถระบุได้ให้ระบุด้วย ขนาดและตำหนิ: ถ้าเป็นไปได้ให้วัดขนาดของซากที่พบด้วยโดยการวัดส่วน ต่าง ๆ ที่กำหนดให้ในแบบฟอร์ม โดยการวัดให้ใช้หน่วยเป็นเซนติเมตร ถ้าเป็นเขาสัตว์หรืองาช้างให้กำหนดเลขที่หรือรหัสจัดเก็บด้วยทุกครั้ง (การกำหนดรหัสจัดเก็บขึ้นอยู่กับการจัดการแต่ละเขตอนุรักษ์) หมายเหตุ : ให้ใส่คำอธิบายเพิ่มเติมหรือความคิดเห็นเพิ่มเติม

23 แบบฟอร์มรายงายซากสัตว์
สามารถวัดส่วนต่างๆที่สำคัญของซากสัตว์ได้โดยง่ายจากภาพ ที่อธิบายขั้นตอนแล้วในแบบฟอร์ม

24 แบบฟอร์มสรุป โป่งน้ำ โป่งน้ำ ขุนห้วยแม่ยาว ห้วยแม่ยาว
พื้นที่หน่วยพิทักษ์ป่าหัวทุ่ง บริเวณห้วยแม่ยาว ห้วยแม่ยาว โป่งน้ำ โป่งน้ำ แบบฟอร์มการสอบทานข้อมูลหลังปฏิบัติงาน : ข้อสรุปและผลการลาดตระเวน ส่วนการจัดการ/บริเวณที่ลาดตระเวน : ให้บรรยายย่อ ๆ ถึงเส้นทางการลาดตระเวน รวมทั้งชื่อพื้นที่และส่วนของพื้นที่เขตฯที่เดินผ่าน วาดเส้นทางลาดตระเวนและทำเครื่องหมายแสดงจุดเกิดเหตุต่าง ๆ ในแผนที่ : ในการลาดตระเวนแต่ละครั้งควรมีการสำเนาแผนที่ของพื้นที่เขต ฯ เพื่อใช้บันทึกเส้นทางลาดตระเวน ให้แนบแผนที่ดังกล่าวไว้ในรายงานการลาดตระเวนภาคพื้นดิน ทำสัญญลักษณ์จุดเกิดเหตุ และ/หรือ ค่ายพักแรม ลงในแผนที่ด้วย สามารถวาดเป็นเส้นทางคร่าว ๆ ในช่องว่างหรือนำแผนที่มาแนบประกอบก็ได้ ขุนห้วยแม่ยาว

25 แบบฟอร์มสรุป แนบแบบฟอร์มแต่ละชุดพร้อมทั้งระบุจำนวนหน้าของแบบฟอร์มแต่ละชุดด้วย

26 แบบฟอร์มสรุป หากมีรายละเอียดเพิ่มเติมของเหตุการณ์ใด ๆ ที่น่าสนใจให้เขียนลงในหมายเหตุเพิ่มเติม โดยกล่าวถึงเหตุการณ์ พร้อมทั้งระบุวัน เวลา และพิกัด รวมทั้งรายละเอียดทั่ว ๆ ไปของเหตุการณ์ที่พบที่ต้องการบันทึก


ดาวน์โหลด ppt ระบบการลาดตระเวนเชิงคุณภาพ

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google