งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

การเรียบเรียงรายงานจากบัตรบันทึก

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "การเรียบเรียงรายงานจากบัตรบันทึก"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 การเรียบเรียงรายงานจากบัตรบันทึก
โดย รศ.เบญจรัตน์ สีทองสุก

2 การเรียบเรียงเนื้อหา
น.306 การเรียบเรียงเนื้อหา ต้องใช้ข้อมูลจากบัตรบันทึกที่ไปค้นคว้ามา จัดระบบ วิเคราะห์ สังเคราะห์ให้ได้เนื้อหาสาระที่เป็นระเบียบและสมบูรณ์เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน บัตรบันทึกมีความสำคัญมาก ต้องทำให้ถูกแบบแผนตั้งแต่แรก เพื่อจะได้นำไปใช้อ้างอิงทั้งข้อมูลสารสนเทศและแหล่งที่มาในเวลาเรียบเรียง จัดทำโดย รศ.เบญจรัตน์ สีทองสุก

3 หลักการเรียบเรียง 1. ทำทีละหัวข้อเรื่อง
2. รวบรวมบัตรบันทึกแต่ละหัวข้อเรื่องให้ครบถ้วน และเรียงลำดับตามโครงเรื่อง บัตรบันทึก ลักษณะของปลาสวยงาม 1 2 3 ชื่อรายงาน: การเลี้ยงปลาสวยงามเพื่อการค้า โครงเรื่อง 1) ลักษณะของปลาสวยงาม 2) พันธ์ปลาสวยงามบางชนิด 3) การเพาะและปรับปรุงพันธ์ปลาสวยงาม 4) วิธีเลี้ยงปลาสวยงาม 5) แหล่งค้าขายปลาสวยงาม 6) ปัญหาและแนวทางแก้ไข 286 สำเนาเอกสารต้นฉบับ จัดทำโดย รศ.เบญจรัตน์ สีทองสุก

4 บัตรบันทึก การเลี้ยงปลาสวยงามเพื่อการค้า
บัตรบันทึก การเลี้ยงปลาสวยงามเพื่อการค้า ลักษณะของปลาสวยงาม ลักษณะของปลาสวยงาม ลักษณะของปลาสวยงาม พันธ์ปลาสวยงามบางชนิด พันธ์ปลาสวยงามบางชนิด พันธ์ปลาสวยงามบางชนิด การเพาะและปรับปรุงพันธุ์ การเพาะและปรับปรุงพันธุ์ การเพาะและปรับปรุงพันธุ์ วิธีเลี้ยงปลาสวยงาม วิธีเลี้ยงปลาสวยงาม วิธีปลาสวยงาม แหล่งค้าขายปลาสวยงาม แหล่งค้าขายปลาสวยงาม แหล่งค้าขายปลาสวยงาม ปัญหาและแนวทางแก้ไข ปัญหาและแนวทางแก้ไข ปัญหาและแนวทางแก้ไข จัดทำโดย รศ.เบญจรัตน์ สีทองสุก

5 หลักการเรียบเรียง 3. อ่านบัตรบันทึกของหัวข้อเรื่องที่จะเรียบเรียงทุกบัตร เพื่อประมวลแนวคิด ขอบเขต และสารัตถะของเรื่อง 4. วิเคราะห์ข้อมูลจากบัตรบันทึก เพื่อกำหนดวิธีการและแนวทางเรียบเรียงที่เหมาะสม 5. ร่างเนื้อหาคร่าวๆ ตามวิธีการและแนวทางที่วางไว้ 6. เรียบเรียงเนื้อหาโดยลำดับข้อมูลและสารัตถะจากบัตรบันทึก ลงในที่ที่เหมาะที่ควรเพื่อให้ได้เนื้อหาที่สมบูรณ์ ถูกต้อง และชัดเจน 7. ทบทวน ตรวจทาน และแก้ไขทั้งภาษาและสารัตถะให้เรียบร้อย จัดทำโดย รศ.เบญจรัตน์ สีทองสุก

6 วิธีเรียบเรียง วิธีผสมผสานข้อมูลของเนื้อหา (วิเคราะห์)
เรียบเรียงด้วยวิธีกำหนดแนวทางใหม่ (สังเคราะห์) จัดทำโดย รศ.เบญจรัตน์ สีทองสุก

7 วิธีผสมผสานข้อมูลของเนื้อหา
ใช้ในกรณีที่เนื้อหามีข้อมูลที่สอดคล้องในแนวทางเดียวกันเป็นส่วนใหญ่ 1) วิเคราะห์เนื้อหาของแต่ละบัตรในหัวข้อเรื่องนั้นๆ โดยจำแนกข้อมูลลงตารางเปรียบเทียบ เพื่อหาข้อมูลร่วมและข้อมูลต่าง 1 ปลามังกร ปลาทอง ปลาเสือตอ ปลาตะพัด 2 ปลาการ์ตูน ปลากัด 3 ปลาหมอสี ปลาคาร์ฟ 1 ปลามังกร ปลาทอง ปลาเสือตอ ปลาตะพัด 2 ปลาการ์ตูน ปลากัด 3 ปลาหมอสี ปลาคาร์ฟ จัดทำโดย รศ.เบญจรัตน์ สีทองสุก

8 วิธีผสมผสานข้อมูลของเนื้อหา
1 ปลามังกร ปลาทอง ปลาเสือตอ ปลาตะพัด 2 ปลาการ์ตูน ปลากัด 3 ปลาหมอสี ปลาคาร์ฟ 2) รวมข้อมูลร่วมเข้าด้วยกัน ข้อมูลต่างคงไว้เหมือนเดิม 1+0+3 ปลามังกร 2+0+6 ปลาทอง 3+0+0 ปลาเสือตอ 4+3+0 ปลาตะพัด 0+1+2 ปลาการ์ตูน 0+2+4 ปลากัด 0+0+1 ปลาหมอสี 0+0+5 ปลาคาร์ฟ จัดทำโดย รศ.เบญจรัตน์ สีทองสุก

9 วิธีผสมผสานข้อมูลของเนื้อหา
3) จัดลำดับหัวข้อของข้อมูลทั้งหมดให้เหมาะสม และอาจเพิ่มเติมข้อมูลที่เห็นสมควรเพื่อความสมบูรณ์ของเรื่อง 4) เรียบเรียงเนื้อหาตามหัวข้อที่จัดไว้ พร้อมด้วยสารัตถะขยายความของหัวข้อนั้นๆ โดยครบถ้วนสมบูรณ์ เพิ่มเติมข้อมูล ความคิดเห็น แง่คิด หรือข้อสังเกตที่เหมาะสมของผู้เรียบเรียงเอง 5) มีเกริ่นนำที่เหมาะสมเพื่อนำเข้าสู่หัวข้อเรื่อง จัดทำโดย รศ.เบญจรัตน์ สีทองสุก

10 วัตถุประสงค์ของการโฆษณาสินค้า
เลิศศิลป์ วิไลศิลป์. (2527). การโฆษณา. กรุงเทพมหานคร: วัฒนาพานิช. หน้า 9 วัตถุประสงค์ของการโฆษณาสินค้า คือ 1. เพื่อแนะนำสินค้าและบริการให้แพร่หลาย 2. เพื่อก่อให้เกิดความต้องการหรือความนิยมใช้สินค้าและบริการนั้น 3. เพื่อแสวงหาและรักษาไว้ซึ่งลูกค้าเพื่อเพิ่มปริมาณการจำหน่าย น.307 จัดทำโดย รศ.เบญจรัตน์ สีทองสุก

11 วัตถุประสงค์ของการโฆษณาสินค้า
ประสาน ปุตรเศรณี. (2527). หลักการโฆษณา. กรุงเทพมหานคร: พิทักษ์อักษร. หน้า 21 วัตถุประสงค์ของการโฆษณาสินค้า มีดังนี้ 1. เพื่อก่อให้เกิดการซื้อขายสินค้า เป็นการเสนอขายโดยใช้ข้อมูลของสินค้าเป็นสิ่งจูงใจ 2. เพื่อสร้างลูกค้าใหม่ การโฆษณาเป็นการจูงใจผู้บริโภคให้ใช้สินค้าเพิ่มขึ้น 3. เพื่อสร้างความภักดีในสินค้า ให้ผู้บริโภคยอมรับความสำคัญและคุณภาพที่เหนือกว่าสินค้ายี่ห้ออื่น 4. เพื่อเพิ่มปริมาณการใช้สินค้า การโฆษณาเป็นการบอกกล่าวให้ผู้บริโภคทราบถึงคุณภาพและประโยชน์ใช้สอย 5. เพื่อเน้นกลุ่มเป้าหมายที่ต้องการจะขายสินค้านั้นๆ จัดทำโดย รศ.เบญจรัตน์ สีทองสุก

12 บัตรบันทึกข้อมูลที่ 1 บัตรบันทึกข้อมูลที่ 2
น.308 บัตรบันทึกข้อมูลที่ 1 บัตรบันทึกข้อมูลที่ 2 1. เพื่อแนะนำสินค้าและบริการ 2. เพื่อก่อให้เกิดความต้องการและความนิยมสินค้าและบริการนั้นๆ 3. เพื่อแสวงหาและรักษาไว้ซึ่งลูกค้า เพื่อเพิ่มปริมาณการจำหน่าย 1. เพื่อให้มีการซื้อขายเกิดขึ้น 2. เพื่อสร้างลูกค้าใหม่ๆ 3. เพื่อสร้างความภักดีในสินค้า 4. เพื่อเพิ่มปริมาณการใช้สินค้า 5. เพื่อจูงใจผู้บริโภคในกลุ่มเป้าหมาย บัตรบันทึกข้อมูลที่ 1 บัตรบันทึกข้อมูลที่ 2 รวมข้อมูลร่วมเข้าเป็นอันเดียวกัน (1+1) เพื่อให้มีการซื้อขายเกิดขึ้นจากการแนะนำเผยแพร่สินค้า (2+3) เพื่อให้สินค้ายืนยงอยู่ในความต้องการและความนิยมของผู้บริโภค (3+2) เพื่อสร้างลูกค้าใหม่และครองลูกค้าเดิมไว้ (0+4) เพื่อเพิ่มปริมาณการใช้สินค้า (0+5) เพื่อจูงใจผู้บริโภคในกลุ่มเป้าหมาย จัดทำโดย รศ.เบญจรัตน์ สีทองสุก

13 การโฆษณาสินค้า วัตถุประสงค์ของการโฆษณาสินค้า
การโฆษณาสินค้ามีวัตถุประสงค์สำคัญซึ่งประมวลได้ดังต่อไปนี้ 1. เพื่อให้เกิดการซื้อขายสินค้า เนื่องจากการโฆษณาเป็นการแนะนำสินค้าและบริการซึ่งถือว่าเป็นสินค้าชนิดหนึ่งให้ผู้บริโภคได้รู้จักและทราบข้อมูลโดยแพร่หลาย เมื่อผู้บริโภคเห็นประโยชน์และคุณค่าของสินค้านั้นและต้องการใช้ การซื้อขายสินค้าก็จะเกิดขึ้น 2. เพื่อสร้างลูกค้าใหม่และรักษาลูกค้าเดิมไว้ สินค้าที่มีการโฆษณาไปอย่างแพร่หลายและต่อเนื่องจะคุ้นหูคุ้นตาผู้บริโภคและติดอยู่ในความทรงจำเมื่อต้องการใช้สินค้าชนิดนั้น สิ่งที่ผู้บริโภคจะนึกถึงเป็นอันดับแรกก็คือ ชื่อและภาพของสินค้าที่ตนคุ้นเคย ลูกค้าใหม่ก็จะเพิ่มขึ้นและลูกค้าเดิมก็ยังคงเดิมไม่ตีจาก น.309 เกริ่นนำ จัดทำโดย รศ.เบญจรัตน์ สีทองสุก

14 เรียบเรียงด้วยวิธีกำหนดแนวทางใหม่
ใช้ในกรณีที่เนื้อหามีข้อมูลมากหลากหลายและกระจัดกระจาย ไม่ค่อยสอดคล้องในแนวทางเดียวกัน 1) วิเคราะห์เนื้อหาของแต่ละบัตรในหัวข้อเรื่องนั้นๆ โดยจำแนกข้อมูลลงตารางเปรียบเทียบเพื่อหาแนวร่วม 2) จัดข้อมูลที่มีแนวร่วมรวมกันเป็นกลุ่มๆ และตั้งหัวข้อที่เหมาะสมให้ครอบคลุมข้อมูลของแต่ละกลุ่มเหล่านั้น ใช้ข้อมูลในกลุ่มเป็นเนื้อหาของหัวข้อที่ตั้ง เรียกว่า วิธีสังเคราะห์ 3) จัดลำดับหัวข้อและข้อมูลให้เหมาะสม เพื่อเป็นแนวทางสำหรับเรียบเรียงต่อไป ข้อมูลใดซ้ำซ้อนให้รวมกันเป็นอันเดียว 4) เรียบเรียงเนื้อหา จัดทำโดย รศ.เบญจรัตน์ สีทองสุก

15 วัตถุประสงค์ของการโฆษณาสินค้า
เลิศศิลป์ วิไลศิลป์. (2527). การโฆษณา. กรุงเทพมหานคร: วัฒนาพานิช. หน้า 9 วัตถุประสงค์ของการโฆษณาสินค้า คือ 1. เพื่อแนะนำสินค้าและบริการให้แพร่หลาย 2. เพื่อก่อให้เกิดความต้องการหรือความนิยมใช้สินค้าและบริการนั้น 3. เพื่อแสวงหาและรักษาไว้ซึ่งลูกค้าเพื่อเพิ่มปริมาณการจำหน่าย น.311 จัดทำโดย รศ.เบญจรัตน์ สีทองสุก

16 วัตถุประสงค์ของการโฆษณาสินค้า
ประสาน ปุตรเศรณี. (2527). หลักการโฆษณา. กรุงเทพมหานคร: พิทักษ์อักษร. หน้า 21 วัตถุประสงค์ของการโฆษณาสินค้า มีดังนี้ 1. เพื่อก่อให้เกิดการซื้อขายสินค้า เป็นการเสนอขายโดยใช้ข้อมูลของสินค้าเป็นสิ่งจูงใจ 2. เพื่อสร้างลูกค้าใหม่ การโฆษณาเป็นการจูงใจผู้บริโภคให้ใช้สินค้าเพิ่มขึ้น 3. เพื่อสร้างความภักดีในสินค้า ให้ผู้บริโภคยอมรับความสำคัญและคุณภาพที่เหนือกว่าสินค้ายี่ห้ออื่น 4. เพื่อเพิ่มปริมาณการใช้สินค้า การโฆษณาเป็นการบอกกล่าวให้ผู้บริโภคทราบถึงคุณภาพและประโยชน์ใช้สอย 5. เพื่อเน้นกลุ่มเป้าหมายที่ต้องการจะขายสินค้านั้นๆ จัดทำโดย รศ.เบญจรัตน์ สีทองสุก

17 วัตถุประสงค์ของการโฆษณาสินค้า
ฟื้น เพชรรักษ์. (2525). การโฆษณา. สุราษฎร์ธานี: วิทยาลัยครูสุราษฎร์ธานี. หน้า 21 คอลเลย์ (Russel H.Colley) จำแนกวัตถุประสงค์ของการโฆษณาไว้ 10 ประการ คือ 1. เพื่อสร้างภาพพจน์เกี่ยวกับตราหรือยี่ห้อ 2. เพื่อให้ทราบว่าผลิตภัณฑ์นั้นๆ จำหน่ายแล้ว 3. เพื่อให้ข่าวสารเกี่ยวกับลักษณะและประโยชน์ที่ดีเลิศของผลิตภัณฑ์ 4. เพื่อแข่งขันกับคู่แข่ง 5. เพื่อแก้ความเข้าใจผิด 6. เพื่อสร้างความคุ้นเคยกับหีบห่อของผลิตภัณฑ์ 7. เพื่อสร้างทัศนคติและภาพพจน์ที่ดีต่อผู้ผลิต 8. เพื่อปูทางให้แก่พนักงานขาย 9. เพื่อเสนอแนะข้อดีเด่นของสินค้าแก่ผู้บริโภค 10. เพื่อสร้างชื่อเสียงแก่ผลิตภัณฑ์ใหม่ จัดทำโดย รศ.เบญจรัตน์ สีทองสุก

18 ขั้นตอนการเรียบเรียง
หัวข้อเรื่อง : วัตถุประสงค์ของการโฆษณาสินค้า 1) วิเคราะห์เนื้อหาของบัตรบันทึกลงตารางเปรียบเทียบเพื่อจัดกลุ่ม ข้อมูลที่วิเคราะห์แล้วจัดได้เป็น 4 กลุ่ม คือ 1.1) กลุ่มผลิตภัณฑ์ - ผภ 1.2) กลุ่มผู้บริโภค - ผบ. 1.3) กลุ่มการจำหน่าย - กจ. 1.4) กลุ่มผู้ผลิต - ผผ. จัดทำโดย รศ.เบญจรัตน์ สีทองสุก

19 ประมวลข้อมูลจากบัตรบันทึกที่ 1,2,3 วิเคราะห์ข้อมูลเพื่อจัดกลุ่ม
1.1 ก่อให้เกิดการซื้อขายสินค้า 1.2 สร้างลูกค้าใหม่ 1.3 สร้างความภักดีในสินค้า 1.4 เพิ่มการใช้สินค้า และความถี่ในการใช้ 1.5 เน้นผลที่ได้จากกลุ่มเป้าหมายที่ต้องการ 2.1 สินค้า/บริการให้แพร่หลาย 2.2 สร้างความต้องการ/ความนิยมต่อสินค้า & บริการ 2.3 แสวงหา & รักษาไว้ซึ่งลูกค้า เพื่อเพิ่มการจำหน่าย กจ. - ให้ดำเนินไปด้วยดี ผบ. - เพิ่มจำนวนผู้บริโภค ผบ. - ให้ความเชื่อถือไว้วางใจ ผบ. - เพิ่มปริมาณการใช้ ผบ. - ให้ยอมรับและใช้สินค้านั้น ผภ. - เผยแพร่ ผบ. - ต้องการ & นิยมใช้ กจ. - มีปริมาณเพิ่มขึ้น จัดทำโดย รศ.เบญจรัตน์ สีทองสุก

20 ประมวลข้อมูลจากบัตรบันทึกที่ 1,2,3 วิเคราะห์ข้อมูลเพื่อจัดกลุ่ม
3.1 สร้างภาพพจน์ของตรา/ยี่ห้อ 3.2 ให้ทราบว่ามีผลิตภัณฑ์นั้นๆ ออกจำหน่ายแล้ว 3.3 ประชาสัมพันธ์ลักษณะและประโยชน์ที่ดีของสินค้า 3.4 เพื่อแข่งขันกับคู่แข่ง 3.5 เพื่อแก้ความเข้าใจผิด 3.6 เพื่อสร้างความคุ้นเคยกับหีบห่อของผลิตภัณฑ์ 3.7 เพื่อสร้างภาพพจน์และทัศนคติที่ดีต่อผู้ผลิต 3.8 เพื่อปูทางให้แก่พนักงานขาย 3.9 เสนอแนะข้อดีเด่นของสินค้าแก่ผู้บริโภค 3.10 สร้างชื่อเสียงให้แก่ผลิตภัณฑ์ใหม่ ผภ. - เชื่อถือได้ ผภ. - มีจำหน่ายแล้ว ผภ. - ประโยชน์ใช้สอย กจ. - แข่งขันกับคู่แข่งได้ ผบ. - ให้หันกลับมาใช้ ผภ. - สร้างเอกลักษณ์ ผผ. - เป็นที่เชื่อถือไว้วางใจ กจ. - ปูทางให้ขายได้ง่ายขึ้น ผบ. - จูงใจให้เห็นประโยชน์ที่จะได้ ผภ. - ให้เป็นที่รู้จักและเชื่อถือ จัดทำโดย รศ.เบญจรัตน์ สีทองสุก

21 กลุ่มข้อมูลและข้อมูลในกลุ่ม รวมข้อมูลร่วมในกลุ่มเป็นข้อๆและเรียงลำดับ
ผลิตภัณฑ์ : แพร่หลาย (2)* เชื่อถือได้ (3) มีจำหน่ายแล้ว (2) ประโยชน์ใช้สอยดี (3) มีเอกลักษณ์ (1) เป็นที่รู้จักและเชื่อถือ(2) (3) การโฆษณาสินค้ามุ่งหมายขยายผลด้านผลิตภัณฑ์ ดังนี้ 1) เพื่อให้สินค้าเป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลาย 2) เพื่อให้เครื่องหมายการค้าและหีบห่อมีเอกลักษณ์เป็นที่คุ้นเคย 3) เพื่อประชาสัมพันธ์คุณภาพและประโยชน์ใช้สอยของสินค้า เพื่อให้ได้รับความเชื่อถือ จัดทำโดย รศ.เบญจรัตน์ สีทองสุก

22 กลุ่มข้อมูลและข้อมูลในกลุ่ม รวมข้อมูลร่วมในกลุ่มเป็นข้อๆและเรียงลำดับ
ผู้บริโภค : เกิดความต้องการใช้ (1) นิยมใช้ (3) หันกลับมาใช้ (2) เห็นประโยชน์ที่จะได้รับ (1) เพิ่มจำนวน (2) ให้ความเชื่อถือไว้วางใจ (3) เพิ่มปริมาณการใช้ (3) หันมาใช้สินค้านั้น (2) การโฆษณาสินค้ามุ่งหมายขยายผลด้านผู้บริโภค ดังนี้ (1) เพื่อเพิ่มพูนจำนวนผู้บริโภคใหม่และรักษาจำนวนผู้บริโภคเดิมไว้ (2) เพื่อจูงใจผู้บริโภคให้เห็นประโยชน์และเกิดความต้องการใช้สินค้านั้น (3) เพื่อให้ผู้บริโภคเกิดความเชื่อถือไว้วางใจในคุณภาพของสินค้า จัดทำโดย รศ.เบญจรัตน์ สีทองสุก

23 กลุ่มข้อมูลและข้อมูลในกลุ่ม รวมข้อมูลร่วมในกลุ่มเป็นข้อๆและเรียงลำดับ
การจำหน่าย : มีปริมาณเพิ่มขึ้น (2) แข่งขันกับคู่แข่งได้ (3) ปูทางให้พนักงานขาย(1) ให้มีความคล่องตัว (1) ผู้ผลิต : เป็นที่เชื่อถือไว้วางใจ การโฆษณาสินค้ามุ่งหมายขยายผลด้านการจำหน่าย ดังนี้ (1) เพื่อให้การจำหน่ายเพิ่มปริมาณขึ้น (2) เพื่อให้การจำหน่ายมีความคล่องตัว (3) เพื่อให้แข่งขันกับคู่แข่งได้ การโฆษณาสินค้ามุ่งหมายสร้างเกียรติภูมิให้แก่ผู้ผลิต คือ เพื่อให้เป็นที่เชื่อถือไว้วางใจของผู้บริโภค จัดทำโดย รศ.เบญจรัตน์ สีทองสุก

24 การโฆษณาสินค้า วัตถุประสงค์ของการโฆษณาสินค้า
วัตถุประสงค์ของการโฆษณาสินค้าซึ่งนักธุรกิจใช้เป็นเครื่องมือสำคัญในการประกอบกิจการนั้น มีความมุ่งหมายเพื่อสร้างความก้าวหน้ามั่นคงของธุรกิจ ปัจจัยสำคัญที่เกี่ยวข้องกับการโฆษณามีอยู่ 4 ประการ คือ 1. ผลิตภัณฑ์ การโฆษณามีเป้าหมายที่จะเผยแพร่สินค้าให้เป็นที่รู้จักโดยแพร่หลาย และให้เครื่องหมายการค้าหรือยี่ห้อ ตลอดจนลักษณะของหีบห่อเป็นที่คุ้นหูคุ้นตาจนจำได้ ผู้ออกแบบโฆษณาจึงต้องรักษารูปแบบและ สีสันให้คงเอกลักษณ์เดิมไว้โดยตลอด เป้าหมายอีกประการหนึ่งในด้านผลิตภัณฑ์ก็คือ ต้องการสร้างความเชื่อถือต่อสินค้าให้เกิดขึ้นในกลุ่มผู้บริโภค เป้าหมายนี้จะใช้คุณภาพที่ดีเด่นของสินค้าเป็นตัวการในการประชาสัมพันธ์ เช่น ประโยชน์ใช้สอย ความสะดวก ความแข็งแรงทนทานและประสิทธิภาพ เป็นต้น และหากการโฆษณาไม่เกินความจริงสินค้านั้นก็จะได้รับความเชื่อถือไว้วางใจจากผู้บริโภค 2. ผู้บริโภค การโฆษณามีเป้าหมายที่จะเพิ่มจำนวนลูกค้า ทั้งผู้ที่ยังไม่เคยใช้สินค้า และผู้ที่เคยใช้แล้วเลิกไป รวมทั้งดึงดูดลูกค้าที่กำลังใช้ ให้คงใช้อยู่ต่อไป เป้าหมายด้านนี้จะประสบผลสำเร็จได้ การโฆษณาจะต้องใช้กลยุทธให้ผู้บริโภคเห็นประโยชน์ที่จะได้รับทั้งในเรื่องความสะดวกสบายและความประหยัดอย่างคุ้มค่า จนเกิดความต้องการอยากจะใช้สินค้านั้น หากมีการตอกย้ำให้ผู้บริโภคมั่นใจในคุณภาพของสินค้า อีกทางหนึ่ง การใช้สินค้าก็จะเกิดขึ้น หากคุณภาพของสินค้าสมจริงดังคำโฆษณา ลูกค้าก็จะให้ความเชื่อถือและเพิ่มจำนวนขึ้น จัดทำโดย รศ.เบญจรัตน์ สีทองสุก

25 การโฆษณาสินค้า ความหมายของการโฆษณาสินค้า
ความหมายของการโฆษณาสินค้านั้น ฟื้น เพชรรักษ์ (2525:5) ได้อ้างคำ นิยามจากสารานุกรมอเมริกานาและสมาคมการตลาดอเมริกันมีความว่า "หมายถึงการส่งเสริมการผลิต บริการหรือความคิด เพื่อผลตอบแทนอย่างใดอย่างหนึ่ง . . .” และ ประสาน ปุตรเศรณี (2527:7) ได้อธิบายความหมายไว้ดังนี้ การโฆษณา คือ การติดต่อสื่อสารหรือการให้ข่าวสาร ตลอดจนข้อมูลโดยผ่านสื่อมวลชนประเภทต่างๆ จากผู้ผลิตสินค้านั้นไปยังกลุ่มผู้บริโภค ทั้งนี้ ก็เพื่อจะก่อให้เกิดพฤติกรรมที่เป็นเป้าหมาย อย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น ก่อให้เกิดการรู้จักสินค้าที่โฆษณา ก่อให้เกิดความประทับใจอยากลองสินค้านั้นหรือเพื่อให้ได้รับรู้สินค้านั้น คำนิยามทั้งสองที่ยกมานี้มีหลักการที่สอดคล้องกัน คือ การเผยแพร่สินค้าโดยถือผลกำไรเป็นเป้าหมาย จะยิ่งหย่อนกว่ากันก็เฉพาะในรายละเอียดซึ่งพอจะประมวลเป็นคำจำกัดความได้ดังนี้ การโฆษณาสินค้าหมายถึง กิจกรรมที่ผู้ผลิตสินค้าดำเนินการเพื่อส่งเสริมสินค้าของตน ซึ่งอาจมีทั้งในรูปของผลิตภัณฑ์ บริการ หรือความคิด ให้แพร่หลายเป็นที่รู้จักและนิยมใช้โดยการประชาสัมพันธ์ ข่าวสาร ข้อมูลของสินค้าทางสื่อมวลชน เช่น หนังสือพิมพ์ วิทยุและโทรทัศน์ เป็นต้นเพื่อให้ผลของการจำหน่ายและผลกำไรเพิ่มขึ้น จัดทำโดย รศ.เบญจรัตน์ สีทองสุก

26 การเขียนเกริ่นนำ นำผู้อ่านเข้าสู่เรื่อง
ต้องการความกะทัดรัดและเข้าสู่เรื่องโดยเร็ว ข้อความเพียงประโยคเดียวก็เป็นเกริ่นนำได้ จัดทำโดย รศ.เบญจรัตน์ สีทองสุก

27 จุดเริ่มต้น แง่มุมที่น่าสนใจของหัวข้อเรื่องนั้น
ปัญหาของหัวข้อเรื่องนั้น เรื่องทั่วไปเกี่ยวกับหัวข้อเรื่องนั้น ใช้หัวข้อเรื่องนั้นเป็นตัวเกริ่นนำ จัดทำโดย รศ.เบญจรัตน์ สีทองสุก

28 ลักษณะของจุดเริ่มต้น
1) เป็นเรื่องใกล้ตัว หรือกำลังเป็นที่สนใจ 2) เป็นเรื่องที่รู้จักกันดีอยู่แล้ว 3) เป็นเรื่องที่เข้าใจง่าย ไม่ซับซ้อนวกวน จัดทำโดย รศ.เบญจรัตน์ สีทองสุก

29 การโฆษณาสินค้า การโฆษณาสินค้า
วัตถุประสงค์ของการโฆษณาสินค้า การโฆษณาสินค้ามีวัตถุประสงค์ซึ่งประมวลได้ดังนี้ การโฆษณาสินค้า วัตถุประสงค์ของการโฆษณาสินค้า วัตถุประสงค์ของการโฆษณาสินค้าซึ่งนักธุรกิจใช้เป็นเครื่องมือสำคัญในการประกอบกิจการนั้นมีความมุ่งหมายเพื่อสร้างความก้าวหน้ามั่นคงของธุรกิจ ซึ่งมีสารัตถะสำคัญ 4 ประการ คือ จัดทำโดย รศ.เบญจรัตน์ สีทองสุก

30 อุบัติเหตุ อุบัติเหตุ สาเหตุของอุบัติเหตุ
การศึกษาเรื่องสาเหตุของอุบัติเหตุ จะช่วยให้ผู้ศึกษาได้ทราบถึงสาเหตุของอุบัติเหตุ เพื่อหาทางขจัดสาเหตุเหล่านี้ ซึ่งเท่ากับเป็นการควบคุมอุบัติเหตุมิให้เกิดขึ้นนั่นเอง ได้มีนักการศึกษาและผู้ทรงคุณวุฒิหลายท่านได้สรุปสาเหตุของอุบัติเหตุไว้หลายประการ อุบัติเหตุ สาเหตุของอุบัติเหตุ ในปัจจุบันภัยที่ทำให้มนุษย์สูญเสียชีวิตและทรัพย์สินหรือพิการเป็นจำนวนปีละมากๆ ก็คืออุบัติเหตุ เพื่อเป็นการป้องกันความหายนะซึ่งอาจเกิดขึ้นได้ทุกขณะ จึงควรศึกษาเรื่องของอุบัติเหตุว่ามีสาเหตุจากอะไร จัดทำโดย รศ.เบญจรัตน์ สีทองสุก

31 การออกกำลังกาย การออกกำลังกาย
หลักการออกกำลังกาย การออกกำลังกายที่ถูกต้อง ต้องปฏิบัติตามหลักดังต่อไปนี้ การออกกำลังกาย หลักการออกกำลังกาย การออกกำลังกายเป็นสิ่งจำเป็นต่อร่างกาย หากปฏิบัติไม่ถูกต้อง แทนที่จะเป็นประโยชน์กลับจะเป็นโทษ จึงเป็นเรื่องที่ผู้ต้องการบริหารร่างกายต้องทราบหลักการปฏิบัติที่ถูกวิธี ดังจะได้กล่าวต่อไปโดยลำดับ จัดทำโดย รศ.เบญจรัตน์ สีทองสุก

32 วิธีเลี้ยงปลาสวยงาม การเลี้ยงปลาสวยงามได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย ไม่ว่าจะเป็นการเลี้ยงภายในครอบครัว ตามร้านอาหาร โรงแรม สถานที่ราชการ หรือหน่วยงานต่าง ๆ เนื่องจากตู้ปลาสวยงามจะสร้างความสวยงาม ความเพลิดเพลินให้แก่ผู้พบเห็น การเลี้ยงปลาสวยงามมีวิธีการดังนี้ หลักทั่วไปในการเลี้ยงปลาสวยงามก็เหมือนกันกับการเลี้ยงปลาอื่นๆ คือ จัดทำโดย รศ.เบญจรัตน์ สีทองสุก

33 การเพาะพันธุ์ปลาสวยงาม
การเพาะพันธุ์ปลาสวยงามที่ง่ายและประหยัด คือ การใช้วิธีเลียนแบบธรรมชาติ โดยการปล่อยให้พ่อแม่ปลารัดกันเองในบ่อผสมพันธุ์ ซึ่งมีขั้นตอนการเพาะพันธุ์ ดังนี้ จัดทำโดย รศ.เบญจรัตน์ สีทองสุก


ดาวน์โหลด ppt การเรียบเรียงรายงานจากบัตรบันทึก

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google