งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

อย่างปลอดภัยตามหลัก Biosafety และ Biosecurity

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "อย่างปลอดภัยตามหลัก Biosafety และ Biosecurity"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 อย่างปลอดภัยตามหลัก Biosafety และ Biosecurity
วิธีเก็บตัวอย่าง การบรรจุตัวอย่างและการจัดส่งตัวอย่างไปยังห้องปฏิบัติการ อย่างปลอดภัยตามหลัก Biosafety และ Biosecurity วิไล ลินจงสุบงกช ศูนย์อ้างอิงโรคปากและเท้าเปื่อย ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สถาบันสุขภาพสัตว์แห่งชาติ กรมปศุสัตว์ อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา 1. หลักการและเหตุผล โรคปากและเท้าเปื่อย เป็นโรคระบาดที่รุนแรง ติดต่อง่ายและระบาดรวดเร็วในสัตว์กีบคู่ ได้แก่ โค กระบือ แพะ แกะ สุกร ช้าง อูฐ กวาง เป็นต้น และทำให้เกิด ความสูญเสียทางเศรษฐกิจในด้านอุตสาหกรรมปศุสัตว์ สาเหตุเกิดจากเชื้อไวรัสแอฟโทไวรัส (Aphthovirus) มีทั้งหมด 7 ชนิด ได้แก่ โอ (O), เอ (A) , ซี (C), เอเซียวัน (Asia1), แซทวัน (SAT1) , แซททู (SAT2) และแซททรี (SAT3) ในประเทศไทยพบมีระบาดอยู่ 3 ชนิด คือ โอ เอ และเอเซียวัน ไวรัสแต่ละชนิดไม่ทำให้ เกิดความคุ้มโรคข้ามซึ่งกันและกัน (cross immunity) การตรวจวินิจฉัยโรคปากและเท้าเปื่อย โดยสังเกตจากอาการนั้นไม่เพียงพอ เพราะไม่สามารถบ่งบอกหรือ แยกชนิดไวรัสได้ จำเป็นต้องตรวจทางห้องปฏิบัติการ ซึ่งเป็นวิธีเดียวที่สามารถจำแนกชนิดของไวรัสได้อย่างถูกต้องและแม่นยำ ปัจจุบันการตรวจหาไวรัสและจำแนก ชนิดด้วยวิธี ELISA Typing และการตรวจหาแอนติบอดีต่อไวรัสโรคปากและเท้าเปื่อย ด้วยวิธี LP ELISA และ non structure protein (NSP) ซึ่งเป็นวิธีทดสอบ ที่ให้ผลถูกต้อง รวดเร็ว มีความจำเพาะและความไวสูง ดังนั้นการเก็บตัวอย่างที่ดีและมีคุณภาพรวมถึงขั้นตอนการจัดส่งตัวอย่างไปยังห้องปฏิบัติการอย่างถูกต้อง และปลอดภัยตามหลัก Biosafety และ Biosecurity จึงเป็นสิ่งสำคัญ และควรถือปฏิบัติ เนื่องจากมีผลโดยตรงต่อการเพิ่มประสิทธิภาพในตรวจวินิจฉัยโรคทาง ห้องปฏิบัติการและการควบคุมและกำจัดโรคในพื้นที่ให้บรรลุผลสำเร็จ 2. วัตถุประสงค์ เพื่อรักษาคุณภาพตัวอย่างเชื้อ เนื้อเยื่อ ซีรัมและหีบห่อบรรจุตัวอย่างให้อยู่ในสภาพสมบูรณ์ขณะขนส่งตั้งแต่ต้นทางจนถึงปลายทางได้อย่างปลอดภัยและถูกต้องตามหลักการของ biosafety และ biosecurity เป็นการป้องกันไม่ให้เกิดโอกาสเสี่ยงต่อการรั่วไหลของเชื้อไปสู่บริเวณใกล้เคียงหรือสิ่งแวดล้อม 3. ขอบข่าย เป็นวิธีการจัดเตรียมตัวอย่างที่เป็นชนิด infectious substance และ non infectious substance ให้ถูกต้องตามหลักการของ biosafety และ biosecurity ทั้งนี้ครอบคลุมตั้งแต่ขั้นตอนการเก็บตัวอย่างในพื้นที่ การบรรจุหีบห่อหรือภาชนะที่ปลอดภัยและจนถึงขั้นตอนการขนส่งจากต้นทางถึงปลายทาง 4. วิธีและขั้นตอนการปฏิบัติงาน การเก็บตัวอย่างเพื่อทำการตรวจวินิจฉัยโรคปากและเท้าเปื่อยที่ให้ความจำเพาะ ความไวและความแม่นยำสูงที่ถูกต้องตามหลักวิชาการ คือการเก็บตรวจตัวอย่างที่เก็บจากเนื้อเยื่อจากรอยโรค (lesion) และการเก็บตัวอย่างซีรัม จากสัตว์ป่วยหรือที่สงสัยว่าป่วย มีดังนี้ 4.1 วิธีเก็บตัวอย่างเนื้อเยื่อ หรือ vesicle บริเวณที่สามารถเก็บเชื้อได้คือ ตุ่มหรือแผลที่ลิ้น แผลที่กีบไรกีบ ซอกกีบหรืออุ้งกีบ โดยทำความสะอาดบริเวณนั้นด้วยน้ำสะอาดก่อน ขนาดของเนื้อเยื่อควรเก็บเชื้อไม่น้อยกว่า 1 กรัม ถ้าเห็นว่าเก็บเนื้อเยื่อจากสัตว์ตัวหนึ่งๆได้น้อย ก็ควรเก็บจากตัวอื่นเพิ่มด้วย และแยกขวดเป็นตัวๆไป เก็บเนื้อเยื่อบรรจุลงในขวดที่มีน้ำยา 50 % กลีเซอรีนบัพเฟอร์ ใส่ให้น้ำยาให้ท่วมเนื้อเยื่อ ปิดจุกให้แน่น ปิดทับด้วยเทปกันน้ำยาวไหล ทำเครื่อง หมายขวดให้ชัดเจน เช็ดทำความสะอาดและฆ่าเชื้อไวรัสที่ปนเปื้อนมากับขวด ด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อที่มีประสิทธิภาพ เช่น 0.25%speedyne หรือ 0.5% glutaraldehyde ขวดบรรจุเนื้อเยื่อให้ห่อทับด้วยกระดาษหลายๆชั้น บรรจุในขวดที่มีฝาเกลียวปิดสนิท เพื่อป้องกันการรั่วไหลหรือกันขวดแตก แล้วบรรจุกล่องหรือภาชนะที่ไม่แตกง่าย พร้อมกับบันทึกประวัติสัตว์ป่วย รีบนำส่งทันที หรือในกรณีจำเป็นต้องเก็บไว้ก่อนควรเก็บในตู้เย็น วิธีนำส่งที่ดีที่สุดคือนำส่งในสภาพแช่เย็น โดยมีปริมาณ ICE PACK เพียงพอจนกว่าจะถึงห้องปฏิบัติการ หรือจัดส่งทางไปษณีย์โดยใส่ขวดตัวอย่างซ้อนลงบนขวดโลหะ หรือขวดพลาสติกและห่อหุ้มด้วยกระดาษซับเพื่อกันการรั่วไหลและกันกระแทก บรรจุลงในกล่องโฟมหรือ กล่องพัสดุที่แข็งแรง เพื่อป้องกันกล่องเกิดชำรุดหรือเสียหายในขณะขนส่ง 4.1.6 ให้เช็ดด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อบริเวณรอบนอกกล่องบรรจุ อีกครั้ง เพื่อป้องกันการปนเปื้อนเชื้อ และให้มั่นใจว่าการบรรจุตัวอย่างและขนส่งหีบห่อมีความปลอดภัยตามหลัก Biosafety และ Biosecurity 4.2 วิธีเก็บตัวอย่างซีรัม กรณีการเก็บตัวอย่างซีรัมหรือน้ำเหลือง ไม่สามารถใช้สำหรับตรวจวินิจฉัยโรคเพื่อจำแนกชนิดไวรัส (ELISA typing)ได้ จะใช้เพื่อจุดประสงค์สำหรับตรวจสอบระดับภูมิคุ้มกันและตรวจแยกระหว่างสัตว์ที่ได้รับการฉีดวัคซีนและสัตว์ที่ได้รับการติดเชื้อเท่านั้น วิธีปฏิบัติดังนี้ ให้ใช้ ไซริ้ง และหลอดเก็บเลือดที่แห้งและสะอาดผ่านการฆ่าเชื้อ เจาะเลือดเสร็จแล้วให้วางหลอดในแนวเอียง เพื่อให้การแยกซีรัมได้ดีขึ้น ควรวางในอุณหภูมิห้องเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 1 ชั่วโมง เพื่อให้การแยกซีรัมจากเกล็ดเลือดได้มากขึ้น ไม่ควรนำหลอดเลือดที่เพิ่งเจาะมาใหม่เข้าตู้เย็นทันที เพราะทำให้ซีรัมไม่แยกชั้นหรือแยกได้น้อยมาก ห้ามปั่นหลอด เลือดที่ยังไม่ได้ทำการถ่ายซีรัมออก เพราะจะทำให้เม็ดเลือดแดงแตก เกิดhemolysis อาจส่งผลกระทบต่อการตรวจวินิจฉัยได้ แยกซีรัมแล้ว ถ่ายใส่หลอดพลาสติกที่มีฝาเกลียว ปิดฝาให้สนิทกันการรั่วไหล กรณีไม่สามารถนำส่งห้องปฏิบัติการได้ทันที ให้เก็บในตู้แช่แข็ง -20 oC ทั้งนี้เป็นการเก็บรักษาคุณภาพซีรัมให้คงที่สม่ำเสมอและป้องการการปนเปื้อนเชื้อแบคทีเรียในซีรัม หากมีการเก็บไว้นานเกิน 1 สัปดาห์ 4.2.5 ใส่หลอดซีรัมในถุงพลาสติก รัดปากถุงให้แนน่ กันการรั่วไหล บรรจุลงในกระป็องหรือภาชนะที่มีฝาปิด ปิดฝาให้สนิท เช็ดทำความสะอาดและฆ่าเชื้อไวรัสที่ปนเปื้อนมากับหลอดด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อที่มีประสิทธิภาพ เช่น %speedyne หรือ 0.5% glutaraldehyde นำภาชนะบรรจุตัวอย่างทั้งหมด ใส่ลงในกล่องโฟม์ที่แข็งแรงหรือ Standard container ที่มี ICE PACK เพียงพอเพื่อรักษาความเย็นได้ตลอดการขนส่ง ประวัติตัวอย่างและเอกสารที่เกี่ยวข้องพร้อมที่อยู่ผู้ส่ง ให้ใส่ลงข้างกล่องเพื่อความสะดวกในการตองผลกลับ 4.2.8 ให้เช็ดด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อบริเวณรอบกล่องหรือภาชนะอีกครั้ง เพื่อป้องกันปนเปื้อนเชื้อขณะขนส่งและปลอดภัยตามหลัก biosecutrty


ดาวน์โหลด ppt อย่างปลอดภัยตามหลัก Biosafety และ Biosecurity

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google