งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

บทที่ 2 กระบวนการเรียบเรียงเนื้อหางานทางวิชาการ

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "บทที่ 2 กระบวนการเรียบเรียงเนื้อหางานทางวิชาการ"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 บทที่ 2 กระบวนการเรียบเรียงเนื้อหางานทางวิชาการ
การเรียบเรียงเนื้องานทางวิชาการ เป็นกระบวนการสำคัญ และมีผลต่อการรับรู้และเข้าใจของผู้รับสาร ดังนั้นการเรียบเรียงเนื้อหาที่ดี จะทำให้การนำเสนองานเป็นไปอย่างราบรื่น และเข้าง่าย กระบวนการเรียบเรียงเนื้อหางานทางวิชาการ มีขั้นตอนที่สำคัญประกอบด้วย การจัดเตรียมข้อมูล การเรียบเรียงข้อมูล และการเขียนร่างต้นฉบับ

2 1. การจัดเตรียมข้อมูล การจัดเตรียมข้อมูลเป็นขั้นตอนแรกในการ ทำงานวิชาการ ซึ่งเป็นขั้นตอนที่จะต้องทำ อย่างละเอียดรอบขอบ เพราะขั้นตอนนี้จะ ส่งผลต่อการทำงานต่อไปจนกระทั้งสิ้นสุด การดำเนินงานวิชาการเรื่องนั้นๆ การจัดเตรียมข้อมูลมีหลายกระบวนการ

3 1.1 กำหนดหัวข้อและจุดมุ่งหมายการศึกษา
การเลือกหัวข้อในการศึกษามีลักษณะดังนี้ 1. เลือกตามความเชี่ยวชาญของผู้ศึกษา 2. เลือกตามความสนใจของผู้ศึกษา 3. เลือกตามความต้องการของหน่วยงาน 4. เลือกตามกระแสสังคม 5. เลือกตามเป้าหมายเฉพาะกรณี

4 1.1.2 การศึกษาทางวิชาการจำแนก ตามจุดมุ่งหมายกว้างๆ ได้ดังนี้
1. การศึกษาเชิงสำรวจ (exploratory study) 2. การศึกษาเชิงบรรยาย (descriptive study) 3. การศึกษาเชิงอรรถาธิบาย (explanatory study) 4. การศึกษาเชิงคาดคะเน (predictive study) 5.การศึกษาเชิงวินิจฉัย (diagnostic study)

5 1.2 กำหนดขอบเขตการศึกษา -การศึกษางานวิชาการแต่ละเรื่องจะมี ขอบเขตกว้างขวาง ลึกซึ้ง มากนอยเพียงใด ขึ้นอยู่กับงบประมาณและระยะเวลาที่ใช้ใน การศึกษาค้นคว้า -การกําหนดขอบเขตของเรื่องที่ศึกษาจะช่วย ให้ผู้ศึกษาสามารถวางแผนการเก็บขอมูลได้ ครอบคลุมและตรงกับความมุ่งหมายที่ตั้งไว

6 ขอบเขตของการศึกษางานทางวิชาการ
ขอบเขตด้านเนื้อหา ขอบเขตด้านประชากร หรือกลุ่มเป้าหมาย ขอบเขตด้านพื้นที่ กรอบแนวคิด ทฤษฎี

7 1.3 สืบค้นข้อมูล เอกสารและงานวิจัย ที่เกี่ยวข้อง และเก็บรวบรวมข้อมูล
-การสืบค้นและเก็บรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ การศึกษาเป็นขั้นตอนที่สำคัญในงานวิชาการ ผู้ศึกษาต้องทำความเข้าใจลักษณะและประเภท ข้อมูล ตลอดจนวิธีการเก็บข้อมูล เพื่อจะได้นำไป ประยุกต์ใช้ได้อย่างถูกต้องและเหมาะสมกับงาน ของตน -ข้อมูลที่ต้องสืบค้นและเก็บรวบรวมประกอบด้วย แนวคิดทฤษฎี หลักการ ข้อเท็จจริง แนวความคิด และผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

8 แหล่งสืบค้นและรวบรวมข้อมูล
หนังสือหรือตำรา รายงานการวิจัย รายงานการศึกษา วิทยานิพนธ์ เอกสารประกอบการประชุม อบรมสัมมนา สารานุกรม, พจนานุกรม, ศัพทานุกรม นามานุกรม และปทานุกรม หนังสือคู่มือ หนังสือรายปี  หนังสือดรรชนี รวมบทคัดย่องานวิจัยและปริญญานิพนธ์

9 วารสาร หนังสือพิมพ์ จดหมายเหตุและเอกสารโบราณ การสืบค้นจากฐานข้อมูล Internet การสืบค้นจากสื่ออิเลคทรอนิคส์ การสัมภาษณ์ การเก็บข้อมูลสนาม การสืบค้นจากวัตถุพยานอื่นๆ

10 วิธีการเก็บข้อมูล การเก็บข้อมูลจากเอกสารหรือผลงานที่มีผู้ศึกษาไว้แล้ว
การเก็บข้อมูลจากการสอบถาม การเก็บข้อมูลจากการสัมภาษณ์ การเก็บข้อมูลจากการสังเกต การเก็บข้อมูลจากการมีส่วนร่วม การเก็บข้อมูลจากการลงภาคสนาม การเก็บข้อมูลจากการทดลอง การเก็บข้อมูลจากการลงมือปฏิบัติ

11 1.4 จัดหมวดหมู่ข้อมูล -ข้อมูล หมายถึง ข้อเท็จจริง และข้อคิดเห็น ซึ่งมีหลาย รูปลักษณะ เช่น ตัวเลข ตัวหนังสือ รูปภาพ แผนภูมิ วัตถุสิ่งของ หรือสื่อชนิดต่างๆ -การศึกษาทางวิชาการจำเป็นต้องมีการสืบค้นและ รวบรวมข้อมูลเพื่อสร้างกรอบแนวคิด ทฤษฎี เพื่อ ประกอบการศึกษาวิเคราะห์ -ข้อมูลที่รวบรวมมาจะมีจำนวนมาก และมีรูปแบบที่ หลากหลาย -ก่อนจะมีการนำข้อมูลไปใช้ ผู้ศึกษาจะต้องทำการจัด กระทำข้อมูลให้เป็นหมวดหมู่ เป็นระบบ

12 กระบวนการจัดหมวดหมู่ข้อมูล
กำหนดหลักเกณฑ์ในการจัดหมวดหมู่ ข้อมูลตามขอบเขตการศึกษา 2. จำแนกข้อมูลเป็นหมวดหมู่ตามหลักเกณฑ์ ที่กำหนด 3. แยกประเภทของรูปแบบข้อมูลแต่ละหมวด ออกเป็นกลุ่ม 4. จัดลำดับข้อมูลในแต่ละหมวดตาม ความสำคัญ และประเด็นเนื้อหาที่กำหนด

13 1.5 วิเคราะห์ข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล หมายถึง การตรวจสอบ ข้อมูลเบื้องต้น ที่ได้สืบค้นและรวบรวมมา เพื่อ พิจารณาว่าข้อมูลที่ได้มานั้นมีคุณภาพ และ มีความเกี่ยวข้อง เหมาะสมกับประเด็นต่างๆ ในเรื่องที่ศึกษาหรือไม่ เป็นการคัดกรองเพื่อ เลือกเอาเฉพาะข้อมูลที่ตรงตามกรอบ การศึกษาที่กำหนดไว้จริงๆ เท่านั้น ส่วนข้อมูล ใดที่เห็นว่าไม่ตรงตามประเด็นก็ควรตัดทิ้งไป

14 ขั้นตอนการวิเคราะห์ข้อมูล
วิเคราะห์ความน่าเชื่อถือ ความสมเหตุสมผล และความเที่ยงตรงของข้อมูล  2. วิเคราะห์ความสอดคล้อง และตรงกับประเด็น เนื้อหาที่กำหนด  3. วิเคราะห์ความถูกต้องแม่นยำของข้อมูล 4. วิเคราะห์ความทันสมัย ทันเหตุการณ์ เหมาะสมกับช่วงเวลา 5. คัดเลือกข้อมูล

15 1.6 สังเคราะห์ข้อมูล การสังเคราะห์ข้อมูล หมายถึง การศึกษารายละเอียดของข้อมูลแต่ละชิ้น แล้วสรุปเนื้อหาสาระของข้อมูลนั้นๆ ออกมาเรียบเรียงใหม่ตามความเข้าใจของผู้ศึกษา วิธีการสังเคราะห์ข้อมูล เช่น การคัดลอกจากเอกสารต้นฉบับโดยตรง การสรุปหรือเก็บความจากเอกสารหรือข้อมูลมุขปาฐะ การถอดความจากเอกสารชั้นต้นหรือสื่อสารสนเทศ การแปลความจากเอกสารภาษาต่างประเทศ เป็นต้น การสังเคราะห์ข้อมูลนี้เป็นกระบวนการที่สำคัญ เนื่องจากข้อมูลที่ได้จะต้องนำไปใช้ในการเขียนในกระบวนการต่อไปดังนั้นการสังเคราะห์ข้อมูลจึงต้องทำอย่างละเอียดรอบคอบ

16 กระบวนการสังเคราะห์ข้อมูล
1. ศึกษาข้อมูลแต่ละชิ้นอย่างละเอียด 2. สรุปองค์ความรู้จากข้อมูลแต่ละชิ้น 3. นำข้อมูลสรุปมาจัดเรียงตามความสำคัญ 4. นำข้อมูลที่จัดเรียงตามความสำคัญมา จัดเรียงตามประเด็นที่ศึกษา 5. ประมวลองค์ความรู้โดยรวมทั้งหมดในแต่ ละประเด็น

17 จบการบรรยายบทที่ 2 ครั้งที่ 1

18 2. การเรียบเรียงข้อมูล การเรียบเรียงข้อมูลเป็นขั้นตอนที่ดำเนินการ ต่อเนื่องหลังจากที่ได้ข้อมูลทุกอย่างที่ต้องการ มาแล้ว เป็นการนำเอาข้อมูลต่างๆ ที่ผ่านการ วิเคราะห์และสังเคราะหแล้วมาเรียงร้อยให้เป็น เรื่องราว หรือเนื้อหาเดียวกัน อย่างกลมกลืน และ มีเอกภาพ โดยมีรูปแบบตามข้อกำหนดของ งานวิชาการแต่ละประเภท ทั้งนี้เนื้อหาที่เรียบเรียง ต้องสอดคล้องกับจุดมุ่งหมาย กรอบแนวคิด ทฤษฎี และเป็นไปขอบเขตการศึกษาที่ได้กำหนดไว้

19 ขั้นตอนการเรียบเรียงข้อมูล
2.1 ศึกษารูปแบบของงานวิชาการ - งานวิชาการ มีหลายรูปแบบขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ใน การศึกษา เช่น งานวิชาการประเภทตำรา หนังสือ เอกสาร ประกอบการสอน งานวิจัย รายงาน หรือบทความ งานแปล ซึ่งรูปแบบของงานวิชาการแต่ละชนิดจะมีรูปแบบและ องค์ประกอบแตกต่างกันไปในรายละเอียด - ก่อนที่จะมีการลงมือเขียน จำเป็นจะต้องศึกษาและทำความ เข้าใจเสียก่อนเนื่องจากงานวิชามีรูปแบบเฉพาะที่กำหนดไว้ เป็นระเบียบตายตัว การนำเสนอจึงต้องให้ถูกต้องและ ครบถ้วนตามองค์ประกอบที่มีข้อกำหนดไว้

20 2.2 ศึกษาองค์ประกอบ หนังสือหรือตำรา เอกสารประกอบการสอน
งานวิจัย และวิทยานิพนธ์ บทความ รายงาน

21 2.3 การจัดวางโครงเรื่อง โครงเรื่อง คือ ประเด็นการนำเสนอเนื้อหาที่ได้ จัดเรียงลำดับความคิดไว้แล้ว ซึ่งการวางโครงเรื่อง จะทำให้ผู้เขียนจัดแนวคิดได้ตรงกับเรื่องที่จะเขียน ทำให้งานที่นำเสนอนั้นมีเอกภาพ และมี สัมพันธภาพในแต่ละประเด็น

22 ลักษณะการเขียนโครงเรื่อง
การเขียนโครงเรื่องแบบกว้าง คือการเขียนโครงเรื่องโดยกำหนดเฉพาะประเด็นหลักใหญ่ๆ เท่านั้น การเขียนโครงเรื่องเป็นหัวข้อโดยใช้ถ้อยคำหรือวลี คือการเขียนโครงเรื่องโดยนำเอาแนวคิดที่จะนำเสนอแต่ละประเด็นมาเขียนเป็นถ้อยคำหรือวลีว่าจะนำเสนอเกี่ยวกับเรื่องใดในลักษณะแนวคิดที่เป็นประเด็นสำคัญ และประเด็นย่อย การเขียนโครงเรื่องเป็นประโยค คือการเขียนโครงเรื่องในลักษณะของรูปประโยคที่สมบูรณ์ซึ่งในประโยคนั้นจะรวมทั้งประเด็นหลักและประเด็นย่อยไว้ทั้งหมด

23 หลักในการวางโครงเรื่อง
จัดลำดับโครงเรื่อง โดยให้เขียนหัวข้อใหญ่ก่อนแล้วจึง กำหนดหัวข้อย่อยให้สอดคล้องกัน ซึ่งมีหลายลักษณะ กล่าวคือ การจัดเรียงตามลำดับเวลา การจัดเรียงตาม ประเพณีนิยม การจัดเรียงตามลำดับความสำคัญ การจัดเรียงตามทิศทางหรือตำแหน่งเป็นต้น 2. วางหัวข้อใหญ่แต่ละข้อให้มีความเท่าเทียมกัน โดย หัวข้อใหญ่หรือประเด็นหลักต้องมีความสำคัญ หรือมี ขอบข่ายเนื้อหาเท่าเทียมกัน 3. วางโครงเรื่องให้เป็นระเบียบ โดยเขียนให้มีลักษณะ เป็นแบบเดียวกันโดยตลอด

24 4. การเขียนหัวข้อย่อย โดยกำหนดหัวข้อย่อยให้ชัดเจน อย่าให้หัวข้อย่อยมีความสำคัญหรือกว้างกว่าหัวข้อใหญ่ ซึ่งควรจะจัดให้เป็นหมวดหมู่แสดงให้เห็นความสำพันธ์ ในแต่ละหัวข้อ 5. หัวข้อแต่ละข้ออย่าให้ซ้ำซ้อนกัน โดยแยกประเด็น แต่ละเรื่องให้ชัดเจนเป็นเอกภาพ

25 2.4 การอ้างอิง การอ้างอิงเอกสาร (Citations) คือการบอกแหล่งที่มาของ ข้อมูลที่นำมาใช้อ้างอิงในการเขียนรายงาน หรือผลงาน ต่างๆ เพื่อเป็นการให้เกียรติแก่บุคคล หรือองค์กรผู้ เป็นเจ้าของความคิดเดิม และเพื่อแสดงเจตนาบริสุทธิ์ว่า ไม่ได้ขโมยความคิด หรือลอกเลียนข้อมูลของผู้อื่น รวมทั้ง สะดวกแก่ผู้อ่านที่ประสงค์จะทราบรายละเอียดอื่นๆ และ ตรวจสอบความถูกต้อง จากต้นฉบับเดิม

26 การอ้างอิงเอกสาร แบ่งเป็น 2 ประเภท
การอ้างอิงในส่วนเนื้อเรื่อง หรือ เชิงอรรถ มีการอ้าง 2 วิธี คือการอ้างอิงท้ายหน้า และการอ้างอิงระบบนาม-ปี การอ้างอิงระบบท้ายหน้า แบ่งเป็น 3 ประเภทคือ เชิงอรรถอ้างอิง (Citation Footnote) คือ เชิงอรรถที่ใช้แสดง แหล่งที่มาของข้อความที่ยกมา ไม่ว่าจะเป็นข้อเท็จจริง ข้อคิดเห็น ของบุคคล สำหรับให้ผู้อ่านตรวจสอบ หรือค้นหาเพิ่มเติมได้ เชิงอรรถเสริมความ (Content Footnote) คือ ข้อความที่อธิบาย เรื่องราว ความหมายของศัพท์บางคำที่มีในเนื้อเรื่อง หรืออธิบาย ข้อเท็จจริงเพิ่มเติม เพื่อให้เข้าใจดียิ่งขึ้น เชิงอรรถโยง (Cross – reference Footnote) คือเชิงอรรถที่ให้ ผู้อ่านไปดูเพิ่มเติมในบทอื่น หรือหน้าอื่น เพื่อหลีกเลี่ยงการกล่าวซ้ำ

27 2. การอ้างอิงท้ายเรื่อง หรือท้ายเล่ม หรือ บรรณานุกรม บรรณานุกรม มีหลายความหมายแล้วแต่ว่าจะใช้ใน กรณีใด แต่ในการเขียนรายงาน หมายถึง รายชื่อ หนังสือ สิ่งพิมพ์วารสาร จุลสาร และอุปกรณ์โสต ทัศน์อื่นๆ ที่นำมาประกอบในการทำรายงาน ภาคนิพนธ์ และวิทยานิพนธ์ เพื่อให้ผู้อ่านทราบว่า เนื้อหา หรือข้อมูลนั้นมาจากแหล่งใดถ้าต้องการ รายละเอียดเพิ่มเติมจะหาได้จากแหล่งใดและเพื่อ เป็นการยินยันว่าเนื้อหานั้นมีแหล่งที่มา

28 รูปแบบของรายการบรรณานุกรม
บรรณานุกรมจากหนังสือ ชื่อผู้แต่ง. (ปีพิมพ์). ชื่อเรื่อง. เล่มที่ (ถ้ามี). ครั้งที่พิมพ์. สถานที่ พิมพ์ : สำนักพิมพ์ ไมตรี วรวุฒิจรรยากุล. (2530). ทฤษฎีวงจรไฟฟ้า เล่ม4. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์พลชัย. พรทิพย์ เลาหวิโรจน์ และสุพจน์ จิตต์ประเสริฐ. (2520). คอมพิวเตอร์กับการเขียนโปรแกรมภาษาเบสิค. พิมพ์ครั้ง ที่2. กรุงเทพฯ : ซีเอ็ดยูเคชั่น.

29 กรณีไม่ปรากฏผู้แต่ง ให้ลงชื่อเรื่องเป็นรายการแรก เช่น
ศัพทานุกรมสำหรับปฏิบัติการในระบบสารสนเทศทาง การศึกษา. (2529). กรุงเทพฯ : สำนักงาน คณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี. กรณีที่ผู้แต่งของรายการเล่มล่าง ซ้ำกับเล่มบนซึ่งอยู่ติดกัน ให้ขีดเส้นยาว 7 ตัวอักษรแทนชื่อผู้แต่งเล่มล่างไม่ต้องเขียนซ้ำอีก เช่น ไมตรี วรวุฒิจรรยากุล. (2528). ทฤษฎีวงจรไฟฟ้า เล่ม 2. กรุงเทพฯ : ศูนย์การพิมพ์พลชัย. _____. (2530).ทฤษฎีวงจรไฟฟ้า เล่ม 3. กรุงเทพฯ : ศูนย์ การพิมพ์พลชัย.

30 กรณีผู้แต่งใช้นามปากกา หรือนามแฝง ให้ใช้นามแฝงแทน
ชื่อผู้แต่ง แล้ววงเล็บคำว่านามแฝง ภาษาอังกฤษ pseud.เช่น องอินทร์ (นามแฝง). (ม.ป.ป.). คำสารภาพของเขมรสิ้นชาติ. กรุงเทพฯ : เบญจมิตร. กรณี หนังสือแปล ลงรายการเหมือนหนังสือทั่วไป แต่หลังชื่อ เรื่องลงคำว่าแปลจาก...โดย... ภาษาอังกฤษใช้ translated from…by…เช่น แมคแคร็กเคน, แมรี่. (2537). ขอเพียงให้โลกนี้มีความรัก. แปล จาก Circle of Children โดย นิรวรรณ. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : มูลนิธิเด็ก.

31 กรณีที่ผู้แต่งมีฐานะเป็นผู้รวบรวม บรรณาธิการ
ลงคำว่า ผู้รวบรวม หรือ บรรณาธิการไว้ท้ายชื่อผู้รวบรวม หรือ บรรณาธิการ โดยคั่นเครื่องหมายจุลภาค (.) ภาษาอังกฤษใช้ comp. และ ed.ตามลำดับ เช่น ประธาน วัฒนวาณิชย์, บรรณาธิการ. (2529). จะสอนบรรยายไม่ ง่ายอย่างที่คิด. กรุงเทพฯ :ประกายพรึก.

32 บรรณานุกรมบทความในหนังสือ ชื่อผู้เขียนบทความ. (ปีพิมพ์)
บรรณานุกรมบทความในหนังสือ ชื่อผู้เขียนบทความ. (ปีพิมพ์). “ชื่อบท หรือบทความ.” ใน ชื่อหนังสือ. หน้าที่ปรากฏบทความ.ชื่อบรรณาธิการ, บรรณาธิการ. ครั้งที่พิมพ์. สถานที่พิมพ์ : สำนักพิมพ์. อัจฉรา จันทร์ฉาย. (2534). “ระบบสารนิเทศเพื่อการส่งออกใน สภาวะปัจจุบัน.” ในกลยุทธ์การจัดการสารนิเทศเพื่อการ พัฒนา.หน้า จันทร์ นพบุตรการต์, บรรณาธิการ. กรุงเทพฯ : สมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทย.

33 บรรณานุกรมบทความจากวารสาร ชื่อผู้เขียนบทความ. (ปีพิมพ์,เดือน)
บรรณานุกรมบทความจากวารสาร ชื่อผู้เขียนบทความ. (ปีพิมพ์,เดือน). “ชื่อบทความ.” ชื่อวารสาร. ปีที่(ฉบับที่): เลขหน้า. พิรุณ จำบัง. (2537,มีนาคม). “ครูไทยอ่านอะไรในยุคสื่อไฮเทค.” ก้าวไกล. 4(11) : บรรณานุกรมบทความจากหนังสือพิมพ์ ชื่อผู้เขียนบทความ. (ปีพิมพ์,วันที่ เดือน). “ชื่อบทความ.” ชื่อหนังสือพิมพ์. หน้า เลขหน้า. อมร จันทร์สมบรูณ์. (2535, 7 เมษายน). “โครงการศึกษาเพื่อการ ปฏิรูปรัฐธรรมนูญสำหรับประเทศไทย.” มติชน. หน้า 32.

34 บรรณานุกรมจากอินเทอร์เน็ต “ชื่อเรื่อง. ” (ปี พ. ศ. /ค. ศ. ). (ออนไลน์)
บรรณานุกรมจากอินเทอร์เน็ต “ชื่อเรื่อง.” (ปี พ.ศ./ค.ศ.). (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก : ชื่อเว็บไซด์. “ไอศกรีม.” (2539). (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก http : // www………………

35 บรรณานุกรมจาการสัมภาษณ์ ผู้ให้สัมภาษณ์. ตำแหน่ง(ถ้ามี) (ปี)
บรรณานุกรมจาการสัมภาษณ์ ผู้ให้สัมภาษณ์. ตำแหน่ง(ถ้ามี) (ปี). สัมภาษณ์, วันที่ เดือน. แม้นมาส ชวลิต, คุณหญิง. นายกสมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทย (2537).สัมภาษณ์, 11 มีนาคม.

36 จบการบรรยายบทที่ 2 ครั้งที่ 2

37 2.5 ลักษณะการเขียนทางวิชาการ
การเขียนแบบบรรยาย - เป็นลักษณะการเขียนบอกเล่า เรื่องราว เหตุการณ์ และความรู้ต่างๆ อย่างละเอียด เป็นการกล่าวถึงเหตุการณ์ที่ต่อเนื่องกัน - ชี้ให้เห็นถึงสถานที่ที่เกิดเหตุการณ์ สาเหตุที่ก่อให้เกิด เหตุการณ์ สภาพแวดล้อม บุคคลที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนผลที่เกิดจากเหตุการณ์นั้น - เน้นการใช้ถ้อยคำภาษาที่กระชับ สื่อความหมายได้ชัดเจนตรงไป ตรงมา เน้นกล่าวในส่วนที่เป็นสาระสำคัญ มุ่งเสนอข้อมูลอันเป็น ข้อเท็จจริง - ไม่มีส่วนที่เป็นความคิดเห็นของผู้เขียน การเขียนในลักษณะบรรยาย เช่น การเขียนเล่าประวัติ การเขียนข้อมูลท่องเที่ยวหรือการบรรยายภาพ การเล่าตำนาน หรือบอกลักษณะองค์ประกอบของสิ่งต่างๆ เป็นต้น

38 การเขียนแบบอธิบาย - เป็นลักษณะการเขียนเพื่อทำให้ความคิดเรื่องใดเรื่องหนึ่งกระจ่าง ชัดขึ้น - ส่วนมากใช้ ในงานเขียนทางวิชาการ ประเภทหนังสือหรือตำรา โดยมีจุดประสงค์จะนำประเด็นที่สงสัยมาอธิบายให้เข้าใจอย่าง ชัดเจน - มักใช้ในการอธิบายกระบวนการ การวิเคราะห์หรือจำแนก เนื้อหาออกเป็นประเภทต่างๆ - การอธิบายมีหลายลักษณะ เช่น การอธิบายตามลำดับขั้น การอธิบายด้วยการให้นิยามหรือคำจำกัดความ การยกตัวอย่าง การเปรียบเทียบ การชี้สาเหตุและผลลัพธ์ที่สัมพันธ์กันเป็นต้น

39 การเขียนแบบพรรณนา - เป็นลักษณะการเขียนที่ต้องขยายความ หรือ แจกแจงรายละเอียดของสิ่งต่างๆ หรือเรื่องราวต่างๆ ให้เห็นภาพที่ เด่นชัด แสดงให้เห็นทุกรายละเอียด - ผู้เขียนสามารถสอดแทรกอารมณ์ความรู้สึกลงไปในเนื้อหานั้นๆ ด้วย เพื่อให้เกิดความซาบซึ้งตรึงใจ และเกิดความไพเราะสละสลวย ได้อรรถรส - การเขียนพรรณนาจึงต้องเลือกใช้ถ้อยคำที่มีความหมายลึกซึ้ง และมีเสียงที่ไพเราะด้วย นอกจากนั้นยังมีการเล่นเสียง เล่นคำเพื่อให้ เกิดภาพพจน์ เกิดอารมณ์คล้อยตาม ลักษณะการเขียนแบบพรรณนา เช่น การพรรณนาความงามของธรรมชาติ การพรรณนาถึงอารมณ์ ความรู้สึก หรือการพรรณนาเกี่ยวกับความคิด เป็นต้น

40 การเขียนแบบอุปมา เป็นลักษณะการเขียน ที่กล่าว เปรียบเทียบ เพื่อให้เข้าใจความหมาย อารมณ์ความรู้สึก หรือเห็นภาพชัดเจนขึ้น มักจะใช้ประกอบกับการเขียน บรรยายหรือการพรรณนา เพราะจะช่วยให้ถ้อยคำมี ความไพเราะสละสลวยและมีความหมายลึกซึ้งยิ่งขึ้น การเปรียบเทียบอาจเปรียบความเหมือนกัน หรือ คล้ายคลึงกัน เปรียบเทียบความขัดแย้ง หรือลักษณะ ตรงกันข้าม หรือเปรียบเทียบเพื่อให้เชื่อมโยงความคิด หนึ่งไปสู่ อีกความคิดหนึ่ง การใช้คำแสดงการเปรียบเทียบ มีอยู่หลากหลาย เช่น เหมือน เสมือน คล้าย ดุจ ดัง ดั่ง ดุจ ดั่ง ราว ดูราว ปาน เพียง ประหนึ่ง เช่น เฉก เป็นต้น

41 การเขียนแบบสาธก เป็นลักษณะการเขียนที่มุ่งให้ความ ชัดเจนโดยการยกตัวอย่างหรือเรื่องราวประกอบการ อธิบาย เนื้อหาสาระ เพื่อสนับสนุน ข้อคิดเห็นต่าง ๆ ให้หนักแน่น สมเหตุสมผล ทำให้ผู้รับสารเข้าใจเนื้อหา สาระอย่างแจ่มแจ้ง ชัดเจน ดูสมจริง หรือน่าเชื่อถือยิ่งขึ้น ตัวอย่างหรือเรื่องราว ที่ยกขึ้นมาประกอบอาจมาจาก วรรณกรรม ข่าวสาร หรือเรื่องราวเหตุการณ์ต่าง ๆ ก็ได้ ตามความเหมาะสม เช่น ประสบการณ์ เรื่องราวบุคคล เหตุการณ์ นิทาน ตำนาน วรรณคดี เป็นต้น

42 การเขียนแบบเทศนา เป็นการเขียนที่มุ่งโน้มน้าวใจให้ คล้อยตาม เป็นการกล่าวในเชิงอบรม แนะนำสั่งสอน เสนอทัศนะ ชี้แนะ หรือโน้มน้าว ชักจูงใจโดยอาจจะยกเอา เหตุผล หลักฐาน ข้อมูล ข้อเท็จจริง สุภาษิต คติธรรมและ สัจธรรม ต่าง ๆ มาประกอบเพื่อให้ผู้อ่านเกิดความเข้าใจและ ยอมรับ คล้อยตาม และปฏิบัติตาม มักใช้ ในการให้โอวาท อบรมสั่งสอน อธิบายหลักธรรม และคำชี้แจงเหตุผล ในเรื่อง ใดเรื่องหนึ่ง หรือการเสนอทัศนะ เป็นต้น สาธกโวหารนี้มักใช้ กับงานเขียนประเภทบทความโน้มน้าวใจ หรือบทความแสดง ความคิดเห็นหรือความเรียง

43 3. การเขียนร่างต้นฉบับเพื่อการนำเสนอ
การเขียนร่างต้นฉบับ เป็นขั้นตอนสุดท้ายก่อนที่ จะนำเสนอผลงานจริง ดังนั้นขั้นตอนนี้จึงเป็นการ ประมวลองค์ความรู้ทั้งหมดตั้งแต่ต้น มาเขียน เชื่อมโยง และนำเสนออย่างเป็นรูปธรรม มีความ ถูกต้อง ครบถ้วน ทั้งด้านรูปแบบ เนื้อหา สำนวน ภาษา ซึ่งพร้อมที่จะเสนอเป็นผลงานวิชาการทั้งที่ เป็นรูปแบบการเขียน และการนำเสนอโดยการพูด ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการนำเสนอในครั้งนั้นๆ

44 3.1 การตั้งชื่อเรื่อง การตั้งชื่อเรื่องในงานวิชาการ จะต้องตั้งชื่อ - ให้สอดคล้องกับเนื้อหาที่ศึกษาโดยตรง - ให้ครอบคลุมประเด็นที่สำคัญทุกประเด็น - เลือกใช้ถ้อยคำที่สั้น กระชับ และให้มีความ น่าสนใจ -เลือกใช้ถ้อยคำที่ทันสมัย ดึงดูดใจ เร้าความรู้สึกผู้อ่านหรือผู้ฟังให้อยากติดตาม

45 3.2 การเขียนบทนำ บทนำเป็นส่วนแรกของการนำเสนองาน การเขียนบทนำ จึงมีความสำคัญ และต้องใช้เทคนิคการจูงใจผู้อ่านหรือผู้ฟัง ให้เกิดความรู้สึกอยากติดตามเนื้อหาที่จะนำเสนอ โดยทั่วไป แล้ว ในส่วนของบทนำจะประกอบด้วย ความเป็นมาความสำคัญ จุดมุ่งหมาย และประโยชน์ของงานวิชาการเรื่องนั้นๆ ลักษณะการเขียนขึ้นต้นบทนำมีเทคนิคการเขียนดังนี้ - บทนำที่เป็นเรื่องเล่า /บทนำที่เป็นคำถาม /บทนำที่บรรยาย สถานการณ์ /บทนำที่แสดงความคัดแย้ง /บทนำที่สรุป ความสำคัญ /บทนำที่เป็นการชวนสนทนา /บทนำที่เป็นสุภาษิต หรือบทกวี /บทนำที่แสดงเจตนาของผู้ศึกษา /บทนำที่กระตุ้น อารมณ์ความรู้สึก และบทนำที่มาจากข่าว การจะเขียนความนำลักษณะใดนั้นขึ้นอยู่กับเนื้อหา ลีลาการ นำเสนอความชอบ และความถนัดของผู้นำเสนอเอง ไม่มี ข้อกำหนดตายตัว

46 3.3 การเขียนเนื้อหา การเขียนเนื้อหางานวิชาการ ต้องเขียนตามขอบเขตเนื้อหาที่ได้กำหนดไว้แต่ต้น และควรแบ่งเป็นหัวข้อ ซึ่งปกติจะมี 2 ลักษณะคือ กำหนดจากหัวข้อกว้างหรือหัวข้อใหญ่มาหาหัวข้อที่แคบหรือหัวข้อย่อยซึ่ง เป็นการเริ่มอธิบายทั้งระบบก่อนแล้วจึงอธิบายเฉพาะประเด็น 2. อธิบายจากประเด็นย่อยก่อนแล้วจึงนำมาประมวลเป็นองค์รวมในภายหลัง จากนั้นแล้วจึงเขียนเชื่อมโยง การนำเสนอในส่วนของข้อมูลเนื้อหามีหลายวิธี - นำเสนอข้อมูลพื้นฐาน หรือหลักการเบื้องต้น - เชื่อมโยงเข้าสู่จุดมุ่งหมายหรือวัตถุประสงค์ - เข้าสู่เนื้อหาที่เป็นประเด็นสำคัญ - เป็นไปตามรูปแบบงานวิชาการประเภทนั้นๆ และต้องมีการอ้างอิง - มีการยกตัวอย่างประกอบ การใช้ภาพประกอบ ซึ่งอาจจะเป็นแผนภูมิ แผนผัง แผนที่ หรือภาพถ่าย และการใช้ตารางประกอบ เพื่อทำให้ ข้อมูลมีความชัดเจนยิ่งขึ้น

47 3.4 การเขียนบทสรุป บทสรุป คือ การนำเสนอที่เป็นส่วนสุดท้ายของเรื่อง ซึ่งจะเป็นการแสดงผลการศึกษาค้นคว้าทั้งหมด รวมถึง ข้อคิดเห็นหรือข้อเสนอแนะอันเป็นประโยชน์ รวมถึง ประเด็นสำคัญที่ควรมีการศึกษาค้นคว้าต่อไป การเขียนบทสรุปมีหลายลักษณะ เช่น สรุปเป็นสาระสำคัญ ของเรื่อง สรุปด้วยการตอบจุดมุ่งหมายหรือคำถามที่ตั้งไว้ สรุปด้วยการเชิญชวน สรุปด้วยข้อคิดเห็นของผู้ศึกษา สรุปด้วยการเล่นคำ สำนวนสุภาษิต คำพังเพย บทกวี หรือ สรุปด้วยการเสียดสี ประชดประชันเป็นต้น อย่างไรก็ตาม บทสรุปจะต้องสร้างความประทับใจต่อผู้อ่านหรือผู้ฟัง

48 3.5 อภิปรายผลและข้อเสนอแนะ
การอภิปรายผล เป็นการบรรยายผลการศึกษาค้นคว้าโดยเปรียบเทียบกับผลการศึกษาของบุคคลอื่น ที่ได้ศึกษาในเรื่องเดียวกันหรือเรื่องที่ใกล้เคียงกัน ซึ่งการอภิปราย จะต้องบอกถึงข้อเท็จจริงที่เหมือนกันหรือสอดคล้องกัน และที่แตกต่างกัน รวมถึงสิ่งที่เป็นข้อค้นพบใหม่ที่ยังไม่เคยมีใครค้นพบมาก่อน การอภิปรายจะต้องแสดงข้อมูลต่างๆ ให้เห็นอย่างชัดเจน ประกอบกับเหตุผล อันเป็นข้อเท็จจริงที่ได้จากการศึกษาวิเคราะห์ รวมถึงข้อคิดเห็นที่มีหลักฐานยืนยัน และเสนอแนะในสิ่งที่จะเกิดประโยชน์หรือพัฒนาต่อยอดจากงานวิชาการเรื่องนั้นเพื่อให้บุคคลอื่นได้นำไปศึกษาให้ลึกซึ้ง กว้างขวางต่อไป

49 จบการบรรยายบทที่ 2 ครั้งที่ 3
จบเนื้อหาบทที่ 2


ดาวน์โหลด ppt บทที่ 2 กระบวนการเรียบเรียงเนื้อหางานทางวิชาการ

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google