งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

บทที่ 1 บทนำ เศรษฐศาสตร์คืออะไร เศรษฐศาสตร์จุลภาคและเศรษฐศาสตร์มหภาค

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "บทที่ 1 บทนำ เศรษฐศาสตร์คืออะไร เศรษฐศาสตร์จุลภาคและเศรษฐศาสตร์มหภาค"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 บทที่ 1 บทนำ เศรษฐศาสตร์คืออะไร เศรษฐศาสตร์จุลภาคและเศรษฐศาสตร์มหภาค
ความรู้บางประการที่จำเป็นในการศึกษาเศรษฐศาสตร์จุลภาค ฟังก์ชั่น ตาราง กราฟ สมการ จำนวนรวม จำนวนเฉลี่ยและจำนวนหน่วยสุดท้าย การวิเคราะห์ทางเศรษฐศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ทฤษฎีและเศรษฐศาสตร์นโยบาย

2 1.1 เศรษฐศาสตร์คืออะไร คำว่าเศรษฐศาสตร์ (Economics) โดยแท้จริงแล้วเกิดจากสิ่งที่เป็นจริงในระบบ เศรษฐกิจ 2 ประการ คือ ความขาดแคลนของทรัพยากรหรือปัจจัยการผลิต ความต้องการของคนหรือกลุ่มคนในสังคมมีอยู่อย่างไม่จำกัด “เศรษฐศาสตร์ เป็นวิชาที่ศึกษาถึงการตัดสินใจเลือกที่จะใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดในสังคมเพื่อผลิตสินค้าและบริการมาสนองความต้องการของคนในสังคมซึ่งมีอยู่อย่างไม่จำกัด” ในความหมายของเศรษฐศาสตร์มีคำสำคัญ 2 คำ ความต้องการ (Want) หมายถึง ความต้องการของคนหรือบุคคลในสังคมที่จะบริโภคสินค้าและบริการ ทรัพยากร (Resources) หมายถึง ทรัพยากรมนุษย์ และทรัพยากรที่ไม่ใช่มนุษย์

3 ทรัพยากรการผลิต (Factors of production)
ทางเลือก เกิดจากการมีทรัพยากรจำกัดแต่ความต้องการไม่จำกัด จึงต้องเลือกใช้ทรัพยากรที่ทำให้ความพอใจสูงสุด ทรัพยากรการผลิต (Factors of production) ที่ดิน (land) ได้แก่ ทรัพยากรธรรมชาติ เช่น ที่ดิน ป่าไม้ แร่ธาตุ ผลตอบแทนคือ ค่าเช่า แรงงาน (labor) ได้แก่ กำลังแรงงาน อายุตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไป ผลตอบแทนคือ ค่าจ้าง ทุน (capital) ได้แก่ สินค้าประเภททุนไม่นับทุนที่เป็นตัวเงิน ผลตอบแทนคือ ดอกเบี้ย ผู้ประกอบการ (Entrepreneur) เป็นผู้รวบรวมปัจจัยการผลิตเพื่อผลิตและแจกจ่าย ผลตอบแทนคือ กำไร

4 ไม่สามารถกีดกันการบริโภคได้
สินค้าและบริการ สินค้าแบ่งเป็น 2 ประเภท เศรษฐทรัพย์ (Economic goods) คือ สินค้าที่มีต้นทุน มีราคา แบ่งเป็น สินค้าเอกชน (private goods) สินค้าสาธารณะ (public goods) สินค้าไร้ราคา (Free goods) คือ สินค้าที่ไม่มีต้นทุน ไม่มีราคา คุณสมบัติ: แยกกันบริโภคได้ กีดกันการบริโภคได้ คุณสมบัติ บริโภครวมกัน ไม่สามารถกีดกันการบริโภคได้

5 ปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐกิจ
มี 3 ประการคือ 1. ปัญหาจะผลิตอะไร (What) สังคมจะเกิดปัญหาที่ต้องตัดสินใจว่าจะใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดนั้น มาผลิตสินค้าและบริการอะไร จำนวนเท่าใดจะผลิตอะไรก่อนอะไรหลังตามลำดับเพื่อสนองความต้องการของคนในสังคม 2. ปัญหาจะผลิตอย่างไร (How) สังคมจะต้องตัดสินใจว่าจะผลิตสินค้าและบริการด้วยวิธีการและเทคนิคการผลิตอย่างไร โดยการใช้ปัจจัยการผลิตแต่ละชนิดในจำนวนเท่าใด จึงจะมีประสิทธิภาพสูงสุดในการผลิต 3. ปัญหาจะผลิตเพื่อใคร (For whom) เมื่อผลิตสินค้าและบริการออกมาแล้วสังคมจะต้องตัดสินใจว่าจะจัดสรรสินค้าและบริการเหล่านั้นไปให้แก่บุคคล หรือกลุ่มบุคคลในสังคมอย่างไร จึงจะเหมาะสม และยุติธรรมที่สุด

6 ระบบเศรษฐกิจกับการแก้ไขปัญหาพื้นฐาน
ลักษณะระบบเศรษฐกิจแบบต่างๆในโลก ระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยมหรือเสรีนิยม ระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยม ระบบเศรษฐกิจแบบผสม ระบบเศรษฐกิจแบบต่างๆ จะมีการแก้ไขปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐกิจ ที่แตกต่างกันไป เช่น บางระบบใช้กลไกราคา บางระบบใช้การ ตัดสินใจของรัฐบาล

7 1.2 เศรษฐศาสตร์มหภาคและเศรษฐศาสตร์จุลภาค
1.2 เศรษฐศาสตร์มหภาคและเศรษฐศาสตร์จุลภาค เศรษฐศาสตร์มหภาค ศึกษาภาวะเศรษฐกิจโดยรวมทั้งระบบเศรษฐกิจหรือทั้งประเทศ ได้แก่การผลิตของระบบเศรษฐกิจ การบริโภค การออม การลงทุนรวมของประชาชน การจ้างงาน ภาวการณ์การเงินการคลังของประเทศ หัวข้อที่ศึกษาเศรษฐศาสตร์มหภาค เช่น รายได้ประชาชาติ วัฏจักรเศรษฐกิจ เงินเฟ้อ ระดับราคาสินค้าทั่วไป การคลังและหนี้สาธารณะ การเงินและสถาบันการเงิน เศรษฐศาสตร์ระหว่างประเทศ เศรษฐศาสตร์การพัฒนา ฯลฯ เศรษฐศาสตร์จุลภาค ศึกษาพฤติกรรมทางเศรษฐกิจของหน่วยเศรษฐกิจใดหน่วยเศรษฐกิจหนึ่ง เช่น พฤติกรรมผู้บริโภค พฤติกรรมผู้ผลิตในอุตสาหกรรม พฤติกรรมการออม การลงทุนของบุคคลใดบุคคลหนึ่ง ศึกษากลไกตลาดและระบบราคาเพื่อจัดสรรสินค้า บริการและทรัพยากร นักเศรษฐศาสตร์ เรียกว่า การศึกษาทฤษฎีราคา

8 หน่วยเศรษฐกิจ หน่วยเศรษฐกิจ แบ่งเป็น 3 หน่วย คือ ผู้ผลิต ผู้บริโภค
ครัวเรือน (Household) ผู้บริโภค หน่วยธุรกิจ (Business Firm) เจ้าของปัจจัยการผลิต รัฐบาล

9 (ค่าเช่า ค่าจ้าง ดอกเบี้ย และกำไร)
ค่าตอบแทนปัจจัยการผลิต ปัจจัยการผลิตต่างๆ (ที่ดิน แรงงาน ทุน และผู้ประกอบการ) หน่วยธุรกิจ หน่วยครัวเรือน สินค้าและบริการ ค่าสินค้าและบริการ

10 1.3 ความรู้บางประการที่จำเป็นในการศึกษาเศรษฐศาสตร์จุลภาค
ฟังก์ชั่น (Function) เป็นเครื่องมือที่ใช้อธิบายความสัมพันธ์ของตัวแปรตั้งแต่ 2 ตัวขึ้นไป สมมติว่ามีตัวแปร X และ Y สามารถเขียนเป็นสัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์ได้ว่า y = f (x) เช่น ฟังก์ชั่นอุปสงค์ (Demand Function) เขียนได้ว่า QX = f (PX, P1.... Pn , T, Y .) คือ ปริมาณการซื้อสินค้า X จะมากน้อยอย่างไร ขึ้นอยู่กับราคาสินค้า X, ราคาสินค้าอื่นๆ, รสนิยม, รายได้ผู้บริโภค เป็นต้น

11 ตัวแปรใน function มี 2 ชนิด คือ
ตัวแปรอิสระ (Independent Variable) หมายถึง ตัวแปรใดๆ ที่เป็นตัวกำหนดค่าตัวแปรอื่น เช่น ในการศึกษาฟังก์ชั่นอุปสงค์ ราคาสินค้าจะเป็นตัวแปรอิสระที่จะกำหนดปริมาณการซื้อสินค้าดังกล่าวว่าจะมากน้อยเพียงใด ตัวแปรตาม (Dependent Variable) หมายถึง ตัวแปรซึ่งถูกกำหนดค่าโดยตัวแปรอื่น เช่น ปริมาณการซื้อสินค้า เป็นตัวแปรตาม ขึ้นกับ ราคาสินค้าชนิดนั้น

12 เมื่อพิจารณาความสัมพันธ์ของตัวแปรตามกับตัวแปรอิสระใดเพียงตัวเดียว ก็จะกำหนดให้ตัวแปรอื่นในฟังก์ชั่นคงที่ไปก่อน เขียนเป็นฟังชั่นอุปสงค์ได้ว่า QX = f (PX) หมายความว่าปริมาณการซื้อสินค้า X ขึ้นอยู่กับราคาสินค้า X โดยปัจจัยอื่นๆ ที่มีส่วนกำหนด QX เราให้คงที่หรือไม่มีผลต่อ QX ไว้ก่อน เรียกเงื่อนไขนี้ว่า Ceteris Paribus เงื่อนไขนี้มักใช้เป็นข้อสมมติประกอบการศึกษาความสัมพันธ์ของตัวแปรต่างๆ เสมอบางครั้งอาจไม่ต้องกล่าวถึงเงื่อนไขนี้ ก็เป็นที่เข้าใจกัน

13 ความสัมพันธ์ของตัวแปรอิสระกับตัวแปรตาม
ความสัมพันธ์ทางตรง หมายถึง ตัวแปรอิสระและตัวแปรตามจะมีความสัมพันธ์ทิศทางเดียวกัน เช่น ราคาสินค้า (P) กับปริมาณการเสนอขายสินค้า (QS) P   QS  P   QS  ความสัมพันธ์ผกผัน หมายถึง ตัวแปรอิสสระและตัวแปรตามจะมีความสัมพันธ์ในทิศทางตรงข้าม เช่น ปริมาณการซื้อ (Qd) กับราคาสินค้า (P) P   Qd  P   Qd  การระบุความสัมพันธ์ของตัวแปร สามารถแสดงได้ในรูปของสมการ (Equation)

14 ปริมาณความต้องการซื้อ (ด้าม : เดือน)
ตาราง (Table) เป็นการแสดงความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรอิสระกับตัวแปรตาม ในลักษณะของตาราง ตารางที่ 1 แสดงค่าตัวแปรในรูปคอลัมน์ ราคาปากกา (บาท) ปริมาณความต้องการซื้อ (ด้าม : เดือน) 10 2 8 4 6 ตารางที่ 2 แสดงค่าตัวแปรในรูปแถว ราคาปากกา (บาท) ปริมาณความต้องการซื้อ (ด้าม: เดือน)

15 กราฟ (Graph) เป็นการแสดงความสัมพันธ์ของตัวแปรอิสระกับตัวแปรตามในลักษณะของเส้นกราฟ ที่แสดงค่าตัวแปรตามแนวนอนและแนวตั้ง Px (บาท) ตัวอย่าง 10 8 6 4 Dx 2 Qx (ด้าม) 2 4 6 8 10 ราคาปากกา (Px) ปริมาณความต้องการซื้อ (Qx)

16 การบริโภค ( C ) ณ ระดับรายได้หลังหักภาษี (Yd) ระดับต่าง ๆ
ตัวอย่าง การบริโภค ( C ) ณ ระดับรายได้หลังหักภาษี (Yd) ระดับต่าง ๆ C Yd C 10 100 85 120 140 115 160 130 180 145 C C = Yd 10 Yd เส้นกราฟจะมีลักษณะอย่างไรขึ้นอยู่กับความสัมพันธ์ของตัวแปรที่กำลังศึกษาซึ่งแสดงได้ด้วยค่าความชัน (Slope)

17 ความชัน (Slope) ความชันมีค่าเป็น + ความชันมีค่าเป็น –
เป็นการอธิบายถึงทิศทางและขนาดของความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรบนกราฟ Slope จะหมายถึงอัตราส่วนระหว่างส่วนเปลี่ยนแปลงของตัวแปรบนแกนตั้ง (Y) ต่อส่วนเปลี่ยนแปลงของตัวแปรบนแกนนอน (X) เขียนได้ว่า Slope = Y X ซึ่งเท่ากับค่า tangent ของมุมซึ่งอยู่ระหว่างเส้นที่ต้องการกับเส้นที่ขนานกับแกนนอน Y Y Y Y Q Q X X X X ความชันมีค่าเป็น + ความชันมีค่าเป็น –

18 การหาความชันของเส้นโค้ง
Y . A Y X X Slope = Y X

19 ความชันเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
ความสัมพันธ์ของตัวแปรทั้งสอง เป็นไปในทางบวก ลักษณะเส้นกราฟจะลาดขึ้นจากซ้ายไปขวา (upward slope) P ต้นทุน ต้นทุน S C C Q Q Q ความชันคงที่ ความชันเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ความชันลดลงเรื่อยๆ

20 ความสัมพันธ์ของตัวแปรทั้งสอง เป็นไปในทางลบ
ลักษณะเส้นกราฟจะลาดลงจากซ้ายไปขวา (downward slope) ต้นทุนคงที่เฉลี่ย อาหาร P PPC AFC D Q Q ผ้า ความชันเพิ่มขึ้น ความชันคงที่ ความชันลดลง

21 สมการ (Equation) เป็นรูปแบบของการแสดงความสัมพันธ์ของตัวแปรที่สามารถกำหนดได้แน่นอนว่ามีค่าเกี่ยวข้องกันอย่างไร และอธิบายได้ชัดเจนว่ารูปของฟังก์ชั่น เช่น Y = 2X ความสัมพันธ์ของตัวแปรในรูปสมการเส้นตรง เขียนได้ว่า Y = a + bX โดย Y = ตัวแปรตาม X = ตัวแปรอิสระ a = ค่าคงที่ เมื่อค่า X = 0 (a = ค่าจุดตัดบนแกนตั้ง) b = ค่า Slope ของเส้น graph ที่สร้างจากสมการ = Y = dY X dX

22 ตัวอย่างสมการอุปสงค์ 3 Qd = 15–2P
7.5 ส่วนกลับของ slope เพราะแกนตั้งเป็นตัวแปรอิสระ และแกนนอนเป็นตัวแปรตาม D Slope = -3/2 5 – 2/3P = Q – 2/3P = Q – 5 P = –3/2Q + 7.5 slope เส้น D = dP = – 3 dQ Q 5 ตัวอย่างการหา slope ของสมการกำลังสอง Y = X2 dY = 6X dX หาความชัน ณ X ต่างๆ เช่น ที่ X = 3 จะได้ความชัน = 18

23 1.3.5 จำนวนรวม จำนวนเฉลี่ยและจำนวนหน่วยสุดท้าย
จำนวนรวม จำนวนเฉลี่ยและจำนวนหน่วยสุดท้าย (Total, Average and Marginal) ในการศึกษาเศรษฐศาสตร์จุลภาค เราสามารถวัดการเปลี่ยนแปลงของตัวแปรต่าง ๆ ได้ใน 3 รูปแบบ คือจำนวนรวม จำนวนเฉลี่ย และจำนวนหน่วยสุดท้าย จำนวนรวม หมายถึง ค่ารวมทั้งหมดของตัวแปรที่วัดได้ขณะนั้น เช่น ผลผลิตรวม (Total Product) จำนวนเฉลี่ย หมายถึงค่าที่จะแสดง ค่ารวมทั้งหมดเฉลี่ยต่อตัวแปรที่กำลังศึกษา 1 หน่วย เช่น ผลผลิตเฉลี่ย (Average Product) คือผลผลิตรวมเฉลี่ยต่อปัจจัยแปรผัน เช่น แรงงาน 1 หน่วย ก่อให้เกิดผลผลิตเท่าใด จำนวนหน่วยท้ายสุด หมายถึง ค่าที่ทำให้ค่ารวมเพิ่มขึ้นหรือลดลงในแต่ละลำดับขั้น แสดงอัตราส่วนระหว่างส่วนเปลี่ยนแปลงของตัวแปรหนึ่งอันเนื่องจากตัวแปรอีกตัวหนึ่งเปลี่ยนแปลงไป 1 หน่วย เช่น ผลผลิตหน่วยสุดท้าย (Marginal Product)

24 จำนวนรวม จำนวนเฉลี่ย และจำนวนหน่วยท้ายสุด
แรงงาน (คน) ผลผลิตรวม (TP) ผลผลิตเฉลี่ย (AP) ผลผลิตหน่วยสุดท้าย (MP) 1 80 2 180 90 100 3 270 4 280 70 10 5 250 50 -30

25 ความสัมพันธ์ของจำนวนรวม จำนวนเฉลี่ย และจำนวนหน่วยท้ายสุด
จำนวนรวมกับ จำนวนหน่วยสุดท้าย 1. เมื่อ Marginal เป็น +  จำนวนรวม  2. เมื่อ Marginal เป็น ลบ  จำนวนรวม  3. เมื่อ Marginal เป็น = 0  จำนวนรวม สูงสุด จำนวนเฉลี่ยกับจำนวนหน่วยสุดท้าย 1. เมื่อ Marginal > Average  Average  2. เมื่อ Marginal < Average  Average  3. เมื่อ Marginal = Average  Average สูงสุด หรือ ต่ำสุด การที่ Average จะสูงสุดหรือต่ำสุดนั้นขึ้นอยู่กับว่าในระยะแรกค่าของ Average กำลังเพิ่มขึ้นหรือลดลง ดังนั้น Marginal = Average ขณะที่ Average  Average สูงสุด Marginal = Average ขณะที่ Average   Average ต่ำสุด

26 1.4 การวิเคราะห์ทางเศรษฐศาสตร์
1.4 การวิเคราะห์ทางเศรษฐศาสตร์ การวิเคราะห์ทางเศรษฐศาสตร์ ให้ความสำคัญกับดุลยภาพ ไม่ว่าจะเป็นดุลยภาพที่เกิดขึ้นในตลาดสินค้า ตลาดปัจจัยการผลิต ตลาดเงิน ฯลฯ การวิเคราะห์ดุลยภาพ แบ่งออกเป็น 1. การวิเคราะห์สภาพสถิต (Static Analysis) เป็นการวิเคราะห์ที่ไม่นำเวลาเข้ามาเกี่ยวข้อง โดยสนใจเฉพาะ ณ จุดดุลยภาพขณะนั้นว่าเป็นอย่างไร 2. การวิเคราะห์สภาพสถิตเปรียบเทียบ (Comparative Static) เป็นการวิเคราะห์สภาพดุลยภาพ 2 ที่ เปรียบเทียบกัน โดยไม่ได้เอา การเคลื่อนตัวหรือระยะเวลาเข้ามาเกี่ยวข้อง 3. การวิเคราะห์สภาพพลวัต (Dynamic Analysis) เป็นการวิเคราะห์ โดยนำเวลาเข้ามาเกี่ยวข้อง เริ่มจากดุลยภาพเดิมและเมื่อมีการ เปลี่ยนแปลงตัวแปรต่างๆ ในช่วงเวลาต่อมานั้น มีการเปลี่ยนแปลง อย่างไรเกิดขึ้น ณ ดุลยภาพใหม่

27 1.5 เศรษฐศาสตร์ทฤษฎี และเศรษฐศาสตร์นโยบาย
1.5 เศรษฐศาสตร์ทฤษฎี และเศรษฐศาสตร์นโยบาย (Positive Economics and Normative Economics) การศึกษาทางเศรษฐศาสตร์มีวัตถุประสงค์สำคัญ 2 ประการ ได้แก่ 1. เพื่อแสวงหาความรู้ความเข้าใจในปรากฏการณ์ทางเศรษฐกิจ (what is in the economy) 2. เพื่อควบคุมสถานการณ์ทางเศรษฐกิจว่า สถานการณ์ใดควรจะ เกิดขึ้น (what ought to be in the economy) เศรษฐศาสตร์ทฤษฎีหรือเศรษฐศาสตร์วิเคราะห์ เป็นการศึกษาสาเหตุและผลของปรากฏการณ์ทางเศรษฐกิจ เศรษฐศาสตร์นโยบาย เป็นการศึกษานโยบายทางเศรษฐกิจ เพื่อนำไปควบคุมสถานการณ์ให้อยู่ในสภาพที่ควรจะเป็น เกี่ยวข้องกับการใช้วิจารณญาณส่วนบุคคลในการตัดสินคุณค่า (value judgment)


ดาวน์โหลด ppt บทที่ 1 บทนำ เศรษฐศาสตร์คืออะไร เศรษฐศาสตร์จุลภาคและเศรษฐศาสตร์มหภาค

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google