งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

บทที่ 3 ความยืดหยุ่นของอุปสงค์และอุปทาน

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "บทที่ 3 ความยืดหยุ่นของอุปสงค์และอุปทาน"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 บทที่ 3 ความยืดหยุ่นของอุปสงค์และอุปทาน
บทที่ 3 ความยืดหยุ่นของอุปสงค์และอุปทาน 3.1 ความยืดหยุ่นของอุปสงค์ ความยืดหยุ่นของอุปสงค์ต่อราคา ความยืดหยุ่นของอุปสงค์ต่อรายได้ ความยืดหยุ่นไขว้ของอุปสงค์ 3.2 ความยืดหยุ่นของอุปทาน การคำนวณความยืดหยุ่นของอุปทาน ชนิดของความยืดหยุ่นของอุปทาน ความยืดหยุ่นของอุปทานของสินค้าแต่ละชนิดกับค่าความชันของอุปทาน 3.3 การประยุกต์ใช้ทฤษฎีอุปสงค์และอุปทาน

2 แนวคิดเรื่องความยืดหยุ่น
ความยืดหยุ่น เป็นค่าที่ใช้วัดว่า เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงของตัวแปรที่เป็นเหตุแล้ว จะทำให้ตัวแปรที่กำลังพิจารณาอยู่นั้น (ผล) เปลี่ยนแปลงไปมากน้อยเพียงใด ถ้าเปลี่ยนแปลงไปมากเรียกว่ามีความยืดหยุ่นมาก ถ้าเปลี่ยนแปลงไปน้อยเรียกว่ามีความยืดหยุ่นน้อย และถ้าไม่มีการเปลี่ยนแปลงไปเลยก็เท่ากับว่าไม่มีค่าความยืดหยุ่นเลย ในการหาค่าความยืดหยุ่น จะทำการวัดอัตราการเปลี่ยนแปลงของตัวแปรที่กำลังพิจารณาอยู่ ไม่ได้วัดเป็นหน่วยเหมือนค่าความชัน ด้วยเหตุนี้ค่าความยืดหยุ่นจึงไม่มีหน่วย ความยืดหยุ่น = % การเปลี่ยนแปลงของปรากฏการณ์ผล % การเปลี่ยนแปลงของปรากฏการณ์เหตุ การศึกษาเรื่องอุปสงค์และอุปทาน ใช้แนวคิดค่าความยืดหยุ่น เพื่อแสดงความสัมพันธ์ระหว่าง ปริมาณเสนอซื้อ หรือปริมาณเสนอขาย กับ ปัจจัยที่มีส่วนกำหนดปริมาณดังกล่าว ซึ่งสามารถแยกพิจารณาเป็น ความยืดหยุ่นของอุปสงค์ และความยืดหยุ่นของอุปทาน

3 3.1 ความยืดหยุ่นของอุปสงค์ (Elasticity of Demand)
ความยืดหยุ่นของอุปสงค์ เป็นการวัดขนาดของความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณการเสนอซื้อสินค้าและบริการกับปัจจัยที่มีอิทธิพลกำหนดปริมาณการเสนอซื้อในรูปของเปอร์เซ็นต์การเปลี่ยนแปลง โดยค่านี้จะบอกว่าเมื่อปัจจัยที่มีส่วนกำหนด Qd เปลี่ยนแปลงไป 1% จะมีผลทำให้ Qd เปลี่ยนแปลงไปกี่เปอร์เซ็นต์ ความยืดหยุ่นของอุปสงค์ = %  Qd %  ปัจจัยที่กำหนด Qd ถ้าค่าที่ได้มีค่ามากกว่า 1 เรียกว่าค่าความยืดหยุ่นมาก (Elastic) ถ้าค่าที่ได้มีค่าน้อยกว่า 1 เรียกว่าค่าความยืดหยุ่นน้อย (Inelastic)

4 ประเภทความยืดหยุ่นของอุปสงค์ แบ่งตามปัจจัยสำคัญที่มีอิทธิพลต่อปริมาณอุปสงค์ คือ ราคา รายได้ และ ราคาสินค้าชนิดอื่น คือ ความยืดหยุ่นของอุปสงค์ต่อราคา (Price Elasticity of Demand) ความยืดหยุ่นของอุปสงค์ต่อรายได้ (Income Elasticity of Demand) ความยืดหยุ่นของอุปสงค์ไขว้ (Cross Elasticity of Demand)

5 3.1.1 ความยืดหยุ่นของอุปสงค์ต่อราคา (Price Elasticity of Demand) : Ed
หมายถึง อัตราการเปลี่ยนแปลงของปริมาณการเสนอซื้อสินค้าชนิดใดชนิดหนึ่ง ต่ออัตราการเปลี่ยนแปลงของราคาสินค้านั้น ค่าที่ได้จะอยู่ในรูปค่าสัมบูรณ์ ความยืดหยุ่น : Ed Ed = % ของการเปลี่ยนแปลงของปริมาณการซื้อ % ของการเปลี่ยนแปลงของราคา Ed = %Q %P

6 วิธีการคำนวณ Ed 1. การคำนวณแบบช่วง (Arc Elasticity of Demand)
หมายถึง การหาค่าความยืดหยุ่นช่วงใดช่วงหนึ่งบนเส้นอุปสงค์ โดยค่าที่คำนวณได้เป็นค่าถัวเฉลี่ยของค่าความยืดหยุ่นทุกๆ จุด ในช่วงดังกล่าว

7 P P1 A B P2 P1P2 คือ ส่วนเปลี่ยนแปลงของราคา
Q1Q2 คือ ส่วนเปลี่ยนแปลงของปริมาณเสนอซื้อ การหาความยืดหยุ่นของอุปสงค์ต่อราคาของช่วง AB อาจวัดการ เปลี่ยนแปลงจาก A มา B หรือจาก B มา A จะได้ค่าความยืดหยุ่นต่างกัน การวัดจาก A มา B จะใช้ P1 และ Q1 เป็นตัวหาร (เป็นฐาน) แต่การวัดจาก B มา A จะใช้ P2 และ Q2 เป็นตัวหาร (เป็นฐาน) เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหา ในการคำนวณจึงใช้ค่าเฉลี่ยของราคาและปริมาณทั้งสอง P P1 A B P2 D Q1 Q Q

8 Q2 – Q1 x 100% Q2 + Q1 2 Ed (arc) = P2 – P1 x 100% P2 + P1 2 P2 + P1 Q2 – Q1 Ed (arc) = x Q2 + Q1 P2 – P1 P2 + P1 Ed (arc) = Q x Q2 + Q1 P

9 เช่น P1 = Q1 = 50 และ P2 = 10 Q2 = 90 P2 + P1 Q2 – Q1 Ed (arc) = x Q2 + Q1 P2 – P1 Ed (arc) = x = 25 x 40 – 5 = = 7 P Ed = หมายความว่า ถ้าราคาสินค้าเปลี่ยนแปลงไป 1% ปริมาณอุปสงค์จะเปลี่ยนแปลงไป 1.43 % ในทิศทางตรงกันข้าม A 15 B 10 D Q 50 90

10 2. การคำนวณแบบจุด (Point Elasticity of Demand)
เป็นการคำนวณหาค่าความยืดหยุ่น ณ จุดใดจุดหนึ่งบนเส้นอุปสงค์ ใช้ในกรณีที่ราคาสินค้ามีการเปลี่ยนแปลงน้อยมากจนไม่สามารถสังเกตเห็นได้ แต่การเปลี่ยนแปลงราคานี้ยังมีผลทำให้ปริมาณการเสนอซื้อเปลี่ยนไป Ed = Q  P Q P = P x Q Q P 1 slope = P x dQ Q dP Ed = P x Q 1 slope

11 Ed ที่จุด A = (30/15) x -(15/10) = -3
ตัวอย่าง P Ed = P x Q 1 slope A Slope = -(10/15) 30 B 20 D Q 15 30 Ed ที่จุด A = (30/15) x -(15/10) = -3 Ed ที่จุด B = (20/30) x -(15/10) = -1

12 การหาค่า Ed จากสมการอุปสงค์ เช่น สมการอุปสงค์ Q=35-3P หา Edp ที่ P = 5
P = 5  Q = 35–3(5) = 20 แทนค่าในสูตร Ed = P x Q หรือ = P x dQ Q P Q dP จาก Q = 35-3P dQ = -3 dP Edp = 5 x -3 = -3 = หมายความว่า เมื่อราคาสินค้าเปลี่ยนแปลงไป 1% ปริมาณการเสนอซื้อจะเปลี่ยนแปลงไป 0.75% ในทิศทางตรงกันข้าม % Q < % P สมการอุปสงค์นี้ ณ ระดับราคา P = 5 จึงเป็น Inelastic (ค่า Ed < 1)

13 การหา Point Elasticity of Demand ด้วยวิธีเรขาคณิต
เมื่อเส้นอุปสงค์เป็นเส้นตรง Ed = P x 1 Q slope P หาค่า Ed ที่จุด C Ed = OE x 1 OD slope A แทน slope ด้วย AE/EC C E Ed = OE x EC = OE OD AE AE แทน slope ด้วย CD/DB Q D B Ed = OE x DB = DB OD CD OD และด้วยการพิสูจน์ด้วยเรขาคณิต เรื่องสามเหลี่ยมคล้ายที่มีด้านต่อด้านสมนัยกัน Ed = CB AC

14 ข้อสังเกต : ที่จุด A ค่า Ed < 1
เมื่อเส้นอุปสงค์เป็นเส้นโค้ง หาค่า Ed ณ จุดใดบนเส้นอุปสงค์ทำได้โดยลากเส้นตรงสัมผัสเส้นอุปสงค์ ณ จุดดังกล่าว และหาค่า Ed ที่มีความชันเป็นเส้นตรง ณ จุดนั้น P B Ed = OE = DC = AC EB OD AB A E D ข้อสังเกต : ที่จุด A ค่า Ed < 1 Q D C

15 ความยืดหยุ่นอุปสงค์ต่อราคา ในกรณีที่เส้นอุปสงค์เป็นเส้นตรง
P Ed =  25 A Ed > 1 20 15 B Ed = 1 12.5 C 10 Ed < 1 5 D Ed = 0 Q 10 20 25 30 40 50

16 ชนิดของความยืดหยุ่นของอุปสงค์ต่อราคาและรายรับรวม
ชนิดของอุปสงค์ต่างๆ จำแนกตามความยืดหยุ่น อุปสงค์ที่ไม่มีความยืดหยุ่น ( Ed = 0 ) อุปสงค์ที่มีความยืดหยุ่นน้อย ( 0< Ed < 1 ) อุปสงค์ที่มีความยืดหยุ่นเท่ากับ 1 ( Ed = 1 ) อุปสงค์ที่มีความยืดหยุ่นมาก ( 1 < Ed <  ) อุปสงค์ที่มีความยืดหยุ่นสมบูรณ์ ( Ed =  )

17 ความยืดหยุ่นอุปสงค์และรายรับรวม
เมื่อราคาเปลี่ยนแปลงไป ส่งผลให้รายจ่ายของผู้บริโภคเปลี่ยนแปลงไปมากน้อยเท่าใดขึ้นอยู่กับความยืดหยุ่นอุปสงค์ต่อราคาของสินค้าแต่ละชนิด ผู้ผลิตหรือผู้ขายสามารถนำประโยชน์จากความยืดหยุ่นอุปสงค์ต่อราคา มาใช้ในการตัดสินใจพิจารณาหารายรับจากการขายได้ รายรับของผู้ผลิต = ราคา X ปริมาณการซื้อ TR = P x Q

18 อุปสงค์ที่มีความยืดหยุ่นเท่ากับศูนย์ตลอดทั้งเส้น
P ความสัมพันธ์ของ P และรายรับรวม (Total Revenue = P x Q) มีทิศทางเดียวกัน P   TR  P   TR  D P1 A P2 B Q Q1

19 อุปสงค์ที่มีความยืดหยุ่นน้อยกว่า 1
ความสัมพันธ์ของ P และรายรับรวม (Total Revenue = P x Q) มีทิศทางเดียวกัน P   TR  P   TR  P A P1 B P2 D’ D Q Q1 Q2 Q2’

20 อุปสงค์ที่มีความยืดหยุ่นเท่ากับ 1 ตลอดทั้งเส้น
อุปสงค์เป็นเส้นโค้งแบบ Rectangular hyperbolar มีพื้นที่ใต้กราฟเท่ากันตลอด P ความสัมพันธ์ของ P และรายรับรวม (Total Revenue = P x Q) P   TR คงเดิม P   TR คงเดิม A P1 P2 B D Q Q1 Q2

21 อุปสงค์ที่มีความยืดหยุ่นมากกว่า 1
ความสัมพันธ์ของ P และรายรับรวม (Total Revenue = P x Q) มีทิศทางตรงกันข้ามกัน P   TR  P   TR  P A P1 B P2 D D’ Q Q1 Q2’ Q2

22 อุปสงค์ที่มีความยืดหยุ่นเท่ากับ  ตลอดทั้งเส้น
P ความสัมพันธ์ของ P และรายรับรวม (Total Revenue = P x Q) P   TR = 0 P1 D Q

23 ความสัมพันธ์ระหว่างค่าความยืดหยุ่น ราคา และรายรับรวม
ราคาเพิ่ม ราคาลด Ed > 1 รายรับรวมลดลง รายรับรวมเพิ่มขึ้น Ed < 1 Ed = 1 รายรับรวมคงที่

24 ปัจจัยกำหนดค่าความยืดหยุ่นของอุปสงค์ต่อราคา
1. การมีสินค้าทดแทนได้มากหรือน้อย หากมีสินค้าอื่นทดแทนได้มาก Ed > 1 หากมีสินค้าอื่นทดแทนได้น้อย Ed < 1 2. สินค้านั้นเป็นสินค้าประเภทใด หากเป็นสินค้าจำเป็นต่อการบริโภค Ed < 1 หากเป็นสินค้าฟุ่มเฟือย Ed > 1 3. ระยะเวลา (ที่ทำให้เกิดการปรับตัว) ในระยะสั้น Ed < 1 ในระยะยาว Ed > 1 4. ความทนทานของสินค้า สินค้าที่มีอายุการใช้งานทนทาน Ed < 1 สินค้าที่มีอายุการใช้งานน้อยหรือสั้น Ed > 1 5. สัดส่วนของรายได้ที่ใช้ซื้อสินค้านั้นต่อรายได้ทั้งหมด หากค่าใช้จ่ายซื้อสินค้านั้นต่อรายได้ทั้งหมดมีสัดส่วนมาก Ed > 1 หากค่าใช้จ่ายซื้อสินค้านั้นต่อรายได้ทั้งหมดมีสัดส่วนน้อย Ed < 1

25 เส้น AB => Ed ณ จุด X = OP < 1
ค่าความยืดหยุ่นกับค่าความชันของอุปสงค์ ค่า slope น้อย => เส้นอุปสงค์จะมี Ed มาก ค่า slope มาก => เส้นอุปสงค์จะมี Ed น้อย Ed = P x 1 Q slope P A เส้น AB => Ed ณ จุด X = OP < 1 PA C เส้น CD => Ed ณ จุด X = OP > 1 PC X P แต่ slope เส้น AB มีค่ามากกว่า slope เส้น CD Q Q B D

26 หากเส้นอุปสงค์เลื่อนขึ้นไปทางขวามือ ค่าความยืดหยุ่นของอุปสงค์ต่อราคาเส้นใหม่จะมีค่าลดลง
P Ed ที่ E1 บนเส้น AB มีค่า = OP/PA Ed ที่ E2 บนเส้น CD มีค่า = OP/PC จุด E1 มีค่าความยืดหยุ่นมากกว่าจุด E2 เส้นอุปสงค์ที่อยู่ทางขวา มีค่าความยืดหยุ่นน้อยกว่าเส้นที่อยู่ทางซ้าย C A E1 E2 P Q B D

27 3.1.2 ความยืดหยุ่นของอุปสงค์ต่อรายได้: Edy
Edy = %Qd % Y วิธีการคำนวณค่าความยืดหยุ่นของอุปสงค์ต่อรายได้: Edy คำนวณความยืดหยุ่นแบบช่วง (Arc Elasticity) Y2 + Y1 Q2–Q1 Edy (arc) = x Q2 + Q1 Y2–Y1 Y2 + Y1 Edy (arc) = Q x Q2 + Q1 Y

28 ตัวอย่าง นายดำมีรายได้ 10,000 บาท มีปริมาณการเสนอซื้อ 40 หน่วย ถ้าเขามีรายได้เพิ่มเป็น 15,000 บาท จะมีปริมาณการเสนอซื้อ 50 หน่วย จงหาค่า Edy แบบช่วง Y2 + Y1 Edy (arc) = Q x Q2 + Q1 Y Y1 = 10, Q1 = 40 Y2 = 15, Q2 = 50 Edy (arc) = = = 0.56 หมายความว่า เมื่อรายได้เปลี่ยนแปลงไป 1% ปริมาณเสนอซื้อจะเปลี่ยนแปลงไป 0.56% ในทิศทางเดียวกัน ค่า Edy ณ ช่วงรายได้นี้เป็น Inelastic และสินค้าดังกล่าวเป็นสินค้าปกติ ซึ่งอาจจะเป็นสินค้าจำเป็นต่อการครองชีพ

29 คำนวณความยืดหยุ่นแบบจุด (Point Elasticity)
Edy = Q  Y Q Y = Y x Q Q Y 1 slope = Y x dQ Q dY Edp = Y x Q 1 slope

30 Edy อาจมีเครื่องหมายบวกหรือลบก็ได้ ขึ้นอยู่กับลักษณะของสินค้าว่าเป็นสินค้าประเภทใด
สินค้าปกติ (Normal Goods) ความสัมพันธ์ของ Qd กับ Y มีทิศทางเดียวกัน Edy > 0 (+) สินค้าจำเป็น < Edy < 1 สินค้าฟุ่มเฟือย 1 < Edy <  สินค้าด้อยคุณภาพ (Inferior Goods) ความสัมพันธ์ของ Qd กับ Y มีทิศทางตรงข้าม Edy < 0 (–)

31 ตัวอย่าง การคำนวณหา Edy แบบจุด
B Edp = Y x Q 1 slope 1,500 500 A 1,000 2/500 2 Edy (A) = 1000 x 2 = 2 Q 2 4 Edy (B) = 1500 x 2 = 1.5 หมายความว่า เมื่อรายได้เปลี่ยนแปลงไป 1% ที่ Y = 1,000 บาทปริมาณเสนอซื้อจะเปลี่ยนแปลงไป 2% และที่ Y = 1,500 บาท ปริมาณเสนอซื้อจะเปลี่ยนแปลงไป 1.5% ในทิศทางเดียวกัน ค่า Edy เป็น elastic และสินค้าดังกล่าวเป็นสินค้าปกติ (ค่อนข้างฟุ่มเฟือย)

32 Edc = % ของการเปลี่ยนแปลงของปริมาณการซื้อสินค้า A
ความยืดหยุ่นของอุปสงค์ต่อราคาสินค้าอื่นๆ หรือความยืดหยุ่นไขว้ (Cross Elasticity of Demand) หมายถึงอัตราการเปลี่ยนแปลงของปริมาณการเสนอซื้อสินค้าชนิดหนึ่งต่ออัตราการเปลี่ยนแปลงของราคาสินค้าอื่นที่เกี่ยวข้อง Edc = % ของการเปลี่ยนแปลงของปริมาณการซื้อสินค้า A % ของการเปลี่ยนแปลงของราคาสินค้า B Edc = %QA %PB วิธีการคำนวณ Edc การคำนวณแบบช่วง (Arc Elasticity) PB2 + PB1 QA2 + QA1 x QA2 – QA1 PB2 – PB1 Edc (arc) = PB2 + PB1 QA2+ QA1 x QA PB Edc (arc) =

33 การคำนวณแบบจุด (Point Elasticity)
Edc = QA  PB QA PB = PB x QA QA PB 1 slope = PB x dQA QA dPB Edc = PB x QA 1 slope

34 ค่า Edc จะมีเครื่องหมายบวกหรือลบ ขึ้นกับสินค้าที่พิจารณา มีความสัมพันธ์อย่างไร
สินค้าทดแทนกัน (Substitution Goods) ค่า Edc จะเป็นบวก (Edc>0) ความสัมพันธ์ของราคาสินค้าชนิดหนึ่ง กับปริมาณของสินค้าอีกชนิดหนึ่งจะมีทิศทางเดียวกัน คือ PB  QA , PB   QA  สินค้าประกอบกัน (Complementary Goods) ค่า Edc จะเป็นลบ (Edc<0) ความสัมพันธ์ของราคาสินค้าชนิดหนึ่ง กับปริมาณของสินค้าอีกชนิดหนึ่งจะมีทิศทางตรงกันข้ามกัน คือ PBQA , PBQA สินค้าไม่มีความเกี่ยวข้องกัน ค่า Edc จะเป็นศูนย์ (Edc=0)

35 เช่น PB1 = 20 QA1 = 80 และ PB2 = 30 QA2 = 60 PB2 + PB1 QA2 – QA1
Edc (arc) = x QA2 + QA1 PB2 – PB1 Edc (arc) = x = x – 20 = = 7 PB Edp = -0.7 หมายความว่า ถ้าราคาสินค้า B เปลี่ยนแปลงไป 1% ปริมาณอุปสงค์สินค้า A จะเปลี่ยนแปลงไป 0.7% ในทิศทางตรงกันข้าม แสดงว่า A กับ B เป็นสินค้าที่ใช้ประกอบกัน M 30 N 20 D QA 60 80

36 Edc ที่จุด M = (30/60) x -(2) = -1
ตัวอย่าง PB Edc = PB x QA 1 slope M Slope = -(10/20) = -1/2 30 N 20 D QA 60 80 Edc ที่จุด M = (30/60) x -(2) = -1 Edc ที่จุด N = (20/80) x -(2) = -1/2

37 3.2 ความยืดหยุ่นของอุปทานต่อราคา : Es
หมายถึง อัตราการเปลี่ยนแปลงของปริมาณการเสนอขายสินค้าและบริการต่ออัตราการเปลี่ยนแปลงของราคาสินค้านั้น เป็นการวัดอัตราการตอบสนองของปริมาณความต้องการขาย ที่มีต่อการเปลี่ยนแปลงของราคาโดยเปรียบเทียบในรูปของร้อยละ ค่าที่ได้จะอยู่ในรูปค่าสมบูรณ์ Es = % ของการเปลี่ยนแปลงของปริมาณเสนอขาย % ของการเปลี่ยนแปลงของราคา Es = %Q %P Q ในที่นี้คือปริมาณเสนอขายหรือปริมาณอุปทาน

38 3.2.1 การคำนวณความยืดหยุ่นของอุปทาน
การคำนวณความยืดหยุ่นของอุปทาน 1. การคำนวณแบบช่วง (Arc Elasticity of Supply) P2 + P1 Q2 – Q1 Es (arc) = x Q2 + Q1 P2 – P1 P2 + P1 Es (arc) = Q x Q2 + Q1 P 2. การคำนวณแบบจุด (Point Elasticity of Supply) Es = Q  P Q P = P x Q Q P 1 slope = P x dQ Q dP Es = P x Q 1 slope ค่าของ Es จะมีเครื่องหมายเป็นบวก ตามกฎของอุปทาน

39 เช่น P1 = 3 Q1 = 10,000 และ P2 = 5 Q2 = 15,000 P2 + P1 Q2 – Q1
Es (arc) = x Q2 + Q1 P2 – P1 Es (arc) = x 15,000-10,000 15,000+10, = x , = 0.8 25, P S Es = 0.8 หมายความว่า ถ้าราคาสินค้าเปลี่ยนแปลงไป 1% ปริมาณอุปทานจะเปลี่ยนแปลงไป 0.8% ในทิศทางเดียวกัน B 5 A 3 Q 10,000 15,000

40 การหา Point Elasticity of Supply ด้วยวิธีเรขาคณิต
1. เส้นอุปทานออกจากแกนนอน Es = P x Q 1 slope P S Es ที่จุด X X D แทนความชันด้วย XB AB Es = OD x AB = AB OB XB OB แทนความชันด้วย DF DX Q Es = OD x DX = OD OB DF DF B A F Es < 1 เส้นอุปทานซึ่งออกจากแกนนอน (ความชันเป็นบวก) ES เป็น Inelastic (Es<1) ตลอดทั้งเส้น ไม่ว่าจะหาค่าที่จุดใดบนเส้นอุปทาน

41 Es > 1 2. เส้นอุปทานออกจากแกนตั้ง 1 Ed = P x slope Q P S
2. เส้นอุปทานออกจากแกนตั้ง 1 slope Ed = P x Q P S Es ที่จุด C C D แทนความชันด้วย CE AE Es = OD x AE = AE OE CE OE แทนความชันด้วย BD DC B Es = OD x DC = OD OE BD BD Q A E Es > 1 เส้นอุปทานซึ่งออกจากแกนตั้ง (ความชันเป็นบวก) ES เป็น elastic (Es>1) ตลอดทั้งเส้น ไม่ว่าจะหาค่าที่จุดใดบนเส้นอุปทาน

42 3. เส้นอุปทานออกจากจุดกำเนิด
1 slope Es = P x Q P S Es ที่จุด C C D แทนความชันด้วย CE OE Es = OD x OE = 1 OE CE Q E เส้นอุปทานซึ่งออกจากจุดกำเนิด (ความชันเป็นบวก) Es เป็นUnitary (Es=1) ตลอดทั้งเส้น ไม่ว่าจะหาค่าที่จุดใดบนเส้นอุปทาน

43 3.2.2 ชนิดของอุปทานต่างๆ จำแนกตามความยืดหยุ่น
ชนิดของอุปทานต่างๆ จำแนกตามความยืดหยุ่น อุปทานที่ไม่มีความยืดหยุ่น ( Es = 0 ) อุปทานที่มีความยืดหยุ่นน้อย ( 0< Es < 1 ) อุปทานที่มีความยืดหยุ่นเท่ากับ 1 ( Es = 1 ) อุปทานที่มีความยืดหยุ่นมาก ( 1 < Es< ∞ ) อุปทานที่มีความยืดหยุ่นสมบูรณ์ ( Es = ∞ )

44 อุปทานไม่มีความยืดหยุ่นหรือ มีความยืดหยุ่นเท่ากับศูนย์ตลอดเส้น
(perfectly inelastic supply) ราคา Es = 0 S ปริมาณเสนอขาย (supply) จะคงเดิมไม่ว่าราคาจะเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร P2 P1 เส้น S เป็นเส้นตั้งฉากกับแกนนอน ปริมาณผลผลิต Q1

45 เส้น S เป็นเส้นค่อนข้างชัน โดยมีจุดตัดที่แกนนอน ณ ราคา 0
อุปทานมีความยืดหยุ่นน้อยกว่า 1 ตลอดเส้น (relatively inelastic supply) ราคา 0< Es < 1 S ปริมาณเสนอขาย (supply) เปลี่ยนแปลงไปใน % ที่น้อยกว่า % ของราคาที่เปลี่ยนแปลงไป P2 P1 เส้น S เป็นเส้นค่อนข้างชัน โดยมีจุดตัดที่แกนนอน ณ ราคา 0 ปริมาณผลผลิต Q1 Q2

46 เส้น S เป็นเส้นตรงออกจากจุดกำเนิด
อุปทานมีความยืดหยุ่นเท่ากับ 1 ตลอดเส้น (unitary elastic supply) Es = 1 ราคา ปริมาณเสนอขาย (supply) เปลี่ยนแปลงไปใน % ที่เท่ากันกับ % ของราคาที่เปลี่ยนแปลงไป S P2 P1 เส้น S เป็นเส้นตรงออกจากจุดกำเนิด ปริมาณผลผลิต Q1 Q2

47 เส้น S เป็นเส้นค่อนข้างลาด โดยมีจุดตัดที่แกนตั้ง ณ ราคา 0
อุปทานมีความยืดหยุ่นมากกว่า 1 ตลอดเส้น (relatively elastic supply) 1 < Es <  ราคา ปริมาณเสนอขาย (supply) เปลี่ยนแปลงไปใน % ที่มากกว่า % ของราคาที่เปลี่ยนแปลงไป S P2 P1 เส้น S เป็นเส้นค่อนข้างลาด โดยมีจุดตัดที่แกนตั้ง ณ ราคา 0 ปริมาณผลผลิต Q1 Q2

48 เส้น S เป็นเส้นขนานกับแกนนอน
อุปทานมีความยืดหยุ่นเท่ากับอนันต์ตลอดเส้น (perfectly elastic supply) ราคา Es =  ปริมาณเสนอขาย (supply) มีไม่จำกัด ณ ระดับราคาหนึ่ง แต่ถ้าราคาเปลี่ยนแปลงไปเพียงเล็กน้อย จะไม่มีการเสนอขายสินค้านั้นเลย P1 S เส้น S เป็นเส้นขนานกับแกนนอน ปริมาณผลผลิต

49 นอกจากนี้เส้นอุปทานที่มีลักษณะเป็นเส้นโค้งแบบ Rectangular Hyperbola จะมีค่า ES ตั้งแต่ 0 
Q

50 3.2.3 ความยืดหยุ่นกับค่าความชันของอุปทาน
ความยืดหยุ่นกับค่าความชันของอุปทาน ความยืดหยุ่นกับความชันของเส้นอุปทาน มีความสัมพันธ์ในทิศทางตรงข้าม ที่จุด E P 1 slope Es = P x Q S2 S1 Es1 = OP x BQ OQ EQ E P BQ>AQ Es2 = OP x AQ OQ EQ Es1 > Es2 Q B A Q เส้นอุปทานที่มีค่า slope มาก (เส้น S1)  ES น้อย เส้นอุปทานที่มีค่า slope น้อย (เส้น S2)  ES มาก

51 3.2.4 ปัจจัยที่กำหนดค่าความยืดหยุ่นของอุปทาน
ปัจจัยที่กำหนดค่าความยืดหยุ่นของอุปทาน ความยากง่ายในการเปลี่ยนแปลงปริมาณการผลิตหรือการเสนอขาย เป็นเรื่องสำคัญ ที่ทำให้อุปทานมีความยืดหยุ่นมากหรอน้อย คือตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงของราคาได้ดีเพียงใด ซึ่งขึ้นกับหลายปัจจัย เช่น ชนิดของสินค้า เช่น สินค้าเกษตร สินค้าอุตสาหกรรม ระยะเวลา ได้แก่ ระยะเฉพาะหน้า ระยะสั้น ระยะยาว อื่นๆ เช่น ปัจจัยการผลิตหาได้ยากหรือง่าย จำนวนของปัจจัยการผลิตมีมากหรือน้อย ความยุ่งยากของกระบวนการผลิต การเข้า-ออกจากอุตสาหกรรมการผลิตยากหรือง่าย

52 3.3 การประยุกต์ใช้ทฤษฎีอุปสงค์และอุปทานและค่าความยืดหยุ่น
การกำหนดราคาสินค้าของหน่วยธุรกิจ การตัดสินใจในการบริหารงานของหน่วยธุรกิจ นโยบายราคาสินค้าเกษตร นโยบายภาษี การให้เงินอุดหนุนแก่ผู้ผลิต

53 การกำหนดราคาสินค้าของหน่วยธุรกิจ
ค่าความยืดหยุ่น แนวทางการตั้งราคา เพื่อให้ได้รายรับรวมเพิ่มขึ้น Ed > 1 ลดราคา เพื่อให้รายรับรวมเพิ่มขึ้น Ed < 1 เพิ่มราคา เพื่อให้รายรับรวมเพิ่มขึ้น การตัดสินใจในการบริหารงานของหน่วยธุรกิจ เช่น การใช้เครื่องจักรแทนแรงงาน ต้องพิจารณาถึง อุปทานของเครื่องจักรชนิดนั้นเป็นอย่างไร อุปทานแรงงาน/อุปสงค์แรงงานในตลาดเป็นอย่างไร

54 นโยบายราคาสินค้าเกษตร
โดยปกติ อุปสงค์สินค้าและอุปทานสินค้าเกษตร มีความยืดหยุ่นต่อราคาต่ำรัฐบาลจึงเช้ามาช่วยเหลือเกษตรกร โดยใช้นโยบายต่างๆ เช่น การจำกัดปริมาณผลผลิตให้เหมาะสม การกำหนดราคาขั้นต่ำ หากอุปสงค์และอุปทานของสินค้าเกษตรมีค่า Ed และ Es แตกต่างกัน การช่วยเหลือของรัฐบาลจะให้ผลแตกต่างไปด้วย

55 การประกันราคาขั้นต่ำ (Price support)
หากราคาดุลยภาพที่ Pe เป็นราคาที่ต่ำเกินไป รัฐบาลตั้งราคาประกันไว้ที่ Pf รัฐบาลรับซื้ออุปทานส่วนเกิน Ed และ Es มาก Ed และ Es น้อย P P S อุปทานส่วนเกิน S อุปทานส่วนเกิน A B A Pf Pf B E E Pe Pe งบประมาณที่ใช้ D D Q Q Q1 Qe Q2 Q1 Qe Q2

56 นโยบายภาษี รัฐบาลมักใช้การเก็บภาษีเป็นนโยบายในการกระจายรายได้และจัดสรรทรัพยากร โดยอาจเก็บจากผู้ผลิต (ผู้ขาย) หรือเก็บจากผู้บริโภค ผลกระทบจากการเก็บภาษีจะเป็นอย่างไรนั้น ขึ้นอยู่กับเก็บภาษีจากใคร และลักษณะของภาษีที่จัดเก็บเป็นประเภทใด เช่น เป็น ภาษีตามสภาพหรือภาษีที่เรียกเก็บต่อหน่วยที่ขาย (specific tax) หรือเป็น ภาษีตามมูลค่าสินค้าหรือภาษีที่เรียกเก็บเป็นเปอร์เซ็นต์ของราคาขาย (ad valorem tax)

57 เก็บภาษีตามมูลค่าสินค้า
เก็บภาษีจากผู้บริโภค เก็บภาษีตามสภาพ เก็บภาษีตามมูลค่าสินค้า P P P0 P0 TAX TAX P1 P1 D0 D0 D1 D1 Q Q Q0 Q0 รัฐบาลจะเก็บภาษีเท่ากันในทุกหน่วยของสินค้าที่ถูกนำออกขาย เช่น ถ้าเก็บหน่วยละ 2 บาท เมื่อผู้บริโภคซื้อไป 10 หน่วย จะต้องเสียภาษี 20 บาท ถ้าซื้อ 25 หน่วยจะเสียภาษี 50 บาท รัฐบาลจะเก็บภาษีคิดเป็น% ตามราคาขาย ยิ่งราคาขายสูงขึ้นก็จะยิ่งเสียภาษีเป็นจำนวนมากขึ้น แม้จะคิดเป็น% ที่เท่าเดิม เช่น เสียภาษี 10% ถ้าราคา 10 บาท เสีย 1 บาท และราคา 20 บาท เสีย 2 บาท

58 เก็บภาษีตามมูลค่าสินค้า
เก็บภาษีจากผู้ขาย เก็บภาษีตามสภาพ เก็บภาษีตามมูลค่าสินค้า S1 P P S1 S0 S0 P1 P1 TAX TAX P0 P0 Q Q Q0 Q0 รัฐบาลจะเก็บภาษีเท่ากันในทุกหน่วยของสินค้าที่ถูกนำออกขาย เช่น ถ้าเก็บหน่วยละ 2 บาท เมื่อผู้ผลิตขายได้ 10 หน่วย จะต้องเสียภาษี 20 บาท ถ้าขายได้ 25 หน่วยจะเสียภาษี 50 บาท รัฐบาลจะเก็บภาษีคิดเป็น% ตามราคาขาย ยิ่งราคาขายสูงขึ้นก็จะยิ่งเสียภาษีเป็นจำนวนมากขึ้น แม้จะคิดเป็น% ที่เท่าเดิม เช่น เสียภาษี 10% ถ้าราคา 10 บาท เสีย 1 บาท และราคา 20 บาท เสีย 2 บาท

59 จำนวนภาษีที่เรียกเก็บต่อหน่วย
เก็บภาษีตามสภาพจากผู้บริโภค P P Ed > 1 Ed < 1 P P จำนวนภาษีที่เรียกเก็บต่อหน่วย D0 D0 D1 D1 Q Q Q0 Q0 Q1 Q1 การเปลี่ยนแปลงปริมาณเสนอซื้อสินค้าในเส้น D ที่มี Ed > 1 มีมากกว่าการเปลี่ยนแปลงปริมาณเสนอซื้อสินค้าในเส้น D ที่มี Ed < 1 (เปลี่ยนจาก Q0  Q1)

60 จำนวนภาษีที่เรียกเก็บต่อหน่วย
เก็บภาษีตามสภาพจากผู้ขาย Es > 1 Es < 1 P P S1 S1 S0 S0 จำนวนภาษีที่เรียกเก็บต่อหน่วย P P Q Q Q1 Q0 Q1 Q0 การเปลี่ยนแปลงปริมาณเสนอขายสินค้าในเส้น D ที่มี Ed > 1 มีมากกว่าการเปลี่ยนแปลงปริมาณเสนอขายสินค้าในเส้น D ที่มี Ed < 1 (เปลี่ยนจาก Q0  Q1)

61 เก็บภาษีตามมูลค่าสินค้าจากผู้บริโภค
P P Ed > 1 Ed < 1 P P จำนวนภาษีที่เก็บ D0 D0 D1 D1 Q Q Q0 Q1 Q1 Q0 การเปลี่ยนแปลงปริมาณเสนอซื้อสินค้าในเส้น D ที่มี Ed > 1 มีมากกว่าการเปลี่ยนแปลงปริมาณเสนอซื้อสินค้าในเส้น D ที่มี Ed < 1 (เปลี่ยนจาก Q0  Q1)

62 เก็บภาษีตามมูลค่าสินค้าจากผู้ขาย
Es > 1 Es < 1 P P S1 S1 S0 S0 จำนวนภาษีที่เก็บ P P Q Q Q1 Q0 Q1 Q0 การเปลี่ยนแปลงปริมาณเสนอขายสินค้าในเส้น D ที่มี Ed > 1 มีมากกว่าการเปลี่ยนแปลงปริมาณเสนอขายสินค้าในเส้น D ที่มี Ed < 1 (เปลี่ยนจาก Q0  Q1)

63 ภาระภาษี เมื่อรัฐบาลเก็บภาษี การที่อุปสงค์และอุปทานมี Ed และ ES ที่แตกต่างกัน การรับภาระภาษีจะแตกต่างกันด้วย Ed < ES => ผู้ซื้อจะรับภาระภาษีมากกว่าผู้ขาย Ed > ES => ผู้ซื้อจะรับภาระภาษีน้อยกว่าผู้ขาย

64 Ed = 0 เก็บภาษีจากผู้ขายแบบ Specific tax P D S1 S0 P1 P0 Q Q0 TAX E
ผู้บริโภครับภาระภาษีฝ่ายเดียว TAX E Ed = 0 Q Q0

65 เก็บภาษีจากผู้ขายแบบ Specific tax
ผู้บริโภครับภาษี P0 E ผู้ขายรับภาระภาษี P’1 D Q Q1 Q0

66 เก็บภาษีจากผู้ขายแบบ Specific tax
D E ผู้ขายรับภาระ ภาษีฝ่ายเดียว P1 Ed =  Q Q1 Q0

67 เก็บภาษีจากผู้บริโภคแบบ Specific tax
ผู้ขายรับภาระภาษี ฝ่ายเดียว TAX P1 E1 D0 D1 Q Q0

68 เก็บภาษีจากผู้บริโภคแบบ Specific tax
ผู้บริโภครับภาระภาษี E P0 ผู้ขายรับภาระภาษี P1 E1 TAX D0 D1 Q Q1 Q0

69 การให้เงินอุดหนุน Es มาก Es น้อย
รัฐบาลให้เงินอุดหนุนผู้ผลิตเพื่อให้สามารถขยายการผลิตหรือเพิ่มปริมาณการขายได้ การให้เงินอุดหนุน (subsidy) ทำให้เส้นอุปทาน shift ไปทางขวา ปริมาณการเสนอขายสินค้าจะมากหรือน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับค่าของ Es Es มาก เมื่อให้เงินอุดหนุน => Q  มาก Es น้อย เมื่อให้เงินอุดหนุน => Q  น้อย S0 P P S0 S1 S1 subsidy P0 P0 subsidy P1 P1 D D Q Q Q0 Q1 Q0 Q1 Es มาก Es น้อย


ดาวน์โหลด ppt บทที่ 3 ความยืดหยุ่นของอุปสงค์และอุปทาน

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google