งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

ระเบียบ ทบ.ว่าด้วยการจำหน่าย สป. พ.ศ. ๒๕๕๗

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "ระเบียบ ทบ.ว่าด้วยการจำหน่าย สป. พ.ศ. ๒๕๕๗"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 ระเบียบ ทบ.ว่าด้วยการจำหน่าย สป. พ.ศ. ๒๕๕๗
๒๖ – ๒๘ ก.พ. ๕๗ 1 1

2 กรมส่งกำลังบำรุงทหารบก
Directorate of Logistics กรมส่งกำลังบำรุงทหารบก หัวข้อการบรรยาย กล่าวนำ ปัญหาที่มีมาแต่เดิม สาระสำคัญในการปรับปรุงแก้ไขระเบียบฯ การสอบละเมิดและการชดใช้ ข้อเน้นย้ำ 2

3 กล่าวนำ ผบ.ทบ. ได้อนุมัติยกเลิกระเบียบ ทบ.ว่าด้วยการจำหน่าย สป. พ.ศ. ๒๕๓๙ และได้อนุมัติใช้ระเบียบ ทบ.ว่าด้วยการจำหน่าย สป. พ.ศ. ๒๕๕๗ รายละเอียดปรากฏตาม หนังสือ กบ.ทบ. ที่ ๐๔๐๔/๑๔๔ ลง ๑๐ ม.ค. ๕๗ ระเบียบฯ จะมีผลบังคับใช้เมื่อพ้นกำหนด ๓๐ วัน นับแต่วันที่ประกาศใช้ (๓๑ ม.ค. ๕๗) 3

4 ปัญหาที่มีมาแต่เดิม หลักเกณฑ์วิธีปฏิบัติไม่ครอบคลุมเงื่อนไขบางกรณี เช่น การจำหน่าย สป.ที่หน่วยยืมจากหน่วยอื่น การควบคุม และตัดยอด สป. ไม่ตรงกันระหว่าง หน่วยใช้ และคลัง ภายหลังการจำหน่าย การปฏิบัติบางอย่าง ไม่สอดคล้องกับระเบียบคำสั่งที่เกี่ยวข้อง เช่น ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ หรือระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. ๒๕๓๕ และที่แก้ไขเพิ่มเติม เป็นต้น 4

5 สาระสำคัญในการปรับปรุงฯ
กล่าวทั่วไป คำจำกัดความ ลำดับหัวข้อที่มีการปรับปรุง การตัดยอด สป.ที่ใช้สิ้นเปลืองไปตามปกติ อำนาจอนุมัติจำหน่าย บทเฉพาะกาล ขั้นตอนการจำหน่าย สป. 5

6 กล่าวทั่วไป เพิ่มเติมระเบียบ/หลักเกณฑ์ของหน่วยเหนือ ซึ่งเป็นที่มาของอำนาจหน้าที่ตามระเบียบฉบับนี้ “เนื่องจากระเบียบกองทัพบกว่าด้วยการจำหน่ายสิ่งอุปกรณ์ พ.ศ.๒๕๓๙ และที่แก้ไขเพิ่มเติมใช้ปฏิบัติมานานไม่เหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบัน สมควรปรับปรุงระเบียบดังกล่าวให้ทันสมัยเหมาะสมยิ่งขึ้น และเพื่อให้การปฏิบัติเกี่ยวกับการจำหน่ายสิ่งอุปกรณ์ในกองทัพบกเป็นไปในแนวทางเดียวกันและสอดคล้องกับระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ.๒๕๓๕ และที่แก้ไขเพิ่มเติม รวมทั้งหลักกฎหมายที่เกี่ยวข้อง จึงให้ออกระเบียบว่าด้วยการจำหน่ายสิ่งอุปกรณ์ของกองทัพบกไว้สำหรับยึดถือเป็นหลักปฏิบัติดังนี้” 6

7 คำจำกัดความที่สำคัญ การจำหน่าย (เดิม) หมายถึง
การดำเนินกรรมวิธีเพื่อตัดยอดสิ่งอุปกรณ์ ออกจากความรับผิดชอบของกองทัพบก เนื่องจากสูญไป, สิ้นเปลืองไป (สิ่งอุปกรณ์ใช้สิ้นเปลือง), ชำรุดเสียหายจนไม่สามารถซ่อมคืนสภาพได้อย่างคุ้มค่า, เสื่อมสภาพจนใช้การไม่ ได้ หรือสูญหาย, ตาย, เกินความต้องการหรือเป็นของล้าสมัย หมดความจำเป็นไม่ใช้ราชการต่อไป หรือหากใช้ราชการต่อไปจะสินเปลืองค่าใช้จ่ายมาก หรือครบอายุการใช้งานตามเกณฑ์ที่กำหนด การจำหน่าย (ใหม่) หมายถึง การดำเนินกรรมวิธีเพื่อตัดยอด สิ่งอุปกรณ์ ออกจากความรับผิดชอบของกองทัพบก เนื่องจากสูญไป, สูญหาย, ชำรุดเสียหายจนไม่สามารถซ่อมคืนสภาพได้อย่างคุ้มค่า, เสื่อมสภาพจนใช้การไม่ได้, ตาย, ล้าสมัย หรือ หมดความจำเป็นหรือหากใช้ราชการต่อไปจะสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายมาก 7

8 คำจำกัดความที่สำคัญ การจำหน่ายเป็นสูญ (เดิม) หมายถึง การจำหน่ายในกรณีที่สิ่งอุปกรณ์สูญไป โดยไม่ปรากฏตัวผู้รับผิดชอบ หรือมีตัวผู้รับผิดแต่ไม่สามารถชดใช้ตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยความรับผิดทางแพ่งของเจ้าหน้าที่ส่วนราชการได้ หรือมีสิ่งอุปกรณ์อยู่แต่ไม่สามารถขาย แลกเปลี่ยน โอน แปรสภาพ หรือทำลายได้ เฉพาะในการปฏิบัติราชการสนามนั้น ในกรณีที่ไม่สามารถนำซากสิ่งอุปกรณ์กลับมาได้ เนื่องจากความจำกัดของภูมิประเทศ หรือเนื่องจากการกระทำของข้าศึก ให้ถือว่าสิ่งอุปกรณ์นั้นสูญไป ไม่มีซากเหลืออยู่ให้เห็น และในกรณีที่ผู้รับผิดชอบชดใช้ถึงแก่กรรม เนื่องจากการปฏิบัติราชการสนามคราวนั้น ให้ถือว่า หาผู้รับผิดชอบชดใช้ไม่ได้ การจำหน่ายเป็นสูญ (ใหม่) หมายถึง การจำหน่ายในกรณีที่ สิ่งอุปกรณ์สูญไปโดยไม่ปรากฏตัวผู้รับผิด หรือมีตัวผู้รับผิดแต่ไม่สามารถชดใช้ค่าเสียหายในทางแพ่งและความรับผิดทางละเมิดได้ หรือมีสิ่งอุปกรณ์อยู่แต่ไม่สามารถขาย แลกเปลี่ยน โอน แปรสภาพ หรือทำลายได้ การสูญไปเฉพาะในการปฏิบัติราชการสนามนั้น ในกรณีที่ไม่สามารถนำซากสิ่งอุปกรณ์กลับมาได้ เนื่องจากความจำกัดของภูมิประเทศ หรือเนื่องจากการกระทำของข้าศึก หรือจากการกระทำของบุคคลภายนอก ให้ถือว่าสิ่งอุปกรณ์นั้นสูญไป ไม่มีซากเหลืออยู่ให้เห็น 8

9 คำจำกัดความที่สำคัญ สิ่งอุปกรณ์ล้าสมัย หมายถึง
สิ่งอุปกรณ์ที่ใช้ราชการมาเป็นเวลานาน หรือมีอายุการใช้งานมาเป็นเวลานาน หรือไม่มีสายการผลิต หรือปัจจุบันมีกลไกการทำงานหรือเทคโนโลยีอื่นที่มีประสิทธิภาพยิ่งกว่า หรือกรณีอื่นๆ ซึ่งทำให้สิ่งอุปกรณ์ดังกล่าวหมดความจำเป็นในการใช้ราชการต่อไป หรือหากใช้ราชการต่อไปจะสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายมาก และกองทัพบกได้กำหนดให้สิ่งอุปกรณ์ดังกล่าวเป็นสิ่งอุปกรณ์ล้าสมัย 9

10 คำจำกัดความที่สำคัญ สป.ถาวรกำหนดอายุ สป.ถาวรไม่กำหนดอายุ
สิ่งอุปกรณ์ถาวร หมายถึง สิ่งอุปกรณ์สำเร็จรูป ซึ่งมีสภาพและลักษณะมั่นคงต่อการใช้งาน แต่ย่อมเสื่อมสภาพ เสื่อมราคาไปตามวาระ และระยะเวลาแห่งการใช้งาน สปช.ทบ.ขอให้จัดทำอายุ สป.ทุกชนิด เพื่อใช้ในการคำนวณต้นทุน และ กบ.ทบ.ได้นำเรียนให้กรมฝ่ายยุทธบริการ/กรมฝ่ายกิจการพิเศษรับผิดชอบดำเนินการกำหนดอายุ สป.ถาวรไม่กำหนดอายุ ซึ่ง ผบ.ทบ.(ผช.ผบ.ทบ.(๑)รับคำสั่งฯ) ได้อนุมัติตามหนังสือ กบ.ทบ.ที่ กห ๐๔๐๔/๒๑๕ ลง ๓๑ มี.ค. ๕๒ 10

11 คำจำกัดความที่สำคัญ การตัดยอดสิ่งอุปกรณ์ออกจากความรับผิดชอบของกองทัพบก หมายถึง การตัดยอดออกจากบัญชีคุม ตามอำนาจอนุมัติที่กำหนดไว้ในระเบียบนี้ การตัดยอด หมายถึง การตัดสิ่งอุปกรณ์ออกจากบัญชีหรือทะเบียนคุม ทั้งนี้ การตัดยอดสิ่งอุปกรณ์อาจเกิดขึ้นจากกรณีต่างๆ เช่น การใช้สิ้นเปลืองไป, การโอนสิ่งอุปกรณ์ให้กับส่วนราชการ อื่น, การแลกเปลี่ยนสิ่งอุปกรณ์ และการจำหน่ายสิ่งอุปกรณ์ เป็นต้น สำหรับการตัดยอดสิ่งอุปกรณ์ที่ใช้สิ้นเปลืองไปตามปกติ หรือการโอน หรือกรณีอื่นใดนอกเหนือจากการจำหน่าย ใช้หลักฐานการดำเนินการแต่ละกรณีเป็นหลักฐานการตัดยอด เช่น ใช้หลักฐานการเบิกจ่ายเป็นหลักฐานการตัดยอดสิ่งอุปกรณ์ที่ใช้สิ้นเปลืองไปตามปกติ เป็นต้น 11

12 คำจำกัดความที่สำคัญ ราคาซื้อหรือได้มา หมายถึง
ราคาที่ซื้อสิ่งอุปกรณ์นั้นมา หรือราคาสิ่งอุปกรณ์ที่ได้มา สำหรับสิ่งอุปกรณ์ในโครงการให้ถือราคาตามใบแจ้งราคาและเพิ่มขึ้นอีก ร้อยละ ๒๐ ส่วนสิ่งอุปกรณ์ที่กองทัพบกจัดหา หรือได้มาโดยวิธีอื่น ให้ถือราคาตามใบเบิก หรือราคาตามที่กรมฝ่ายยุทธบริการ หรือกรมฝ่ายกิจการพิเศษ ที่รับผิดชอบในสิ่งอุปกรณ์นั้นกำหนด ราคาซื้อหรือได้มา หมายถึง ราคาที่ซื้อ สิ่งอุปกรณ์นั้นมา หรือราคาสิ่งอุปกรณ์ที่ได้มา สำหรับสิ่งอุปกรณ์ในโครงการให้ถือราคาตามใบแจ้งราคา และให้รวมค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับการจัดหาสิ่งอุปกรณ์นั้นด้วย ส่วนสิ่งอุปกรณ์ที่กองทัพบกจัดหา หรือได้มาโดยวิธีอื่น ให้ถือราคาตามใบเบิก หรือราคาตามที่กรมฝ่ายยุทธบริการ หรือกรมฝ่ายกิจการพิเศษ ที่รับผิดชอบในสิ่งอุปกรณ์นั้นกำหนด 12

13 ลำดับหัวข้อ ปรับอำนาจอนุมัติจำหน่าย สป. จากเดิมอยู่ในตอนที่ ๔ เป็น ตอนที่ ๓ ปรับการดำเนินกรรมวิธีขออนุมัติจำหน่าย สป. จากเดิมอยู่ในตอนที่ ๓ เป็น ตอนที่ ๔ เนื่องจาก เดิม ตอนที่ ๓ ข้อ ๒๑ อ้างถึงอำนาจอนุมัติจำหน่ายในตอนที่ ๔ เห็นได้ว่ามีการอ้างไปยังข้อที่ยังมิได้กล่าวถึง ซึ่งเป็นตัวอย่างของการเรียงหัวข้อการปฏิบัติที่ไม่เป็นไปตามลำดับเหตุการณ์ 13

14 การตัดยอด สป.สิ้นเปลือง
ระเบียบฯ ข้อ ๕.๑๓ ฯลฯ ... การตัดยอดสิ่งอุปกรณ์ที่ใช้สิ้นเปลืองไปตามปกติ หรือการโอน หรือกรณีอื่นใดนอกเหนือจากการจำหน่าย ใช้หลักฐานการดำเนินการแต่ละกรณีเป็นหลักฐานการตัดยอด เช่น ใช้หลักฐานการเบิกจ่ายเป็นหลักฐานการตัดยอดสิ่งอุปกรณ์ที่ใช้สิ้นเปลืองไปตามปกติ เป็นต้น 14

15 การตัดยอด สป.สิ้นเปลือง
หนังสือ กบ.ทบ.ที่ ๐๔๐๔/๑๔๔ ลง ๑๐ ม.ค. ๕๗ การควบคุมและตัดยอด สป. ใช้สิ้นเปลือง ซึ่งถูกใช้และจะต้องหมดสิ้นสภาพไปตามการใช้งาน เมื่อได้จ่าย สป. นั้นไปในการใช้งานแล้วให้ตัดยอดออกจากบัญชีคุมโดยไม่ต้องดำเนินการจำหน่าย สำหรับซาก สป. ใช้สิ้นเปลืองดังกล่าว ให้ปฏิบัติตามที่กรมฝ่ายยุทธบริการหรือกรมฝ่ายกิจการพิเศษที่รับผิดชอบ สป. กำหนด 15

16 การตัดยอด สป.สิ้นเปลือง
หนังสือ กบ.ทบ. ที่ ๐๔๐๔/๑๔๔ ลง ๑๐ ม.ค. ๕๗ การควบคุมและตัดยอดชิ้นส่วนซ่อมซึ่งใช้ไปในการซ่อมบำรุง ๑. เมื่อใช้ชิ้นส่วนซ่อมไปในการซ่อมบำรุง ให้ตัดยอดชิ้นส่วน ซ่อมดังกล่าวออกจากบัญชีคุม โดยไม่ต้องดำเนินการจำหน่าย ๒. สำหรับชิ้นส่วนซ่อมที่ชำรุดและถอดออกจาก สป. สำเร็จรูป ให้ส่งคืนหรือปฏิบัติต่อชิ้นส่วนซ่อมหรือซากชิ้นส่วนซ่อมนั้น ตามที่กรมฝ่ายยุทธบริการหรือกรมฝ่ายกิจการพิเศษที่ รับผิดชอบ สป. กำหนด ๓. หากการชำรุดของชิ้นส่วนซ่อมนั้นเป็นการชำรุดผิดสภาพ ต้องปฏิบัติตามระเบียบ ทบ. ว่าด้วยการจำหน่ายที่มีผลบังคับ ใช้ในปัจจุบัน เพราะใช้นานจึงเสีย เพราะใช้ไม่ดีจึงเสีย 16

17 การตัดยอด สป.สิ้นเปลือง
หนังสือ กบ.ทบ. ที่ ๐๔๐๔/๑๔๔ ลง ๑๐ ม.ค. ๕๗ การควบคุมและตัดยอดเครื่องแต่งกาย, เครื่องประกอบเครื่องแต่งกาย, เครื่องนอน, ของใช้ประจำตัว และ สป.อื่นใด ซึ่งกำหนดให้จ่ายประจำกายทหาร เมื่อจ่าย สป.ดังกล่าวให้กับทหารแล้วให้ตัดยอดออกจากบัญชีคุมโดยไม่ต้องดำเนินการจำหน่าย 17

18 อำนาจอนุมัติจำหน่าย อำนาจอนุมัติจำหน่าย
ผบ.พล. ๘๐,๐๐๐ บาท -> ๑๕๐,๐๐๐ บาท มทภ. ๑๖๐,๐๐๐ บาท -> ๓๐๐,๐๐๐ บาท จก.ฝ่ายฯ ๓๒๐,๐๐๐ บาท -> ๖๐๐,๐๐๐ บาท ผบ.ทบ. ไม่จำกัดวงเงิน อำนาจอนุมัติจำหน่ายเป็นสูญ แก้ไขเฉพาะ อำนาจ ผบ.ทบ. เพิ่มเป็น ๕๐๐,๐๐๐ บาท 18

19 แบบพิมพ์ ๔๐๐ - ๐๖๕ ตัดประเภท สป.ออก ปรับปรุงคำอธิบายวิธีเขียนแบบพิมพ์
19

20 แบบพิมพ์ ๔๐๐ - ๐๖๕ 20

21 แบบพิมพ์ ๔๐๐ - ๐๖๕ 21

22 บทเฉพาะกาล การดำเนินกรรมวิธีจำหน่ายสิ่งอุปกรณ์ใดๆ ที่หน่วยรายงานได้เสนอรายงานขออนุมัติจำหน่ายมายังผู้มีอำนาจอนุมัติจำหน่าย ตามระเบียบกองทัพบก ว่าด้วยการจำหน่ายสิ่งอุปกรณ์ พ.ศ. ๒๕๓๙ และที่แก้ไขเพิ่มเติมที่ค้างพิจารณาอยู่ก่อนวันที่ระเบียบนี้ใช้บังคับ ให้หน่วยที่เกี่ยวข้องดำเนินการ ตามระเบียบกองทัพบกว่าด้วยการจำหน่ายสิ่งอุปกรณ์ พ.ศ. ๒๕๓๙ และที่แก้ไขเพิ่มเติม จนกว่าจะแล้วเสร็จ ทั้งนี้ให้ใช้วันที่ผู้บังคับหน่วยรายงานลงนามในรายงานขออนุมัติจำหน่ายเป็นหลักในการพิจารณา 22

23 บทเฉพาะกาล ให้กรมฝ่ายยุทธบริการและกรมฝ่ายกิจการพิเศษที่รับผิดชอบในสิ่งอุปกรณ์ ประกาศรายการสิ่งอุปกรณ์ตามข้อ ๓๔.๓ ซึ่งต้องไม่เกินหนึ่งปีนับตั้งแต่วันที่ระเบียบนี้ใช้บังคับ ในระหว่างที่ยังไม่ได้ประกาศรายการสิ่งอุปกรณ์ตามข้อ ๓๔.๓ ให้คำสั่งกองทัพบก(เฉพาะ) ที่ ๑๑๘๘/๔๓ ลงวันที่ ๑๓ พฤศจิกายน ๒๕๔๓ เรื่อง การกำหนดรายการสิ่งอุปกรณ์ที่หน่วยจะต้องส่งซากคืนและไม่ต้องส่งซากคืน ยังคงมีผลใช้บังคับต่อไปจนกว่าจะมีประกาศรายการสิ่งอุปกรณ์ตามวรรคหนึ่งและให้หน่วยถือปฏิบัติตามคำสั่งดังกล่าวไปพลางก่อน 23

24 ขั้นตอนการจำหน่าย สป. 24

25 แผนผังขั้นตอนการจำหน่าย สป.
สายงานส่งกำลัง แผนผังขั้นตอนการจำหน่าย สป. เมื่อ สป.มีสภาพสมควรจำหน่าย สายงานกำลังพล หน่วยใช้ : ให้รายงานตามสายการบังคับบัญชา หน่วยบังคับบัญชาระดับกองพันขึ้นไป : รายงานตามสายกำลังพลถึง ทบ. (ผ่าน สธน.ทบ.) เพื่อแต่งตั้งคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงความรับผิดทางละเมิด หน่วยบังคับบัญชาระดับกองพันขึ้นไป : ให้แต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริง คณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริง : รายงานผลให้ผู้แต่งตั้งทราบ หน่วยบังคับบัญชาระดับกองพันขึ้นไป : รายงานตามสายการส่งกำลัง จนถึงผู้มีอำนาจอนุมัติจำหน่าย คณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงความรับผิดทางละเมิด : สอบสวนข้อเท็จจริง รายงาน ทบ. และ ทบ. ได้สั่งการชดใช้/ไม่ต้องชดใช้ ผู้มีอำนาจอนุมัติจำหน่าย : ๑. พิจารณาอนุมัติจำหน่าย และสั่งการดำเนินการต่อซาก สป. ๒. แจ้งตามสายการส่งกำลัง จนถึงหน่วยใช้ ๓. สำเนาให้ กรมฝ่ายยุทธบริการ ทราบ ๔. กรณีมีการละเมิด ให้แจ้งผู้รับผิดชอบดำเนินการตามที่ ทบ.สั่งการ หน่วยใช้ : ตัดยอด สป.จากบัญชีคุมของหน่วย และเบิกทดแทน กรมฝ่ายยุทธบริการ : รับทราบและบันทึกหลักฐานอนุมัติจำหน่าย ตำบลรวบรวม สป.จำหน่าย : ดำเนินการต่อซาก แล้วแจ้งกรมฝ่ายยุทธบริการทราบภายใน ๓๐ วัน กรมฝ่ายยุทธบริการ : รับทราบและตัดยอด สป.ออกจากบัญชีคุมของ ทบ. 25

26 โดยไม่มีตัวผู้รับผิด กรณีพัสดุสูญไป โดยมีตัวผู้รับผิด
ขั้นตอนการจำหน่าย สป. ล้าสมัย ใช้ต่อไปไม่คุ้ม สป.มีสภาพสมควรจำหน่าย (ระเบียบพัสดุฯ ข้อ ๑๕๗) ชำรุด ซ่อมไม่คุ้มค่า หาย (แต่) มีผู้ชดใช้ จำหน่ายเป็นสูญ (ระเบียบพัสดุฯ ข้อ ๑๕๙) กรณีพัสดุสูญไป โดยไม่มีตัวผู้รับผิด กรณีพัสดุสูญไป โดยมีตัวผู้รับผิด แต่ไม่สามารถชดใช้ตามหลักเกณฑ์ความรับผิดทางแพ่ง กรณียังมีตัวพัสดุอยู่แต่ไม่สมควรจำหน่ายตามระเบียบข้อ๑๕๗ 26

27 ขั้นตอนการจำหน่าย สป. หน่วยเริ่มรายงาน หน่วยรายงาน หน่วยครอบครอง
ระเบียบฯ ข้อ ๑๗.๑ หน่วยขนาดกองร้อย หรือเทียบเท่า เป็นหน่วยเริ่มรายงาน หน่วยรายงาน ระเบียบฯ ข้อ ๑๘ กองพันหรือเทียบเท่าขึ้นไป หน่วยครอบครอง ระเบียบฯ ข้อ ๑๖ , คำอธิบาย ข้อ ๓ หน่วยระดับกองพันหรือเทียบเท่า หรือกองร้อยอิสระขึ้นไป ซึ่งเป็นหน่วยใช้ ที่รับการสนับสนุนสิ่งอุปกรณ์จากหน่วยสนับสนุนโดยตรง เช่น พัน.ร. หรือ ร้อย.สห.พล. เป็นต้น หน่วยสนับสนุน คำอธิบาย ข้อ ๒ หน่วยสนับสนุนทางการส่งกำลังที่รับผิดชอบสนับสนุนโดยตรงสิ่งอุปกรณ์ที่จะจำหน่ายให้แก่ หน่วยครอบครอง 27

28 ขั้นตอนการจำหน่าย สป. หน่วยรายงาน
แต่งตั้ง “คณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริง” คณะกรรมการฯ ดำเนินการภายใน ๙๐ วัน ถ้ามีการละเมิด เช่น ชำรุดผิดสภาพ หรือสูญหาย ให้หน่วยรายงานดังกล่าว รายงาน ทบ.ผ่านตามสายการบังคับบัญชา ถึง ทบ. (เพื่อขอแต่งตั้งคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงความรับผิดทางละเมิด) 28

29 เช่น ยืม, ส่งซ่อม, ขนส่ง สป.ให้หน่วยอื่น
ขั้นตอนการจำหน่าย สป. หน่วยรายงาน กรณี หน่วยรายงานมิใช่หน่วยครอบครองที่เบิก สป.มาจากหน่วยส่งกำลังที่ให้การสนับสนุน เช่น ยืม, ส่งซ่อม, ขนส่ง สป.ให้หน่วยอื่น ให้หน่วยรายงาน(ผู้ยืม) เป็นหน่วยแต่งตั้งคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริง (ระเบียบฯ ข้อ ๒๒) เมื่อสอบสวนเสร็จสิ้นแล้ว (รวมทั้งสอบละเมิด) ให้ส่งเอกสารให้หน่วยครอบครองที่เป็นผู้เบิก สป.จากหน่วยส่งกำลังที่ให้การสนับสนุน เพื่อดำเนินการรายงานขออนุมัติจำหน่ายต่อไป 29

30 ขั้นตอนการจำหน่าย สป. หน่วยรับรายงาน
กรณี ไม่มีอำนาจอนุมัติ ให้ส่งต่อตามสายการส่งกำลัง กรณี มีอำนาจอนุมัติ ๑. ให้ตรวจสอบว่าได้ดำเนินการเกี่ยวกับการละเมิดเสร็จสิ้นแล้ว ใช่หรือไม่ ๒. ถ้าใช่ และ ทบ. สั่งการชดใช้ ให้แจ้งผู้ชดใช้ดำเนินการชดใช้ ตามที่ ทบ. สั่งการ ๓. สั่งการปฏิบัติต่อซาก ๔. ส่งรายงานที่อนุมัติแล้วกลับตามสายส่งกำลัง จนถึงหน่วยรายงาน ภายใน ๓๐ วัน ๕. สำเนา ทบ.๔๐๐ – ๐๖๕ ที่อนุมัติแล้ว ตามสายส่งกำลัง ให้กรมฝ่ายยุทธบริการ ภายใน ๓๐ วัน 30

31 ขั้นตอนการจำหน่าย สป. หน่วยรายงาน
เมื่อทราบผลการอนุมัติจำหน่ายแล้ว ให้ตัดยอดจากบัญชีคุมของหน่วย (หน่วยตามสายส่งกำลัง เช่น บชร. ให้ตัดยอดด้วย เว้น กรมฝ่ายยุทธบริการยังไม่ต้องตัดยอด) ระหว่างขออนุมัติจำหน่าย หากจำเป็นต้องใช้ สป.๒ ให้เบิกทดแทนไปได้ โดยใช้หลักฐานที่แสดงว่า สป.๒ ดังกล่าวอยู่ระหว่างการจำหน่าย 31

32 กรมฝ่ายยุทธบริการ/กรมฝ่ายกิจการพิเศษที่รับผิดชอบใน สป.
ขั้นตอนการจำหน่าย สป. กรมฝ่ายยุทธบริการ/กรมฝ่ายกิจการพิเศษที่รับผิดชอบใน สป. เมื่อทราบผลการอนุมัติจำหน่ายแล้ว ให้ตัดยอด สป.จากบัญชีคุมของหน่วยใช้ สำหรับบัญชีคุมของกรมฝ่ายยุทธบริการ ก่อนตัดยอดให้พิจารณาดังนี้ ๑. กรณี สป.ไม่มีซากเหลืออยู่ หรือได้ทำลายไปแล้ว ให้ตัดยอดบัญชีคุมได้ ๒. กรณี สป.ยังคงมีซาก เช่น ส่งซากให้ตำบลรวบรวม สป.จำหน่าย ให้บันทึกหลักการอนุมัติจำหน่ายในบัญชีคุมของกรมฝ่ายยุทธบริการ (แต่ยังไม่ตัดยอดจากบัญชีคุม) 32

33 ขั้นตอนการจำหน่าย สป. ตำบลรวบรวม สป.จำหน่าย
ตำบลฯ ที่จัดตั้งโดย มทบ./จทบ. และ บชร. รับ สป./ซาก สป. ทุกสายยุทธบริการ ตำบลฯ ที่จัดตั้งโดยกรมฝ่ายยุทธบริการ/กรมฝ่ายกิจการพิเศษที่รับผิดชอบใน สป. รับเฉพาะ สป./ซาก สป.ในความรับผิดชอบ ซาก สป.สิ้นเปลือง ที่กรมฝ่ายยุทธบริการกำหนดให้ส่งซากคืน ก็ให้ตำบลฯ รับไว้ดำเนินการด้วย 33

34 ขั้นตอนการจำหน่าย สป. ตำบลรวบรวม สป.จำหน่าย
ตำบลฯ ที่จัดตั้งโดย มทบ./จทบ. และ บชร. รับ สป./ซาก สป. ทุกสายยุทธบริการ ดำเนินการต่อ สป./ซาก สป. ภายใน ๖ เดือน นับแต่ได้รับ หากดำเนินการไม่ทัน ผบ.หน่วยจัดตั้งตำบลฯ ขยายได้อีก ๖ เดือน หากยังไม่แล้วเสร็จ ให้รายงาน กบ.ทบ. เพื่อขอขยายเวลาดำเนินการ พร้อมชี้แจงเหตุผลความจำเป็น และระยะเวลาที่ขอขยายด้วย 34

35 ขั้นตอนการจำหน่าย สป. ตำบลรวบรวม สป.จำหน่าย
เมื่อดำเนินการต่อ สป./ซาก สป. เรียบร้อยแล้ว ให้รายงานกรมฝ่ายยุทธบริการ/กรมฝ่ายกิจการพิเศษที่รับผิดชอบใน สป. ทราบโดยตรง ภายใน ๓๐ วัน 35

36 กรมฝ่ายยุทธบริการ/กรมฝ่ายกิจการพิเศษที่รับผิดชอบใน สป.
ขั้นตอนการจำหน่าย สป. กรมฝ่ายยุทธบริการ/กรมฝ่ายกิจการพิเศษที่รับผิดชอบใน สป. เมื่อตำบลรวบรวม สป.จำหน่าย ได้ดำเนินการต่อซากเรียบร้อยแล้ว จึงให้กรมฝ่ายยุทธบริการตัดยอดจากบัญชีคุมได้ 36

37 การสอบละเมิดและการชดใช้
พระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. ๒๕๓๙ ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยหลักเกณฑ์การปฏิบัติเกี่ยวกับความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. ๒๕๓๙ ข้อบังคับ กห. ว่าด้วยการปฏิบัติเมื่อเกิดความเสียหายแก่เงินราชการหรือทรัพย์สินของทางราชการอันเนื่องมาจากการกระทำละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. ๒๕๔๒ พระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. ๒๕๓๙ 37

38 การสอบละเมิดและการชดใช้
สรุปภาพรวมได้ดังนี้ 38

39 การสอบละเมิดและการชดใช้
๑. เมื่อเกิดความเสียหายกับหน่วยงานของรัฐ และหัวหน้าหน่วยงานของรัฐมีเหตุอันควรเชื่อว่าเกิดจากการกระทำของเจ้าหน้าที่ของหน่วยงาน ให้หัวหน้าหน่วยงานแต่งตั้งคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงความรับผิดทางละเมิด มีจำนวนไม่เกิน ๕ คนโดยแต่งตั้งจากเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานของรัฐแห่งนั้น หรือหน่วยงานของรัฐอื่นตามที่เห็นสมควร เพื่อพิจารณาเสนอความเห็นเกี่ยวกับผู้ต้องรับผิดและจำนวนค่าสินไหมทดแทนที่ผู้นั้นต้องชดใช้ ๒. ในกรณีความเสียหายไม่ได้เกิดการจากกระทำของเจ้าหน้าที่และไม่แต่งตั้งคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงความรับผิดทางละเมิด ต้องรายงานให้ปลัดกระทรวง รัฐมนตรีที่กำกับดูแลเพื่อพิจารณาอีกครั้ง 39

40 การสอบละเมิดและการชดใช้
๓. คณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงความรับผิดทางละเมิด จะเป็นผู้ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดยการรวบรวมพยานหลักฐานทั้งหมด ให้โอกาสผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายมีสิทธิชี้แจงแสดงพยานหลักฐาน แล้วพิจารณาว่าความเสียหายเกิดขึ้นจากการปฏิบัติหน้าที่หรือไม่ หากความเสียหายเกิดจากการปฏิบัติหน้าที่ ให้พิจารณาต่อไปว่าเป็นการจงใจหรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงหรือไม่ หากเป็นการกระทำที่จงใจหรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงก็ต้องรับผิดตามพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. ๒๕๓๙ หากพิจารณาแล้วเห็นว่าเป็นความประมาทเลินเล่อแต่ไม่ถึงขั้นร้ายแรง เจ้าหน้าที่ผู้นั้นไม่ต้องรับผิดและไม่ต้องชดใช้ค่าเสียหายให้กับหน่วยงานของรัฐแต่อย่างใด 40

41 การสอบละเมิดและการชดใช้
๔. ในกรณีที่วินิจฉัยแล้วเห็นว่า ความเสียหายไม่ได้เกิดจากการปฏิบัติตามหน้าที่ก็ต้องรับผิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ กล่าวคือ รับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมและต้องรับผิดเต็มจำนวน หักส่วนที่เกิดจากความบกพร่องของหน่วยงานของรัฐไม่ได้ 41

42 การสอบละเมิดและการชดใช้
๕. เมื่อคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงความรับผิดทางละเมิดมีมติอย่างไรแล้วให้เสนอความเห็นต่อผู้แต่งตั้งคณะกรรมการฯ ว่ามีผู้ต้องรับผิดหรือไม่ หากมีผู้ต้องรับผิด ต้องรับผิดจำนวนเท่าใดและผู้แต่งตั้งคณะกรรมการฯ เป็นผู้วินิจฉัยสั่งการว่ามีผู้ต้องรับผิดหรือไม่ หากมีผู้ต้องรับผิด ต้องระบุว่าต้องชดใช้ค่าเสียหายจำนวนเท่าใด แต่ยังมิต้องแจ้งการสั่งการให้ผู้ที่เกี่ยวข้องทราบ แล้วให้ส่งสำนวนการสอบสวนไปยังกระทรวงการคลังเพื่อตรวจสอบ (เว้นแต่เป็นเรื่องที่กระทรวงการคลังประกาศกำหนดว่าไม่ต้องรายงาน) 42

43 การสอบละเมิดและการชดใช้
สำหรับในส่วนของ ทบ. การสอบละเมิดเป็นอำนาจของ ผบ.ทบ. ซึ่งมอบให้ ผช.ผบ.ทบ.(สายงานกำลังพล) ซึ่ง กบ.ทบ. ได้สอบถาม สธน.ทบ. แล้ว มีแนวทางการดำเนินการดังนี้ 43

44 การสอบละเมิดและการชดใช้
๑. เมื่อหน่วยรายงาน (หน่วยระดับกองพัน หรือเทียบเท่าขึ้นไป) ได้แต่งตั้ง คณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริงและผลการสอบสวนเห็นว่าน่าจะมีการละเมิดเกิดขึ้นโดย สป. มีการชำรุดผิดสภาพหรือสูญหายแล้ว ๒. หน่วยจะต้องรายงานตามสายการบังคับบัญชา (ผ่านฝ่ายกำลังพลของหน่วย) จนถึง นขต.ทบ. และ นขต.ทบ. รายงาน ทบ.(ผ่าน สธน.ทบ.) ๓. สธน.ทบ. จะตรวจสอบและพิจารณานำเรียน ผบ.ทบ.(ผ่าน กพ.ทบ.) เพื่อขออนุมัติแต่งตั้งคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงความรับผิดทางละเมิด 44

45 การสอบละเมิดและการชดใช้
๔. เมื่อคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงความรับผิดทางละเมิดสอบสวนแล้วพบว่าจะต้องมีผู้รับผิดชอบชดใช้ คณะกรรมการฯ ก็จะสรุปผลการสอบสวนรายงาน ทบ. (ผ่าน สธน.ทบ.) ๕. สธน.ทบ. จะหารือ สปช.ทบ. เพื่อพิจารณาในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการเงินและงบประมาณ เช่น การผ่อนชำระ เป็นต้น ๖. หากผู้รับผิดชอบชดใช้ยินยอมที่จะดำเนินการชดใช้ สธน.ทบ. ก็จะเสนอ ทบ. เพื่ออนุมัติสั่งการ แต่ถ้าหากไม่ยินยอมชดใช้ก็จะต้องฟ้องร้องทางแพ่งให้ได้ข้อยุติต่อไป ๗. กรณีคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงความรับผิดทางละเมิดสอบสวนแล้วพบว่าไม่ต้องมีผู้รับผิดชอบชดใช้ คณะกรรมการฯ ก็จะสรุปผลการสอบสวนเสนอ ทบ.(ผ่าน สธน.ทบ.) เพื่อให้ สธน.ทบ. ดำเนินการต่อไป 45

46 การสอบละเมิดและการชดใช้
๘. เมื่อ ทบ. อนุมัติให้ดำเนินการตามข้อเสนอของคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงความรับผิดทางละเมิด ซึ่งรวมถึงรายละเอียดว่าจะต้องชดใช้หรือไม่อย่างไรแล้ว สธน.ทบ. จะแจ้งผลการพิจารณาให้กับ นขต.ทบ. ซึ่งเป็นหน่วยต้นสังกัดของหน่วยรายงานทราบ ๙. เมื่อ นขต.ทบ. ซึ่งเป็นหน่วยต้นสังกัดของหน่วยรายงาน ได้รับทราบผลการสอบสวนฯ และการสั่งการเกี่ยวกับการชดใช้หรือไม่ดังกล่าวแล้ว ให้แจ้งให้หน่วยรายงานทราบ และให้หน่วยรายงานดำเนินการขออนุมัติจำหน่ายตามระเบียบฯ ต่อไป 46

47 การสอบละเมิดและการชดใช้
สำหรับการชดใช้เป็นเงิน สปช.ทบ. จะเป็นหน่วยรับผิดชอบในการหารือกระทรวงการคลัง ดังนั้นหากมีข้อสงสัยสามารถสอบถาม สปช.ทบ. 47

48 ข้อเน้นย้ำ กรมฝ่ายยุทธบริการ : กำหนดรายการ สป.ที่จะต้องส่งซาก/ ไม่ต้องส่งซาก หน่วยที่จัดตั้งตำบลรวบรวม สป.จำหน่าย : ออกระเบียบฯ โดยดูตัวอย่างจากระเบียบฯ ของ พธ.ทบ. 48

49 ปัญหา - ข้อสงสัย 49


ดาวน์โหลด ppt ระเบียบ ทบ.ว่าด้วยการจำหน่าย สป. พ.ศ. ๒๕๕๗

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google