งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

องค์ประกอบที่ 5 และ 7.3 การส่งเสริมสุขภาพผู้รับบริการ ครอบครัว และญาติ และผลลัพธ์การดำเนินงาน ตามเกณฑ์คุณภาพ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพแห่งชาติ (HPHNQC)

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "องค์ประกอบที่ 5 และ 7.3 การส่งเสริมสุขภาพผู้รับบริการ ครอบครัว และญาติ และผลลัพธ์การดำเนินงาน ตามเกณฑ์คุณภาพ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพแห่งชาติ (HPHNQC)"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 องค์ประกอบที่ 5 และ 7.3 การส่งเสริมสุขภาพผู้รับบริการ ครอบครัว และญาติ และผลลัพธ์การดำเนินงาน ตามเกณฑ์คุณภาพ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพแห่งชาติ (HPHNQC)

2 องค์ประกอบที่ 5 การส่งเสริมสุขภาพ ผู้รับบริการ ครอบครัว และญาติ
องค์ประกอบที่ การส่งเสริมสุขภาพ ผู้รับบริการ ครอบครัว และญาติ 120 คะแนน 5.1 ข้อมูลและสารสนเทศด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพของ ผู้รับบริการ ครอบครัวและญาติ : โรงพยาบาลมีวิธีการอย่างไรในการจัดการ ข้อมูลและสารสนเทศด้านสุขภาพและ พฤติกรรมสุขภาพของผู้รับบริการ ครอบครัวและญาติ 40 คะแนน 40 คะแนน ให้อธิบาย กระบวนการจัดการข้อมูลและสารสนเทศ ที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพของผู้รับบริการ ครอบครัว และญาติ อธิบายที่มาของข้อมูล ระบบการจัดเก็บข้อมูลสุขภาพ พฤติกรรมสุขภาพของผู้รับบริการ ครอบครัว และญาติ Public health professionals include, but are not limited to the following: u     Administrators u     Biostatisticians u     Dieticians u     Environmental health specialists u     Epidemiologists u     Health care providers u     Health communication specialists u     Health educators u     Health law experts u     Labratorians u     Occupational health specialists u     Public health nurses u     Researchers u     Sanitarians u     Social scientists u     Toxicologists u     Others 2

3 คำอธิบายศัพท์ ข้อมูล (Data)
: ข่าวสาร ข้อความรูปภาพ เสียง หรืออะไรต่างๆ ที่อยู่ในหลายรูปแบบ ซึ่งข้อมูลเหล่านี้ยังไม่ได้ผ่านการประมวลผล หรือจัดกลุ่มเรียบเรียงอะไรทั้งสิ้น สารสนเทศ (Information) : ข้อมูลที่ได้ผ่านการกลั่นกรอง หรือประมวลผลในรูปแบบหรือกรรมวิธีต่างๆ ที่เหมาะสมและถูกต้อง เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ตรงตามความต้องการของผู้ใช้ การจัดการสารสนเทศ (Information Management) : ระบบสารสนเทศที่รวบรวม ประมวล เก็บรักษา และนำไปสู่ความรู้เพื่อการเผยแพร่

4 โดยตอบคำถามต่อไปนี้ (1) โรงพยาบาลมีวิธีการอย่างไรในการได้มาของข้อมูล และการจัดเก็บข้อมูล (A) ด้านสุขภาพ และพฤติกรรมสุขภาพ ของผู้รับบริการ ครอบครัวและญาติ เพื่อให้ข้อมูลมีความถูกต้อง เชื่อถือได้ ทันสมัย(L) และพร้อมใช้ (I) (2) โรงพยาบาลมีวิธีการ (A) อย่างไรในการสื่อสาร(D) และนำข้อมูลด้านสุขภาพ และพฤติกรรมสุขภาพไปใช้ในการสนับสนุนการส่งเสริมสุขภาพให้แก่ผู้รับบริการ ครอบครัวและญาติ (L,I)

5 แนวทางการให้คะแนนกระบวนการ องค์ประกอบที่ 1 – 6
แนวทางการให้คะแนนกระบวนการ องค์ประกอบที่ 1 – 6 - แสดงให้เห็นว่ามีแนวทางอย่างเป็นระบบและมีประสิทธิผลที่ตอบสนองต่อข้อกำหนดโดยรวมของหัวข้อ (A) - มีการนำแนวทางไปถ่ายทอดสู่การปฏิบัติเป็นอย่างดี ถึงแม้ว่าอาจแตกต่างกันในบางพื้นที่หรือบางหน่วยงาน (D) - มีกระบวนการประเมินและปรับปรุงอย่างเป็นระบบโดยใช้ข้อมูลจริง และเริ่มมีการเรียนรู้ในระดับโรงพยาบาลรวมถึงการสร้างนวัตกรรมบ้าง เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพและประสิทธิผลของกระบวนการที่สำคัญ (L) - มีแนวทางที่สอดคล้องไปในแนวทางเดียวกันกับความต้องการโดยรวมของโรงพยาบาล ตามที่ระบุไว้ในข้อมูลทั่วไปโรงพยาบาลและในเกณฑ์หัวข้ออื่นๆ (I) 50%, 55% % หรือ 65% คะแนน Public health professionals include, but are not limited to the following: u     Administrators u     Biostatisticians u     Dieticians u     Environmental health specialists u     Epidemiologists u     Health care providers u     Health communication specialists u     Health educators u     Health law experts u     Labratorians u     Occupational health specialists u     Public health nurses u     Researchers u     Sanitarians u     Social scientists u     Toxicologists u     Others 5

6 ตัวอย่าง ร.พ.สมมติ (1) โรงพยาบาลมีวิธีการอย่างไรในการได้มาของข้อมูล และการจัดเก็บข้อมูล (A) ด้านสุขภาพ และพฤติกรรมสุขภาพ ของผู้รับบริการ ครอบครัวและญาติ เพื่อให้ข้อมูลมีความถูกต้อง เชื่อถือได้ ทันสมัย(L) และพร้อมใช้ (I) โรงพยาบาลมีการกำหนดข้อมูลที่จำเป็นที่ต้องจัดเก็บด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพของผู้รับบริการทั้งกลุ่มดี... กลุ่มเสี่ยง... และกลุ่มป่วย... ซึ่งแต่ละหน่วยงานเป็นผู้รับผิดชอบรวบรวม วิเคราะห์ จัดเก็บ และรายงานอย่างเป็นระบบ เพื่อนำไปใช้ใน การวางแผนการส่งเสริมสุขภาพผู้รับบริการ ครอบครัวและญาติ ดังนี้

7 ตัวอย่าง ร.พ.สมมติ 5.1 (2) โรงพยาบาลมีวิธีการ (A) อย่างไรในการสื่อสาร(D) และนำข้อมูลด้านสุขภาพ และพฤติกรรมสุขภาพไปใช้ในการสนับสนุนการส่งเสริมสุขภาพให้แก่ผู้รับบริการ ครอบครัวและญาติ (L,I) โรงพยาบาลมีการสื่อสารให้ทุกหน่วยงานนำข้อมูลและสารสนเทศด้านสุขภาพ...ไปใช้ในการวางแผนการส่งเสริมสุขภาพผู้รับบริการ ครอบครัว และญาติให้สอดคล้องกับปัญหาและความต้องการ โดยผ่านการประชุมหัวหน้างาน แจ้งเวียนสรุปผลการวิเคราะห์รายไตรมาส และรวบรวมไว้ที่ศูนย์ข้อมูลข่าวสารของโรงพยาบาลเพื่อให้ทุกหน่วยงานสามารถเข้าถึงและนำไปใช้ประโยชน์ได้

8 5.2 การปรับระบบบริการของโรงพยาบาล : โรงพยาบาลมี
วิธีการอย่างไรใน การปรับระบบริการ ส่งเสริมสุขภาพของ ผู้รับบริการ ครอบครัวและญาติ 40 คะแนน ให้อธิบายถึงการปรับระบบบริการ ที่มีการบูรณาการด้านการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคที่สอดคล้องหรือตอบสนองกับปัญหาความต้องการด้านสุขภาพของผู้รับบริการ ครอบครัวและญาติ

9 โดยตอบคำถามต่อไปนี้ (1) โรงพยาบาลมีวิธีการอย่างไรในการปรับระบบบริการ (A,D) ที่สอดคล้องหรือตอบสนองกับปัญหาและความต้องการของผู้รับบริการ ครอบครัวและญาติ และ ระบบบริการเหล่านี้มีอะไรบ้าง (2) โรงพยาบาลมีการปรับระบบบริการอย่างไรที่แสดงให้เห็นถึงการบริการแบบองค์รวม (L, I)

10 ตัวอย่าง ร.พ.สมมติ (1) โรงพยาบาลมีวิธีการอย่างไรในการปรับระบบบริการ (A,D) ที่สอดคล้องหรือตอบสนองกับปัญหาและความต้องการของผู้รับบริการ ครอบครัวและญาติ และ ระบบบริการเหล่านี้มีอะไรบ้าง โรงพยาบาลมีการปรับระบบบริการ....โดยนำข้อคิดเห็น/ข้อเสนอแนะ/ข้อร้องเรียน/ผลการประเมินความพึงพอใจของผู้รับบริการที่ได้จากการวิเคราะห์มาจัดทำแผนพัฒนา โดยสื่อสารให้ทุกหน่วยงานนำสู่การปฏิบัติ เช่น ... พัฒนาระบบการนัดผู้รับบริการ , การสอนให้ผู้รับบริการทำอาหารตามเมนูอาหารที่สอดคล้องกับภาวะสุขภาพ การจัดมุมเรียนรู้ในหอผู้ป่วยเช่นหนังสือ/ VDO /บอร์ดเรื่องการดูแลสุขภาพไว้ในหอผู้ป่วย

11 ตัวอย่าง ร.พ.สมมติ (2) โรงพยาบาลมีการปรับระบบบริการอย่างไรที่แสดงให้เห็นถึงการบริการแบบองค์รวม (L, I) การจัดการบริการส่งเสริมสุขภาพของโรงพยาบาลอยู่ในรูปของคณะกรรมการ สหสาขาวิชาชีพ โดยมีแพทย์เป็นประธาน และให้ทุกหน่วยงานมีเครือข่ายในการดูแลต่อเนื่อง เช่น มีการส่งต่อให้ศูนย์สุขภาพชุมชน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล และกลุ่มงานเวชกรรมสังคมดูแลต่อเนื่อง มีระบบการวางแผนจำหน่ายตั้งแต่แรกรับ เริ่มจากมีการประเมิน การรักษาและส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันและฟื้นฟูสภาพผู้ป่วยอย่างเป็นระบบ เน้นผู้ป่วยเป็นศูนย์กลางและมีการดูแลสุขภาพอย่างเป็นองค์รวม คำนึงถึงสุขภาพกาย สุขภาพจิต อารมณ์ สังคมและจิตวิญญาณ ตั้งแต่ด่านหน้าถึงหอผู้ป่วย กำหนดให้มีการประเมินภาวะสุขภาพและวางแผนจำหน่ายภายใน 48 ชั่วโมง

12 ตัวอย่าง ร.พ.สมมติ (2) โรงพยาบาลมีการปรับระบบบริการอย่างไรที่แสดงให้เห็นถึงการบริการแบบองค์รวม (L, I) (ต่อ) ตัวอย่างการส่งเสริมสุขภาพอนามัยแม่และเด็ก (กลุ่มดี) การจัดการด้านอนามัยแม่และเด็กของโรงพยาบาลตั้งแต่ปี 2552 จนถึงปัจจุบัน เน้นการส่งเสริมสุขภาพอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ระยะตั้งครรภ์ ระยะคลอด และหลังคลอด จนถึงชุมชน โดยการดูแลร่วมกันแบบสหสาขาวิชาชีพ ทั้งแพทย์ พยาบาล โภชนากร เภสัชกร ทันตาภิบาล ผู้ให้การปรึกษาด้านสุขภาพจิตและนักสังคมสงเคราะห์ ในลักษณะทีมบุคลากรผู้ให้ความรู้และให้การช่วยเหลือมารดาให้สามารถดูแลตนเองได้ ต่อมาโรงพยาบาลได้เปลี่ยนแนวการส่งเสริมสุขภาพโดยเน้นการร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมกำหนด สิ่งที่ต้องการด้วยตนเอง เพื่อให้ตรงกับปัญหาและความต้องการของผู้รับบริการ ครอบครัวและญาติมากขึ้น เช่นการจัดกิจกรรมโรงเรียนพ่อแม่ โดยมีการใช้กระบวนการกลุ่มในการทำกิจกรรมเรียนรู้ร่วมกันให้คู่สามีภรรยาและบุคคลในครอบครัว เรื่องการดูแลสุขภาพกาย จิตใจ อารมณ์ และสังคมของมารดาขณะตั้งครรภ์และทารกในครรภ์ เน้นการมีส่วนร่วมในการวางแผนการดูแลของครอบครัวและการดูแลต่อเนื่องถึงระดับชุมชน กลุ่มป่วย และเสี่ยง Link ไป word

13 5.3 การส่งเสริมสุขภาพผู้รับบริการ ครอบครัว และญาติ : โรงพยาบาลมีวิธีการอย่างไรในการส่งเสริมสุขภาพผู้รับบริการ ครอบครัว และญาติ 40 คะแนน ให้แสดงถึง ตัวชี้วัดและค่าเป้าหมาย การดำเนินงานส่งเสริมสุขภาพผู้รับบริการ ครอบครัวและญาติ รวมถึง แผนติดตามประเมินผลการดำเนินงาน เพื่อนำไปสู่การปรับปรุงการดำเนินงานและการพัฒนาคุณภาพอย่างต่อเนื่อง

14 โดยตอบคำถามต่อไปนี้ (1) โรงพยาบาลมีการกำหนดตัวชี้วัด และการวัดผลการดำเนินการส่งเสริมสุขภาพผู้รับบริการ ครอบครัว และญาติที่สำคัญอะไรบ้าง (A,D) **นำไปรายงานใน ข้อ7.3** (2) โรงพยาบาลมีการประเมิน (L) ระบบการให้บริการ ที่มีการบูรณาการ (I) งานส่งเสริมสุขภาพ เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพ ประสิทธิผล และความพึงพอใจของกลุ่มเป้าหมายอย่างไร (3) โรงพยาบาลมีวิธีการนำผลการประเมินไปใช้ในการปรับกระบวนการ (L,I) ส่งเสริมสุขภาพผู้รับบริการ ครอบครัว และญาติอย่างไร

15 คำอธิบายศัพท์ ประสิทธิภาพ (Efficiency)
: การประเมินการใช้ทรัพยากรในการดำเนินการใดๆ ก็ตามโดยมีสิ่งมุ่งหวังถึงผลสำเร็จ และผลสำเร็จนั้นได้มาโดยการใช้ทรัพยากรน้อยที่สุด และการดำเนินการเป็นไปอย่างประหยัด ไม่ว่าจะเป็นระยะเวลา ทรัพยากร แรงงาน รวมทั้งสิ่งต่างๆ ที่ต้องใช้ในการดำเนินการนั้นๆ ให้เป็นผลสำเร็จ และถูกต้อง ประสิทธิผล (Effective) : การประเมินว่ากระบวนการหรือมาตรการที่ใช้สามารถตอบสนองเจตจำนงที่ตั้งไว้ได้ดีเพียงใด การประเมินประสิทธิผลต้องประเมินว่า (1) แนวทางนั้นมีความสอดคล้องไปในแนวทางเดียวกันกับความต้องการขององค์กร และองค์กรสามารถถ่ายทอดเพื่อนำแนวทางสู่การปฏิบัติได้ดีเพียงใด (2) ประเมินผลลัพธ์ของมาตรการที่ใช้

16 ตัวอย่าง ร.พ.สมมติ 5.3 (1) โรงพยาบาลมีการกำหนดตัวชี้วัด และการวัดผลการดำเนินการส่งเสริมสุขภาพผู้รับบริการ ครอบครัว และญาติที่สำคัญอะไรบ้าง (A,D) **นำไปรายงานใน ข้อ7.3** โรงพยาบาลนำนโยบายและตัวชี้วัดของกระทรวง กรม และของจังหวัด มากำหนดเป็นตัวชี้วัดหลักของโรงพยาบาล โดยเน้นประเด็นตัวชี้วัดที่เป็นปัญหาสำคัญของพื้นที่และของโรงพยาบาล ซึ่งตัวชี้วัดดังกล่าวมีทั้งด้านพฤติกรรมสุขภาพและด้านสภาวะสุขภาพ ตัวอย่างเช่น .. ตัวชี้วัดที่สำคัญในการดำเนินงานอนามัยแม่และเด็ก ซึ่งเป็นผู้รับบริการกลุ่มดี ได้แก่ อัตราการฝากครรภ์ก่อน 12 สัปดาห์, อัตราการฝากครรภ์ครบ 4 ครั้งตามเกณฑ์ อัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว 6 เดือน อัตราการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการในเด็กแรกเกิด - 6 ปี อัตราตายของมารดาที่ตั้งครรภ์ อัตราตายปริกำเนิด อัตราตายทารก อัตรามารดาอายุต่ำกว่า 20 ปี อัตราการเกิดภาวะ Birth Asphyxia อัตราทารกแรกเกิดน้าหนักน้อยกว่า 2,500 กรัม และอัตราเด็กแรกเกิดถึง 5 ปีมีพัฒนาการสมวัย เป็นต้น

17 ตัวอย่าง ร.พ.สมมติ 5.3 (1) โรงพยาบาลมีการกำหนดตัวชี้วัด และการวัดผลการดำเนินการส่งเสริมสุขภาพผู้รับบริการ ครอบครัว และญาติที่สำคัญอะไรบ้าง (A,D) **นำไปรายงานใน ข้อ7.3** - ตัวชี้วัดที่สำคัญในการดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวาน ซึ่งเป็นผู้รับบริการกลุ่มป่วย ได้แก่ อัตราของผู้ป่วย DM ที่สามารถเลือกรับประทานอาหารได้เหมาะสม, อัตราของผู้ป่วยDM ที่สามารถออกกำลังกายได้เหมาะสม 30 นาที/ครั้ง อย่างน้อย 3 ครั้ง/สัปดาห์, อัตราผู้ป่วย DMที่สามารถตรวจและดูแลเท้าด้วยตนเองได้อย่างถูกต้อง, อัตราผู้ป่วยDM ที่สามารถฉีดยาด้วยตนเองได้อย่างถูกต้อง, อัตราผู้ป่วยDM ที่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลได้ในระดับที่เหมาะสม (FBS ไม่เกิน 70–130 mg/dl), อัตราผู้ป่วย DM ที่มีค่า HbA1c ต่ำกว่าหรือเท่ากับ 7%, อัตราผู้ป่วย DM ที่มีค่า LDL ต่ำกว่าหรือเท่ากับ 100 mg/dl, อัตราการเกิดโรคแทรกซ้อนเรื้อรังในผู้ป่วยDMทางตา, อัตราผู้ป่วยDMที่ได้รับการตัดนิ้วเท้า เท้า หรือขา, อัตราการadmittedจากภาวะแทรกซ้อนระยะสั้นของ DM (Hypo/hyper), อัตราการ Re-admitted ด้วยโรค DM หรือภาวะแทรกซ้อน DM เป็นต้น

18 ตัวอย่าง ร.พ.สมมติ 5.3 (2) โรงพยาบาลมีการประเมิน (L) ระบบการให้บริการ ที่มีการบูรณาการ (I) งานส่งเสริมสุขภาพ เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพ ประสิทธิผล และความพึงพอใจของกลุ่มเป้าหมายอย่างไร โรงพยาบาลใช้กรอบของการพัฒนาคุณภาพโรงพยาบาล และมาตรฐานโรง พยาบาลส่งเสริมสุขภาพ เป็น แนวทางในการประเมินการบูรณาการงานส่งเสริมสุขภาพ ซึ่งกำลังดำเนินการให้เกิดความชัดเจน มีความเชื่อมโยงกับทุก หน่วยงานทั้งในโรงพยาบาลและนอกโรงพยาบาล มีการประเมินผลลัพธ์ของการให้บริการในผู้รับบริการแต่ละกลุ่มเปรียบเทียบกับค่าเป้าหมายของโรงพยาบาลในแต่ละปี และวิเคราะห์แนวโน้มเปรียบเทียบ 3 ปีย้อนหลัง (บางเรื่องอยู่ระหว่างดำเนินการหาคู่เทียบจากโรงพยาบาลใกล้เคียง) เพื่อหาโอกาสพัฒนางานให้ดียิ่งขึ้น และเป็นที่พึงพอใจของผู้รับบริการ ครอบครัว และญาติ

19 ตัวอย่าง ร.พ.สมมติ (3) โรงพยาบาลมีวิธีการนำผลการประเมินไปใช้ในการปรับกระบวนการ (L,I) ส่งเสริมสุขภาพผู้รับบริการ ครอบครัว และญาติอย่างไร ผลการประเมินที่ได้นำไปปรับระบบการให้บริการการส่งเสริมสุขภาพ ดังตัวอย่างต่อไปนี้ … เช่น ผู้ป่วยเบาหวานไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม (FBS ไม่เกิน 70–130 mg/dl) ได้ เมื่อวิเคราะห์สืบค้นสาเหตุ พบว่า ผู้ป่วยมีอาการตามัว ทำให้ปริมาณยาที่ฉีดมีความคลาดเคลื่อน นำสู่การปรับระบบบริการ โดยให้ญาติมีส่วนร่วมรับรู้ความสามารถของผู้ป่วยและช่วยฉีดยาให้ผู้ป่วยแทน เป็นต้น....

20 แสดงข้อมูลและสารสนเทศต่อไปนี้
7.3 ผลลัพธ์ด้านการส่งเสริมสุขภาพผู้รับบริการ ครอบครัวและญาติ : ผลการดำเนินงานการส่งเสริมสุขภาพ ผู้รับบริการ ครอบครัวและญาติเป็นอย่างไร 65 คะแนน สรุปผลการดำเนินงานที่สำคัญด้านการส่งเสริมสุขภาพผู้รับบริการ ครอบครัวและญาติ โดยแสดงผลลัพธ์ ด้านพฤติกรรมสุขภาพ และภาวะสุขภาพ รวมทั้งแสดงให้เห็นระดับ แนวโน้ม และการเปรียบเทียบผลลัพธ์ที่เหมาะสม แสดงข้อมูลและสารสนเทศต่อไปนี้ ผลลัพธ์การส่งเสริมสุขภาพผู้รับบริการ ครอบครัวและญาติ **เชื่อมโยงกับ 5.3 (1)**

21 หมายเหตุ ผลลัพธ์ที่รายงานในหัวข้อ 7.3 (1) เป็นการแสดงผลลัพธ์ของโรงพยาบาล ตามตัวชี้วัดในองค์ประกอบที่ 5 และผลลัพธ์ที่ควรรายงานเพิ่มเติม ได้แก่ พฤติกรรมสุขภาพผู้รับบริการ ครอบครัวและญาติ - พฤติกรรมสุขภาพในแต่ละกลุ่ม (กลุ่มปกติ กลุ่มเสี่ยง กลุ่มป่วย) เช่น การบริโภค หรือการออกกำลังกาย - Exclusive Breast Feeding - การสูบบุหรี่ และการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ภาวะสุขภาพผู้รับบริการ ครอบครัวและญาติ - Low Birth weight พัฒนาการสมวัย - อัตราการป่วยซ้ำ อัตราการเกิดโรคแทรกซ้อน - ไขมันในเลือด ความดันโลหิต น้ำตาลในเลือด - ภาวะโภชนาการ BMI/รอบเอว

22 แนวทางการให้คะแนน องค์ประกอบที่ 7
- มีการรายงานผลการดำเนินการที่ตอบสนองต่อข้อกำหนดโดยรวมของหัวข้อและผลอยู่ในระดับที่ดี (Le) - แสดงถึงแนวโน้มที่ดีอย่างชัดเจนในเรื่องต่างๆ ที่มีความสำคัญต่อการบรรลุพันธกิจของโรงพยาบาล (T) - ผลการดำเนินการในปัจจุบันบางเรื่องอยู่ในระดับที่ดี เมื่อเทียบเคียงกับตัวเปรียบเทียบ และ/หรือระดับเทียบเคียงที่เหมาะสม (C) - มีการรายงานผลลัพธ์ที่ตอบสนองต่อปัญหาและความต้องการของบุคลากร ผู้รับบริการ ครอบครัว ญาติ ชุมชน และกระบวนการเป็นส่วนใหญ่ (I) 50%, 55% % หรือ 65% คะแนน Public health professionals include, but are not limited to the following: u     Administrators u     Biostatisticians u     Dieticians u     Environmental health specialists u     Epidemiologists u     Health care providers u     Health communication specialists u     Health educators u     Health law experts u     Labratorians u     Occupational health specialists u     Public health nurses u     Researchers u     Sanitarians u     Social scientists u     Toxicologists u     Others 22


ดาวน์โหลด ppt องค์ประกอบที่ 5 และ 7.3 การส่งเสริมสุขภาพผู้รับบริการ ครอบครัว และญาติ และผลลัพธ์การดำเนินงาน ตามเกณฑ์คุณภาพ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพแห่งชาติ (HPHNQC)

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google