งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

โดย รศ.เบญจรัตน์ สีทองสุก

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "โดย รศ.เบญจรัตน์ สีทองสุก"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 โดย รศ.เบญจรัตน์ สีทองสุก
การทำรายงาน โดย รศ.เบญจรัตน์ สีทองสุก บทที่ 8 การเขียนรายงานและภาคนิพนธ์

2 ขั้นตอนการทำรายงาน 1. เลือกเรื่องและตั้งชื่อเรื่อง
2. สำรวจแหล่งความรู้ ค้นหาข้อมูลอย่างคร่าว ๆ 3. วางโครงเรื่อง 4. ค้นคว้าตามโครงเรื่อง อ่านและจดบันทึก 5. วิเคราะห์ สังเคราะห์ เรียบเรียงเนื้อเรื่อง และเขียนการอ้างอิง 6. เขียนบรรณานุกรม 7. ทำส่วนประกอบของรายงาน 8. ตรวจสอบความถูกต้องและจัดทำรูปเล่ม จัดทำโดย รศ.เบญจรัตน์ สีทองสุก

3 งานที่เหลืออยู่ให้ทำดังนี้
ให้ทำบัตรบันทึกและเรียบเรียงหัวข้อเรื่องที่ยังเหลืออยู่ในโครงเรื่องให้เสร็จเรียบร้อย ทุกหัวข้อเรื่องที่เรียบเรียงแล้วให้ตรวจสอบหลักฐานการค้นคว้า ให้ครบถ้วนเรียบร้อยดี คือ หัวข้อเรื่องที่เรียบเรียงเนื้อหาแล้ว ตารางวิเคราะห์หรือสังเคราะห์เนื้อหาจากบัตรบันทึกข้อมูล บัตรบันทึกข้อมูลของหัวข้อเรื่องที่เรียบเรียง สำเนาเอกสารต้นฉบับที่ใช้ค้นคว้าหัวข้อเรื่องที่เรียบเรียง พร้อมแหล่งที่มาตามแบบบรรณานุกรม จัดทำโดย รศ.เบญจรัตน์ สีทองสุก

4 ลำดับการทำงาน เรียบเรียงทุกหัวข้อเรื่องในโครงเรื่องให้เสร็จเรียบร้อย
ให้ทำบรรณานุกรมตามวิธีการและรูปแบบที่ถูกต้อง ให้จัดเนื้อหาที่เรียบเรียงแล้วตามลำดับหัวข้อในโครงเรื่อง ต่อด้วยบรรณานุกรม หากงานไม่ค่อยสะอาดเรียบร้อยควรคัดลอกใหม่และให้เลขหน้าไปตามลำดับ จัดทำส่วนประกอบส่วนต้นของรายงานที่ยังขาดอยู่ คือ คำนำ --> สารบัญ --> ปกใน --> ปกนอก จัดทำโดย รศ.เบญจรัตน์ สีทองสุก

5 การจัดหน้ากระดาษรายงาน
1. ขนาดของกระดาษรายงาน ใช้ขนาด 8.5 นิ้ว x 11.5 นิ้ว (ขนาดเอ 4) และใช้หน้าเดียว 2. การเว้นขอบกระดาษรายงาน 2.1 ขอบซ้าย ห่างจากขอบกระดาษ 1.5 นิ้ว 2.2 ขอบขวา ห่างจากขอบกระดาษ 1 นิ้ว 2.3 ขอบบน ห่างจากขอบกระดาษ 1.5 นิ้ว 2.4 ขอบล่าง ห่างจากขอบกระดาษ 1 นิ้ว จัดทำโดย รศ.เบญจรัตน์ สีทองสุก

6 พื้นที่ที่ใช้เขียนรายงาน
1.5 พื้นที่ที่ใช้เขียนรายงาน 1 1.5 1 จัดทำโดย รศ.เบญจรัตน์ สีทองสุก

7 การจัดหน้ากระดาษรายงาน
3. การให้เลขหน้า 3.1 ส่วนต้นของรายงาน มี 2 วิธี เป็นตัวอักษร ก ข ค ง จ ฯลฯ เลขหน้าเป็นเลขโรมัน i ii iii iv v ฯลฯ 3.2 ส่วนของเนื้อเรื่องและส่วนท้ายของรายงาน ให้เลขหน้าเป็นตัวเลข ต่อเนื่องกันไปจนถึงหน้าสุดท้าย 4. ตำแหน่งของเลขหน้า 4.1 ห่างจากขอบกระดาษบนลงมา 1 นิ้วและขอบขวา 1 นิ้ว 4.2 หน้าที่มีชื่อบทหรือชื่อเรื่องอยู่กลางหัวกระดาษหน้า ไม่ต้องลงเลขหน้า แต่ให้นับเลขหน้าต่อเนื่องกันไป จัดทำโดย รศ.เบญจรัตน์ สีทองสุก

8 องค์ประกอบของรายงาน ส่วนต้นของรายงาน ส่วนนี้อยู่ส่วนแรกก่อนถึงเนื้อเรื่อง ได้แก่ ปกนอก ปกใน คำนำ สารบัญ สารบัญภาพ ส่วนเนื้อเรื่องของรายงาน ส่วนนี้เป็นหัวใจของรายงาน แบ่งเป็น 3 ตอน คือ บทนำ หรือความนำเนื้อเรื่องและบทสรุป ส่วนท้ายของรายงาน ส่วนนี้เป็นส่วนเสริมของรายงาน ได้แก่ บรรณานุกรม ภาคผนวก อภิธานศัพท์ และดรรชนี จัดทำโดย รศ.เบญจรัตน์ สีทองสุก

9 การจัดเล่มรายงาน 1. การรวบรวมส่วนต้นของรายงาน ประกอบด้วย
1. การรวบรวมส่วนต้นของรายงาน ประกอบด้วย ปกนอก ปกใน คำนำ และสารบัญ เขียนรายการให้ถูกต้องตามแบบแผน และตรวจสอบความเรียบร้อยสมบูรณ์ก่อนจัดเล่ม  ปกนอก ปกใน ลงรายการเหมือนกัน (หน้า 257) จัดทำโดย รศ.เบญจรัตน์ สีทองสุก

10 การเลี้ยงปลาสวยงามเพื่อการค้า
ชื่อรายงาน เสนอ อาจารย์/ผู้ช่วยศาสตราจารย์/รองศาสตราจารย์ ชื่อ-นามสกุล โดย นาย/นาง/นางสาวชื่อ-นามสกุลเจ้าของรายงาน หมู่เรียน รหัส รายงานนี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษารายวิชา…..…. ภาคเรียนที่……..ปีการศึกษา………… ชื่อสถานศึกษา การเลี้ยงปลาสวยงามเพื่อการค้า 20 พอยต์ ตัวหนา เสนอ รองศาสตราจารย์เบญจรัตน์ สีทองสุก โดย นางสาวกุหลาบขาว หอมมากมาก หมู่เรียน 50/100 รหัส 18 พอยต์ ตัวหนา รายงานนี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษารายวิชา สารสนเทศและเทคโนสารสนเทศเพื่อการเรียนรู้ ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2551 มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม จัดทำโดย รศ.เบญจรัตน์ สีทองสุก

11 คำนำ 20 พอยต์ ตัวหนา 16 พอยต์
.....บอกเหตุผลที่เลือกทำรายงาน วัตถุประสงค์ ความมุ่งหมาย ขอบเขต …… …… …… ขอบคุณผู้ที่ให้ความอนุเคราะห์ หรือให้ความสะดวก …… ชื่อ-ชื่อสกุล ผู้ทำรายงาน วัน เดือน ปีที่ทำรายงาน 20 พอยต์ ตัวหนา 16 พอยต์ ปัจจุบันก๊าซหุงต้ม หรือ ก๊าซแอลพีจีมีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งในชีวิตประจำวัน การมีความรู้เกี่ยวกับก๊าซหุงต้มจึงเป็นสิ่งจำเป็น เพราะได้มีการนำก๊าซหุงต้มไปใช้เป็นเชื้อเพลิงอย่างแพร่หลายในกิจการต่างๆ เช่น ในครัวเรือน เนื่องจากมีความสะดวกสบาย ในการใช้งานอีกทั้งประหยัดเวลา แต่จะต้องระมัดระวังในการใช้ มิฉะนั้นอาจก่อให้เกิดอันตรายได้ รายงานนี้ได้รวบรวมเรื่องราวของก๊าซหุงต้มที่ควรทราบ เช่นคุณสมบัติ ประโยชน์ และข้อควรระวังในการใช้ ทั้งนี้หวังว่าจะเป็นประโยชน์แก่ผู้อ่าน หากมีข้อบกพร่องใดๆในรายงานนี้ ผู้เรียบเรียงหวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะได้รับคำแนะนำจากอาจารย์ผู้สอน จึงขอขอบพระคุณล่วงหน้ามา ณ โอกาสนี้ มาลัย ชมบ้านแพ้ว 30 กันยายน 2549 จัดทำโดย รศ.เบญจรัตน์ สีทองสุก

12 สารบาญ 20 พอยต์ ตัวหนา 16 พอยต์ หน้า
คำนำ (1) สารบัญ (2) หัวข้อเรื่องที่ หัวข้อเรื่องที่ หัวข้อเรื่องที่ หัวข้อเรื่องที่ สรุป บรรณานุกรม 20 พอยต์ ตัวหนา 16 พอยต์ หน้า คำนำ (1) สารบัญ (2) ความหมายของก๊าซหุงต้ม คุณสมบัติของก๊าซหุงต้ม ประโยชน์ของก๊าซหุงต้ม ข้อควรระวังในการใช้ก๊าซหุงต้ม สรุป บรรณานุกรม จัดทำโดย รศ.เบญจรัตน์ สีทองสุก

13 การจัดเล่มรายงาน 2. การรวบรวมส่วนเนื้อเรื่องของรายงาน ส่วนนี้เป็นหัวใจของรายงาน แบ่งเป็น 3 ตอน คือ บทนำ หรือความนำ เนื้อเรื่อง (ต้องมีการอ้างอิง อย่างน้อย 5 แห่ง) และบทสรุป จัดทำโดย รศ.เบญจรัตน์ สีทองสุก

14 บทนำ หรือ ความนำ เป็นหัวข้อเรื่องก่อนถึงเนื้อหาของเรื่อง เป็นการปูพื้นเกี่ยวกับเรื่องที่เขียนเพื่อนำเข้าสู่เรื่อง ( 1 ย่อหน้า) อาจเริ่มด้วยเรื่องน่าสนใจที่เกี่ยวข้อง 1. ประวัติหรือความเป็นมาของเรื่องที่เขียน 2. สภาพหรือปัญหาที่กำลังเป็นอยู่ของเรื่องที่เขียน 3. แรงดลใจหรือความสะเทือนใจเกี่ยวกับเรื่องที่เขียน 4. เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจซึ่งเกี่ยวข้อง หรือสัมพันธ์กับเรื่องที่เขียน จัดทำโดย รศ.เบญจรัตน์ สีทองสุก

15 เนื้อเรื่อง ประกอบด้วยหัวข้อเรื่องต่างๆที่จัดลำดับกันเข้าเป็นโครงเรื่อง และในหัวข้อเรื่องเหล่านั้น ประกอบด้วยเนื้อหาและข้อมูลอันเป็นสารัตถะของเรื่องที่รวบรวมจากการค้นคว้าอย่างเป็นระบบ และนำมาเรียบเรียงให้ได้เนื้อความตามหัวข้อเรื่องแต่ละหัวข้อ ส่วนหัวข้อเรื่องในโครงเรื่องจะมีจำนวนมากน้อยเท่าไร ย่อมแล้วแต่ขอบเขตของเรื่อง จัดทำโดย รศ.เบญจรัตน์ สีทองสุก

16 ส่วนประกอบในเนื้อหา อัญประกาศ คือ ข้อความที่ผู้เขียนคัดลอกมา แปล ถอดความ หรือสรุปความมาจากคำพูด หรือข้อเขียนของผู้อื่นนำมาเรียงเรียงไว้ในบทนิพนธ์ การอ้างอิง คือ การบอกแหล่งที่มาของข้อความที่นำมาเรียบเรียงไว้ในรายงาน เพื่อทำให้เนื้อหาของรายงานมีความน่าเชื่อถือมากขึ้น และเป็นการแสดงถึงความมีจริยธรรมทางวิชาการ ภาพประกอบ คือส่วนที่ใช้ประกอบเนื้อเรื่องเพื่อให้เกิดความเข้าใจมากขึ้น เช่น ภาพถ่าย แผนผัง แผนภูมิ กราฟ ภาพวาด เป็นต้น จัดทำโดย รศ.เบญจรัตน์ สีทองสุก

17 บทสรุป เป็นหัวข้อเรื่องสุดท้าย การสรุปมิใช่การย่อเรื่อง
ให้ผู้เขียนการประเมินผลขั้นสุดท้ายของรายงาน โดยการวิเคราะห์เนื้อหาสาระ และข้อมูลของรายงานนั้นโดยตลอด แล้วประเมินออกมาเป็นผลสรุปอย่างใดอย่างหนึ่งตามที่วิเคราะห์ เช่น 1. ผลที่ได้จากการศึกษาค้นคว้า 2. ข้อเสนอแนะหรือคำวิจารณ์ 3. ปัญหาที่ควรศึกษาค้นคว้าต่อไป จัดทำโดย รศ.เบญจรัตน์ สีทองสุก

18 ตำแหน่งของชื่อเรื่องและหัวข้อเรื่อง
ชื่อเรื่องหรือชื่อบท อยู่กลางหน้ากระดาษห่างขอบบน 2 นิ้ว ใช้อักษรขนาด 20 พอยท์ ตัวหนา หัวข้อใหญ่ ชิดเส้นคั่นหน้า ใช้อักษรขนาด 18 พอยท์ ตัวหนา เว้นบรรทัด 1 บรรทัด เป็นหัวข้อโดดๆ ส่วนเนื้อหาสาระของหัวข้อใหญ่ให้ขึ้นบรรทัดใหม่ ย่อหน้าประมาณ 7 ตัวอักษร (เท่ากับ Tab 0.63 นิ้ว) หัวข้อรอง ย่อหน้าประมาณ 7 ตัวอักษร (เท่ากับ Tab 0.63 นิ้ว) ใช้อักษรขนาด 16 พอยท์ ตัวหนา เนื้อหาสาระของหัวข้อรองให้เว้นวรรคแล้วเขียนต่อไปได้ หัวข้อย่อย ย่อหน้าประมาณ 10 ตัวอักษร (เท่ากับ Tab 0.81 นิ้ว) ใช้อักษรขนาด 16 พอยท์ ตัวธรรมดา เนื้อหาสาระของหัวข้อย่อยให้เว้นวรรคแล้วเขียนต่อไปได้ จัดทำโดย รศ.เบญจรัตน์ สีทองสุก

19 20 พอยต์ ตัวหนา 18 พอยต์ ตัวหนา 16 พอยต์ ชื่อรายงาน ความนำ
หัวข้อใหญ่ (1) เกริ่นนำ หัวข้อใหญ่ (2) 20 พอยต์ ตัวหนา 18 พอยต์ ตัวหนา 16 พอยต์ จัดทำโดย รศ.เบญจรัตน์ สีทองสุก

20 ก๊าซหุงต้ม ความหมายของก๊าซหุงต้ม
ปัจจุบันก๊าซหุงต้มได้เข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันมากขึ้นเป็นลำดับ ก๊าซหุงต้มมีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าก๊าซแอลพีจี เป็นอักษรย่อมาจากคำภาษาอังกฤษ ว่า Liquefied Petroleum Gas หมายถึง ก๊าซที่ได้จากปิโตรเลียมทำให้เหลว เรียก สั้น ๆ ว่าก๊าซปิโตรเลียมเหลว เป็นสารประกอบของไฮโดรเจนกับคาร์บอนในอัตราส่วน ที่ต่างๆกันที่เรียกว่าโพรเพน ประกอบด้วยคาร์บอน 3 อณูกับไฮโดรเจน 8 อณู และที่ เรียกว่าบิวเทน ประกอบด้วยคาร์บอน 4 อณูกับไฮโดรเจน 10 อณู (การปิโตรเลียมแห่ง ประเทศไทย 2526 : 29) ก๊าซแอลพีจีที่ใช้อยู่นั้นเป็นส่วนผสมของโพรเพนและ บิวเทน โดยมีส่วนผสมของโพรเพนร้อยละ (รังสรรค์ ศรีสาคร 2529 : 51) ปัจจุบันสามารถผลิตได้ 2 วิธีคือ 1. จากการกลั่นน้ำมันดิบแบบการกลั่นลำดับส่วน ซึ่งเป็นการแยกของต่างๆ ที่ประกอบกันเป็นน้ำมันดิบให้แยกออกจากกันโดยอาศัยความแตกต่างของจุดเดือด ของสาร 2. จากการนำก๊าซธรรมชาติมาผ่านโรงงานแยกก๊าซ ก๊าซธรรมชาติจัดเป็น ปิโตรเลียมเช่นเดียวกับน้ำมันดิบ ประกอบด้วยสารประกอบไฮโดรคาร์บอนในสภาพ ก๊าซหลายชนิด เช่น มีเทน อีเทน โพรเพน บิวเทน และเพนเทน เป็นต้น จะเห็นว่า ในส่วนผสมของก๊าซธรรมชาติมีแอลพีจีรวมอยู่ด้วย เมื่อแยกออกมาก็จะใช้ประโยชน์ ได้เช่นเดียวกับก๊าซหุงต้มที่ได้จากการกลั่นน้ำมันดิบ จัดทำโดย รศ.เบญจรัตน์ สีทองสุก

21 การจัดเล่มรายงาน 3. การรวบรวมส่วนท้ายของรายงาน องค์ประกอบที่สำคัญของส่วนนี้ คือ บรรณานุกรม จัดทำโดย รศ.เบญจรัตน์ สีทองสุก

22 วิธีรวบรวมรายการเอกสารเพื่อลงบรรณานุกรม
ใช้แบบฝึกหัดครั้งที่ 1 ที่มีโครงเรื่องเป็นหลัก ตรวจสอบรายการบรรณานุกรมให้แน่ใจว่ารูปแบบและรายการที่ลงไว้ถูกต้องตามแบบแผนของบรรณานุกรม นำรายการบรรณานุกรมมาเรียงตามลำดับอักษรชื่อผู้แต่งหรือชื่อเรื่อง 1. เขียนคำว่า บรรณานุกรม กลางหัวกระดาษ ต่ำจากขอบกระดาษด้านบนประมาณ 2 นิ้ว 2. เขียนรายการบรรณานุกรมของเอกสารตามลำดับอักษรซึ่งได้เรียงไว้แล้ว และวางรูปแบบให้ถูกต้องตามแบบบรรณานุกรม จัดทำโดย รศ.เบญจรัตน์ สีทองสุก

23 บรรณานุกรม กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์. (2521). รายงานการวิจัยก๊าซหุงต้ม.
กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ข่าวพาณิชย์. กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม. (2527, ตุลาคม). ก๊าซแอลพีจีกับชีวิตประจำวัน. วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 9, (10), หน้า คณะกรรมอนุกรรมการเผยแพร่ความรู้แก่ผู้บริโภค. (2523, พฤษภาคม). คำใน แนะนำการใช้ก๊าซหุงต้ม. พัฒนาชุมชน, 19, (5), หน้า ความปลอดภัยในการใช้ก๊าซปิโตรเลียมเหลว. (มกราคม-มีนาคม 2528) ความรู้คือประทีป 1, 1 หน้า จันโททัย กลีบเมฆ (2526, สิงหาคม) “ความรู้เกี่ยวกับการใช้ก๊าซหุงต้ม” ครูไทย 27 หน้า รังสรรค์ ศรีสาคร (2529, กุมภาพันธ์-พฤษภาคม) ก๊าซหุงต้ม. ข่าวสสวท, 14, (2), หน้า สำนักงานตำรวจแห่งชาติ. (2549). คำแนะนำเกี่ยวกับการป้องกันอัคคีภัย ค้นเมื่อ พฤษภาคม 1, 2549, จาก จัดทำโดย รศ.เบญจรัตน์ สีทองสุก

24 การเรียงบรรณานุกรม 1. แยกภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ ให้ภาษาไทยมาก่อน
จัดเรียงตามลำดับอักษรชื่อผู้แต่ง  ชื่อผู้แต่งเหมือนกันให้พิจารณาชื่อเอกสาร  หากไม่มีผู้แต่งให้ใช้ชื่อเอกสารแทนผู้แต่ง พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม. (2548). พวงรัตน์ ทวีรัตน์. (2547). วิธีวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์. จัดทำโดย รศ.เบญจรัตน์ สีทองสุก

25 2. ภาษาไทยใช้หลักเกณฑ์การเรียงลำดับตามแบบพจนานุกรม
ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 ก ข ค ฆ ง จ ฉ ช ซ ฌ ญ ฎ ฏ ฐ ฑ ฒ ณ ด ต ถ ท ธ น บ ป ผ ฝ พ ฟ ภ ม ย ร ฤ ฤๅ ล ฦ ฦๅ ว ศ ษ ส ห ฬ อ ฮ  เรียงชื่อตามลำดับอักษร หรือพยัญชนะเป็นหลัก ก – ฮ  ชื่อที่มีพยัญชนะเป็นตัวสะกดจะมาก่อนชื่อที่มีสระกำกับ กรกต มณีรัตน์. กรมณี ศิริโชติช่วง. กัลยา จยุติรัตน์. การะเกต ชัยมณี. จัดทำโดย รศ.เบญจรัตน์ สีทองสุก

26 อะ อั อัว อัวะ อา อำ อิ อี อึ อือ อุ อู
2. ชื่อผู้แต่ง และชื่อเอกสาร ที่มีกลุ่มสระกำกับให้เรียงตามรูปสระ มิใช่จัดเรียงตามเสียงสระ รูปสระ ให้เรียงดังนี้ อะ อั อัว อัวะ อา อำ อิ อี อึ อือ อุ อู เอ เอะ เอา เอาะ เอิอ เอีย เอียะ เอือ เอือะ แอ แอะ โอ โอะ ใอ ไอ กัลยา จยุติรัตน์. การะเกด ทับทอง. กำชัย ทองหล่อ. กิดานนด์ มลิทอง. กุญชร พงศ์เนาวรัต์. จัดทำโดย รศ.เบญจรัตน์ สีทองสุก

27 ฉันทนีย์ ประกอบกิจชัย. สำหรับรูปสระในภาษาอังกฤษจัดเรียงตามลำดับดังนี้
3. หากพยัญชนะของอักษรตัวแรกมีสระกำกับรูปเดียวกัน ให้พิจารณาจัดเรียงตามลำดับ ฉวีลักษณ์ บุญยกาญจน. ฉวีวรรณ สวัสดี. ฉันทนา ชาญพาณิชย์. ฉันทนีย์ ประกอบกิจชัย. สำหรับรูปสระในภาษาอังกฤษจัดเรียงตามลำดับดังนี้ A E I O U หรือ a e i o u เช่น Cockerell, B. Cockerell, D. Dewey, J. Dewey, M. จัดทำโดย รศ.เบญจรัตน์ สีทองสุก

28 หากชื่อผู้แต่งและนามสกุลซ้ำกันให้เรียงลำดับตามชื่อเอกสาร
4. ชื่อผู้แต่งชาวไทยซ้ำกัน เรียงลำดับตามนามสกุล หากชื่อผู้แต่งและนามสกุลซ้ำกันให้เรียงลำดับตามชื่อเอกสาร ใช้ขีดเครื่องหมายเส้นใต้จำนวน 5 ระยะตัวอักษรแล้วตามด้วยมหัพภาค (.) คือ _____. แทนตำแหน่งผู้แต่ง และต้องอยู่ในหน้าเดียวกันหลังเครื่องหมายมหัพภาค เว้น 2 ระยะ ชุติมา สัจจานันต์. ชุติมา สุวรรณโรจน์. นันทา วิทวุฒิศักดิ์.//(2542).//ประวัติการพิมพ์. _____.//(2541).//ห้องสมุดเพื่อการศึกษาค้นคว้า. เมื่อขึ้นหน้าใหม่ บรรทัดแรกห้ามมีเครื่องหมาย _____. แทนชื่อผู้แต่ง แต่ให้ลงชื่อนามสกุลเต็มของผู้แต่งก่อน สำหรับผู้แต่งชาวต่างชาติ หากมีนามสกุลซ้ำกันให้จัดเรียงตามชื่อต้น ชื่อกลาง ตามลำดับ จัดทำโดย รศ.เบญจรัตน์ สีทองสุก

29 ทรงพัฒนา. (2544). สารนิเทศเพื่อการศึกษาค้นคว้า
5. ชื่อผู้แต่งและชื่อเอกสารซ้ำกัน ให้เรียงลำดับก่อนหลังโดยใช้ลำดับของการพิมพ์ครั้งล่าสุดจัดเรียงก่อน(พิมพ์ครั้งที่ ปีที่ ฉบับที่) วัลลภ สวัสดิ์วัลลภ, สุเวช ณ หนองคาย, นารีรัตน์ เทียมเมือง, เบญจรัตน์ สีทองสุก, ชัยเลิศ ปริสุทธกุล และอรุณี ทรงพัฒนา. (2544). สารนิเทศเพื่อการศึกษาค้นคว้า (พิมพ์ครั้งที่ 4 แก้ไขปรับปรุง). _____. (2538). สารนิเทศเพื่อการศึกษาค้นคว้า (พิมพ์ครั้งที่ 2). จัดทำโดย รศ.เบญจรัตน์ สีทองสุก

30 การจัดเรียงไม่คำนึงถึงปีที่พิมพ์ แต่เรียงตามลำดับชื่อเอกสาร
6. ชื่อผู้แต่งและชื่อเอกสารซ้ำกัน ให้เรียงลำดับก่อนหลังโดยใช้ลำดับของการพิมพ์ครั้งล่าสุดจัดเรียงก่อน(พิมพ์ครั้งที่ ปีที่ ฉบับที่) การจัดเรียงไม่คำนึงถึงปีที่พิมพ์ แต่เรียงตามลำดับชื่อเอกสาร ราชบัณฑิตยสถาน. (2543). ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง การเขียนชื่อจังหวัด เขต อำเภอ และกิ่งอำเภอ. กรุงเทพฯ: วิญญูชน. _____. (2546). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ กรุงเทพฯ: นานมีบุ๊คส์พับลิเคชั่น. จัดทำโดย รศ.เบญจรัตน์ สีทองสุก

31 การตรวจทาน จัดลำดับองค์ประกอบของรายงานทั้งหมดให้ถูกตำแหน่ง และตรวจทานตั้งแต่หน้าแรกถึงหน้าสุดท้ายในเรื่องสำคัญต่อไปนี้ 1. เนื้อหา ตรวจทานในด้านของความถูกต้องสมบูรณ์ ความสัมพันธ์กันของเนื้อหากับชื่อเรื่องมีความสอดคล้องสัมพันธ์กันดีโดยตลอด การลำดับเรื่องในแต่ละหัวข้อและเนื้อหาต่อเนื่องกันดี ไม่สลับสับสน ความสมบูรณ์ของเนื้อหาสาระของเรื่องครบถ้วน ไม่ตกหล่น ผิดพลาด หรือซ้ำซ้อน จัดทำโดย รศ.เบญจรัตน์ สีทองสุก

32 การตรวจทาน 2. สำนวนภาษา ตรวจทานในด้านการสื่อความที่ชัดเจนสละสลวย เขียนด้วยภาษาเขียน ไม่เขียนด้วยภาษาพูดหรือภาษาถิ่น ประโยคต้องสมบูรณ์ความ สื่อความหมายชัดเจนไม่คลุมเครือ คำที่ใช้ เลือกคำเหมาะสม ตรงความหมาย สื่อความเข้าใจได้ถูกต้อง 3. ถ้อยคำ ตรวจทานในด้านของการใช้คำที่ถูกต้องตามความหมาย และเขียนถูกต้องตามอักขรวิธี ตัวสะกดการันต์ถูกต้องตามหลักการเขียนภาษาไทย ไม่ฉีกคำ คือไม่แยกพยางค์ของคำที่เกิน 1 พยางค์ไว้ต่างบรรทัดกัน เช่น กระ-ทรวง วิ-ริ-ยะ เป็นต้น การใช้ภาษา เรียบง่าย สื่อความชัดเจน และเข้าใจง่าย จัดทำโดย รศ.เบญจรัตน์ สีทองสุก

33 การตรวจทาน 4. รูปแบบ ตรวจทานในด้านของความถูกต้องตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด เช่น รายการและการจัดระยะของปกใน การทำเชิงอรรถ การเขียนบรรณานุกรม เป็นต้น 5. องค์ประกอบ ตรวจทานในด้านความครบถ้วนขององค์ประกอบ การจัดลำดับขององค์ประกอบรายงานถูกต้องไม่สลับที่กัน จัดทำโดย รศ.เบญจรัตน์ สีทองสุก

34 การจัดเล่มรายงาน การจัดลำดับส่วนต่างๆ ของรายงาน ให้ประมวลส่วนต่างๆของรายงานและจัดลำดับดังนี้ (1) ปกใน (2) คำนำ (3) สารบัญ (4) เนื้อเรื่อง (5) บรรณานุกรม จัดทำโดย รศ.เบญจรัตน์ สีทองสุก

35 ผลงานที่ส่งประกอบด้วย
1. รายงานที่เย็บเล่มเรียบร้อยแล้ว 2. บัตรบันทึกข้อมูลพร้อมด้วยสำเนาข้อความของเอกสารที่ใช้ค้นของหัวข้อเรื่องในโครงเรื่องทั้งหมด แยกเย็บเป็นปึกตามหัวข้อเรื่อง 3. ตารางวิเคราะห์หรือสังเคราะห์เพื่อการเรียบเรียงเนื้อหาทุกหัวข้อเรื่อง ให้รวมไว้หลังปึกของ ข้อ 2 4. แบบฝึกหัดครั้งที่ 1 ที่มีโครงเรื่อง จัดทำโดย รศ.เบญจรัตน์ สีทองสุก

36 สวัสดี จัดทำโดย รศ.เบญจรัตน์ สีทองสุก


ดาวน์โหลด ppt โดย รศ.เบญจรัตน์ สีทองสุก

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google