งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

คณะกรรมการวิจัยและใช้ผลงานวิจัยทางการพยาบาล

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "คณะกรรมการวิจัยและใช้ผลงานวิจัยทางการพยาบาล"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 คณะกรรมการวิจัยและใช้ผลงานวิจัยทางการพยาบาล
Mini-research สิทธิผู้ป่วย:มุมมองของผู้ป่วย โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ คณะกรรมการวิจัยและใช้ผลงานวิจัยทางการพยาบาล

2 ความหมาย ความชอบธรรมที่ผู้ป่วยพึงจะได้รับเพื่อคุ้มครองหรือรักษาผลประโยชน์อันพึงมีพึงได้ของตนเองโดยไม่ละเมิดสิทธิของผู้อื่น

3 คำประกาศสิทธิผู้ป่วย
แพทยสภา สภาการพยาบาล ทันตแพทยสภา สภาเภสัชกรรมและกระทรวงสาธารณสุข ร่วมกันประกาศสิทธิผู้ป่วย วันที่ 16 เมษายน 2541 สิทธิผู้ป่วย 10 ประการนี้ ทั้งประชาชนผู้ใช้บริการและผู้ให้บริการด้านสุขภาพ จะต้องรับรู้ร่วมกันเพื่อความเข้าใจอันดีและนำไปสู่คุณภาพของการบริการ

4 คำประกาศสิทธิผู้ป่วย
ผู้ป่วยทุกคนมีสิทธิพื้นฐานที่จะได้รับบริการด้านสุขภาพ ตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ คำอธิบาย รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพ.ศ มาตรา 51 “ บุคคลย่อมมีสิทธิเสมอกันในการรับบริการทางสาธารณสุขที่เหมาะสมและได้มาตรฐาน และผู้ยากไร้มีสิทธิได้รับการรักษาพยาบาลจากสถานบริการสาธารณสุขของรัฐโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย” “ บุคคลย่อมมีสิทธิได้รับการบริการสาธารณสุขจากรัฐซึ่งต้องเป็นไปอย่างทั่วถึงและมีประสิทธิภาพ ” “ บุคคลย่อมมีสิทธิได้รับการป้องกันและขจัดโรคติดต่ออันตรายจากรัฐอย่างเหมาะสมโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายและทันต่อเหตุการณ์ ”

5 คำประกาศสิทธิผู้ป่วย
2. ผู้ป่วยมีสิทธิที่จะได้รับบริการจากผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพโดยไม่มีการเลือกปฏิบัติ เนื่องจากความแตกต่างด้านฐานะ เชื้อชาติ สัญชาติ ศาสนา ลัทธิการเมือง เพศ อายุ และลักษณะของความเจ็บป่วย คำอธิบาย ผู้ป่วยทุกคนมีสิทธิที่จะได้รับบริการสุขภาพในมาตรฐานที่ดีที่สุดตามฐานานุรูป โดยไม่มีการเลือกปฏิบัติทั้งนี้ มิได้หมายรวมถึง สิทธิอื่น ๆ ที่อยู่นอกเหนือบทบัญญัติของกฎหมาย เช่น การไม่ต้องชำระค่ารักษาพยาบาล การพักในห้องพิเศษต่าง ๆ และบริการพิเศษอื่น ๆ เป็นต้น

6 คำประกาศสิทธิผู้ป่วย
3. ผู้ป่วยมีสิทธิที่จะได้รับทราบข้อมูลอย่างเพียงพอและชัดเจนจากผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพ เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถเลือกตัดสินใจในการยินยอม หรือไม่ยินยอมให้ผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพปฏิบัติต่อตน เว้นแต่เป็นการช่วยเหลือรีบด่วนหรือจำเป็น คำอธิบาย ผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพมีหน้าที่ต้องอธิบายให้ผู้ป่วยทราบถึงอาการการดำเนินโรค วิธีการรักษา ความยินยอมของผู้ป่วยนั้นจึงจะมีผลตามกฎหมายยกเว้นเป็นการช่วยเหลือในกรณีเร่งด่วนฉุกเฉินตามข้อ 4

7 คำประกาศสิทธิผู้ป่วย
4. ผู้ป่วยที่อยู่ในภาวะฉุกเฉินเสี่ยงอันตรายถึงชีวิต มีสิทธิที่จะได้รับความช่วยเหลือรีบด่วนจากผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพโดยทันทีตามความจำเป็นแก่กรณี โดยไม่คำนึงว่าผู้ป่วยจะร้องขอความช่วยเหลือหรือไม่

8 คำประกาศสิทธิผู้ป่วย
5. ผู้ป่วยมีสิทธิที่จะได้รับทราบชื่อ สกุล และประเภทของผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพที่เป็น ผู้ให้บริการแก่ตน คำอธิบาย ในสถานพยาบาลมีผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพต่าง ๆ หลายสาขาปฏิบัติงานร่วมกันในการช่วยเหลือผู้ป่วยร่วมกับบุคลากรผู้ช่วยต่าง ๆ หลายอาชีพ ซึ่งบ่อยครั้งก่อให้เกิดความไม่แน่ใจและความไม่เข้าใจแก่ผู้ป่วยและประชาชน การกำหนดสิทธิข้อนี้ทำให้ผู้ป่วยกล้าที่จะสอบถามข้อมูลที่จะช่วยให้เกิดความเข้าใจและสามารถตัดสินใจเพื่อคุ้มครองความปลอดภัยของตนเอง โดยเฉพาะจากผู้ให้บริการซึ่งไม่มีคุณภาพเพียงพอ

9 คำประกาศสิทธิผู้ป่วย
6. ผู้ป่วยมีสิทธิที่จะขอความเห็นจากผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพอื่นที่มิได้เป็นผู้ให้บริการแก่ตน และมีสิทธิในการขอเปลี่ยนผู้ให้บริการและสถานบริการ คำอธิบาย ปัจจุบันผู้ป่วยยังมีความเกรงใจและไม่ตระหนักถึงสิทธินี้ ทำให้เกิดความไม่เข้าใจและความขัดแย้ง ขณะเดียวกันผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพจำนวนมากก็ยังมีความรู้สึกไม่พอใจเมื่อผู้ป่วยขอความเห็นจากผู้ให้บริการสุขภาพผู้อื่น หรือไม่ให้ความร่วมมือในการที่ผู้ป่วยจะเปลี่ยนผู้ให้บริการหรือสถานบริการ การกำหนดสิทธิผู้ป่วยนี้จึงมีประโยชน์ที่จะลดความขัดแย้งและเป็นการรับรองสิทธิผู้ป่วยที่จะเลือกตัดสินใจด้วยตนเอง

10 คำประกาศสิทธิผู้ป่วย
7. ผู้ป่วยมีสิทธิที่จะได้รับการปกปิดข้อมูลเกี่ยวกับตนเองจากผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพโดยเคร่งครัด เว้นแต่จะได้รับความยินยอมจากผู้ป่วยหรือการปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมาย คำอธิบาย สิทธิส่วนบุคคลที่จะได้รับการปกปิดข้อมูลเกี่ยวกับการเจ็บป่วยถือเป็นสิทธิที่ได้รับการรับรองตามกฎหมายอาญามาตรา 323 พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสาร พ.ศ ข้อบังคับแพทยสภาพ.ศ ซึ่งถือว่าสังคมได้ให้ความสำคัญกับสิทธิผู้ป่วยในข้อนี้มาก เพราะถือว่าเป็นรากฐานที่ผู้ป่วยให้ความไว้วางใจต่อแพทย์

11 คำประกาศสิทธิผู้ป่วย
8. ผู้ป่วยมีสิทธิที่จะได้รับข้อมูลอย่างครบถ้วนในการตัดสินใจเข้าร่วมหรือถอนตัวจากการเป็นผู้ถูกทดลองในการทำวิจัยของผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพ 9. ผู้ป่วยมีสิทธิที่จะได้รับทราบข้อมูลเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลเฉพาะของตนที่ปรากฏในเวชระเบียน เมื่อร้องขอ ทั้งนี้ข้อมูลดังกล่าวต้องไม่เป็นการละเมิด สิทธิส่วนตัวของบุคคลอื่น คำอธิบาย ข้อมูลที่ปรากฎในเวชระเบียนถือเป็นข้อมูลส่วนบุคคลซึ่งเจ้าของประวัติมีสิทธิที่จะได้รับทราบข้อมูลนั้นได้ ทั้งนี้รวมถึงกรณีผู้ป่วยยินยอมให้เปิดเผยข้อมูลของตนต่อบุคคลที่สาม เช่นในกรณีที่มีการประกันชีวิตหรือสุขภาพ

12 คำประกาศสิทธิผู้ป่วย
10. บิดา มารดา หรือผู้แทนโดยชอบธรรม อาจใช้สิทธิแทนผู้ป่วยที่เป็นเด็กอายุยังไม่เกินสิบแปดปีบริบูรณ์ ผู้บกพร่องทางกายหรือจิต ซึ่งไม่สามารถ ใช้สิทธิด้วยตนเอง

13 รายการ จำนวน ร้อยละ ผลการศึกษา (n=240) ผู้ให้ข้อมูล ผู้ป่วย
ผู้ดูแลผู้ป่วย/ญาติ 180 60 75.0 25.0 ชนิดผู้ป่วย ผู้ป่วยนอก ผู้ป่วยใน 78 162 32.5 67.5 ศาสนา พุทธ คริสต์ อิสลาม อื่นๆ 235 3 1 97.9 1.3 0.4

14 รายการ จำนวน ร้อยละ สัญชาติ ไทย ไทยใหญ่ ไม่ระบุ 193 2 45 80.4 0.8 18.8 การศึกษา ไม่ได้เรียน ประถมศึกษา มัธยมศึกษา อนุปริญญา ปริญญาตรี ปริญญาโทหรือสูงกว่า 11 86 69 17 42 3 12 4.6 35.8 28.8 7.1 17.5 1.2 5.0

15 ผลการศึกษา รายการ จำนวน ร้อยละ สิทธิบัตร ไม่มี ข้าราชการ
บัตรประกันสุขภาพถ้วนหน้า สิทธิประกันสุขภาพของบริษัทประกันภัยเอกชน บัตรประกันสังคม บัตรทหารผ่านศึก 11 57 139 6 22 5 4.6 23.7 57.9 2.5 9.2 2.1

16 การรับรู้เรื่องสิทธิผู้ป่วย
ในจำนวนผู้ป่วย 240 ราย รับรู้ร้อยละ 60.4 ไม่รับรู้ 39.6 สิทธิผู้ป่วย จำนวน ผู้มารับบริการมีสิทธิที่จะได้รับทราบข้อมูลเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลเฉพาะของตน ทั้งนี้ข้อมูลดังกล่าวต้องไม่เป็นการละเมิดสิทธิส่วนตัวของบุคคลอื่น ผู้ป่วยทุกคนมีสิทธิที่จะได้รับบริการด้านสุขภาพตามที่บัญญติไว้ในรัฐธรรมนูญ ผู้ป่วยมีสิทธิที่จะได้รับการบริการจากผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพ โดยไม่มีการเลือกปฏิบัติเนื่องจากความแตกต่างด้านฐานะ เชื้อชาติ สัญชาติ ศาสนา สังคม สิทธิด้านการเมือง เพศ อายุและอายุลักษณะของการเจ็บป่วย ผู้มารับบริการมีสิทธิที่จะขอความคิดเห็นจากผู้ประกอบวิชาชีพด้านอื่นที่มิได้เป็นผู้ให้บริการแก่ตนเอง     และมีสิทธิขอเปลี่ยนผู้บริการและสถานบริการได้ 22 14 10

17 การรับรู้เรื่องสิทธิผู้ป่วย
จำนวน ผู้รับบริการมีสิทธิที่จะได้ทราบข้อมูลอย่างเพียงพอและชัดเจนเพื่อสามารถเลือกตัดสินใจในการยินยอมและไม่ยินยอมให้การรักษาพยาบาล 6. สิทธิของผู้รับบริการที่จะได้รับทราบ ชื่อสกุลและประเภทของผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพที่จะเป็นผู้ให้บริการตน 7. ผู้รับบริการมีสิทธิที่จะได้รับการปกปิดข้อมูลเกี่ยวกับตนเองจากผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพเว้นแต่จะได้รับความยินยอมจากผู้ป่วยหรือปฏิบัติตามกฎหมาย 8. ผู้ป่วยที่อยู่ในภาวะฉุกเฉินมีสิทธิที่จะได้รับความช่วยเหลือโดยรีบด่วนตามความจำเป็นจากผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพโดยทันทีโดยไม่คำนึงว่าผู้ป่วยจะขอร้องหรือไม่ 9. ผู้รับบริการมีสิทธิที่จะได้รับข้อมูลอย่างครบถ้วนในการตัดสินในเข้าร่วม/ถอนตัวจากการเป็นผู้ถูกทดลองในการทำวิจัยของผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพ 10. บิดา มารดา โดยชอบธรรม อาจใช้สิทธิแทนผู้ป่วยที่มีอายุไม่เกิน 18 ปี บริบรูณ์ ผู้บกพร่องทางกายและทางจิตที่ไม่สามารถใช้สิทธิด้วยตนเอง  6 3 2

18 ประเด็นสิทธิผู้ป่วย การศึกษานี้ใช้ประเด็นสิทธิผู้ป่วยตามกรอบแนวคิดซึ่งจัดไว้ 4 ด้านดังนี้ (กัลยาณี เกื้อก่อพรม, 2543) 1. สิทธิที่จะได้รับบริการทางสุขภาพ 2. สิทธิที่จะได้รับข้อมูลข่าวสาร 3. สิทธิในการตัดสินใจเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล 4. สิทธิในความเป็นส่วนตัว

19 สิทธิที่จะได้รับบริการทางสุขภาพ
1. การได้รับการดูแลรักษาด้วยความเอาใจใส่“ อย่างเท่าเทียมผู้ป่วยอื่น ” 2. “ ความไว้วางใจ “ ในการดูแลรักษาพยาบาล 3. การได้รับการรักษาพยาบาลทุกครั้งเมื่อร้องขอ/ช่วยเหลือทันทีเมื่อฉุกเฉิน 4. การดูแลรักษาที่ไม่ขัดแย้งกับความเชื่อทางศาสนา ประเพณี วัฒนธรรม 5. การปฏิบัติตามพิธีกรรม/ศาสนา/ความเชื่อ 6. ความเหมาะสมของค่าใช้จ่าย

20 1. การดูแลด้วยความเอาใจใส่“ อย่างเท่าเทียมผู้ป่วยอื่น ” เท่าเทียมร้อยละ 97.9 ไม่เท่าเทียมร้อยละ 2.1
เหตุผล “เท่าเทียม ” จำนวน เท่าเทียมในการดูแลรักษาพยาบาลที่ได้รับโดยไม่เลือกชั้นวรรณะ ได้รับการตรวจตามลำดับก่อนหลัง ไม่แซงคิว ได้รับการดูแลเหมาะสมตามความรุนแรงของโรค ความหนักเบาของอาการ พฤติกรรมการบริการของเจ้าหน้าที่เหมือนกัน อาหารและยาที่ได้รับเหมือนกัน ดูแลผู้ป่วยที่ไม่มีญาติเหมือนกับผู้ป่วยที่มีญาติ 111 19 7 6 2 1

21 เหตุผล “ ไม่เท่าเทียม ”
จำนวน พฤติกรรมบริการที่ได้รับไม่เหมือนกัน คิวในการตรวจไม่เท่าเทียม การจัดลำดับการได้รับการผ่าตัดไม่เท่าเทียม ความไม่สม่ำเสมอในการดูแล ยาที่ได้รับไม่เหมือนกัน 3 1

22 2. “ ความไว้วางใจ “ ในการดูแลรักษาพยาบาล ไว้วางใจร้อยละ 100.0
2. “ ความไว้วางใจ “ ในการดูแลรักษาพยาบาล ไว้วางใจร้อยละ 100.0 เหตุผล“ ไว้วางใจ ” จำนวน เป็นโรงเรียนแพทย์และเป็นโรงพยาบาลที่ใหญ่ที่สุดดีที่สุดในภาคเหนือ เชื่อมั่นในการรักษาของแพทย์และพยาบาลโดยดูจากการอธิบายด้วยเหตุผล/สังเกตจากการดูแลรักษาที่ได้รับ แพทย์พยาบาลมีความรู้ความสามารถ ผู้ป่วยเคยมารักษาแล้วได้ผลดี เคยมีญาติหรือคนข้างบ้านมารับการรักษาแล้วหาย มีอาจารย์แพทย์และมีแพทย์เฉพาะทาง ไม่มีข่าวเสียหาย ระบบการทำงานของโรงพยาบาลดี มีมาตรฐาน เชื่อในจรรยาบรรณของแพทย์และพยาบาล คุณภาพของยาดี 61 29 24 19 6 3 1

23 เหตุผล “ ได้รับทุกครั้งเมื่อร้องขอ/ช่วยเหลือทันที ” จำนวน
3. การรักษาพยาบาลทุกครั้งเมื่อร้องขอ/ทันทีเมื่อฉุกเฉิน ได้รับทุกครั้งทันทีร้อยละ 89.4 ได้รับแต่ไม่ทันทีร้อยละ 5.5 ไม่ได้รับทุกครั้งร้อยละ 5.1 เหตุผล “ ได้รับทุกครั้งเมื่อร้องขอ/ช่วยเหลือทันที ” จำนวน ผู้ป่วยนอกได้รับการดูแลขณะรอตรวจที่ OPD และผู้ป่วยหนักมาถึงรพ.ได้รับการช่วยเหลือทันที ผู้ป่วยในได้รับการช่วยเหลือทุกครั้งที่ร้องขอ ผู้ป่วยในได้รับการดูแลเมื่อมีอาการเปลี่ยนแปลง/ฉุกเฉิน ได้รับการดูแลทันทีเมื่อร้องขอโดยการใช้ออด เจ้าหน้าที่เข้ามาดูแลทุกครั้งที่เครื่องมือดัง 26 58 17 5 1

24 เหตุผล“ ได้รับทุกครั้งเมื่อร้องขอแต่ไม่ได้รับในทันที ”
จำนวน ผู้ป่วยนอก ได้รับการรักษาพยาบาลทุกครั้งเมื่อร้องขอแต่ต้องใช้เวลารอ/รอนาน ผู้ป่วยในได้รับการรักษาพยาบาลทุกครั้งเมื่อร้องขอแต่ต้องใช้เวลารอ/รอนาน 9 3 เหตุผล“ ไม่ได้รับทุกครั้งเมื่อร้องขอ” จำนวน ผู้ป่วยนอกได้รับการช่วยเหลือเป็นบางครั้ง จากเจ้าหน้าที่พยาบาลบางคน เมื่อร้องขอ ผู้ป่วยในไม่ได้รับการช่วยเหลือทุกครั้งที่ร้องขอ 1 2

25 เหตุผล“ ขัดแย้งกับความเชื่อ ” จำนวน
4. การดูแลรักษาที่ขัดแย้งกับความเชื่อทางศาสนา ประเพณี วัฒนธรรม ขัดแย้งกับความเชื่อร้อยละ 25.7 ไม่ขัดแย้งร้อยละ 74.3 เหตุผล“ ขัดแย้งกับความเชื่อ ” จำนวน ไม่ได้รับประทานอาหารตามความเชื่อ/ความต้องการ ไม่ได้สวดมนต์ ไหว้พระเนื่องจากไม่มีสถานที่ที่เป็นสัดส่วน สำหรับปฏิบัติตามศาสนา 4 2

26 เหตุผล“ ไม่ขัดแย้งกับความเชื่อ ”
จำนวน ผู้ป่วยไม่มีความเชื่อใดๆ เกี่ยวกับความเจ็บป่วย จึงเห็นว่าไม่มีอะไรที่ขัดแย้งกับความเชื่อทางศาสนา ประเพณีปฏิบัติ วัฒนธรรม ผู้ป่วยสามารถปฏิบัติตามความเชื่อทางศาสนา ประเพณีปฏิบัติ วัฒนธรรม ผู้ป่วยมีความเห็นว่าการรักษาที่ได้รับไม่มีอะไรที่ขัดแย้งกับความเชื่อทางศาสนา ประเพณีปฏิบัติ วัฒนธรรม ได้รับอาหารตามความเชื่อทางศาสนา ประเพณีปฏิบัติ วัฒนธรรม 34 16 6 3

27 เหตุผล “ สามารถปฏิบัติตามพิธีกรรม/ศาสนา/ความเชื่อ” จำนวน
5. การปฏิบัติตามพิธีกรรม/ศาสนา/ความเชื่อ สามารถปฏิบัติได้ร้อยละ 92.9 ไม่สามารถปฏิบัติได้ร้อยละ 7.1 เหตุผล “ สามารถปฏิบัติตามพิธีกรรม/ศาสนา/ความเชื่อ” จำนวน สามารถทำพิธีกรรมทางศาสนาตามความเชื่อที่หอผู้ป่วยได้ ได้แก่ ทำบุญที่หอผู้ป่วย ทำพิธีเรียกขวัญสู่ขวัญ นิมนต์พระภิกษุมาเยี่ยม ทำสังฆทาน ฟังเสียงสวดมนต์ทางโทรศัพท์ เดินจงกรม สามารถนำสิ่งศักดิ์สิทธิที่นับถือติดตัวหรือไว้ข้างตัวได้ได้แก่ แขวนสร้อยพระ/พระเยซู นำพระพุทธรูปมาวางบนโต๊ะข้างเตียง นำผ้ายันต์ติดตัว ด้ายสายสิญจน์ผูกข้อมือ ที่หอผู้ป่วยมีหิ้งพระสามารถสวดมนต์ได้หรือสามารถอธิษฐานตามความเชื่อทางศาสนาได้ สามารถไปกราบไหว้หลวงปู่แหวนที่ตึกสุจิณโณ สามารถดื่มน้ำมนต์ตามความเชื่อได้ สามารถทำโยเรได้ 37 17 8 1

28 เหตุผล“ ไม่สามารถปฏิบัติตามพิธีกรรม/ศาสนา/ความเชื่อ”
จำนวน ไม่สามารถนั่งสมาธิ ไหว้พระสวดมนต์ได้เนื่องจากไม่มีสถานที่ให้ปฏิบัติหรือสภาพแวดล้อมไม่เงียบพอ อยากจะผูกด้ายสายสิญจน์แต่กลัวรบกวนการรักษา อยากใส่บาตรแต่ต้องดูแลบุตรที่อยู่โรงพยาบาล 4 1

29 6. ความเหมาะสมของค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล เหมาะสมร้อยละ 93
6. ความเหมาะสมของค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล เหมาะสมร้อยละ 93.7 ไม่เหมาะสมร้อยละ 6.3 เหตุผล “ ค่าใช้จ่ายเหมาะสม” จำนวน ใช้สิทธิบัตรทอง เบิกค่ารักษาพยาบาลได้ ถูกกว่าเมื่อเทียบกับเอกชน ได้รับการดูแลรักษาอย่างดี ราคาใกล้เคียงกับโรงพยาบาลอื่น ใช้สิทธิเบิกตรง ใช้สิทธิ นศ. ม.ช ใช้สิทธิประกันสังคม 20 18 16 9 3 2 1

30 เหตุผล “ค่าใช้จ่ายไม่เหมาะสม”
จำนวน ค่าใช้จ่ายแพงเกินไปในผู้ป่วยที่ไม่มีสิทธิเบิกค่ารักษาพยาบาล ไม่เหมาะสมเนื่องจากต้องเสียส่วนเกิน ไม่เหมาะสมกับบริการที่ได้รับ 10 2 1

31 สิทธิที่จะได้รับข้อมูล
1. กฎระเบียบรพ./สถานที่ในหอผู้ป่วย การปฏิบัติตัวขณะอยู่โรงพยาบาล โรค ความเสี่ยง และข้อดีข้อเสียของการรักษาพยาบาลแต่ละวิธี ชนิดสรรพคุณและอาการข้างเคียงของยา การถามปัญหา ข้อสงสัย และการรักษาจากแพทย์และพยาบาล สิทธิ์และค่าใช้จ่าย การได้รับทราบชื่อ สกุล ตำแหน่งหน้าที่ของผู้ให้การรักษาพยาบาล การได้รับข้อมูลครบถ้วนชัดเจนก่อนเข้าร่วมการทดลอง/วิจัย

32 1. คำชี้แจงกฎระเบียบรพ. และสถานที่ในหอผู้ป่วย ได้รับร้อยละ 87
1. คำชี้แจงกฎระเบียบรพ.และสถานที่ในหอผู้ป่วย ได้รับร้อยละ 87.4 ไม่ได้รับร้อยละ 12.6 เหตุผล “ ได้รับคำชี้แจงกฎระเบียบรพ./สถานที่ ” จำนวน ผู้ป่วยนอก: ขั้นตอนการรับบริการ มีใบนำทาง ผู้ป่วยนอก : สถานที่ที่ต้องไปติดต่อ ผู้ป่วยนอก: การเตรียมตัวก่อนเข้าห้องตรวจ ขั้นตอนในการตรวจรักษา หลังตรวจรักษาเสร็จ ผู้ป่วยใน: การเฝ้า เวลาเยี่ยม เวลาปกติที่แพทย์มาตรวจผู้ป่วย การขออนุญาตก่อนออกจากหอผู้ป่วย การทิ้งผ้าในถังผ้าเปื้อน การสวมผ้าปิดปากจมูก เสื้อคลุมและเปลี่ยนรองเท้าก่อนเยี่ยม ผู้ป่วยใน: สถานที่ในหอผู้ป่วยและการใช้ออด 39 17 4 43 30

33 เหตุผล “ไม่ได้รับคำชี้แจงกฎระเบียบรพ./สถานที่ ”
จำนวน ผู้ป่วยนอกไม่ได้รับคำชี้แจงเกี่ยวกับขั้นตอนการรับบริการ ผู้ป่วยในไม่ได้รับคำชี้แจงเกี่ยวกับกฎระเบียบของรพ. 10 15

34 สิทธิที่จะได้รับข้อมูล
2. การปฏิบัติตัวขณะอยู่รพ. ได้รับร้อยละ 91.7 ไม่ได้รับร้อยละ 8.3 3. โรค ความเสี่ยง ข้อดีข้อเสียของการรักษาพยาบาลแต่ละวิธี ได้รับร้อยละ 88.3 ไม่ได้รับร้อยละ 11.7 4. ชนิดสรรพคุณและอาการข้างเคียงของยา ได้รับร้อยละ 80.0 ไม่ได้รับร้อยละ 20.0 5. การถามปัญหา ข้อสงสัย และการรักษาจากแพทย์และพยาบาล สามารถสอบถามร้อยละ 95.8 ไม่สามารถสอบถามร้อยละ 4.2

35 สิทธิที่จะได้รับข้อมูล
6. สิทธิ์และค่าใช้จ่าย ได้รับร้อยละ 90.0 ไม่ได้รับร้อยละ 10.0 7.ได้รับทราบชื่อ สกุล ตำแหน่งหน้าที่ของผู้ให้การรักษาพยาบาล ได้รับทราบร้อยละ 29.2 ไม่ได้รับร้อยละ 70.8 8. การได้รับข้อมูลครบถ้วนชัดเจนก่อนเข้าร่วมทดลอง/วิจัย ได้รับทราบข้อมูลร้อยละ 95.8 ไม่ได้รับร้อยละ 4.2

36 สิทธิในการตัดสินใจ มีส่วนร่วมร้อยละ 74.1 ไม่มีส่วนร่วมร้อยละ 25.9
1. การมีส่วนร่วมวางแผนการรักษาพยาบาล มีส่วนร่วมร้อยละ 74.1 ไม่มีส่วนร่วมร้อยละ 25.9 2. การตัดสินใจเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล มีส่วนร่วมร้อยละ 90.0 ไม่มีส่วนร่วมร้อยละ 10.0 3. การขออนุญาตนำข้อมูลการเจ็บป่วยไปใช้ในการวิจัย ได้รับการขออนุญาตร้อยละ 19.3 ไม่ทราบร้อยละ 80.7 4. การตัดสินใจยินยอม/ปฏิเสธ/ถอนตัวจากการวิจัย มีสิทธิร้อยละ 26.6 ไม่ทราบร้อยละ 73.4 5. การขอความคิดเห็นจากผู้ให้การรักษาพยาบาลอื่น สามารถขอความคิดเห็นร้อยละ 73.5 ไม่ทราบร้อยละ 26.5

37 สิทธิในความเป็นส่วนตัว
1. การปฏิบัติด้วยความสุภาพอ่อนโยน 2. การปกปิดข้อมูลเป็นความลับหรืออนุญาตผู้ให้การรักษาพยาบาลเปิดเผยข้อมูล 3. การตรวจรักษาโดยปกปิดส่วนของร่างกายเหมาะสม 4. การมีเวลาเป็นส่วนตัว ไม่ถูกรบกวนเกินความจำเป็น 5. การร้องเรียนผู้ให้การรักษาพยาบาลหากเกิดความเสียหาย 6. การแจ้งหรือบันทึกการกระทำที่ทำให้เกิดความเสียหายต่อร่างกาย/จิตใจจากบุคลากร 7. การได้รับสำเนาบันทึกประวัติการรักษาพยาบาลเพื่อการส่งต่อการรักษาตามต้องการ

38 เหตุผล“ ได้รับการปฏิบัติด้วยความสุภาพ ” จำนวน ผู้ป่วยนอก พูดจาสุภาพ
1. การปฏิบัติด้วยความสุภาพอ่อนโยน ได้รับร้อยละ ไม่ได้รับร้อยละ 0.8 เหตุผล“ ได้รับการปฏิบัติด้วยความสุภาพ ” จำนวน ผู้ป่วยนอก พูดจาสุภาพ เอาใจใส่ดูแลอย่างดี แพทย์ขออนุญาตก่อนตรวจร่างกาย ผู้ป่วยใน ขออนุญาตก่อนทำกิจกรรม/ทำกิจกรรมการรักษาพยาบาลด้วยความนุ่มนวล เอาใจใส่ดูแลอย่างดีและเต็มใจ 126

39 เหตุผล“ไม่ได้รับการปฏิบัติด้วยความสุภาพ ”
จำนวน “ เจ้าหน้าที่พยาบาลเคยเอาปรอทมาแทงรักแร้เจ็บมาก” “ เคยถูกเอ็ดครั้งสองครั้ง ” “ บางคนพูดไม่เพราะ แสดงไม่สุภาพ จะฉีดยาเอามือมาตี เขี่ยมือ ทำหน้ามึนตึง ทำให้ผู้ป่วยกดดัน” “ บางคนพูดไม่เพราะกิริยาท่าทางแข็งได้ยินเสียงเดินก็รู้สึกกลัว” “ เจ้าหน้าที่บางคนพูดไม่ค่อยดี ฟังแล้วไม่สบายใจ ใช้ภาษาไม่สุภาพ ไม่ให้เกียรติ ” 5

40 เหตุผล “ ได้รับการปกปิดข้อมูล ” จำนวน
1. การปกปิดข้อมูลเป็นความลับ/อนุญาตให้เปิดเผยข้อมูล ได้รับการปกปิดข้อมูลร้อยละ ไม่ได้รับร้อยละ 3.3 เหตุผล “ ได้รับการปกปิดข้อมูล ” จำนวน “ ไม่เอาข้อมูลเราไปให้ผู้อื่นดู ไม่วางข้อมูลทิ้งไว้ให้คนอื่นอ่านได้ เจ้าหน้าที่จะไม่ให้ญาติอ่านข้อมูลผู้ป่วย ถ้ามีข้อสงสัยจะให้ถาม” “ เคยเจาะ anti HIV ก่อนผ่าตัดแพทย์ได้บอกเฉพาะผู้ป่วยเท่านั้น ” “ ปกปิดเรื่องโรค แพทย์จะถามว่าต้องการให้ปิดเป็นความลับหรือต้องการให้แพทย์บอกญาติหรือผู้ป่วยต้องการจะบอกเอง ” “ ได้รับการปกปิด เช่น การถือเอกสารของหอผู้ป่วยจะให้ใส่กระเป๋า” “ สิ่งใดที่เจ้าหน้าที่จะนำไปเปิดเผยจะแจ้งให้ทราบและขออนุญาตก่อน เช่น การนำเสนอบนเวที ” 48

41 เหตุผล “ไม่ได้รับการปกปิดข้อมูล ”
จำนวน “ ได้ยินเวลาหมอคุยกันเรื่องของผม แต่ไม่เป็นไร เพราะหมอคุยกันเรื่องรักษา “ “ ตอน Admit จนท. เรียกลูกตัวเองว่าน้องดาวน์ (เรียกชื่อโรคแทนชื่อคนไข้ ) “ 3

42 เหตุผล “ ได้รับการปกปิดเหมาะสม ” จำนวน
3. การตรวจรักษาโดยปกปิดส่วนของร่างกายเหมาะสม ได้รับการปกปิดเหมาะสมร้อยละ ไม่ได้รับร้อยละ 3.3 เหตุผล “ ได้รับการปกปิดเหมาะสม ” จำนวน แพทย์ขออนุญาตก่อนตรวจร่างกายและเปิดเฉพาะที่จำเป็น มีผ้าคลุมเปิดเฉพาะส่วนที่ทำการรักษา/ดูแล มีการปิดม่าน อยู่ห้องพิเศษ มีการเคาะประตูก่อนเข้าห้อง ห้องตรวจภายในมิดชิด สวมปลอกขาให้ผู้ป่วย กั้นม่าน ห้องตรวจคลื่นหัวใจมีการปกปิดมิดชิด 118

43 เหตุผล“ไม่ได้รับการปกปิดเหมาะสม ”
จำนวน “ บางทีเข้ามาก็เห็นเสื้อผ้าผู้ป่วยเปิด เช่น เสื้อผูกไม่หมด แต่อาจเป็นเพราะผู้ป่วยดิ้น ไม่รู้สึกตัวก็ได้ ” “ ที่นอนไม่มีม่านกั้น เวลาปัสสาวะใส่กระบอกต้องไปห้องน้ำ แล้วเอากระบอกมาไว้ที่เดิม เพราะมี I/O ” “ แพทย์เปิดเสื้อตรวจปอด/บริเวณหน้าอก แล้วลืมปิด ” “ บางครั้งกำลังจะเปลี่ยนเสื้อบางทีก็เปิดผ้าม่านก่อน แต่ก็ปิดม่านให้ ” “ กลางวันจะดีจะปิดม่าน ส่วนกลางคืนจะไม่เอาใจใส่ปกปิด ” “ ม่านที่ใช้ในการอาบน้ำจะปิดแต่ใช้ร่วมกับเตียงอื่นทำให้ขณะอาบน้ำเห็นเตียงอื่นด้วย ” 7

44 เหตุผล “ มีเวลาเป็นส่วนตัว ไม่ถูกรบกวน” จำนวน
4. การมีเวลาเป็นส่วนตัว ไม่ถูกรบกวนเกินความจำเป็น มีเวลาเป็นส่วนตัวร้อยละ ไม่มีเวลาเป็นส่วนตัวร้อยละ 19.7 เหตุผล “ มีเวลาเป็นส่วนตัว ไม่ถูกรบกวน” จำนวน กิจกรรมที่แพทย์/พยาบาลทำมีความจำเป็นและเหมาะสม มีช่วงเวลาให้ผู้ป่วยได้พักผ่อน/มีช่วงเวลาเยี่ยม 74

45 เหตุผล“ ไม่มีเวลาเป็นส่วนตัว ถูกรบกวน”
จำนวน ผู้ป่วยนอก “ บางครั้งการตรวจรักษาของแพทย์ มีการเรียนของนักศึกษา ทำให้มีคนจำนวนมาก บางครั้งรู้สึกอับอายและข้อมูลการรักษาของตนไม่ได้ถูกปกปิด ไม่อยากให้มี นศพ. มาซักถามหรือมาดูมาก ๆ ” “ บางครั้งก็ดูวุ่นวาย ผู้ป่วยเยอะญาติเดินไปมา เสียงดัง เพราะมีคนจำนวนมาก แต่ทำใจได้ ” ผู้ป่วยใน 1. รู้สึกรบกวนจากการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ในหอผู้ป่วยสามัญ 2. รู้สึกรบกวนจากผู้ป่วย/ญาติที่อยู่ข้างเคียง “ เนื่องจากเป็นหอผู้ป่วยสามัญ บางทีเตียงข้างๆ ปวดก็จะร้องครวญครางตลอด “ “ ญาติข้างเตียงพูดอยู่ตลอดเวลา บางที่พูดกัน 2-3 ชั่วโมง หรือพูดโทรศัพท์เสียงดังตอนดึกๆ 26

46 สิทธิในความเป็นส่วนตัว
5. การร้องเรียนผู้ให้การรักษาพยาบาลหากเกิดความเสียหายสามารถทำได้ร้อยละ ไม่สามารถทำได้ 19.2 การแจ้งหรือบันทึกการกระทำที่ทำให้เกิดความเสียหายต่อร่างกาย/จิตใจจากบุคลากร สามารถทำได้ร้อยละ ไม่สามารถทำได้ 13.9 7. การได้รับสำเนาบันทึกประวัติการรักษาพยาบาลเพื่อการส่งต่อการรักษาตามต้องการ ผู้ป่วยทราบว่าสามารถทำได้ร้อยละ

47 สรุป การรับรู้สิทธิของผู้ป่วย: ผู้ป่วยยังรับรู้น้อย (ร้อยละ 60.4)
ประเด็นสิทธิผู้ป่วย: ส่วนใหญ่ได้รับร้อยละ 80 ขึ้นไป ยกเว้น การได้รับการดูแลรักษาที่ไม่ขัดแย้งกับความเชื่อทางศาสนา ประเพณี วัฒนธรรมร้อยละ 74.3 การมีส่วนร่วมวางแผนการรักษาพยาบาลร้อยละ 74.1 การได้รับทราบชื่อสกุล ตำแหน่งหน้าที่ของผู้ให้การรักษาพยาบาลร้อยละ 29.2

48 ขอบคุณค่ะ


ดาวน์โหลด ppt คณะกรรมการวิจัยและใช้ผลงานวิจัยทางการพยาบาล

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google