งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

คณะกรรมการหมู่บ้าน (กม.) กับการประนีประนอมข้อพิพาท

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "คณะกรรมการหมู่บ้าน (กม.) กับการประนีประนอมข้อพิพาท"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 คณะกรรมการหมู่บ้าน (กม.) กับการประนีประนอมข้อพิพาท
คณะกรรมการหมู่บ้าน (กม.) กับการประนีประนอมข้อพิพาท นายอนันต์ นาคนิยม ผู้อำนวยการส่วนพัฒนาและส่งเสริมการบริหารงานท้องที่ สำนักบริหารการปกครองท้องที่ กรมการปกครอง โทร ต่อ

2 คณะกรรมการหมู่บ้าน (กม.) กับการประนีประนอมข้อพิพาท
คณะกรรมการหมู่บ้าน (กม.) กับการประนีประนอมข้อพิพาท กระบวนการยุติธรรมทางเลือก (Alternative Dispute Resolution) ยุติธรรมทางเลือกหรือการระงับข้อพิพาททางเลือก (Alternative Dispute Resolution : ADR) คือ กระบวนการระงับข้อขัดแย้งด้วยวิธีที่นอกเหนือจากการดำเนินการคดีในศาล เช่น อนุญาโตตุลาการ การไกล่เกลี่ย เป็นต้น

3 หลักกฎหมาย ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
มาตรา อันว่าประนีประนอมยอมความนั้น คือ สัญญาซึ่ง ผู้เป็นคู่สัญญาทั้งสองฝ่ายระงับข้อพิพาทอันใดอันหนึ่งซึ่งมีอยู่หรือจะมี ขึ้นนั้นให้เสร็จไปด้วยต่างยอมผ่อนผันให้แก่กัน มาตรา 851 อันสัญญาประนีประนอมยอมความนั้นถ้ามิได้มีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อฝ่ายที่ต้องรับผิด หรือลายมือชื่อตัวแทนของฝ่ายนั้นเป็นสำคัญ ท่านว่าจะฟ้องร้อง ให้บังคับหาได้ไม่

4 ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ต่อ)
มาตรา 852 ผลของสัญญาประนีประนอมยอมความนั้น ย่อมทำให้การเรียกร้องซึ่งแต่ละฝ่ายได้ยอมสละนั้นระงับสิ้นไป และทำให้แต่ละฝ่ายได้สิทธิตามที่แสดงในสัญญานั้นว่าเป็น ของตน

5 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
มาตรา 39 สิทธินำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไป ดังต่อไปนี้ ... (2) ในคดีความผิดต่อส่วนตัว เมื่อได้ถอนคำร้องทุกข์ ถอนฟ้องหรือยอมความกันโดยถูกต้องตามกฎหมาย ....”

6 มาตรา 28 ตรี แห่ง พ.ร.บ.ลักษณะปกครองท้องที่ พระพุทธศักราช 2457 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 11) พ.ศ กำหนดที่มาของ กม. ดังนี้ กม. โดยตำแหน่ง กม. โดยการเลือก ผู้ใหญ่บ้าน ผู้ทรงคุณวุฒิ 2-10 คน ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน สมาชิก อปท. ผู้นำหรือผู้แทนกลุ่ม

7 ข้อพิพาทที่ กม. ทำการประนีประนอมได้
1 เป็นข้อพิพาทเกี่ยวกับความแพ่งหรือความอาญาที่เป็นความผิดอันยอมความได้ 2 คู่กรณีทั้งสองฝ่ายตกลงให้ กม. ประนีประนอม ข้อพิพาท 3 ข้อพิพาทดังกล่าวเกิดขึ้นในหมู่บ้านหรือคู่กรณีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีภูมิลำเนาอยู่ในหมู่บ้าน

8 ขั้นตอนการดำเนินการ 1. คู่กรณีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งหรือทั้งสองฝ่ายมาตกลง ทำบันทึกยินยอมให้ กม. ประนีประนอม 2. ผู้ใหญ่บ้านนัดหมาย กม. ทำการประนีประนอม -กม. จะมอบหมายให้กรรมการไม่น้อยกว่า 2 คน ดำเนินการแทนก็ได้ กม. จะเชิญบุคคลอื่นเข้าร่วมทำการประนีประนอมด้วยก็ได้

9 ขั้นตอนการดำเนินการ (ต่อ)
3. แสวงหาข้อเท็จจริง โดย (1) สอบถามคู่กรณีหรือบุคคลที่เกี่ยวข้อง (2) ตรวจสอบเอกสาร หรือวัตถุ หรือสถานที่ 4. การประนีประนอมข้อพิพาทให้กระทำโดยเปิดเผยต่อหน้าคู่กรณี ณ ที่ทำการผู้ใหญ่บ้านหรือสถานที่อื่นที่เห็นสมควร 5. ประนีประนอมข้อพิพาทโดยอาศัยหลักกฎหมาย จารีต ประเพณี แห่งท้องถิ่น ซึ่งไม่ขัดต่อกฎหมาย เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่คู่กรณี

10 ยุติเรื่อง 6. ผลการประนีประนอม จัดทำสัญญาประนีประนอมยอมความขึ้น 4 ฉบับ
ตกลง กันได้ จัดทำสัญญาประนีประนอมยอมความขึ้น 4 ฉบับ ตกลงกันไม่ได้ ยุติเรื่อง

11 7. รายงานผลให้นายอำเภอทราบ ทุกเดือน


ดาวน์โหลด ppt คณะกรรมการหมู่บ้าน (กม.) กับการประนีประนอมข้อพิพาท

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google