งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

การประชุมสัมมนา กระทรวงมหาดไทย

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "การประชุมสัมมนา กระทรวงมหาดไทย"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 การประชุมสัมมนา กระทรวงมหาดไทย
“ประชาคมอาเซียนกับผลกระทบต่อกฎหมายไทย” ดร.ชาติชาย เชษฐสุมน โรงแรมรอยัลริเวอร์ วันพฤหัสบดีที่ ๒๓ สิงหาคม ๒๕๕๕ เวลา ๐๙.๓๐ – ๑๑.๓๐ น.

2 ประชาคมอาเซียน ผลกระทบต่อกฎหมายไทย
เรื่องที่จำเป็นต้องรู้ !!! ประชาคมอาเซียน ๒๕๕๘ กฎหมายไทย คำถามที่นำไปสู่คำตอบ ๑. ที่มาของผลกระทบต่อกฎหมายไทย ? ๒. กระทบต่อกฎหมายไทยอย่างไร ?

3 ๑. ที่มาของผลกระทบต่อกฎหมายไทย
๑ ที่มาของผลกระทบต่อกฎหมายไทย นิติสัมพันธ์ระดับรัฐ ระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียน (ASEAN Member States: AMS) ในลักษณะต่าง ๆ ตั้งแต่เริ่มต้นความร่วมมือในลักษณะ “สมาคม” (Association) จนถึงการพัฒนาความร่วมมือระหว่าง AMS สู่การเป็น “ประชาคม” (Community) นิติสัมพันธ์ระดับรัฐฯ คือ อะไร ? นิติสัมพันธ์ระดับรัฐฯ มีอะไรบ้าง ?

4 นิติสัมพันธ์ระดับรัฐฯ
ความสัมพันธ์ระดับหรือระหว่างรัฐที่มีกฎหมายรองรับความสัมพันธ์ กฎหมายที่รองรับความสัมพันธ์ ได้แก่ สนธิสัญญา จารีตประเพณีระหว่างประเทศ หลักกฎหมายทั่วไประหว่างประเทศ

5 ลักษณะของนิติสัมพันธ์ระหว่าง AMS
นิติสัมพันธ์ที่ส่งผลกระทบฯ แบ่งได้ ๒ ลักษณะ ดังนี้ ๑.๑. นิติสัมพันธ์ระหว่าง AMS ภายใต้กรอบอาเซียน ๑.๒. นิติสัมพันธ์ระหว่าง AMS นอกกรอบอาเซียน

6 ๑.๑. นิติสัมพันธ์ฯ ภายใต้กรอบอาเซียน
นิติสัมพันธ์ฯ ภายใต้กรอบอาเซียน แบ่งได้ ๔ ลักษณะ ดังนี้ ๑.๑.๑. นิติสัมพันธ์ฯ ในการก่อตั้งสมาคมอาเซียนและพัฒนาสู่การเป็นประชาคมอาเซียน ๑.๑.๒. นิติสัมพันธ์ฯ ระหว่าง AMS ในความร่วมมือด้านต่าง ๆ ๑.๑.๓. นิติสัมพันธ์ฯ ในระดับอนุภูมิภาค ๑.๑.๔. นิติสัมพันธ์ระหว่าง ASEAN กับ องค์การระหว่างประเทศอื่น หรือ ประเทศอื่น ๆ ที่ไม่ใช่ AMS

7 ๑.๑.๑. / ๑ นิติสัมพันธ์ฯ ASEAN – ASEAN Community
ปฏิญญากรุงเทพ ๒๕๑๐ เขตการค้าเสรีอาเซียน (AFTA) ข้อตกลงว่าด้วยสิทธิพิเศษทางการค้า ๒๕๑๙ (PTA) ความตกลงว่าด้วยการใช้มาตรการกำหนดอัตราอากรร่วม (CEPT) เพื่อจัดตั้งเขตการค้าเสรีอาเซียน (AFTA)

8 ๑.๑.๑. / ๒ นิติสัมพันธ์ฯ ASEAN – ASEAN Community
ปฏิญญาบาหลี ๒๕๑๙ วางกรอบความร่วมมือ ๕ เรื่อง + ปรับโครงสร้าง ASEAN วิสัยทัศน์อาเซียน ๒๕๖๓ (ASEAN Visions 2020) ๒๕๔๐ กำหนดเป้าหมายการร่วมมือระหว่างกันจนถึงปี ๒๕๖๓ และทบทวนอีกครั้ง แผนปฏิบัติการฮานอย ๒๕๔๑ (๒๕๔๑ - ๒๕๔๗) วางกรอบการดำเนินงานตามวิสัยทัศน์อาเซียน ๒๕๖๓ ปฏิญญาบาหลีว่าด้วยความร่วมมืออาเซียน (๒) ๒๕๔๖ วางกรอบการจัดตั้งประชาคมอาเซียน ให้แล้วเสร็จปี ๒๕๖๓

9 ๑.๑.๑. / ๓ นิติสัมพันธ์ฯ ASEAN – ASEAN Community
ประชาคมอาเซียน (AC) ... แผนปฏิบัติการเวียงจันทน์ ๒๕๔๗ แผนปฏิบัติการต่อเนื่องจากแผนฯ ฮานอย (๒๕๔๗ – ๒๕๕๓) ผลักดันการจัดตั้งประชาคมอาเซียน ริเริ่มการจัดทำกฎบัตรอาเซียน (ASEAN Charter) ผลักดันการจัดตั้ง APSC / AEC / ASCC ปฏิญญากัวลาลัมเปอร์ว่าด้วยการจัดทำกฎบัตรอาเซียน ๒๕๔๘ แต่งตั้ง Eminent Persons Group (EPG) และ High Level Task Force (HLTF) ในการจัดทำร่างกฎบัตรอาเซียน ปฏิญญาเซบูว่าด้วยแผนแม่บทแห่งกฎบัตรอาเซียน ๒๕๕๐ กำหนดเร่งการดำเนินการจัดตั้งประชาคมอาเซียนจากเดิมภายในปี ๒๕๖๓ เป็น ๒๕๕๘

10 ๑.๑.๑. / ๔ นิติสัมพันธ์ฯ ASEAN – ASEAN Community
ประชาคมอาเซียน (ต่อ) ... กฎบัตรอาเซียน ๒๕๕๐ อาเซียนมีสถานะทางกฎหมายเป็นองค์การระหว่างประเทศระดับรัฐบาล และ มีสภาพบุคคล แผนการทำงานสู่ประชาคมอาเซียน ๒๕๕๒(Roadmap to ASEAN Community 2009) ใช้แทนแผนปฏิบัติการเวียงจันทน์ มีระยะเวลา ๒๕๕๒ – ๒๕๕๘ ประกอบด้วย AEC Blueprint ๒๕๕๐ APSC Blueprint ๒๕๕๒ ASCC Blueprint ๒๕๕๒ และ การริเริ่มกรอบการทำงาน เพื่อบูรณาการอาเซียนฯ ปฏิญญาบาหลีว่าด้วยความร่วมมืออาเซียน (๓) ๒๕๕๔ ส่งเสริมบทบาทของอาเซียนในประชาคมโลก //

11 ๑.๑.๒. / ๑ นิติสัมพันธ์ฯ ระหว่าง AMS ด้านต่าง ๆ
๑) นิติสัมพันธ์ด้านความมั่นคง ๒) นิติสัมพันธ์ด้านเศรษฐกิจ ๓) นิติสัมพันธ์ด้านสังคมและวัฒนธรรม

12 ๑.๑.๒. / ๒ นิติสัมพันธ์ฯ ระหว่าง AMS ด้านต่าง ๆ
๑) นิติสัมพันธ์ด้านความมั่นคง ; แถลงการณ์ว่าด้วยเขตสันติภาพ เสรีภาพและความเป็นกลาง ๒๕๑๔ (ZOPFAN) สนธิสัญญาไมตรีและความร่วมมือในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ๒๕๑๙ (TAC) + พิธีสารแก้ไข (ฉ. ๑ / ๒๕๓๐) และ (ฉ. ๒ / ๒๕๔๑) สนธิสัญญาเขตปลอดอาวุธนิวเคลียร์เอเซียตะวันออกเฉียงใต้ ๒๕๓๘ (SEANWEZ) ปฏิญญาว่าด้วยการจัดการของภาคีในทะเลจีนใต้ การจัดทำแนวปฏิบัติในทะเลจีนใต้ (COC) สนธิสัญญาอื่น ๆ ที่อยู่ระหว่างดำเนินการ เช่น สนธิสัญญาส่งผู้ร้ายข้ามแดนอาเซียน ความร่วมมือป้องกันและต่อต้านการคอรัปชั่น /

13 ๑.๑.๒. / ๓ (๑) นิติสัมพันธ์ฯ ระหว่าง AMS ด้านต่าง ๆ
๒) นิติสัมพันธ์ด้านเศรษฐกิจ การค้า การลงทุน แรงงาน ทุน อื่น ๆ

14 ๑.๑.๒. / ๓ (๒) นิติสัมพันธ์ฯ ระหว่าง AMS ด้านต่าง ๆ
๒.๑) การค้า การค้าสินค้า การค้าบริการ

15 ๑.๑.๒. / ๓ (๒.๑) นิติสัมพันธ์ฯ ระหว่าง AMS ด้านต่าง ๆ
การค้าสินค้า ความตกลงว่าด้วยสิทธิพิเศษทางการค้า (PTA) ความตกลงว่าด้วยการใช้มาตรการกำหนดอัตราอากรร่วม (CEPT) เพื่อจัดตั้งเขตการค้าเสรีอาเซียน (AFTA) ความตกลงว่าด้วยศุลกากรอาเซียน ๒๕๔๐ ความตกลงว่าด้วยข้อตกลงรับรองร่วมกันของอาเซียน ๒๕๔๑ สาขาสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ สาขาสินค้าเครื่องสำอาง ความตกลงด้านอิเล็กทรอนิกส์อาเซียน ๒๕๔๓ (e - ASEAN) พิธีสารเกี่ยวกับการใช้พิกัดอัตราศุลกากรอาเซียน ๒๕๔๖ (AHTN) ความตกลงว่าด้วยการรวมกลุ่มสาขาสำคัญอาเซียน ๒๕๔๗ (๑๑ สาขา) ; ผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร การเดินอากาศ ยานยนต์ การประมง ฯลฯ ความตกลงจัดตั้งและดำเนินการด้านศุลกากรด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ ณ จุดเดียวอาเซียน ความตกลงการค้าสินค้าอาเซียน ๒๕๕๒ (ATIGA) หลักเกณฑ์ว่าด้วยแหล่งกำเนิดสินค้า (Rules of Origin) มาตรการกระชับการรวมกลุ่มอาเซียนโดยให้สิทธิพิเศษด้านอากรศุลกากร ฯลฯ /

16 ๑.๑.๒. / ๓ (๒.๒) นิติสัมพันธ์ฯ ระหว่าง AMS ด้านต่าง ๆ
การค้าบริการ ความตกลงว่าด้วยการค้าบริการอาเซียน ๒๕๓๘ (AFAS) ความตกลงว่าด้วยการรับรองคุณสมบัติวิชาชีพระหว่างกัน (MRA) ๗ สาขา แพทย์ ทันตแพทย์ พยาบาล สถาปนิก บริการวิศวกรรม นักบัญชี ช่างสำรวจ /

17 ๑.๑.๒. / ๓ (๓) นิติสัมพันธ์ฯ ระหว่าง AMS ด้านต่าง ๆ
๒.๒) การลงทุน ความตกลงว่าด้วยการส่งเสริมและคุ้มครองการลงทุนระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียน (IGA) ความตกลงว่าด้วยเขตการลงทุนเสรีอาเซียน (AIA) ความตกลงว่าด้วยการลงทุนเต็มรูปแบบอาเซียน (ACIA) ความตกลงว่าด้วยการร่วมทุนด้านอุตสาหกรรมอาเซียน (AIJVs) -> ความตกลงว่าด้วยความร่วมมือด้านอุตสาหกรรมอาเซียน (AICO) /

18 ๑.๑.๒. / ๓ (๔) นิติสัมพันธ์ฯ ระหว่าง AMS ด้านต่าง ๆ
๒.๓) แรงงาน แรงงานมีฝีมือ การเคลื่อนย้ายโดยเสรี โดยมี MRA รองรับ (๗ สาขา) เครือข่ายมหาวิทยาลัยอาเซียน (AUN) แรงงานไร้ฝีมือ ประชาคมอาเซียน ยังไม่มีการกล่าวถึง ปัญหา การเข้าเมือง การพำนักอาศัย ? การเข้าสู่ทะเบียนราษฎรใน AMS ? การมีสิทธิในสัญชาติของคนรุ่นต่อ ๆ ไป ? /

19 ๑.๑.๒. / ๓ (๕) นิติสัมพันธ์ฯ ระหว่าง AMS ด้านต่าง ๆ
๒.๔) ทุน การเคลื่อนย้ายทุนเสรีมากขึ้น การพัฒนาและรวมกลุ่มตลาดทุนอาเซียน การรับรองคุณสมบัติวิชาชีพด้านตลาดทุน สนธิสัญญา ? /

20 ๑.๑.๒. / ๓ (๖) นิติสัมพันธ์ฯ ระหว่าง AMS ด้านต่าง ๆ
๒.๕) อื่น ๆ ความตกลงว่าด้วยความร่วมมือด้านพลังงาน ความตกลงว่าด้วยความมั่นคงด้านปิโตรเลียม ความตกลงว่าด้วยทรัพย์สินทางปัญญาอาเซียน ฯลฯ /

21 ๑.๑.๒. / ๔ นิติสัมพันธ์ฯ ระหว่าง AMS ด้านต่าง ๆ
๓) นิติสัมพันธ์ด้านสังคมและวัฒนธรรม ความตกลงว่าด้วยการจัดตั้งศูนย์ความหลากหลายทางชีวภาพอาเซียน ความตกลงว่าด้วยการจัดการภัยพิบัติและการดำเนินการในภาวะฉุกเฉิน พิธีสารเพื่อการรวมสาขาการดูแลสุขภาพอาเซียน ปฏิญญาว่าด้วยการขจัดการกระทำรุนแรงต่อสตรีในภูมิภาคอาเซียน ความตกลงว่าด้วยมลภาวะข้ามพรมแดน ปฏิญญาอาเซียนว่าด้วยความยั่งยืนของสภาพแวดล้อม ฯลฯ /

22 ๑.๑.๓. นิติสัมพันธ์ฯ ในระดับอนุภูมิภาค
๑.๑.๓ นิติสัมพันธ์ฯ ในระดับอนุภูมิภาค ๑) ความร่วมมือในกลุ่มประเทศอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง (GMS) ๒) แผนงานการพัฒนาเศรษฐกิจสามฝ่าย อินโดนีเซีย มาเลเซีย ไทย (IMT - GT) ๓) ยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจ อิระวดี เจ้าพระยา แม่โขง (ACMACs) ๔) เขตพัฒนาเศรษฐกิจในภูมิภาคมลายู (BIMP - EAGA) /

23 ๑.๑.๔. นิติสัมพันธ์ฯ ASEAN – IO / Non - AMS
ความตกหุ้นส่วนเศรษฐกิจระหว่างอาเซียนกับ ๖ ประเทศ (ASEAN AUS, NZ, and IN) ความตกลงเขตการค้าเสรีอาเซียน – จีน ความตกลงเขตการค้าเสรีอาเซียน – สาธารณรัฐเกาหลี ความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจอาเซียน – ญี่ปุ่น ความตกลงการค้าเสรีอาเซียน – อินเดีย ความตกลงเพื่อจัดตั้งเขตการค้าเสรีอาเซียน – ออสเตรเลีย – นิวซีแลนด์ อื่น ๆ ; การเจรจาระหว่างอาเซียนกับความร่วมมืออาหรับ (ASEAN – the Gulf Cooperation Council: GCC) ประกอบด้วย ประเทศบาห์เรน กาตาร์ คูเวต โอมาน ซาอุดิอาระเบีย สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ///

24 ๑.๒. / ๑ นิติสัมพันธ์ฯ นอกกรอบอาเซียน
๑.๒. / ๑ นิติสัมพันธ์ฯ นอกกรอบอาเซียน บางเรื่องเกี่ยวข้องกับการพัฒนาสู่การเป็นประชาคมอาเซียน ๑) ความตกลงทวิภาคีว่าด้วยการส่งผู้ร้ายข้ามแดน ไทย – อินโดนีเซีย ไทย – ฟิลิปปินส์ ไทย – กัมพูชา ไทย – ลาว ๒) ความตกลงทวิภาคีทางการค้า

25 ๑.๒. / ๒ นิติสัมพันธ์ฯ นอกกรอบอาเซียน
๑.๒. / ๒ นิติสัมพันธ์ฯ นอกกรอบอาเซียน ๓) ความตกลงทวิภาคีว่าด้วยการลงทุน ไทย – ลาว ไทย – เวียดนาม ไทย – กัมพูชา ไทย – ฟิลิปปินส์ ไทย – อินโดนีเซีย ๔) ความตกลงทวิภาคีว่าด้วยการขจัดภาษีซ้อน ไทย – มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ เวียดนาม ลาว อินโดนีเซีย และ สหภาพพม่า ไทย – บรูไน ยังไม่มีผลบังคับใช้ /

26 ๑.๒. / ๓ นิติสัมพันธ์ฯ นอกกรอบอาเซียน
๑.๒. / ๓ นิติสัมพันธ์ฯ นอกกรอบอาเซียน ๕) บันทึกความเข้าใจว่าด้วยการจ้างแรงงานไร้ฝีมือ บันทึกความเข้าใจระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยและรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวว่าด้วยความร่วมมือด้านการจ้างแรงงาน ณ นครเวียงจันทน์ (๑๘.๑๐.๒๕๔๕) บันทึกความเข้าใจระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยและรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรกัมพูชาว่าด้วยความร่วมมือด้านการจ้างแรงงาน ณ จังหวัดอุบลราชธานี (๓๑.๐๕.๒๕๔๖) บันทึกความเข้าใจระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยและรัฐบาลแห่งสหภาพพม่าว่าด้วยความร่วมมือด้านการจ้างแรงงาน ณ จังหวัด (๒๑.๐๖.๒๕๔๖) ///

27 รัฐธรรมนูญ - กระบวนการทำสนธิสัญญา
กระบวนการตามกฎหมายระหว่างประเทศ กฎหมายระหว่างประเทศ กระบวนการตามกฎหมายภายใน รัฐธรรมนูญ ๒๕๕๐ ประเภทที่ต้องได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภาก่อนที่ฝ่ายบริหารจะแสดงเจตนาผูกพันตามสนธิสัญญา ม. ๑๙๐ ว. ๒ ประเภทที่ไม่ต้องได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภาก่อนที่ฝ่ายบริหารจะแสดงเจตนาผูกพันตามสนธิสัญญา ม. ๑๙๐ ว. ๑

28 ๒. ผลกระทบต่อกฎหมายไทย กระทบต่อกฎหมายไทยอย่างไร ?
๒ ผลกระทบต่อกฎหมายไทย กระทบต่อกฎหมายไทยอย่างไร ? เมื่อประเทศไทยผูกพันตามสนธิสัญญาต่าง ๆ ย่อมมีหน้าที่ปฏิบัติตามพันธกรณีที่ได้เจรจาตกลงระหว่างกัน หากไม่ปฏิบัติตามเกิดความรับผิดของรัฐ พันธกรณีต้องได้รับการปฏิบัติหรือสามารถบังคับใช้ภายในประเทศ เนื่องจากสนธิสัญญาไม่มีผลบังคับใช้ได้โดยตรงภายในประเทศไทย ต้องมีการแปลงรูป (transform) หรือปรับให้เป็นกฎหมายภายใน หรือ มีกฎหมายภายในรองรับสนธิสัญญาก่อนจึงจะสามารถบังคับได้

29 ๒. ผลกระทบต่อกฎหมายไทย ผลกระทบ ๒ ลักษณะ
๒ ผลกระทบต่อกฎหมายไทย ผลกระทบ ๒ ลักษณะ ๒.๑. ผลกระทบต่อการตรากฎหมายรองรับพันธกรณีตามสนธิสัญญา ๒.๒. ผลกระทบต่อการจัดทำแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๑

30 ๒.๑. ผลกระทบต่อกฎหมายที่รองรับฯ
๒.๑ ผลกระทบต่อกฎหมายที่รองรับฯ ๒.๑.๑. การตรากฎหมายฉบับใหม่รองรับสนธิสัญญา ๒.๑.๒. การแก้ไขเปลี่ยนแปลงกฎหมายภายในที่รองรับสนธิสัญญาฯ ๒.๑.๓. การแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายภายในที่รองรับสนธิสัญญาฯ

31 ๒.๑.๑. การตรากฎหมายฉบับใหม่รองรับฯ
๒.๑.๑ การตรากฎหมายฉบับใหม่รองรับฯ กรณีที่ยังไม่มีกฎหมายภายในรองรับสนธิสัญญา จึงต้องตรากฎหมายภายในรองรับให้มีผลบังคับใช้ภายในประเทศ ; ลักษณะการตรากฎหมาย ๑) การตรากฎหมายฉบับใหม่ฯ โดยนำสาระสำคัญของสนธิสัญญาบัญญัติเป็นกฎหมายภายใน ๒) การตรากฎหมายฉบับใหม่ฯ โดยการแปลสนธิสัญญาแนบท้ายพระราชบัญญัติ

32 ๒.๑.๑. การตรากฎหมายฉบับใหม่รองรับฯ
๒.๑.๑ การตรากฎหมายฉบับใหม่รองรับฯ ๑) การตรากฎหมายฉบับใหม่ฯ โดยนำสาระสำคัญของสนธิสัญญาบัญญัติเป็นกฎหมายภายใน พรบ. คุ้มครองการดำเนินงานของสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ๒๕๕๑ พรบ. ส่งผู้ร้ายข้ามแดน ๒๕๕๑ ประกาศการมีผลบังคับใช้ของความตกลงระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลของประเทศสมาชิกอาเซียนอื่น ๆ เพื่อการส่งเสริมและคุ้มครองการลงทุน ไทย – ลาว เวียดนาม กัมพูชา ฟิลิปปินส์ /

33 ๒.๑.๑. การตรากฎหมายฉบับใหม่รองรับฯ
๒.๑.๑ การตรากฎหมายฉบับใหม่รองรับฯ ๒) การตรากฎหมายฉบับใหม่ฯ โดยการแปลสนธิสัญญาแนบท้ายพระราชบัญญัติ พระราชบัญญัติส่งผู้ร้ายข้ามแดนระหว่างราชอาณาจักรไทยกับสาธารณรัฐอินโดนีเซีย ๒๕๒๒ – กำหนดให้การส่งผู้ร้ายข้ามแดนระหว่างราชอาณาจักรไทยกับ ... เป็นไปตามการส่งผู้ร้ายข้ามแดน ท้ายพระราชบัญญัตินี้ พรบ. ส่งผู้ร้ายข้ามแดนระหว่างราชราชอาณาจักรไทยกับ ... ฟิลิปปินส์ กัมพูชา ลาว /

34 ๒.๑.๒ การแก้ไขเปลี่ยนแปลงกฎหมายภายใน
๒.๑.๒ การแก้ไขเปลี่ยนแปลงกฎหมายภายใน กรณีที่มีกฎหมายภายในรองรับอยู่แล้วแต่ต้องแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้สอดคล้องกับพันธกรณีตามสนธิสัญญา ; พรบ.การประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว ๒๕๔๒ เรื่องสัดส่วนผู้ถือหุ้นของคนต่างด้าวในกิจการ ร้อยละ ๕๑ / ๔๙ ซึ่งภายใต้ความร่วมมือด้านเศรษฐกิจ AEC กำหนดให้สัดส่วนของคนชาติประเทศสมาชิกสามารถถือหุ้นได้เกินร้อยละ ๔๙ บางกิจการสามารถถือหุ้นได้ถึง ร้อยละ ๗๐ (logistics) พรบ.การทำงานของคนต่างด้าว ๒๕๕๑ ที่ห้ามคนต่างชาติประกอบอาชีพบางอาชีพ /

35 ๒.๑.๒ การเพิ่มเติมกฎหมายภายใน
๒.๑.๒ การเพิ่มเติมกฎหมายภายใน กรณีมีกฎหมายภายในรองรับสนธิสัญญาแล้ว แต่ต้องแก้ไขเพิ่มเติมให้เป็นไปตามพันธกรณีของสนธิสัญญา ; ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่องการยกเว้นอากรและการลดอัตราอากรศุลกากรสำหรับเขตการค้าเสรีอาเซียน (อต. ๒๐) รองรับความตกลงว่าด้วยการมาตรการการกำหนดอัตราอากรร่วม (CEPT) เพื่อการจัดตั้งเขตการค้าเสรีอาเซียน (AFTA) ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่องการยกเว้นอากรและการลดอัตราอากรศุลกากรสำหรับประเทศสมาชิกใหม่ (สห. ๑) รองรับมาตรการกระชับการรวมกลุ่มอาเซียน โดยให้สิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากร (ASEAN Integration System of Preferences: AISP) แก่ประเทศสมาชิกใหม่อาเซียน

36 ๒.๑.๒ การแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายภายใน
๒.๑.๒ การแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายภายใน ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่องการลดอัตราอากรศุลกากร (รทอ. ๘) เพื่อรองรับความตกลงพื้นฐานว่าด้วยโครงการร่วมทุนทางอุตสาหกรรมของอาเซียนภายใต้ความตกลงว่าด้วยการให้สิทธิพิเศษทางการค้าของอาเซียน (AIJV) ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่องการยกเว้นอากรและลดอัตราอากรศุลกากรสำหรับเขตการค้าเสรีอาเซียน – สาธารณรัฐเกาหลี เพื่อรองรับความตกลงว่าด้วยการค้าสินค้าภายใต้กรอบความตกลงว่าด้วยความร่วมมือทางเศรษฐกิจที่ครอบคลุมด้านต่าง ๆ ระหว่างรัฐบาลกลุ่มประเทศสมาชิก ASEAN และ สาธารณรัฐเกาหลี ฯลฯ /

37 ๒.๒. ผลกระทบต่อแผนพัฒนาเศรษฐกิจฯ
๒.๒ ผลกระทบต่อแผนพัฒนาเศรษฐกิจฯ ใน Blueprint กำหนดให้แผนงานและการดำเนินงานต่าง ๆ ในการจัดตั้งประชาคมอาเซียน เป็นแผนพัฒนาแห่งชาติ (National Development Plan) แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๑ ได้รองรับเรื่องการเตรียมความพร้อมของประเทศไทย และ การพัฒนาด้านต่าง ๆ เพื่อความร่วมมือในการเป็นประชาคมอาเซียน /

38 ประเด็นอื่น ๆ การรับรองและคุ้มครองสิทธิของคนชาติของประเทศสมาชิกอื่น ๆ ในประเทศไทย การวางระบบกฎหมายภายในในการจัดการพลเมืองของอาเซียน การพิจารณาคดีที่มีองค์ประกอบระหว่างประเทศ การรับรองและบังคับตามคำพิพากษาของศาลต่างประเทศสมาชิกอื่นในประเทศไทย ฯลฯ

39 การเตรียมความพร้อมด้านกฎหมาย
กฎหมายระหว่างประเทศ สนธิสัญญา จารีตประเพณีระหว่างประเทศ หลักกฎหมายทั่วไประหว่างประเทศ กฎหมายภายใน ประเทศไทย ประเทศสมาชิกอาเซียนอื่น ๆ (กฎหมายต่างประเทศ)

40 การเตรียมความพร้อมของผู้ใช้กฎหมาย
ฝ่ายบริหาร - ฝ่ายปกครอง ส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค ส่วนท้องถิ่น หน่วยงานภาครัฐอื่น ๆ ประชาชน


ดาวน์โหลด ppt การประชุมสัมมนา กระทรวงมหาดไทย

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google