งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

: การกำหนดสมมติฐานและทดสอบ Hypothesis and Test of Hypothesis

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: ": การกำหนดสมมติฐานและทดสอบ Hypothesis and Test of Hypothesis"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 : การกำหนดสมมติฐานและทดสอบ Hypothesis and Test of Hypothesis
ระเบียบวิธีวิจัย RESEARCH METHODOLOGY : การกำหนดสมมติฐานและทดสอบ Hypothesis and Test of Hypothesis ครั้งที่ 8 : ก.ค.-54

2 พื้นฐานสมมติฐาน Sir Karl Popper นักปรัชญาว่าด้วย ทฤษฎีความรู้ชาวอังกฤษ กล่าวว่า “สมมติฐานก็คล้ายๆ กับอวนจับปลา คนที่ใช้อวนเท่านั้นที่จะจับปลาได้” = มุ่งให้ผู้ศึกษาเรียนรู้ถึงการใช้สมมติฐานที่คุณภาพสูง (อวน) เพื่อจับความรู้ทางศาสตร์ใหม่ๆ เยี่ยงการใช้อวนจับปลา

3 การกำหนดสมมติฐาน สมมติฐานเป็นแหล่งที่มาของความรู้ทางศาสตร์ ซึ่งจะเป็น
สมมติฐานเป็นแหล่งที่มาของความรู้ทางศาสตร์ ซึ่งจะเป็น การคาดการณ์คำตอบปัญหา สามารถนำมาตรวจสอบ ความถูกต้องได้โดยหลักฐานเชิงประจักษ์ สมมติฐานเป็นแนวทางเบื้องต้นที่จะแปลความหมายของ ธรรมชาติ หรือระเบียบกฎเกณฑ์แห่งธรรมชาติ และเป็น สิ่งที่เชื่อมทฤษฎีที่เป็นนามธรรมกับประสบการณ์จริงที่ เป็นรูปธรรมเข้าด้วยกัน

4 ความหมายของสมมติฐาน คำว่า “สมมติฐาน” มาจากศัพท์ภาษาอังกฤษคำว่า Hypothesis ซึ่งเป็นภาษาลาตินมีรากศัพท์มาจากภาษากรีก “hypo” คือ ข้อเสนอ/ข้อเสนอแนะ “hupotithenai” คือ ใส่ไว้ข้างล่าง สมมติฐาน คือ ข้อความที่สมมติว่าเป็นจริงในประเด็นที่ต้องการพิสูจน์ ตรวจสอบหรือเป็นความคิดที่ก้าวหน้าในการอธิบายหรือทำนายปรากฏการณ์ทั้งหลาย

5 ความหมายของสมมติฐาน Selltiz และคณะ (1959) :
- ข้อเสนอ เงื่อนไขหรือหลักการที่สมมติขึ้นมาระบุความสัมพันธ์กันเชิงเหตุผลเพื่อทดสอบกับข้อเท็จจริง Keriinger (1973) : - ข้อความเชิงคาดคะเนเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร 2 หรือมากกว่า 2 ตัว ราชบัณฑิตยสถาน (2542) : - ข้อคิดเห็นหรือถ้อยแถลงที่ใช้เป็นมูลฐานแห่งการหาเหตุผลในการทดลอง/การวิจัย

6 ความหมายของสมมติฐาน ประเด็นความหมายสมมติฐาน
ข้อความที่เป็นการคาดคะเนหรือบอกถึงตัวแปรตั้งแต่ 2 ตัว ขึ้นไป มีความสัมพันธ์เชื่อมโยงกัน ทั้งนี้เพื่ออธิบาย ข้อเท็จจริง เงื่อนไข พฤติกรรมหรือปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้น หรือ ข้อความที่คาดคะเนคำตอบของปัญหาการวิจัย โดย คำตอบนี้เป็นการสรุปสาระจากการค้นคว้าเอกสาร และ งานวิจัยที่เกี่ยวข้องที่อ้างอิงจากแนวความคิดและทฤษฎี

7 ลักษณะสำคัญของสมมติฐาน
ลักษณะสำคัญ 3 ประการ 1. เป็นข้อความเชิงสันนิษฐาน : : เนื้อหา ข้อความ/ใจความที่เขียนมีลักษณะเชิงคาดเดา 2. เป็นเรื่องหรือผลที่จะเกิดขึ้น : - เนื้อหา ข้อความหรือใจความเกี่ยวกับผลของการหาคำตอบ 3. เป็นเรื่อง/ผลที่เกี่ยวกับลักษณะประชากรเป้าหมายที่ศึกษา - เนื้อหา ข้อความหรือใจความที่เขียนเป็นผลหรือคำตอบที่บอกลักษณะของประชากร ไม่ใช่ลักษณะตัวอย่าง

8 คำที่มีความหมายใกล้เคียงกับสมมติฐาน
ข้อความเชิงตรรกะ : ประโยคตรรกะมีความหมาย 2 นัย - นัยที่ 1 ข้อความเป็นเชิงบอกเล่า (declarative statement) - นัยที่ 2 เน้นเงื่อนไขและผลที่จะเกิดขึ้น เมื่อนำมาทดสอบและยืนยันความถูกต้อง โดยหลักฐานเชิงประจักษ์ เรียกข้อความนั้นว่า “สมมติฐาน”

9 คำที่มีความหมายใกล้เคียงกับสมมติฐาน
กฎ (laws) สมมติฐานที่ให้ความหมายกว้างขวางและได้รับการ ยืนยันแล้ว ซึ่งกฎต้องเป็นข้อสรุปทั่วไปที่เป็นสากลทั่วไป (universal) เนื่องจากกฎนิรนัยมาจากข้อสรุปทั่วไปที่อยู่ในระดับสูง กว่า และใช้สำหรับการนิรนัยข้อสรุปทั่วไปในระดับต่ำกว่า ต่อไปอีกได้

10 คำที่มีความหมายใกล้เคียงกับสมมติฐาน
ข้อสรุปทั่วไป (generalizations) ข้อความทั้งหลายที่เป็นลักษณะชื่อทั่วไป (common names) และแนวความคิดใดความคิดหนึ่งอยู่ในข้อความ โดยแตกต่างจากสมมติฐานที่สมมติฐานมักจะระบุเงื่อนไขที่ อยู่ในลักษณะของการคาดคะเน (conjecture)

11 กระบวนการค้นหาความรู้ทางศาสตร์ สมมติฐานทำหน้าที่
หน้าที่สมมติฐาน กระบวนการค้นหาความรู้ทางศาสตร์ สมมติฐานทำหน้าที่ สำคัญ ประการคือ ประการที่ 1 : สมมติฐานทำให้เกิดความสำคัญเชิง ระบบ (Systemic import) คือ ทำให้แนวความคิดเกี่ยวกับ เรื่องต่างๆ ทั้งหลายเชื่อมเข้ากันอย่างเป็นระบบ

12 หน้าที่สมมติฐาน ประการที่ 2 : สมมติฐานช่วยอำนวยความสะดวกในการทดสอบทฤษฎีทางศาสตร์ (theoretical testability) สรุปได้ดังนี้ 1. ช่วยจำกัดขอบเขตของปัญหาวิจัย 2. ช่วยให้ผู้วิจัยมีความคิดชัดเจนในปัญหาที่จะทำการวิจัย ประการที่ 3 : ช่วยชี้แนวทางในการออกแบบวิจัย (research design) และวางแผนการวิจัย

13 หน้าที่สมมติฐาน ประการที่ 4 : ช่วยเสริมช่องว่างระหว่างความรู้ใหม่กับ
ความรู้ที่ได้ค้นพบ ประการที่ 5 : สมมติฐานจะช่วยชี้แนวทางใช้ในการ สรุปผลที่ได้จากการวิเคราะห์ข้อมูลให้แก่ผู้วิจัย ประการที่ 6 : ช่วยประหยัดทรัพยากรทั้งเวลา แรงงาน และค่าใช้จ่ายในการทำวิจัย

14 แบบสมมติฐาน - ประเภทผันแปรเดี่ยว (univariate hypotheses)
1. สมมติฐานประเภทผันแปรเดี่ยวและผันแปรหลากหลาย - ประเภทผันแปรเดี่ยว (univariate hypotheses) คือ สมมติฐานที่มุ่งพรรณนาคุณสมบัติของตัวแปรตัวใดตัวหนึ่งในแบบต่างๆ อาจเกี่ยวกับบุคคล กลุ่ม เหตุการณ์หรือสิ่งของก็ได้ - ประเภทผันแปรหลากหลาย (multivariate hypotheses) คือ ข้อความที่มีฐานทางทฤษฎีที่ระบุความสัมพันธ์ของ ตัวแปรตั้งแต่ 2 ตัวขึ้นไป

15 แบบสมมติฐาน 2. สมมติฐานประเภทระบุความเกี่ยวพันกับไม่ระบุความ เกี่ยวพัน
- ประเภทระบุความเกี่ยวพัน (associational hypotheses) ระบุความเกี่ยวพันตั้งแต่ 2 ตัวแปรขึ้นไป ในแง่ใดแง่หนึ่ง โดยระบุทิศทาง (directional hypotheses) หรือไม่ระบุทิศทาง (non-directional hypotheses) ก็ได้ - ประเภทไม่ระบุความเกี่ยวพัน (Non-associational hypotheses) ตรงกันข้ามประเภทแรก

16 แบบสมมติฐาน “ถ้า ก. แล้วจะต้อง ข. เสมอ”
3. สมมติฐานประเภทสากลและสมมติฐานประเภทสถิติ - ประเภทสากล (universal hypothesis) ในทาง รัฐศาสตร์และสังคมศาสตร์เกือบจะไม่มีสมมติฐานประเภทเลย สมมติฐานนี้อยู่ในตัวแบบ “ถ้า ก. แล้วจะต้อง ข. เสมอ” - ประเภทสถิติ (statistical hypotheses) นั้นอยู่ใน ตัวแบบ “ถ้า ก. แล้วอาจจะ ข.”

17 แบบสมมติฐาน 4. สมมติฐานประเภทกาละและเทศะ
4. สมมติฐานประเภทกาละและเทศะ - ประเภทกาละ (temporal hypotheses) คือ สมมติฐานที่ระบุว่ามีตัวแปรตัวหนึ่งเกิดขึ้นก่อนตัวแปรอีกตัว หนึ่ง - ประเภทเทศะ (cross-sectional hypotheses) นั้น ระบุถึงการเกิดสิ่งใดสิ่งหนึ่งขึ้นในจุดเดียวหรือที่เดียวในเวลา ใดเวลาหนึ่ง กล่าวคือ ไม่ระบุถึงสาเหตุและผลที่ตามมา

18 แบบสมมติฐาน 5. สมมติฐานแบบบรรยายกับสมมติฐานแบบสถิติ
- แบบบรรยาย คือ สมมติฐานที่เป็นข้อความรูปแบบ เชิงพรรณนา ซึ่งระบุความเกี่ยวพันหรือไม่เกี่ยวพันของ ตัวแปรทั้งแบบมีทิศทางและไม่มีทิศทาง - แบบสถิติ คือ สมมติฐานที่มุ่งทดสอบเงื่อนไขตามที่ ระบุไว้ในสมมติฐานโดยใช้เทคนิคทางสถิติ โดยเขียน สมมติฐานในรูปของสัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์

19 สมมติฐานสถิติ สมมติฐานประเภทสถิติ (statistical hypotheses) แบ่งเป็น
2 ประเภท 1. สมมติฐานศูนย์ (Null Hypothesis) เป็นข้อความ หรือสมการระบุความเป็นกลางใช้ “ไม่แตกต่างกัน เท่ากัน หรือ เท่ากับ 0” ความแตกต่างระหว่างค่าพารามิเตอร์กับค่าที่กำหนด หรือระหว่างค่าพารามิเตอร์ 2 ค่าหรือมากกว่า

20 สมมติฐานสถิติ สมมติฐานประเภทสถิติ (statistical hypotheses) แบ่งเป็น 2 ประเภท 2. สมมติฐานเลือก (Alternative Hypothesis) เป็น ข้อความหรือสมการระบุความแตกต่างใช้ “แตกต่างกัน ไม่เท่ากัน หรือ ไม่เท่ากับ 0” ระหว่างค่าพารามิเตอร์กับค่าที่กำหนด/ระหว่างค่าพารามิเตอร์ 2 ค่า/มากกว่า เป็นทางเลือกของโอกาสที่จะเกิดขึ้นหากปฎิเสธสมมติฐาน

21 ประเภทการเขียนสมมติฐาน
1. สมมติฐานที่กล่าวถึงความจริงเชิงพรรณา ข้อเท็จจริง ที่ปรากฏขึ้น โดยไม่ได้กล่าวถึงความสัมพันธ์ระหว่าง ตัวแปรใดๆ EX : นิสิตสาขา………….สอบวิชาวิจัยไม่ผ่านน้อยลง เยาวชนไทยในเขตเมืองไม่สนใจประเพณีวัฒนธรรมมากขึ้น

22 ประเภทการเขียนสมมติฐาน
2. สมมติฐานที่กล่าวถึงปรากฏการณ์ เหตุการณ์หรือ พฤติกรรมอย่างใดอย่างหนึ่งที่เกิดขึ้นสม่ำเสมอ ซึ่งเป็น ปรากฏการณ์ทั่วไป EX : ประชาชนในเมืองมีขนาดครอบครัวเล็กมากกว่าประชาชน ในชนบท ธุรกิจขนาดเล็กมักมีความมั่นคงน้อยกว่าธุรกิจขนาดใหญ่

23 ประเภทการเขียนสมมติฐาน
3. สมมติฐานที่กล่าวถึงความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบ (Factor)/ ตัวแปรที่มีความสัมพันธ์เป็นเหตุเป็นผล (Causal Relationship) ซึ่งเป็นสมมติฐานที่กล่าวถึง คุณลักษณะ/ปรากฏการณ์ที่เป็นสาเหตุ (Determine) EX : นิสิตมีความรอบรู้ทางวิชาการน้อยเพราะไม่ขยันศึกษา ประชาชนชาวไทยรายได้ต่ำลงทำให้บริโภคสินค้าฟุ่มเฟือย น้อยลง

24 แหล่งที่มาสมมติฐาน 1. ความรู้ผู้วิจัยเอง ปกติผู้วิจัยต้องมีความรู้ ความเข้าใจหรือความ สนใจในเรื่องที่จะทำเป็นอย่างดี 2. ข้อค้นพบงานวิจัยที่ผ่านมา โดยศึกษาค้นคว้างานวิจัยที่บุคคลอื่น ทำไว้ก่อนหน้า

25 การทดสอบสมมติฐาน : การทดสอบสมมติฐาน
การทดสอบสมมติฐาน : - การกระทำขึ้นเพื่อที่จะประเมินผลที่ได้มาจากการ สุ่มตัวอย่างหรือเพื่อหาผลที่ได้นั้นว่าจะมีความเชื่อถือได้มาก น้อยขนาดไหน - การใช้ข้อความรู้ทางสถิติในการทดสอบสมมติฐาน จากข้อมูลที่เก็บรวบรวมมาได้จากกลุ่มตัวอย่างจะต้องเลือก ให้เหมาะสมกับข้อมูลนั้นๆ ว่าต้องการทดสอบอะไร มีจำนวน กลุ่มที่ต้องการทดสอบกี่กลุ่ม เป็นต้น - พยายามหาหลักฐานให้มากพอที่มีอยู่ในตัวอย่างมาใช้ในการ ตัดสินใจกับสมมติฐานที่ตั้ง

26 การทดสอบสมมติฐาน การกำหนดสมมติฐาน
การทดสอบสมมติฐานจะตั้งสมมติฐานขึ้นมา 2 สมมติฐาน : 1. สมมติฐานหลัก (Null Hypothesis) หรือ ถูกกำหนดขึ้นเพื่อต้องการหลักฐานในการหักล้าง 2. สมมติฐานทางเลือก (Alternative Hypothesis) หรือเป็นสมมติฐานที่ตั้งขึ้นเพื่อที่จะเป็นทางเลือกเมื่อมีการลบล้างสมมติฐานหลัก

27 1. กำหนดสมมติฐานที่ต้องการทดสอบ ซึ่งจะเป็น
ขั้นตอนการทดสอบสมมติฐาน 1. กำหนดสมมติฐานที่ต้องการทดสอบ ซึ่งจะเป็น สมมติฐานทางสถิติ (Statistical Hypothesis) คือ กำหนด สมมติฐานหลัก และสมมติฐานทางเลือก 2. กำหนดระดับนัยสำคัญ 0.05 หรือระดับความเชื่อมั่น (level of confidence) 3. กำหนดวิธีทางสถิติที่ใช้ในการทดสอบ พร้อมทั้งหาเขตวิกฤติ (critical region) หรือเขตปฏิเสธสมมติฐาน 4. คำนวณหาค่าทางสถิติตามวิธีทางสถิติที่จะใช้ใน การทดสอบ

28 ขั้นตอนการทดสอบสมมติฐาน
5. สรุปผลการทดสอบ โดยพิจารณาค่าที่คำนวณได้จากข้อ 4. ว่าตกอยู่ในเขตวิกฤติหรือไม่ ถ้าค่าสถิติที่คำนวณได้ตกอยู่นอกเขตวิกฤติก็จะยอมรับ ในทางตรงกันข้ามถ้าค่าสถิติที่คำนวณได้ตกอยู่ในเขตวิกฤตก็จะปฏิเสธ และไปยอมรับ และจะไม่ตัดสินหากค่าสถิติเท่ากับเขตวิกฤต สถิติที่ใช้ในการทดสอบสมมติฐานมีหลายลักษณะคล้ายกับการอนุมานประชากร ซึ่งจะมีความสอดคล้องกัน

29 การวิเคราะห์สมมติฐาน
หลักเกณฑ์สำคัญที่ใช้พิจารณาเพิ่มเติมในการวิเคราะห์สมมติฐานคือ ความเหมาะสมของสมมติฐานต่อการวิจัย : ประเด็น 1. การนิรนัยได้ (deductibility) 2. การทดสอบได้ (testability)

30 เทคนิคการค้นพบความรู้ทางศาสตร์
1. การทำความเข้าใจให้แจ่มแจ้ง (insight) 2. การเก็บรักษาบันทึก เอกสาร ข้อมูล (record maintenance) 3. การจำแนกประเภทโดยการไขว้ตัวแปร (cross-classification) 4. การใช้สมมติฐานแบบสลับ (alternative hypotheses) 5. การนิรนัย (deduction)

31 รูปที่ 1 รูปที่ 3 หรือ รูปที่ 2 หรือ


ดาวน์โหลด ppt : การกำหนดสมมติฐานและทดสอบ Hypothesis and Test of Hypothesis

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google