ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
ได้พิมพ์โดยPraewphan Amornchantanakorn ได้เปลี่ยน 4 ปีที่แล้ว
1
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ภาคสอง)
โดย โอฬาริก สุรินต๊ะ คณะวิทยาการสารสนเทศ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
2
ส่วนประกอบของสารสนเทศ
Data People Software Hardware Process (Telecommunication) MISA
3
ข้อมูล (Raw Data) ข้อเท็จจริง หรือเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น
ข่าวสารรายละเอียดต่าง ๆ ที่ต้องการจัดเก็บ เพื่อให้สามารถนำมาอ้างอิง หรือแก้ไขได้ในภายหลังตามวัตถุประสงค์ของข้อมูล ข้อมูลอาจเป็นได้ทั้ง ข้อความ (Text) ตัวเลข (Number) สัญลักษณ์ (Symbol) วันที่ (Date) รูปภาพ (Picture) เสียง (Voice) MISA
4
ประเภทของข้อมูลตามลักษณะการจัดเก็บ
ข้อมูลปฐมภูมิ ข้อมูลที่ได้จากการเก็บรวบรวม หรือบันทึกจากแหล่งข้อมูลโดยตรง ซึ่งอาจได้จากการสอบถาม สัมภาษณ์ สำรวจ บันทึก ตลอดจนใช้อุปกรณ์ต่าง ๆ เป็นข้อมูลพื้นฐานที่ได้มาจากจุดกำเนิดของข้อมูลนั้น ๆ MISA
5
ประเภทของข้อมูลตามลักษณะการจัดเก็บ
ข้อมูลทุติยภูมิ ข้อมูลที่มีผู้อื่นรวบรวมไว้ให้แล้ว บางครั้งอาจจะมีการประมวลผลเพื่อเป็นสารสนเทศ ผู้ที่จะใช้ข้อมูลจึงไม่จำเป็นต้องไปสำรวจข้อมูลเอง MISA
6
ประเภทของข้อมูลตามลักษณะของข้อมูล
ข้อมูลภายใน (Internal Source) ข้อมูลภายในหน่วยงาน อาจเป็นได้ทั้งข้อมูลที่เป็นทางการ (formal) เช่นรายงานประจำปี รายงานผลการดำเนินงาน งบกำไรขาดทุน ฯลฯ และข้อมูลที่ไม่เป็นทางการ (informal) เช่นข้อมูลที่ได้จากการสอบถาม เป็นต้น MISA
7
ประเภทของข้อมูลตามลักษณะของข้อมูล
ข้อมูลภายนอก (External Source) ข้อมูลจากแหล่งภายนอกหน่วยงาน เช่น ระเบียบข้อบังคับตามกฎหมาย ข้อมูลจากหน่วยงานรัฐบาล เอกสาร หนังสือ การประชุม เป็นต้น MISA
8
โครงสร้างข้อมูล MISA
9
โครงสร้างข้อมูล บิต (Bit)
เป็นหน่วยของข้อมูลที่มีขนาดเล็กที่สุดที่เก็บในหน่วยความจำของคอมพิวเตอร์ ซึ่งประกอบด้วยเลขฐานสอง (Binary Digit) ซึ่งมีค่าได้เพียงสองสถานะเท่านั้นคือ 0 หรือ 1 MISA
10
โครงสร้างข้อมูล ไบต์ (Byte)
เป็นหน่วยของข้อมูลที่นำหลายบิตมาเรียงต่อกัน เพื่อใช้แทนตัวอักษรแต่ละตัว โดย 1 ตัวอักษรจะแทนด้วย 8 บิต เช่น ตัวอักษร A เมื่อเก็บอยู่ในคอมพิวเตอร์จะเก็บเป็น เป็นต้น จึงทำให้สามารถสร้างรหัสแทนข้อมูลขึ้นมาเพื่อใช้สำหรับแทนตัวอักษรที่แตกต่างกัน MISA
11
โครงสร้างข้อมูล ฟิลด์ หรือเขตข้อมูล (Field)
เป็นหน่วยของข้อมูลที่เกิดจากการนำตัวอักษรหลาย ๆ ตัวมารวมกัน ทำให้เป็นคำที่มีความหมาย เช่น รหัสนิสิต ชื่อ-สกุลนิสิต คณะ สาขา เป็นต้น MISA
12
โครงสร้างข้อมูล เรคอร์ด หรือระเบียน (Record)
เป็นหน่วยของข้อมูลที่มีหลายเขตข้อมูลที่มีความสัมพันธ์ หรือเกี่ยวข้องกันมารวมกัน เช่น เรคอร์ดของประวัตินิสิต จะประกอบด้วยฟิลด์ รหัสนิสิต ชื่อ- สกุลนิสิต วันเกิด ที่อยู่ จังหวัด เบอร์โทรศัพท์ เป็นต้น MISA
13
โครงสร้างข้อมูล ไฟล์ หรือแฟ้มข้อมูล (File)
เป็นหน่วยของข้อมูลที่มีการนำเรคอร์ดที่มีความสัมพันธ์มารวมกัน เช่นในแฟ้มประวัตินิสิต จะประกอบด้วยเรคอร์ดของนิสิตทั้งหมดที่อยู่ในมหาวิทยาลัยมหาสารคาม MISA
14
บุคลากรที่เกี่ยวข้องกับสารสนเทศ (People)
Top Management ระดับวางแผนยุทธศาสตร์ระยะยาว Long term planning Strategic plans Middle Management ระดับวางแผนการบริหาร tactical planning MISA
15
บุคลากรที่เกี่ยวข้องกับสารสนเทศ
Lower Management ระดับวางแผนปฏิบัติการ day-to-day operational plans Operational Employee ระดับปฏิบัติการ MISA
16
Operational Employees CEO, President, Vice President
Top Management Middle Lower Operational Employees CEO, President, Vice President Sales Representative, Retail Associate, Production Worker, Team Member, Administrative Assistant, Tech Support Representative, accounting Clerk, Financial Analyst Supervisor, Team Leader, Coordinator Director, Manager MISA
17
กระบวนการการทำงาน (Process)
คำสั่ง หรือกฎเกณฑ์ที่ใช้ในการทำงานของระบบ กระบวนการการทำงานของระบบ ขั้นตอน หน้าที่ในการทำงาน MISA
18
ซอฟต์แวร์ (Software) ส่วนที่ทำหน้าที่เป็นชุดคำสั่ง (Instructions) ที่เขียนขึ้นอย่างมีลำดับขั้นตอนเพื่อใช้ควบคุมการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ เป็นภาษาที่เครื่องคอมพิวเตอร์สามารถเข้าใจได้ เช่น ภาษาเบสิก ภาษาโคบอล ภาษาปาสคาล เป็นต้น MISA
19
ประเภทของซอฟต์แวร์ แบ่งออกเป็นสองประเภทได้แก่
ซอฟต์แวร์ระบบ (System Software) ซอฟต์แวร์ประยุกต์ (Application Software) MISA
20
ประเภทของซอฟต์แวร์ ซอฟต์แวร์ระบบ (System Software)
โปรแกรม หรือชุดของคำสั่งที่เขียนไว้เป็นคำสั่งสำเร็จรูป ที่มีหน้าที่ควบคุมการทำงานของฮาร์ดแวร์ และอำนวยความสะดวกให้กับผู้ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ ซอฟต์แวร์ระบบที่รู้จักกันดีก็คือ DOS, Windows, Unix, Linux MISA
21
ประเภทของซอฟต์แวร์ ซอฟต์แวร์ประยุกต์ (Application Software)
เป็นโปรแกรมหรือชุดคำสั่งที่เขียนขึ้นเพื่อให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานเฉพาะอย่างหรือเฉพาะด้าน ซอฟต์แวร์หรือโปรแกรมที่ทำให้คอมพิวเตอร์ทำงานต่าง ๆ ตามที่ผู้ใช้ต้องการ ไม่ว่าจะด้านเอกสาร บัญชี การจัดเก็บข้อมูล MISA
22
ประเภทของซอฟต์แวร์ประยุกต์
ซอฟต์แวร์สำหรับงานเฉพาะด้าน (User Program) เขียนขึ้นเพื่อการทำงานเฉพาะอย่างตามที่ต้องการ เช่น โปรแกรมการทำบัญชีจ่ายเงินเดือน โปรแกรมระบบเช่าซื้อ โปรแกรมการทำสินค้าคงคลัง เป็นต้น MISA
23
ประเภทของซอฟต์แวร์ประยุกต์
ซอฟต์แวร์สำหรับงานทั่วไป (Package Program) โปรแกรมที่มีผู้จัดทำไว้ เพื่อใช้ในการทำงานประเภทต่าง ๆ ทั่วไป โดยผู้ใช้คนอื่น ๆ สามารถนำโปรแกรมนี้ไปประยุกต์ใช้กับข้อมูลของตนได้ ไม่สามารถทำการดัดแปลง หรือแก้ไขโปรแกรมได้ MISA
24
ประเภทของซอฟต์แวร์สำหรับงานทั่วไป
แบ่งออกได้ทั้งหมด 8 ประเภท โปรแกรมทางด้าน Word Processor เป็นโปรแกรมที่ทำงานเกี่ยวกับทางด้านการประมวลผลคำ สามารถจัดทำเอกสาร รายงาน จดหมาย หนังสือต่าง ๆ ได้ ทำให้ได้งานที่มีประสิทธิภาพ สวยงาม โปรแกรมที่จัดอยู่ในกลุ่ม Word Processor มีดังนี้ คือ WordStat, ราชวิถีเวิร์ด, เวิร์ดจุฬา, Word Perfect, Microsoft Word และ AmiPro MISA
25
ประเภทของซอฟต์แวร์สำหรับงานทั่วไป
โปรแกรมทางด้าน Spreadsheet เป็นโปรแกรมที่มีลักษณะเป็นกระดาษทำการ หรือเรียกว่า Worksheet ประกอบด้วยส่วนที่เป็น Row และส่วนที่เป็น Column ใช้ในด้านการคำนวณเป็นส่วนมาก นอกจากนั้นยังมีการนำเสนอข้อมูลออกมาในรูปของกราฟโดยสร้างเป็นกราฟ 2 มิติและ 3 มิติได้อีกด้วย โปรแกรม Spreadsheet เหมาะกับการทำงานในด้านการบัญชี การเงิน การวิเคราะห์ข้อมูล หรืองานการคิดคะแนนและเกรดของนักศึกษา เป็นต้น โปแกรมที่อยู่ในกลุ่มนี้ ได้แก่ Lotus, Microsoft Excel MISA
26
ประเภทของซอฟต์แวร์สำหรับงานทั่วไป
โปรแกรมทางด้าน Database เป็นโปรแกรมที่ทำงานทางด้านการจัดการฐานข้อมูล ช่วยจัดเก็บข้อมูล แก้ไข ค้นหา เพิ่ม รวมทั้งการจัดเรียงข้อมูล ทำให้สามารถทำงานได้เป็นระบบ โปรแกรม Database เหมาะกับการทำงานที่มีข้อมูลมาก ๆ เช่น การเก็บสต็อกสินค้าคงคลัง การเก็บประวัติพนักงาน การเก็บรายชื่อนักศึกษาในโรงเรียน การเก็บรายชื่อหนังสือในห้องสมุด เป็นต้น โปรแกรมที่อยู่ในกลุ่มนี้ได้แก่ dBase lll Plus, Foxpro, Microsoft Access, Microsoft SQL Server MISA
27
ประเภทของซอฟต์แวร์สำหรับงานทั่วไป
โปรแกรมทางด้าน Graphic โปรแกรม Graphic จะเกี่ยวกับทางด้านงานออกแบบ เขียนแบบวาดภาพ จัดทำสิ่งพิมพ์ และจะเป็นทางด้านการนำเสนองาน สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในงานโฆษณา ทำ Slide Show หรือนำไปใช้กับระบบ Multimedia ได้ โปรแกรมที่อยู่ในกลุ่มนี้ได้แก่ Adobe Photoshop, Macromedia Flash, Adobe Premier เป็นต้น MISA
28
ประเภทของซอฟต์แวร์สำหรับงานทั่วไป
โปรแกรมเกม (Game) เป็นโปรแกรมที่แพร่หลายเป็นที่รู้จักกันทั่วไป ไม่ว่าจะเป็นเด็กหรือผู้ใหญ่ และปัจจุบันนี้มีโปรแกรมเกมต่าง ๆ มากมาย ทั้งแบบธรรมดาและแบบ 3 มิติ เกมส่วนใหญ่จะสร้างขึ้นมา เพื่อช่วยผ่อนคลายความตึงเครียดในการทำงานและเพื่อความสนุกสนานเพลิดเพลิน MISA
29
ประเภทของซอฟต์แวร์สำหรับงานทั่วไป
โปรแกรมทางด้านการสร้างสถานการณ์จำลอง (Simulator) เป็นโปรแกรมที่ให้ผู้เล่นได้ทดลองสร้างสถานการณ์จำลองของงานที่อาจจะเกิดขึ้นได้หรืออาจจะเรียกว่า เกมส์ทางธุรกิจ โดยให้ผู้เล่นได้รู้จักวางแผนในการทำงาน คิดถึงผลกำไรขาดทุนที่อาจจะเกิดขึ้นได้ รู้จักจัดสรรงบประมาณที่มีอยู่ให้ได้ผลกำไรมากที่สุด MISA
30
ประเภทของซอฟต์แวร์สำหรับงานทั่วไป
โปรแกรมทางด้านการติดต่อสื่อสาร (Communication) เป็นโปรแกรมที่ให้ผู้ใช้สามารถติดต่อสื่อสารผ่านระบบอินเตอร์เน็ต เช่นทำการประชุมผ่านทางอินเตอร์เน็ต เป็นต้น MISA
31
ประเภทของซอฟต์แวร์สำหรับงานทั่วไป
โปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI) โปรแกรมประเภทนี้เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า CAI (Computer Assisted Instruction) เป็นโปรแกรมที่นำมาสอนให้กับนักเรียนในวิชาต่าง ๆ โดยที่นักเรียนจะเรียนกับโปรแกรมบนคอมพิวเตอร์และครูเป็นผู้ชี้แนะ ทดสอบ และวัดความเข้าใจ รวมทั้งสรุปเนื้อหาที่นักเรียนได้เรียนจากโปรแกรม CAI นี้ สำหรับโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่จะใช้สร้างโปรแกรม CAI นั้นได้แก่ โปรแกรม Authorware และโปรแกรม ToolBook เป็นต้น MISA
32
ฮาร์ดแวร์ (Hardware) ส่วนที่ประกอบเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ รวมอุปกรณ์ต่อพ่วงต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์ที่เราสามารถมองเห็นและสัมผัสได้ เช่น ตัวเครื่อง จอภาพ คีย์บอร์ด และเมาส์ เป็นต้น MISA
33
ส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์
Motherboard Power supply Storage controllers Video display controllers Computer bus controllers MISA
34
ส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์
Some type of removable media writer Internal Storage Sound card Networking Input device Output device MISA
35
NETWORKING Networking to connect the computer to the Internet and/or other computers Modem – for dial-up connections Network card - for DSL/Cable internet, and/or connecting to other computers MISA
36
INPUT or INPUT DEVICE Keyboard Mouse Joystick WebCam Microphone
Scanner MISA
37
OUTPUT or OUTPUT DEVICE
Printer Monitor Speaker headset MISA
38
Telecommunication (โทรคมนาคม)
MISA
39
COMMUNICATION (การติดต่อสื่อสาร)
การติดต่อเพื่อการสื่อความหมายระหว่างผู้ส่งข่าวสารและผู้รับข่าวสาร แต่ผู้ส่งข่าวสารและผู้รับข่าวสารอาจจะอยู่ในสถานที่เดียวกันหรืออยู่ต่างสถานที่กันก็ได้ หากอยู่ต่างสถานที่กันอาจจะต้องใช้ระบบการสื่อสาร เช่นโทรเลข, โทรศัพท์ หรือโทรสาร เพื่อการติดต่อสื่อสารระหว่างผู้ส่งข่าวสารและผู้รับข่าวสาร MISA
40
TELECOMMUNICATION (การสื่อสารโทรคมนาคม)
Telecommunications สามารถให้ความหมายอย่างกว้าง ๆ ตามรูปศัพท์ได้ว่าหมายถึง “การสื่อสารไปยังผู้รับปลายทางที่อยู่ไกลออกไป” MISA
41
TELECOMMUNICATION สหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (International Telecommunications Union: ITU) ได้ให้คำจำกัดความว่า “Telecommunications” หมายถึง “การส่งข่าวสารทุกรูปแบบไม่ว่าจะเป็นเสียงพูด, ตัวอักษร, สัญลักษณ์, ภาพถ่าย, graphics, ภาพเคลื่อนไหว (Video) ฯลฯ ไปยังปลายทาง โดยอาศัยสัญญาณไฟฟ้าหรือสัญญาณแม่เหล็กไฟฟ้าไม่ว่ารูปแบบใดและไม่จำกัดว่าจะไปใช้สื่อชนิดใด (เช่นระบบวิทยุ, คู่สายทองแดง หรือ optical fiber ฯลฯ)” MISA
42
TELECOMMUNICATION MISA
43
TELECOMMUNICATION Source of Information (ต้นกำเนิดข่าวสาร)
เป็นส่วนแรกในระบบการสื่อสารโทรคมนาคม เป็นแหล่งที่มาของข่าวสารต่าง ๆ ที่ผู้ส่งต้องการที่จะส่งไปยังผู้รับที่ปลายทาง ตัวอย่างในระบบโทรศัพท์หรือระบบวิทยุกระจายเสียง ส่วนนี้ก็คือเสียงพูดของผู้พูดที่ต้นทาง ซึ่งจะถูกไมโครโฟนเปลี่ยนให้เป็นสัญญาณไฟฟ้าที่เหมาะสม และส่งเข้าไปในระบบ หรือในกรณีระบบการสื่อสารข้อมูล (Data Communication)ส่วนนี้อาจจะเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์หรือ Data Terminalประเภทต่าง ๆ MISA
44
TELECOMMUNICATION Transmitter (เครื่องส่ง)
ทำหน้าที่ในการแปลงหรือเปลี่ยนสัญญาณไฟฟ้าที่ใช้แทนข่าวสารจากต้นกำเนิดข่าวสาร ให้เป็นสัญญาณหรือคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่เหมาะสมในการส่งต่อไปยังปลายทาง เช่นระบบโทรศัพท์ตัวเครื่องโทรศัพท์จะแปลงสัญญาณไฟฟ้าที่ใช้แทนเสียงพูด ให้เป็นสัญญาณแม่เหล็กไฟฟ้าที่เหมาะสมและส่งต่อไปยังปลายทาง สำหรับในระบบการสื่อสารข้อมูล ส่วนนี้จะเป็น MODEM หรืออุปกรณ์อื่นที่เหมาะสมในการเปลี่ยนสัญญาณไฟฟ้าที่มาจากคอมพิวเตอร์เพื่อให้เป็นสัญญาณแม่เหล็กไฟฟ้าที่เหมาะสมในการผ่านระบบสื่อสัญญาณ(Transmissions) ไปยังปลายทาง MISA
45
TELECOMMUNICATION Transmission (ระบบการส่งผ่านสัญญาณ)
เมื่อเครื่องส่งได้เปลี่ยนหรือแปลงสัญญาณไฟฟ้าที่ใช้แทนข่าวสารต่าง ๆ ให้เป็นสัญญาณหรือคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่เหมาะสม สัญญาณก็จะถูกส่งผ่านระบบระบบการส่งผ่านสัญญาณ เพื่อส่งต่อไปยังเครื่องรับและผู้รับที่ปลายทาง ดังนั้นระบบการส่งผ่านสัญญาณจึงถือได้ว่านับเป็นส่วนที่สำคัญและจำเป็นมากในระบบการสื่อสารโทรคมนาคม MISA
46
TELECOMMUNICATION Receiver (เครื่องรับ)
เป็นส่วนที่ทำการเปลี่ยนสัญญาณ หรือคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ที่ถูกส่งผ่านระบบการส่งผ่านสัญญาณจากต้นทาง เพื่อให้กลับมาเป็นสัญญาณไฟฟ้าที่ใช้แทนข่าวสารที่ถูกส่งมาจากต้นทาง ทั้งนี้เพื่อส่งให้อุปกรณ์ปลายทางทำการแปลงหรือเปลี่ยนสัญญาณไฟฟ้านั้น ให้กลับมาเป็นข่าวสารที่ผู้รับสามารถเข้าใจความหมายได้ สำหรับระบบการสื่อสารข้อมูลส่วนนี้จะเป็น MODEM หรืออุปกรณ์ที่เหมาะสมในการเปลี่ยนสัญญาณแม่เหล็กไฟฟ้า ให้เป็นสัญญาณไฟฟ้าที่ใช้ข้อมูลในรูปแบบที่ถูกต้อง และเหมาะสมสำหรับการส่งต่อให้เครื่องคอมพิวเตอร์ MISA
47
COMMUNICATION CHANNEL (ช่องทางการสื่อสาร)
ช่องทางการสื่อสารแบบมีสาย (Physical wire) สายโคแอ็กเชียล (Coaxial Cable) สายคู่เกลียวบิด (Twisted Pairs) สายใยแก้วนำแสง (Fiber Optics) MISA
48
COMMUNICATION CHANNEL
ช่องทางการสื่อสารแบบไร้สาย (Wireless) ช่วงครอบคลื่นวิทยุ (Spread Spectrum Radio) ช่วงความถี่แคบ หรือช่วงความถี่เดี่ยวของคลื่นวิทยุ (Narrowband or single-band radio) อินฟราเรด (Infrared) เลเซอร์ (Laser) บลูทูธ MISA
49
องค์ประกอบพื้นฐานของเครือข่าย
คอมพิวเตอร์ อย่างน้อย 2 เครื่อง เน็ตเวิร์กการ์ด สื่อกลางและอุปกรณ์สำหรับการรับส่งข้อมูล เช่นสายสัญญาณ โปรโตคอล (Protocol) เป็นภาษาที่คอมพิวเตอร์ใช้สื่อสารกัน MISA
50
อุปกรณ์เครือข่าย เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในระบบเครือข่ายทำหน้าที่จัดการเกี่ยวกับการรับส่งข้อมูลในเครือข่าย ใช้สำหรับทวนสัญญาณเพื่อให้การส่งข้อมูลได้ในระยะที่ไกลขึ้น ใช้สำหรับขยายเครือข่ายให้มีขนาดใหญ่ขึ้น MISA
51
อุปกรณ์เครือข่าย HUB ฮับ (HUB) หรือเรียกว่า รีพีทเตอร์ (Repeater)
เป็นอุปกรณ์ที่ใช้เชื่อมต่อกลุ่มของคอมพิวเตอร์ ฮับมีหน้าที่รับส่งเฟรมข้อมูลทุกเฟรมที่ได้รับจากพอร์ตใดพอร์ตหนึ่งไปยังทุก ๆ พอร์ตที่เหลือ คอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อเข้าฮับจะแชร์แบนด์วิธ หรืออัตราข้อมูลของเครือข่าย ฉะนั้นยิ่งมีคอมฯ ต่อเข้ากับฮับมากเท่าใด ทำให้แบนด์วิธต่อคอมพิวเตอร์ลดลง MISA
52
อุปกรณ์เครือข่าย Switch
สวิตช์ (Switch) เป็นอุปกรณ์ที่มีความฉลาดกว่า HUB สวิตซ์สามารถส่งข้อมูลที่ได้รับมาจากพอร์ตหนึ่งไปยังเฉพาะพอร์ตปลายทางเท่านั้น ทำให้คอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อกับพอร์ตที่เหลือสามารถส่งข้อมูลถึงกันและกันได้ในเวลาเดียวกัน ทำให้อัตราการรับส่งข้อมูลหรือแบนด์วิธไม่ขึ้นอยู่กับจำนวนคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อเข้าสวิตช์ ทำให้ไม่มีปัญหาเกี่ยวกับการชนกันของข้อมูลในเครือข่าย MISA
53
อุปกรณ์เครือข่าย Router
เราต์เตอร์จะอ่านที่อยู่ (Address) ของสถานีปลายทางที่ส่วนหัว (Header) ของแพ็กเก็ตข้อมูล เพื่อใช้ในการกำหนดหรือเลือกเส้นทางที่จะส่งแพ็กเก็ตนั้นต่อไป ในเราท์เตอร์จะมีข้อมูลที่เกี่ยวกับการจัดเส้นทางให้แพ็กเก็ตเรียกว่า “เราติ้งเทเบิ้ล (Routing Table)” โดยข้อมูลในตารางจะเป็นข้อมูลที่เราท์เตอร์ใช้ในการเลือกเส้นทางที่ดีที่สุดไปยังปลายทาง MISA
54
Protocol โปรโตคอล (Protocol) เป็นมาตรฐานในการสื่อสารข้อมูลของคอมพิวเตอร์ อาจกล่าวได้ว่าเป็น “ภาษา” ที่คอมพิวเตอร์ใช้ในการสื่อสารกัน โปรโตคอลที่นิยมมากที่สุดคือ TCP/IP (Transmission Control Protocol / Internet Protocol) เป็นโปรโตคอลที่ใช้ในระบบอินเตอร์เน็ต ซึ่งเป็นระบบเครือขายที่ใหญ่ที่สุดในโลก MISA
55
สารสนเทศ (Information)
ข้อมูลที่ผ่านการประมวลผล และเป็นประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิตของมนุษย์ MISA
56
MISA
57
ข้อแตกต่างระหว่างข้อมูล และสารสนเทศ
ข้อมูล คือส่วนของข้อเท็จจริง โดยได้จากการเก็บมาจากเหตุการณ์ต่าง ๆ สารสนเทศ คือข้อมูลที่นำมาผ่านกระบวนการ เพื่อสามารถนำไปใช้ในการตัดสินใจต่อไปได้ทันที และมีประสิทธิภาพมากขึ้น ตัวอย่าง ข้อมูล: นิสิตในมหาวิทยาลัยมหาสารคามมีจำนวน 36,000 คน อาจารย์มีจำนวน 350 คน สารสนเทศ: อัตรานิสิตต่ออาจารย์ของมหาวิทยาลัยมหาสารคาม = 36,000/350 = MISA
58
ข้อแตกต่างระหว่างข้อมูล และสารสนเทศ
MISA
59
การจัดการความรู้ ข้อมูล --> สารสนเทศ --> ความรู้ --> ความชำนาญ ข้อมูล (ข้อมูลดิบ) ที่ผ่านการประมวลผล เรียกว่า สารสนเทศ (Information) ข้อมูล -> (กระบวนการประมวลผล) -> สารสนเทศ MISA
60
ระบบสารสนเทศ (Information System)
เป็นระบบพื้นฐานของการทำงานต่าง ๆ ในรูปแบบของการเก็บ (Input) การจัดการ (Processing) การเผยแพร่ (Output) Input Process Output Feedback MISA
61
Information System Information System (ระบบสารสนเทศ)
ระบบที่นำคอมพิวเตอร์มาใช้เพื่อช่วยในการรวบรวม จัดเก็บ หรือจัดการกับข้อมูลข่าวสาร เพื่อให้กลายเป็นสารสนเทศที่ดี สามารถนำไปใช้ในการประกอบการตัดสินใจได้ในเวลารวดเร็ว และถูกต้อง งานประยุกต์ทางคอมพิวเตอร์ที่ทำหน้าที่รับข้อมูล (Input) เพื่อนำมาประมวลผล (Process) ให้เป็นสารสนเทศ (Information) รูปแบบต่าง ๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อการใช้งาน และเก็บข้อมูลลงฐานข้อมูล (Database) MISA
62
กระบวนการจัดการข้อมูล (Data Manipulation)
การรวบรวมและการจัดเก็บข้อมูล (Data Collection) การลงรหัส (Data Encoding) การบันทึกข้อมูล (Data Entry) การตรวจสอบข้อมูล (Data Verification) การแก้ไขข้อมูล (Data Editing) การประมวลผลข้อมูล (Data Processing) MISA
63
กระบวนการจัดการข้อมูล (Data Manipulation)
การปรับเปลี่ยนข้อมูลให้เป็นปัจจุบัน (Data Update) การค้นคืนข้อมูล (Data Retrieval) การสำรองข้อมูล (Data Backup) การกู้คืนข้อมูล (Data Recovery) การรักษาความปลอดภัย (Data Security) MISA
64
หลักการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ
หลักการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ มีความสำคัญต่อระบบสารสนเทศเป็นอย่างมาก หลักการเปรียบเสมือนแนวทางหลักที่ทำให้องค์กร หรือหน่วยงานกำหนดนโยบาย และทิศทางที่จะก้าวไป ดังนั้นควรพิจารณาหลักการต่อไปนี้เพื่อช่วยให้ระบบสารสนเทศมีประสิทธิภาพสูงสุด MISA
65
หลักการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ
เป้าหมายของระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ ต้องชัดเจน เข้าใจง่าย เช่น การเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน การลงทุนระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ พิจารณาถึงความคุ้มค่าในการลงทุน เนื่องจากต้องเสียค่าใช้จ่ายเป็นอย่างมากในการจัดซื้อ และดูแลระบบสารสนเทศ MISA
66
หลักการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ
ความรับผิดชอบด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ จัดให้มีผู้รับผิดชอบ หรือหน่วยงานพิเศษที่ดูแลด้าน ICT (Information and Communication Technology) ขององค์กร ตรวจสอบระบบอยู่ตลอดเวลา การบริหารจัดการข้อมูล พิจารณาถึงการจัดเก็บข้อมูล ความปลอดภัยของข้อมูล สิทธิในการเข้าใช้ข้อมูลของบุคคลภายในองค์กร MISA
67
หลักการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ
การรักษาความมั่งคงปลอดภัย พิจารณาถึงความปลอดภัยของข้อมูลเป็นสำคัญ ถ้าคู่แข่งรู้ถึงข้อมูลที่สำคัญ อาจทำให้เสียผลประโยชน์ การพัฒนาบุคลากร มีแผนงาน หรือนโยบาย และการปฏิบัติ ที่ช่วยให้พนักงานได้มีทักษะ ความสามารถทางด้าน IT เพื่อใช้ระบบ IT ขององค์การได้อย่างมีประสิทธิภาพ MISA
68
หลักการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ
การประเมินผล และตรวจสอบ จัดสร้างดัชนี เพื่อชี้วัดระบบสารสนเทศ เพื่อประเมินว่าคุ้มค่าต่อการลงทุน และเพิ่มประสิทธิภาพขององค์กรหรือไม่ MISA
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2019 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.