งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

โลกาภิวัตน์ การเปลี่ยนแปลง และผลกระทบต่อสังคมไทย

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "โลกาภิวัตน์ การเปลี่ยนแปลง และผลกระทบต่อสังคมไทย"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 โลกาภิวัตน์ การเปลี่ยนแปลง และผลกระทบต่อสังคมไทย
โลกาภิวัตน์ การเปลี่ยนแปลง และผลกระทบต่อสังคมไทย

2 โลกและการพัฒนา ก่อนและหลังสงครามโลกครั้งที่ สอง ประมาณ 10 ปี เป็นยุคสมัยของการปกครองแบบอาณานิคม โดยมีประเทศทางซีกโลกตะวันตกไม่กี่ประเทศ เป็นเจ้าโลก หลังสงครามโลกครั้งที่ 1 เยอรมัน และญี่ปุ่น พ่ายแพ้สงคราม ฝรั่งเศสและอังกฤษ ได้รับความเสียหายมาก สหรัฐอเมริกา กลายเป็นประเทศที่เข็มแข็งที่สุด และมีอิทธิพลมากในองค์การสหประชาชาติ จนถึงปัจจุบัน ประธานาธิบดี เอส ทรูแมน แห่งสหรัฐฯ ประกาศผ่านสภาคองเกรส เมื่อเดือนมกราคม 2492 ถือเป็นการเกิดวลีและกิจกรรมการพัฒนาเป็นแบบแผนต่อๆกันมา

3 เกิดวลี ประเทศพัฒนาและด้อยพัฒนา โดยใช้การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ และรายได้ต่อหัว เป็นตัวบอกความสุข
ประเทศพัฒนา ทางตะวันตก เป็นเสมือนตันแบบที่ประเทศด้อยพัฒนาจะต้องมุ่งขับเคลื่อนให้เป็นไปตามแบบ ปี โลกประสบความสำเร็จในการพัฒนาเศรษฐกิจสูง แต่ช่องว่างระหว่างประเทศ ระหว่างคนของแต่ละประเทศก็เพิ่มสูงขึ้น ขณะเดียวกันทำให้ ทรัพยากรต้องเสียสมดุลอย่างร้ายแรง

4 ป่าไม้ น้ำ แหล่งน้ำมัน แหล่งเหมืองแร่
ป่าไม้ น้ำ แหล่งน้ำมัน แหล่งเหมืองแร่ ผืนดิน เพื่อการตั้งรกราก และโครงสร้างพื้นฐาน มหาสมุทรและบรรยากาศ ประชากร โลกปัจจุบัน ร้อยละ 20 ใช้ทรัพยากรร้อยละ 80 ส่วนใหญ่พวกเขา อยู่ในซีกโลกเหนือ บริโภคปลาและเนื้อร้อยละ 45 ใช้ไฟ 68 ใช้กระดาษ 84 เป็นเจ้าของรถยนต์ 87 (UNDP : 1987) ถ้าจะให้คนทั่วโลกมีมาตรฐานชีวิตเหมือน คน ประเทศ ร่ำรวย (G 8) จะต้องมีโลกแบบที่เราอาศัยอยู่ รวม 5 โลก

5 ประเทศมั่งคั่ง ใช้อำนาจเศรษฐกิจ ระดมทรัพยากรจากแหล่งต่างๆ จนเกิดการทำลายล้างและมลภาวะทั่วโลก
คนยากจนดิ้นรน ทำให้แหล่งชุมชน ของตนเองเสื่อมยิ่งขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ระบบการสื่อสารยุคดิจิทอล ทำให้ความตั้งใจการพัฒนา ไม่สัมฤทธิ์ผล การพัฒนายั่งยืน ไปไม่รอด การพัฒนา คือวาระทางความมั่นคง 2543 กำลังถูกท้าทาย

6 โลกาภิวัตน์ เป็นความสัมพันธ์สืบเนื่อง ของประเทศ เจ้าอาณานิคม จากอดีต กับประเทศที่อ่อนแอกว่า ในภูมิภาคต่างๆของโลก ประเทศไทย ถูกคุกคามอย่างหนักเริ่มตั้งแต่ 2398 ผ่านสนธิสัญญาเบาริ่ง 2504 ประเทศไทย เต็มใจ ยอมรับการพัฒนา เพื่อเศรษฐกิจ ความร่ำรวยและทันสมัย โดยมีสหรัฐอเมริกาเป็นแม่แบบ เริ่มใช้แผนพัฒนาเศรษฐกิจตามคำแนะนำของธนาคารโลก เปลี่ยนการวัดผลการศึกษาจากระบบอังกฤษเป็นระบบเกรด ยอมให้สหรัฐ มาตั้งฐานทัพในประเทศไทย

7 2523 ประธานาธิบดี โรนัลด์ รีแกน แห่งสหรัฐฯ และนายกรัฐมนตรี มาร์กาเร็ต แทซเชอร์ ของอังกฤษ ต่างเห็นพ้องกันว่า การค้า การเงิน เป็นเรื่องเดียวกัน ภายใต้นโยบายเศรษฐกิจเสรีนิยมใหม่ ของระบบทุนนิยมโลก เยอรมันตะวันออก รวมกับเยอรมันตะวันตก ประเทศรัสเซีย เปลี่ยนจากระบอบคอมมิวนิสต์ เป็นระบอบประชาธิปไตย ทำให้พลังสังคมนิยม ซึ่งคัดค้านทุนนิยมโลกหมดพลัง โลกาภิวัตน์ คือความพยายาม และกระบวนการผสมผสาน เศรษฐกิจของประเทศต่างๆ เข้ากับตลาดระดับโลก กระบวนการเศรษฐกิจ โลกไร้พรมแดน กระบวนการทำให้โลกเป็นหนึ่งเดียว ลัทธิเสรีนิยมใหม่

8 นโยบายหลักของโลกาภิวัตน์
การแปรรูปกิจการของรัฐ เป็นของเอกชน หลักการนี้ มุ่งให้รัฐ ลด เลิก การแทรกแซงในระบบเศรษฐกิจ -รัฐเลิกเป็นเจ้าของกิจการ หรือทำหน้าที่ในกิจการ -ให้เอกชนเข้ามารับเหมางานบริการที่รัฐเคยทำ -ให้เอกชนเข้ามาร่วมลงทุนกับรัฐ -ขายที่ดินของรัฐ -ขึ้นค่าธรรมเนียมบริการต่างๆ การลดระเบียบข้อบังคับ -ยกเลิกการอุดหนุน บริการต่างๆ ที่เคยจัดให้ประชาชน -ยกเลิกการควบคุมราคา -ลดภาษีทางตรง คือภาษีจากรายได้ และกำไรในการประกอบธุรกิจ -ลดหรือเลิก การควบคุมธุรกิจเอกชน เช่นกฎหมายว่าด้วยค่าจ้างแรงงานต่างๆ

9 การเงิน การค้า ยกเลิกการเก็บภาษีศุลกากรสินค้านำเข้า
การเปิดเสรีทางด้านการค้าและการเงิน การค้า ยกเลิกการเก็บภาษีศุลกากรสินค้านำเข้า ยกเลิก โควต้า ในการนำสินค้าเข้า ยกเลิก สัดส่วนการถือหุ้นของคนต่างชาติ การเงิน ยกเลิก ปริมาณการนำเงินออก หรือเข้าในประเทศ ยกเลิก ข้อจำกัดการทำอาชีพต่างๆ และการถือครองที่ดิน

10 เครื่องมือของกระบวนการโลกาภิวัตน์
ข้อตกลงทั่วไปว่าด้วย ภาษีศุลกากรและการค้า (แก็ตต์) หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 มีการจัดตั้งข้อตกลงนี้ ปัจจุบันมีสมาชิก 117 ประเทศ (ไทย เข้าเป็นสมาชิก 2525) ทำให้ประเทศเล็กเสียเปรียบ เมื่อลดภาษีนำเข้า ไม่สามารถเพิ่มได้อีก ยกเลิกภาษีการกีดกันทางการค้าที่ไม่ใช้ภาษี เช่นการใช้แรงงานเด็ก สตรี การผลิตทำลายสิ่งแวดล้อม ลดการอุดหนุนการผลิตสินค้าภายใน ลดการอุดหนุน ส่งสินค้าออก การเจรจา กลุ่มข้อตกลงดังกล่าว ปี 2537 เห็นชอบจัดตั้ง องค์กรการค้าโลก (WTO) เพื่อ ให้สมาชิกเจรจาเรื่องการค้ากัน เป็นที่ประชุมข้อพิพาททางการค้า ร่วมกับกองทุนการเงินระหว่างประเทศ และธนาคารโลก ในการวางนโยบายเศรษฐกิจ

11 องค์กรการเงินระหว่างประเทศ
กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) เป็นองค์กร ที่รับผิดชอบ จัดระบบการเงินระหว่างประเทศ สมาชิกที่ประสบภาวะเศรษฐกิจทางการเงิน เน้นด้านมหภาค ใช้นโยบายทางการเงิน ให้ดอกเบี้ยสูง ควบคุมให้สินเชื่อ ใช้นโยบายทางการคลัง ลดค่าใช้จ่ายรัฐ เพิ่มภาษีมูลค่าเพิ่ม ธนาคารโลก (WORLD BANK) เป็นองค์กรช่วยเหลือและพัฒนาการเงินระยะยาวแก่สมาชิก ให้การสนับสนุน ด้านเทคนิค โครงสร้างพื้นฐาน ส่งเสริมการเลิกอุดหนุน ช่วยเหลือสินค้า ในประเทศ แปรรูปรัฐวิสาหกิจ ประเทศที่เป็นสมาชิกธนาคารโลก ต้องเป็นสมาชิก ไอเอ็มเอฟด้วย

12 ธนาคารพัฒนาแห่งอาเซีย
ก่อตั้งปี 2509 สำนักงานใหญ่อยู่ที่ฟิลิปปินส์ ปัจจุบันมีสมาชิก 57 ประเทศ 41 ประเทศ อยู่ในเอเซีย อีก 16 ประเทศ อยู่ทวีปอื่น ญี่ปุ่น และสหรัฐ ถือหุ้น 16 เปอร์เซ็นต์ 41 ประเทศ ถือหุ้น 63 เปอร์เซ็นต์ ประเทศ ถือหุ้น 37 เปอร์เซ็นต์ บรรษัทข้ามชาติ บรรษัทข้ามชาติ เหล่านี้ อาศัยอิทธิพล ควบคุมพรรคการเมือง ธนาคารกลาง กระทรวงการคลัง ในประเทศแม่ เพื่อผลักดัน ข้อตกลง และสร้างเงื่อนไขในการแสวงหากำไรในการทำธุรกิจการค้าและการเงิน ในประเทศต่างๆ ปัจจุบันบรรษัทขนาดใหญ่ 300 แห่ง ครอบครอง25 เปอร์เซ็นต์ ของทรัพย์สินการผลิตทั่วโลก คนรวยสุดของโลก 100 อันดับแรก มาจากบรรษัทธุรกิจ 47 แห่งแต่ละบริษัทมี ทรัพย์สินมากว่า 130 ประเทศรวมกัน จากปี 2526 การลงทุนของต่างประเทศทั่วโลก ขยายเฉลี่ย 29 เปอร์เซ็นต์/ปี มากกว่าอัตราการเติบโตของผลผลิตโลกถึง 4 เท่าทำให้นักเก็งกำไรบางคน มีเงินมากเท่าๆกับประเทศเล็กๆบางประเทศ

13 ประเทศไทยและแผนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ปี พ.ศ ลำดับการเปลี่ยนแปลง พัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศไทย สถานการณ์ภายในประเทศ รู้จักตลาดโลกมากขึ้น (ในน้ำมีปลา ในนามีข้าว) เปลี่ยนจากเกษตรกรรมสู่อุตสาหกรรม พยายามฟื้นฟูประเทศหลังสงครามโลกครั้งที่สอง ส่งเสริมชาตินิยมและพัฒนาให้เท่าเทียมกับนานาประเทศ เริ่มสร้างความสัมพันธ์กับอเมริกา ทางการทหาร ต่อต้านคอมมูนิสต์ รับความช่วยเหลือทางการเงินเพื่อสร้างสาธารณูปโภคพื้นฐาน มีช่องทางสู่เงินกู้ต่างประเทศ (ธนาคารเพื่อการบูรณะและพัฒนา ธนาคารโลก ประเทศเป็นที่สนใจของฝ่ายมหาอำนาจตะวันตกในฐานะเป็นส่วนสำคัญของการปะทะระหว่างสังคมนิยมและประชาธิปไตยโดยเฉพาะในภูมิภาคนี้ ขยายการเข้าสู่ตลาดโลก (น้ำไหล ไฟสว่าง ทางดี ผู้ใหญ่ลี ตีกลองประชุม) แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 1-2 ส่งเสริมอุตสาหกรรมเพื่อการส่งออก เริ่มสงครามอเมริกา-อินโดจีน เริ่มเป็นฐานทัพอเมริกาผ่านการแลกเปลี่ยนความช่วยเหลือ (เศรษฐกิจ, การศึกษา, เทคโนโลยี ฯ) เปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีการเกษตรเพื่อส่งออก รวมถึงการนำเข้าปุ๋ย, สารเคมี, และเมล็ดพันธ์ เกษตรกรเปลี่ยนวิถีชีวิต การศึกษาเปลี่ยนจากระบบแบบแผนเดิมสู่แบบอเมริกัน จากเปอร์เซนต์ เป็น เกรด ก, ข, ค (A, B, C)

14 ลำดับการเปลี่ยนแปลง พัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศไทย
ปี พ.ศ ลำดับการเปลี่ยนแปลง พัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศไทย สถานการณ์ภายในประเทศ ขยายการเติบโตทางเศรษฐกิจและความทันสมัย (โชติช่วง ชัชวาล) แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมฯฉบับที่ 3-4 ยังคงมุ่งส่งเสริมการส่งออก สิ้นสุดสงครามเวียดนาม อเมริกาปิดฐานทัพ เริ่มและสิ้นสุดขบวนการนักศึกษาและประชาธิปไตย พัฒนาความสัมพันธ์กับประเทศแถบตะวันออกกลาง ส่งออกแรงงาน อพยพจากชนบทสู่เมือง - ภาคอุตสาหกรรม ปัญหาสังคม โสเภณี, ปัญหาแรงงาน, ชุมชนแออัดในเมืองใหญ่ ช่องว่างระหว่างเมืองและชนบทขยายขึ้น มีการต่อสู้ขัดแย้ง และใช้กำลังกับกับพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย มุ่งเป็นผู้นำในภูมิภาคเอเชียตะวัน ออกเฉียงใต้และอินโดจีน (ไอเลิฟเมืองไทย ไอไลค์พัฒนพงษ์) แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมฯฉบับที่ 5-6 ส่งเสริมสินค้าส่งออกและการท่องเที่ยว เริ่มส่งเสริมการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ผ่านการศึกษา นิคมอุตสาหกรรมในทุกภาคของประเทศ มีการลดค่าเงินบาท แต่ฟื้นตัวได้ใน 2 ปี เงินสำรองคงคลังอยู่ตัว เริ่มปรากฎปัญหาการส่งเสริมอุตสาหกรรม ช่องว่างระหว่างเมืองและชนบทมาก จนต้องมีการพัฒนาเพื่อแก้ปัญหาความยากจนเป็นพิเศษ (แผน 5) องค์กรพัฒนาเอกชน (เอนจีโอ) ส่งเสริมการพัฒนาแบบทางเลือก

15 ลำดับการเปลี่ยนแปลง พัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศไทย
ปี พ.ศ ลำดับการเปลี่ยนแปลง พัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศไทย สถานการณ์ภายในประเทศ เกือบจะเป็นเสือตัวที่ห้า (นิคซ์มาแล้วจ้า) แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมฯฉบับที่ 7-8 รัฐบาลกู้เงินจากธนาคารโลก, ไอเอ็มเอฟ, เอดีบี และเงินกู้ต่างชาติ เพื่อช่วยหนี้เอกชน (ส่วนใหญ่คือหนี้สถาบันการเงิน) ส่งเสริมทรัพยากรมนุษย์, สิ่งแวดล้อม, การมีส่วนร่วมของชุมชน เศรษฐกิจขนาดเล็กและขนาดใหญ่ รัฐบาลทหารเสื่อมความนิยม เริ่มทหารนักธุรกิจ และนักธุรกิจการเมืองรุ่นใหม่ การลงทุนจำนวนมากมาจากต่างชาติ เศรษฐกิจเฟื่องฟู, อัตราว่างงานต่ำ, ราคาที่ดินอสังหาริมทรัพย์สูงขึ้น, การศึกษาสนองธุรกิจและอุตสาหกรรม ก่อนวิกฤติต้มยำกุ้ง เอ็นจีโอส่งเสริมการมีส่วนร่วมของท้องถิ่น มีการส่งเสริมบ้างจากภาครัฐ กฎหมายสิ่งแวดล้อมฉบับ 1 2544 – ปัจจุบัน เป็นประเทศทันสมัยแต่ด้อยพัฒนา (รถไฟฟ้ามหานคร คนจรเต็มสนามหลวง) แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมฯฉบับที่ 9 -10 เข้าร่วมองค์กรการค้าโลก ข้อตกลงเขตการค้าเสรี รัฐบาลใหม่ส่งเสริมนโยบายเพื่อคนจน นโยบายประชานิยม ส่งเสริมการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ (ขายให้เอกชน) และถูกต่อต้าน หนี้สาธารณะเพิ่มจาก 25,000/คน เป็น 48,000/คน นโยบายช่วยคนจนถูกนำมาปฏิบัติแต่ผลไม่ชัดเจน ส่งเสริมธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม แต่ไม่มีการจัดการเรื่องตลาด มีการปะทะระหว่างการเมืองทางการ กับภาคประชาชน ธุรกิจการเมืองและประชานิยม

16 50 ปี การเปลี่ยนแปลงในประเทศไทย
ประชากรเพิ่ม 2.5 เท่า จาก ล้าน เป็น 63 ล้าน รายได้ต่อหัว เพิ่มขึ้น 7.5 เท่า คนจน ล้าน ล้าน

17 ปัญหา ความไม่สมดุล ของทรัพยากรธรรมชาติ ความไม่สมดุลในการกระจาย
ความไม่สมดุลระหว่างเมือง และชนบท ค่านิยม คุณธรรม การเมือง

18 เปรียบเทียบ ความจน ความรวย
ปี 2519 คนรวย 20 เปอร์เซ็นต์ ได้ส่วนแบ่ง 49.3 รวย 54.9 ปี 2551 จน 4.4 ได้ส่วนแบ่ง 6.1 คนจน

19 สิ่งท้าทายในอนาคต


ดาวน์โหลด ppt โลกาภิวัตน์ การเปลี่ยนแปลง และผลกระทบต่อสังคมไทย

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google