งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ชีววิทยาของปลา Fish Biology ผู้สอน รองศาสตราจารย์ อรุณี สมมณี

2 บทที่ 1 ลักษณะภายนอกของปลา
รองศาสตราจารย์ อรุณี สมมณี

3 รูปแบบ (Form) 1. Anguilliform 2. Fusiform
- รูปร่างเรียวยาวคล้ายงู (serpentine) - ใช้กล้ามเนื้อที่ลำตัวช่วยในการเคลื่อนไหว - ตัวอย่างเช่น ปลาไหล 2. Fusiform - มีรูปร่างเรียวแหลมคล้ายตอร์ปิโด(tropedo shape) - ว่ายน้ำได้รวดเร็ว - ตัวอย่างเช่น ปลาทู, ปลาโอ, ปลาทูน่า

4 3. Globiform 4. Filiform 5. Trachipteriform รูปแบบ (ต่อ)
- รูปร่างกลมคล้ายโลก (globe shape) - ตัวอย่างเช่น ปลาปักเป้าหนามทุเรียน 4. Filiform - รูปร่างคล้ายเชือกหรือด้าย (thread like) - ตัวอย่างเช่น shipe eel 5. Trachipteriform - รูปร่างแบนคล้ายริบบิ้น(ribbon shape) และยาวมาก - ตัวอย่างเช่น ปลาดาบเงิน

5 การตัดขวางลำตัว 1. Compressed form 2. Depressed form
ปลาที่มีลำตัวด้านซ้ายและด้านขวาเข้าหากัน ตัวอย่างเช่น ปลาโอ, ปลาทู,ปลาอินทรีย์ 2. Depressed form ดูจากภาพตัดขวางแล้ว ปลาพวกนี้จะมีลำตัวแบนจาก บนลงล่าง ตัวอย่างปลาแบบนี้ได้แก่ปลากระเบน, ปลาฉนาก

6 รูปร่างหรือลำตัวของปลาแบ่งออกได้เป็น
1. ส่วนหัว(head) วัดจากจงอยปาก(snout)ไปจนถึงสุดขอบของกระดูกปิดเหงือก 2. ลำตัว (trunk หรือ body) 3. ส่วนหาง (tail)

7 ปาก (mouth) ขากรรไกรบน ขากรรไกรล่าง
อยู่ทางปลายสุดของส่วนตัว ประกอบด้วย ขากรรไกรบน ประกอบด้วยกระดูกต่อไปนี้ - Premaxillary bone : ชิ้นหน้าสุด - Maxillary bone : ชิ้นกลางหรือชิ้นที่สอง - Supplementary maxillary bone : ชิ้นที่สาม ขากรรไกรล่าง ประกอบด้วยกระดูกต่อไปนี้ - dentary - articula

8 ตา (eye) - มี 1 คู่ แต่ละตาอยู่ที่ด้านข้างของเส้นกลาง (midline)
- ส่วนมากไม่มีเปลือกตา ยกเว้นในปลาฉลามบางชนิด ( soup-fin จะมี nictitating membrane ในปลากระดูกแข็งบางชนิด จะมี adipose eyelids) - ปลาที่อาศัยอยู่ตามท้องน้ำ (bottom dwellers) ตาจะอยู่ทางด้านบน - ปลาซีกเดียว (flounders) และพวกพ้อง (Pleuroncetiformes) จะมีตา ทั้งสองข้างอยู่รวมกันทางด้านใดด้านหนึ่งของส่วนหัว - ปลาที่อยู่ในถ้ำ จะมีตาที่ไม่เจริญดี แต่จะมีอวัยวะอย่างอื่นที่ใช้รับ ความรู้สึกแทน

9 หู Anterior vertical cannal Semicircular Posterior vertical canal
(innerear หรือ auditory organ) Anterior vertical cannal Semicircular Posterior vertical canal Horizontal canal Utriculus Vestibule Sacculus Lagena

10 จมูก หนวด มีไว้สำหรับดมกลิ่นเท่านั้น ไม่ได้ใช้หายใจ
มีไว้สำหรับดมกลิ่นเท่านั้น ไม่ได้ใช้หายใจ เปลี่ยนแปลงมาจากผิวหนังชั้นนอก ช่วยในการ รับความรู้สึกโดยการสัมผัสและช่วยหาอาหาร มีชื่อตามตำแหน่งที่ตั้งหนวด หนวด - อยู่บนขากรรไกร : Maxillary barbel - อยู่ใต้ขากรรไกร : Mandible barbel - อยู่บริเวณจมูก : Nasal barbel - อยู่บริเวณใต้คาง : Mental barbel

11 ผิวหนังปลาประกอบด้วย
ส่วนลำตัวและส่วนหาง ลำตัว : อยู่ต่อจากกระดูกปิดเหงือกไปจนถึงบริเวณที่เป็นเส้นตั้งฉากกับรูก้น หาง : อยู่ต่อจากลำตัวจนไปจนสุดปลายครีบหาง ผิวหนังปลาประกอบด้วย 1. Epidermis : เป็นเซลล์บาง ๆ ที่อยู่ด้านนอก สามารถฉีกขาดและเกิด แทนที่ใหม่ได้เสมอ 2. Dermis : เป็นชั้นที่มีโครงสร้างซับซ้อน ประกอบด้วยเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน, เส้นประสาท และอวัยวะรับสัมผัส

12 เกล็ด 1. แบบที่มีลักษณะคล้ายแผ่น (placoid scale)
2. แบบที่มีลักษณะคล้ายขนมเปียกปูน (ganoid scale หรือ rhombic scale) 3. แบบ cosmoid scale 4. แบบ bony-ridge

13 เกล็ดแบบที่มีลักษณะคล้ายแผ่น
เช่น เกล็ดของพวกปลาฉลาม มีลักษณะเป็นแผงหรือเป็นแผ่น เวลาลูบรู้สึกสากมือเนื่องจากเป็น dernal denticle ที่มีลักษณะหยาบ เกล็ดแบบที่มีลักษณะคล้ายขนมเปียกปูน ประกอบด้วย - ชั้นนอกสุด คือ ganoid scale - ชั้นกลาง คือ cosmine like layer - ชั้นในสุด คือ isopedine พบได้ในปลา reedfish, ปลา gars, ปลา paddle และรวมถึงเกล็ด ที่หางของปลา sturgeon ด้วย

14 เกล็ดแบบ cosmoid scale
ประกอบด้วย - ชั้นในสุดหรือชั้นฐาน เรียก isopedine - ชั้นที่มีลักษณะคล้ายฟองน้ำ เรียก layers of spnegy home - ชั้น cosmine - ชั้นนอกสุด เรียก vitrodentine เกล็ดแบบนี้พบในปลาโบราณที่สูญพันธุ์ไปแล้วและที่ยังมีชีวิต อยู่ได้แก่ ปลา coelacanth,ปลา Latimeria chalumnae , ปลาปอด(lung fish)

15 เกล็ดแบบbony-ridge เกล็ดมีลักษณะบางใส เพราะไม่มีชั้น enamel และชั้น dentine เกล็ดแบบ bony ridge เป็นเกล็ดที่พบในปลากระดูกแข็งปัจจุบัน แบ่งออกเป็น - cycloid scale เป็นเกล็ดของปลากระดูกแข็งที่มีก้านครีบอ่อน - ctenoid scale เป็นเกล็ดของปลากระดูกแข็งที่มีก้านครีบแข็ง cycloid scale จะต่างกับ ctenoid scale ตรงที่หางส่วนด้านหลังของ เกล็ดจะไม่มีรอยหยักที่มีลักษณะคล้ายฟันขนาดเล็ก

16 เกล็ดที่แปรรูปไป เกล็ดปลาเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้เกิดอวัยวะภายนอกบาง
อย่างของปลาได้เช่น - ฟันที่ขากรรไกรของปลาฉลาม เกิดจากการแปรรูปของเกล็ด แบบ placoid - spine ที่ครีบหลังของ spiny dog fish - เส้นกระดูกแข็ง เช่น belly scute และ lateral scute - เกราะหุ้มลำตัวภายนอกทั้งหมด - เป็น dermal armature อยู่ตามผิวหนังของลำตัว เป็นหนามแหลม

17 ครีบ ครีบหูหรือครีบอก ครีบคู่ (paired fin) ครีบท้องหรือครีบสะโพก
- ที่ท้อง(abdominal), - ที่อก(thoracic position), - ที่คอ(jugular position) ครีบหลัง(dorsal fin) ครีบเดี่ยว ครีบก้น (anal fin) (median fin) ครีบหาง (tail fin)

18 แบ่งรูปแบบของครีบหางตามโครงสร้าง
1. Diphycercal หรือ Protocercal caudal fin เป็นครีบหางที่มีปลายของกระดูกสันหลังข้อสุดท้ายเหยียดตรง และจะแบ่งครีบหางออกเป็นสองข้างเท่ากัน เช่น หางของ cyclostome 2. Heterocercal caudal fin เป็นครีบหางที่มีลักษณะปลายของกระดูกสันหลังยกสูงขึ้น และมีแผ่นครีบแบ่งออกเป็นสองส่วน คือ ส่วนบน(upper lobe) และ ส่วนล่าง(lower lobe) เช่น ครีบหาง ปลาฉลาม และปลาสเตอร์เจียน

19 3. Homocercal caudal fin เป็นครีบหางที่พบได้ในปลากระดูกแข็งทั่ว ๆ ไป แบ่งตาม ลักษณะของปลายหาง ได้ดังนี้ 3.1 Emarginate ปลายหางเว้าเล็กน้อย ได้แก่ ปลาข้างลาย 3.2 Fork ปลายหางหยักเว้ามาก ได้แก่ หางปลาทู 3.3 Lunate ปลายหางเว้าแบบรูปพระจันทร์เสี้ยวและตื้นกว่า แบบ Fork ได้แก่ หางปลาโอ 3.4 Rounded ปลายหางกลมมน ได้แก่ หางปลาช่อน 3.5 Pointed ปลายหางแหลม ได้แก่ หางปลาเสือ 3.6 Truncate หรือ Straight ปลายหางตัดเกือบตรง ได้แก่ หาง ของปลาตะกรับ


ดาวน์โหลด ppt คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google